๑๐๑. ปรากฏการณ์แห่งธรรมทั้งปวง The Phenomena of All True Dhamma
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
ในคำกล่าวที่เป็นพุทธคติอย่างหนึ่ง ที่ผู้เป็นพุทธบริษัททั้งหลาย ไม่ควรละเลย คือ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ปัญญาที่เห็น ปรากฏการณ์แห่งธรรมทั้งปวง จึงเรียกว่า ปัญญาเห็นธรรมดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [ธัมมัฏฐิติญาณ = อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท] จนสามารถบรรลุถึง (๑) ทิพพจักขุตาทิพย์ คือ ญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปต่างๆ กัน ด้วยอำนาจกรรม กับ (๒) ปัญญาจักขุตาปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้ อริยสัจจธรรม เป็นต้น อันเกิดจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน [ยถาภูตญาณทัสสนะ (ข้อ ๑๕ ในมหาวิปัสสนา ๑๘ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา ขยานุปัสสนาวยานุปัสสนาวิปริณามานุปัสสนา อนิมิตตานุปัสสนาอัปปณิหิตานุปัสสนาสุญญตานุปัสสนา อธิปัญญาธรรมวิปัสสนายถาภูตญาณทัสนะอาทีนวานุปัสสนาปฎิสังขานุปัสสนาวิวัฏฏนานุปัสสนา) คือ ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง ทำให้ถึงอุปาทะแห่ง จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง] ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมตามแนวพระพุทธศาสนานั้น จึงมุ่งเน้นความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง [กฎธรรมชาติ] อันจะกลายเป็นปัญญาแตกฉานในธรรมทั้งปวง ที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทา ๔ (ข้อ ๖ ในปัญญา ๑๐ ซึ่งพัฒนามาจากอนุปัสสนา ๗ ได้แก่ ชวนปัญญานิพเพธิกปัญญามหาปัญญาติกขปัญญาวิบูลปัญญาคัมภีรปัญญาอัสสามันตปัญญาปฏิสัมภิทา ๔ปุถุปัญญาหาสปัญญา) ตามขั้นตอนนี้ หมายถึง ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ข้อ ๕ ในอรหันต์ ๕: ท่านผู้ได้จตุปฏิสัมภิทาญาณ) ซึ่งจะเป็นเรื่อง ปัญญา [ความรอบรู้] กับ สภาวธรรม [ธรรมทั้งปวง] แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่ง ปัญญาญาณ ทั้งหลายนั้น เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ก็ต้องอาศัย พลังอำนาจแห่งจตุตฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ ได้แก่ (๑) อุเบกขา [ความเป็นกลางในอารมณ์เพราะมีปัญญารอบรู้] กับ (๒) เอกัคคตาแห่งสมาธิ [ภาวะจิตอันสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ ที่เพ่งอารมณ์เดียวอย่างแน่วแน่ = อัปปนาสมาธิ] ซึ่งทำให้ จตุตถฌาน อันสหรคตด้วย อภิญญา ๕ กับ ญาณ ๒ อันเป็นกำลังสำคัญในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานให้เกิดปัญญญาณต่างๆ ข้างต้นนั้น ได้แก่ (๑) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต และสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ และ (๗) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต และหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ แล้วก็อย่าลืมว่า: ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตตา [มันไม่มีอะไรจริงๆ แล้วใครต้องคิดเช่นนี้] ด้วยประการฉะนี้.
บทความที่ ๑๐๑ ประจำปี ๒๕๕๘ ปรากฏการณ์แห่งธรรมทั้งปวง
ในความหมายของคำว่า ผู้รู้แจ้งโลก: โลกวิทู (ข้อ ๕ ในพุทธคุณ ๙) หมายถึง ผู้รู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลก คือ สังขารทั้งหลาย [สังขารนิมิต] ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตาม อำนาจแห่งคติธรรมดา: สังขตธรรม [อริยสัจจ์ ๔อัทธา ๓อิทัปปัจจยตา] โดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ [วิราคะ] พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดา [นิโรธะ] นั้น และ ทรงเป็น สรณะที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ ให้พิจารณานัยตามพระพุทธศาสนาของคำว่า สัตว์ [Beings: ผู้เกี่ยวต้องด้วยความยึดมั่นในกระแสโลก = พวกกิเลสหนา] เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดในการศึกษาพระธรรม ดังนี้
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ถูกตัณหาใดรัดรึง ย่อมเดือดร้อน เพราะทุกข์ในการไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เช่นเรา ตัดรากหรือที่โคนของตัณหานั้นดำรงอยู่ พึงเที่ยวแสวงหาน้ำ หรือแสวงหาปัจจัยอื่น เพื่อเหตุอะไร คือเพราะเหตุอะไร (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 701 FILE 44)
คำว่า อภินิเวสะ หมายถึง ความยึดมั่น นั่นคือ คันถะกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ดังผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยาก ความเข้าไปถือมั่น ความเข้าไปยึดถือใน รูปอันเป็นที่มานอนเนื่องแห่งอภินิเวสะ อย่างมั่นคงแห่งจิต บุคคลมาเกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า สัตว์ คำว่า สัตว์ เป็นชื่อของ ผู้เกี่ยวต้อง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 188 FILE 65)
นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก ปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้าที่ 187 FILE 65)
อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาอรรถนัยของ คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ คำว่า ความยึดมั่นหลงใหล อันเป็นเหตุนำมาซึ่ง ความไม่รู้แจ้งรู้จริงโดยวิปริต อวิชชาโมหะ [IgnoranceDelusion = อวิชชาสังโยชน์ทิฏฐิสังโยชน์: ไม่รู้แล้วยังคิดผิด] หรือ อัญญาณ: ความไม่รู้ [Nescience] ใน อริยสัจจ์ ๔ กาลทั้ง ๓ และ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อวิชชา ๔อวิชชา ๘] ดังนี้
ว่าด้วย นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้าที่ 187191 FILE 65)
[๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:
นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย
[๓๑] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว มีความว่า คำว่า เป็นผู้ข้อง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก่อน ก็แต่ว่า ถ้ำ ควรกล่าวก่อน กาย เรียกว่า ถ้ำ คำว่า กาย ก็ดี ถ้ำ ก็ดี ร่างกาย ก็ดี ร่างกายของตน ก็ดี เรือ ก็ดี รถ ก็ดี ธง ก็ดี จอมปลวก ก็ดี รัง ก็ดี เมือง ก็ดี กระท่อม ก็ดี ฝี ก็ดี [โรคฝีดาษ] หม้อ ก็ดี เหล่านี้เป็นชื่อของ กาย
คำว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือ ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ที่ตะปู ซึ่งดอกติดไว้ที่ฝาหรือที่ไม้ขอ ฉะนั้น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า: ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยาก ความเข้าไปถือมั่น ความเข้าไปยึดถือในรูป อันเป็น ที่มานอนเนื่องแห่อภินิเวสะ [อัตตาภินิเวส ถอนโดยอนัตตานุปัสสนา] อย่างมั่นคงแห่งจิต บุคคลมาเกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า สัตว์ คำว่า สัตว์ เป็นชื่อของ ผู้เกี่ยวต้อง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ
คำว่า ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือ ผู้อันกิเลสเป็นอันมากปิดบังไว้แล้ว [อุปกิเลส ๑๖] นั่นคือ (๑) ความกำหนัด = อภิชฌาวิสมโลภะคิดเพ่งเล็งอยากได้โลภไม่สมควร (๒) ความขัดเคืองเพราะหลง = พยาบาทคิดร้ายเขา (๓) ความโกรธ = โกธะความโกรธ (๔) ความผูกโกรธ = อุปนาหะความผูกโกรธ(๕) ความลบหลู่ = มักขะความลบหลู่คุณความดีของผู้อื่น (๖) ความตีเสมอ = ปลาสะยกตัวเทียมท่าน (๗) ความริษยา = อิสสาความริษยา (๘) ความตระหนี่ = มัจฉริยะความตระหนี่ (๙) ความลวง = มายามารยา (๑๐) ความโอ้อวด = สาเถยยะความโอ้อวดหลอกเขา (๑๑) ความดื้อ = ถัมภะความหัวดื้อกระด้าง(๑๒) ความแข่งดี = สารัมภะไม่ยอมลดละมุ่งแต่จะเอาชนะกัน (๑๓) ความถือตน = มานะความถือตัวทะนงตน (๑๔) ความดูหมิ่น = อติมานะความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา (๑๕) ความมัวเมา = มทะความมัวเมา (๑๖) ความประมาท = ปมาทะความประมาทละเลยเลินเล่อ ปิดบังไว้แล้ว อันกิเลสทั้งปวง อันทุจริตทั้งปวง อันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง อันความเดือดร้อนทั้งปวง อันอภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง บังไว้คลุมไว้หุ้มห่อไว้ปิดไว้ปิดบังไว้ปกปิดไว้ปกคลุมไว้ครอบงำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว
[๓๒] คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง มีความว่า: [มนสิการในนิวรณ์ ๕ และ อนุสัย ๗]
คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ คือ นรชน เมื่อตั้งอยู่ (๑) ก็เป็นผู้กำหนัด = กามฉันทะความพอใจในกาม ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความกำหนัด [กามราคะ] (๒) เป็นผู้ขัดเคือง = พยาบาทความขัดเคืองแค้นใจ ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความขัดเคือง [ปฏิฆะโทสะ] (๓) เป็นผู้หลง = ถีนมิทธะความหดหู่และเซื่องซึม ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความหลง [อวิชชาโมหะ] (๔) เป็นผู้ผูกพัน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความถือมั่น [มานะอติมานะ] (๕) เป็นผู้ยึดถือ [อภินิเวสะ] ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความเห็น [ทิฏฐิทิฏฐิสังโยชน์ภวราคะ] (๖) เป็นผู้ฟุ้งซ่าน = อุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและร้อนใจ ย่อมดังอยู่ด้วยสามารถแห่งความฟุ้งซ่าน (๗) เป็นผู้ไม่แน่นอน = วิจิกิจฉาความลังเลสงสัย ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความสงสัย (๘) เป็นผู้ถึงความมั่นคง [ถาวริยปฺปตฺโต = ยินดี เพลิดเพลิน ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน ไม่โยกย้ายอีก เช่น ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺโต คือ ผู้ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท แต่ไม่ใช่อรรถว่า เถโร = เป็นผู้ถึงความมั่นคง หรือ ถารเรยฺยํ = ความเป็นผู้ถึงความมั่นคง เพราะเป็นผู้บวชนาน] ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งกิเลสที่นอนเนื่อง [อนุสัย ๗สังโยชน์ ๗] เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า: [มนสิการในอายตนะ ๑๒ = อัชฌัตติกายตนะ หรือ อายตนะภายใน ๖พาหิรายตนะ หรือ อายตนะภายนอก ๖]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ดังแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลินชมเชย ยึดถือรูปนั้น ตั้งอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ดังแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลินชมเชย ยึดถือเสียงนั้น ตั้งอยู่ (๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ดังแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลินชมเชย ยึดถือกลิ่นนั้น ตั้งอยู่ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ดังแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลินชมเชย ยึดถือรสนั้น ตั้งอยู่ (๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ดังแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลินชมเชยยึดถือโผฏฐัพพะนั้น ตั้งอยู่ (๖) ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินชมเชยยึดถือธรรมนั้น ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า: [มนสิการในขันธ์ ๕]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๒) วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีเวทนา เป็นอารมณ์ มีเวทนา เป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ (๓) วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ หรือ (๔) วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า: [มนสิการในอาหาร ๔]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยาก มีอยู่ใน กวฬิงการาหาร [มนสิการนามรูปโดยปฏิจจสมุปบาท ๑๒ = อนุโลมปฏิจจสมุปบาท] วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหญ่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น [โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = สังกิเลสทั้งหลาย]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๒) ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ใน ผัสสาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหญ่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรามรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๓) ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ใน มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหญ่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๔) ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ใน วิญญาณาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้
คำว่า หยั่งลงในที่หลง มีความว่า กามคุณ ๕ คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๒) สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๔) รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า: ที่หลง เพราะเหตุไร กามคุณ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า: ที่หลง เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ โดยมากย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม เป็นผู้หลงเสมอ ใน กามคุณ ๕ เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า: ที่หลง คำว่า หยั่งลงในที่หลง คือ หยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง
จบ นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ -------------------------------
หมายเหตุ: การอ่านเนื้อหาในพระไตรปิฎกซ้ำๆ หลายรอบ แล้วไตร่ตรองพิจารณาช้าๆ อย่างรอบคอบนั้น จะทำให้เกิดปัญญาอย่างอัศจรรย์ ให้อ่านอย่างมีความศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ กุศลานิสงส์ย่อมเกิดขึ้นกับตน เพราะพระไตรปิฎกได้รับการสังคายนาโดยคณะพระอริยสงฆ์จำนวนมากมายเกือบ ๒,๖๐๐ ปี มาแล้ว จึงเป็นคัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในทางปฏิบัติธรรม ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ไปคิดสร้างนิกายศาสนาใหม่ขึ้นอีก เป็นเหตุนำไปสู่ ศาสดาเจ้าปลอม [คือ คงเป็นบ้าไปแล้ว เพราะโอ้อวดบุญหนาศักดิ์ใหญ่คับวัดคับสำนัก ต้องการสาวกจำนวนมากมาสนับสนุนฐานกำลัง] ถ้าศึกษาไม่รู้เรื่อง ก็ให้ใช้พจนานุกรมศาสนาเป็นคู่มือค้นหานิยามศัพท์บัญญัติ [Terminology] ที่ถูกต้อง และควรมีกัลยาณปุถุชนหรือพระอริยสงฆ์เป็นที่ปรึกษา เพื่อป้องกันความฟั่นเฟือน สับสน หรือเกิดอวิชชาและอรติ ไปสู่มิจฉาทิฏฐิหรือทิฏฐิวิบัติ
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมศึกษาถึงอกุศลธรรมข้างต้นนั้น แล้วเกิดความอิ่มเอิบใจ ความปลื้มใจ ศึกษาค้นคว้าแล้ว ไม่เบื่อหน่าย มีแต่ศรัทธาและฉันทะแรงกล้า ที่จะปรารภความเพียรในการศึกษา เรียกว่า ธมฺมปีติ [ธรรมปีติ] หมายถึง ผู้เอิบอิ่มในธรรม หรือ ผู้ดื่มธรรม อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ที่เกิดจากการฟังและการอ่าน หรือ การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะ การวิจัยธรรม [ธัมมวิจยะ] เรียกว่า ปรโตโฆสะ ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา แล้วนำเอาองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในการต่อยอดนั้น เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา รวมความแล้ว ปัจจัยทั้ง ๒ ประการ ดังกล่าวนี้ ทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบตามคลองธรรม ไม่หลงทางสายกลางแห่งปัญญา คือ มัชฌิมาปฏิปทา เพราะอำนาจครอบงำกลุ้มรุมแห่ง อวิชชาตัณหาทิฏฐิมานะ ปัญญาทั้ง ๒ อย่าง ข้างต้นนั้น ย่อมกลายเป็นบาทฐานให้เกิด ญาณ [Insight = ญาณทัสสนะ] ได้ [จินตามยญาณสุตมยญาณ] ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา อันเป็นปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือมนสิการกรรมฐาน ที่เจริญมากๆ ทำบ่อยๆ อย่างสืบเนื่อง ให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ฉะนั้น คำว่า สัมมาทิฏฐิ จึงเป็นปทัฏฐานสำคัญในการปฏิบัติธรรม [นั่งสมาธิ] ที่จะเกื้อกูลสนับสนุนอริยมรรค โดยต้องอาศัยปัจจัยในหลักธรรม บุพนิมิตแห่งมรรค ๗ ดังนี้
บุพนิมิตแห่งมรรค ๗ หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น อุปมา: ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย ๑ แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดี ๑ รุ่งอรุณของการศึกษา ๑ ฉะนั้น เมื่อใดธรรมที่เป็นสัญญาณบุพนิมิต ๗ ประการนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดมีในบุคคลแล้ว เมื่อนั้นย่อมเป็นอันหวังได้ว่าเขาจักเจริญ พัฒนา ทำให้มาก ซึ่งมรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ คือ จักดำเนินก้าวไปใน มัชฌิมาปฏิปทาได้แก่ (๑) กัลยาณมิตตตา คือ ความมีกัลยาณมิตร มีมิตรดี คบหาคนที่เป็นแหล่งแห่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี (๒) สีลสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล การทำศีลให้ถึงพร้อม ตั้งตนอยู่ในวินัยและมีความประพฤติทั่วไปดีงาม (๓) ฉันทสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ การทำฉันทะให้ถึงพร้อม ความใฝ่ใจอยากจะทำกิจหน้าที่และสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ดีงาม ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ (๔) อัตตสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์ เรียกว่า ภาวิต ๔ [คุณชาติแห่งพระอรหันต์] ทั้งด้าน ภาวิตกายภาวิตศีลภาวิตจิตและภาวิตปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] (๕) ทิฏฐิสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ การทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย (๖) อัปปมาทสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท การทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม (๗) โยนิโสมนสิการสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ การทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้
ฉะนั้น การจะเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม คือ ธรรมจักษุ ได้นั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายอันเป็นสามัญในหมู่ปุถุชนทั่วไป แค่ยกขึ้นเป็นหัวขึ้นในวงสนทนากัน ก็เป็นเรื่องยากมาก เพราะมีผู้เรียนรู้มาก ฟังมาก [พาหุสัจจะ] ไม่ค่อยเกิดขึ้นในวงการพระศาสนา [เนื่องจากระบบติดขัด] ไม่อยากบอกว่า สังคมด้อยวาสนา เดี๋ยวจะเป็นการประณามผู้คนผู้ด้อยวาสนา = อภัพบุคคล [ภัพบุคคล คือ คนที่ควรบรรลุธรรมพิเศษได้] หมายถึง ปล่อยวางกับสังคมไม่ชอบเรียนรู้ ไม่อยากมีผู้รู้ บัณฑิต นักปราชญ์ ปราชญ์มุนี เป็นมิตรแท้ กัลยาณมิตร [กัลยาณมิตตตา ธรรมเอกข้อนี้สำคัญนัก แปลว่า อย่าคบคนชั่วเป็นมิตร] ในทางกลับกัน ถ้าตนเองมีความรู้ดีกว่าคนอื่น ก็ควรแบ่งปันให้กับคนรอบข้าง จะไม่ต้องทนอยู่กับพวกคนโง่มากๆ ปวดกระบาล ปวดมโน กันเปล่าๆ ยังเป็นการเสริมสิริมงคลให้กับตนและตระกูล เพราะเป็นการเสียสละ การให้ที่มีคุณใหญ่แฝงอยู่ เรียกว่า ธรรมทาน [ดีกว่าการให้สิ่งของ เงินทอง มีแต่จะเพิ่มพูนกิเลสในตัวผู้รับ] ก็ให้ท่านทั้งหลาย ได้พิจารณาหัวข้อธรรมสำคัญใน พุทธกิจประจำวัน ๕ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย เพื่อใช้เป็นตัวอย่างที่ดี ในการไม่สันโดษในการทำความดี หรือในการประกอบ กุศลกรรม [ปุญญาภิสังขาร ข้อ ๑ ในอภิสังขาร ๓] อันนำตนสู่ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ที่เรียกว่า ชาคริยานุโยค (ข้อ ๓ ในอปัณณกปฏิปทา ๓: ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ได้แก่ อินทรียสังวรโภชเนมัตตัญญุตาชาคริยานุโยค) หมายถึง การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน นั่นคือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป ดังนี้
พุทธกิจประจำวัน ๕ หมายถึง พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวันมี ๕ อย่าง ได้แก่ ๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ คือ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ คือ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ คือ เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ คือ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕. ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ คือ จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่
[สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว แปลว่า พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐทรงยังกิจ ๕ ประการนี้ให้หมดจด]
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ [Phenomena] ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่มีอยู่ภายในตนเป็นเบื้องต้น และที่มีอยู่ภายนอกตนเป็นเบื้องหน้า ซึ่งหมายถึง คำว่า ธรรม [Dhamma] ดังนิยามต่อไปนี้
ธรรม หมายรวมถึง สภาวธรรมปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] อันเป็นความหมายสูงสุดโดยนัยแห่ง อรรถบัญญัติ [Terms] ซึ่งความหมายทั้งหมดนี้ จะประมวลรวมลงที่ คำว่า ขันธ์ ๕ ที่เป็นทั้ง สังขตธรรม และ อสังขตธรรม [นิพพาน] ได้แก่ (๑) สภาพตามจริง [States] ธรรมดาธรรมชาติสภาวธรรมสัจจธรรมความจริง (๒) เหตุปัจจัย [Conditions] ต้นเหตุปัจจัยองค์ประกอบ (๓) สรรพสิ่ง [Realities] ปรากฏการณ์ธรรมารมณ์สิ่งที่ใจคิดความนึกคิด (๔) คุณธรรม [Virtues] ความดีความถูกต้องความประพฤติชอบ (๕) ความรู้ [Knowledge] เทคโนโลยีหลักการทฤษฎีกฎระเบียบแบบแผนธรรมเนียม (๖) ค่านิยม [Values] ความถูกต้องความยุติธรรมคุณธรรมจริยธรรมปรัชญาวิถีชีวิตหน้าที่ (๗) พระธรรม [Doctrines] พระสัตถุสาสน์พระอนุสาสนีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้เข้าใจรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง จึงได้ชื่อว่า ผู้รู้แจ้งโลก: โลกวิทู (ข้อ ๕ ในพุทธคุณ ๙) ดังเช่น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย อย่าลืมว่า พระตถาคตเจ้านั้น ดำรงด้วยฐานะสร้างสมบารมี ๑๐ ประการแห่งยุคภัทรกัปนี้ มาอย่างสมบูรณ์ยิ่ง [โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญญาปรมัตถบารมีทิพพจักขุปัญญาจักขุพุทธจักขุสมันตจักขุสัพพัญญุตญาณทศพลญาณ] ที่เรียกว่า อุคฆฏิตัญญูโพธิสัตว์พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ภูมิหลังของการพัฒนา ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา [ปราชญ์มุนี] ของพระองค์นั้น พระมหาบุรุษนั้น ทรงมีพระปัญญาเป็นอย่างดีและมีความเป็นเลิศ [Illuminati (อิลูมะเน'ไท) or Cognoscente (คอนยะเซน'เท)] ทั้งใน ขัตติยธรรม และ คดีโลก คือ ศิลปศาสตร์ อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจาก คัมภีร์โลกนิติ และ คัมภีร์ธรรมนิติ ดังนี้ (๑) สุติ คือ ความรู้ทั่วไป (๒) สัมมุติ คือ ความรู้กฎธรรมเนียม (๓) สังขยา คือ วิชาคำนวณ (๔) โยคา คือ การช่างการยนตร์ (๕) นีติ คือ วิชาปกครอง [นิติศาสตร์ ในชมพูทวีป] (๖) วิเสสิกา คือ ความรู้การอันให้เกิดมงคล (๗) คันธัพพา คือ วิชาร้องรำ (๘) คณิกา คือ วิชาบริหารร่างกาย (๙) ธนุพเพธา คือ วิชายิงธนู [ธนุพเพทา] (๑๐) ปูรณา คือ วิชาบูรณะ (๑๑) ติกิจฉา คือ วิชาบำบัดโรค [แพทยศาสตร์] (๑๒) อิติหาสา คือ ตำนานประวัติศาสตร์ (๑๓) โชติ คือ ความรู้เรื่องสิ่งส่องสว่างในท้องฟ้า [ดาราศาสตร์] (๑๔) มายา คือ ตำราพิชัยสงคราม (๑๕) ฉันทสา คือ วิชาประพันธ์ (๑๖) เกตุ คือ วิชาพูด (๑๗) มันตา คือ วิชาเวทมนตร์ (๑๘) สัททา คือ วิชาหลักภาษาไวยากรณ์
ด้วยเหตุนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมเปรียบหรือเทียบเคียง องค์ความรู้ระหว่างคำว่า ธรรม [Dhamma] กับ ศิลปศาสตร์ [Arts] ว่ามีส่วนคล้ายคลึงและส่วนต่างกันอย่างไร แล้วลองเปรียบเทียบหรือเทียบเคียงกับหลักสูตรการศึกษาในแต่ละระดับของสถาบันการศึกษาด้วย ว่ามีความขาดความเกินอย่างอย่างไร และทำไมคนสมัยใหม่จึงไม่เฉลียวฉลาดมากพอกับคนสังคมสมัยอื่นๆ ทำไมภูมิปัญญาของเราจึงกุดขาดหาย ไม่ต่อเนื่อง พัฒนาได้ทันกับวิทยาการใหม่ๆ [Advanced Technology] หรือพวกเราพากันไปกินดินโป่งกันในป่าอยู่ หรือศึกษาก็เรียนเฉพาะเปลือกไม้กระพี้เท่านั้น เข้าไม่ถึงแก่นไม้จริงๆ ว่าคืออะไร ไปคุยอะไรกับพวกมนุษย์โลกเผ่าอื่น ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องกับเขา จบปริญญามาก็เหมือนปาเป้าโดนก็จบ เข้าทำนองว่า: ทำเล่นๆ ได้ลูกจริงๆ คือ เล่นไปหมดกับทุกอย่าง แม้ไปหลอกเจ้าเข้าทรง ไปบนบานศาลกล่าวไว้ ยังเบี้ยวอีก [ร่างทรงเดือดร้อน] พูด ทำ คิด อย่างไม่มี สัจจะHonesty [คือ ความสัตย์ ความซื่อตรง ย่อลงใน ๓ จอ ได้แก่ พูดจริงทำจริงและจริงใจ ตัวที่ ๔ โผล่มา คือ จิงโจ้ นั่นคือ เป็นบ้า เต้นไป ไม่รู้เรื่องอะไรเลย กับ พวกชาวโลก] ส่วนใหญ่คนสมัยใหม่จึงมีอาการทรงและทรุด ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เพราะไม่มีทิศทางที่ชัดเจน อันเป็น ปรัชญาแห่งชีวิต เช่น แนวคิดที่ว่า: ให้เป็นผู้ให้เสียสละต่อสังคมส่วนรวม ดีกว่าเป็นผู้รอรอประโยชน์จากสังคม [แต่ไม่ใช่บ้าหลงบุญ สนองตัณหาของผู้อยากในลาภสักการะ ทำบุญเพื่อไม่ให้ลำบากตอนไปปรโลก ไม่ใช่บุญ กลายเป็น โลภโกรธหลง ไปอย่างไม่รู้ตัว จนเกิด อาการเสียธรรมโง่ไม่มีสติสัมปชัญญะ เพราะไม่ประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา ภาษาทางโทรทัศน์บอกว่า: ให้ใช้วิจารณญาณ อายุต่ำกว่า ๑๓ ปี ควรมีผู้แนะนำดูด้วย แต่ถ้าเกิน ๖๐ ปี ควรมีพยาบาลดูแล สัปเหร่อให้คำปรึกษา หรือบริษัทประกันโอเคด้วย]
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรมีเมตตาธรรมให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สังคมจะได้น่าอยู่มาขึ้น ไม่ใช่ปล่อยมันไปตามยถากรรมของมัน คือ ให้มันเป็นไปตาม ภาวะความไร้ระเบียบ [Chaos Theory or Functionalism] อย่าลืมว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งเห็นจริงเรื่อง: สัตว์ทั้งหลายมีชีวิตสันตติ คือ การจุติและการอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรมของตน หรือ การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ที่ประกอบด้วย สังสารทุกข์แห่งภวจักร [สังสารจักร] ด้วย จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ อีกนัยหนึ่ง หมายถึง พระตถาคตทรงรู้เห็น สภาพแห่งทุกข์ [ขั้นกำหนดทุกขสัจจ์ = นามรูปปริจเฉทญาณทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริงเป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด] และ มูลเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายนั้น [ขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ = ปัจจยปริคคหญาณยถาภูตญาณธรรมฐิติญาณสัมมาทัสสนะกังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓] ได้เป็นอย่างดี คือ ญาณทัสสนะ [Knowledge and Insight = พลังอำนาจแห่งจตุตถฌาน ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ กับ พลังอำนาจแห่งวิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้แก่ ญาณในวิปัสสนา หรือ วิปัสสนาญาณ ๑๐] ไม่ใช่การคาดเดาโดยไม่ใช้เหตุผลและไม่ประกอบด้วยปัญญา ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายจึงปรากฏแก่พระตถาคตโดยปราศจากข้อสงสัย
นอกจากนี้ ผู้มีปัญญาเป็นเลิศพิเศษที่มี ปัญญาเห็นธรรม และ ปัญญาตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ ได้นั้น ย่อมเกิดจาก ปรีชาสามารถในการจำแนกแจกธรรมทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ที่เรียกว่า ภควา (ข้อ ๙ ในพุทธคุณ ๙) คือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม [Analyst] อันเป็นคุณสมบัติสำคัญในการศึกษาธรรม [สิกขา] นั่นคือ พหูสูตทรงความรู้ ผู้ประกอบด้วย พาหุสัจจะพหูสูตมีองค์ ๕ ดังนี้
พหูสูตมีองค์ ๕ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่า เป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือ ผู้คงแก่เรียน ในทางโลกหมายถึง ผู้รู้Scholar หรือ ปราชญ์ Philosopher ได้แก่ (๑) พหุสฺสุตา คือ ฟังมาก นั่นคือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก (๒) ธตา คือ จำได้ นั่นคือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ (๓) วจสา ปริจิตา คือ คล่องปาก นั่นคือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่องจัดเจน (๔) มนสานุเปกฺขิตา คือ เพ่งขึ้นใจ นั่นคือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด (๕) ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา คือ ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นั่นคือ มีความเข้าใจลึกซึ้งมองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล
ฉะนั้น คุณสมบัติความเป็นพหูสูตนั้น มีความสอดคล้องกับการพัฒนาปัญญาในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เรียกว่า อนุปัสสนา ๗ คือ มนสิการกรรมฐานเป็นกิจวัตร ทำเป็นประจำ เช่น การพิจารณา [สัมมาสนะ] ไตร่ตรองในบรรดาสภาวธรรมทั้งหลาย อันเกิดจาก การเจริญอานาปานสติสมาธิ (ข้อ ๑ ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) คือ เริ่มฝึกจิตให้เป็นสมาธิ [จิตตสมาธิ] หรือสร้าง สติสัมปชัญญะ [Temperance] ให้แก่กล้า มีความคมชัด จนเกิด ปัญญาในสมาธิ ได้ตามลำดับใน สติปัฏฐาน ๔ ทั้งหมด ดังนี้
สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ที่ตั้งของสติการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ซึ่งทำให้ลุถึง อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [ยถา ปชานํ] นั่นคือ ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ในความหมายรวมๆ ฉะนั้น การเจริญธรรม มหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นด่านแรกแห่งการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า อริยมรรค ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง นั่นคือ (๑) อานาปานสติ กำหนดลักษณะลมหายใจเข้าออก อัสสาสะปัสสาสะ ควรใช้เจริญฌานในขั้นแรก (๒) อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (๓) สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (๔) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (๕) ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ และ (๖) นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็น สุขก็ดีทุกข์ก็ดีเฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส [มีเครื่องล่อวัตถุ] และเป็นนิรามิส [เป็นอิสระ] ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่ มีราคะไม่มีราคะมีโทสะไม่มีโทสะมีโมหะไม่มีโมหะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒โพชฌงค์ ๗อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเจริญจตุสติปัฏฐานกรรมฐาน (ข้อ ๑ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗: ธรรมเครื่องเกื้อกูลความตรัสรู้และอริยมรรค) นั้น ย่อมเป็นขั้นตอนของการเจริญภาวนากรรมฐาน ทั้ง สมาธิ [ฌานในสมถะ: Concentration or Meditation: สมถะ] และ วิปัสสนา [ญาณในวิปัสสนา: Insight or Knowledge] ที่เรียกว่า อนุปัสสนากรรมฐาน ในเวลาขณะเดียวกัน อันเป็นปทัฏฐานสำคัญในการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คือ กิจกรรมทุกอย่างในความเป็นมนุษย์นั้น ต้องถึงพร้อมด้วย สติสัมปชัญญะ ที่สมบูรณ์บริบูรณ์อันเหมาะควร และรู้จักประมาณด้วยเหตุผล วิจารณญาณ สามัญสำนึก ว่าอะไรควรหรือไม่ควรที่เป็นผลดีต่อตน แต่อย่างไรก็ตาม ให้ทำความเข้าใจว่า สติปัฏฐาน ๔ [มหาสติปัฏฐาน] นี้ เป็นขั้นตอนฝึกกระบวนการคิด ให้เกิดความรู้เห็นหรือเข้าใจอย่างถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ [วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ: ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย] ที่มีต่อ สภาวธรรม อันเป็น อารมณ์แห่งกรรมฐาน [กรรมฐาน คือ สิ่งที่ใช้ในการฝึกจิต ดังเช่น กายเวทนาจิตธรรม] ในขณะนั้น โดยใช้เกณฑ์พิจารณา ที่เรียกว่า ฌาน ๒ [Meditation] ดังนี้
(๑) อารัมมณูปนิชฌาน หมายถึง การเพ่งพินิจอารมณ์แห่งกรรมฐานด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ที่เรียกว่า ฝ่ายสมถกรรมฐาน นั่นคือ การเพ่งพิจารณาอารมณ์โดยองค์ฌาน ๖ [รูปฌาน ๔] ได้แก่ วิจกวิจารปีติสุขอุเบกขา เอกัคคตา จนรวมถึง อรูปฌาน ๔
(๒) ลักขณูปนิชฌาน หมายถึง การเพ่งพินิจสามัญลักษณะแห่งกรรมฐานด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ที่เรียกว่า ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน นั่นคือ (๑) วิปัสสนา คือ การเพ่งพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา (๒) มรรค คือ เจริญภาวนากิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ และ (๓) ผล คือ เพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็น สุญญตะอนิมิตตะอัปปณิหิตะ และรู้เห็นลักษณะอันเป็น สัจจภาวะแห่งนิพพาน [อนัตตตาสุญญตาอมตธาตุบรมธรรมวิวัฏฏะขันธวินิมุต] ได้จริง
ข้อพึงสังเกต คือ ในการปฏิบัติจะเรียกรวมๆ ว่า ฌาน [Meditation] หมายถึง ภาวะจิตสงบประณีตขั้นสูง ซึ่งมีสมาธิConcentration เป็นองค์ธรรมหลักสำคัญ โดยมีสติสัมปชัญญะTemperance ทำหน้าที่เพ่งพินิจInspection การตรวจสอบอย่างละเอียดScrutiny การพิจารณาไตร่ตรองExamination ในกรรมฐานเครื่องฝึกอบรมจิตใจให้เกิดภาวะสงบ ละเอียด ประณีต ที่ประกอบด้วย อธิจิตต์ ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ คือ ฌาน ๔รูปฌาน ๔ [Absorption] เรียกอีกอย่างว่า จตุกกัชฌานฌานจตุกกนัย หมายถึง ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ชั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป ดังนี้
ฌาน ๔รูปฌาน ๔ [อารัมมณูปนิชฌาน] หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ (๑) ปฐมฌานฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌานฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌานฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌานฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้อง ฝึกฝนการเจริญฌานสมาบัติให้ชำนาญคล่องแคล่ว เป็นทักษะประสบการณ์ทางจิตเฉพาะตนอย่างเยี่ยม [วสี ๕: (๑) อาวัชชนวสี การนึกตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว (๒) สมาปัชชนวสี การที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที (๓) อธิฏฐานวสี การที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์ (๔) วุฏฐานวสี การจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ (๕) ปัจจเวกขณวสี การพิจารณาทบทวนองค์ฌาน] อย่างเช่นพระตถาคตทรงถึงพร้อมด้วย ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ) หมายถึง ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดความคล่องตัวในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ดีแล้ว ถึงพร้อมแล้ว นั้น ก็ให้เน้นถึงการเจริญ อานาปานสมาธิกรรมฐานอานาปานสติสมาธิกรรมฐาน (ข้อ ๙ ในกรรมฐาน ๔๐) นั่นคือ การฝึกอบรมจิตด้วยการใช้สติกำหนดพิจารณาไตร่ตรองลมหายใจเข้าออก จนก้าวสู่การเจริญสมถกรรมฐานได้ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิในฌาน [จิตตสมาธิ] คำว่า สมาธิConcentration นั้น มีความสำคัญอย่าอย่าง เพราะเป็นขั้นชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ จนถึงขั้นเรียกว่า จิตประภัสสร [อัปปนาสมาธิจตุตถฌานจิตภวังคจิต: สหรคตด้วยองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขา กับ เอกัคคตา] แต่ ฌานในพระพุทธศาสนา นี้ มีความแตกต่างจากของนักบวชลัทธิศาสนาอื่น ตรงที่ว่า ประกอบด้วย (๑) สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔ (๒) สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔ และ (๓) สัมมาสมาธิฌาน ๔ เรียกว่า อธิจิตตสิกขา (ข้อ ๒ ในไตรสิกขา) ฉะนั้น องค์ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ จะเกิดขึ้นพร้อมกันในการปฏิบัติธรรม [นั่งสมาธิ] เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกัน [ธรรมสามัคคี] หรือเป็น (๑) ปัจจัยองค์ประกอบที่เกิดร่วมกันพร้อมเป็นอันเดียว เรียกว่า เอกุปปาทะ [Mono Configuration] (๒) ทั้งดับด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว เรียกว่า เอกนิโรธะ [Mono-Cessation] และ (๓) มีอารมณ์แห่งกรรมฐาน [เช่น อานาปานะ = อัสสาสะ และ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก] นั้น เป็นที่อาศัยร่วมกันเป็นอันเดียว เรียกว่า เอกนิสสยะ [MonoCoexistence] ด้วยเหตุนี้ คุณชาติภาวะจิตที่เกิดดับขึ้นตามเจตนาของผู้เจริญฌาน [ฌายีบุคคล] นั้น ต้องมีเอกภาพเดียวกัน ในภาวะที่เรียกว่า สหวุตติ [Syndesis or Agglomeration] ซึ่งประกอบด้วยอาการลักษณะของจิตที่เป็นกลางและกุศล นั่นคือ กองเจตสิก ๕ [เจตสิก ๕๒] ยกเว้น อกุศลเจตสิก ๑๔ ดังนี้
(๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๑. ผัสสะ [ความกระทบอารมณ์] ๒. เวทนา [ความเสวยอารมณ์] ๓. สัญญา [ความหมายรู้อารมณ์] ๔. เจตนา [ความจงใจต่ออารมณ์] ๕. เอกัคคตา [ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว] ๖. ชีวิตินทรีย์ [อินทรีย์คือชีวิต สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง] ๗. มนสิการ [ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ การใส่ใจ]
(๒) ปกิณณกเจตสิก ๘. วิตก [ความตรึกอารมณ์] ๙. วิจาร [ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์] ๑๐. อธิโมกข์ [ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์] ๑๑. วิริยะ [ความเพียร] ๑๒. ปีติ [ความปลาบปลื้มในอารมณ์ ความอิ่มใจ] ๑๓. ฉันทะ [ความพอใจในอารมณ์]
(๓) โสภณสาธารณเจตสิก ๒๘. สัทธา [ความเชื่อ] ๒๙. สติ [ความระลึกได้ ความสำนึกพร้อมอยู่] ๓๐. หิริ [ความละอายต่อบาป] ๓๑. โอตตัปปะ [ความสะดุ้งกลัวต่อบาป] ๓๒. อโลภะ [ความไม่อยากได้อารมณ์] ๓๓. อโทสะ [ความไม่คิดประทุษร้าย] ๓๔. ตัตรมัชฌัตตตา [ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ] ๓๕. กายปัสสัทธิ [ความสงบแห่งกองเจตสิก] ๓๖. จิตตปัสสัทธิ [ความสงบแห่งจิต] ๓๗. กายลหุตา [ความเบาแห่งกองเจตสิก] ๓๘. จิตตลหุตา [ความเบาแห่งจิต] ๓๙. กายมุทุตา [ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก] ๔๐. จิตตมุทุตา [ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต] ๔๑. กายกัมมัญญตา [ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก] ๔๒. จิตตกัมมัญญตา [ความควรแก่การงานแห่งจิต] ๔๓. กายปาคุญญตา [ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก] ๔๔. จิตตปาคุญญตา [ความคล่องแคล่วแห่งจิต] ๔๕. กายุชุกตา [ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก] ๔๖. จิตตุชุกตา [ความซื่อตรงแห่งจิต] ๔๗. สัมมาวาจา [เจรจาชอบ] ๔๘. สัมมากัมมันตะ [กระทำชอบ] ๔๙. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีพชอบ]
(๔) อัปปมัญญาเจตสิก ๕๐. กรุณา [ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์] ๕๑. มุทิตา [ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข] (๕) ปัญญินทรียเจตสิก ๕๒. ปัญญินทรีย์อโมหะ [ความรู้เข้าใจ ไม่หลง สัมปชัญญะ]
ในขั้นตอนนี้ ให้ผู้ปฏิบัติวิจัยธรรม [ธัมมวิจยะ] โดยการแยกแยะจัดหมวดหมู่ธรรม [กลาปสัมมาสนะ] ไม่จำเป็นต้องครบทุกองค์ธรรม เพราะวิถีจิตใน ๑ ขณะ มีเจตสิกไม่ครบทุกองค์ แต่ให้พิจารณาถึงการเป็นภาวะของ สัมปยุตตธรรม ด้วยองค์ธรรมย่อย ดังนี้ (๑) องค์ฌาน ๖ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ (๔) สัมมาสมาธิ (๕) อิทธิบาท ๔ (๖) อินทรีย์ ๕ (๗) โพชฌงค์ ๗ (๘) มรรคมีองค์ ๘
ข้อพึงสังเกต คือ จุดประสงค์ของการปฏิบัติธรรม นิพพาน ถ้าไม่ตั้งจิตอธิษฐานไว้เช่นนี้ ก็อย่างมาปฏิบัติธรรมให้เสียเวลา หรือ ลาสึก ไปเลยดีกว่า [ไม่บาปตกนรก] ไม่ใช่ ลาบวช เพราะคำว่า สมณะเนกขัมมะพระสงฆ์ หมายถึง บุคคลผ้มีคุณลักษณะที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคต [ปรมัตถประโยชน์] นั่นคือ พุทธะ [Buddha] ประกอบด้วย คำว่า อริยะอารยะ หรือ ประเสริฐศิวิไลซ์ หรือ พัฒนาแล้ว ดังเช่น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ กล่าวโดยย่อ ประกอบด้วยองค์ธรรม ๑๔ ประการ ได้แก่ สติวิริยะฉันทะจิตตะปัญญาสัทธาสมาธิปีติปัสสัทธิอุเบกขาสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้น สัจจภาวะแห่งความตรัสรู้ [Enlightenment: นิพพานNirvana] นั้น ต้องประกอบด้วยจิตที่สัมปยุตต์ด้วยองค์ธรรมทั้ง ๑๔ ประการ เป็นสำคัญในเจริญภาวนากรรมฐาน ซึ่งองค์ธรรมสำคัญยิ่งอันเป็นสัมมาปฏิปทา คือ สติMindfulness กับ ปัญญาAwareness ซึ่งหมายถึง สติสัมปชัญญะTemperance ที่สหรคตด้วย อุเบกขาEquanimity และ สมาธิConcentration โดยนัยหมายถึง จตุตถฌานฌานที่ ๔ [The Fourth Absorption] นั่นเอง กล่าวโดยสรุป การเจริญสมถกรรมนั้น ย่อมปรารถนาใฝ่กุศลด้วย สติปัญญา [ปัญญาในสมาธิ] ที่สัมปยุตต์ด้วย สติปัญญา ในการเจริญวิปัสสนา [อนุปัสสนากรรมฐาน หมายถึง ปัญญาในวิปัสสนา = ญาณ หรือบรรลุถึงขั้น ยถาภูตญาณทัสสนะ นั่นคือ จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง] อันเกิดจาก ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ที่สหรคตด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ
ฉะนั้น เท่าที่ได้บรรยายมานี้ เพราะอรรถว่า ปัญญา [Wisdom] หรือ ความรู้ [Knowledge] โดยนัยสำคัญ คือ หมายบรรลุรู้แจ้งแทงตลอดด้วย จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง โดยเริ่มแรกด้วย สติปัฏฐาน ๔ [เอกายนมรรคโพธิปักขิยธรรม ๓๗] เป็นต้น ที่สัมปยุตต์ด้วย อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาพระเสขะ] อันทำให้เกิด ปัญญาในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ดังนี้ (๑) อนิจจานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ชวนปัญญา [ปัญญาเร็ว = สีฆปัญญา คือ ผู้มีปัญญาแล่นไป] ให้บริบูรณ์ (๒) ทุกขานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นสภาพแห่งทุกข์ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง นิพเพธิกปัญญา [ปัญญาทำลายกิเลส] ให้บริบูรณ์ (๓) อนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง มหาปัญญา [ปัญญาใหญ่ปัญญามากถึงความความเจริญ = ปัญญาพาหุลละ] ให้บริบูรณ์ (๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ติกขปัญญา [ปัญญาคมกล้า = ปัญญาสามารถเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง เพราะความที่อนุปัสสนา ๓ เป็นที่ตั้งของการมีกำลังด้วยอาเสวนะหรือการเสพแม้แต่ก่อน] ให้บริบูรณ์ (๕) วิราคานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในราคะ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง วิบูลปัญญา [ปัญญากว้างขวาง = ปัญญาอันกว้างขวางสามารถคลายกำหนัดจากสังขารทั้งปวงเพราะอนุปัสสนา ๓ เป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลัง ด้วยอาเสวนะหรือการเสพแม้แต่ก่อน] ให้บริบูรณ์ (๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความดับแห่งสมุมัยโดยความเป็นเหตุเกิด ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง คัมภีรปัญญา [ปัญญาลึกซึ้ง = สามารถเห็นความดับทั้งปวง ด้วยลักษณะของความเสื่อม เพราะอนุปัสสนา ๓ เป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลัง ด้วยอาเสวนะหรือการเสพแม้แต่ก่อน คือ ไม่ได้ตั้งอยู่ด้วยปัญญาอันตื้นๆ แม้ปัญญาถึงความหยั่งลงในความลึกซึ้งนั้น] ให้บริบูรณ์ (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ พิจารณาความถือมั่นตั้งไว้โดยความถือผิดยึดมั่น ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง อัสสามันตปัญญา [ปัญญาไม่ใกล้ = ปัญญาไกลจากปัญญาเบื้องต่ำ ปัญญาสามารถสละคืนสังขารทั้งปวงด้วยลักษณะแห่งความเสื่อม เพราะอนุปัสสนา ๓ อันเป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลัง ด้วยอาเสวนะหรือการเสพแม้แต่ต้น เพราะ พุทธิ [พุทธิจริต พื้นนิสัยที่หนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ จนล้วงลุถึง สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้] ย่อมอยู่ไกลกว่า ปัญญา ๖ ข้างต้นนั้น เพราะยังไม่ถึงชั้นยอด] ให้บริบูรณ์
ฉะนั้น ปัญญาจากการวิปัสสนาภาวนา [ปัญญาภาวนา] นี้ ทำให้เกิดปัญญาแตกฉานในการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ ซึ่งเกิดจากการพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลาย [นามรูป] อยู่บ่อยๆ ทำให้มาก ให้เจริญงอกงามพอกพูนด้วย ปัญญาต่อยอดปัญญา ขึ้นไปเรื่อยๆ [จนบรรลุถึง (๙) ปุถุปัญญา คือ ปัญญาแน่นหนา ปัญญาบรรลุความเป็นโลกุตระแน่นหนากว่าโลกิยะ และ (๑๐) หาสปัญญา คือ ปัญญาร่าเริง อันหมายถึงปัญญาแตกฉานใน ปฏิภาณปฏิสัมภิทาแห่งจิตสันดาน อันเป็นไปด้วยอาการร่าเริง] ไม่ใช่การใช้เหตุผลตามปกติธรรมดา เช่น ฟังคนอื่นพูด [ปรโตโฆสะสุตมยปัญญา] แล้วนำมาคิด [โยนิโสมนสิการจินตามยปัญญา] ตามมีตามเกิด [สมมติสัจจะ] หรือตามยถากรรม เอาเท่าที่จะคิดได้ ไม่มีรูปแบบมาตรฐานที่เป็นจริง ที่จะค้นพบ สัจจธรรมอันประเสริฐ [อริยสัจจธรรมอริยสัจจ์ ๔ = โยนิโสมนสิการภาวนามยปัญญา] ได้อย่างถูกต้อง ดังเช่น ในบรรดา พระอรหันตขีณาสพเจ้า ทั้งหลาย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ได้แก่ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึง ผลผลวิบาก ในกาลทั้ง ๓ = กำหนดรู้ทุกขสัจจ์ หรือ ปริญญาในกิจแห่งทุกข์ (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ คือ เหตุสาเหตุเหตุปัจจัย ในกาลทั้ง ๓ = กำหนดรู้สมุทัยสัจจ์ หรือ ปหานะในกิจแห่งสมุทัย (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ปรีชาแจ้งในภาษา รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติและภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ = กำหนดรู้นิโรธสัจจ์ หรือ สัจฉิกิริยาในกิจแห่งนิโรธ (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ = กำหนดรู้มรรคสัจจ์ หรือ ภาวนาในกิจแห่งมรรค
หมายเหตุ: ในการบรรยายธรรมนั้น โดยปกติส่วนใหญ่แล้ว จะไม่ค่อยอธิบายยกตัวอย่างถึง คุณสมบัติของท่านผู้บรรลุ อธิคมธรรมอุตตริมนุสสธรรม ที่ต่ำกว่าขั้นอรหันต์ แต่ก่อนถึงขั้นอรหันต์นั้น ก็ต้องผ่านขั้นการเจริญภาวนาดังกล่าวมาก่อน ควรแยกแยะให้ถูกประเด็น อนึ่ง ปัญญาฉานในระดับปุถุชนนั้น เป็น โลกียปัญญา [อัสสัตวาปุถุชน] ไม่ใช่ โลกียญาณ [ภัพบุคคลอริยบุคคล] ที่เกิดจากการเจริญภาวนากรรมฐาน ตามแนวทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา
อย่างไรก็ตาม ทั้งหลายทั้งปวง ดังที่ได้บรรยายมาข้างต้น เป็นการอธิบายถึงสภาพของการพัฒนาจิตใจให้เกิดปัญญา ซึ่งหมายถึง (๑) ปัญญาเห็นธรรม [ยถาภูตญาณธัมมัฏฐิติญาณ] ได้สมบูรณ์บริบูรณ์เจริญงอกงามไพบูลย์ และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธิญาณ] ได้สมบูรณ์บริบูรณ์เจริญงอกงามไพบูลย์ ด้วยล้วนสัมปยุตต์ด้วย (๓) ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ปัญญาในจตุตถฌานกุสลจิต [อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ] ฉะนั้น ยถาภูตธรรม [ภาวะถูกต้องตามสภาพเป็นจริง ยถา ปชานํ] นั้น ต้องเกิดขึ้นในการเสพนิมิตแห่งอาเสนะทั้งหลาย ทั้ง (๑) ในภูมิแห่งสมถกรรมฐาน และ (๒) ในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เป็นธรรมสัมปยุตต์ประชุมเป็นอย่างเดียวกัน (๑) ที่เรียกว่า สหวุตติ คือ มีความเป็นไปร่วมกัน โดยมีเอกภาพเดียวกัน [ลักษณะสากลUniversality = สามัญลักษณะ คือ ธรรมทั้งหลายที่มีลักษณะร่วมกันที่เป็นกลาง ที่เรียกว่า ความเหมือนในความต่างHomogeneity] และ (๒) ไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน โดยมีเอกภาพแยกกัน [ลักษณะเฉพาะUniqueness = ปัจจัตตลักษณะ คือ ธรรมทั้งหลายที่มีลักษณะเฉพาะตนไม่เหมือนใคร ที่เรียกว่า ความต่างในความเหมือนHeterogeneity] ที่เรียกว่า ปัสสัทธิยุคฬาทิธรรม ด้วยในความข้อนี้ ให้พิจารณาว่า: ดูพิจารณาไตร่ตรองให้เห็นความแตกต่างระหว่าหมากับแมวให้ได้ด้วยอุเบกขาและเอกัคคตา ถ้าคิดในสภาวะแห่งธรรมทั้งหลายได้ ท่านทั้งหลายก็ย่อมเข้าถึงความเป็นอริยะได้ในเบื้องต้น อย่างแน่นอน ที่เรียกว่า ปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] ก็คิดให้พอ ตามสบาย เอาให้เต็มที่ รับรองเต็มที่ นิพพานรอท่านอยู่ตรงนั้น ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน ถึงบอก ถ้าฉุกคิดขึ้นได้ จะได้รู้จักรู้เห็น ธรรมสามัคคี [เห็นโลกุตตรธรรมเป็นที่หมายเดียวกัน] ในทางธรรม กับ สามัคคีธรรม [ไม่แตกสามัคคี] ในทางโลก ด้วยทั้งหลายทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้นในเวลาขณะสมัยเดียวกัน [ประเด็นนี้สำคัญอย่างยิ่ง]
เมื่อจิตถึงพร้อมสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย อุเบกขาแห่งตัตรมัชฌัตตตา ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ กับ เอกัคคตาแห่งสมาธิ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว ทั้งหมด ดีแล้วนั้น [ท่านได้บรรลุจตุตถฌานแล้ว] สติสัมปชัญญะสะอาดบริสุทธิ์ มีความเพียรใหญ่ที่บริสุทธิ์ การก้าวสู่ภูมิแห่งอริยะนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น เพราะ กิเลสทั้งหลาย กับ สังกิเลสทั้งหลาย ได้ดับสลายไปในจิตสันดานบางส่วน เริ่มมีปัญญาที่เห็นสภาพชีวิต ตัวตนของตัวเอง นั้นคือ (๑) ตัวคือร่างกาย กับ (๒) ตนคือจิตใจ รวมกันเรียกว่า ขันธ์ ๕ โดยพิจารณารู้เห็นถึงสาเหตุแห่งการเกิดขันธ์ทั้ง ๕ ที่ทำให้เกิด ทุกข์ทุกขตา สภาพแห่งความทุกข์ เพราะจิตมีด้วยเจตนาไปยึดมั่นเกี่ยวข้องเอาไว้ อภินิเวส จึงเรียนรวมๆ ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ทักษะวิธีคิดดังกล่าวนี้ หมั่นพิจารณาบ่อยๆ [อนุปัสสนา ๗] อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่าไปวันๆ โดยไม่คิดไตร่ตรองชีวิตของตนเอง อย่าไปแส่หาเรื่องคิดแทนคนอื่นก็พอ คิดหาความจริงในเรื่องจิตใจของตนเองอยู่เนืองๆ นั่นแหละ เรียกว่า วิปัสสนาสัมมาสนะ คิดจนเห็นจากเนื้อหนัง ไปถึงกระดูก จากกระดูก จนไม่มีอะไร คือ กลายเป็นผลธุลี แล้วคิดย้อนกลับขึ้นมาใหม่ ทำอยู่ซ้ำๆ แล้วมันทำให้ฉุกคิดอะไรขึ้นมาได้ ถ้ารักผัวรักเมียรักลูกมาก ก็ให้กำหนดคนเหล่านั้น ลองเป็น ตัวอย่างในกระบวนการคิดพิจารณาในภูมิแห่งวิปัสสนาดังกล่าวดู ว่าตนเองยังคิด รักโลภโกรธหลงกลัว อยู่ในสิ่งนั้นอีกหรือไม่ แต่ให้ตอบว่า ไม่บ่No Way = ข้าน้อยบ่เอาจังสั้นด้อกด๊ะ.... [I cant stand. ทนไม่ไหวแล้ว] เพราะฉะนั้น การพิจารณาธรรมโดยเริ่มจาก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พร้อมด้วยอีก ๓ ฐาน ที่เหลือนั้น จะช่วยทำให้ อนุปัสสนา ๓ [อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา] สมบรูณ์บริบูรณ์ ก้าวพอกพูนเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย อนุปัสสนา ๔ [นิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา] ที่เหลืออยู่ รวมเป็น ๗ อนุปัสสนากรรมฐาน อีกขั้น และบาทฐานสำคัญให้เกิด ปัญญา ๑๐ [ชวนปัญญานิพเพธิกปัญญามหาปัญญาติกขปัญญาวิบูลปัญญาคัมภีรปัญญาอัสสามันตปัญญา ปฏิสัมภิทา ๔ (ปัญญาแตกฉาน)ปุถุปัญญาหาสปัญญา] ทำให้รู้เห็นเป็นใจในธรรมทั้งปวงได้จริง ดังคำสอนของพระศาสดา มีปาฏิหาริย์อย่างอัศจรรย์แก่ผู้ปฏิบัติธรรมจริงจัง ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมย่องก้าวสู่ภาวะอันยอดเยี่ยม เกิดปัญญาเห็นความจริงในการปฏิบัติธรรม ได้แก่ (๑) การเห็นอันเยี่ยมถึงนิพพาน คือ ทัสสนานุตตริยะ (๒) การปฏิบัติอันเยี่ยมด้วยอริยอัฏฐังคิกมรรค คือ ปฏิปทานุตตริยะ และ (๓) การพ้นอันเยี่ยม ด้วยความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น ด้วยความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงแห่ง นิพพาน คือ วิมุตตานุตตริยะ ซึ่งภาวะอันยอดเยี่ยมทั้ง ๓ ประการ ดังกล่าวนี้ ย่อมเกิดจากความรู้ความเข้าใจถึงภาวะที่ถูกต้อง นั่นคือ สัมมัตตะ ๑๐ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘สัมมาญาณสัมมาวิมุตติ ตามลำดับ ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมตามแนวพระพุทธศาสนานั้น ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๒ ประการ ได้แก่ (๑) ความถูกต้องสัมมัตตะ ๑๐ [Righteousness] กับ (๒) ความยอดเยี่ยมอนุตตริยะ ๓ [Excellence] ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมไม่ได้เดินอยู่ในเส้นทางทั้ง ๒ ประการ นี้ ย่อมไม่ใช่ทางแห่งอริยมรรค ฉะนั้น การเกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยว่างเปล่า ที่ไม่มีบาทฐานจากข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องอันเยี่ยมอย่างแน่นอน [โดนข้าน้อยฯ...] ก่อนแสวงหา โมกขธรรม [ธรรมนำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส ความหลุดพ้น นิพพาน] หรือ โยคเกษมธรรม [ความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตราย โดยมุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษม คือ โปร่งโล่งปลอดภัยจาก โยคกิเลส ทั้ง ๔ จำพวก ได้แก่ กามภพทิฏฐิอวิชชา] นั้น ต้องพร้อมด้วยสัมภาระเสบียง คือ ปัญญาเห็นธรรม [สัทธรรม ๓: ปริยัติสัทธรรมปฏิปัตติสัทธรรมปฏิเวธสัทธรรม = จิตตภาวนาปัญญาภาวนา] กับ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ [กายภาวนาศีลภาวนา] คำเตือน: อย่าเดินเข้าป่าโดยไม่มีเสบียง [ปรึกษาพระธุดงค์ อย่าไปถามชาวเกาะสีชัง] หรือ อย่าเดินข้ามทะเลทรายโดยไม่มีเสบียง [ปรึกษาชาวทะเลทราย อย่าไปถามทายาทชาวกุลา แถวทุ่งกุลาร้องไห้ ที่แห้งแล้งไม่เท่าทะเลทราย] หรือ อย่าเดินเรือข้ามทะเลโดยไม่มีเสบียง [ปรึกษาไต้ก๋งท่าเรือมหาชัย อย่าไปถามกะเหรี่ยงมูเซอ] ใน ๒ ประเด็นหลังนั้น ไม่ใช่สถานที่สัปปายะที่เกื้อกูลความตรัสรู้ ที่ตรัสรู้ของพระศาสดา คือ ในป่าชัฏ ป่ารก เซิง อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเป็นไปได้ยากมาก ที่จะเกิดการบรรลุอธิคมธรรมในเมืองใหญ่มหานคร เพราะเป็นที่อโคจรมากกว่า มีสถานเริงรมย์ ไว้ดักนักปฏิบัติธรรมให้หลงในสังกิเลสทั้งหลาย ไม่มีข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ รวมทั้งจากพงศาวดารอีสานว่า มีคนบรรลุธรรมในร้านคาราโอเกะ [กินเหล้าจนบรรลุธรรม อย่างเช่น ท่านจี้กง หรือ นักบวชเซ็นในบางนิกาย] คำเตือนครั้งที่ ๒: การอ่อนข้อให้กิเลสเพียงนิดเดียว ไม่ใช่ สัจจะภาวะแห่งพุทธะ แค่คำกล่าวว่า ไม่ชอบอย่างนั้นอย่างนี้ ก็อยู่เป็นทาสใต้มานะแห่งสังโยชน์ไปแล้ว ถ้าไม่รู้ตัวก็ตาม แต่อย่าตายใจว่าประเทศไทยยังมีป่ารกชัฏอีกเหมือนสมัยก่อนเมื่อ ๒ ทศวรรษ ที่ผ่านมาก ไปดูแถวเมืองเลยเพชรบูรณ์ สงสัยพวกมนุษย์ต่างดาว [ET: Extraterrestrial Beings] ชักชวนกันขับ จานผี [UFO: Unidentified Flying Objects] จะมากิน ลาบ น้ำตก ต้มแซ่บ ซุบหน่อไม้ ตั๊กแตนทอด นิดกินไม่ดูกำลังตนเอง พอบินกลับ [ลืมถอน] เลยผิดพลาดทางเทคนิค [Malfunction] จึงบินมาตกใส่บริเวณแถบนั้น เลยมีแต่ภูเขาหัวโล้นเต็มไปหมดเลย [Forestless Mountain] ขอแนะนำให้นั่งเครื่องบินไปทำธรรมสังเวชคนบ้านเราได้ตามสะดวก บุคคลที่ปฏิบัติธรรมมีปัญญาในภาวนามาดี จะคิดหาทางแก้ไขปัญหาทั้งทางโลกและทางธรรมได้จริง แต่ประเด็นหนึ่ง คือ พระกัมมัฏฐาน [ของจริง] ไม่ถากถางป่าให้เป็นป่าเขาหัวโล้น เพราะป่ามีนัยสำคัญกับคำว่า สมถะวิปัสสนา เพราะพระกุฏิปูนกับพระกุฏิโค่นต้นไม้มีคุณชาติในการปฏิบัติธรรมแตกต่างกัน มิฉะนั้น คงไม่มีคำว่า ธุดงค์ [Ascetic Practices] เป็นศัพท์บัญญัติสำหรับพระกัมมัฏฐาน อย่างแน่นอน
ดังนั้น ปัญหา [Problems: ทุกข์ = Pains] ทั้งหลาย คือ อุปสรรค [Hindrances = มาร ๕: กิเลสมารขันธมารอภิสังขารมารเทวปุตตมารมัจจุมาร] ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องผจญตลอดเวลา ดังเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต [วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ๒๔๑๓๒๔๙๒] ได้ให้โอวาทไว้ว่า:
ในทำนองเดียวกัน หลวงปู่ทา จารุธัมโม ก็ได้ให้โอวาทเตือนสติไว้เช่นกัน อันเป็นทางแก้ไข ดังนี้
อันดับต่อไป ให้ท่านทั้งหลายผู้ปฏิบัติธรรม พิจารณาให้หนำอย่างเต็มที่ [หนำใจอย่างจัง] เจริญอนุปัสสนากรรมฐาน ปัญญาเห็นธรรม [อภิญญา] มนสิการอยู่ที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ ปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธะ] มนสิการอยู่ที่ หลวงปู่ทา จารุธัมโม ให้เจริญกุศลกรรมใน โยนิโสมนสิการ อันเป็นบาทวิถีวิปัสสนา ด้วย (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท ไปตามลำดับ และคิดพิจารณาย้อนกลับ ด้วย (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ให้พิจารณาทั้งไปแล้ว ต้องกลับมาด้วย กำหนดลมหายใจเป็นวัตถุอารมณ์ในกรรมฐาน มีกรรมใน กายานุปัสสนากรรมฐาน เป็นเกณฑ์ข้อปฏิบัติ เมื่อแผ้วแจ่มใสด้วยนิมิตแล้ว ตามด้วยการเจริญ เวทนานุปัสสนากรรมฐานจิตตานุปัสสนากรรมฐานธัมมานุปัสสนากรรมฐาน ตามลำดับ ด้วยรวมกับ สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐานเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐานจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐาน ก็ระวังการใช้คำศัพท์บัญญัติทางพระพุทธศาสนา อาจทำให้ฟั่นเฟือนได้ [ฟุ้งซ่าน] ให้ลำดับขั้นตอนให้ชัดเจนที่ละขั้น อย่างเป็นระบบแบบแผนที่ถูกต้องตามหลัก ปฏิปัตติสัทธรรม [ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา] ที่เรียกว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติธัมมานุธัมมปฏิปทา หมายถึง (๑) ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (๒) ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน (๓) ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม ให้คิดทบทวนทุกอย่างในการปฏิบัติธรรม อย่างถูกต้องและเป็นเยี่ยมด้วย คิดหลายๆ รอบ คิดด้วยมีสติสัมปชัญญะอย่างแน่แท้ ไม่ประมาทละเลย แล้วจะเห็น ปรากฏการณ์แห่งธรรมทั้งปวง อย่าไปรออำนาจวิเศษใดๆ จะเกิดบันดาลให้จากเทพเทวดาทั้งหลายเลย ให้เกิดสัญญาว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ขอให้เห็นด้วยปัญญารู้ธรรมในหลักปัจจยาการว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา นี่แหละ คือ ทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา อย่างแท้จริง ไม่ผิดทางอย่างแน่นอน ท่านทั้งหลายผู้จะรู้เห็นธรรมในไม่ช้านี้ ถึงตรงนี้ ผู้อ่านคงจะหนำแล้วนะ! อ่านมากๆ ไม่บาป กินมาก ๑ นอนมาก ๑ บาป!
ในอีกนัยหนึ่ง การปฏิบัติธรรม [นั่งสมาธิ] นั้น โดยเฉพาะในคำว่า ทัสสนะญาณทัสสนะ อันเกิดจากพลังอำนาจแห่งสมาธิ [เอกัคคตา] ซึ่งหมายถึง อำนาจแห่งการพยากรณ์ A Power of Prediction [ทิพพจักขุตาทิพย์: อยากเห็นอะไรก็เห็นได้จริง ถ้าประกอบด้วยปัญญาความรู้ในปัจจยาการ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ = ธัมมัฏฐิติญาณ คือ ความรู้องค์แห่งปัจจัยทั้ง ๑๒ ประการในปัจจยาการ] สำหรับการศึกษาทางโลกนั้น วัตถุประสงค์หลัก ก็อยากให้ผู้เรียนมีปัญญาในการพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคตกาลหรือย้อนกับในอดีตกาล ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า มีความคิดมีสมองมีหมอง = วิชชา คือ ความรู้แจ้ง [Omniscience: การรอบรู้ทุกอย่างสัพพัญญู หรือ Cognoscente: ผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้มากเป็นพิเศษ] ไม่ใช่ สิ้นคิด = อวิชชา คือ ความรู้ไม่จริง [Nesciences: การขาดความรู้การเมินเฉยอวิชชา หรือ Sciolism: ความรู้ผิวเผินความรู้ตื้นๆการปลอมเป็นผู้เชี่ยวชาญ] ส่วนในทางธรรมนั้น เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างกันทางปัญญา ที่เกิดขึ้นระหว่าง วิชชาSupernormal Knowledge คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ วิชชา ๓วิชชา๘อภิญญา ๖ [ความรู้คมชัดความรู้ยิ่งยวด] กับ อวิชชาIgnorance [อัญญาณ: ความไม่รู้] คือ ความไม่รู้แจ้ง ได้แก่ อวิชชา ๔อวิชชา ๘ ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธินั้น จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของ ปัญญา [Wisdom] โดยตรง มิฉะนั้น ก็ไร้ค่าเสียเวลาที่จะดำเนินการเช่นนั้นต่อไป นอนพักผ่อนกายาดีกว่า แต่การปฏิบัติธรรมให้ ท่านทั้งหลาย จงปรารภประกอบความตื่น เพื่อชำระจิตให้ปราศจากนิวรณ์ [ชาคริยานุโยค = ปรารภความตื่นในการปฏิบัติธรรม] คือ การนั่งสมาธิ [จิตตาภาวนา: Emotional Development หรือ สมถภาวนา: Tranquility Development] นั่นเอง ฉะนั้น คำว่า ปัญญา: Wisdom จึงหมายถึง สัมปชัญญะ: Full Comprehension ดังนี้
สัมปชัญญะ ๔ หมายถึง ความรู้ตัวความรู้ตัวทั่วพร้อมความรู้ชัดความรู้ทั่วชัดความตระหนัก ได้แก่ (๑) สาตถกสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ (๒) สัปปายสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าในความเหมาะสมเกื้อกูล (๓) โคจรสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าเป็นโคจร (๔) อสัมโมหสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าไม่หลง โดยมีไวพจน์ตรงกับคำเหล่าต่อไปนี้ [ปัญญามีประโยชน์ ถ้าใช้เป็น]
(๑) ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก
(๒) ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีสามารถถึง สัมปชัญญะ ๔ ที่สหรคตด้วยคำไวพจน์ทั้งหมดอันเป็นกำลังแห่งปัญญารอบรู้แล้ว พลังอำนาจแห่งการพยากรณ์ [A Power of Tracing: Following the course of with ones mind] ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ฉะนั้น ความสามารถในการทำนาย [Traceability] จึงเป็นประเด็นในการข้ามข้อจำกัดด้านเวลาแห่งกาลทั้ง ๓ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมสามารถพัฒนาจิตภาวนากรรมจนบรรลุได้ฌานในขั้นที่ ๔ ที่เรียกว่า จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา] ซึ่งเป็นภาวะจิตที่ปราศจากนิวรณ์ [กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง] เป็นจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ในขั้นหนึ่ง [ยังเหลือกิเลสอาสวะทั้งหลายอย่างละเอียด ที่ต้องกำจัดด้วยญาณในวิปัสสนา คือ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ คือ โลกุตตรธรรม ๙ กับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗: สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘] ที่สามารถกลับเข้าสู่สภาพจิตดั้งเดิม ที่เรียกว่า จิตประภัสสร ฉะนั้น เพื่อให้ประโยชน์อันเป็นเบื้องกลางแห่งการปฏิบัติ ที่จะก้าวสู่ ปรมัตถประโยชน์แห่งนิพพาน จริงๆ [ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ขั้นต้น คือ คุณชาติแห่งอธิสีลสิกขา สัมปรายิกัตถะประโยชน์เบื้องหน้า คือ คุณชาติแห่งอธิจิตตสิกขา และ ปรมัตถะประโยชน์สูงสุด คือ อธิปัญญาสิกขา จนถึง นิพพาน] นั้น จึงต้องพิจารณาถึง จตุตถฌานมี ๑๓ ประเภท ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
จตุตถฌานมี ๑๓ ประเภท คือ อิทธิฤทธิ์แห่งจตุตถฌานที่ทำให้เกิดคุณวิเศษต่างๆ ๕ ประการ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432435 FILE 78) ได้แก่
(๑) หมวดอนุปุพพนิโรธ คือ ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับในสมาธิ (๑) บาทแห่งฌานทั้งปวง คือ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔ และ นิโรธสมาบัติ [สัญญาเวทยิตนิโรธ] (๒) หมวดอภิญญา [อภิญญา ๕] คือ ความรู้ยิ่งยวด (๒) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๓) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๔) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๕) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๖) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๓) หมวดญาณ [ญาณ ๒] คือ ปรีชาหยั่งรู้ปัญญาหยั่งรู้ (๗) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๘) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ (๔) หมวดอรูปฌาน [ข้อ ๗ ในกรรมฐาน ๔๐] คือ อรูปฌาน ๔ ที่เป็นบาทฐานในการเข้านิโรธสมาบัติ (๙) อากาสานัญจายตนฌาน คือ มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ (๑๐) วิญญาณัญจายตนฌาน คือ มนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๑) อากิญจัญญายตนฌาน คือ มนสิการว่า ภาวะไม่มีอะไรเลย (๑๒) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือ มนสิการว่า ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๕) หมวดโลกุตตระ คือ ภาวะเหนือโลกียธรรม ที่จิตปราศจากกิเลสและทุกข์แล้ว (๑๓) โลกุตตรจตุตถฌาน คือ จิตน้อมถึง เจโตวิมุตติ [สุญญตสมาธิอนิมิตตสมาธิอัปปณิหิตสมาธิ]
ดังนั้น จตุตถฌาน ที่เกี่ยวข้องกับ พลังอำนาจแห่งการพยากรณ์ [ฤทธิ์ปาฏิหาริย์] ได้แก่ (๑) หมวดอภิญญา ทั้ง ๕ ประการ กับ (๒) หมวดฌาน ทั้ง ๒ ประการ อย่างลืมว่า ในการบรรลุได้ฌานที่ ๔ นี้ ต้องให้ได้ด้วยตนเอง เพราะไม่มีระบบการวัดผลและประเมินผลตามแบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ที่ฝ่ายทางโลกใช้เป็นเกณฑ์การกำหนดความสำเร็จทางการศึกษา ในทางธรรมนั้น ต้องทำเอง และรู้เห็นผลนั้นเอง นั่นคือ ขั้นตอนการศึกษาธรรมหรือพระศาสนาทั้งระบบ ที่เรียกว่า อนุปุพพสิกขา คือ ทำการศึกษาตามลำดับขึ้นไป ได้แก่ (๑) ศึกษาวิจัยธรรมปริยัติธรรม หรือ อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๒) ลงมือปฏิบัติปฏิปัตติสัทธรรม หรือ อธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ (๓) รู้แจ้งเห็นจริงเองปฏิเวธสัทธรรม หรือ อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ตามลำดับ เพราะฉะนั้น ขั้นตอนการศึกษาที่ ๒ คือ ปฏิปัตติสัทธรรม หรือ อธิจิตตสิกขา ที่ทำให้บรรลุได้ฌานสมาบัติถึง จตุตถฌาน ก็ต้องพยายามหมั่นเพียรให้ได้ตามที่ตั้งใจของใครของมัน อย่าเดาสุ่มมัวเอาเองเด็ดขาด เพื่อให้เห็น การแกะรอยสืบค้น [Investigation Tracing] ในปรากฏการแห่งธรรมทั้งปวงนั้น จะเกี่ยวข้องกับ ความจริงปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] ไม่ใช่ สมมติสัจจะ [Conventional Truths] ที่เกิดขึ้นในกาลทั้ง ๓ [อัทธา ๓: อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันนัทธา] ซึ่งเป็น กระบวนการตีความจากบริบท [Decontextualization] เช่น คำหรือข้อความติดพ่วงขยายความ [Appositive] หรือ การถอดความหมายเชิงสัญลักษณ์ [Semiotic Interpretation] โดยพิจารณาจากสภาแวดล้อมที่เกิดขึ้นในบริบทใกล้เคียงกัน [Contingency: สิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ] นั้น กับการพยากรณ์ [Prediction] ไม่ใช่การคาดเดา [Anticipation] โดยนั่งเทียนคิดเอาเองแบบส่งเดช [Randomization] เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา จึงไม่มีพิธีเชิงไสยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง ถึงแม้จะมีข้อสมมติฐานเชื่อว่า การเซ่นไหว้ประกอบพิธีบูชายัญ การบูชา การบวงสรวง นั่นคือ การถวายให้แก่ทักขิไณยบุคคลตามนัยพระพุทธศาสนาให้ผลตามเป็นจริง ก็ตาม ซึ่งตรงข้ามกับ การบูชายัญ [ยัญญยชนะ] หมายถึง พิธีเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์ การเซ่นสรวงเทพเจ้าด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา เพื่อให้ตนพ้นเคราะห์ร้าย เป็นต้น พระพุทธศาสนาปฏิเสธผลของยัญ ๒ อย่าง นี้ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 62 FILE 69) ได้แก่ (๑) ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผลนี้เป็นยัญเล็กน้อย [นตฺถิ ยิฏฺฐํ] ซึ่งเป็นการปฏิเสธผลของทาน ถือเป็น อุจเฉททิฏฐิ นั่นคือ นตฺถิ ทินฺนํ ทานที่ให้แล้วไม่มีผล และ (๒) การเซ่นสรวงเป็นมหายัญ [หุตํ] ซึ่งเป็นการสร้างเดือดร้อนใหญ่ ความเชื่อในเรื่อง การบูชายัญ เป็นเรื่องความเห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงว่าเป็น ทุกขนิโรธ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ดังนี้
บุคคลจึงมีความสำคัญในทุกขนิโรธ [ความดับทุกข์] ในคติพิเศษแม้มิใช่ความดับทุกข์ และมีความสำคัญในพิธีกรรมทั้งหลายมีการบูชายัญ และบำเพ็ญตบะเพื่อให้เป็นเทวดาเป็นต้นแม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์ว่าเป็นทางดับทุกข์ เมื่อปรารถนาทุกขนิโรธ [ความดับทุกข์] ก็ย่อมปรารภสังขารแม้ ๓ อย่าง [ปุญญาภิสังขารอปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร] โดยมุ่งหน้าพิธีกรรมมีการบูชายัญ และทำตบะเพื่อความเป็นเทวดา เป็นต้น (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 473 -474 FILE 77)
ดังองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ คำว่า ทักขิณาทักษิณา [ทางคติพุทธ] หมายถึง ทานที่ถวายเพื่อผลอันดีงาม ของทำบุญ สิ่งที่สละให้ ปัจจัยสี่ที่เมื่อถวายจะเป็นเหตุให้ประโยชน์สุขเจริญเพิ่มพูน ของถวายที่ช่วยให้สัตว์ทั้งหลายเจริญด้วยสมบัติดังปรารถนา หรือ สิ่งที่ให้โดยเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม [หรือโดยเชื่อปรโลก] มาแทน คำว่า ยัญ หรือ ทักขิณาทักษิณา เดิมเป็นคำที่ใช้ในศาสนาพราหมณ์ หมายถึง สิ่งของที่มอบให้แก่พราหมณ์ เป็นค่าตอบแทนในการประกอบพิธีบูชายัญ เพื่อให้พราหมณ์ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนา ไม่ทิ้งคติความเชื่อเกี่ยวกับเทพเทวดา มาเป็นการบูชาถวายเครื่องไทยธรรมปัจจัย ๔ให้แก่ พระภิกษุสงฆ์ หรือ ให้แก่ ทักขิไณยบุคคล ซึ่ง (๑) ในความหมายอย่างสูง ได้แก่ พระอริยสงฆ์ และ (๒) ในความหมายที่กว้างออกไป ได้แก่ ท่านผู้มีศีล ผู้ทรงคุณทรงธรรม แม้เป็นคฤหัสถ์ เช่น บิดามารดา ตลอดจน (๓) ในความหมายอย่างกว้างที่สุด สิ่งของที่ให้เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล แม้แต่ให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน ก็ถือเป็น ทักขิณา เช่นกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๒ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มหาวรรค ทิฏฐิกถา ว่าด้วย ทิฏฐิ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 18 FILE 69)
[๓๓๓] มิจฉาทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน
(๑) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๒) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๒ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๓) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า การเซ่นสรวงไม่มีผล ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๓ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๔) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๔ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๕) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มี ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๕ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๖) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า โลกหน้าไม่มี ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๖ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๗) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า มารดาไม่มี ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๗ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๘) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า บิดาไม่มี ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๘ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๙) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๙ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
(๑๐) ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิดที่ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิ [ความเห็นด้วยความพอใจ] เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ (๑) นรก หรือ (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้น ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ [ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ]
มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้
จบ มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ -------------------
อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 62 FILE 69)
มิจฉาทิฏฐิ มีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง แต่พึงทราบนัยอื่น ดังต่อไปนี้ (๑) บทว่า [นตฺถิ ทินฺนํ] ทานที่ให้แล้วไม่มีผล คือ ปฏิเสธผลของทานเพราะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (๒) บทว่า [ยิฏฺฐํ] การบูชายัญ ใน บทว่า [นตฺถิ ยิฏฺฐํ] ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผลนี้เป็นยัญเล็กน้อย (๓) บทว่า [หุตํ] เซ่นสรวงเป็นมหายัญ คือ ปฏิเสธผลของยัญทั้งสอง (๔) บทว่า [นตฺถิ สุกฏทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก] ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี คือ ปฏิเสธผลแห่งบุญกรรม มีศีล เป็นต้น เพราะปฏิเสธผลแห่งทาน ปฏิเสธผลแห่งบาปกรรมมีปาณาติบาต เป็นต้น (๕) บทว่า [นตฺถิ อยํ โลโก] โลกนี้ไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในก่อน (๖) บทว่า [นตฺถิ ปโร โลโก] โลกหน้าไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในโลกนี้ (๗) บทว่า [นตฺถิ มาตา] มารดาไม่มี คือปฏิเสธผลของกรรมที่ทำไว้ในมารดาเหล่านั้น (๘) บทว่า [นตฺถิ ปิตา] บิดาไม่มี คือปฏิเสธผลของกรรมที่ทำไว้ในบิดาเหล่านั้น (๙) บทว่า [นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา] สัตว์ผู้ผุดขึ้นก็ไม่มี คือ ปฏิเสธการผุดขึ้นอันมีกรรมเป็นเหตุ (๑๐) บทว่า [นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ] สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ ปฏิเสธปฏิปทาในการได้อภิญญา เพื่อเห็นในโลกนี้และโลกหน้า
แต่ในบาลีนี้ บทว่า [นตฺถิ ทินฺนํ] ได้แก่ วัตถุ คือ ทานที่ท่าน กล่าวว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล อธิบายว่า วัตถุแห่งทิฏฐิ นั้น บทว่า [เอวํวาโท มิจฺฉา] วาทะอย่างนี้ผิด คือ วาทะคำพูดว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผลอย่างนี้ผิด คือ วิปริต
จบ อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ --------------------
ดังนั้น ตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้น เป็นเรื่อง ทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดที่คลาดเคลื่อนโดยวิปริตแท้ [ตามนัยแห่ง ทิฏฐิ =ความเห็นคลาดเคลื่อนจากความจริง คือ ทิฏฐิคตะการเห็นไปหยั่งลงภายในทิฏฐิทั้งหลาย ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ] แต่อย่างไรก็ตาม โดยนัยนี้แล้ว ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อ มัชฌิมาปฏิปทา และเป็นเหตุให้เกิดปฏิปทาในทางที่ผิดด้วยศีลพรต ที่ถือปฏิบัติในแต่ละนิกาย ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ [ลัทธิกรรมเก่าลัทธิพระเป็นเจ้าลัทธิเสี่ยงโชค] ในทำนองเดียวกันนั้น การบำเพ็ญตบะของพราหมณ์เจ้าพิธีนั้น ถือเป็น อัตตกิลมถานุโยค (ข้อ ๒ ในที่สุด ๒ อย่าง) หมายถึง การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน เช่น การบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่ทางสายกลางแห่งปัญญาใน มัชฌิมาปฏิปทา ที่พระตถาคตทรงเลือกข้อดีของการบำเพ็ญฌานสมาบัติ มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์เชิงปัญญา ที่สร้างสรรค์และดัดแปลงประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการเข้าถึง กระแสแห่งพระนิพพาน ที่เรียกว่า ภาวนา ๒ ได้แก่ (๑) สมถภาวนาสมถกรรมฐาน [Tranquility Development] หมายถึง การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ การฝึกสมาธิ และ (๒) วิปัสสนาภาวนาวิปัสสนากัมมัฏฐาน [Insight Development] หมายถึง การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง การเจริญปัญญา เพราะฉะนั้น ให้หวนกลับมาพิจารณาถึง ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของการบรรลุได้ฌานที่ ๔ ที่ทำให้เกิด อภิญญา ๕ กับ ญาณ ๒ อันจะเป็นปทัฏฐานที่เป็นประโยชน์ยิ่งในการเจริญปัญญาในวิปัสสนาภูมิ ทำให้เกิด ปัญญาญาณ ต่างๆ อีกมากมาย [โลกุตตรธรรม ๙: มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] ที่จะช่วยเกื้อกูลในการตรัสรู้ถึง สัมมาสัมโพธิญาณ [Enlightenment] จึงปฏิเวธรู้แจ้งแทงตลอดในบรรดาธรรมทั้งหลายทั้งปวง จนบรรลุได้ถึง พระนิพพาน [Nirvana] ได้ ให้พิจารณาถึงคุณชาติความดีในการบรรลุถึงผลสมาบัติแห่งจตุตถฌาน อีกครั้งหนึ่ง ที่ปฏิสังยุตด้วย อภิญญา ๕ กับ ญาณ ๒ ซึ่งเป็นจริงตาม อนุสาสนีปฏิหาริย์ (ข้อ ๓ ในปาฏิหาริย์ ๓) คือ คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
(๑) หมวดอภิญญา [อภิญญา ๕] คือ ความรู้ยิ่งยวด (๑) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๒) หมวดญาณ [ญาณ ๒] คือ ปรีชาหยั่งรู้ปัญญาหยั่งรู้ (๖) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต สาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๗) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้
ฉะนั้น ปรากฏการณ์แห่งธรรมทั้งปวง ที่ผลานิสงส์จากความดีในจตุตถถานนั้น ปฏิบัติถูกปฏิบัติชอบ ย่อมเกิดขึ้นกับบรรดาผู้เจริญสมถะ ได้แก่ ฌายีบุคคล [โดยนัยดั้งเดิม ได้แก่ ฤษี ดาบส ชฏิล เดียรถีย์เจ้าลัทธิปาริพาชก] รวมทั้งเป็นแนวทางดำเนินยิ่ง ธัมมานุธัมมปฏิปทา ในพระพุทธศาสนา สำหรับ โยคาวจรขีณาสพ [พระอรหันตเสขะบุคคล ผู้ปฏิบัติ จรณะ ๑๕เสขปฏิปทา] โดยนัยรวมนั้น ก็คือ พุทธบริษัท ทั้ง ๔ ได้แก่ ภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกา บุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ต้องไม่เว้นไป หรือมีชีวิตอยู่โดยปราศจากข้อประพฤติปฏิบัตินี้ โดยพระธรรมวินัยนี้ ยอมไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะไม่ได้สมาธิย่อมไม่เกิดวิปัสสนา แม้ผู้ได้วิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน [สุกขวิปัสสก (ข้อ ๑ ในอรหันต์ ๒): ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง คือ ท่านผู้มิได้ฌาน สำเร็จอรหัตด้วยเจริญแต่วิปัสสนาล้วนๆ] ก็ยังต้องอาศัยสมาธิ ที่เรียกว่า อุปาจรสมาธิ [สมาธิในขั้นจนเจียน ก่อน อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิอย่างแน่วแน่สนิท = จตุตถฌาน ประกอบด้วย อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ] แต่อย่าลืมประเด็นสำคัญในแนวคิด มัชฌิมาปฏิปทา [The Middle Path] ที่มีขั้นตอน ๓ ประการ [อริยมรรคมีองค์ ๘] ได้แก่ (๑) นำด้วยปัญญาใน อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ (๒) ดำเนินด้วยปัญญาใน อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๓) นำไปสู่ปัญญาใน อธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ซึ่งจะเป็นบาทฐานในวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำให้เกิด โลกียสัมมาทิฏฐิโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนี้อยู่ในภาวะที่ประเสริฐ โดยจะนำไปสู่ภาวะอันถูกต้องโดยชอบ ที่เรียกว่า สัมมัตตะ ๑๐ [อเสขธรรม] ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวายามะ (๔) สัมมาสติ (๕) สัมมาสมาธิ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณ [สามัญผล ๔ปัจจเวกขณญาณ] และ (๑๐) สัมมาวิมุตติ [อรหัตตผลวิมุตติ] ซึ่งธรรมส่วนนี้ ทั้งหมดเป็นคุณบทแห่งอริยบุคคลผู้เป็นพระอรหันต์แล้ว คือ เมื่อเกิด อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ [ญาณคือทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘] แล้ว บุคคลนั้น ย่อมมีสามารถบรรลุได้ อริยมรรค ๔ อันเป็นปทัฏฐานให้เข้าถึง อริยผล ๔ [สามัญผล] กับ ปัจจเวกขณญาณ [ประกอบด้วย ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ รอบ หรือ ปัจจเวกขณญาณมี ๑๙ ประการ ประกอบด้วย กิจในอริยสัจจ์ ๔: ปริญญาปหานะสัจฉิกิริยาภาวนา กับ ญาณ ๓: สัจจญาณหยั่งรู้สัจจะ ๑ กิจจญาณหยั่งรู้กิจ ๑ กตญาณหยั่งรู้การอันทำแล้ว ๑ เรียกว่า ปริวัฏฏ์ ๓ แห่งญาณทัสสนะ] ที่เรียกว่า สัมมาญาณ จึงจะได้บรรลุ อรหัตตผลวิมุตติสุข [สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์ หลังจากตรัสรู้สัมโพธิญาณแล้ว] ที่เรียกว่า สัมมาวิมุตติ อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่เกิด ภาวะสติฟั่นเฟือน สับสน ฟุ้งซ่าน เพราะธรรมกระหนำมากไป จึงต้องตรวจสอบ ทบทวน ปรับปรุง แก้ไข อีกรอบ นั่นคือ ให้ทบทวนเรื่อง ปัจจเวกขณญาณ [ปัจจเวกขณญาณทั้ง ๑๙ ประเภท] ดังนี้
ปัจจเวกขณญาณ [ปัจจเวกขณญาณทั้ง ๑๙ ประเภท = SelfFalsification] หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน เพื่อปรับปรุงแก้ไขแนวทางปฏิบัติให้บรรลุสัมโพธิญาณ อย่างถูกต้องและยอดเยี่ยม [Righteously and Excellently ] คือ (๑) สำรวจรู้มรรค (๒) สำรวจรู้ผล (๓) กิเลสที่ละแล้ว (๔) กิเลสที่เหลืออยู่ และ (๕) นิพพาน [ให้เปรีบเทียบกับ นิโรธ ๕] เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะเกิด ญาณทัสสนะ ๑๙ ประเภท หรือ ปัจจเวกขณวิถี ๑๙ ประการ โดยใช้ปัญญาหยั่งรู้และญาณทัสสนะทบทวนใน มรรควิถี ๔อริยมรรค ๔มรรค ๔มรรคญาณ ๔ กับ สามัญผล ๔ผล ๔ผลญาณ ๔ เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบ ได้แก่
ในอันดับต่อไป จึงเป็นขั้นตอนของนิพพาน ดังนี้
นิพพาน ๒ หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ โดยดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ นั่นคือ กิเลสปรินิพพาน ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ [ยังเหลือ สัญญาเวทนา ซึ่งยังเป็นปทัฏฐานสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้สามารถ เข้านิโรธสมาบัติ ได้] ท่านผู้บรรลุอธิคมธรรมนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ (๒) อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ โดยดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ นั่นคือ ขันธปรินิพพาน ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว [การดับขันธ์แห่งชีวิต หรือ ละสังขาร และบรรลุได้ถึง พระปรินิพพาน ในเวลาเดียวกัน = ชีวิตสมสีสี อันถือเป็นมหากุศลสูงสุดโดยปรมัตถ์] ท่านผู้บรรลุอธิคมธรรมนี้ เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อกุศลธรรมกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรุปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม ที่จะมีใครรู้เห็นเข้าใจถูกต้องตามเป็นจริง คือ รู้อย่างเท่าทัน ด้วยการปฏิเสธ อกุศลธรรม [อปุญญาภิสังขาร = บาป] โดยพื้นฐานแห่งการปฏิบัติธรรม มุ่งเน้น กุศลธรรมอัพยากตธรรม [ปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร = บุญฌาน] ที่เรียกว่า อนุปุพพสิกขา คือ ลำดับการศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นขั้นๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมต้องเข้าใจอย่างแจ่มชัด ดังนี้ (๑) เริ่มแต่ ศีลอธิศีล [กามาวจรธรรม] นั่นคือ อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๒) ไปสู่ สมาธิอธิจิตต์ [รุปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรม] นั่นคือ อธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ (๓) ไปสู่ขั้นสูงขึ้น ปัญญาอธิปัญญา นั่นคือ อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ แล้วก้าวไปสู่ขั้นภูมิธรรมสูงสุดโดยปรมัตถ์ คือ โลกียสัมมาทิฏฐิ กับ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ [โลกุตตรธรรม]
ให้เปรียบเทียบลักษณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังนี้
ภัพบุคคล = ผู้ควรบรรลุธรรมพิเศษได้ ตรงข้ามกับ อภัพบุคคล อัสสุตวาปุถุชน = ผู้ไร้การศึกษาพระธรรม ตรงข้ามกับ อริยบุคคล
ดังนั้น บุคคลผู้รู้แจ้งเห็นจริงขั้นสูงสุดโดยปรมัตถ์ คือ พระอริยสงฆ์พระอรหันตขีณาสพ ตามขั้นบันไดแห่งความสำเร็จบรรลุการตรัสรู้ สัมโพธิญาณ นั้น ใช่ว่าผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านจะไม่มีโอกาสจะประสบกับบุญบารมีอันสูงสุดนี้ได้ เพียงแต่ว่า ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาทุกคน ตั้งใจทำจริงหรือไม่ และไม่ออกนอกลู่นอกทางแห่ง มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งอาศัย อนัตตานุปัสสนา เพื่อถอน อัตตาภินิเวส ก็จะหลุดพ้นจากวัฏฏะทั้งหลาย ที่เรียกว่า สุญญตวิโมกข์ หรือ นิสสรณนิโรธ (ข้อ ๕ ในนิโรธ ๕) หมายถึง ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้วดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะเช่นนั้น ชื่อว่า นิสสรณนิโรธ [นิสสรณวิมุตติ] ได้แก่ อมตธาตุ นั่นคือ นิพพาน อีกนัยหนึ่ง คือ การเข้าสู่ภาวะ (๑) มีแล้วไม่ให้มี (๒) อยู่ให้เฉยๆ (๓) เพราะรอบรู้ (๔) มันไม่มีอะไร โดยมีลำดับมุมมองในภาพองค์รวม เกี่ยวกับธรรมทั้งปวง ด้วยธรรม ๔ ประการ ดังนี้
(๑) มีแล้วไม่ให้มี หมายถึง ปฏิบัติธรรมจนบรรลุถึง ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [ปัญญาเห็นธรรม] ด้วยปัญญารู้เห็นตามเป็นจริงว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ซึ่งเป็นปัญญาพื้นฐานที่ต้องเห็นธรรมตามที่เป็นจริง เป็นไปตามธรรมดา คือ กฎธรรมชาติ Natural Law ที่ปฏิเสธหลักความจริงนี้ไม่ได้ ปัญญานี้เกิดจากการฟังมากรู้มาก พาหุสัจจะ ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา [ปรโตโฆสะ] แล้วเกิด จินตามยปัญญา [โยนิโสมนสิการ] ที่สืบเนื่องหรือวิวัฒน์ในตนเอง ที่เป็นปัจจัยสำคัญอันเป็นเหตุให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ในที่สุด ไม่ใช่ มิจฉาทิฏฐิ ที่จะทำให้หลงทางในทางอกุศลกรรม
(๒) อยู่ให้เฉยๆ หมายถึง ปฏิบัติธรรมในฝ่ายสมถสมาธิ จนบรรลุได้จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา] และสามารถพัฒนาจิตให้เกิด ปัญญาในสมาธิ [ญาณทัสสนะ] คือ มีสติสัมปชัญญะที่แก่กล้า จนเห็นธรรมทั้งหลายด้วยญาณ ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันระหว่าง สมถะสมาธิ [ฌานปัญญาในสมาธิ] กับ วิปัสสนาปัญญา [ญาณปัญญาในวิปัสสนา] โดยจำแนกอารมณ์ใน อุเบกขาจตุตถฌานจิต ออกเป็น ๑๐ ประการ ดังนี้ (๑) ฉฬังคุเปกขา คือ อุเบกขาในองค์ ๖อารมณ์ ๖ [อินทรีย์ ๖] (๒) พรหมวิหารรุเปกขา คือ อุเบกขาในพรหมวิหาร ๔ (๓) โพชฌังคุเปกขา คือ อุเบกขาในโพชฌงค์ ๗ (๔) วิริยุเปกขา คือ อุเบกขาในวิริยะ สัมมัปปธาน ๔ (๕) สังขารุเปกขา คือ อุเบกขาในสังขาร ๓ (๖) เวทนุเปกขา คือ อุเบกขาในเวทนา ๓ (๗) วิปัสสนุเปกขา คือ อุเบกขาในวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ ๙ (๘) ตัตรมัชฌัตตุเปกขา คือ อุเบกขาในความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ เจตสิก ๕๒ (๙) ฌานุเปกขา คือ อุเบกขาในฌาน ๔ (๑๐) ปาริสุทธุเปกขา คือ อุเบกขาในความบริสุทธิ์วิสุทธิ ๗
(๓) เพราะรอบรู้ หมายถึง ปฏิบัติธรรมจนได้ฤทธิ์จากจตุตถฌานมี ๗ ปัญญา ที่จะเป็นบาทฐานสำคัญยิ่งในภูมิแห่งวิปันนากัมมัฏฐาน นั่นคือ อภิญญา ๕ ได้แก่ (๑) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ กับ ญาณ ๒ [รู้เหตุและผลที่เกิดในอดีตอัทธากับอนาคตอัทธา ที่ทำให้เห็นเหตุและผลในปัจจุบันนัทธา] ได้แก่ (๖) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต และสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๗) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต และหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้
(๔) มันไม่มีอะไร หมายถึง ปฏิบัติธรรมด้วย การพิจารณาสภาวธรรม อยู่เรื่อยๆ หรือ การมนสิการกรรมฐาน อยู่เป็นกิจวัตรสืบเนื่องเป็นนิตย์ ที่เรียกว่า อนุปัสสนา ๗ ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนา ย่อมได้ ชวนปัญญา [ปัญญาเร็ว] (๒) ทุกขานุปัสสนา ย่อมได้ นิพเพธิกปัญญา [ปัญญาทำลายกิเลส] (๓) อนัตตานุปัสสนา ย่อมได้ มหาปัญญา [ปัญญาใหญ่] (๔) นิพพิทานุปัสสนา ย่อมได้ ติกขปัญญา [ปัญญาคมกล้า] (๕) วิราคานุปัสสนา ย่อมได้ วิบูลปัญญา [ปัญญากว้างขวาง] (๖) นิโรธานุปัสสนา ย่อมได้ คัมภีรปัญญา [ปัญญาลึกซึ้ง] (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ย่อมได้ อัสสามันตปัญญา [ปัญญาไม่ใกล้]
แล้วทำให้เกิดปัญญาตามมาอีก ๓ ปัญญา ได้แก่ (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ปัญญาแตกฉาน (๙) ปุถุปัญญา คือ ปัญญาแน่นหนา (๑๐) หาสปัญญา คือ ปัญญาร่าเริง นอกจากนี้ ยังรวมถึงการเจริญญาณในวิปัสสนา ที่เรียกว่า ญาณ ๑๖โสฬสญาณ [วิปัสสนาญาณ ๑๐ ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์] ซึ่งเป็นสมุฏฐานทำให้เข้าใจถึง ธรรมนิยาม ๓ หมายถึง ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา คือ กฎธรรมชาติ ได้แก่ (๑) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา นั่นคือ สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง (๒) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา นั่นคือ สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ (๓) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นั่นคือ ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน
หรือ สัญญา ๑๐ หมายถึง แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน อันเป็นแนวคิด การทุบขันธ์ ๕ อีกทางหนึ่ง [วุฏฐานคามินีปฏิปทา] ได้แก่ (๑) อนิจฺจสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (๒) อนตฺตสญฺญา คือ กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง (๓) อสุภสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย (๔) อาทีนวสญฺญา คือ กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ (๕) ปหานสญฺญา คือ กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย (๖) วิราคสญฺญา คือ กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๗) นิโรธสญฺญา คือ กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๘) สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (๙) สพฺพสงฺขาเรสุ อนิฏฺฐสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (๑๐) อานาปานสติ คือ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก [ถ้าเป็นพระเสข ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ต้องมีชีวิตอยู่ จึงให้พิจารณาลมหายใจในฝ่ายกายสังขาร]
ประการสุดท้ายนี้ ให้ระลึกอยู่เสมอว่า การเกิดปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริงนั้น แม้การแสวงหาความรู้ในทางโลก ก็มีความพยายามเน้นไปที่ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ [Pure Science] นั้นก็ตาม แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นเรื่อง ความบริสุทธิ์ในไตรสิกขา [ด้วยการเจริญวิสุทธิ ๗] ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบและเห็นด้วยพระปรีชาแห่งปัญญาญาณ ที่เกิดจากการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน ๒ ขั้นตอน ที่มีปทัฏฐานมาจาก (๑) สมถะสมถภาวนา ตามคติของลัทธิพราหมณ์ แล้วพระองค์ต่อยอดองค์ความรู้ ด้วยการกำหนดธรรมเครื่องสนับสนุนความตรัสรู้ คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ สหรคตรวมกับ (๒) วิปัสสนาวิปัสสนาภาวนา โดยประยุกต์ พลังอำนาจจากจตุตถฌาน [ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ๑๓ ประการ โดยเฉพาะ อภิญญา ๔ กับ ญาณ ๒ ดังที่กล่าวมาข้างต้น] เป็นปัจจัยสำคัญส่วนเกื้อกูลในการพัฒนาวิวัฒนาปัญญาญาณทั้งหลายในวิปัสสนาภูมิ ฉะนั้น ปัญญาที่เกิดขึ้นทั้งหลายนั้น คือ การเห็นปรากฏการแห่งธรรมทั้งปวง เมื่อได้บรรลุถึงอธิคมธรรมเหล่านี้ได้ เกิดทั้ง ธรรมฤทธิ์ [Spiritual Prosperity] คือ ความสำเร็จ [อิทธิ] หรือความรุ่งเรืองทางธรรม [ปัญญาเห็นธรรมปัญญาตรัสรู้] และ ปัญญาฤทธิ์ [Wisdom Prosperity] คือ ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางปัญญา [สติสัมปชัญญะเชาว์ปัญญาไหวพริบปฏิภาณ] ที่เกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาเดียวกัน องค์ประกอบปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติธรรม คือ ความเข้าใจในธรรมชาติตามเป็นจริง ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ถ้าเริ่มต้นจากสิ่งนี้ไม่ได้ ย่อมหมายถึงความล้มเหลวในการปฏิบัติธรรมในอนาคตอย่างแน่นอน ความเข้าใจในเรื่องนี้ ต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น จนถึงขั้นตอนแห่งความตรัสรู้ [สัมโพธะ] ถ้ามีความคลาดเคลื่อนแห่งทิฏฐิเข้ามาครอบงำ ก็ย่อมแปลว่า อวิชชาเข้ามาปิดบังปัญญา [ตัณหาทิฏฐิมานะ แห่งสังโยชน์] ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมแห่งภาวนากรรมฐานนั้น ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดแตกต่างจากคนอื่นได้ เพราะเป็นปัญญาที่ตนต้องเข้าใจตนเองเป็นหลัก ต้องรู้จักอุปนิสัยใจคอ [อธิมุติ = อัธยาศัยความโน้มเอียงความเชื่อถือแนวความสนใจ] พื้นจิตสันดาน ที่เป็นสภาวธรรม [อารมณ์แห่งกรรมฐาน] ของตนเอง เรียกรวมๆ ว่า จริต หมายถึง ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่งอันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดานพื้นเพของจิตอุปนิสัยพื้นนิสัย ฉะนั้น การปฏิบัติจะสำเร็จง่ายหรือยากก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าวนี้ การคิดหาอุบายวิธีในสำเร็จผล ก็มีความแตกต่างไปตามแต่ลักษณะของบุคคลนั้นๆ ไม่ว่าแนวทางประพฤติปฏิบัติมีความต่างอย่างไรเพียงใดก็ตาม เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล [ส่วนกระพี้ไม้] แต่เรื่องที่เป็นกลางที่สุดอันเป็นลักษณะร่วม อันถือเป็นแก่นแท้พระศาสนา [พระธรรมวินัยสัลเลขปฏิปทา = ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสทั้งหลาย] คือ พระสัตถุสาสน์ ๘ [วิราคะวิสังโยคอปจยะอัปปิจฉตาสันตุฏฐีปวิเวกวิริยารัมภะสุภรตา] กับ พระสัตถุสาสน์ ๗ [เอกันตนิพพิทาวิราคะนิโรธอุปสมะอภิญญาสัมโพธะนิพพาน] ถ้ามีข้อประพฤติปฏิบัติใดที่แตกต่างไป ไม่มุ่งเข้าจุดศูนย์กลางแห่งพระสัตถุสาสน์ทั้ง ๒ ประการ นี้ ถือว่า ออกนอกลู่นอกทางพระธรรมวินัยของพระศาสดา ย่อมตัดสินได้ว่า ไม่ใช่ทางแห่งอริยมรรค [มัชฌิมาปฏิปทา] เป็นการปฏิบัติเจริญภาวนากรรมฐาน ที่ประกอบด้วยสภาวะที่ผิดคลาดเคลื่อนไป ที่เรียกว่า มิจฉัตตะ ๑๐ ซึ่งก็เป็นทำนองว่า หลงทางเสียเวลา หลงอวิชชาเสียอนาคต ก็ให้เข้าใจว่า: การปฏิบัติธรรมเพื่อพระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์ อุปมาอุปไมยว่า:
การเดินทางหนีจากโลกให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่มีชีวิตที่จะครอบโลกเอาไว้ เพราะยิ่งออกไปไกลเท่าไหร่ โลกยิ่งเล็กลงไปเรื่อยๆ จนมองไม่เห็นอะไร จนเป็นแค่เศษผงธุลีไร้ค่า ในจักรวาลที่กว้างใหญ่เป็นอนันต์
ฉะนั้น อย่านึกคิดว่า: มีชีวิตเพื่อยอมแพ้โลก ยอมตายตามโลกที่เป็น แต่เตรียมตัวหนีจากโลกนี้ ไปสู่โลกุตตระ โลกที่ไร้สังขารนิมิตไม่ว่าจะเป็น อกุศลธรรมกุศลธรรมแห่งกามาวจรภูมิ อย่างน้อยก็หมายให้ จิตสะอาดบริสุทธิ์ที่เป็น (๑) รูปพรหมรูปาวจรภูมิ [ภาวะกุศลจิตใน ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน] หรือ (๒) อรูปพรหมอรูปาวจรภูมิ [ภาวะกุศลจิตใน อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญายตนะ] แต่อย่างไรก็ตาม ก็อย่าลืมจุดหมายสำคัญในการแสวงหาโยคเกษมธรรมตาม เส้นทางแห่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทำไว้เป็นตัวอย่าง เพื่อให้พุทธบริษัททั้งหลายประพฤตปฏิบัติตามลำดับ ที่ได้ชื่อว่า อริยบุคคล ๔ นั่นคือ (๑) พระโสดาบัน (๒) พระสกทาคามี (๓) พระอนาคามี (๔) พระอรหันต์ [พระอรหันตขีณาสพ] เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้เป็นพุทธบริษัทอย่างแท้จริง มีสิทธิ์สำเร็จบรรลุผลได้อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ภูมิ ดังต่อไปนี้ (๑) รูปาวจรกุศลภูมิ (๒) อรูปาวจรกุศลภูมิ และ (๓) โลกุตตรกุศลจิต ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานจริงจัง คิดจริง ทำจริง หวังจริง ไม่ยอมเลิกราจริง มีสติสัมปชัญญะจริง ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อนันต์แห่งชีวิตในชาตินี้ ก็ย่อมอยู่ในฐานะที่เป็นไปได้ทั้งนั้น ให้มั่นใจในตนเอง ศรัทธาเลื่อมใสใน (๑) การบำเพ็ญสั่งสมบารมีของพระโพธิสัตว์ (๒) การบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ของพระอริยบุคคล (๓) ความหนักแน่นสนิทแน่วเมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง (๔) พระธรรมวินัยของพระศาสดา ภาวะดังกล่าวนี้ ย่อมดลบันดาลให้จิตใจผู้ปฏิบัติธรรมเกิดศรัทธาและฉันทะแรงกล้าได้จริง.
|