๑๐๒. การนิยามสภาวธรรมทั้งหลาย Definitions of All True Dhamma
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
สำหรับการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธินั้น ก็มีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมาก เริ่มต้นอย่างขาดทิศทาง คือ หลงทิศทางที่เป็นแนวทางตาม มัชฌิมาปฏิปทา ส่วนใหญ่ไปยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคล โดยเคารพนับถือเป็นครูอาจารย์ ผู้เป็นอริยสาวกของพระตถาคตเจ้า ก็เลยเป็นเหตุให้ลืมภาระหน้าที่หลักของตนในการเจริญภาวนากรรมฐาน ที่ควรเป็นไปอย่างถูกหลัก ธัมมานุธัมมปฏิปทาธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง คือ การไปอ้างฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของท่านผู้เป็นโสภณบุรุษแล้ว เพราะเป็นการหลงประเด็นแห่งพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดา แต่เมื่อรู้แล้ว ก็นำไปปฏิบัติตามที่ท่านสั่งสอนแนะนำไปนั้น สิ่งนั้นเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสที่แรงกล้า อธิโมกข์อธิโมกขสัทธา จะได้เป็นขวัญกำลังใจให้ปฏิบัติธรรมที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ความรู้เห็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ นั้น เป็นเรื่องฝ่ายปัญญาล้วนๆ ที่เข้าใจถึง ธรรมนิยาม ๓ อันเป็น กฎธรรมชาติ [Natural Law] คือ ความจริงที่ปรากฏอย่างแน่นอนไม่เป็นอื่นแห่งธรรมทั้งหลาย [ธรรมฐิติ] ได้แก่ (๑) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา คือ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง (๒) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา คือ สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้ (๓) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือ ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องหมั่นเพียรในการเจริญสมาธิภาวนา ที่พร้อมด้วย อนุปัสสนา ๗ คือ มนสิการกรรมฐานบ่อยๆ ทำให้มาก ทำให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยอริมรรค ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ๑ ทุกขานุปัสสนา ๑ อนัตตานุปัสสนา ๑ นิพพิทานุปัสสนา ๑ วิราคานุปัสสนา ๑ นิโรธานุปัสสนา ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ๑ ตามลำดับ ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดปัญญาในภูมิแห่งวิปัสสนา จึงถึงขั้นปัญญาแตกฉาน คือ จตุปฏิสัมภิทาญาณ ให้ได้ ฉะนั้น ในช่วงระหว่างปัญญาที่เกิดขึ้นด้วยญาณในวิปัสสนาทั้งหลายนั้น ท่านผู้ปฏิบัติธรรมย่อมเห็นสภาวธรรมเหล่านั้นเป็น ปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ ที่มีคำศัพท์ [Terms] อ้างอิงได้ถึงสิ่งที่เป็นจริง [สัจฉิกัตตะSignified] นั้น เพื่อแสดงถึงปัญญาแตกฉานด้านภาษา คือ นิรุตติปฏิสัมภิทา ซึ่งรวมทั้งปัญญาที่เกิดจาก พาหุสัจจะ คือ ความคงแก่เรียน ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์พระธรรมวินัยตามคำสอนของพระศาสดาที่สะสมมาและปรับปรุงแก้ไขตามยุคสมัยด้วยคณะพระเถระผู้ใหญ่ [พระอรหันต์] อย่างไรก็ตาม ภาวะปัญญาแตกฉานนั้น ความมีศักยภาพทางปัญญาที่สมดุลกันในทั้ง ๔ ด้าน [สหวุตติ] โดยเข้าทำนองที่ว่า เมื่อเข้าใจความจริงตามธรรมชาติได้ดีแล้ว ย่อมสามารถขบได้ด้วยทฤษฎี และคล่องปากที่จะอธิบายเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมเป็นประสบการณ์ ทักษะปฏิภาณเฉพาะตนได้จริง อีกนัยหนึ่ง ภาษาคือความคิดและทักษะ ย่อมสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้ ทั้งในทางโลกและในทางธรรม เพราะภาษาคือปัญญาที่สะสมกลายเป็นองค์ความรู้ในสมองของมนุษย์ ที่เราสามารถควบคุมได้ด้วย สติสัมปชัญญะ กับ สมาธิแห่งจตุตถฌาน ที่บริสุทธิ์ จึงทำให้เกิดญาณในวิปัสสนาได้ นั่นเอง.
บทความที่ ๑๐๒ ประจำปี ๒๕๕๘ การนิยามสภาวธรรมทั้งหลาย
ในการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาต้องมีการพัฒนาตัวตนให้ครบใน ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) กายภาวนาภาวิตกาย [Physical Development] หมายถึง การเจริญกาย พัฒนากาย การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (๒) สีลภาวนาภาวิตศีล [Moral Development] หมายถึง การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน (๓) จิตตภาวนาภาวิตสมาธิ [Emotional Development] หมายถึง การเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ [ญาณทัสสนะ = ปัญญาในสมาธิ] และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น ที่เรียกว่า จิตประภัสสร คือ จิตปราศจากนิวรณ์ทั้งหลาย และ (๔) ปัญญาภาวนาภาวิตปัญญา [Wisdom Development] หมายถึง การเจริญปัญญา พัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญา [ญาณ = ปัญญาในวิปัสสนา] ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา ทั้ง (๑) ปัญญาทางโลกียะ [โลกียญาณโลกียธรรม] และ (๒) ปัญญาทางโลกุตตระ [โลกุตตรญาณโลกุตตรธรรม = อริยมรรค ๔อริยผล ๔อาสวักขยญาณโพธิปักขิยธรรม ๓๗] ตามลำดับ [อนุปุพพสิกขา = ไตรสิกขา: ศีลสมาธิปัญญา หรือ มัชฌิมาปฏิปทา: อริยมรรคมีองค์ ๘อริยมรรค ๔อริยสัจจ์ ๔] ฉะนั้น ผู้ที่ได้พัฒนาตนเองได้ครบตามคุณบทแห่งบุคคลผู้ถือพระพุทธศาสนาดีแล้ว ย่อมได้ว่าชื่อว่า ภาวิตัตต์ เมื่อเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งด้วยอริยมรรคดีพร้อมแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพอริยสาวกขององค์ตถาคตเจ้า ซึ่งเป้าหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์ [ปรมัตถปฏิปทา] ของความเป็นพุทธะสำหรับผู้เป็น กัลยาณปุถุชน [คนธรรมดาที่มีความประพฤติดี ปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง] หรือเป็น สาธุชนคนดี ผู้เป็น พุทธมามกะ คือ ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
นอกจากนี้ ในการนับถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะที่พึ่งแห่งชีวิตจิตใจนั้น ต้องเข้าใจว่า พระพุทธศาสนา คือ ศาสนาแห่งการศึกษา [The Religion of Education] ฉะนั้น ในการเริ่มแรกปฏิบัติศาสนกิจ จะต้องเริ่มด้วย คำว่า ไตรสิกขา อันหมายถึง ศีลสมาธิปัญญา ที่มีแนวทางดำเนินด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดทางสายกลางแห่งปัญญา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา โดยมีกระบวนการคิด ๓ ขั้นตอน เช่นกัน (๑) เริ่มด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา และ (๓) นำไปสู่ปัญญา ตามลำดับ [อนุปุพพสิกขา] ด้วยเหตุนี้ คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ เรียนหนังสือ และ ฟังเทศน์ฟังธรรม คงจะลำบากมากในการปฏิบัติธรรม การเป็นผู้คงแก่เรียน คือ ผู้ทำลายความโง่แห่งอวิชชา [ตัณหาทิฏฐิมานะ = ปปัญจะ ๓: กิเลสเครื่องเนิ่นช้า] ตามอรรถนัยใน ความมืดมนแห่งอวิชชา [The Dark of Ignorance] นี้ ในทางธรรมนั้น ก็พิจารณาเป็นลักษณะอาการทางจิตของมนุษย์ ไม่ใช่ของหมาของแมวที่ไหน เพราะการเกิดมาเป็นคนนั้น อาจจะไม่ประกอบด้วยอวิชชาล้วนๆ ที่เป็นปัจจัยกำหนดแดนเกิด [กรรมปัจจัยวิปากปัจจัย] อันเป็นไปตาม กฎแห่งกรรม: กัมมสัทธาวิปากสัทธา [ปัญญาระลึกเห็นนามรูปในขันธ์ทั้งหลายในอดีตกาล = ปุพเพนิวาสานุสติญาณ: คำว่า บุพเพนิวาสปุพเพนิวาส คือ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในก่อน] ซึ่งทำให้เข้าใจถึง อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เพราะรู้เห็นถึง ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อย่างไม่น่าสงสัยในธรรมทั้งหลาย ด้วยจิตที่สะอาดบริสุทธิ์จากนิวรณ์ [กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง = จตุตถฌานกุศลจิต] และอานิสงส์ที่ตามมา คือ เกิดปัญญาเห็น สังสารจักร [ภวจักร] คือ การเวียนว่ายตายเกิด การจุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรมของตน เป็นชีวิตสันตติไปตามกระแสโลกไม่มีสิ้นสุด ด้วย อธิคมธรรมแห่งจตุตถฌาน ได้แก่ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓ = ธัมมัฏฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ = กังขาวิตรณวิสุทธิ [ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗] หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ หรือ ปัจจยปริคคหญาณ [ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖] หมายถึง ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือ รู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนว ปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนว กฎแห่งกรรม ก็ดี ตามแนว ปฏิจจสมุปปันนธรรม ก็ดี ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒) หรือ เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ (ข้อ ๗ ในวิชชา ๘: ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ และ ข้อ ๒ ในจักขุ ๕: พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า) หมายถึง ตาทิพย์ คือ ทรงมีพระญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปต่างๆ กัน ด้วยอำนาจกรรมของตน ซึ่งเป็นปทัฏฐานให้เข้าถึงปัญญาเห็นแจ้งในเรื่อง กฎแห่งกรรมของสัตว์กัมมัสสกตาสัทธา คือ ปัญญาอันมองเห็น ความมีกรรมเป็นของตน ดังเช่น สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งผลที่ประสงค์จะสำเร็จให้บรรลุธรรมนั้น ก็ด้วยความพากเพียรในการกระทำของตน เช่นกัน ด้วยข้อสรุปเชิงทางทฤษฎี ที่ว่า: ทำดีย่อมได้ดีทำชั่วย่อมได้ชั่ว
เพราะฉะนั้น ความรู้ความเข้าใจที่เป็น สัมมาทิฏฐิ เมื่อจิตได้บรรลุถึง จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา] เพราะเจริญข้อประพฤติปฏิบัติอันถูกต้องทำให้ลุถึง วิชชา [ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ] ได้ ชื่อว่า จรณะ ๑๕ [เสขปฏิปทา] ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗และฌาน ๔ อันความเพียรบารมีที่ทำได้จนบรรลุถึง จตุตถฌาน และได้รับมหานิสงส์อันยิ่งใหญ่ คือ (๑) วิชชา ๓ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ระลึกชาติได้] คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย และ (๓) อาสวักขยญาณ [ความตรัสรู้] คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ (๒) วิชชา ๘ ได้แก่ (๑) วิปัสสนาญาณ คือ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา นั่นคือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน (๒) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จาก หญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ (๓) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๔) ทิพพโสต คือ หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ และ (๘) อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ ข้อพึงระวังประการหนึ่ง คือ ในการบรรลุถึง จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา] ได้นั้น ไม่ได้หมายความว่า ทุกผู้ทุกนามจะได้ อธิคมธรรมสมณธรรม นี้ ครบทุกรายละเอียด บางท่านได้เพียง (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ระลึกชาติได้] กับ (๒) ทิพพจักขุ [ตาทิพย์] ก็เกิดอาการจิตฟุ้งซ่าน หวั่นไหว สัดส่าย หลงทิศหลงทาง ออกนอกวิถีวงโคจรแห่งอริยมรรค หลุดโลกไปแล้ว ก็มีได้เหมือนกัน เช่น คิดเอาเองว่า มีฤทธิ์แรงมาก เห็นทั้ง ๓ โลกแล้ว นิยมเป็นร่างทรงเจรจาการทูตกับโลกทั้ง ๓ เพื่อสะเดาเคราะห์ให้สัตว์ทั้งหลาย [นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือ ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นั่นคือ เป็นทั้งคู่ ทั้งผู้ร่างทรงและผู้ขอความช่วยเหลือ ไปด้วยกันทั้งคู่ ไปอยู่ในถ้ำแห่งกิเลสมาร] ที่เรียกว่า ธรรมุธัจจ์ธัมมุทธัจจะ คือ ภาวะจิตที่สำคัญผิดในธรรมที่ปรากฏแก่ตนในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะฤทธิ์ของ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ [ภาวะอันวิเศษสุดที่ไม่เคยประสบในชีวิตมาก่อนจึงทำให้หลงเพราะมีปัญญาไม่ถึงขั้นว่า มันไม่มีอะไรจริงๆ ได้แก่ โอภาสแสงสว่าง ญาณความหยั่งรู้ ปีติความอิ่มใจ ปัสสัทธิความสงบเย็น สุขความสุขสบายใจ อธิโมกข์ความน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาแก่กล้า ปัคคาหะความเพียรที่พอดี อุปัฏฐานสติชัดแก่กล้า อุเบกขาความมีจิตเป็นกลาง นิกันติความพอใจติดใจ คำเตือน: ทำดีย่อมได้ดี แต่อย่างหลงความดี เพราะจิตยังไม่ได้กำจัด ตัณหาทิฏฐิมานะ ให้หมดสิ้นไปจริงก่อนได้อธิคมธรรมนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมมาถูกขั้นตอนตามคำสอนของพระศาสดา ต้องได้พบเห็นอุปกิเลสเหล่านี้ในภาวะจิตที่เป็นกุศล แต่ต้องมีปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์อย่างแท้จริง อนิจจังทุกขังอนัตตา ยันให้อยู่จริงเพื่อถอนอัตตาภินิเวสแห่งตนไว้เสมอ] จึงทำให้คิดว่า ได้บรรลุโลกุตตรธรรมแล้ว มรรคผลนิพพาน ถ้าอาการหนัก ก็สถาปนาตนขึ้นครองโลกว่าเป็นศาสดาองค์ใหม่มาปลดปล่อยโลก [ความจริงโลกมันก็ไม่มีอะไรเลย เป็นอนัตตา ถ้าบรรลุสัมโพธิญาณจริง ไม่มีท่านใดหรอก อยากจะได้โลกนี้ไว้ในกำมือ เคยได้ยินแต่ว่า ให้ปล่อยวางเพื่อให้หลุดพ้นสัตวโลก นั่นคือ โลกคือหมู่สัตว์ ไปสู่ โลกุตตรภูมิแหงพระนิพพาน]
ฉะนั้น องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในวิปัสสนาภูมินั้น ไม่สามารถบรรยายด้วยคำศัพท์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดในโลก เพราะคำพูดก็เป็นถ้อยคำที่พากันนิยามให้รู้พร้อมกันว่า ให้ใช้คำนั้นคำนี้ เรียกอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารความเข้าใจกันในสังคม ที่เรียกว่า ภาษากลางทางการ [Official Language] หรือพวก ภาษาถิ่น [Dialects] ภาษาเฉพาะอาชีพ [Jargon] ภาษาเฉพาะกลุ่ม [Cant] รวมทั้ง ภาษาท่าทางภาษามือ [Body Language] หรือ ภาษาสัญลักษณ์ [Sign Language] แต่ภาษาที่ใช้ในการสืบทอดพระพุทธศาสนานั้น คือ ภาษาบาลีสันสกฤต [ภาษามคธ: Pali-Sanskrit = The Old Indic Prakrit of the southern Buddhist scriptures, which has become the religious language of Buddhism] เพราะฉะนั้น พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาจึงใช้ภาษาบาลี [Pali] เป็นภาษาหลักในการบันทึกหลักพระธรรมวินัย และพระสัตถุสาสน์ ที่สืบทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ ที่ท่องจำจากปากสู่ปากในหมู่พระอรหันตขีณาสพเท่านั้น ไม่ใช่ผู้เป็นชาวบ้านร้านค้าตลาดอะไรทั้งนั้น พระอริยสงฆ์และไม่ใช่พวกอัญญเดียรถีย์ปาริพาชก ผู้อยู่ถือลัทธินอกพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุบาลีว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรงพระวินัย [วินัยธร] พระอุบาลีเป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย
Source: Websters NewWorld Dictionary. Third College Edition. 1994.
[ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาล้านนา ภาษาธรรมอีสาน ภาษาเขมร อยู่ในตระกูลภาษา IndoChino]
Sanskrit n. || so called in distinction to the Old Indic Prakrit (Pali as Cognates, an Indic language canonical text, closely related to Sanskrit, which developed in northern India in 5th 2nd centuries B.C. | Concise Oxford English Dictionary Eleventh Edition), the common spoken language || 1. the classical Old Indic literary language, as cultivated from the 4th centuries B.C. onward and still used in the ritual of the Northern Buddhist Church: because of the antiquity of it written expression and the detailed descriptive analysis in the Sutras of the Hindu grammarian Panini (end of the 4th cent. B.C. and the most famous Sanskrit grammarian of the world), Sanskrit has been very important in the origin and development of comparative Indo-European linguistics 2. loosely, any written form of Old Indic, including Vedic. (Websters NewWorld Dictionary. Third College Edition. 1994. P.1189) สันสกฤต น. || เรียกได้ว่ามีความสำคัญกับภาษา Old Indic Prakrit (โดยมีคำศัพท์ภาษาบาลีเป็นคำศัพท์ดั้งเดิม ถือเป็นภาษาหนึ่งในภาษา Indicตำราพระธรรมวินัยศาสนา และมีความใกล้ชิดกับภาษาสันสกฤต ซึ่งแหล่งกำเนิดในตอนเหนือของอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ ๕๒ ก่อนคริสต์ศักราช) ใช้เป็นภาษาพูดพื้นฐาน || ๑. ภาษา Old Indic ด้านวรรณคดีคลาสสิค เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ ๔ ก่อนคริตส์ศักราช หรือก่อนหน้านั้นอีก และยังใช้ประกอบพิธีกรรมในโบสถ์พุทธทางเหนือ: เนื่องจากมีความเก่าแก่ด้านสำนวนถ้อยคำ และการวิเคราะห์ไวยากรณ์เชิงพรรณนาในพระสูตศาสนาฮินดู โดย Panini (ช่วงปลายศตวรรษที่ ๔ ก่อนคริตส์ศักราช และเป็นนักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก) ภาษาสันสกฤตจึงได้มีความสำคัญมากที่เป็นแห่งกำเนิด และการเกิดขึ้นของวิชาภาษาศาสตร์เชิงเปรียบเทียบสาขาภาษา Indo-European ๒. โดยนัยกว้างๆ เป็นภาษาเขียนของภาษา Old Indic รวมทั้งภาษา Vedic
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาที่สืบมาแต่ยุคแรกสุด ซึ่งถือตามหลักธรรมวินัยที่พระอรหันตเถระ ๕๐๐ รูป ได้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรกรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางเป็นแบบแผนไว้เมื่อ ๓ เดือนหลังพุทธปรินิพพาน [ก็ใช้ภาษาบาลีสันสกฤตบันทึก ที่เรียกว่า มุขปาฐะ ท่องจำในบทพระธรรมวินัย บอกปากต่อปาก] ได้แก่ พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา ที่เรียกว่า เถรวาท หมายถึง วาทะของพระเถระ [พระเถระผู้รักษาธรรมวินัยนับแต่ปฐมสังคายนา] บางทีเรียกว่า พุทธศาสนาแบบดั้งเดิม [The Southern Buddhist Scriptures] และ เพราะเหตุที่แพร่หลายอยู่ในดินแดนแถบใต้ จึงเรียกว่า ทักษิณนิกาย [นิกายฝ่ายใต้] พระสงฆ์บางกลุ่มในปัจจุบันนั้น ได้พยายามศึกษาพระไตรปิฎกอันเป็นแก่นสารพระธรรมวินัย ซึ่งรวมทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้พยายามตัดทอนออกเป็นบางส่วน โดยยึดหลักตามพระปริยัติสัทธรรม คือ พุทธวจนะ จะเหมาะสมหรือคลาดเคลื่อนอย่างไรนั้น มีผู้สันทัดกรณี [สัมมภิกษุ] กล่าวว่า: จริยาของพระสงฆ์ที่ตัดทอนพระธรรมวินัยออกไปนี้ ไม่งดงาม สมดังเป็นผู้ทำหน้าที่ตัวแทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น เวลามอบสิ่งของให้กัน ก็โยนให้ต่อหน้าคณะ ไม่แสดงความมีสัมมาคารวะอันเหมาะควร ไม่งามแท้ ไม่งดงาม ไม่สมแท้ที่จะได้กลายเป็นอริยสาวกแห่งพระตถาคตในอนาคต ผู้น่าเลื่อมใสศรัทธาที่แท้จริง และผู้สืบทอดพระศาสนาอย่างแท้จริง [ในข้อนี้ ให้พิจารณาว่า: ภิกษุประพฤติพระธรรมวินัยขาด เรียกว่า ศีลวิบัติทิฏฐิวิบัติ ต้องอาบัติปาราชิกได้ เพราะสิ่งที่ดีงามไม่รักษา กลับกลายไปตามใจอำนาจกิเลสตัณหาของตน ปปัญจะ ๓: ตัณหาทิฏฐิมานะ ชอบลองดีในทางที่ผิด เพื่อสร้างลัทธิใหม่ เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องโยม เรื่องของภิกษุ โยมไม่เกี่ยว นั่นคงไม่ใช่ เพราะทำบุญกฐินผ้าป่าไว้เยอะแล้ว จะทำอะไร ก็เกรงใจกันหน่อย เขาให้หาทางตรัสรู้ แปลว่าเป็นภาษาบาลีว่า สัมโพธะ กลัวท่านจะลืม ไม่ใช่หาทางพังพระธรรมวินัย ชอบทดสอบกำลังทางสังคมอันไม่ควร เท่าที่เห็นมา ไม่เห็นได้ดีสักคน คงพอๆ กับพวกลัทธิความเชื่ออุบาทว์จากเกาหลีที่เข้ามาเผยแพร่ว่า ไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ สุดท้ายสังคมประณาม หนีแทบไม่ทัน เรื่องมีเหตุ คือว่า: ป้าแหยงหลังวัดขอร้องมา! แก่ใส่บาตรทุกเช้า แก่เริ่มคิดมาก เกรงใจแก่ เพราะเริ่มหวั่นไหวในผู้บวช อาจสั่นคลอนถึงพระธรรมได้ ข้าวทุกเม็ดหาได้ยากมาก ทำตนให้สมความไว้วางใจจากป้าแก่หน่อย กินทิ้งๆ ขวางๆ ไม่พอ ยังจะขวางพระธรรมทิ้งเสียอีก ทำไมไม่ขวางกิเลสทิ้ง พระเถระครั้งอดีตท่านทำไว้ดีพร้อมแล้ว ถูกต้องแล้ว คือ อย่าประมาท! สังคมกำลังตรวจความโปร่งใสในกิจของท่านผู้เจริญแล้วเสมอ]
ในการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธินั้น สังขารนิมิตทั้งหลายที่ปรากฏในกระบวนการคิดพิจารณา คือ มนสิการกรรมฐาน ที่ต้องทำมากๆ บ่อยๆ อย่างสืบเนื่อง อันเป็นการเพาะปัญญาให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นนั้น คือ กำลังความคิด [อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในผลที่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือประโยชน์อันควร = ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ คิดดับเหตุแห่งทุกข์ กับ ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในเหตุอันเป็นองค์ประกอบสำคัญให้เกิดผลข้างต้น = อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ คิดหาเหตุแห่งทุกข์] ที่เรียกว่า ขุมทรัพย์ทางปัญญา ว่าบุคคลนั้นมีความฉลาดไหวพริบ ความเชี่ยวชาญ ในทางธรรมเรียกว่า ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณปฏิภาณปฏิสัมภิทา แต่ความฉลาดมากดังกล่าวนั้น กลับพูดไม่รู้เรื่อง ประเด็นนี้ ไม่จัดอยู่ในข้อนี้ เพราะไม่เกิด ปัญญาแตกฉานในภาษานิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ไม่คล่องปาก ที่แสดงถึงมีความสามารถขบทฤษฎีได้ [พาหุสัจจะ: พหุสฺสุตาฟังมาก ๑ ธตาจำได้ ๑ วจสา ปริจิตาคล่องปาก ๑ มนสานุเปกฺขิตาเพ่งขึ้นใจ ๑ ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธาขบได้ด้วยทฤษฎี = ความเป็นพหูสูต คือ เรียนมากรู้มาก คงแก่เรียน] แต่ถ้าเรียนมากแล้กลายเป็นใบ้นั้น ซึ่งนิยมมากในหมู่ผู้เรียนจบระดับบัณฑิตศึกษา [ไม่รู้ว่า: รู้หรือไม่รู้จริง ไม่ค่อยมีแววกันว่า มีปฏิภาณ เฉลียวฉลาด ดุจเป็นปราชญ์ ทั้งที่ได้เวลาเป็นได้แล้ว แต่ท่านทรงตลอด คือ ไม่มีมาด] แต่ในทางธรรมนั้น พระอริยสงฆ์จะแสดงถึง วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน คือ ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิชชา คือความรู้ และ จรณะ คือ ความประพฤติที่งดงาม ที่ประกอบด้วย สังฆคุณ ๙ ได้แก่ (๑) เป็นผู้ปฏิบัติดี (๒) เป็นผู้ปฏิบัติตรง (๓) เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง (๔) เป็นผู้ปฏิบัติสมควร (๕) เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ (๖) เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ (๗) เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา (๘) เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี (๙) เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ด้วยเหตุนี้ การเจริญภาวนากรรมฐานนั้น จึงเป็นแนวทางพัฒนาจิตใจ ที่เพิ่มพูนด้วยอริมรรค อันจะเป็นปัญญายิ่งให้เป็นเหตุหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง ไม่ให้ร่ำรวยด้วยมิจฉาอาชีพ อย่างเช่น คิดผิด ตั้งใจผิด ทำผิด สร้างความเดือดร้อน [วิปฏิสาร] ให้ตนเอง ผู้อื่น และสังคม ปัญญาที่เกิดในภูมิแห่งวิปัสสนาภาวนานั้น ในบางครั้งมากกว่าคำที่จะบัญญัติได้ คือ เป็นภูมิที่เหนือบัญญัติด้วยถ้อยคำของชาวโลก ที่จะบรรยายได้ มีคำศัพท์เฉพาะไม่เพียงพอ [Lexicon: ศัพท์ในพจนานุกรม = Terms] แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วย พระอภิธรรม ที่เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths: ปรมัตถะปรมัตถ์ ที่อธิบายถึงความจริงตามปรากฏ สัจฉิกัตถะSignified Reality โดยกำหนดเป็น บัญญัติConcept] เพื่ออธิบายสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ในสมถนิมิตและวิปัสสนานิมิต เพื่อทำให้เข้าใจง่าย ด้วย สมมติสัจจะ [Conventional Truths] ดังนี้
บัญญัติ ๒ หมายถึง การกำหนดเรียกสิ่งที่ถูกกำหนดเรียก การกำหนดตั้งหรือตราไว้ให้เป็นที่รู้กัน ได้แก่ (๑) ปัญญาปิยบัญญัติอรรถบัญญัติ คือ บัญญัติในแง่เป็นสิ่งอันพึงให้รู้กัน บัญญัติที่เป็นความหมาย บัญญัติ นั่นคือ ความหมายอันพึงกำหนดเรียก ตัวความหมายที่จะพึงถูกตั้งชื่อเรียก (๒) ปัญญาปนบัญญัตินามบัญญัติสัททบัญญัติ คือ บัญญัติในแง่เป็นเครื่องให้รู้กัน บัญญัติที่เป็นชื่อ บัญญัติที่เป็นศัพท์ ชื่อที่ตั้งขึ้นใช้เรียก โดยแยกย่อยออกเป็น ๖ อย่าง ดังนี้ (๑) วิชชมานบัญญัติ คือ บัญญัติสิ่งที่มีอยู่ เช่น รูป เวทนา สมาธิ เป็นต้น (๒) อวิชชมานบัญญัติ คือ บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ เช่น ม้า แมว รถ นายแดง เป็นต้น (๓) วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ คือ บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น คนดี นักฌาน ซึ่งความจริงมีแต่ดี คือ ภาวะที่เป็นกุศล และฌาน แต่คนไม่มี เป็นต้น (๔) อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ คือ บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น เสียงหญิง ซึ่งความจริงหญิงไม่มี มีแต่เสียง เป็นต้น (๕) วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ คือ บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น จักขุสัมผัส โสตวิญญาณ เป็นต้น (๖) อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ คือ บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น ราชโอรส ลูกเศรษฐี เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า ธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมายถึงในการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการนิยามความหมายให้ครอบคลุมสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งบนโลกและในจักรวาล มิฉะนั้น หลักธรรมหรือทฤษฎีทางพระพุทธศาสนา ก็เป็น กฎธรรมชาติ ที่แท้จริงไม่ได้ ไม่มีอำนาจในแยกแยะธรรมทั้งหลายได้จริง [กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรม] ซึ่งการจะหาข้อสรุปเชิงทางทฤษฎีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายในสมัยของพระองค์ เพราะกระดาษจะใช้เขียนบันทึกอะไรก็ไม่มี เพื่อเป็นการรวบรวมเก็บข้อมูลในการศึกษาวิจัยธรรม ก็เพียงจดจำด้วยสมองล้วนๆ การพูดซ้ำ การคิดซ้ำ ไม่ให้จิตวอกแวกไปในเรื่องอื่น จึงต้องการสถานที่สงบ สะสงัดวิเวก ไม่คลุกปนด้วยฝูงชน ไม่ให้ฟุ้งซ่าน หวั่นไหว สัดส่าย ไปกับเรื่องไร้สาระจากผู้อื่น อันทำให้เกิด นิวรณธรรม [นีวรณานิวรณ์ ๘ ประการ] ทั้งหลาย ที่ไม่อุปาระแก่สมาธิ [กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจ (กุกกุจจะ)วิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง] จึงต้องการความสะงัดเงียบเพื่อให้จิตเกิดญาณในธรรมอันอุปการะแก่สมาธิ ได้แก่ (๑) เนกขัมมะ [เนกฺขมฺมํ: ความไม่โลภ] (๒) อัพยาบาท [อโทสะความไม่คิดร้ายพยาบาท] (๓) อวิเขกปะ [อวิกฺเขโป: ความไม่ฟุ้งซ่าน] (๔) อาโลกสัญญา [อาโลกสญฺญา: สัญญาในอาโลกนิมิต] (๕) ธรรมววัตถาน [ธมฺมววตฺถานํความกำหนดธรรม] (๖) ญาณ [ความหยั่งรู้รอบ กับ ฌานความสงบแห่งปัสสัทธิ] (๗) ปราโมทย์ [ปามุชฺชํ = ความปราโมทย์ กับ ปีติ] (๘) กุศลธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในการจะได้ถึง ปัญญาเห็นธรรม [อภิญญาความรู้คมชัด] ต้องอาศัยธรรม ๘ ประการ ตามพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดา ดังนี้ (๑) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ หรือเสริมความติดใคร่ (๒) วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์ (๓) อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่ ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่ (๕) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ (๖) ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ (๗) วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน (๘) สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย
เมื่อจิตสงบปัสสัทธิเป็นฌานจิตในขั้น จตุตถฌาน ดีแล้ว อวิชชา ย่อมดับระงับไปเพราะจิตเป็นสมาธิที่แน่วแน่ อัปปนาสมาธิ [อุเบกขาเอกัคคตา] ซึ่งต้องมีบาทฐานมาจากการเจริญ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่สมบรูณ์บริบูรณ์ดีพร้อม โดยเฉพาะ สติปัฏฐาน ๔ ในฐานที่ตั้งสติ [สัมปชัญญะ] ด้วยการเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน [ที่สัมปยุตต์ด้วย อนุปัสสนา ๓: อนิจจานุปัสสนาชวนปัญญา ๑ ทุกขานุปัสสนานิพเพธิกปัญญา ๑ อนัตตานุปัสสนามหาปัญญา ๑] แล้วตามด้วย เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตามลำดับ การเจริญอนุปัสสนาทั้ง ๓ ในฐานที่ตั้งสติทั้ง ๔ ประการ และต้องสัมปยุตต์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ในส่วนที่เหลือ ที่ต้องทำให้มาก เจริญให้มาก ให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ให้เจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ดังกล่าวนี้ ย่อมเกิด ปัญญาเห็นธรรม ได้อย่างแน่นอน ดังนิยามต่อไปนี้
ธรรม หมายรวมถึง สภาวธรรมปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] อันเป็นความหมายสูงสุดโดยนัยแห่ง อรรถบัญญัติ [Terms] ซึ่งความหมายทั้งหมดนี้ จะประมวลรวมลงที่ คำว่า ขันธ์ ๕ ที่เป็นทั้ง สังขตธรรม และ อสังขตธรรม [นิพพาน] ได้แก่ (๑) สภาพตามจริง [States] ธรรมดาธรรมชาติสภาวธรรมสัจจธรรมความจริง (๒) เหตุปัจจัย [Conditions] ต้นเหตุปัจจัยองค์ประกอบ (๓) สรรพสิ่ง [Realities] ปรากฏการณ์ธรรมารมณ์สิ่งที่ใจคิดความนึกคิด (๔) คุณธรรม [Virtues] ความดีความถูกต้องความประพฤติชอบ (๕) ความรู้ [Knowledge] เทคโนโลยีหลักการทฤษฎีกฎระเบียบแบบแผนธรรมเนียม (๖) ค่านิยม [Values] ความถูกต้องความยุติธรรมคุณธรรมจริยธรรมปรัชญาวิถีชีวิตหน้าที่ (๗) พระธรรม [Doctrines] พระสัตถุสาสน์พระอนุสาสนีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
ฉะนั้น ตามเกณฑ์ข้อประพฤติปฏิบัติดังกล่าวนี้ ทำให้เห็นสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ คือ รู้ดีกับโลกยิ่งขึ้น โดยการย่อส่วนเหลือเป็นเพียง ธรรมนิยาม ๓ หมายถึง กฎธรรมชาติ กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดาความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ตามธรรมดาของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายได้รู้ตาม มี ๓ อย่าง แสดงความตามพระบาลี ดังนี้ (๑) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา คือ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง (๒) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา คือ สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้ (๓) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือ ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน
อนึ่ง ความที่จะได้ปัญญาเห็นธรรมได้ดังนี้ ก็ต้องมีข้อปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาอีก ๗ อย่าง ดังนี้ (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง ไม่หลงใหลเคลิบเคลิ้ม (๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ไม่ยึดติดรัดตัว เป็นอิสระ (๓) นิโรธะ คือ ความดับ หมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบสะงัดแห่งวิเวก (๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่ง ความรู้ชัด (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ด้วยรู้แจ้งแทงตลอด (๗) นิพพาน คือ ภาวะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว
ฉะนั้น ให้ผู้ปฏิบัติธรรมลองหวนกลับไปพิจารณาถึง ลำดับขั้นของการปฏิบัติดังที่บรรยายมาข้างต้น อีกรอบหนึ่ง หรือหลายๆ รอบ [โยนิโสมนสิการ = การใช้ความคิดถูกวิธี หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย แยกแยะออกพิเคราะห์ ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธี ให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย นั่นคือ ให้พิจารณาสืบหาด้วย อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ คิดหาเหตุแห่งทุกข์ กับ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ คิดหาอุบายวิธีในการดับเหตุแห่งผลวิบากในทุกข์นั้นๆ นั่นเอง] เพื่อให้เกิดการย่อยความคิดให้แตกฉานในธรรมทั้งหลายเพิ่มขึ้น ตาม ฐานะแห่งภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา ของแต่ละบุคคลที่จะทำได้ดีที่สุด แต่ถ้าเป็นบุคคล บาปหนัก ศักดิ์ใหญ่ เท่าไหร่ [ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ แรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นอยู่เนืองๆ] ก็ยิ่ง ปฏิบัติได้ยากลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า [ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา] แต่ถ้าเป็นบุคคล บุญหนัก ศักดิ์ใหญ่ เท่าไหร่ [ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นเนืองนิตย์] และ มีวาสนาส่ง ก็ยิ่ง ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว [สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา] ในข้อบรรยายดังกล่าวนี้ การปฏิบัติธรรมนั่งสมาธินั้น เป็นไปตาม กฎแห่งกรรม นั่นคือ ทำดีย่อมได้ดีทำชั่วย่อมได้ชั่ว แต่ไม่ว่าจะเป็น กุศลวิบาก หรือ อกุศลวิบาก ที่ผจญเผชิญอยู่นั้น ย่อมดับได้ด้วยความประกอบความเพียร [วิริยารัมภะปรารภความเพียร] ในกุศลกรรมให้มากยิ่งขึ้น ที่เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร [ทำบุญรักษาศีลด้วยสังวรอินทรีย์ทั้ง ๖ ไม่ให้กิเลสตัณหามาครอบงำจิตใจได้ โดยละซึ่ง อปุญญาภิสังขาร ทั้งหลาย] กับ (๒) อาเนญชาภิสังขาร [เจริญฌานสมาบัติรูปฌาน ๔] อย่าลืมว่า วาสนาชะตาของเรานั้น เราเป็นคนกำหนดไว้เอง ด้วยการทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ ไว้เสมอ อย่างได้ขาดละเว้นเด็ดขาด
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเกี่ยวกับ นิรุตติปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาแตกฉานทางด้านภาษา นั้น ถือเป็นเรื่อง ทักษะSkills เป็นเรื่องประสบการณ์ ที่สามารถฝึกฝนให้เกิดความความชำนาญ ความคล่องแคล่ว ได้ เพราะ ภาษา [Language] คือ ทักษะ [Skill 4: ListeningSpeakingReadingWriting] ซึ่งเป็นทั้ง ศิลป์ [Art = Communication] และ ศาสตร์ [Science = Linguistics] ฉะนั้น ทักษะด้านภาษาสามารถพัฒนาขึ้นได้ ด้วยการฝึกหัด ฝึกอบรม นำไปใช้จริงในชีวิต แม้จะเป็นภาษาที่ตายไปแล้วก็ตาม [Dead Language: ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาลาติน เป็นต้น] โดยอาศัยทักษะจากการเจริญภาวนา [โยนิโสมนสิการ] มาใช้ในการพิจารณาศึกษาหลักภาษา [Syntax or Grammar] ในภาษานั้นๆ ย่อมสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะจิตเป็นสมาธิขึ้นสูง ประกอบด้วย ปัญญาในสมาธิ และ ปัญญาในวิปัสสนา เจริญพอกพูนงอกงามมาอย่างสมบูรณ์ เพราะจำนวนปริมาณศัพท์ในภาษา ย่อมเป็นดัชนีบ่งบอกถึง เขตพรหมแดนแห่งปัญญา [The Boundary of Knowledge] ของบุคคลนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ได้หมายความว่า คนรู้หลายภาษา [Polyglots] จะเป็นคนที่ฉลาดเชี่ยวชาญในธรรม เป็น ปราชญ์มุนี ได้ ซึ่งอาจจะเป็นได้แค่ ข้อมูลความทรงจำ [Data Memory] ที่ขาดพร่อง ปัญญา [Wisdom] เข้าไปบริหารจัดการให้เกิดความงอกงามไพบูลย์ด้วย จตุปฏิสัมภิทาญาณ ดังเช่น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องการวิวัฒน์ปัญญาแห่งมวลมนุษยชาติ
ในการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นกระบวนการเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย ความรู้และปัญญา [Knowledge and Wisdom] อันจะกลายเป็น ปรีชาหยั่งรู้แห่งญาณ [Insight] ที่ต้องบวก (๑) ร่างกาย [Body with Brain: สมอง] และ (๒) จิตใจ [Mind with Purity of Temperance: จิตประภัสสรพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ พร้อมด้วย ภาษา [Language] เข้าไปด้วยอีกส่วนหนึ่ง มิฉะนั้น ก็คงพูดกันไม่รู้เรื่องอย่างแน่นอน แม้คนใบ้ก็ยังมีภาษาเป็นสื่อกลาง คือ ภาษามือ [Body Language] ในอันดับต่อไปนี้ ให้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด ที่เกี่ยวพันกับมุมมองที่มีต่อโลกหรือธรรมชาติ ทั้งเป็นความจริง [ปรมัตถสัจจะ] และความนึกคิดขึ้นมาเองตามที่ต้องการเข้าใจ [สมมติสัจจะ] ดังนี้
ฉะนั้น เพื่อให้เข้าใจอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นใน (๑) กระบวนการคิด [อุปนิสัยใจคอ อธิมุติ อัชฌาสัยอัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ] และ (๒) การสื่อสาร ความคิดต่างๆ [สภาวะจิตระดับคุณภาพของจิตหรือชีวิต ได้แก่ (๑) กามาวจรจิต = กุศลบุญอกุศลบาป กับ (๒) รูปาวจรฌานจิตอรูปาวจรฌานจิตโลกุตตรจิต = อาเนญชาอัพยากฤต] เหล่านั้น โดยแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม [สังขาร ๓ อภิสังขาร ๓ กรรม ๓] ที่คนอื่นจะเข้าใจได้ ดังนั้น ธรรมที่แสดงออกในการสื่อสารนั้น จึงมีลักษณะเป็นสากล ได้แก่ กุศลธรรมคนดี ๑ อกุศลธรรมคนชั่ว ๑ อัพยากตธรรมอริยบุคคล ๑ ให้พิจารณานิยามหน่วยคิดดังแสดงไว้ในภาพประกอบข้างต้น ดังนี้
(๑) สัจฉิกัตถะ หมายถึง สิ่งที่ปรากฏอยู่จริงในธรรมชาติสรรพสิ่งธรรมชาติ ที่รับรู้ด้วยจิตวิญญาณที่แสดงอาการด้วย วิญญาณกิจ ๑๔ คือ กิจของวิญญาณ หน้าที่ของจิต ได้แก่ (๑) ปฏิสนธิ หน้าที่สืบต่อภพใหม่ (๒) ภวังคะ หน้าที่เป็นองค์ของภพ (๓) อาวัชชนะ หน้าที่คำนึงอารมณ์ใหม่ (๔) ทัสสนะ หน้าที่เห็นรูป (๕) สวนะ หน้าที่ได้ยินเสียง (๖) ฆายนะ หน้าที่รู้กลิ่น (๗) สายนะ หน้าที่ลิ้มรส (๘) ผุสนะ หน้าที่ถูกต้องโผฏฐัพพะ (๙) สัมปฏิจฉนะ หน้าที่รับอารมณ์ (๑๐) สันตีรณะ หน้าที่พิจารณาอารมณ์ (๑๑) โวฏฐัพพนะโวฏฐปนะ หน้าที่ตัดสินอารมณ์ (๑๒) ชวนะ หน้าที่แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วงที่ทำกรรม (๑๓) ตทาลัมพนะ หน้าที่รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนตกภวังค์ (๑๔) จุติ หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน (๒) ธรรม ๓ หมายถึง สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ ได้แก่ (๑) กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศล สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ (๒) อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศล สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล (๓) อัพยากตธรรม ธรรมที่เป็นอัพยากฤต สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล (๓) ปัญญา ๓ หมายถึง ความรอบรู้ความรู้ทั่วความเข้าใจความรู้ซึ้ง ได้แก่ (๑) จินตามยปัญญาโยนิโสมนสิการ (๒) สุตมยปัญญาปรโตโฆสะ (๓) ภาวนามยปัญญาญาณในวิปัสสนา (๔) ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ได้แก่ (๑) อัตถปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในอรรถ (๒) ธัมมปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในธรรม (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในนิรุกติ (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ (๕) กระบวนทัศน์ [โยนิโสมนสิการ] หมายถึง ความเข้าใจที่มีต่อโลกมุมมองโลกทัศน์ความเชื่อความศรัทธาความคิดเห็นทัศนคติขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม [วิสัยทัศน์ปรัชญาทฤษฎี] (๖) โกศล ๓ หมายถึง ความฉลาดความเชี่ยวชาญ ได้แก่ (๑) อายโกศลความรอบรู้ฝ่ายเจริญ (๒) อปายโกศลความรอบรู้ฝ่ายเสื่อม (๓) อุปายโกศลความรอบรู้ฝ่ายอุบายวิธี (๗) ความนึกคิดจินตนาการ หมายถึง กระบวนการคิดกระบวนการตัดสินใจ (๘) สัญเจตนา ๖ หมายถึง ความจงใจความตั้งใจความจำนงความแสวงหาอารมณ์ ได้แก่ (๑) รูปสัญเจตนา ความจำนงรูป (๒) สัททสัญเจตนา ความจำนงเสียง (๓) คันธสัญเจตนา ความจำนงกลิ่น (๔) รสสัญเจตนา ความจำนงรส (๕) โผฏฐัพพสัญเจตนา ความจำนงโผฏฐัพพะกายสัมผัส (๖) ธัมมสัญเจตนา ความจำนงธรรมารมณ์ (๙) ภาษา หมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสารที่เป็น ภาษาเขียน ภาษาพูด ภาษาท่าทาง หรือ ภาษาสัญลักษณ์ ได้แก่ (๑) สมมติสัจจะ ภาษาฝ่ายโลกียธรรม (๒) ปรมัตถสัจจะ ภาษาฝ่ายโลกุตตรธรรม (๑๐) อภิสังขาร ๓ หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำเจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม ได้แก่ (๑) ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ เช่น กุศลมูล ๓ (๒) อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป เช่น อกุศลมูล ๓ (๓) อาเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา เช่น จตุตถฌาน อรูปฌาน (๑๑) สังขาร ๓ หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำสัญเจตนาเจตนาที่แต่งกรรม ได้แก่ (๑) กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย (๒) วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา (๓) จิตตสังขารมโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ (๑๒) กรรม ๓ หมายถึง การกระทำ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม นั่นคือ สหรคตด้วย สังขาร ๓ หรือ อภิสังขาร ๓ ได้แก่ (๑) กายกรรม กรรมทำด้วยกาย การกระทำทางกาย เช่น ทำฟัง-อ่าน-เขียน (๒) วจีกรรม กรรมทำด้วยวาจา การกระทำทางวาจา เช่น พูด (๓) มโนกรรม กรรมทำด้วยใจ การกระทำทางใจ เช่น นึกคิดพิจารณาใฝ่ฝัน
เพราะฉะนั้น ตามนัยอรรถว่าด้วย นิรุตติปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในภาษา นั้น ให้พิจารณาแนวคิดเชิงอนุมาน [Deductive Approach = อนุโลมปฏิจจสมุปบาท] ดังต่อไปนี้ (๑) ภาษาคือความคิด (๒) ความคิดคือปัญญา (๓) ปัญญาทำให้เกิดองค์ความรู้ (๔) องค์ความรู้ทำให้เกิดความฉลาดเชี่ยวชาญ (๕) ความฉลาดเชี่ยวชาญคือทักษะ (๖) ทักษะคือพฤติกรรมที่สามารถฝึกฝนได้ ด้วยวิธีใดที่จะทำให้มีโอกาสที่จะเกิดปัญญาแตกฉานได้เกี่ยวกับ ภาษา [Philology: นิรุกติศาสตร์ภาษาศาสตร์การศึกษาเรื่องภาษา] อันที่จะแสดงถึงศักยภาพทางสมอง ที่เป็น ปัญญา เชาว์ปัญญา ไหวพริบ ปฏิภาณ อัจฉริยะ หรือ ความเป็นเลิศทางปัญญา จนถึงระดับปัญญาใน ความตรัสรู้ [สัมโพธะ] ฉะนั้น การศึกษาโครงสร้างและระบบภาษาในพระไตรปิฎก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สาธุชนชาวพุทธ ควรจะถือเป็นหน้าที่ในการศึกษาพระสัทธรรม กันอย่างทั่วหน้า ซึ่งประกอบด้วย สัทธรรม ๓ [ธรรมอันดีธรรมที่แท้ธรรมของสัตบุรุษหลักหรือแก่นศาสนา] ได้แก่ (๑) ปริยัตติสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ (๒) ปฏิปัตติสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือ ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา (๓) ปฏิเวธสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรคผลและนิพพาน
ลักษณะภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นการพรรณนาถึง หน่วยความคิด [Concepts] ด้วยกลุ่มคำไวพจน์ [Synonyms] กับ คำตรงข้าม [Antonyms] ที่จัดเป็นหมวดๆ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า Thesaurus: อรรถาภิธานอภิธานศัพท์ [ดู Rogers Thesaurus ควรใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้คู่กับพจนานุกรมอื่นๆ ทำให้ผู้ใช้เพิ่มพูนคำศัพท์ที่จะเลือกใช้Option ได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะคำหรือวลี] ในภาษาไทย มีแค่ Dictionary: พจนานุกรม Encyclopedia สารานุกรรม การให้คำนิยาม [Definitions] ตามรายการคำศัพท์ [Entry] ตามวิธีนำเสนอในพจนานุกรมนั้น จึงไม่เพียงพอกับการพัฒนาปัญญาอย่างแท้จริง เพราะทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกันและตรงกันข้ามกันได้ แม้แต่ในทางพุทธศาสนา ก็มีแนวคิดนำเสนอธรรมทั้งหลายเป็น ๒ ด้าน แต่เป็น ๒ ลักษณะ คือ ด้านบวก กับด้านลบ ได้แก่ (๑) กุศลธรรม กับ (๒) อกุศลธรรม และเป็น ๓ ด้าน แต่ยังแยกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ด้านบวก กับด้านลบ เช่นเดียวกัน ได้แก่ (๑) กุศลธรรมอกุศลธรรม [โลกียธรรม] กับ (๒) อัพยากตธรรม [โลกุตตรธรรม] ในการบรรลุอธิคมธรรมตามแนวคิดของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้ยึดมั่นในกุศลธรรมกับอกุศลธรรมแบบเด็ดขาด แต่ให้เลือกภาวะที่เป็นกลางมากที่สุดระหว่าง (๑) กุศลธรรม กับ (๒) อกุศลธรรม ที่เรียกว่า (๓) อัพยากตธรรม ที่เริ่มตั้งแต่ (๑) รูปาวจรกุศลจิตรูปฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน (๒) อรูปาวจรกุศลจิตอรูปฌาน ๔ ได้แก่ อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญายตนะ (๓) โลกุตตรจิต ได้แก่ อริยมรรค ๔อริยผล ๔นิพพาน ๒อาสาวักขยญาณ โดยอาศัยการเลือกการพัฒนาจิตพื้นฐานมาจาก กุศลจิต เท่านั้น แต่ให้เปรียบเทียบหรือเทียบเคียงข้อเสียหายหรือด้านเสื่อมกับ อกุศลจิต เพื่อให้คิดอย่างแยบคายหาอุบายวิธีในการแก้ปัญหาในฝ่าย ทุกข์ทุคติสังสารทุกข์ [พร้อมด้วยสังกิเลสทั้งหลาย] อันเกิดจาก อกุศลมูล ๓ ฉะนั้น ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในขั้นตอนนี้ จึงเป็น มุมมองในภาพลึกซึ้ง [Eagles Eyes Panoramic Views] หรือ ภาพองค์รวม [Holism] คือ การเห็นอันเยี่ยม ที่รู้เห็นได้ทุก มุมมองแห่งปรากฏการณ์ [Phenomenal Views] ในธรรมทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ แนวคิดในพระพุทธศาสนานั้น จึงไม่ใช่ สิ่งที่ล้าหลัง พ้นสมัย หมดยุคOutdated เก่าคร่ำครึObsolete หรือ หลุดโลกFantastic แต่เป็นเรื่องที่เหนือโลก [Beyond the World] คือ ความหลุดพ้นจากโลกียวิสัย
เพราะฉะนั้น ความจริงที่ปรากฏขึ้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องกลั่นกรองด้วยปัญญาของตน เพราะเป็นการรู้เห็นด้วยตนเอง การฝึกฝนการพัฒนาปัญญาให้เกิดความเชี่ยวชาญ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดตั้งแต่เริ่มต้นในการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ ซึ่งต้อง (๑) ถอนรหัสนัยความหมายแห่งนิมิตนั้นๆ (๒) ให้คำนิยามที่บัญญัติได้ (๓) จัดองค์รู้ที่เกี่ยวกับภาวะที่เหนือบัญญัติ (๔) พิสูจน์ความเป็นกฎธรรมชาติ เพื่อป้องกันความคิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยวิปลาสหรือวิปริตไป ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย และ (๕) หาข้อสรุปเชิงทฤษฎีตามคำสอนของพระศาสดา ฉะนั้น บทบาทหน้าที่ที่เหลือจากนั้น ก็คือ รวบรวมและจดจำรายละเอียดนิมิตในการเจริญภาวนกรรมฐาน โดยอย่าลืมว่า กระบวนการคิดนั้น กำหนดภาวะสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นจริงให้เป็นไปตามนิยามของ ธรรม ๓ ตามสภาวะตามเป็นจริงนั้น ก็สามารถสรุปเป็นภาพในจินตนาการได้ คือ มโนภาพ [นิมิต] ส่วนจะนิยามด้วย คำศัพท์บัญญัติ [Technical Term] ที่เป็นไปตามพระอภิธรรม [ปรมัตถสัจจะ] หรือ คำศัพท์สามัญทั่วไป ที่นิยามไว้ในพจนานุกรม [สมมติสัจจะ] ดังนี้
ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะนิยามธรรมในฝ่ายอกุศลว่า เป็น อวิชชา [ความไม่รู้] แล้วจะมีคำศัพท์อะไรบ้างที่จะใช้สื่อความหมายในคำดังกล่าวนี้ หรือ เมื่อพิจารณาได้รู้เห็นใน อาเนญชา [โวทาน = ความผ่องแผ้วบริสุทธิ์ เมื่อจิตเป็นประภัสสรแห่งจตุตถฌาน] นั้น จะมีคำศัพท์อะไรบ้างที่จะนิยามเป็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับคำๆ นี้ได้ให้มากที่สุด ซึ่งกระบวนการคิดเกี่ยวกับคำศัพท์ทั้ง ๒ คำ นี้ ก็ไม่แตกต่างจาก การนิยามคำศัพท์ใน อรรถาภิธานThesaurus ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกใช้เป็นอุบายวิธีที่แยบคายให้มนสิการในใจ หรือ ให้ท่องจำให้ได้ และขบได้ด้วยทฤษฎี หรือหลักธรรมในพระอภิธรรมปิฎก นั่นเอง ในการอธิบายพระธรรมวินัยก็เช่นเดียวกัน จะเป็นกลวิธีการพูดกล่าวซ้ำๆ ด้วยคำศัพท์ที่มี นวลภาษา [A Nuance of Words] ในระดับที่แตกต่างกันไปจากน้อยไปหามาก หรือคละกันไป อย่างเช่น ในคำว่า นิโรธ ๕ ความหลุดพ้นExtinction จะมีไวพจน์ ได้แก่ (๑) ปหาน ๕ การละกิเลสAbandonment (๒) วิมุตติ ๕ความหลุดพ้นDeliverance (๓) วิเวก ๕ ความสงัดความปลีกออกSeclusion (๔) วิราคะ ๕ ความคลายกำหนัดความสำรอกออกได้Dispassionateness (๖) โวสสัคคะ ๕ ความสละความปล่อยRelinquishing ซึ่งก็นัยอรรถอย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด ให้พิจารณาตัวอย่าง ๒ ลักษณะ ในคำว่า อวิชชา [Ignorance] กับในคำว่า อาเนญชา [Imperturbability] อันเป็นปฏิปักษ์กัน ดังนี้
ตัวอย่างที่ ๑ อวิชชา [Ignorance]
อวิชชามีลักษณะ ๒๕ ประการ [องค์แห่งอวิชชา] ได้แก่ (๑) อัญญาณ คือ ความไม่หยั่งรู้ด้วยญาณ [ญาณปรีชาหยั่งรู้] (๒) อทัสสนะ คือ ความไม่เห็นด้วยญาณทัสสนะ [ทัสสนะความเห็น] (๓) อนภิสมัย คือ ความไม่ตรัสรู้ [อภิสมัยความตรัสรู้] (๔) อนนุโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้ตาม [อนุโพธะความตรัสรู้ตาม] (๕) อสัมโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้พร้อม [สัมโพธะความตรัสรู้พร้อม] (๖) อัปปฏิเวธะ คือ การไม่แทงตลอด [ปฏิเวธะการแทงตลอด] (๗) อสังคาหณา คือ ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง [สังคาหณาความถือเอาถูกต้อง] (๘) อปริโยคาหณา คือ ความไม่หยั่งโดยรอบคอบ [ปริโยคาหณาความหยั่งโดยรอบคอบ] (๙) อสมเปกขนา คือ ความไม่พินิจ [สมเปกขนาความพินิจ] (๑๐) อปัจจเวกขณา คือ ความไม่พิจารณา [ปัจจเวกขณาความพิจารณาทบทวน] (๑๑) อัปปัจจักขกรรม คือ ความไม่รู้ในกรรมของตน [กัมมผลสัทธากฎแห่งกรรม] (๑๒) ทุมมิชฌะ คือ ความทรามปัญญา [สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ อธิปัญญาปัญญาอันยิ่ง] (๑๓) พาลยะ คือ ความโง่เขลา [วิสารทะฉลาดชำนาญ ปฏิภาณความคิดทันการ] (๑๔) อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ทั่วพร้อม [สัมปชัญญะความรู้ทั่วพร้อม] (๑๕) โมหะ คือ ความหลง [ปัญญา ความรอบรู้ความรู้ชัด] (๑๖) ปโมหะ คือ ความลุ่มหลง [อวิกเขปะความไม่ฟุ้งซ่าน เอกัคคตาจิตตสมาธิ] (๑๗) สัมโมหะ คือ ความหลงใหล [อสัมโมหสัมปชัญญะรู้ชัดว่าไม่หลง] (๑๘) อวิชชา คือ รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ [วิชชาความรู้แจ้ง อภิญญาความรู้ยิ่งยวด] (๑๙) อวิชโชฆะ คือ โอฆะคืออวิชชาให้จมลงในวัฏฏะ [วิวฏะความพ้นจากวัฏฏะ = วิวัฏฏะ] (๒๐) อวิชชาโยคะ คือ โยคะคืออวิชชาให้ประกอบไว้ในวัฏฏะ [วิราคะความไม่ติดพันเป็นอิสระ] (๒๑) อวิชชานุสัย คือ อนุสัยคืออวิชชาด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ [นิโรธความดับกิเลสและทุกข์] (๒๒) อวิชชาปริยุฏฐาน คือ การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา [อุปสมะความสงบ สมถะการสงบระงับจิต] (๒๓) อวิชชาลังคี คือ กลอนเหล็กหรือลิ่มคืออวิชชา [วิสังโยคความหมดเครื่องผูกรัด] (๒๔) โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย [อพยาบาทความไม่ขัดเคืองมีเมตตา] (๒๕) โลภะ คือ ความอยากได้ [อปจยะความไม่พอกพูนกิเลส]
ตัวอย่างที่ ๒ อาเนญชา [Imperturbability]
รูปาวจรจตุตถฌาน (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 318319 FILE 44) ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะประกอบด้วย โวทานธรรม ทั้ง ๑๖ ประการ (การชำระล้างให้บริสุทธิ์การทำให้สะอาดไม่มัวหมอง หรือ โวทานํ ได้แก่ ความผ่องแผ้ว ธรรมฝ่ายวิเศษ) สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า: (๑) จิตที่ไม่ฟุบลง ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน โกสัชชะ [ความเกียจคร้าน] (๒) จิตที่ไม่ฟูขึ้น ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน อุทธัจจะ [ความฟุ้งซ่าน] (๓) จิตไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน ราคะ [ความกำหนัด] (๔) จิตไม่ผลักออก ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน พยาบาท [ความขัดเคืองแค้นใจ] (๕) จิตที่ไม่เกี่ยวเกาะ ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน ทิฏฐิ [ความเห็นผิด] (๖) จิตที่ไม่ผูกพัน ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน ฉันทราคะ [ความพอใจติดใคร่] (๗) จิตที่หลุดพ้น ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน กามราคะ [ความติดใจในกามคุณ] (๘) จิตที่ไม่พัวพัน ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน กิเลส [ความเศร้าหมอง] (๙) จิตที่ไม่มีเขตแดน เป็นต้น ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน เขตแดน [กิเลส] (๑๐) จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน กิเลสต่างๆ (๑๑) จิตที่ศรัทธากำกับแล้ว ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน อสัทธิยะ [ความไม่มีศรัทธา] (๑๒) จิตที่วิริยะกำกับแล้ว ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน โกสัชชะ [ความเกียจคร้าน] (๑๓) จิตที่สติกำกับแล้ว ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน ปมาทะ [ความประมาท] (๑๔) จิตที่สมาธิกำกับแล้ว ชื่อ อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน อุทธัจจะ [ความฟุ้งซ่าน] (๑๕) จิตที่ปัญญากำกับแล้ว ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน อวิชชา [ความไม่รู้จริง] (๑๖) จิตที่ถึงความสว่างแล้ว ชื่อว่า อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน ความมืดแห่งอวิชชา
ประการสุดท้ายนี้ ระบบสมองของมนุษย์ถูกออกแบบโดย รหัสพันธุกรรม [Genetic Codes] เฉพาะของแต่ละบุคคล ที่หมายถึง DNA: Biochemistry Deoxyribonucleic Acid, a substance present in nearly all living organisms as the carrier of genetic information, and consisting of a very long double-stranded helical chain of sugars joined by phosphate bonds and cross-linked by pairs of organic bases. [สารบรรจุข้อมูลพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และประกอบด้วยโครงสร้างรูปทรงขั้นบันไดเป็นเกรียวคู่ยาวของน้ำตาล ที่เชื่อมด้วยคู่ติดกันระหว่างสารประกอบกรดฟอสเฟตกับสารประกอบพื้นฐานอินทรีย์] มนุษย์แต่ละคนจึงมีศักยภาพทางสมองแตกต่างกันตามโครงสร้างสารพันธุกรรม DNA: Deoxyribonucleic Acid จากเสียสติ มีสติสัมปชัญญะ สามัญสำนึก สัญชาตญาณ มโนธรรม ปัญญาแตกฉาน อัจฉริยะ จนถึง ความเป็นเลิศทางปัญญา ในทางธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเข้าให้ถึงขั้น ปัญญาแตกฉานปฏิสัมภิทาAnalytic Insight เพราะบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน เพื่อการหลุดพ้นจากโลกียธรรมหรือกระแสโลกธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ ปัญญาแตกฉานแบบทางโลกDiscrimination เพราะความเชื่อในทฤษฎี ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ การใช้เหตุผลเชิงตรรก การอนุมาน การอุปมาน หรือ วิธีวิทยาศาสตร์ในศาสตร์สาขาต่างๆ [ระเบียบวิธีวิจัยResearch Methodology] ที่นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิชาการ ไม่ได้พัฒนาในภูมิแห่งวิปัสสนา ที่เรียกว่า อัสสุตวาปุถุชน หมายถึง ผู้ไร้การศึกษาพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดของศาสตร์ทางโลก [ดิรัจฉานวิชาวิชาทำมาหากิน พอกพูนกิเลสตัณหา ไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ] ไม่ได้เน้นถึงความหลุดพ้นจากกระแสโลกธรรม ยังมีชีวิตเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ [สังสารทุกข์] แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น องค์ความรู้ทางโลกโลกียธรรม หรือว่า องค์ความรู้ทางธรรมโลกุตตรธรรม นั้น ทุกคนก็สามารถเลือกโอกาสสร้างสมปัญญาบารมีขึ้นได้ เพราะองค์ความรู้ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทักษะประสบการณ์ อันเป็น กรรม ๓: กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ซึ่งสามารถฝึกฝนอบรมให้เกิดเป็นกุศลวิบากกันตนได้จริง และมีจำนวนปริมาณ ภาษาคำศัพท์ ทำหน้าที่บอก ขอบเขตพรหมแดนแห่งปัญญาหรือความรู้ จึงจะเรียกว่า ปัญญาแตกฉานทั้งทางโลกและทางธรรม ไม่ใช่ รู้มาก แต่เป็นใบ้ การประมวลผลในปัญญาที่เกิดขึ้นในสมองจะออกมาในรูปแบบใด เพราะมีความจริงเป็นธรรมชาติ [สรรพสิ่ง] แต่ไม่มีสื่อที่จะแสดงผลแห่งการประมวลผลในสิ่งเหล่านั้น [อันบ่งบอกถึงปัญญาแตกฉานแห่งจตุปฏิสัมภิทาญาณ] แต่ถ้าจะตอบว่า เป็นภาวะเหนือบัญญัติ [อสงไขย] ได้ ที่เรียกว่า อปริยาปันนภูมิโลกุตตรภูมิ คือ ขั้นที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ ระดับที่ไม่ถูกจำกัด ระดับจิตใจของพระอริยเจ้าอันพ้นแล้วจากโลกียภูมิ ๓ ข้างต้น [ได้แก่ กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ] สำหรับผู้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดเท่านั้น ที่เรียกว่า อมตธาตุแห่งพระนิพพาน เพราะฉะนั้น การนิยามสภาวะที่รู้เห็นตามเป็นจริงนั้น ยังมีความสำคัญสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็น พระอรหันตขีณาสพอนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ [อันได้แก่ บรรดาเหล่า อัสสุตวาปุถุชนสาธุชนผู้ปฏิบัติธรรมโยคาวจรโสดาบันสกทาคามีอนาคามีสอุปาทิเสสบุคคลพระเสขะ] แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกฉานในปัญญานั้น ควรเป็นไปอย่างสมมาตรSymmetric มีระบบSystematic เป็นศูนย์เอกภาพเดียวกันConcentric ที่เรียกว่า สหวุตติ ระหว่างปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา [ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท] ธัมมปฏิสัมภิทา [อนุโลมปฏิจจสมุปบาท] นิรุตติปฏิสัมภิทา [วจสา ปริจิตา คือ คล่องปาก นิยามศัพท์ได้จริง] ปฏิภาณปฏิสัมภิทา [มีความคิดริเริ่ม ๑ ความคิดสร้างสรรค์ ๑ ความคิดประยุกต์ดังแปลง ๑] แล้วผู้อ่าน ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะเอาอย่างไงต่อ ก็อย่าดำริเลิกมนสิการกรรมฐานก็แล้วกัน เพราะเป็นการแสวงหาที่ประเสริฐกว่าการได้ทรัพย์เพื่อพอกพูนกิเลส ให้มักน้อย สงบ วิเวก ดีกว่า สบายดีทุกท่าน! ...สวัสดี.
|