๑๐. ทิพพจักขุญาณแห่งปฏิจจสมุปบาท The Divine Eye of the Dependent Origination
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
โดยปกติทั่วไป ผู้ที่บรรลุถึง จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณตาทิพย์ นั้น มักเลือกประกอบอาชีพเป็น หมอดูตาทิพย์หมอดูเทวดา พยากรณ์ถูกบ้าง ผิดบ้าง ว่ากันไปตราบใดที่ไม่มีโจทย์มาฟ้องคดีความ แต่ที่น่าสังเกตพฤติกรรมของคนเหล่านี้ ไม่ได้พัฒนามาจากผู้ทรงศีลหรือนักพรตนักบวชอย่างแท้จริง มักเกิดจากที่เขาว่า เทวดาบรรลุธรรมให้ [พระอินทร์ยมบาล] เช่น ตายแล้วฟื้นมาใหม่ ตายคืน แล้วทำให้ได้ ตาทิพย์ เป็นของกำนัลของฝากกลับมา นั่นคือ ระลึกชาติได้ จนถึง ตาทิพย์ตาวิเศษ แต่ก็พยายามทำตนเป็นผู้ทรงศีล และมักศึกษาวิชาโหราศาสตร์เพิ่มเติม เพื่อความแม่นยำในการพยากรณ์ชีตาชีวิตของลูกค้า ส่วนใหญ่มักแนะนำให้สะเดาเคราะห์ ทำบุญให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ที่ดลบันดาลให้เกิดความทุกข์ทางกายและทางใจ และช่วยทำให้ธุรกิจก้าวหน้าในการทำมาหากินตามปกติ ถ้าประสบความสำเร็จ ผู้เป็นหมอดูก็ได้รับของกำนัลที่โภคทรัพย์ เพื่อเป็นค่าตอบแทนบุญคุณในทางกลับกันอีก วงจรดังกล่าวนี้ คนที่ประสบปัญหาชีวิต ไม่มีทางออกในการแก้ปัญหา ไม่มีที่ปรึกษา เช่น จิตแพทย์มืออาชีพ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหา หรือหาทางเลือกทางออกอันเป็นอุบายที่มีสัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง อาชีพหมอดูจึงรุ่งเรืองในสังคมนี้อย่างไร้ข้อจำกัด นี้คือ ในทางธรรม หมายถึง อานิสงส์ของการบรรลุใน (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณระลึกชาติย้อนหลังได้ กับ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณตาทิพย์ ซึ่งเรียกว่า วิชชา ๓ญาณ ๓ (ข้อ ๑ กับ ข้อ ๒) หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ในทางปฏิบัติเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น หมายถึง (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ในการแยกนามรูป อันเป็นความรู้เกี่ยวกับ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ กับ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ในเหตุปัจจัยแห่งนามรูป อันเป็นความรู้เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย อริยสัจจ์ ๔ ซึ่งทั้ง ๒ ญาณในวิปัสสนา นี้ เรียกว่า โสฬสญาณญาณ ๑๖ (ข้อ ๑ กับ ข้อ ๒) คือ ญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด เพราะฉะนั้น จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณตาทิพย์ จึงหมายถึง การบรรลุถึงความรู้แจ้งเห็นจริงใน ปัจจยปริคคหญาณ นั่นเอง ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ฝึกฝนอบรมจิตที่ถูกต้องตามแนวทาง มัชฌิมาปฏิปทาอริยมรรคมีองค์ ๘ หมายถึง เส้นทางสายกลางแห่งปัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดจากการรู้แจ้งแทงตลอด [ปฏิเวธะ] นั้น ไม่ใช่สิ่งวิจิตรพิสดาร ที่ต้องไปหลงใหลงมงายจนเสียสติ โมหะ ประกอบด้วยความไม่รู้จริง อวิชชา เป็นมารอุปสรรคที่คอยปิดบัง ปัญญาความรู้ ไม่ให้เจริญก้าวหน้าในภูมิแห่งวิปัสสนา การได้มาซึ่ง จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณตาทิพย์ จึงเป็นเพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อการพอกพูน กิเลสตัณหา เครื่องเศร้าหมองแห่งความทะยานอยาก หรือ กิเลสราคะ เครื่องเศร้าหมองแห่งความกำหนัดติดใคร่ สิ่งนี้คือการก้าวเดินใน กระแสงแห่งอริยมรรค อย่างแท้จริง.
บทความที่ ๑๐ ประจำปี ๒๕๕๘ ทิพพจักขุญาณแห่งปฏิจจสมุปบาท
ความเชื่อที่แสดงเป็นทัศนคติคนชาวไทยพุทธนั้น มักแสดงออกไปในทาง (๑) คาถาอาคมทางไสยศาสตร์ และ (๒) การปลุกเสกต่างๆ ในทำนองเป็น เครื่องรางของขลัง ถ้าเรียกให้ดีหน่อย คือ วัตถุมงคล ความหมายของ คำว่า เครื่องราง หมายถึง ของที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย โดยทำให้รอดปลอดภัย เช่น พระเครื่อง ตะกรุด ผ้ายันต์ มักเชื่อกันในทางรุนแรง เช่นว่า ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เป็นต้น นิยมพูดรวมกับ คำว่า ของขลัง หมายถึง ของที่เชื่อกันว่า ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจบันดาลให้สำเร็จผลดังประสงค์ เช่น นำโชคลาภมาให้ ควบคู่กันว่า เครื่องรางของขลัง คำว่า ขลัง หมายถึง ศักดิ์สิทธิ์ มีกำลังอำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ หรือให้สำเร็จผลที่ประสงค์ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ ๒๐๓๐ ปี หลัง พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีผู้คิดคำใหม่ขึ้นมาใช้ว่า วัตถุมงคล และนิยมใช้ตามกันทั่วไป จนบัดนี้เหมือนว่าได้แทนที่คำว่า เครื่องรางของขลัง แม้ว่าคำ วัตถุมงคล จะแปลความหมายได้กว้างกว่าว่า สิ่งที่เป็นสิริมงคล หรือ สิ่งที่นำสิริมงคล คือ ความดีงามความสุขความเจริญ มาให้ แต่คนทั่วไปมักเห็นความหมายอย่าง เครื่องรางของขลัง เท่าเดิม สำหรับพุทธศาสนิกชน การนับถือพระเครื่อง คือ เป็นหลักยึดเหนี่ยว ที่สื่อใจโยงให้สนิทแน่วใน พระพุทธคุณ ไปจนถึง คุณมารดาบิดา อุปัชฌาย์ อาจารย์ และ ปลุกใจ ให้เกิด ปสาทะ [ความเลื่อมใส ความชื่นบานผ่องใส ความเชื่อถือมั่นใจ ความรู้สึกยอมรับนับถือ ความเปิดใจรับ อาการที่จิตเกิดความแจ่มใสโปร่งโล่งเบิกบาน ปราศจากความอึดอัดขัดข้องขุ่นมัว โดยเกิดความรู้สึกชื่นชมนิยมนับถือ ต่อบุคคลหรือสิ่งที่ พบเห็นสดับฟังหรือระลึกถึง แต่ไม่ใช่ ฮึกหาญ คือ กล้าด้วยความคะนอง หรือ ฮึกเหิม คือ กำเริบโดยทะนงใจ ด้วยความหลงงมงาย โมหะ ของผู้คิดประทุษร้ายผู้อื่น หรือเบียดเบียนผู้อื่น] เกิดความชื่นบาน มั่นแน่ว เข้มแข็ง มีกำลัง ทำให้ จิตมีสติและสมาธิ ที่จะทำการนั้นๆ อย่างได้ผลดีเต็มที่ และใจสว่าง ใช้ ปัญญา คิดการได้โปร่งโล่ง ทำการได้ลุรอดและลุล่วงสำเร็จถึงจุดหมาย ถ้าใช้ถูกต้องอย่างนี้ ก็จะไม่ผิด หลักกรรม [กฎแห่งกรรมกฎแห่งกรรมของสัตว์] ไม่ขัดต่อศรัทธาใน กรรม [กัมมผลสัทธา] คือ เชื่อการกระทำ ว่าจะต้องทำเหตุปัจจัยให้เกิดผลที่ต้องการ ด้วยเรี่ยวแรง ความเพียรพยายามของตน และจะเกิดผลดี ทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่ถ้าไม่รู้จักใช้ คือใช้ผิด หลักกรรม ขัดต่อศรัทธาใน กรรม ก็จะเกิดความเสื่อมทั้งแก่ชีวิตและสังคม
อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาถึง คำว่า (๑) นักเลง คือ นักเลงโตผู้ผักใฝ่ในสิ่งนั้นๆผู้ใจกว้างผู้กล้าได้กล้าเสีย แต่ส่วนใหญ่ให้ความหมายในทางลบมากกว่า [นักเลงขี้กาก] ที่เรียกว่า อบายมุข ๔ คือ ช่องทางแห่งความเสื่อม เหตุเครื่องฉิบหาย เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ ทางแห่งความพินาศ ได้แก่ (๑) เป็นนักเลงหญิง (๒) เป็นนักเลงสุรา (๓) เป็นนักเลงการพนัน และ (๔) คบคนชั่วเป็นมิตร (๒) อันธพาล คือ คนเกะกะระราน ชอบสร้างความเดือดจิปาถะให้ชาวบ้าน เช่น ลักเล็กขโมยน้อย ลักไก่ชาวบ้านไปต้มกินตอนดึก เป็นต้น (๓) โจร คือ ผู้ร้ายลักขโมยปล้นสะดมทรัพย์สินผู้อื่น ซึ่งทั้งปล้นและฆ่า [ข่มขืนทรมาน] ทำลายสิ่งของ เช่น โจรดุจผูกธง คือ โจรผู้ร้ายที่ขึ้นชื่อโด่งดัง หรือ โจรผ้าขาวแดง [อยู่ตามป่า = โจรป่า] โจรเมือง โจรบ้าน โจรในที่ทำงาน เป็นต้น แต่ในปัจจุบัน คำว่า โจร มีความหมายในด้านการประกอบอาชีพให้ลึกซึ้งมากกว่านั้น โดยเฉพาะ ในวงการธุรกิจหรือการเมือง ชอบมี โจร เข้ามาประกอบอาชีพเหล่านี้เยอะ มีการศึกษาสูง ชาติตระกูลดี รูปร่างหน้าตาดี แต่มีนิสัยชอบ (๑) ปล้นความคิดปัญญาอย่างเดียว ที่เรียกว่า โจรไม่มีอาวุธ (๒) ปล้นหลอกเอาทรัพย์สินอย่างเดียว โจรมีทั้งอาวุธและไม่มีอาวุธ และ (๓) ปล้นทั้งความคิดปัญญาและทรัพย์สิน โจรถ่อย [มีทรามปัญญาชอบทำชั่ว] คนพวกนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ คำว่า เครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะ พระเครื่อง ที่รวมถึง วัตถุมงคล [เหล็กไหลแก้วสารพัดนึกน้ำมันพรายหินกายสิทธิ์ เป็นต้น] อย่างเหลือเชื่อ ซึ่งจะเป็นเรื่องจริงหรือโกหกหลอกลวงก็อีกเรื่องหนึ่ง
ในทางตรงกันข้ามกับเรื่อดังกล่าวนี้ คือ ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา ที่ต้องทำความเข้าใจถึงฐานะของตนที่เป็นผู้ใฝ่ในทางกุศลธรรมอยู่เสมออย่างสืบเนื่อง คือ หมั่นเพียรรักษาระดับความดี ให้เจริญก้าวหน้าสูงขึ้นเรื่อยไป ประเภทฐานะของคนนั้น ย่อมพิจารณาตามนัยของ (๑) กรรม ๓ คือ การกระทำ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาดีก็ตามชั่วก็ตาม (๒) ธรรม ๓ คือ สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ และ (๓) อภิสังขาร ๓ คือ สภาพที่ปรุงแต่งธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำเจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม ดังนี้
(๑) กิเลสตัณหา อำนาจแห่งกรรม [กฎแห่งกรรม] ผลวิบากแห่งวัฏฏทุกข์ในสังสารจักร (๒) อปุญญาภิสังขาร กรรมแห่งอกุศลธรรม [อกุศลกรรม] ผลวิบากแห่งทุคติในวัฏฏะ [ทุกขเวทนาโทมนัส] (๓) ปุญญาภิสังขาร กรรมแห่งกุศลธรรม [กุศลกรรม] ผลวิบากแห่งสุคติในวัฏฏะ [สุขเวทนาโสมนัส] (๔) อาเนญชาภิสังขาร [อัพยากตธรรมอุเบกขาเอกัคคตา] ๔.๑ กรรมแห่งกุศลฌาน [ฌานสมบัติ ๘] ผลวิบากแห่งกุศลฌานในรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต ฌายีบุคคล [รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔] ๔.๒ กรรมแห่งโลกุตตรมรรค [โสฬสญาณญาณ ๑๖] ผลวิบากแห่งโลกุตตรผล สัตบุรุษอุดมบุรุษบัณฑิตอริยบุคคลอรหันตขีณาสพ [นิพพาน]
ในกรณีของ คนบ้าคนเสียสติคนวิปลาสพวกหลุดโลกอุบาทว์ชนชนผู้หลงทิศ ทั้งหลายเหล่านี้ ไม่อยู่ใน สภาวะแห่งอัพยากตธรรม ซึ่งเป็นภาวะที่ก้าวไปสู่ ความเหนือวิสัยแห่งโลก = โลกุตตระโลกุตตรภูมิ เป็นภาวะจิตที่ทวนกระแสโลกธรรม ส่วนสภาวะของ กลุ่ม คนบ้าคนเสียสติคนวิปลาสพวกหลุดโลกอุบาทว์ชนชนผู้หลงทิศ นั้น เป็นอาการกิริยาทางจิตประสาทแห่งความหลุดออกไปจากภาวะปกติที่ควรเป็นในปุถุชนทั่วไปที่สมควรเป็น อยู่ในภาวะที่ต้องเยียวยารักษาด้วยจิตแพทย์หรือบรรเทาด้วยทางจิตประสาท เช่น เป็นคนป่วยของโรงพยาบาลโรคจิตประสาท โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ [อุบลราชธานี] หรือ โรงพยาบาลศรีธัญญา [นนทบุรี] อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมที่มี จิตฟุ้งซ่านธัมมุทธัจจะ ที่เข้าข่าย หลุดโลก [TheBeyondtheWorld] เช่นเดียวกัน ที่เริ่มเข้าวิปัสสนากัมมัฏฐานในช่วงแรกของการเจริญโสฬสญาณญาณ ๑๖ ข้อ ๑๓ คือ ญาณในวิปัสสนา ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณกำหนดแยกนามรูป ๑ ปัจจยปริคคหญาณ คือ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป ๑ สัมมสนญาณ คือ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ ๑ กับ ข้อ ๔ คือ วิปัสสนาญาณ [ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙] ได้แก่ อุทยัพพยญาณอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ทั้ง ๔ ญาณในวิปัสสนานี้ ชื่อว่า ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาอ่อนๆ และในตอนนี้ วิปัสสนูปกิเลส จะเกิดขึ้น ชวนให้สำคัญผิดว่าถึง จุดหมายแห่งความตรัสรู้ แต่เมื่อรู้เท่าทัน กำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นทาง อะไรมิใช่ทาง ก็จะผ่านพ้นไปได้ อุทยัพพยญาณ นั้นก็จะพัฒนาเป็น มัคคามัคคญาณ เข้าถึงวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ที่สำคัญขั้นหนึ่ง เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗) อุทยัพพยญาณ ที่ก้าวมาถึงตอนนี้ คือเป็น วิปัสสนาญาณ ที่เดินถูกทาง ผ่านพ้น วิปัสสนูปกิเลส มาได้แล้ว ได้ชื่อว่าเป็น พลววิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่มีกำลัง หรือ แข็งกล้า ซึ่งจะเดินหน้าพัฒนาเป็น วิปัสสนาญาณ ที่สูงขึ้นต่อๆ ไป ซึ่งจะเป็น ภาวะจิตที่เหนือโลก [วิวัฏฏะขันธวินิมุต] ฉะนั้น ธรรมฝ่ายปฏิปักษ์นั้น คือ อาการหลุดโลก ที่ว่านี้ เรียกว่า ตบะแตก เกิดยึดติดผิดใน มิจฉาทิฏฐิ [นั่นคือ มิจฉัตตะ = สภาวะที่ผิด สิ่งที่ผิด ซึ่งตรงข้ามกับ สัมมัตตะ คือ สภาวะที่ถูกต้องสิ่งที่ถูกต้อง] ขึ้นในความนึกคิดในใจ ชนิดรุนแรง ฉุดดึงไว้ในธรรมไม่อยู่แล้ว ดังเช่น นึกคิดว่าตนเองเป็นพระศาสดาเสียเอง บ้าง นึกคิดว่าตนเองเป็นร่างของเทพ ผู้วิเศษ ผู้ปลดปล่อย หรือ กษัตริย์เจ้าเมืองเก่าในอดีต บ้าง เป็นต้น ความสับสนฟุ้งซ่านทางจิตในการเจริญภาวนา [ญาณในวิปัสสนา ๔ ข้อแรกนั้น ข้อ ๑ ระลึกชาติได้ ข้อ ๒ เห็นกฎแห่งกรรมและกฎแห่งกรรมของสัตว์ ข้อ ๓ เห็นไตรลักษณ์แห่งการกำจัดอาสวะทั้งหลาย ทั้ง ๓ ญาณ นี้ ได้ชื่อว่า วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ข้อ ๔ ญาณเห็นความเกิดดับเสื่อมไปแห่งนามรูปหรือสังขาร] นี้ เพราะ ขาดสติสัมปชัญญะ บกพร่องในการบวนการคิดที่ถูกวิธีในหลักปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ สาเหตุหลักนั้น คือ ขาดประสบการณ์ที่ถูกต้องในการเตรียมตัวที่ถูกพร้อมด้วย อริยมรรค คือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ความไม่รู้ในอริยสัจจ์ ๔ ความไม่รู้ในกาลทั้ง ๓ และ ความไม่รู้สภาวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัยปรุงแต่งที่สัมพันธ์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า อวิชชา ๔อวิชชา ๘ เพราะความหัวดื้อ บางครั้งจะอธิบายชี้แนะอย่างไรก็ไม่ได้ผล เป็นเรื่อง กรรมของสัตว์ อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณารายละเอียดหลักธรรมเชิงทฤษฎีที่เป็นสมุฏฐานในเรื่องดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
กรรม ๓ หมายถึง การกระทำการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ได้แก่ (๑) กายกรรม กรรมทำด้วยกายการกระทำทางกาย (๒) วจีกรรม กรรมทำด้วยวาจาการกระทำทางวาจา (๓) มโนกรรม กรรมทำด้วยใจการกระทำทางใจ
กุศลมูล ๓ หมายถึง รากเหง้าของกุศลต้นตอของความดี ได้แก่ (๑) อโลภะ ความไม่โลภธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะความคิดเผื่อแผ่จาคะ (๒) อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้ายธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะเมตตา (๓) อโมหะ ความไม่หลงธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลงปัญญา
อกุศลมูล ๓ หมายถึง รากเหง้าของอกุศลต้นตอของความชั่ว ได้แก่ (๑) โลภะ ความอยากได้ (๒) โทสะ ความคิดประทุษร้าย (๓) โมหะ ความหลง
ธรรม ๓ หมายถึง สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ ได้แก่ (๑) กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศลสภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่ กุศลมูล ๓ ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วย กุศลมูล นั้นก็ดี กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ ๔ (๒) อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศลสภาวะที่ตรงข้ามกับ กุศล ได้แก่ อกุศลมูล ๓ และ กิเลส อันมีฐานเดียวกับ อกุศลมูล นั้น ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วย อกุศลมูล นั้น ก็ดี กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ที่มี อกุศลมูล เป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ (๓) อัพยากตธรรม ธรรมที่เป็นอัพยากฤตสภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็น กุศล หรือ อกุศล แต่ประกอบด้วยการใช้เหตุผล [โยนิโสมนสิการ] มีปัญญา [สติสัมปชัญญะ] ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็น วิบากแห่งกุศลและอกุศล เป็น กามาวจร ก็ตาม รูปาวจร ก็ตาม อรูปาวจร ก็ตาม โลกุตตระ ก็ตาม อย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็น กิริยา มิใช่กุศลมิใช่อกุศลมิใช่วิบากแห่งกรรม อย่างหนึ่ง รูป ทั้งปวง อย่างหนึ่ง อสังขตธาตุ คือ นิพพาน อย่างหนึ่ง กล่าวสั้น คือ วิบากในภูมิ ๔ ๑ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ ๑ รูป ๑ และ นิพพาน ๑
อภิสังขาร ๓ หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำเจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม ได้แก่ (๑) ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญสภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา ที่เป็น กามาวจร และ รูปาวจร (๒) อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาปสภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนา ทั้งหลาย (๓) อาเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอาเนญชาสภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนา ที่เป็น อรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วย สมาธิแห่งจตุตถฌาน
เวทนา ๕ หมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เรียกอีกว่า อินทรีย์ ๕ (ในอินทรีย์ ๒๒) คือ ความเป็นใหญ่สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตนธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ ได้แก่ (๑) สุข ความสุขความสบายทางกาย = สุขินทรีย์ (๒) ทุกข์ ความทุกข์ความไม่สบายเจ็บปวดทางกาย = ทุกขินทรีย์ (๓) โสมนัส ความแช่มชื่นสบายใจสุขใจ = โสมนัสสินทรีย์ (๔) โทมนัส ความเสียใจทุกข์ใจ = โทมนัสสินทรีย์ (๕) อุเบกขา ความรู้สึกเฉยๆ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา = อุเปกขินทรีย์
ในขั้นตอนต่อไปนี้ ให้พิจารณาถึง ภาวะจิตที่พัฒนาวิวัฒน์ไปสู่ภูมิจิตที่สูงขึ้นไป ที่เรียกว่า ทิพพจักขุจักษุทิพย์ตาทิพย์ ซึ่งหมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ อันเป็นปัญญาพิเศษเฉพาะตน ที่เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หมายถึง ญาณคือทิพพจักขุความรู้ดุจดวงตาทิพย์ หรือ ญาณพิเศษที่ทำให้ดูอะไรเห็นได้หมดตามปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า = ทิพพจักขุ [ตาทิพย์ คือ ทรงมีพระญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปต่างๆ กัน ด้วย อำนาจกรรม] และ ท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ซึ่งทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กัน เพราะ อำนาจกรรม คือ กฎแห่งกรรม ที่เป็นความเลื่อมใส ความศรัทธา ความเชื่อ ที่ประกอบด้วยเหตุผล อันเป็น กฎธรรมชาติ ได้แก่ (๑) กัมมสัทธา คือ เชื่อในกฎแห่งกรรม (๒) วิปากสัทธา คือ เชื่อในผลแห่งการกระทำ [รวมกัน เรียกว่า กัมมผลสัทธา] (๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อในสัตว์มีกรรมเป็นของตน ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงชี้แนะให้สร้างกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว ทำจิตใจให้เป็น สมาธิอุเบกขาเบิกบานใจมีสติสัมปชัญญะมีความเลื่อมใสศรัทธาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในพระรัตนตรัย ซึ่งทำให้เกิด สัมมาวายามะสัมมสติสัมมาสมาธิ ด้วยการเจริญ ธรรมแห่งอัปปมาทะ [ความไม่ประมาท] และ ญาณทิพย์ ดังกล่าวนี้ เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓ญาณ ๓ ข้อ ๗ ในวิชชา ๘ ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖) ส่วน คำว่า ทิพย์ นั้น คือ เป็นของเทวดาวิเศษเลิศกว่าของมนุษย์
แต่อย่างไรก็ตาม ทิพพจักขุจักษุทิพย์ตาทิพย์ เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเป็น อำนาจจิต ที่มีพลังในการพยากรณ์ ธรรมสภาวะสิ่งปรากฏการณ์ [States or Phenomena] ที่เป็น ความจริงโดยปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] ที่จะกลายเป็น องค์ความรู้ [ระดับเชาวน์ปัญญา] ที่จะงอกเงยได้ในปัจจุบัน ณ ขณะนั้น ที่เรียกว่า ปฏิภาณไหวพริบ [ความแตกฉานทางปัญญาปฏิภาณปฏิสัมภิทา] ได้แก่ (๑) ความคิดริเริ่ม [Initiativeness] คือ ทำในสิ่งใหม่ที่เป็น นวัตกรรม (๒) ความคิดสร้างสรรค์ [Creativeness] คือ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลความสุขความดี และ (๓) ความคิดประยุกต์ดัดแปลง [Applicability] คือ ทำสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นจากสิ่งดั้งเดิม ด้วย การต่อยอดทางปัญญา [Reproductiveness] ให้ดีกว่า ต้นแบบแห่งชิ้นงาน [The Prototype of a Piece of Art] ที่ทำไว้ ในประเด็นนี้ พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เห็น โกศล ๓ คือ ความฉลาดความชำนาญ ดังนี้
โกศล ๓ หมายถึง ความฉลาดความเชี่ยวชาญความเป็นเลิศเฉพาะทาง ได้แก่ (๑) อายโกศล ความฉลาดในความเจริญรอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ (๒) อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อมรอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม (๓) อุปายโกศล ความฉลาดในอุบายรอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
ซึ่งเป็นคุณบทแห่งบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาธรรม ที่เรียกว่า บัณฑิต คือ ผู้มีปัญญานักปราชญ์ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ที่เหนือกว่าปุถุชนทั่วไป โดยนัยหมายถึง บัณฑิตชาติ คือ ความเป็นเผ่าพันธุ์บัณฑิตความดำรงอยู่ในเหล่านักปราชญ์ความมีภพภูมิในเชื้อนักปราชญ์ ไม่ใช่ ผู้ปัญญาหางอึ่ง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในทางธรรมนั้น มุ่งเน้นผู้มีคุณภาพทางปัญญาและศีลธรรมอย่างลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน ที่ประณีตในขั้นสูง มีความแตกฉานในปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม ไม่ใช่ บัณฑิตปริญญา ผู้นำวุฒิบัตรไปแลกเงินเดือนค่าจ้าง ที่เบียดเบียนกันในการประกอบอาชีพ คือ ยังไม่ถึงขั้นเป็น ผู้มีค่านิยมในคุณค่าแห่งปัญญาและศีลธรรม ที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม เป็นได้แค่ ผู้รับจ้างลูกจ้าง ที่วกเวียนอยู่กับ ปัญญาเงินอำนาจเถื่อนๆ ไม่ใช่ ความศิวิไลซ์ ไม่มี หิริโอตตัปปะ ให้พิจารณาตนเองว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่ เพราะต้องแย่งกันทำมาหากิน จนลืม ศีลธรรมและจริยธรรม ไปอย่างสิ้นเชิง รู้รอบรู้จักแต่ปากท้องของพวกตน กินโกงปล้นแย่งลักขโมยฆ่า [ตัวกูของกู] บางครั้ง ทำอะไรก็ไม่อายหมา [ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ ว่าใช่ทางที่ถูกประโยชน์แห่งตน = สิ้นคิด] ได้เหมือนกัน อย่างนี้ เรียกว่า ตาบอด [เอาดีทางชั่ว = พวกมามืดไปมืด หรือ มาสว่างไปมืด] คือ สว่างในทางธรรมชั่ว มุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ผิดๆ เป็นความสำเร็จในการบรรลุทางอกุศล เป็น มิจฉาวายามะมิจฉาสติมิจฉาสมาธิ เช่น ใช้สมาธิส่องหาหวย ใช้สมาธิขโมยความคิดของคนอื่น สะกดจิตให้ย่อมบอกความจริงเพื่อประกอบการกรรมชั่ว คดฉ้อโกง เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่ตรงกันข้ามกับกุศลธรรม ที่เรียกว่า ตาทิพย์ [เอาดีทางดี = พวกมามืดไปสว่าง หรือ มาสว่างไปสว่าง] คือ สว่างในทางธรรมดี มุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ถูก เป็นความสำเร็จในการบรรลุถึงคุณความดี ผลานิสงส์แห่งมหากุศล เป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า เป็น สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ฉะนั้น คนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น ก็ประกอบด้วยพวกกลุ่มคน ๒ ประเภทนี้ คือ มี ตาบอดสิ้นคิด ๑ มี ตาทิพย์มีปัญญา ๑ ในสูตรนี้ ก็ควรเลือกประเภทหลังดีกว่า ไม่สร้างความเดือนร้อนแห่งวิปฏิสารใดๆ เลือกให้เป็น กัลยาณมิตร อย่างสนิทใจ และสรรสร้างความดีในการสนทนาธรรม ธรรมสากัจฉา นั่นคือ การสนทนากันในทางธรรมได้ดีอีกด้วย
ฉะนั้น คำว่า สว่าง [อาโลโกสัญญา] หมายถึง ความระลึกนึกคิดในการสร้างกุศลที่ สว่างไสวแห่งปัญญา ในมโนทวารแห่งจิต ก็สว่างไสวแม้กลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ก็ไม่แตกต่างกัน คือ เกิดภาพที่เห็นชัดเจนในจิต สังขารนิมิตทั้งในและนอก [เรื่อที่นึกคิดในใจทั้งฝ่ายตนและเทียบเคียงกับของผู้อื่น] ซึ่งเป็นกระบวนการคิดทำใน โยนิโสมนสิการ อันเป็นไปตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา] จนทำให้เกิด ญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้ในสมาธิในวิปัสสนาญาณทัสสนะ [ปัจจยปริคคหญาณ] ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓ ญาณ ๓ คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ) หมายถึง ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม หรือเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย นั่นคือ พิจารณาเห็นทั้ง กรรมของตน ได้ และ กรรมของผู้อื่น ได้ ตามใจนึกใน สมาธิในวิปัสสนา และ ญาณในวิปัสสนา ด้วยเหตุนี้ ปัจจัยสำคัญในกระบวนการคิดนั้น จึงเป็นการบรรลุถึง จตุตถฌาน [รูปฌานที่ ๔] ในภาวะจิตที่เป็น จิตตสมาธิ ในขั้นแน่วแน่ คือ อัปปนาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา ซึ่งเป็น จิตบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์จิตประภัสสร [นิวรณ์ ๕ กับอกุศลธรรมทั้งหลาย] ซึ่งเป็น ภาวะจิต [เจตสิกจิต = นามกาย] ที่ สงบเบาอ่อนโยนควรแก่งานคล่องแคล่วซื่อตรง ที่ส่งผลถึง รูปกาย [ร่างกาย] ให้เกิดในอาการเดียวกัน เมื่อเจ้าของจิตนำ จิต มาใช้เป็น เครื่องมือในวิปัสสนา ในการพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วดับไปตามสภาพที่เป็นจริงของ สัญญา ที่บริสุทธิ์ ของผู้เจริญภาวนาที่เป็นเจ้าของ ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะแห่งญาณทั้งหลายในวิปัสสนา [โสฬสญาณญาณ ๑๖] ได้ โดย สัญญา นั้น จะทำหน้าที่ปรุงแต่งสภาวการณ์แห่งจิตตามสภาพข้อมูลหลักฐานที่จริงอยู่ [ความจำองค์ความรู้หรือประสบการณ์ที่สะสมมา ที่เป็นฝ่ายกุศลธรรม แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลกรรม จิตมักนำพาชักนำทำให้เกิดภาพที่เป็นเรื่องร้ายๆ ตามธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นฝ่ายกุศล เมื่อเกิดภาพนิมิตที่เป็นเรื่องร้าย นั่นหมายถึง สัญญาณเตือนที่ผู้เจริญวิปัสสนาควรคำนึงระวังในปัจจุบันและอนาคตต่อไป] คือ การต่อยอดทางปัญญาที่บริสุทธิ์ ในภูมิแห่งวิปัสสนา เพราะฉะนั้น การเกิด สัญญานิมิต ที่หลากหลายนั้น เกิดจากความหมั่น (๑) ประกอบความเพียรแห่งสัมมัปปธาน ๔ (๒) เจริญสติปัฏฐาน ๔ [มีสติสัมปชัญญะที่บริสุทธิ์คมชัดแก่กล้า] และ (๓) เจริญจิตตสมาธิแห่งรูปฌาน ๔ เพื่อให้เกิดความถึงพร้อมด้วย โยนิโสมนสิการสัมปทา ใน หลักปฏิจจสมุปบาท [อิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา] รวมทั้ง ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย และ กฎแห่งกรรม ซึ่งหมายถึง มีปรีชาสามารถในการเจริญ ญาณในวิปัสสนา นั่นคือ ปัจจยปริคคหญาณ [นามรูปปัจจัยปริคคหญาณปัจจัยปริคคหญาณกังขาวิตรณญาณธัมมัฏฺฐิติญาณ (ข้อ ๒ ในโสฬสญาณ ญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป]
เพราะฉะนั้น ความสะอาด ผ่องใส [เลื่อมใสศรัทธาแก่กล้า] บริสุทธิ์ จากอุปกิเลสทั้งหลาย คือ ปราศจากนิวรณ์ ก็ขึ้นอยู่กลับระดับขั้นของ รูปฌาน ๔ ในแต่ละขั้น แต่ให้หมายเอา สมาธิแห่งจตุตถฌาน เป็นสำคัญ ความฟุ้งซ่าน [อุทธัจจะ] และความเบื่อหน่ายในกุศล [อรติ] นั้น ย่อมทำให้สงบระงับ [วิเวก] ด้วย ปราโมทย์ (ข้อ ๑ ในธรรมสมาธิ ๕ ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิ สุข สมาธิ) คือ ความบันเทิงใจความปลื้มใจความร่าเริงใจ ใน ธรรมสมาธิ ที่กำลังเจริญอยู่นั้น อันจะทำให้เกิด จิตตสมาธิ ในขั้นแต่ละขั้นของ รูปฌาน ๔ ไม่ควรนึกคิดเหมาเอาเองว่าตนทำได้ ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา เพราะจะทำให้เกิด อาการฟุ้งซ่าน หนักกว่าเดิม เป็นความเห็นความนึกคิดที่ผิด สิ่งที่ไม่ถูกต้อง ปิดกั้นไม่ให้ก้าวหน้าในการเจริญภาวนา จะใช้เวลานานมากน้อยเท่าไหร่นั้น อย่าไปวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ แต่ให้ปรารภความเพียรอย่างได้ขาดตอน ทำสืบเนื่อง อยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอนตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้เข้าถึง อริยสัจจธรรมแห่งอริยสัจจ์ ๔ ฉะนั้น ผลานิสงส์ที่เกิดขึ้นเนื่องใน อธิจิตตสิกขา [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] ย่อมถึงมรรคผลในไม่ช้าได้ ในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] ขอเพียงอย่างเดียว อย่าทุศีลแห่งอธิสีลสิกขา [สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ] อันตรายมากเชียวนะ! อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่อุบัติเกิดขึ้นใน จิต ของผู้เจริญภาวนานั้น ย่อมเกิดจากสมุฏฐานในเรื่อง ความสงบระงับจากกิเลสทั้งหลาย ตามหลักคำสอนพระศาสดา ที่เรียกว่า พระธรรมวินัยสัตถุสาสน์ ทั้ง ๗ ประการ ดังนี้ (๑) เอกันตนิพพิทา ความหน่ายสิ้นเชิงไม่หลงใหลเคลิบเคลิ้ม (๒) วิราคะ ความคลายกำหนัดไม่ยึดติดรัดตัวเป็นอิสระ (๓) นิโรธ ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ ความสงบ (๕) อภิญญา ความรู้ยิ่งความรู้ชัด (๖) สัมโพธะ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน สภาวะที่ปราศจากกิเลสทั้งหลาย
ฉะนั้น การจะบรรลุถึง จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณตาทิพย์ นั้น ก็ต้องอาศัยหลักคำสอนพระศาสดาเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยพื้นฐาน ไม่ใช่อยู่ไม่รู้เหนือรู้ใต้ จะมานั่งหลับตาสองสามนาทีก็ มีตาทิพย์มีตาวิเศษ ได้แล้ว ทุกอย่างอาศัย ความเพียรความอดทนมีปัญญา ใน การเผาพลาญกิเลสราคะ [ตบะ] ให้หมดไปจาก จิต ก่อน ทำให้ จิตบริสุทธิ์ [จิตตวิสุทธิ] ได้ดีแล้ว ย่อมสามารถเจริญ ปัญญาที่บริสุทธิ์ [ทิฏฐิวิสุทธิ] ได้เช่นกัน จะเป็น ตามืดบอดแห่งปัญญา หรือจะเป็น ตาทิพย์แห่งปัญญา ก็ตอนนี้แหละ พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้หลงงมงายใน ฤทธิ์ อันเกิดจากการบำเพ็ญเพียรสมถะ หรือการบำเพ็ญตบะแห่งฌานสมาบัติ แต่ให้นำ ฤทธิ์ เหล่านี้มาใช้ในการเจริญวิปัสสนา ให้เกิด ปัญญาญาณ มากกว่า ให้เกิดความหมักหมมใน ตัณหาราคะฉันทราคะ [ความกำหนัดอย่างอ่อนความกำหนัดอย่างแรง] ไม่สิ้นสุด
ด้วยเหตุนี้ ความอยากได้ฤทธิ์ ที่หมายถึง จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณตาทิพย์ นั้น จึงกลายเป็นเรื่อง โลกกิเลสตัณหากิเลสราคะ [อุปาทานขันธ์ ๕ เครื่องเศร้าหมองแห่งความทะยานอยากเครื่องเศร้าหมองแห่งความกำหนัดติดใคร่] ซึ่งเป็นเรื่อง พวกไดโนเสาร์ยึดโลก [ความนึกคิดของคนเขลาเบาปัญญา] ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรเหมือนกัน เพราะในการอยู่ร่วมกันในสังคม โลกคือละครสมมุตติ ซึ่งเป็น โลกแห่งมายา ถ้าท่านอยากเป็นอะไร ก็สามารถสมมุตติเอาได้เลย อยากเป็นพระราชาก็ให้สมมุตติตนในท้องเรื่องหมอลำ ลิเก หรือ มโนราห์ จะให้ยิ่งใหญ่แค่ไหน ก็บ้าให้สุดๆ ไปเลย เพราะ มันไม่มีอะไรเลยมันไม่จริง แต่ สิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์ ที่เป็นของจริงๆ นั้น คือ นิพพาน ก็พากันตามืดบอด มองไม่เห็น พูดแล้วยังมาทำตาเหลือก ทำแสร้งเป็นผู้มีการศึกษาดี [ที่สอนกันมาผิดๆ] ทำเป็นไม่มีเวลา ต้องรีบทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ เหมือนกับพากันแบกโลกทั้งใบไว้ ในขณะที่ ทั้งๆยังไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จักแม้แต่ขี้สักก้อนมันอยู่อย่างไงในตัวตนของตนเอง เอามือคลำดูตอนนี้เลย แล้วยังคิดว่าตนเองรู้ไปหมด ก้อนขี้นะพี่น้อง ! ไม่ใช่ ก้อนทองคำ คือ สิ่งปฏิกูลในร่างกายของเรา หลักธรรมในพระพุทธศาสนาสอนให้พิจารณาให้เห็นจริงตามเป็นจริงใน กายคตาสติ (ข้อ ๘ ในอนุสติ ๑๐ คือ ความระลึกถึงอารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ) ว่าร่างกายนี้ประกอบด้วยสิ่งปฏิกูลทั้งหลายใน อาการ ๓๒ [ปฏิกูลมนสิการ] เพื่อให้เกิด สติคมชัด คือ มีสติสัมปชัญญะ ที่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔) ถ้าเห็น ขี้ [อาหารเก่าอาหารใหม่] เกิดดับในตัวเองได้ชัดเจน [ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ ที่ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหลายล้วนดับไปเป็นธรรมดา] ก็เป็นบุพนิมิตบ่งบอกว่า บุคคลนั้นมีโอกาสบรรลุคุณอันใหญ่แห่งโลกุตตระ แน่นอน เป็นเรื่อง ลางดี ไม่ใช่ ลางร้าย ฉะนั้น จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณตาทิพย์ เขาผู้เป็นอริยบุคคลทั้งหลาย เขามีไว้ทำกันแบบนี้ ไม่ใช่ ส่องหวยหาตัวเลข หรือ ทำเรื่องที่เป็นอัปมงคล หากินในทางที่ผิด หลอกลวงคนอื่น เบียดเบียดคนอื่น ประกอบความคิดประทุษร้ายผู้อื่น ขอให้ลืมตาให้สว่างในพระธรรมเถิด! เป็นผู้รู้เป็นผู้ตื่นเป็นผู้เบิกบาน ดีกว่า อย่านิ่งนั่ง นิ่งนอน นิ่งลุก นิ่งเดิน นิ่งวิ่ง นิ่งคิด ไม่ประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา นิ่งดูพระอาทิตย์ตกดิน นิ่งดูพระจันทร์ขึ้น [นิ่งที่ว่านี้ไม่ใช่ อุเบกขาในจตุตถฌาน หรอก] เสียเวลาชีวิตอันมีค่าไปเปล่าๆ ส่วนเหตุที่บรรยายไว้นี้ ไม่ใช่เรื่องหนักใจผู้เขียนบรรยายอะไรหรอก เพียงแค่นำเอา สารประโยชน์แห่งธรรม มาเป็นของฝากที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ [ของต้อนของฝาก] เท่านั้นเอง.
|