๑๑๐. ญาณทัสสนะปฏิสังยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ The Knowledge and Vision Endowed with Right Views
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
การประพฤติปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่อจิตบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ คือ จิตตวิสุทธิ โดยผู้ปฏิบัติธรรมต้องศึกษาเรียนรู้ให้ถึงแก่นข้อประพฤติปฏิบัตินี้อย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่ไปจับได้แต่ส่วนกระพี้เปลือกไม้ แล้วหลงใหลขาดสติไปกันใหญ่ เพราะจิตที่ไม่สะอาดบริสุทธิ์เข้าไปปรุงแต่งคิดไปเอง ใครบอกใครเตือนก็ไม่ฟังอีก กว่าจะถึงบางอ้อก็เลยไปถึงบางพลัด คือ พลัดออกนอกเส้นทางอริยมรรค เมื่อลุถึงได้ (๑) ปัญญาเห็นธรรม [ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ คือ ความรู้ความเห็นใน ธรรมจักร = อภิญญา คือ ความรู้คมชัด] แล้วถึงจะเกิด (๒) ปัญญาตรัสรู้สัมโพธะ คือ ความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ต่อจากนั้น จึงเป็นขั้นตอนใน (๓) นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ในนัยสำคัญแห่ง คำว่า จิตตวิสุทธิ นั้น ตรงกับ คำว่า จิตตภาวนา หมายถึง การเจริญจิต การพัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเป็นสมาธิและอุเบกขา [จตุตถฌาน] เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย [สัมมาทิฏฐิ] เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น โดยมุ่งหมายเอา จตุตถฌาน: อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร คือ หมดจดสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบานไม่มีมลทินปราศจากนิวรณ์ปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว และทำให้เกิด ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ ไม่ใช่เกิดโภคทรัพย์ร่ำรวยขึ้น [พอกพูนกิเลส] อันเป็นจิตที่ปฏิสังยุตด้วยปัญญาทั้งหลาย คือ จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง ที่จะต่อเนื่องในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไป ที่เรียกว่า ปัญญาญาณ ทั้งหลายที่ถึงพร้อมด้วย ทิฏฐิสัมปทาทิฏฐิวิสุทธิ [อริยมรรคมีองค์ ๘] ในปัญญาญาณที่เกิดขึ้นภายในตนนั้น ย่อมกลายเป็นธรรมเครื่องสำคัญที่เกื้อกูลให้ออกจากสังขารทั้งหลายแห่งวัฏฏะ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไปสู่ โลกุตตรธรรม ๙ คือ ภาวะจิตที่เหนือวิสัยโลกที่มนุษย์เป็นอยู่ ได้แก่ อริยมรรค ๔อริยผล ๔นิพพาน ๑ ฉะนั้น ศีลบริสุทธิ์เป็นอธิศีล [วินัยปิฎกทั้งปวง] จิตบริสุทธิ์เป็นอธิจิตต์ [สุตตันตปิฎกทั้งปวง] และ ปัญญาบริสุทธิ์เป็นอธิปัญญา [อภิธรรมปิฎกทั้งปวง] จึงทำให้เกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึง ปัญญาที่รู้เห็นสภาวธรรมทั้งหลายตามเป็นจริงไม่วิปริตไปจาก กฎธรรมชาติ หรือ ความคิดคลาดเคลื่อนจากความจริงในจิตของตน [ตัณหาทิฏฐิมานะ] ซึ่งจะกลายเป็นธรรมเครื่องสำคัญที่ก่อให้เกิดเจริญงอกงามใน ปัญญาญาณ ทั้งหลาย อันไพบูลย์ยิ่งต่อไป จนถึงความตรัสรู้ได้ซึ่ง สัมโพธิญาณ และสามารถเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน อย่างแท้จริง และในขั้นตอนการประพฤติปฏิบัติธรรมทั้งหมดนี้ คือ เส้นทางอันนำไปสู่ปฏิปทาอันยิ่งยวด อันประเสริฐด้วยปัญญาแท้จริง ที่อยู่สถิตใน กระแสแห่งอริยมรรค นั่นเอง.
บทความที่ ๑๑๐ ประจำปี ๒๕๕๘ ญาณทัสสนะปฏิสังยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ
สาระสำคัญในข้อธรรมที่จะนำไปสู่ภาวะอันถูกต้องถึงความเป็นไปตามธรรมชาติ ที่แท้จริงในชีวิต คือ ทิฏฐิสัมปทา (ข้อ ๕ ในบุพนิมิตแห่งมรรค ๗: แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดี ด้วยถือปฏิบัติด้วยข้ออันประเสริฐสมบูรณ์ตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ จักดำเนินก้าวไปในมัชฌิมาปฏิปทา) หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ การทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ด้วยการศึกษาค้นคว้า วิจัยธรรม จากพระไตรปิฎก วิจัยทางคติโลก ฟังหรือสนทนากับผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการ ปราชญ์มุนีทางพระพุทธศาสนา ผู้เป็นกัลยาณมิตรทรงศีลหรือทรงคุณธรรม ที่กล่าวได้ว่า ผู้ถือเป็นสัตบุรุษแท้ คนดีแท้ในสังคม เรียกว่า (๑) ความรู้อันเกิดจาก ปรโตโฆสะ [Hearing or Learning from Others] คือ เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียน หาความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร อันเป็นปัจจัยในส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ก่อน เรียกว่า สุตมยปัญญา และความเชื่อและความคิดที่ถูกต้อง ด้วยการสืบสาวตามแนวเหตุปัจจัย [หลักปฏิจจสมุปบาท] ด้วยหลักตรรกวิทยา [Logics] คือ วิธีการอนุมาณวิธีการอุปมาน [Deduction and Induction] หรือด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ [Scientific Methods] คือ ระเบียบวิธีวิจัย [Research Methodology] เรียกว่า (๒) ความรู้อันเกิดจาก โยนิโสมนสิการ [Proper Consideration] คือ การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น นั่นคือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นสืบเนื่องภายในตนตั้งแต่เกิด อันเป็นปัจจัยในอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้น ปัญญาใน ๒ ส่วนแรกนี้ ย่อมเป็นทุนทางปัญญาที่สำคัญ ที่จะทำให้เกิดปัญญาที่งอกงามในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา หมายถึง ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญภาวนากรรมฐาน ไม่ใช่ปัญญาสามัญอย่าง ๒ ปัญญาแรกที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตาม สุตมยปัญญา ที่เกิดจากการฟังและการสืบค้นพิจารณาไตร่ตรองจนเกิดปัญญารู้รอบเพราะสามารถกำหนดรู้เห็นในภาวนากรรมฐานได้ [ยถาภูตญาณทัสสนะ] นั้น ย่อมเรียกว่า สุตมยญาณ [ความคิดเห็นที่สหรคตด้วย จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง ที่เรียกอีกอย่างว่า ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ หรือ ปัญญาเห็นธรรมอันเยี่ยม = ธรรมจักรอาณาจักรแห่งธรรมทั้งปวง] ฉะนั้น พื้นฐานความรู้ ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา ของแต่ละบุคคลนั้น มีความแตกต่างกันตามความสามารถในการสร้างสมใน ปัญญาบารมี ที่จะเป็นบ่อเกิดความรู้แจ้งใน ปัญญาเห็นในอริยสัจจ์ ๔ ปัญญาหยั่งรู้ในกาลทั้ง ๓ หรือ ปัญญาเห็นในหลักอิทัปปัจจยตา อันเป็นปัญญาสำคัญที่ปิดระงับความไม่รู้จริงแห่ง อวิชชา [อสัมปชัญญะความไม่รู้ไม่เห็น] ทั้งหลายที่จะเข้ามาปิดบังปัญญาให้อ่อนกำลัง จนเกิดความหลงไม่มีสติ สัมโมหะ หรือ มุฏฐสัจจะ คือ ไม่มีสติ ระลึกตามไปไม่ได้ ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้ นึกไม่ออก จำไม่ได้ ฟั่นเฟือน หลงลืม อนึ่ง ภาวะจิตดังกล่าวนี้ บัณฑิตหรือพระอริยเจ้าท่านไม่สรรเสริญให้ถือเป็นประเพณีทั้งสิ้น
ฉะนั้น คำว่า อวิชชาIgnorance นั้น เป็นคำที่เป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งกับ คำว่า ปัญญาWisdom [จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง] และ เป็นกิเลสเครื่องที่เกี่ยวข้องให้จิตผูกติดเพลิดเพลินอยู่กับคติโลกหรือกระแสโลก อันคัดแย้งกับแนวทางสามกลางแห่งปัญญา คือ มัชฌิมาปฏิทา [The Middle Path] ที่จะนำผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยการเจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ อันเป็นภพภูมิที่จิตวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดด้วยสังสารทุกข์ [มีทั้งสุขและทุกข์หมุนเวียนสลับกันไป] ที่เรียกว่า วิวัฏฏะ [นิพพาน] หมายถึง ภาวะอันปราศจากการเกิดและการดับในภวจักร ปราศจากอกุศลมูลทั้ง ๓ ได้แก่ ราคะโทสะโมหะ ปราศจากนัยว่า ตัวกูของกู [IMyself and Mine] ที่จะครอบครองโลกพิภพนี้ คำว่า ปราศจาก จึงมีนัยเกี่ยวถึงกับ คำว่า อนัตตตาสุญญตา [ImpersonalVoid Deliverance] ซึ่งไม่ได้แปลว่า ขาดสูญ ตามแนวคิดแบบ อุจเฉททิฏฐิAnnihilationism (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๒) หมายถึง ความเห็นว่าขาดสูญ ความเห็นว่ามีอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป หรือ ภาวะที่ถูกทำลายล้าง อย่างเช่น อิติภวาภวกถา คือ เรื่องที่ถกเถียงกันวุ่นวายไปว่า เป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างนี้ หรือว่า เป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างนั้น สุดโต่งกันไป เช่น ว่าเที่ยงแท้ว่าขาดสูญ ๑ ว่าได้ว่าเสีย ๑ ว่าให้ปรนเปรอตามใจอยากว่าให้กดบีบเครียดเคร่ง อันเข้ากับทำนองแนวคิดเอกนิยม [Extreme Monism] ที่สุด ๒ อย่างอันตา ๒ [The Two Extremes] หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ผิดพลาดไม่อาจนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ๒ อย่าง อันเป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ (๑) การประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกามทั้งหลาย การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค [Extreme Hedonism] (๒) การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า หรือการทรมานตนให้ลำบากเปล่า การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อนด้วยการบำเพ็ญเพียรตบะ อย่างเช่น นักบวชนอกพุทธศาสนา เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค [Extreme Asceticism] อันเป็นความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงตามธรรมดา ผิดกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า กฎธรรมชาติ [Natural Law] แต่อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิเสธแนวคิดแบบสุดโต่งในเอกนิยม [Monism] ๑ แนวคิดแบบสุดโต่งในทวินิยม [Dualism] ๑ แนวคิดแบบพหุนิยมแบบผสมผสาน [Polygenism or Eclecticism] ๑ แต่พระองค์ทรงให้เลือกแบบหลายมุมมองรวมกันเป็นแบบ แนวคิดองค์รวม [Holism] ไม่ใช่การแยกออกเป็นส่วนๆ ขาดสูญออกจากกัน เป็นการปฏิเสธมิติความสัมพันธ์แบบเหตุปัจจัย [Conditioned Genesis] ตามหลัก อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท [ปัจจยาการตถตา: ได้แก่ อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรามรณะ และอกุศลวิบาก ได้แก่ ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส) ก็มีพร้อม] โดยถือหลักการเชิงทฤษฎีว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา เมื่อพิจารณาถึงภาวะที่ธรรมทั้งทั้งหลายมาประชุมรวมกัน [สหวุตติ] นั่นคือ (๑) ความเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายร่วมกัน [เอกุปปาทะ] (๒) ความดับไปแห่งธรรมทั้งหลายร่วมกัน [เอกนิโรธะ] ส่วนภาวะที่เป็นแหล่งรวมของธรรมทั้งหลายนั้นเป็นเอกภาพร่วมกัน เรียกว่า เอกนิสสยะ ให้พิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่นอกเหนือจากองค์ธรรม ๑๒ อย่างในปฏิจจสมุปบาท คือ ปัจจัย ๒๔ ดังนี้
ปัจจัย ๒๔ [ตถตา] หมายถึง ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุหรือเป็นเงื่อนไข ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง (๑) เหตุปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเหตุ (๒) อารัมมณปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ (๓) อธิปติปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าใหญ่ (๔) อนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง (๕) สมนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที (๖) สหชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดร่วมกัน (๗) อัญญมัญญปัจจัย คือ ปัจจัยโดยอาศัยซึ่งกันและกัน (๘) นิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย (๙) อุปนิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า (๑๐) ปุเรชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดก่อน (๑๑) ปัจฉาชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดทีหลัง (๑๒) อาเสวนปัจจัย คือ ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน (๑๓) กรรมปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง (๑๔) วิปากปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นวิบาก (๑๕) อาหารปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง (๑๖) อินทรียปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าการ (๑๗) ฌานปัจจัย คือ ปัจจัยโดยภาวะจิตที่เป็นฌาน (๑๘) มรรคปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นมรรค (๑๙) สัมปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยประกอบกัน (๒๐) วิปปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน (๒๑) อัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องมีอยู่ (๒๒) นัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่มีอยู่ (๒๓) วิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องปราศไป (๒๔) อวิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่ปราศไป
ตามหลักการ [Principle] หรือทฤษฎี [Theory] ดังกล่าวนี้ ทำให้เกิด (๑) ปัญญาในสมถะ [สมถพละ = ยถาภูตญาณทัสสนะ] กับ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา [วิปัสสนพละ = ญาณในวิปัสสนา โดยเฉพาะ ยถาภูตญาณธัมมัฏฐิติญาณ] โดยให้พิจารณาถึง ธรรม ๖ ประการ ในรายละเอียดต่อไปนี้
(๑) สติสัมปชัญญะ (๑.๑) สติ หมายถึง สติ: ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ: กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ คำว่า สติพลํ ก็คือ สตินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความไม่มีสติ คำว่า สมาธิพลํ ก็คือ สมาธินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความฟุ้งซ่าน คำว่า สมถะ คือ สมาธิ และ คำว่า วิปัสสนา คือ ปัญญา (๑.๒) สัมปชัญญะ หมายถึง ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ฉะนั้น สัมปชัญญะ คือ ญาณ [ความรู้]
(๒) ปฏิสังขานพละภาวนาพละ (๒.๑) ปฏิสังขานพละ [กำลังคือการพิจารณา] หมายถึง ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือการพิจารณา (๒.๒) ภาวนาพละ [กำลังคือภาวนา] หมายถึง การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือภาวนา โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ ได้แก่ (๑) สติ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง (๒) ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม (๓) วิริยะ ความเพียร (๔) ปีติ ความอิ่มใจ (๕) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (๖) สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ (๗) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง จัดเป็น กำลังคือภาวนา
(๓) สมถะวิปัสสนา (๓.๑) สมถะ หมายถึง ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ ฉะนั้น คำว่า สมถะ คือ สมาธิ และ คำว่า วิปัสสนา คือ ปัญญา ฉะนั้น สมถะ นั่นเอง ชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยอำนาจนิมิตแห่งสมถะ ที่ถือเอาอาการนั้นแล้ว พึงให้เป็นไปอีก แม้ใน ปัคคาหนิมิต [นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร] ก็นัยนี้เช่นกัน (๓.๒) วิปัสสนา หมายถึง ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา
(๔) สมถนิมิตปัคคาหนิมิต (๔.๑) สมถนิมิต หมายถึง ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถนิมิต (๔.๒) ปัคคาหนิมิต หมายถึง การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประดับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหนิมิต
(๕) ปัคคาหะอวิกเขปะ (๕.๑) ปัคคาหะ หมายถึง การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประดับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหะ (๕.๒) อวิกเขปะ หมายถึง ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละสัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า อวิกเขปะ
(๖) สีลสัมปทาทิฏฐิสัมปทา (๖.๑) สีลสัมปทา หมายถึง ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลสัมปทา ฉะนั้น คำว่า สีลสมฺปทา ความว่า โสรัจจะ [โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยม อัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดเรียบร้อยงดงาม มักคู่กับ ขันติ คือ ความอดทน อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมายอันชอบ เรียกว่า ธรรมทำให้งาม ๒] นั่นเอง ที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างนี้ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทา คือ อะไร คือ ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ดังนี้ เรียกชื่อว่า ศีลสัมปทา เพราะยังศีลให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ แต่คำที่ล่าวในที่นี้ว่า ศีลสังวร ทั้งหมด ชื่อว่า ศีลสัมปทา นี้ กล่าวไว้ เพื่อจะรวมเอาความไม่ล่วงละเมิดทางใจเข้ามาด้วยให้ครบถ้วน และ คำว่า ทิฏฺฐิสมฺปทา หมายถึง ญาณอันเป็นเครื่องทำทิฐิให้บริบูรณ์ ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฐิสัมปทา คืออะไร คือความรู้ความเข้าใจเช่นนี้ว่า ให้ทานมีผล บูชามีผล เป็นต้น ซึ่งท่านผู้รู้ทั้งหลายทำความข้อนี้ให้แจ้งแล้ว จึงประกาศไว้ (๖.๒) ทิฏฐิสัมปทา หมายถึง ความเห็นว่า (๑) ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล (๒) การบูชาย่อมมีผล (๒) การบวงสรวงย่อมมีผล (๓) ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ (๔) โลกนี้มีอยู่ (๕) โลกอื่นมีอยู่ (๖) มารดามีอยู่ (๗) บิดามีอยู่ (๘) สัตว์ที่จุติและอุบัติมีอยู่ (๙) สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีอยู่ในโลก (๑๐) สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา
ฉะนั้น เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิสงบสงัดจากนิวรณ์ทั้งหลายดีแล้ว [ฌาน ๔: ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน = จิตตสมาธิอันประกอบด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ย่อมเป็น อธิจิตต์ โดยปฏิสังยุตด้วย ธรรมสมาธิ ๕ ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ ไม่ว่าจะอยู่ในวิปัสสนาภูมิหรือไม่ก็ตาม นั่นคือ ไม่ขาดสติหวั่นไหวไปตามโลกธรรม คือ อวิกเขปะ ไม่ระแวงสงสัยในธรรมที่ตนปฏิบัติอยู่ตามคำสอนของพระศาสดา เพราะจิตทรงสมาธิอยู่ตลอดเวลา ด้วย ความไม่ประมาทอัปปมาทะ ซึ่งทำให้จิตไม่วอกแวงเจริญพอกพูนด้วยสัจจธรรมโดย โยนิโสมนสิการ ตลอดเวลา] นั่นคือ จิตนั้น [สติสัมปชัญญะ] ย่อมเป็นอิสระจากกิเลสอกุศลทั้งหลายในขณะนั้น ทำให้รู้เห็น [ญาณทัสสนะ] ภาวะอันเป็นไปใน สังขารสังขารธรรม [สังขตะสังขตธรรม = นามรูปแห่งเบญจขันธ์อันดำรงอยู่ เป็นสภาวะปรุงแต่ง ด้วยเจตนาของตนที่ถูกกิเลสตัณหาอวิชชาครอบงำอยู่ เรียกว่า อาการแพ้ใจตัวเอง สมถะและวิปัสสนาเป็นยากแก้แพ้ได้เป็นอย่างดี เพราะทำให้เกิด สติความไม่ประมาท พร้อมด้วย สัมปชัญญะปัญญารู้รอบ] ซึ่งประกอบด้วยธรรมมีอาการ ๓ อย่าง [ธรรมนิยาม ๓ = ปัญญารู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์] ดังนี้
ธรรมนิยาม ๓ หมายถึง กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา กฎธรรมชาติ ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ตามธรรมดาของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายได้รู้ตาม ได้แก่ (๑) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา คือ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง (๒) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา คือ สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้ (๓) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือ ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน
สำหรับ กระบวนทัศน์ [Paradigm] ที่เกิดขึ้นในจิตที่ประกอบด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นภาวะจิตที่ถูกต้องสหรคตด้วย สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ [ความเห็นชอบความคิดชอบ] เพราะจิตได้รับการพัฒนาด้วยการเจริญภาวนากรรมฐาน [มนสิการกรรมฐาน ที่เจริญอยู่เนืองๆ เช่น อนุปัสสนา ๓ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา] อำนาจแห่งปัญญาที่เกิดขึ้นด้วยจิตเป็นสมาธิอันบริสุทธิ์นี้ มีอิทธิพลที่เหนือปัญญาสามัญที่เกิดจากการเรียนรู้แบบทางคติโลกอย่างสิ้นเชิง ขอเพียงอย่างเดียว ให้ประพฤติปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ไปตกหลุมพรางใน อบายภูมิ ทั้ง ๔ ก็พอ หมายถึง ภาวะจิตหรือคุณภาพชีวิต อันปราศจากความเจริญ ดังนี้ (๑) นิรยะ คือ แดนนรกHell ผู้เร่าร้อนกระวนกระวาย ไม่มีความสุขความเจริญ (๒) ติรัจฉานโยนิ คือ แดนกำเนิดดิรัจฉานBeasts ผู้มืดมัวโง่เขลา (๓) ปิตติวิสัย คือ แดนเปรตHungry Ghosts ผู้หิวกระหายไร้สุข (๔) อสุรกาย คือ แดนอสูรDemons ผู้หวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง
ฉะนั้น ผู้หวั่นไหว ไม่สงบกายและใจ [เจตสิก = เวทนาสัญญาสังขาร และ จิตใจ = วิญญาณ ส่วน ร่างกาย = รูป] ดำรงชีวิตด้วยความประมาท ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ของตนให้ดี ระดับจิตย่อมตกอยู่ยถากรรมแห่งอบายภูมิดังกล่าวข้างต้น แต่ถ้าจิตมีคุณภาพด้วยจิตตสมาธิดีแล้ว ย่อมเกิดปัญญารู้เท่าทันการ ไม่ให้จิตสัดส่ายไปตามอารมณ์ความรู้สึกที่ตนปรุงแต่งขึ้นเอง อย่างขาดสติหรือหลงใหลงงงาย หรือจิตไม่ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ คือ ไม่มีสมาธิที่จะกลายเป็น วิจารณญาณ [Intuitive Knowledge] คือ การใช้เหตุผลประกอบการนึกคิด หรือ สามัญสำนึก [Conscience] คือ สติรู้ผิดรู้ชอบ [Common Senses] หิริโอตตัปปะ ความกลัวบาป จิตที่ปราศจากสติสัมปชัญญะ ก็หมายถึง จิตชำรุด [ทิฏฐิวิบัติมิจฉาทิฏฐิ] เป็นอาการต้องการเวลาในการยกระดับจิตใหม่ให้สูงขึ้นกว่าปุถุชนธรรมดาแล้ว ให้หันหน้ามาปฏิบัติธรรมดีกว่า กินเหล้าแล้วคุยกับพวกโง่กลางค่ำกลางคืน ย่อมไม่ได้ดีอะไร ถ้าได้ดีก็เพราะแบ่งผลประโยชน์ลงตัว ยิ่งเป็นการพอกพูนกิเลสยิ่งขึ้น ชั่วสองมาตรฐาน คือ (๑) ชั่วต่อตนเอง ทำให้ป่วยยิ่งขึ้น ค้นหาคำสรรเสริญจากนรก ไม่ใช่สัตบุรุษ กับ (๒) ชั่วต่อสังคม ไปตายให้รกถนน ไปชนต้นไม้ข้างทางหรือเสาไฟฟ้า ถึงแม้จะทำให้มูลนิธิเก็บศพมีงานทำก็ตาม สิ่งไม่ได้เรียกว่า ขั้นทานปรมัตถบารมี เพราะให้ชีวิตเป็นทานตามท้องถนน ก็ให้รู้สึกอายน้องหมาๆ มากๆ ก็แล้วกัน ไม่ใช่หน่อยๆ เพราะฉะนั้น จิตวิญญาณ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม จะให้หันไปทางไหน มันก็ขึ้นอยู่กับจิตที่ได้รับการฝึกฝน ให้คุ้นกับความดี จิตก็ดี พฤติกรรมก็ดี ถ้าชินอยู่กับความชั่ว จิตก็ชั่วมีศีลชั่ว ก็มีพฤติกรรมชั่วๆ หลักการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น ต้องการให้ผู้ปฏิบัติตามหนีและหลุดพ้นจากความชั่วทั้งหลาย ทั้งที่เคยทำมาแล้ว และที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นก็ตาม หรือแม้แต่ดำริคิดชอบด้วยปรารถนาจะไปชั่วในนรก ก็ไม่ใช่ข้อบัญญัติในพระธรรมวินัยนี้เลย ดังนั้น ผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ครบรอบในภูมิแห่งวิปัสสนาดีแล้ว เมื่อจะมาคิดดำริทำอะไรบนโลกนี้ต่อไป ย่อมประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ เพื่อพื้นจิตที่สะอาดบริสุทธิ์เช่นกัน คือ มีปัญญาที่พร้อมด้วยองค์ความรู้ ได้แก่ (๑) รู้จริงในสัจจธรรมที่ประเสริฐ คือ อริยสัจจ์ ๔ (๒) รู้รอบในกาลทั้ง ๓ ด้วยการใช้เหตุและผล คือ ญาณ ๓อัทธา ๓ และ (๓) เข้าใจดีในมิติความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ปัญญาทั้งหลายดังกล่าวนี้ ย่อมมีอำนาจทำลายความไม่รู้จริง ได้แก่ อวิชชา ๔ และ อวิชชา ๘ ได้เป็นอย่างดี
เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ทั้งหลาย และกลายเป็น จิตประภัสสร [จตุตถฌาน = อุเบกขาเอกัคคตา] ได้จริง ย่อมสามารถให้เกิด ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ [การทุบขันธ์ ๕ ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินีปฏิปทา หรือ วิปัสสนาญาณ ๙วิปัสสนาญาณ ๑๐ อันเป็นปัญญารู้เห็นในความจริงของนามรูปโดยไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจตาImpermanent ทุกขตาMiserable อนัตตตาImpersonal อันเป็นจุดเริ่มต้นปัญญาในวิปัสสนากัมมัฏฐาน] กับ ญาณทัสสนวิสุทธิ [อริยมรรค ๔] ได้เช่นกัน ในขั้นนี้ เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิความหมดจดแห่งทิฏฐิอันเป็นสัมมาทิฏฐิ และการแสวงหาโอกาสคิดชั่วทำชั่วย่อมเกิดขึ้นได้ยากในบุคคลเช่นนี้ เพราะมีอนุสติในความตายที่ย่อมเกิดขึ้นกับตน ที่ตนเลือกเวลาตายเองได้ยาก ไม่ใช่กระทำอัตวินิบาตกรรมฆ่าตนเอง [Suicide or SelfImmolation] จิตที่ทำลายตนเองได้ คือ จิตในอบายภูมิที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะอยู่ภูมิเช่นนั้นมานาน ไม่มีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา เพราะคิดว่าชีวิตไม่มีทางออก เจอพระก็อาจเจอของปลอม เจอคนก็เป็นพวกซวยๆ มาเจอกัน ไม่มีอะไรช่วยให้ชีวิตดีขึ้นเลย แล้วคิดว่าตายดีกว่า ไปเกิดใหม่น่าจะดีกว่านี้ คิดผิด...! [ให้ถอนความคิดนี้ซะ! แล้วศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี ไม่ใช่บ้าบุญ หลงบุญ คือ ท่านนั้นซวยซ้ำสอง เพราะไม่มีสติสัมปชัญญะ เจอพวกเปรตในวัด] เมื่อจิตพัฒนามาอย่างถูกวิธี คิดดี คิดชอบ ทำดี ทำชอบ ด้วยการใช้เหตุผล ย่อมเป็นตนของตัวเองที่สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยคุณธรรม อันเป็นธรรมชาติของคนดี ที่เรียกว่า สัตบุรุษ [ไม่ได้แปลว่า บุรุษผู้เป็นสัตว์ ตามภาษาปากชาวบ้าน ที่ชอบเรียกคนเป็นสัตว์ ทั้งที่ชื่อคนตายก็ว่างเยอะ ก็ไม่เอามาใช้เรียกกัน ไม่น่าจะทำให้ซวยเพราะเป็นของคนตายแล้ว คือ ไม่ใช่ของผี เพราะมีองค์ องค์ไม่รับ หรือองค์รับไม่ได้ เพราะเป็นคนมีองค์ หรือคนรับขันแล้วสาบานจะรับใช้เทพเจ้า ผีสาง เทวดา ก็เปิดรับ ยังรับสมัครอยู่ เพราะท่านไม่รู้จักตนเอง นั่นเอง] แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นคว้าศึกษาภาวะจิตของมนุษย์มาเป็นอย่างดี ที่เรียกว่า ธรรม โดยแบ่งชั้นของออกเป็น ภูมิ ๔ ได้แก่ (๑) อกุศลธรรมกุศลธรรม ได้แก่ กามาวจรภูมิ ๑ (๒) กุศลธรรมอัพยากตธรรม ได้แก่ รูปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑ โลกุตตรภูมิ ๑ อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติธรรม [ภาวนากรรมฐาน] นั้น หมายถึง สมถะ กับ วิปัสสนา จิตของผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ดังนี้ (๑) ญาณทัสสนะ อันเกิดจาก จรณะ ๑๕ ได้แก่ (๑) สีลสัมปทา ๑: สังวร ๕ ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรสติสังวรญาณสังวรขันติสังวรวิริยสังวร (๒) อปัณณกปฏิปทา ๓: อินทรียสังวรโภชเนมัตตัญญุตาชาคริยานุโยค (๓) สัทธรรม ๗: ศรัทธาหิริโอตตัปปะพาหุสัจจะวิริยารัมภะสติปัญญา และ (๔) ฌาน ๔: ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน [วิชชา ๓: ปุพเพนิวาสานุสสติญาณจุตูปปาตญาณอาสวักขยญาณ และ ญาณ ๓: อตีตังสญาณอนาคตังสญาณปัจจุปปันนังสญาณ] (๒) ญาณในวิปัสสนา อันเกิดจาก ยถาภูตญาณ คือ ปัญญารู้เห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง ที่เรียกว่า จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง เพราะเกิดดวงตาปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง ที่เรียกว่า ธรรมจักรอาณาจักรแห่งธรรม ได้แก่ อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖ [โสฬสญาณ] การจำแนกอารมณ์ ๓๘โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ฉะนั้น ในคำว่า ปัญญาเห็นธรรมดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [ภาวนามยปัญญา] หมายถึง ความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ซึ่งเป็นปัญญาที่เห็นภาวะเกิดและดับแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณารู้เห็นสภาวธรรม ที่เป็นภาวะที่แปรปรวนในรูปธรรม [อุปาทายรูป ๒๔] ดังนี้ (๑) รูปัสสะ ลหุตา คือ ความเบา (๒) รูปัสสะ มุทุตา คือ ความอ่อนสลวย (๓) รูปัสสะ กัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงาน (๔) รูปัสสะ อุปจยะ คือ ความก่อตัวหรือเติบขึ้น (๕) รูปัสสะ สันตติ คือ ความสืบต่อ (๖) รูปัสสะ ชรตา คือ ความทรุดโทรม (๗) รูปัสสะ อนิจจตา คือ ความปรวนแปรแตกสลาย
ในปัญญาเห็นสภาวธรรมแห่งรูปธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถมนสิการกรรมฐานนิมิตนั้น จนถึงรูปธรรมที่เล็กที่สุดในระดับ อณูMolecule จนถึงระดับระบบโครงสร้างของอนุภาคอะตอม ในทางธรรมเรียกว่า รูปกลาป หมายถึง หน่วยรวมรูปธรรมที่เล็กที่สุด หน่วยรวมเล็กที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบที่จำเพาะแน่นอนมารวมกันขึ้นอันเป็นส่วนย่อยของรูปธรรมประเภทนั้นๆ โดยที่องค์ประกอบทั้งหมดมีลักษณะอาการ ดังนี้ (๑) สหวุตติ คือ มีความเป็นไปร่วมกัน (๒) เอกุปปาทะ คือ เกิดขึ้นด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (๓) เอกนิโรธะ คือ ดับด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (๔) เอกนิสสยะ คือ มีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยร่วมกันเป็นอันเดียว
ปัญญาเห็นธรรมในรูปธรรมนี้ คือ กระบวนการพิจารณาสภาวธรรมบ่อยๆ ทำให้เกิดปัญญาต่างๆ ที่จะเข้าใจธรรมชาติอย่างถูกต้อง โดยพิจารณาเห็น (๑) การเกิดอุปปาทขณะ (๒) การตั้งอยู่ฐิติขณะ และ (๓) การดับภังคขณะ [ธรรมนิยาม ๓ แห่งไตรลักษณ์ ว่าด้วย กาลเวลา คือ อัทธา ๓ นั่นเอง] ที่ปรากฏในสังขตธรรมทั้งหลาย โดยมีภาวการณ์เกิดใน ๓ อาการ ได้แก่ (๑) ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว = อตีตอัทธา คือ เวลาที่ผ่านไปด้วยขณะทั้ง ๓ (๒) ธรรมทั้งหลายที่ไม่เกิดขึ้น = อนาคตอัทธา คือ เวลายังไม่ถึงขณะทั้ง ๓ (๓) ธรรมทั้งหลายที่มีปกติเกิดขึ้น = ปัจจุบันนัทธา คือ เวลาที่พรั่งพร้อมไปด้วยขณะทั้ง ๓
ฉะนั้น รูปกลาป ตามหลักทางอภิธรรม หมายถึง หน่วยรวมรูปธรรมเล็กที่สุด ที่เป็นหน่วยย่อยพื้นฐานของรูปธรรมทั้งปวง ได้แก่ สุทธัฏฐกกลาป [หน่วยรวมหมวด ๘ ล้วน] คือ กลาปซึ่งประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ [รูปธรรมแปดอย่างที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป ไม่สามารถแยกพรากออกจากกันได้] โดยให้พิจารณาธรรม ๓ อย่าง เป็นองค์ประกอบ คือ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ อวินิพโภครูป ๘ ได้แก่ (๑) ปฐวีปฐวีธาตุ คือ ภาวะแผ่ขยายรองรับ (๒) อาโปอาโปธาตุ คือ ภาวะเอิบอาบเกาะกุม (๓) เตโชเตโชธาตุ คือ ภาวะร้อน (๔) วาโยวาโยธาตุ คือ ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง (๕) วัณณะรูปธาตุ คือ สี รูปารมณ์ (๖) คันธะคันธธาตุ คือ กลิ่น คันธารมณ์ (๗) รสะรสธาตุ คือ รส รสารมณ์ (๘) โอชาโผฏฐัพพธาตุ คือ อาหารรูป โผฏฐัพพารมณ์ [ความอร่อยอาหารคือคำข้าวอาหารที่กิน = กวฬิงการาหาร ข้อสังเกต คือในจำนวนวัตถุและโอชา ๒ อย่างนั้น วัตถุ บรรเทาความกระวนกระวายหิวได้ แต่ไม่อาจจะรักษาชีวิตไว้ได้ ส่วน โอชา รักษาชีวิตไว้ได้ แต่ไม่อาจบรรเทาความกระวนกระวายหิวได้]
อย่างไรก็ตาม กลาป [กะ-หลาบ] แยกออกตามประเภทของสมุฏฐาน มี ๔ อย่าง ดังนี้ (๑) กัมมชกลาป คือ กลาปที่เกิดแต่กรรม หรือ กรรมนิยามMoral Laws นั่นคือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ กระบวนการให้ผลของการกระทำ ซึ่งมี ๙ แบบ ได้แก่ (๑.๑) จักขุทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + จักขุปสาทรูป] (๑.๒) โสตทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + โสตปสาทรูป] (๑.๓) ฆานทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + ฆานปสาทรูป] (๑.๔) ชิวหาทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + ชิวหาปสาทรูป] (๑.๕) กายทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + กายปสาทรูป] (๑.๖) อิตถีภาวทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + อิตถีภาวรูป] (๑.๗) ปุริสภาวทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + ปุริสภาวรูป] (๑.๘) วัตถุทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป + หทัยรูป] (๑.๙) ชีวิตนวกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + ชีวิตรูป] (๒) จิตตชกลาป คือ กลาปที่เกิดแต่จิต หรือ จิตตนิยามPsychic Laws นั่นคือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต ซึ่งมี ๘ แบบ ได้แก่ (๒.๑) สุทธัฏฐกกลาป [อวินิพโภครูป ๘] (๒.๒) สัททนวกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + สัททรูป] (๒.๓) กายวิญญัตตินวกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + กายวิญญัตติรูป] (๒.๔) วจีวิญญัตติสัทททสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + วจีวิญญัตติรูป + สัททรูป] (๒.๕) ลหุตาทิเอกาทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + วิการรูป ๓] (๒.๖) สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + สัททรูป + วิการรูป ๓] (๒.๗) กายวิญญัตติลหุตาทิทวาทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + กายวิญญัตติรูป + วิการรูป ๓] (๒.๘) วจีวิญญัตติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + วจีวิญญัตติรูป + สัททรูป + วิการรูป ๓] (๓) อุตุชกลาป คือ กลาปที่เกิดแต่อุตุ หรือ อุตุนิยามPhysical Laws นั่นคือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะ ดิน น้ำ อากาศ และ ฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ มี ๔ แบบ ได้แก่ (๓.๑) สุทธัฏฐกกลาป [อวินิพโภครูป ๘] (๓.๒) สัททนวกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + สัททรูป] (๓.๓) ลหุตาทิเอกาทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + วิการรูป ๓] (๓.๔) สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + สัททรูป + วิการรูป ๓] (๔) อาหารชกลาป คือ กลาปที่เกิดแต่อาหาร หรือ พีชนิยามBiological Laws นั่นคือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ มีพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่งมี ๓ แบบ ได้แก่ (๔.๑) สุทธัฏฐกกลาป [อวินิพโภครูป ๘] (๔.๒) สัททนวกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + สัททรูป] (๔.๓) ลหุตาทิเอกาทสกกลาป [อวินิพโภครูป ๘ + วิการรูป ๓]
ฉะนั้น ในขั้นตอนนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมเกิดปัญญารู้เห็นจากการอ่านคำบรรยายนี้ ยังไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาธรรมด้วย จิตตัววิปัสสนาจริงๆ คือ ญาณทัสสนะ [จิตประภัสสร] ที่ประกอบด้วย จิตตสมาธิแห่งรูปฌาน [ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน] ไม่ใช่ อรูปฌาน ๔ [ข้อ ๗ ในกรรมฐาน ๔๐ คือ สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา] ก็ทำอย่างไรให้ได้ จิตตสมาธิเอกัคคตาแห่งสมาธิ ด้วยการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อได้ตามตลาดนัดทั่วไปหรือตามห้างสรรพสินค้า ลงมือทำเองให้ได้ก็แล้วกัน โดยพื้นฐานแห่งสมาธินั้น ย่อมเกิดจากการปฏิบัติธรรมมาถูกต้องตาม ไตรสิกขา จนเกิดปัญญารู้แจ้งในทางทฤษฎี [ขบทฤษฎีได้] นั่นคือ (๑) ศีลวินัยปิฎกทั้งหมด (๒) สมาธิ สุตตันตปิฎกทั้งหมด (๓) ปัญญาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด ก็ขอถือโอกาสเรียนเชิญ ณ กาลครั้งนี้ อ่าน ศึกษา ค้นคว้า วิจัยธรรม ให้มาก ให้พอกพูนด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ ไม่บาป หรือเป็นอกุศลกรรม อย่างแน่นอน วัฒนธรรมการอ่านของชาวตะวันตก หรือประเทศที่พัฒนาแล้วในฟากเอเชีย ทำให้สังคมประกอบด้วยพลเมืองที่เป็นนักคิดอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่บ้าคลั่งอ่านแต่หนังสือนิยาย สามก๊ก เพื่อเอาปัญญาทุเรศและอุบาทว์มาคิดร้ายเขา และเบียดเบียนเขา หรือ วรรณกรรมนวนิยายแย่งผัวแย่งเมียชาวบ้าน เอามาทำ เนี่ยนบักเขือซุปบักมี้ [ขนุนJack Fruit อย่าลืมคั่วงาใส่ด้วยจะหอมอร่อยยิ่งขึ้น] สิ่งเหล่านี้ เป็นสถุนปัญญาทางคติโลก ได้เอาของคนอื่นแล้วนึกว่าดี ยังไม่พัฒนาไปสู่ ทานปัญญาจาคะปัญญา ตามวัฒนธรรมที่ศิวิไลซ์แล้ว ไม่ใช่ทำบุญหวังเอาหน้าเอาตา ต่อยอดผลประโยชน์ที่มีวาระซ้อนเร้น เช่น พวกนักการเมืองที่คิดสกปรกๆ หรือข้าราชการอยากได้หน้า หน้ามืดตามัว ไม่รู้ดีไม่รู้ชั่ว ก็เข้าเรื่องเดิมอีก ท่านไม่มีสติสัมปชัญญะขาสามัญสำนึกต่อตนเองและสังคม [สงสัยเอาไปเข้าโรงรับจำนำแล้ว] พระธรรมของพระศาสดาทั้งหลาย ทำให้คนสามารถแยกแยะ ดีชั่ว บุญบาป นรกสวรรค์ ได้เป็นอัตโนมัติ ก็ค้นหาพระอริยเจ้าไว้เป็นต้นแบบก็แล้ว ที่กำลังอภิปรายกันในตอนนี้ คือว่า คำสอนจากครูอาจารย์เพียงแต่ผู้เดียวนั้น ไม่พอประเทืองปัญญา แต่ทำให้เกิด สีลัพพตปรามาส (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐: กิเลสอันผูกใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับวัฏฏทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล) คือ ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย โดยเห็นอย่างคลาดเคลื่อนว่า จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตรตามคำสอนนั้นๆ ยิ่งคนที่มีปัญญาลาป่วยบ่อยๆ ก็ยิ่งรับวิบากกรรมหนักขึ้นไปอีก คือ มีกลุ่ม อวิชชากับตัณหา [มูล ๒] รวมสนธิกำลังกัน กลุ้มรุมครอบงำจิตใจให้พื้นจิตสันดามึนงง ไม่เข้าใจอะไรแห่งเหตุปัจจัย แล้วเกิด อุปาทาน ๔ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้
อุปาทาน ๔ หมายถึง ความยึดมั่นความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลสความยึดติดอันเนื่องมาแต่ตัณหา ผูกพันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ได้แก่ (๑) กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นในกามคุณทั้ง ๕ เบญจกามคุณ หรือ อารมณ์ ๕ นั่นคือ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ มีแต่ความทะยานอยากจากของคนอื่น เพราะแพ้ใจชั่วๆ ของตนเอง นั่นคือ (๑) กิเลสมาร คือ มารคือกิเลส กิเลสเป็นมาร เพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ (๒) อภิสังขารมาร คือ มารคืออภิสังขาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น พร้อมด้วยสังกิเลสทั้งหลาย เข้าขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังสารทุกข์ (๒) ทิฏฐุปาทาน คือ ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี นั่นคือ ความเห็น ลัทธิ หรือ หลักคำสอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หลงใหลอย่างงงงายในวาทะหรือความนึกคิดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของเจ้าสำนักทั้งหลาย ทั้งฝ่ายปฏิบัติธรรมและฝ่ายร่างทรง แต่พอมาฟังธรรมของพระศาสดาแล้วจะเป็นลมตีขึ้นเบื้องบนและลงเบื้องล่าง ก็ไปเสียอย่างนั้นอีก หมดวาสนานั่นเอง ผีนรกครอบงำกลุ้มจิตใจ นั่นคือ เทวปุตตมาร คือ มารคือเทพบุตร เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่า มาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้ ข้อนี้เกี่ยวดองกับ กามุปาทาน ในข้อ (๑) (๓) สีลัพพตุปาทาน คือ ความยึดมั่นในศีลและพรต นั่นคือ ถือว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียม ประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ โดยถือว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่า ทำสืบๆ กันมา หรือ ปฏิบัติตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือ โดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล [ไม่คิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท] ในข้อนี้ แทนที่จะเป็น สีลสัมปทาสีลวิสุทธิ กลับไปเป็น สีลวิบัติ (๔) อัตตวาทุปาทาน คือ ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน นั่นคือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลาย หรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวง อันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ ขาดการเจริญ อนุปัสสนา ๓ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ๑ ทุกขานุปัสสนา ๑ อนัตตานุปัสสนา ๑ จึงเข้าไม่ถึง ชวนปัญญาปัญญาเร็ว ๑ นิพเพธิกปัญญาปัญญาทำลายกิเลส ๑ มหาปัญญา ปัญญาอันยิ่งมาก ๑ ตามลำดับ
เพราะฉะนั้น อุปาทาน เกิดจากความไม่รู้จริง อวิชชา กับ ความทะยานอยาก ตัณหา และอกุศลธรรมแห่ง ตัณหา นี้ ยังไปรวมอยู่กับ ปปัญจธรรม ๓ [Mental Diffusion] อีก ย่อมเป็นการเพิ่มอำนาจกิเลสให้รุนแรงยิ่งขึ้น และถอนตัวออกจากขุมนรกนี้ได้ยาก ดังนี้
ปปัญจธรรม ๓ [ปปัญจะ ๓] หมายถึง กิเลสเครื่องเนิ่นช้า หรือ กิเลสที่เป็นตัวการ ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา ได้แก่ (๑) ตัณหา [ฉันทะความพอใจ ที่จะกลายเป็น ฉันทราคะความพอใจติดใจ] คือ ความทะยานอยาก ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน ความอยากได้อยากเอา แยกเป็น ตัณหา ๓ ได้แก่ กามตัณหาความทะยานอยากในกาม ๑ ภวตัณหาความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๑ วิภวตัณหาความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย ๑ (๒) ทิฏฐิ คือ ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่างๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงาย หรือโดยอาการเชิดชูว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน หรือ ความยึดติดในทฤษฎี หลักการ เป็นต้น ถือความคิดเห็นอันคลาดเคลื่อนของตนเป็นความจริง [บ้าอำนาจ] แยกออกเป็นความเห็นผิดใน ๕ อย่าง ได้แก่ สัสสตทิฏฐิความเห็นว่าเที่ยง ๑ อุจเฉททิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญ ๑ อกิริยทิฏฐิความเห็นว่าการกระทำไม่มีผล ๑ อเหตุกทิฏฐิความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๑ นัตถิกทิฏฐิความเห็นว่าไม่มี ๑ (๓) มานะ คือ ความถือตัว ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียม หรือด้อยกว่าผู้อื่น ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ โดยมานะมีอาการ ๓ ได้แก่ มานะความถือตัวอยู่ภายใน ๑ อติมานะความถือตัวเกินล่วง ๑ โอมานะความถือตัวต่ำด้อย ๑
นอกจาก กิเลสในกลุ่มดังกล่าวนี้ [อนุสยกิเลสกิเลสานุสัย = กิเลสอย่างละเอียด] ยังเชื่อมโยงหรือสนธิรวมกำลังกับ อาสวะ ๔ หมายถึง สิ่งที่มอมพื้นจิต กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ได้แก่ กามาสวะกาม ๑ ภวาสวะภพ ๑ ทิฏฐาสวะทิฏฐิ ๑ อวิชชาสวะอวิชชา ๑ หรือเทียบเคียงได้กับ โอฆะ ๔ หมายถึง สภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ กิเลสดุจน้ำท่วมพาผู้ตกไปให้พินาศ ได้แก่ กามภพทิฏฐิอวิชชา [กาโมฆะภโวฆะทิฏโฐฆะอวิชโชฆะ] ให้พิจารณาไปที่กิเลสตัวสำคัญ คือ อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้จริง ความไม่รู้แจ้งใน กฎธรรมชาติ [ธรรมนิยาม ๓: สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงสังขารทั้งปวงคงทนอยู่มิได้ธรรมทั้งปวงไม่เป็นตัวตน หรือ นิยาม ๕: อุตุนิยามพีชนิยามจิตตนิยามกรรมนิยามธรรมนิยาม] ของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายของพระศาสดาที่ทรงเห็นและค้นพบได้นั้น เป็นเรื่องจริงของชีวิต และเป็นเรื่องของคติโลก จนรวมถึงเรื่องที่เป็นภาวะอยู่เหนือโลก [โลกุตตระ] ซึ่งปุถุชนทั่วไปไม่รู้จริงในสัจจธรรมดังกล่าวนี้ จึงเรียกว่า อวิชชาโมหะ นำไปสู่ ตัณหาอุปาทาน ซึ่งเรียกว่า กิเลสวัฏฏ์ [อวิชชาตัณหาอุปาทาน หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท] คือ กิเลสที่เกิดขึ้นหมุนเวียนไม่สิ้นสุดในจิตใจของมนุษย์ แล้วชักนำไปสู่การกระทำในกรรมภพ เรียกว่า กรรมวัฏฏ์ [สังขารภพ หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท] และต้องเสวยผลวิบากแห่งกรรมนั้น เรียกว่า วิปากวัฏฏ์ [วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาชาติชรามรณะ พร้อมด้วย โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = สังกิเลส หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท] ที่กระทำลงไปโดยไม่มีสติสัมปชัญญะ เรียกว่า สังสารทุกข์แห่งภวจักร เพราะฉะนั้น อวิชชาตัณหา คือ รากเหง้าแห่งทุกข์ที่แท้จริง ที่ก่อให้เกิด อุปาทาน ขึ้นมา โดยเรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาธรรมดังกล่าวนี้แล้ว ถ้าเข้าใจได้ดี ก็ให้กำหนดรู้ใน มนสิการกรรมฐาน เพื่อให้รู้เห็นด้วย ญาณทัสสนะ อันเป็น ยถาภูตญาณทัสสนะ [ปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง] ที่ประกอบด้วยปัญญาในวิปัสสนา ที่เรียกว่า จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง แล้วจะได้เกิด ปัญญาเห็นธรรมจักร ไม่ใช่ลงไปในอบายภูมิทั้ง ๔ แล้วกลับมาเป็น ร่างทรง อีก เกิดแนวคิดนอกคอกนอกรีตไปอีก เพราะไม่เกิดปัญญาอย่างแท้จริง ไม่เข้าใจใน การรู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ที่สัมปยุตต์ด้วย สัมมาทิฏฐิ อย่างถูกต้องและเหมาะควรแก่ธรรม ในประเด็นนี้ [หลักปฏิจจสมุปบาท] ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้องให้มาก อันเกี่ยวเนื่องถึง วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ [ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย] อันเป็นปัญญาในวิปัสสนาที่จะใช้กำหนดรู้ในการพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น [กรรมฐาน ๔๐] แม้แต่เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นแล้วมากระทบในจิตวิญญาณของตน ว่าตนเองได้รู้อย่างเท่าทันการหรือไม่ คือ มีสติสัมปชัญญะพิจาณาไตร่ตรองได้ทันการ ด้วยปัญญาที่แตกฉาน [ปฏิสัมภิทา ๔: อัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทานิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทา ที่ยังเป็นระดับปัญญาสามัญ และที่จะก้าวสู่อริยภูมิ คือ พระอรหันต์ ที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทัปปัตตะ นั่นเอง] เพราะได้เจริญอนุปัสสนาทั้ง ๗ มาเป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ ในการปฏิบัติธรรม คือ มนสิการกรรมฐานให้บ่อยๆ ด้วย อนุปัสสนา ๓ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา ยกตัวอย่าง เช่น สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กายานุปัสสนสติปัฏฐานเวทนานุปัสสนสติปัฏฐานจิตตานุปัสสนสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนสติปัฏฐาน หรือ อนุปัสสนา ๗ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา ส่วนปัญญาในภาวนากรรมฐานที่เกิดขึ้นตามมา ได้แก่ (๑) ชวนปัญญา ปัญญาเร็ว (๒) นิพเพธิกปัญญา ปัญญาทำลายกิเลส (๓) มหาปัญญา ปัญญามาก (๔) ติกขปัญญา ปัญญาคมกล้า (๕) วิบูลปัญญา ปัญญากว้างขวาง (๖) คัมภีรปัญญา ปัญญาลึกซึ้ง = ปัญญาถึงความหยั่งลงในความลึกซึ้ง (๗) อัสสามันตปัญญา ปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาทั้ง ๗ ประการ นี้ นำไปสู่ (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน (๙) ปุถุปัญญา ปัญญาแน่นหนา และ (๑๐) หาสปัญญา ปัญญาร่าเริง ในขั้นตอนดังกล่าวนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องศึกษาให้ลึกซึ้ง ให้แตกฉานด้วยปัญญาจริงๆ เช่นกัน ไม่ใช่การปฏิบัตินั่งสมาธิโดยไร้หลักการหรือทฤษฎีอันเป็นแนวทางที่ถูกต้อง [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] โอกาสที่จะหลงป่านั้นมีมากเช่นกัน การไม่ศึกษาหลักธรรม [พระไตรปิฎก] ให้แตกฉานชำนาญก่อน เป็นการปฏิเสธที่ขัดแย้งในข้อธรรม พาหุสัจจะ คือ ผู้คงแก่เรียน ที่จะกลายเป็นพหูสูตจนถึงสัพพัญญูได้ มิฉะนั้น คงไม่มีการกล่าวถึงคำว่า พุทธภาวะ: ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน แล้วไม่เรียนหนังสือ ไม่ศึกษาวิจัยธรรม (๑) จะเป็นผู้รู้ในกาลตอนไหน (๒) จะเป็นผู้ตื่นขณะใด และ (๓) จะเป็นผู้เบิกบานในสมัยใด อย่าไปมัวให้เสียเวลา ในทางคติโลก การศึกษายังต้องเลือกสถาบันการศึกษาที่สามารถตรวจสอบความมีมาตรฐานได้ในบรรดา ดิรัจฉานวิชา [วิชาความรู้ที่ไม่ได้ช่วยดับทุกข์ได้จริง มีแต่พอกพูนกิเลสให้เพิ่มยิ่งขึ้นว่าเป็นชัยชนะและชื่อเสียง] ทั้งหลาย ไม่ใช่ไปสืบค้นว่าจะสอนวิชาชั่วๆ สุดยอดแค่ไหน แต่ต้องการทราบความมีมาตรฐานรับรอง [Accountability] ว่าผู้สอนมีความรู้ในศาสตร์นั้นจริงๆ ไม่ใช่ (๑) เอาคนโง่ [อ่านหนังสือเก่งท่องจำได้เก่ง] มาสอนคนโง่ให้ฉลาด หรือ (๒) เอาคนโง่มาสอนคนฉลาดให้โง่ ที่ถือเป็นประเพณีนิยมปฏิบัติในบางประเทศ น่าจะมีพิกัดแถวๆ บ้านเรานี้แหละ เมื่อกล่าวถึง วิชชา ในทางพุทธศาสนานั้น ก็เป็นเรื่องคนละอย่างกันกับทางคติโลก คล้ายกับการถอนหลังเข้าป่า [ไม่ใช่ไปเป็นโจรหรือคอมิวนิตส์แบบสมัยก่อน อย่าเข้าใจผิด] ทั้งที่ป่าก็หมดแล้วล่ะ กลายเป็นโรงแรมและรีสอร์ท [ไม่ใช่ รีสอด ที่เป็นภาษาลาติน Re = อีก บวกกับภาษาไทย สอด = อาการเอาสิ่งบางอย่าง แหย่เสือกตำจิ้ม เข้าไปจะค่อยๆ หรือหนักๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับตัณหาหรือโทสะ ส่วน Sort = จัดการแยกแยะ แต่คำว่า Resort ก็ไม่น่าแปลว่า จัดการใหม่อีกครั้ง แต่เป็นคำนามแปลว่า สถานที่ตากอากาศในวันหยุด ถ้าไม่ใช่วันหยุดห้ามเข้าพักจึงจะถูกต้อง หรือ A place frequented for holidays or leisure activities ให้พิจารณารายเอียดเพิ่มเติม ORIGIN: Middle English: from Old French resortir, from re- again + sortir come or go out= Resort] ที่ส่งเสริมกรรมชั่วมากกว่ากรรมดี ฉะนั้น ความซับซ้อนของปัญญาในบุคคลมีความแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นทางคติโลก หรือในทางคติธรรม ก็ตาม ผู้บริหารจัดการความรู้ได้ดี คือ ผู้ที่ฉลาดเชี่ยวชาญ [โกศล ๓] ที่ (๑) เห็นเหตุแห่งความเสื่อม (๒) รอบรู้เหตุแห่งความเจริญ และ (๓) เชี่ยวชาญในอุบายวิธีที่แยบคายในการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคทั้งหลายได้อย่างดีเยี่ยม
อีกนัยหนึ่ง คำว่า สัปปายะ หมายถึง (๑) สบาย สภาพเอื้อ สภาวะที่เกื้อหนุน (๒) สิ่ง สถาน หรือ บุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือ เอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อหนุนการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน และประคับประคองรักษาสมาธิท่านแสดงไว้ ๗ ข้อ ดังนี้ (๑) อาวาส [ที่อยู่] (๒) โคจร [ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร] (๓) ภัสสะ [เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ] (๔) บุคคล [ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง] (๕) โภชนะ [อาหาร] (๖) อุตุ [อุณหภูมิและสภาพแวดล้อม] (๗) อิริยาบถ ทั้ง ๗ ข้อนี้ ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ เช่น เป็น อาวาสสัปปายะ ที่ไม่สบาย เป็น อาวาสอสัปปายะ เป็นต้น หรือเรียกว่า สัปปายะ ๗ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สัปปายะ ๗ หมายถึง สิ่งที่สบาย สภาพเอื้อ สิ่งที่เกื้อกูล สิ่งที่เอื้อต่อการอยู่ดีและการที่จะพัฒนาชีวิต สิ่งที่เหมาะกัน อันเกื้อหนุนในการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย ได้แก่ (๑) อาวาสสัปปายะเสนาสนสัปปายะ [Suitable Abode] คือ ที่อยู่อันเหมาะ เช่น ปลอดภัย ไม่พลุกพล่านจอแจ (๒) โคจรสัปปายะ [Suitable Resort] คือ แหล่งอาหารอำนวย ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป เปรียบเทียบกับ คำว่า อโคจร ๖ คือ บุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ ได้แก่ หญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวเทื้อ ภิกษุณี บัณเฑาะก์ [กะเทย] และ ร้านสุรา [รวมทั้งตำหนักหรือสำนักร่างทรงก็ไม่ควร] (๓) ภัสสสัปปายะธัมมัสสวนสัปปายะ [Suitable Speech] คือ การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ใน กถาวัตถุ ๑๐ ได้แก่ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา และ พูดแต่พอประมาณรู้จักกาลเทศะ รับทราบข่าวสารและสื่อสารที่เอื้อปัญญา (๔) ปุคคลสัปปายะ [Suitable Person] คือ บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น ไม่มีคนร้าย แต่มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ (๕) โภชนสัปปายะอาหารสัปปายะ [Suitable Food] คือ อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก (๖) อุตุสัปปายะ [Suitable Climate] คือ ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะ เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น (๗) อิริยาปถสัปปายะ [Suitable Posture] คือ อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี มีอิริยาบถสมดุล
ปัจจัยองค์ประกอบภายนอกดังกล่าวนี้ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในในปฏิบัติธรรม ไม่นำไปสู่ วิบัติ ๔ คือ ความผิดพลาด ความเคลื่อนคลาด ความเสียหาย ความบกพร่อง ความใช้การไม่ได้ ได้แก่ ศีลวิบัติอาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติอาชีววิบัติ [องค์ประกอบภายในตน ที่ต้องแก้ไข] หรือไม่เข้าอยู่ในภูมิวิบัติทั้ง ๔ ที่เรียกว่า วิบัติ ๔ คือ ข้อเสีย จุดอ่อน ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล ส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว ได้แก่ คติวิบัติอุปธิวิบัติกาลวิบัติปโยควิบัติ [องค์ประกอบภายนอกตน ที่ต้องเลือกจังหวะและโอกาสอันเป็น สมบัติ ๔ คือ ข้อดี ความเพียบพร้อม ความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล ส่วนประกอบอำนวย ช่วยเสริมกรรมดี ได้แก่ คติสมบัติอุปธิสมบัติกาลสมบัติปโยคสมบัติ บางคนได้สมบัติทั้ง ๔ แล้ว ยังไม่ย่อมลงมือปฏิบัติธรรม] เพราะฉะนั้น จิตที่จะเป็นสมาธิได้นั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะตัดใจออกจากโลกภายนอกได้อย่างเด็ดขาด ตามที่นึกคิดไว้ ยิ่งต้องเกิดปัญญาที่เห็นธรรมตาม สัมมาทิฏฐิ นั้น ยิ่งทำได้ยากเช่นกัน คือ เห็นธรรมทั้งปวง ได้แก่ กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม แล้วนำธรรมทั้งหลายเหล่านี้ มาจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มตามจุดมุ่งหมายเฉพาะแห่งธรรม เช่น (๑) อริยสัจจ์ ๔ (๒) อัทธา ๓ [ญาณ ๓: ปัญญารอบรู้เหตและผลใน อดีต อนาคต และ ปัจจุบัน] และ (๓) อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ซึ่งปัญญาเห็นธรรมตามเป็นนี้จะระงับกำจัด อวิชชา ๔อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้จริง ความไม่รู้แจ้งแห่งธรรมทั้งหลายตาม กฎธรรมชาติ [Natural Law: ซึ่งเป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาธรรมทั้งโลกียสัมมาทิฏฐิและโลกุตตรสัมมาทิฏฐิในการปฏิบัติธรรมตามพระสัทธรรมนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีขั้นตอนการพัฒนาความคิดที่ประกอบด้วยเหตุผลและเป็นแนวทางตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่การคิดส่งเดชลูกพระบาท ไม่มีทฤษฎีหรือหลักการที่ถูกต้อง แต่มีคัมภีร์ที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อายุสืบถอดกันมาเกือบ ๒,๖๐๐ ปี คงไม่บันทึกกันไว้เล่นๆ หรอก ท่านผู้เจริญแล้ว แม้กฎระเบียบนรกของพวกบัตรเครดิตยังพากันกลัวปฏิบัติตามมัน ทั้งที่พวกมันรวมหัวกันเอารัดเอาเปรียบทุกอย่าง โดยมีทรามปัญญาเป็นทุน นี่หลักธรรมอันประเสริฐแห่งอุดมบุรุษในโลก แล้วยังมองไม่เห็นทางอีกหรือ] จนถึง อวิชชาแห่งอาสวะ [กิเลสอย่างละเอียดอนุสยกิเลส ที่ต้องกำจัดด้วยอธิปัญญาแห่งวิปัสสนาภูมิเท่านั้น] ที่ต้องกำจัดด้วย อาสวักขยญาณ คือ ความตรัสรู้ที่ทำให้ถึงภาวะที่ปราศจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงได้ จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ด้วยสมาธิในแต่ละระดับแห่งรูปฌาน ก็ยังเป็น ญาณทัสสนะ [ความรู้ความเห็นด้วยปัญญาหยั่งรู้ในวิปัสสนา อันมาจากกำลังสัมมาสมาธิ ที่ทำให้สติสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ปราศจากนิวรณ์ทั้งหลายได้] ที่มีความแม่นยำถูกต้องแตกต่างกันไปตาม ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา ของแต่ละบุคคลผู้ปฏิบัติธรรม ถ้าอยากเห็นพระอริยเจ้าจริง ก็เรียนเชิญให้ไปแอบอยู่ในจิตของตนเองขณะอยู่ในขั้น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ [วิปัสสนาญาณ ๙วิปัสสนาญาณ ๑๐วุฏฐานคามินีปฏิปทาญาณ คือ ขั้นตอนการทุบขันธ์ ๕ ก่อนจะข้ามสู่ความเป็น อริยบุคคล ๔] และ ญาณทัสสนวิสุทธิ [มัคคญาณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณอริยมรรค ๔] ก็รับรองได้เลยว่า จะได้เจอท่านแน่นอน ขอให้ปฏิบัติกันจริงๆ อย่ามาทำเล่นๆ ก็แล้วกัน
ในการปฏิบัติธรรมนั้น การกำจัดความไม่รู้จริงให้หมดไปนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะเป้าหมายสำคัญของการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น คือ การทำให้จิตปราศจากนิวรณ์ และเกิดปัญญาญาณ ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับ ปัญญา [Wisdom] ก็คือ อวิชชา [Ignorance] ซึ่งในขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมมนสิการกรรมฐานด้วยการเจริญ สติปัฏฐาน ๔ (ข้อ ๑ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน อนุปัสสนา ๓ [อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา] โดยสัมปยุตต์ด้วยอนุปัสสนาอีกกลุ่มหนึ่งในฐานที่ตั้งสติทั้ง ๔ ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนา (๒) เวทนานุปัสสนา (๓) จิตตานุปัสสนา และ (๔) ธัมมานุปัสสนา โดยทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยปัญญาเห็นธรรมว่า กายเวทนาจิตธรรม สักว่าเป็นสภาวธรรมเช่นนั้น ไม่มีตัวตนที่แท้จริง เป็น อนัตตตา และเกิดปัญญาในวิปัสสนา ได้แก่ ชวนปัญญานิพเพธิกปัญญามหาปัญญา ในเบื้องต้น ซึ่งในความเป็นจริง อนุปัสสนา ๓ ในสติปัฏฐาน ๔ นั้น ก็รวมอยู่ใน อนุปัสสนา ๗ [อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา] และก็เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ทำให้ อวิชชา ลดลงไปได้ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้น เป็นอีกขั้นตอนที่ทำให้จิตสงบ ที่เรียกว่า สมถะ เมื่อจิตสงบระงับจากนิวรณ์ [กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง] โดยอาศัยภาวะจิตที่เป็น โวทานธรรม หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความผ่องแผ้ว การชำระล้าง การทำให้สะอาด ธรรมที่อยู่ในวิเสสภาค คือในฝ่ายข้างวิเศษ ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้เจริญงอกงามดียิ่งขึ้นไปจนปลอดพ้นจากประดาสิ่งมัวหมองบริสุทธิ์บริบูรณ์ เช่น โยนิโสมนสิการ กุศลมูล สมถะและวิปัสสนา ตลอดถึง นิพพาน ดังนั้น นิวรณธรรม ทั้งหลายนั้น เป็นธรรมไม่อุปการะแก่สมาธิ การกำจัดนิวรณ์ทั้งหลายจึงเริ่มด้วยธรรมในฝ่ายอุปการะแก่สมาธิ ดังนี้
ญาณในธรรมที่อันตรายและอุปการะแก่สมาธิ (๑) เนกขัมมะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ กามฉันทะ ได้ (๒) อัพยาบาท เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ พยาบาท ได้ (๓) อาโลกสัญญา เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ ถีนมิทธะ ได้ (๔) อวิกเขปะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ อุทธัจจะ ได้ (๕) ธรรมววัตถาน เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ วิจิกิจฉา ได้ (๖) ญาณ [ฌาน] เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ อวิชชา ได้ (๗) ปราโมทย์ เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ อรติ ได้ (๘) กุศลธรรมทั้งปวง เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะสามารถสงบระงับ อกุศลธรรมทั้งปวง ได้
ข้อพึงสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ ในการเจริญสมถภาวนานั้น จิตต้องสหรคตด้วย ธรรมสมาธิ ๕ อย่างสมบูรณ์มาก่อน ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ ซึ่ง ปีติสุขสมาธิ ก็คือ องค์ฌานอีกส่วนหนึ่ง ที่จะต้องไปสัมปยุตต์ในขั้นของฌานต่างๆ ใน รูปฌาน ๔ โดยมี สมาธิ [เอกัคคตาจิตตสมาธิ] เป็นธรรมหลักของรูปฌานทั้งหมด เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิจนได้ถึง อุปจารสมาธิ [สมาธิจวนเยียน] หรือ อัปปนาสมาธิ [สมาธิแน่วแน่สนิทสมบูรณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์เพราะมี อุเบกขา สหรคตอยู่ด้วย นั่นคือ จตุตถฌาน] เมื่อพิจารณาสภาวธรรมในกรรมฐานนั้นๆ ด้วย อนุปัสสนา ๓อนุปัสสนา ๗ ก็จะเกี่ยวข้องกับ การเพ่งพิจารณานามรูปตามสามัญลักษณะโดยไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า ธรรมนิยาม ๓ นั่นเอง ซึ่งในขณะนั้น จิตต้องสหรคตด้วยธรรมแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานส่วนหนึ่ง ที่เรียกว่า วิปัสสนุปกิเลส ๑๐ ที่เรียกเช่นนั้น เพราะผู้ปฏิบัติยังมีวิปัสสนาอ่อนๆ ยังไม่แก่กล้า คือ รู้เห็นไตรลักษณ์ไม่ลึกซึ้งแตกฉานพอ ก็จะหลงใหลไปใน วิปัสสนุปกิเลส ๑๐ ตัวใดตัวหนึ่ง หรือทั้งหมดก็ได้ ดังนี้
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษเครื่อง เศร้าหมองแห่งวิปัสสนา โดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ นั่นคือ กลายเป็นบ้า หรือ กลายเป็นร่างทรง ไปได้เช่นกัน เพราะความไม่รู้แห่งอวิชชา ได้แก่ (๑) โอภาส คือ แสงสว่าง (๒) ญาณ คือ ความรู้ที่คมชัด ความหยั่งรู้ (๓) ปีติ คือ ความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว (๔) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ (๕) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง ความสุขสบายใจ (๖) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง ศรัทธาแก่กล้า (๗) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๘) อุปัฏฐาน คือ สติแก่กล้า สติชัด (๙) อุเบกขา คือ ความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิท (๑๐) นิกันติ คือ ความติดใจพอใจ
เมื่อสัมปยุตต์ด้วย ธรรมสมาธิ ๕ ก็จะกลายเป็นธรรม ๑๒ อย่าง ดังนี้ (๑) โอภาส คือ แสงสว่าง (๒) ญาณ คือ ความรู้ที่คมชัด (๓) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจร่าเริงสดใส (๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว (๕) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ (๖) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๗) เอกัคคตา คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทแห่งจิตตสมาธิในอารมณ์เดียว (๘) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง (๙) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๑๐) อุปัฏฐาน คือ สติชัดแก่กล้า (๑๑) อุเบกขา คือ ความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิท (๑๒) นิกันติ คือ ความติดใจพอใจ
ให้พิจารณาถึงองค์ธรรมทั้ง ๑๒ อย่าง ดังกล่าวนี้ อีกครั้ง โดยจำแนกแยกออกเป็นฝ่ายสมถะและวิปัสสนา จิตตัวไหนที่รู้แจ้งในอารมณ์นั้นๆ โดยทำหน้าที่เป็น อธิบดี [หน่วยหลัก] และทำหน้าที่เป็น สหรคต [หน่วยย่อย] ทั้ง ๒ ฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม อารมณ์แห่งจิตทั้ง ๑๒ อย่าง ต้องประชุมรวมกันเป็นหนึ่งด้วยธรรมเครื่องเกื้อหนุนการตรัสรู้และอริยมรรค คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เสมอ ในจำนวน ๓๗ นี้ ถ้านับตัวสภาวธรรม แท้ๆ ตัดจำนวนที่ซ้ำออกไป มี ๑๔ ได้แก่ สติวิริยะฉันทะจิตตะปัญญาสัทธาสมาธิปีติปัสสัทธิอุเบกขาสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ แต่องค์ธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตรัสรู้โดยตรงนั้น ที่เป็น สัมปยุตตธรรม กัน คือ ธรรม ๓ ได้แก่ อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗ ดังนี้
(๑) อินทรีย์ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธินทรีย์ คือ ความเชื่อ ย่อมระงับปิดกั้นความไร้ศรัทธาอสัทธา (๒)วิริยะวิริยินทรีย์ คือ ความเพียร ย่อมระงับปิดกั้นความเกียจคร้านโกสัชชะ (๓) สติสตินทรีย์ คือ ความระลึกได้ ย่อมระงับปิดกั้นความประมาทปมาทะ (๔) สมาธิสมาธินทรีย์ คือ ความตั้งจิตมั่น ย่อมระงับปิดกั้นความฟุ้งซ่านอุทธัจจะ (๕) ปัญญาปัญญินทรีย์ คือ ความรู้ทั่วชัด ย่อมระงับปิดกั้นความหลงลืมสติโมหะ หรือ อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ไม่เห็น ขัดข้องเพราะ อวิชชาความหลงอกุศลมูล หรือ มุฏฐสัจจะ คือ การอยู่อย่างขาดสติไม่มีสติระลึกตามไปไม่ได้ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้นึกไม่ออกจำไม่ได้ฟั่นเฟือนหลงลืมหลงเลือนหลงใหลไปหลงพร้อม คือ สมฺโมหวิหาโร แปลว่า อยู่ด้วยความหลง [ตั้งนโมไม่ทัน]
(๒) พละ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นกำลัง [ขวัญพลังใจแรงบันดาลจิตที่ตั้งมั่น เลื่อมใส ศรัทธา = อธิโมกข์] ให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ [ดูปฏิปักษ์ธรรมเช่นเดียวกับ อินทรีย์ ๕] ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธาพละ คือ ความเชื่อ นั่นคือ เลื่อมใส ศรัทธา เชื่อมั่นในอริยมรรค ระงับอสัทธา (๒)วิริยะวิริยพละ คือ ความเพียร นั่นคือ เพียรชอบในการละชั่วทำดี ระงับโกสัชชะ (๓) สติสติพละ คือ ความระลึกได้ นั่นคือ ไม่หลงลืม เลื่อนลอย ระงับปมาทะ (๔) สมาธิสมาธิพละ คือ ความตั้งจิตมั่น นั่นคือ ไม่ฟุ้งซ่านสัดส่าย ระงับอุทธัจจะ (๕) ปัญญาปัญญาพละ คือ ความรู้ทั่วชัด นั่นคือ โยนิโสมนสิการ ฉลาดคิดถูกวิธี ระงับโมหะ
(๓) โพชฌงค์ ๗ หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้องค์ธรรมตรัสรู้ ได้แก่ (๑) สติ คือ ความระลึกได้สำนึกพร้อมอยู่ใจอยู่กับกิจจิตอยู่กับเรื่อง ย่อมทำให้เกิด อุปัฏฐาน นั่นคือ สติชัด ประกอบด้วย สัมปชัญญะ ๔ (๒)ธัมมวิจยะ คือ ความเฟ้นธรรมความสอดส่องสืบค้นธรรมสามารถจำแนกแจกธรรมได้ ทำให้เกิด ญาณ นั่นคือ ความรู้ที่คมชัด (๓) วิริยะ คือ ความเพียรบากบั่นเพื่อทำดีละชั่ว ทำให้เกิด ปัคคาหะ นั่นคือ ความเพียรที่พอดี ที่ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ คือ ชาคริยานุโยค หรือ หมั่นประกอบกุศลธรรม คือ กุสลธัมมานุโยค (๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำในใจ ทำให้เกิด อธิโมกข์ นั่นคือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสท่วมล้นอย่างยิ่ง (๕) ปัสสัทธิ คือ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจความอิ่มใจปลาบปลื้ม ทำให้เกิด สุข (ปราโมทย์) นั่นคือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๖) สมาธิ คือ ความมีใจตั้งมั่นจิตสงบแน่วแน่ในอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้เกิด จตุตถฌานอัปปนาสมาธิ นั่นคือ สมาธิที่แน่วแน่ หรือ เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียวตามระดับขั้นฌานทั้ง ๔ จนเป็นสมาธิในวิปัสสนา (๗) อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลางที่ลงตัวสนิทเพราะเห็นตามเป็นจริง ทำให้เกิด ตัตรมัชฌัตตตาตัตรมัชฌัตตุเปกขา นั่นคือ ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ ที่ผ่านเข้ามา ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
เพราะฉะนั้น โพชฌงค์ ๗ จะมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้ (๑) สติธัมมวิจยะ = สัมมาสติอุปัฏฐาน [สติปัฏฐาน ๔] สติสัมปชัญญะญาณ (๒) วิริยะ = สัมมัปปธาน ๔ภาวนา [มรรค ๔ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา] (๓) ปีติปัสสัทธิ = สัทธา [ศรัทธา] อธิโมกข์โอภาส (๔) สมาธิอุเบกขา = สัมมาสมาธิจตุตถฌาน [ญาณทัสสนะ]
ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมมาอย่างถูกวิธีตามคำสอนของพระศาสดาเท่านั้น ถึงจะเข้าถึงภาวะอันวิเศษเช่นนี้ได้ อันเป็นภาวะจิตที่ไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิต จึงมักจะหลงใหลไม่อยากทิ้งไป และอาจทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน สำคัญผิดในธรรม คิดไปต่างๆ นาๆ ว่าตนเป็นผู้บรรลุธรรมวิเศษดีแล้ว ที่เรียกว่า ธัมมุทธัจจะธรรมุธัจจ์ ดังนี้
ธัมมุทธัจจะธรรมุธัจจ์ หมายถึง ความฟุ้งซ่านด้วยสำคัญผิดในธรรม คือ ความฟุ้งซ่านเนื่องจากเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้วสำคัญผิดว่าตนบรรลุธรรมคือมรรคผลนิพพาน จิตก็เลยคลาดเขวออกไปเพราะความฟุ้งซ่านนั้น ไม่เกิดปัญญาที่จะเห็นไตรลักษณ์ได้จริง เมื่อ วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น สามารถจำแนกผู้เจริญภาวนาออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ (๑) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไปและเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย (๒) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุ้งซ่านเขวไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด (๓) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า ถึงฟุ้งซ่านเขวไป แต่ละความสำคัญผิดได้ และจะเจริญวิปัสสนาต่อไป (๔) ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะไม่ฟุ้งซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป
ฉะนั้น ธรรม ๑๒ อย่าง [(๑) โอภาส คือ แสงสว่าง (๒) ญาณ คือ ความรู้ที่คมชัด (๓) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจร่าเริงสดใส (๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว (๕) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ (๖) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๗) เอกัคคตา คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทแห่งจิตตสมาธิในอารมณ์เดียว (๘) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง (๙) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๑๐) อุปัฏฐาน คือ สติชัดแก่กล้า (๑๑) อุเบกขา คือ ความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิท (๑๒) นิกันติ คือ ความติดใจพอใจ] ข้างต้นนั้น เป็นมหาผลานิสงส์ คือ ความดีในสมถกรรมฐานและอธิบดีในวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่จะไม่เกิดปุถุชนทั่วไปผู้ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี จุดประสงค์ในการเจริญ อนุปัสสนา ๗ [สติปัฏฐาน ๔] ให้มากและบ่อยๆ นั้น เพราะทำให้เกิดปัญญาในวิปัสสนาภูมิ ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา อันเกิดจากการทำ โยนิโสมนสิการ ในกรรมฐานนั้นๆ ที่ประกอบด้วย (๑) ญาณทัสสนะ ในฝ่ายสมถะ และ (๒) ญาณในวิปัสสนา ในฝ่ายวิปัสสนา ที่สหรคตด้วย วิปัสสนาภูมิ [ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตากฎแห่งกรรมของสัตว์] นอกจากนี้ ยังต้องเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงจุดมุ่งหมายหลักในการมนสิการกรรมฐาน เพื่อเป็นขั้นตอนการสลัดตนเองออกจากกิเลสทั้งหลายในทางคติโลก เพื่อดำเนินวิธีที่ถูกต้องด้วย มัชฌิมาปฏิปทา ให้สู่ โลกุตตรภูมิ อันเป็นจุดหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์ ด้วยเหตุนี้ การทบทวนแนวความคิดที่ถูกต้องเป็น สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ นั้น จึงเป็นต้องถือปฏิบัติอยู่เสมอ ประเด็นสำคัญ คือ เมื่ออยู่ในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น จะได้ไม่เกิดภาวะจิตที่สำคัญผิดในธรรมว่าตนได้บรรลุคุณวิเศษ ที่เรียกว่า ธัมมุทธัจจะธรรมุธัจจ์ ทำให้ไม่เดินหน้าหรือถอนหลังก้าวต่อไปในวิปัสสนา เพราะมีวิปัสสนาที่แกร่งแก่กล้าด้วยปัญญาเห็นธรรมโดยไตรลักษณ์ ฌาน ๔ [ญาณทัสสนะปัญญาในสมาธิ] ทำหน้าที่ช่วยให้จิตบริสุทธิ์เป็นสมาธิ และทำให้ สติสัมปชัญญะ มีความคมชัดระลึกได้และรู้ตัวทั่วพร้อม มีความรู้ความเห็นตามที่เป็นจริง ส่วน วิปัสสนา [ปัญญาญาณ] นั้น ทำหน้าที่ให้หยั่งรู้แจ้งในไตรลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สติปัฏฐาน ๔ [สติสัมปชัญญะ] และ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาในวิปัสสนา] นอกจากนี้ ยังต้องเพิ่มวิธีคิดอันเป็นอุบายวิธีที่แยบคายไว้ในใจด้วย ที่เรียกว่า สัญญา ๑๐ ดังนี้
สัญญา ๑๐ หมายถึง แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน อันเป็นแนวคิด การทุบขันธ์ ๕ อีกทางหนึ่ง [วุฏฐานคามินีปฏิปทา] ได้แก่ (๑) อนิจฺจสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (๒) อนตฺตสญฺญา คือ กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง (๓) อสุภสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย (๔) อาทีนวสญฺญา คือ กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ (๕) ปหานสญฺญา คือ กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย (๖) วิราคสญฺญา คือ กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๗) นิโรธสญฺญา คือ กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๘) สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (๙) สพฺพสงฺขาเรสุ อนิฏฺฐสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (๑๐) อานาปานสติ คือ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก [ถ้าเป็นพระเสข ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ต้องมีชีวิตอยู่ จึงให้พิจารณาลมหายใจในฝ่ายกายสังขาร]
เพราะฉะนั้น โดยหลักๆ แล้ว วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ [อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] รวมกับ สัญญา ๑๐ [ไตรลักษณ์สติปัฏฐาน ๔อนุปัสสนา ๗] นั้น ย่อมเป็นองค์ความรู้สำคัญในการพิจารณาสภาวธรรมหรือธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นสังขารนิมิตในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นๆ คือ การปรากฏขึ้นในขณะนั้น และในสมัยนั้น อนึ่ง ภาวะจิตของมนุษย์มีอารมณ์ความรู้สึกไม่คงที่ แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกิดมาร่วมกันและดับไปร่วมกัน [วิญญาณปวัตติ ๑๔หน้าที่จิตวิญญาณ โดยสรุป ปฏิสนธิชวนะจุติ หรือ ภวังคจิตวิถีจิตตกภวังค์] คำว่า เหตุปัจจัย ก็หมายถึง ภาวะจิตที่แปรปรวนไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลาย รวมทั้งความยึดมั่นปณิธิแห่งแรงปรารถนาของตน สัญเจตนา ๖ [อภิสังขาร ๓: เจตนาปรุงแต่งกรรม ได้แก่ บุญบาปอาเนญชา คือ จิตที่ผ่องแผ้วปราศจากนิวรณ์] แต่ประเด็นสำคัญ จิตมนุษย์มักจะเกาะเกี่ยวยึดมันใน โลกธรรม ทั้ง ๘ หมายถึง ธรรมที่มีประจำโลก ธรรมดาของโลก ธรรมที่ครอบงำสัตวโลกและสัตวโลกก็เป็นไปตามมัน มี ๘ อย่าง คือ มีลาภไม่มีลาภมียศไม่มียศนินทาสรรเสริญสุขทุกข์ ให้สังเกตว่า ภาวะจิตของมนุษย์ที่เกิดขึ้นสลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปไม่รู้จบ คือ (๑) สิ่งที่ใคร่ปรารถนา ซึ่ง เรียกว่า อิฏฐารมณ์ กับ (๒) สิ่งที่ไม่ใคร่ปรารถนา ซึ่งเรียกว่า อนิฏฐารมณ์ และมักเรียกโดยรวมว่า สังสารทุกข์แห่งภวจักร อันนำมาซึ่งอกุศลผลวิบาก ได้แก่ ภพชาติพยาธิชรามรณะ พร้อมด้วยสังกิเลส คือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ฉะนั้น ภาวะจิตหรือระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ อยู่ในภาวะที่สืบเนื่องกันไป เรียกว่า ชีวิตสันตติในภวจักร มีทั้งสุคติและทุคติ ผสมปนเปกันไป เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเล่า ไม่สิ้นสุด เดี๋ยวก็มีกุศลจิต เดี๋ยวก็มีอกุศลจิต แต่ในการปฏิบัติธรรมนั้น จะเน้นที่ทำจิตให้เป็นกุศลจิต เพื่อชำระจิตนั้นให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็นจิตที่ผ่องแผ้วสดใส ปราศจากนิวรณ์ คุณภาพจิตในลักษณะอาการเช่นนี้ จะเหนือภูมิจิต ที่เรียกว่า กามาวจรภูมิ แต่จิตที่ปราศจากนิวรณ์นั้น เป็นจิตที่ก้าวไปสู่ รูปาวจรภูมิ [รูปาวจรจิต: ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน] อนึ่ง การจะเข้าถึงจิตในระดับรูปฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปถึงจตุตถฌานได้นั้น ไม่ได้จัดอยู่ในแนวบำเพ็ญเพียรตบะสุดโต่ง อย่างเช่นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ที่ยังคงมีปฏิบัติกันมาถึงทุกวันนี้ เป็นแสวงหาอิทธิฤทธิ์หรืออิทธิปาฏิหาริย์ มากกว่าการแสวงหาปัญญาอันบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า อธิคมธรรมอุตตริมนุสสธรรม คือ ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาบัติ มรรค ผล แต่ยังไม่เรียกว่า สมณธรรม อย่างเต็มขั้น ที่จะก้าวล่วงไปถึง พระนิพพานแห่งโลกุตตรธรรม ตามคำสอนของพระศาสดาในพระธรรมวินัยนี้
ดังนั้น ความสับสนแยกแยะธรรมไม่ออกด้วย ศีลบริสุทธิ์อันยิ่งสมาธิบริสุทธิ์อันยิ่งปัญญาบริสุทธิ์อันยิ่ง [วิสุทธิ ๗ แห่งไตรสิกขา] ได้ นั้น ย่อมปราศจากโอกาสที่จะเข้าถึง อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นปฏิปทาอันประเสริฐยิ่งแห่งโลกุตตรภูมิได้ คือ ไม่สามารถใช้สมาธิอันบริสุทธิ์สัมปยุตต์ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ ให้รู้เห็นแทงตลอดด้วยปัญญาอันยิ่งในธรรมทั้งปวง [ธรรมจักร] ไม่มีปรีชาหยั่งถึง [โยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาท ๑๒อริยสัจจ์ ๔] สภาวธรรมที่เป็นไปตามจริงแห่งธรรมชาติโดยไตรลักษณ์ [ยถาภูตญาณทัสสนะ: จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง] คือ ความรู้ความเห็นนามรูปแห่งสังขารทั้งหลายโดยสามัญลักษณะแห่งไตรลักษณ์ [สัมมสนญาณอนุปัสสนา ๓: อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา] ด้วยเหตุนี้ บุคคลที่จะสามารถบรรลุได้ถึงสมาธิขั้นสูงและปัญญาหยั่งรู้ ที่เรียกว่า ญาณในวิปัสสนา [ข้อ ๑ ในวิชชา ๘] ซึ่งก็หมายถึง วิปัสสนาญาณ ๙วิปัสสนาญาณ ๑๐ (ข้อ ๓๑๒ ในญาณ ๑๖, ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ: ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗, อนุปัสสนา ๗ หรือ วุฏฐานคามินีปฏิปทาการทุบขันธ์ ๕ เพื่อให้เข้าถึงมรรค) นั้น จะต้องมีเวลาทุ่มเทอย่างจริงจัง เสียสละให้กับกิจภาวนานี้ อย่างล้นเหลือ อย่างเต็มกำลังความสามารถจริงๆ ไม่ใช่มาทำเล่นๆ เป็นลิงหลอกเจ้า หรือจะมาทำไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้จริง [อวิชชา] แล้วยังงมโข่งอย่าเปิ่นๆ ไม่เป็นท่า มุดไปเรื่อยๆ จนทำให้ถึงความเสียหายวิบัติ ที่เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ [ทุศีลออกนอกเขตธรรมวินัยหลงงงงายสำคัญผิดในธรรมว่าได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว] ภาวะอันไม่ถูกต้องดังกล่าวนี้ เกิดจากการเตรียมตัวไม่ถึงพร้อมด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างแท้จริง ผิดทางตั้งแต่ไม่รักษาสมทานศีลอย่างถูกขั้นตอน ศีลวิบัติ มีตั้งใจอย่างผิดๆ มิจฉาสมาธิ มีความเห็นไม่ชอบด้วยธรรม มิจฉาทิฏฐิ แล้วตามด้วยความนึกคิดดำริที่ผิดๆ มิจฉาสังกัปปะ อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎี ก็น่าจะพอเข้าใจกันได้พอสมควร แต่ในทางปฏิบัติ ต่างไม่นำพาชักกันไปปฏิบัติได้จริงเลย ฟังคำแนะนำมากแต่ไม่นำไปปฏิบัติ ก็สูญเปล่าอย่างไร้ค่า เพราะพระธรรมของพระศาสดาทั้งหลาย ต้องพิสูจน์ให้รู้จริงเห็นจริง [ญาณทัสสนะสหรคตด้วยญาณในวิปัสสนา] ไม่ใช่เรื่องมานั่งเทียนคิดเอาเองอันไม่สมควร อีกไม่นานก็ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงโดยวิปริตโดยแท้ อันน่าเสียดายเวลาของชีวิตที่เสียไปวันกับลมหายใจที่ไร้ค่าเปล่า ถ้าบุคคลสำนึกคิดได้ว่าตนเองก็ตายเป็นเหมือนกันเช่นคนอื่นแล้ว ย่อมไม่เกิดความประมาทในชีวิต เมื่อได้รู้ได้เข้าใจพระธรรมในบางส่วนของพระตถาคตดีแล้ว ก็กำหนดไว้ในใจด้วยการเจริญ มรณัสติมรณัสสติ (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐) คือ มรณสติระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม เกิดความไม่ประมาทและไม่หวาดกลัว คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจและทำความดี และยอมเชื่อด้วยศรัทธาและฉันทะอันแรงกล้าในธรรมแห่งธรรมชาติ กฎแห่งกรรม [กัมมสัทธาวิปากสัทธา] และ กัมมัสสกตาสัทธา [กฎแห่งสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นตน] และยังต้องประกอบด้วยความเชื่อด้วยใช้เหตุผล ในความเชื่อความศรัทธา ๔ ประการ [สัทธา ๔] ได้แก่ (๑) อาคมนสัทธา คือ ความเชื่อความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี (๒) อธิคมสัทธา คือ ความเชื่อมั่นในพระอริยบุคคล ที่เข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ (๓) โอกัปปนสัทธา คือ ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่ว เมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง (๔) ปสาทสัทธา คือ ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟังพระธรรมอย่างถูกต้อง
ฉะนั้น ปัจจัยทั้งหลายที่ได้กล่าวบรรยายมาข้างต้นทั้งหลายนั้น เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้ผู้ถือปฏิบัติด้วยปฏิปทาอันยิ่ง ให้ก้าวหน้าและสร้างสมบุญบารมีอย่างถูกต้อง ไม่ต้องไปเสียเวลาค้นหาอะไรเพิ่มเติมจนเกิดการฟั่นเฟือน เป็นจิตหวั่นไหว ฟุ้งซ่านไป สัดส่ายไป ไม่เป็นกระบวนท่าของผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่เมื่อเข้าใจดีแล้ว แล้วยังลังเลไม่ลงมือทำจริงสักที ก็รอไว้ชาติหน้าว่างๆ ก็แล้วกัน เพราะบุคคลนั้น มี อวิชชา ครอบงำจิตใจเป็นทุนเดิมอีกเช่นเดียวกัน ไม่เกิดปัญญาขึ้นตามเป็นจริง แม้จะได้ฟังได้อ่านพระธรรมที่ถูกต้องดีแค่ไหนก็ตาม ก็ยังเหมือนเดิม คนเหล่านี้ เป็นอันตรายต่อสมาธิของผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพราะแม้เรื่องสนทนาก็กลายเป็นเรื่องออกนอกทาง มัชฌิมาปฏิทา [ไม่อยู่ในวัตถุกถา ๑๐] มักเป็นเรื่องชักชวนพาไปนรกอบายภูมิ มากกว่าไปสู่เรื่องพอกพูนความเจริญในทางธรรม ยิ่งคบหาสมาคมด้วย ยิ่งทำให้เสียเวลา เพราะทุกวันมันแก่ชราพยาธิลงไปเรื่อย แล้วขอถามว่า เคยจะตายมาบางแล้วยัง ก็เอาให้ถึงขั้นได้สั่งลาคนรอบข้างกัน มาดูใจกันรอบสุดท้าย แล้วเสือกไม่ตาย แล้วคิดอย่างไงต่อหลังจากนั้น สัก ๒๓ วัน ห่างวันใกล้ตายอย่าให้นาน ลองหวนคิดให้ดี วันนี้อาจเป็นวันตายครั้งใหม่ครั้งสุดท้ายก็ได้ แล้วเตรียมเสบียงธรรมไว้เดินทางไปปรโลกดีแล้วหรือยัง ท่านผู้เจริญ ผู้มีอาวุโส อย่ามีอายุยืนเพราะกินข้าวกินกามเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องที่บัณฑิตและพระอริยเจ้าสรรเสริญ ไม่ว่าผีสาง เทวดา หรือ สมณะ ต่างกลัวคนปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามคำสอนของพระศาสดา ความตายไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่สำหรับคน ๓ จำพวก ดังกล่าว เพราะในกลุ่มแรก ต่างเป็นผีอยู่แล้ว ส่วน ๒ กลุ่ม หลังนี้ เป็นเทวดาเดินดินและยังปฏิบัติธรรมเช่นกัน อีกไม่นานถ้าตาย ก็อาจเป็น วิสุทธิเทพ [พระอรหันต์] ได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ไม่ได้ ก็ก่อนตายก็ให้จิตตกอยู่ในภูมิ พรหมโลก [รูปพรหมภูมิ: ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน] ก่อนก็แล้วกัน ถ้าหายใจเฮือกสุดท้าย ไม่คิดอะไรมาก [แบ่งมรดกในพินัยกรรมเสร็จพอดี โล่งใจ ไม่ติดใจอะไรอีก ให้สมควรหมดแล้ว เกิดปีติเห็นความเป็นอนัตตาพอดี] พอดีจิตตกไปอยู่ในภาวะสงบสงัดเย็นทั้งกายและจิตปราศจากนิวรณ์ มีอายุมาตั้งนานมาได้ดีที่ลมหายใจเฮือกสุดท้าย ก็ขอลาจุติไปปฏิสนธิในชั้น รูปพรหม ก็แล้วกัน ในทางกลับกัน ถ้าหายใจตั้งแต่ตอนนี้ คิดให้ได้เหมือนเมื่อกี้นี้ แล้วไม่ตายง่ายๆ อีกหลายปี จะไม่ได้ขั้นพระอนาคามีหรือ ธรรมเริ่มที่ลมหายใจของตนเอง อย่าหายใจทิ้งอย่างไร้ค่าเพื่อพอกพูนกิเลสอยู่อีกเลย เวลามันใกล้จะหมดแล้ว ลองคิดใหม่ถ้าจะตายคืนนี้ ยังต้องคิดอะไรอีก ที่มันเป็นจริงในชีวิตที่ไปปรโลกภพหน้า รับรองไม่ตายขาดสูญหรอก โลกหน้ามีจริง เรื่องนี้ ผู้เขียนบรรยายไม่ได้เป็นผู้ยืนยันเอง แต่พระตถาคตตรัสสอนไว้ในเรื่อง ทิฏฐิสัมปทา ไว้ดีแล้ว เป็นเรื่องที่ คิดถูกต้องคิดไม่ผิด ดังนี้
ทิฏฐิสัมปทา หมายถึง ความเห็นว่า (๑) ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล (๒) การบูชาย่อมมีผล (๒) การบวงสรวงย่อมมีผล (๓) ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ (๔) โลกนี้มีอยู่ (๕) โลกอื่นมีอยู่ (๖) มารดามีอยู่ (๗) บิดามีอยู่ (๘) สัตว์ที่จุติและอุบัติมีอยู่ (๙) สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีอยู่ในโลก (๑๐) สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก
แล้วยังจะไม่เชื่ออีกหรือ ที่พวกโฆษณาโง่หลอกให้ซื้อของทำไมไปเชื่อพวกมัน นี่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว ยังไม่เชื่อ ทำตาเหลือก ทำเป็นเก่งกว่าด้วยถือมานะ ถ้าแน่จริง เวลาตายอย่าเอาไปเผาที่วัดดูสิ โยนทิ้งแถวถังขยะข้างถนนไม่ดีกว่าหรือ เพราะวัดก็คือสถานที่เผยแผ่พระธรรมมากกว่ามาปวดหัวกับพวกนอกศาสนา มาตายให้รกวัดเปล่า เพราะอย่างไงก็ไม่เชื่อพระธรรมของพระศาสดาอยู่แล้ว เสียเวลาเปล่า เสียเงินใส่ซองเปล่าๆ เอาเงินนั้นไปช่วยเด็กกำพร้าหรือบ้านคนชราดีกว่า ได้ประโยชน์มากกว่ากัน มันเป็นเรื่องแปลก ที่พวกไม่มีศาสนาตาย เอาไปเผาในวัด เอาไปทิ้งกองขยะดีกว่า ก็ลองคิดพิจารณาดูให้ดี พวกไม่เคยสร้างความดีให้ตนเองและสังคม เป็นพวกไร้ค่า เหมาะนำไปทำปุ๋ยให้ต้นไม้ ไม่มีคุณค่าความเป็นมนุษย์ เพราะไม่ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ ทั้งที่มีโอกาสทำได้ แต่เลือกไม่ทำ บ้าหากินจนเป็นบ้าอีกรอบ คิดหาประโยชน์ทุกขณะ ครบพระยังขอหวยเป็นค่าตอบแทน เป็นต้น พระรำคาญโยนกล้วยกับเงาะใส่กระบาลให้ ยังแถบตีใบ้เป็นหวยได้อีก กล้าย ๙ เงาะ ๕ ไปซื้อหวยบน ๙๕ ล่าง ๕๙ แถบถูกหวยได้ ซื้อข้าวของถวายกันใหญ่ พระรูปนั้น อาจเป็นเจ้าหน้าที่กองฉลากเก่าในชาติที่แล้วระดับเจ้าพ่อก็ได้ ไม่ขอยืนยันเล่าสู่กันฟังตามแบบชาดก ทำอะไรก็ตีเป็นหวยถูกทุกงวดก็ได้ เจ้ามือหวยใต้ดินคงเปล่าไว้เป็นเสี้ยนหนามแน่กระมัง นรชนเหล่านี้มีกรรมขึ้นแก่กัน หนี้กันไม่พ้น เพราะเข้ากับทฤษฎี สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน มิฉะนั้น ก็ให้คิดไปตามแนวที่ว่า อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด ทุกอย่างมันไม่มีจริง เราไม่ใช่เจ้าของ เราบัญชาให้เป็นไปตามที่นึกคิดได้ไม่ มันเป็นโลกแห่งสังขตธรรม โลกแห่งการปรุงแต่งขึ้นด้วยจิตของผู้นั้นเอง ต่างคนต่างคิดต่างเป็นไปตามอำนาจแห่งกิเลสตัณหา นั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ประการสุดท้ายนี้ อย่าลืมเรื่อง (๑) ญาณทัสสนะ [สติสัมปชัญญะยถาภูตญาณทัสสนะ: ปัญญารู้เห็นไปตามเป็นจริงตามธรรมชาติ] กับ (๒) สัมมาทิฏฐิทิฏฐิสัมปทา [ปัญญาในวิปัสสนาที่เป็นตาม ยถาภูตญาณธรรมฐิติธัมมัฏฐิติญาณ: ปัญญาเห็นธรรมตามหลักปัจจยาการ] องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติธรรมนั้น ก้าวไปอย่างถูกต้อง ไม่หลงทิศหลงทาง ออกนอกลู่นอกทาง แทนที่จะเป็น วิชชา กลับไปเป็น ดิรัจฉานวิชา ไป เพราะความไม่รู้จริงด้วย วิปัสสนาภูมิภูมิปัญญา ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการมนสิการกรรมฐาน [กรรมฐาน ๔๐: สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา ได้แก่ (๑) กสิณ ๑๐ (๒) อสุภะ ๑๐ (๓) อนุสติ ๑๐ (๔) อัปปมัญญา ๔ (๕) อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ (๖) จตุธาตุววัฏฐาน ๑ (๗) อรูป ๔ ให้สังเกตว่า รูปฌาน ๔ ไม่ถืออยู่ใน กรรมฐาน ๔๐ นี้ แต่ถือเป็นปฏิปัตติธรรมที่ต้องทำให้ได้ เพื่อเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา ถ้าไม่ได้ถึง ฌานแห่งอารัมมณูปนิชฌาน คือ การเพ่งอารมณ์ใน กรรมฐาน ๔๐ นี้ เน้น อานาปานสติสมาธิ ก่อน ก็จะเข้าสู่ ฌานแห่งลักขณูปนิชฌาน คือ การเพ่งสามัญลักษณะโดยไตรลักษณ์ ย่อมทำได้ยาก เพราะผิดขั้นตอน ที่ต้องปฏิบัติไปตามลำดับ] ทั้งหลาย อย่าลืมว่า การปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสสนาก็ตาม ต่างเรียกว่า ฌาน [Meditation] หมายถึง การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ซึ่งตามแนวปฏิบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เน้น สมาธิประกอบด้วยปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริง [ญาณทัสสนะยถาภูตญาณ] โดยมีจุดหมายสูงสุด คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ และกิเลสทั้งปวง เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารทุกข์แห่งภวจักรทั้งหลาย ข้อประพฤติปฏิบัติอันยิ่งนี้ คือ ขั้นตอนอันเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดา ไม่ใช่คำสอนจากพระอริยสาวกของพระตถาคต ที่เป็นคำแนะนำให้เป็นอุบายวิธีที่แยกคายและตรงกับจริตความหนาบางของกิเลสแต่ละคน เพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จในการบรรลุธรรมเร็วขึ้น ข้อสำคัญ คือ อย่าสุดโต่งในการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน [มานะ ๓ (พระศาสดาตรัสคู่กับ ตัณหา ๓): ความถือตัว ได้แก่ (๑) มานะ ความถือตัวอยู่ภายใน โดยมีตัวตนที่ต้องคอยให้ความสำคัญ ที่จะพะนอจะบำเรอจะยกจะชูให้ปรากฏหรือให้เด่นขึ้นไว้ อันให้คำนึงที่จะแบ่งแยกเราเขา จะเทียบ จะแข่ง จะรู้สึกกระทบกระทั่ง (๒) อติมานะ ความถือตัวเกินล่วง โดยสำคัญตนหยาบรุนแรงขึ้นเป็นความยกตัวเหนือเขา ดูถูกดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่น (๓) โอมานะ ความถือตัวต่ำด้อย โดยเหยียดตัวลงเป็นความดูถูกดูหมิ่นตนเอง] เพราะเป็น การขัดขืนอริยะแห่งธรรมชาติ และธรรมชาติก็มีความเป็นไปตามธรรมชาติ เพียงแต่ว่า มนุษย์จะเข้าใจธรรมชาตได้ดีแค่ไหน คือ มีปัญญาประกอบด้วย (๑) ยถาภูตญาณทัสสนะ กับ (๒) สัมมาทิฏฐิทิฏฐิสัมปทา นั่นเอง และข้อคิดประการหนึ่ง คือ มนุษย์ไม่เก่งเกินธรรมชาติได้จริง เพราะมนุษย์แพ้ภัยตนเอง คือ ความตายมรณะ ก็ให้ยอมตายซ่ะ ตามเวลาอันควรแก่กาล แต่ก่อนตาย ก็อย่างที่ว่า ทำความดีด้วยการเข้าถึงธรรมวิเศษตามที่พระศาสดาทางสอนไว้ คำว่า อมตะอมตธาตุ มีความหมายเป็น นิพพานนิพพานธาตุ เท่านั้น ไม่ต้องมาเกิดอีก [ชาติRebirth ในปฏิจจสมุปบาท] ฉะนั้น ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นเรื่องของการใช้เวลาศึกษาค้นคว้าวิจัยธรรมเหล่านั้นจริงๆ ถึงจะรู้แจ้งเห็นจริง ดังที่พระพุทธองค์ทรงดำเนินแนวทางเป็นตัวอย่างที่ดีพร้อม ไม่มีมนุษย์ใดเสมอพระองค์ไม่ เสียการเปล่าที่จะไปสร้างนิกายใหม่ๆ ขึ้นมาให้รกโลก เพื่อหาสาวกผู้จนปัญญาเข้าไปศรัทธาเลื่อมใส พอไปถึงที่สุดแห่งธรรม ก็วกกลับมาที่พระธรรมของพระศาสดาอีก ถ้ายังไม่ตายก็พอกลับตนได้ทัน แต่พวกโชคร้ายตายก่อน ก็น่าเวทนาสังเวชเพราะกรรมแห่งตนชักนำไปหาภูมิอันต่ำเอง ไม่ยอมใช้เหตุผลประกอบด้วยปัญญาของตนเองอย่างถูกวิธี [โยนิโสมนสิการ] แทนที่จะเกิดปัญญาเห็นธรรม เห็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตน กลับย้อนศรว่าตนฉลาดขึ้นไปอีก ก็โดนอวิชชากิเลสเล่นงานเข้าให้ พ่อแม่ลูกเมียหรือผัวไปเตือนก็ไม่เชื่อ ว่าตนเองหลุดพ้นแล้ว ไปเสียอย่างนั้น ก็ให้นิมนต์พระไปสวดบังสุกุลเป็นบังสุกุลตายให้เลยดีกว่า เพราะสุดท้าย ก็กลายเป็นร่างทรง เพิ่มยอดสถิติที่สุดแห่งที่สุดอีกยอดของโลก นี้คือผลงานในระดับโลกอีกเช่นกัน ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังไม่ใช่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความจริงก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างถูกวิธี เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างสมประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ ที่จะต้องมีต้องใช้ตลอดชีวิต เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในสังคม คนที่ด้อยโอกาสที่จะเข้าถึงความจริง จึงเป็นกลุ่มคนที่เสียโอกาสอย่างน่าเสียดาย เรียนสูงก็ไม่ได้ ไม่เรียนก็ผิดกฎหมาย ก็เลยกลายเป็นผีดิบกันส่วนใหญ่ พอไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ภูมิปัญญามีไม่ถึงไม่ควร ก็เลยพากันสร้างสังคมที่ด้อยคุณภาพมากกว่ามีคุณภาพที่สมควร ให้สังเกตการแสดงความเห็นในสังคมเครือข่าย ที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะเป็นวัฒนธรรมใหม่ของโลก เวลามีอะไรที่รู้ไม่จริงก็พากันแตกตื่นทำหน้าที่ส่งข่าวที่ผิดถึงกัน คือ โง่อย่างทั่วถึง กลัวจะโง่ไม่เท่ากัน แต่ที่สำคัญ คนส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะใช้สื่อเครือข่ายสังคมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ คือ เป็นตาทิพย์เป็นหูทิพย์ ที่จะศึกษาค้นคว้าความรู้จากโลกอินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธี ความมีเชาว์ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ ดังกล่าวนี้ ก็เกิดจากจิตที่เป็นสมาธินั่นเอง คือ (๑) การเกิด ญาณทัสสนะ กับ (๒) การเกิด ปัญญาหยั่งรู้ [ญาณ] ในเรื่องราวทั้งหลาย โดยใช้เหตุผลถูกวิธี มีปัญญาเป็นหลักสำคัญ ขั้นตอนการพัฒนาสมาธิและการพัฒนาปัญญาดังกล่าวนี้ คือ การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่ถูกวิธี ไม่ใช่เกิดสอนอบรมกันอย่างผิด ไม่เกิดผลอย่างแท้จริง นั่นคือ (๑) ไม่เกิดความรู้ความเห็นที่เป็นจริง (๒) ไม่เกิดปัญญาไหวพริบปฏิภาณ หรือว่า ทั้งผู้สอนและผู้เรียนก็พอๆ กัน ที่เรียกว่า ชนผู้หลงทิศ ได้เวลามารวมกันที่จุดนัดพบ เช่น แถวปั้มน้ำมัน เปลี่ยนมาเป็นวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรม สิ่งเหล่านี้ ก็เป็นเรื่องที่ควรสอนฝึกอบรมให้ปฏิบัติได้จริงตั้งแต่ในโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย รวมทั้งวัดต่างๆ ต้องรับผิดชอบในเรื่องทำคนให้ฉลาด เป็นผลเมืองที่มีคุณภาพ ไม่ใช่เจอหน้าแจกซองผ้าป่าร่ำไป พอเจอแล้วหัวใจเดาะ เกิดความเบื่อหน่ายในวิธีคิดและการกระทำที่ผิดไปจากพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดา ที่มีวาระซ่อนเร้นในการใช้พระศาสนาผิดทาง ไม่เป็นไปตามหลักความจริงแห่งปัญญาใน มัชฌิมาปฏิปทา อย่าลืม ป้าแหยงเจ้าเก่าบ้านข้างวัดฝากมาว่า: อย่าพากันทิ้ง ญาณทัสสนะ กับ สัมมาทิฏฐิ เป็นเด็ดขาด แก่ฝากให้ละอายใจในการทำชั่วด้วย ก็เป็นความจริงแค่นี้.
|