๑๑๔. อัตตนาถะคุณชาติแห่งภาวนา Ones Own Welfare as Virtues for the Mental Development
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
วิถีทางในการปฏิบัติธรรมนั้น จะมีครูดีและตำราดีเท่านั้น ก็ยังไม่พอ ที่จะเอื้อให้บุคคลประสบความสำเร็จได้อธิคมธรรมได้ ต้องประกอบถึงพร้อมด้วย สมาธิดีปัญญาดี อีกต่างหาก ไม่เกี่ยวข้องกับบุญวาสนาโดยตรง แต่เป็นเรื่องการสร้างกรรมดีในปัจจุบัน ที่เรียกว่า ความขยันความอดทน ซึ่งเป็นบุญตัวใหญ่ที่จะพลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด ในบางคนถือว่าตนมีอาจารย์ดี คิดว่าเมื่อไหร่ก็น่าจะบรรลุธรรมวิเศษได้ เลยเกิดความประมาทชีวิต นึกว่าตนจะมีอายุยืนยาวเกินมนุษย์ทั่วไป สุดท้ายตายก่อนที่จะได้อธิคมธรรม ชาวบ้านเรียกว่า เสียชาติเกิด ทั้งที่มีโอกาสดีกว่าคนอื่นๆ อีกข้อหนึ่ง ให้ผู้ปฏิบัติธรรมควรพึงระวังเวลาเข้าใกล้พวกที่อยู่ใกล้พระอริยสงฆ์หรือพระเถระผู้ใหญ่ อย่าได้วางใจคนพวกนี้ ให้คิดว่าเป็นพวกปรสิต [Parasites] หรือ ผู้ที่เกาะคนอื่นกินอาศัยบารมีของท่านผู้เจริญแล้ว เพื่อคอยหาโอกาสดึงผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้เห็นเข้าใจเอาเอง อย่าได้วางใจโดยเด็ดขาด เพราะเรามาถือศีลบำเพ็ญพรหมจรรย์และวิปัสสนา [เจริญสมณธรรมและสมธรรม] ในยุคสมัยใหม่นี้ แหล่งค้นคว้าความรู้มีช่องทางเข้าถึงมากมาย ไม่ได้จำกัดโอกาสการเข้าถึงอย่างเช่นสมัยยุคพุทธกาล ที่ต้องฟังจากปากของพระศาสดาหรือพระอริยสาวกของพระองค์ สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่มีมากมายหลายรูปแบบ ที่นำเสนอแนวปฏิบัติธรรมในหลายวิธี ซึ่งน่าจะเรียกว่า อุบายวิธีเฉพาะบุคคล ที่ช่วยให้ฝึกตนได้รวดเร็ว และให้เป็นไปตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น อย่าหลงประเด็น ไปเกิดความศรัทธาผิดทาง กลายเป็นความหลงใหล ความลุ่มหลง ที่ขาดสติสัมปชัญญะ ไม่ใช้เหตุผลที่ประกอบด้วยปัญญาที่รู้เห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง [ไม่คิดอย่างถูกวิธีที่ฉลาดตามหลักปฏิจจสมุปบาท = โยนิโสมนสิการ] ฉะนั้น คำแนะนำอันเป็นอุบายวิธีของบรรดาเหล่าสาวกของพระตถาคตนั้น อย่าพึงไปปักใจหลงเชื่อทันที พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ยึดหลักอย่าไปเชื่ออะไรง่ายๆ ตาม กาลามสูตร ๑๐ โดยเฉพาะ คัมภีร์และผู้ถือเป็นครูของตน อายุไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่บ่งบอกถึงระดับความฉลาดหรือผู้มีปัญญา แต่ สัญญา ที่บุคคลนั้นสั่งสมปัญญาบารมีมาหลายภพหลายชาตินั้น ก็ต้องยกประโยชน์ให้บุคคลนั้นไป ว่ากันไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่า บุญบารมีอย่างแท้จริง ไม่ใช่พรสวรรค์หรือเทพประทานหรอก สร้างเอาเองทั้งนั้น ที่เรียกว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนอัตตนาถะ คือ มีกำลังดี ๑ มีจิตดี ๑ มีปัญญาดี ๑ [ศีลสมาธิปัญญา] องค์ประกอบทั้ง ๓ ประการ นี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติธรรมมีความหมายเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง โดยให้ถือมั่นตนเองเป็นศูนย์กลางแห่งปัญญาทั้งหลาย ที่เรียกว่า ธรรมกาย หมายถึง ชุมนุมแห่งธรรม คือ ธรรมกายย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ที่เหลือนอกจากนี้ไป ก็ให้ท่านหลายพิจารณาเพิ่มเติมให้ตรงกับจริตของตน ด้วยประการฉะนี้.
บทความที่ ๑๑๔ ประจำปี ๒๕๕๘ อัตตนาถะคุณชาติแห่งภาวนา
ผู้อ่อนแอเพราะสิ้นหวังไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ก็มักหันหน้าไปพึงสิ่งที่อยู่เหนืออำนาจธรรมชาติ ที่เรียกว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ [Sacred Powers] ก็จะไหว้เคารพบูชานับแต่สิ่งใดก็ได้ที่เป็นความเชื่อถือของกลุ่มพวกตน เผ่าชาติพรรณ หรือ สังคมนั้นๆ อย่างเช่น คนสมัยพุทธกาลมี เทวดา [Gods] เป็นสิ่งที่นับถือเป็นทักขิไณยของตนๆ ซึ่งพอประมวลได้เป็น ๕ ประเภท ดังนี้ (๑) นักบวชนักพรต [Ascetics] เช่น อาชีวกเป็นเทวดาของสาวกอาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ปริพาชก ดาบส ก็เป็นเทวดาของสาวกนิครนถ์เป็นต้นเหล่านั้น ตามลำดับ (๒) สัตว์เลี้ยง [Domestic Animals] เช่น ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาช้าง ม้า โค ไก่ กา เป็นต้น ก็เป็นเทวดาของพวกถือพรตบูชาสัตว์นั้นๆ ตามลำดับ (๓) ธรรมชาติ [Physical Forces and Elements] เช่น ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาไฟ แก้ว มณี ทิศ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาสิ่งนั้นๆ ตามลำดับ (๔) เทพชั้นต่ำ [Lower Gods] เช่น นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชานาค ครุฑ ยักษ์ คนธรรพ์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชานาคเป็นต้นเหล่านั้น ตามลำดับ [พระภูมิจัดเข้าในข้อนี้] (๕) เทพชั้นสูง [Higher Gods] เช่น พระพรหม เป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาพระพรหม พระอินทร์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาพระอินทร์ เป็นต้น
ในการเคารพนับถือ การกราบไหว้บูชา หรือ การเซ่นไหว้ด้วยเครื่องสักการะ นั้น เป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่หมายถึง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่างมนุษย์กับเทวดาทั้งหลาย ถ้าไม่ได้ผลประโยชน์ พวกมนุษย์ก็ไม่ยอมเสียของ เช่น ไหว้ผีเทวดาต้นไม้ด้วยเครื่องเซ่นไหว้เพียงเล็กน้อย ดังเช่น เหล้า ยา ปลาปิ้ง ขนม ของหวาน แล้วขอหวยรางวัลที่ ๑ เป็นต้น เป็นการเอาเปรียบพวกเทวดา แบบหน้าด้านๆ เป็นการค้าเถื่อนและหนีภาษี ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองผีเทวดา สุดท้ายผีก็หลอกคน และคนก็หลอกผี คิดชั่วพอๆ กัน ถ้าเป็นผีขาใหญ่ระดับเสาหลักเมือง ก็เพิ่มการเซ่นไหว้มากขึ้นไปอีก เพราะท่านมีระดับไม่ธรรมดา เส้นสายท่านใหญ่ ติดต่อผ่านผีเสาหลักเมืองจังหวัดใกล้เคียงได้ หรือมีเส้นถึงระดับกระทรวง ทบวง กรม ได้ ก็อาจะถึงมีมหรสพหรือละคร หรือต้องจัดเลี้ยงโต๊ะจีนไปเลย โดยเฉพาะคนสมัยใหม่ที่อยากสอบบรรจุติดข้าราชการทหารหรือผลเรือน หรือ สอบบรรจุครู แต่ปัจจุบันก็หันไปใช้บริการพวกนายหน้าโจรหรือทนายโจรวิ่งเส้นสายแทน ทั้งได้หรือไม่ได้ว่าไปตามโอกาสที่หลอกพวกเหยื่อหน้าโง่ได้ เรื่องทั้งหมดที่ยกเป็นตัวอย่างบรรยายมาข้างต้นนั้น เป็นความเชื่อไม่ประกอบด้วยเหตุผล เป็นความเชื่อของพวก ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ [ติตถายตนะ] ได้แก่ (๑) ลัทธิกรรมเก่าปุพเพกตเหตุวาทปุพเพกตวาท คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน (๒) ลัทธิพระเป็นเจ้าอิสสรนิมมานเหตุวาทอิศวรกรณวาทอิศวรนิรมิตวาท คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่ และ (๓) ลัทธิเสี่ยงโชคอเหตุอปัจจัยวาท คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ คือ ถึงคราวก็เป็นไปเองไม่ได้เชื่อตามหลัก (๑) กฎแห่งกรรม ได้แก่ กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง กับ วิปากสัทธา คือ เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง และ (๒) กฎกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตา] ได้แก่ กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของกรรมของตนที่ได้ทำไว้ ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน สำหรับความเข้าใจที่ถูกต้องลึกซึ้งดังกล่าวนี้ ย่อมเกิดจากปัญญาที่เห็นธรรมในการฝึกฝนปฏิบัติภาวนากรรมฐาน ที่เรียกว่า วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ คือ ธรรมที่เป็นภูมิของปัญญา ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓ [กาล ๓]สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตา] ดังนี้
(๑) ปัญญาเห็นธรรมด้วยนามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรม และนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม โดยเป็นปัญญาที่เห็นธรรมตามหลัก อริยสัจจ์ ๔ อันเหมายถึง อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นั่นคือ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในคำว่า ทุกข์ทุกขตา [ทุกขอริยสัจจ์] และสามารถอธิบายถึงภาวะหรือสภาวธรรมดังกล่าวนั้นได้จริง ด้วยธรรมที่มาสัมปยุตต์กันตามนัยแห่ง ปรมัตถสัจจะ [อภิธรรม] ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ อีกนัยหนึ่ง ปัญญานี้เกิดจากการรู้เห็นด้วย ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓: ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ) คือ ความระลึกชาติได้ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ อันเกิดจากการได้บรรลุถึง จตุตถฌาน
(๒) ปัญญาเห็นธรรมด้วยปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น โดยเป็นปัญญาที่เห็นธรรมตามหลัก อริยสัจจ์ ๔ อันเหมายถึง สาเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นั่นคือ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในคำว่า สาเหตุแห่งทุกข์ทุกขตา [ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์] และสามารถอธิบายถึงภาวะหรือสภาวธรรมดังกล่าวนั้นได้จริง ด้วยธรรมที่มาสัมปยุตต์กันตามนัยแห่ง ปรมัตถสัจจะ [อภิธรรม] ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓ [กาล ๓]สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตา] อีกนัยหนึ่ง ปัญญานี้เกิดจากการรู้เห็นด้วย จุตูปปาตญาณ ทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓: ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ) คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย อันเกิดจากการได้บรรลุถึง จตุตถฌาน เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม คำอธิบายเกี่ยวกับ ญาณในวิปัสสนา (ข้อ ๑ ในวิชชา ๘: ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ) ทั้ง ๒ นั้น ดูแล้วเหมือนสิ่งที่ได้มาง่ายๆ แต่ในความเป็นหมายถึง การใช้เวลาทั้งชีวิตก็ได้ ที่จะสามารถบรรลุถึงฌานได้ ได้แก่ (๑) ปฐมฌาน: วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌาน: ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌาน: สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌาน: อุเบกขาเอกัคคตา ซึ่งธรรมทั้งหมดนี้ จัดเป็นธรรมในฝ่ายสมถภาวนากรรมฐาน อันประกอบด้วยการปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมาย [ปฏิปทา ๔] คือ ความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึง ข้อ ๑ ที่เรียกว่า ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ดังนี้
ปฏิปทา ๔ หมายถึง แนวปฏิบัติทางดำเนินการปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมาย คือ ความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ ได้แก่ (๑) ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา [ปฏิปทาทราม] คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ แรงกล้า ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นอยู่เนืองๆ หรือ เจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น อีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อน จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค ล่าช้า พระจักขุบาลอาจเป็นตัวอย่างในข้อนี้ได้ (๒) ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา [ปฏิปทาทราม] คือ ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ แรงกล้า ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นอยู่เนืองๆ หรือ เจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น แต่มีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค เร็วไว บาลียกพระมหาโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง (๓) สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา [ปฏิปทาทราม] คือ ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นเนืองนิตย์ หรือ เจริญสมาธิได้ ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต แต่มีอินทรีย์อ่อน จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค ล่าช้า (๔) สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา [ปฏิปทาประณีต] คือ ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นเนืองนิตย์ หรือ เจริญสมาธิได้ ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค เร็วไว บาลียกพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง
ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจที่ถูกต้องถึง ความเป็นมาของชีวิตที่สืบเนื่องในวัฏฏะแห่งภวจักร [ชีวิตสันตติ] นั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่จะดำเนินการวิปัสสนาได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้นไป ที่เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ หมายถึง การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานที่วิปัสสนาดำเนินไป คือ การมองดูรู้เข้าใจ [ คำว่า สัมมสนะ มักแปลกันว่า พิจารณา = สัมมสนญาณ] หรือรู้เท่าทันสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็น อนิจจังทุกขังอนัตตา อันดำเนินไปโดยลำดับ จนเกิด ตรุณวิปัสสนา [มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป [สัมมสนญาณ (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์] จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๔ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไปล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด] ซึ่งเป็นพื้นของการก้าวสู่วิปัสสนาที่สูงขึ้นไป คำว่า ตรุณวิปัสสนา [ข้อ ๑๔ ในญาณ ๑๖] หมายถึง วิปัสสนาอย่างอ่อน ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณสังขารปริจเฉทญาณ = ทิฏฐิวิสุทธิ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗) (๒) ปัจจยปริคคหญาณกังขาวิตรณญาณธัมมัฏฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ = กังขาวิตรณวิสุทธิ (ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗) (๓) สัมมสนญาณ = มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗) และ (๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณมัคคามัคคญาณ = มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ อนึ่ง ข้อ ๓ข้อ ๔ นี้ จัดเป็นญาณใน วิปัสสนาญาณ ๑๐ = ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗) ได้แก่ สัมมสนญาณอุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ หรือ ข้อ ๔ จัดเป็นญาณใน วิปัสสนาญาณ ๙ = ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗) ได้แก่ อุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ ส่วน ญาณ ๔ ได้แก่ ภยตูปัฏฐานญาณอาทีนวญาณมุญจิตุกัมยตาญาณสังขารุเปกขาญาณ จัดเป็น พลววิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่มีกำลัง หรือ วิปัสสนาแข็งกล้า เพื่อจะทุบขันธ์ ๕ นั่นเอง และถัดต่อจากนั้น ก็จะคั่นด้วย โคตรภูญาณ (ข้อ ๑๓ ในญาณ ๑๖) เพื่อข้ามเข้าสู่โลกุตตรภูมิ ที่เรียกว่า อริยมรรค ๔ (มรรค ๔) นั้น หมายถึง ญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๗ ในวิสุทธิ ๗) แล้วตามด้วย อริยผล ๔ (ข้อ ๑๕ ในญาณ ๑๖) และ ปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๑๖ ในญาณ ๑๖) เป็นอันดับสุดท้าย เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกขั้นตอนในการปฏิบัติธรรมว่า ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา [ปฏิปทาทราม] คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เพราะเป็นคนมีกิเลสหนามาก นั่นเอง
ฉะนั้น การเกิดปัญญาในการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทำให้เกิดความเชื่อในศักยภาพของตน ไม่ใช่อำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎี นั่นคือ หลักธรรมที่ถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ: โลกียสัมมาทิฏฐิโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่ความหลงใหลอย่างขาดสติสัมปชัญญะ หรือความไม่รู้จริงแห่ง อวิชชา [Ignorance] หรือ อสัมปชัญญะ: ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันตรงกันข้ามกับ สัมปชัญญะ [Awareness] หมายถึง ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ หรือ มุฏฐสัจจะ: ไม่มีสติ ระลึกตามไปไม่ได้ ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้ นึกไม่ออก จำไม่ได้ ฟั่นเฟือน หลงลืม อันตรงกันข้ามกับ สติ [Mindfulness] คือ สติ: ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ: กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
ในภาคปฏิบัตินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้ฝึกฝนให้มากในการเจริญภาวนากรรมฐาน ที่เป็นปฏิปทาที่ต้องผสมผสานกับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ นั่นคือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ได้แก่ (๑) สติปัฏฐาน ๔ (๒) สัมมัปปธาน ๔ (๓) อิทธิบาท ๔ (๔) อินทรีย์ ๕ (๕) พละ ๕ (๖) โพชฌงค์ ๗ (๗) อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเริ่มต้นที่ถูกต้องด้วยหลักธรรมแรก นั่นคือ สติปัฏฐาน ๔ นั่นคือ การพัฒนาสติให้ดำรงมั่น ที่สัมปยุตต์ด้วยสมาธิเป็นหลัก โดยเริ่มจากการพิจารณาจากฐาน กายานุปัสสนา มี ๖ อาการ ได้แก่ อานาปานสติอิริยาบถสัมปชัญญะปฏิกูลมนสิการธาตุมนสิการนวสีวถิกา เพื่อให้เกิด สมาธิแห่งสมถะ [รูปฌาน ๔ โดยเฉพาะ จตุตถฌาน ทำให้เกิด วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณอาสวักขยญาณ] และ อนุปัสสนา ๓ [วิปัสสนากัมมัฏฐาน] ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา เมื่อเจริญอนุปัสสนาบ่อยๆ ทำให้มาก ทำให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ย่อมเกิดปัญญาใน ๓ อย่าง ได้แก่ ชวนปัญญานิพเพธิกปัญญามหาปัญญา [ปัญญาเร็วปัญญาทำลายกิเลสปัญญามากยิ่งใหญ่] ตามลำดับ ฉะนั้น ปัญญาทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดจากการพึ่งพาตนเองในการหมั่นฝึกฝนตนเองให้เกิดทักษะความเชียวชาญขึ้นให้ได้ ให้พิจารณาถึง สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นด่านแรกของการเจริญภาวนากรรมฐาน ดังนี้
สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ที่ตั้งของสติการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ซึ่งทำให้ลุถึง อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [ยถา ปชานํ] นั่นคือ ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ในความหมายรวมๆ ฉะนั้น การเจริญธรรม มหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นด่านแรกแห่งการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า อริยมรรค ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง นั่นคือ (๑) อานาปานสติ กำหนดลักษณะลมหายใจเข้าออก อัสสาสะปัสสาสะ ควรใช้เจริญฌานในขั้นแรก (๒) อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (๓) สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (๔) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (๕) ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ และ (๖) นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็น สุขก็ดีทุกข์ก็ดีเฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส [มีเครื่องล่อวัตถุ] และเป็นนิรามิส [เป็นอิสระ] ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่ มีราคะไม่มีราคะมีโทสะไม่มีโทสะมีโมหะไม่มีโมหะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒โพชฌงค์ ๗อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
ฉะนั้น การพัฒนาสติในให้ดำรงมั่นเป็นสติที่บริสุทธิ์ได้ด้วย รูปฌาน ๔ ขั้นสูงสุด เรียกว่า จิตประภัสสร ซึ่งจะสหรคตด้วยองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตา แห่งจตุตถฌาน ย่อมเกิดความรู้แจ้งและความรู้วิเศษ [ญาณ ๒วิชชา ๓] หรือความรู้ยิ่งยวด [อภิญญา ๕] ดังนี้
(๑) หมวดอภิญญา [อภิญญา ๕] คือ ความรู้ยิ่งยวด (๑) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๒) หมวดญาณ [ญาณ ๒] คือ ปรีชาหยั่งรู้ปัญญาหยั่งรู้ (๑) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๒) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้
ในปัญญาดังกล่าวนี้ ใช่ว่าทุกคนจะพึงมีได้หรือบรรลุได้อย่างสนุกสนามสำราญใจ แต่กลับเป็นเรื่องปฏิบัติได้ยากลำบากและรู้ได้ผลได้ช้า ที่เรียกว่า ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา บางคนก็สามารถบรรลุได้ในระดับ ปฐมฌานทุติยฌาน [ถ้าตายก่อน ก็อยู่ในภูมินี้ได้ประมาณ ๘๐๐ ปี ต้องกลับมาเกิดใหม่เป็นมนุษย์อีก] ก็ไม่สามารถก้าวหน้าไปสู่ วิปัสสนาภูมิ ได้ กลับไปหลงภูมิใน อบายภูมิ ๔ [จากมนุษย์กลายเป็นใจสัตว์เดรัจฉาน] ก็มี หรือมิฉะนั้น ก็งมโข่งอยู่ใน วัฏฏะ ๓ [กิเลสกรรมวิบาก] อย่างไรก็ตาม ปัญญาเหล่านี้ ก็มีน้อยคนมากที่จะได้ จตุตถฌาน [จิตประภัสสร อันเป็นภูมิของพระอนาคามี ที่ทำให้สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้จากยากไปสู่ง่าย ได้แก่ อันตราปรินิพพายีอุปหัจจปรินิพพายีอสังขารปรินิพพายีสสังขารปรินิพพายีอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี แต่เมื่อมีชีวิตอยู่หรือละสังขารจากภูมิปัจจุบันจะไปเกิดในภูมิ ที่เรียกว่า สุทธาวาส ๕ ได้แก่ อวิหาอตัปปาสุทัสสาสุทัสสีและอกนิฏฐา] ในแนวทางปฏิบัตินั้น สมาธิแห่งรูปฌานนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายสามัญทั่วไป แต่พอลงมือปฏิบัติจริง กลับเป็นเรื่องที่ยากลำบากแสนยาก จนบางคนคิดว่ากลับมาเกิดใหม่ดีกว่า ก็มีเหมือนกัน แต่ถ้าจะเริ่มปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามคำสอนของพระศาสดา หรือตามหลักพระพุทธศาสนานั้น โดยจะต้องถือปฏิบัติอย่างจริงจังตามหลักธรรม ไตรสิกขาสิกขา ๓ [ศีลสมาธิปัญญา] หรือ อริยสัจจ์ ๔ โดยดำเนินปฏิบัติตาม อริยอัฏฐังคิกมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งมีผู้ปฏิบัติธรรม [โยคาวจร] จำนวนมาก มักเข้าใจผิด [ทิฏฐิ] หลงทิศหลงทางปฏิบัติถูกปฏิบัติผิด ออกนอกลู่นอกทางไปจากพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดา ก็เข้าทำนอง คิดเองทำเอง ว่าสิ่งนี้สิ่งนั้นถูกหรือผิด หรือเข้าทางที่ว่า ตัวกูของกู [อัตตาอัตตนิยะ] ซึ่งก็เท่ากับ อวิชชาตัณหาอุปาทาน [กิเลสวัฏฏ์] นั่นเอง จนบางคนของแรงมาก ก็เลยสถาปนาตน [ปฏิสังขรณ์] หรือตั้งตนขึ้นเป็น ศาสดาองค์ใหม่ ก็มีได้เหมือนกัน
ฉะนั้น ในเรื่องของการพัฒนาจิตนั้น ถ้าถือปฏิบัติผิด ก็เป็นบ้า ถ้าถือปฏิบัติถูก ก็เป็นอริยะ ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งขัด ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตและปัญญาทั้งหลาย ที่พากันเป็นบ้าเป็นหลังในการปฏิบัติธรรมนั้น เพราะขาดปัญญาพื้นฐานที่ถูกต้องด้วย สัมมาทิฏฐิ คือ คิดพิจารณาตามสิ่งที่เป็นจริง ตามกำหนดธรรมดา ตามกฎธรรมชาติ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ไตรลักษณ์อริยสัจจ์ ๔โลกุตตรธรรม ๙ รวมทั้ง โพธิปักขิยธรรม ๓๗] เท่านั้น ที่สำคัญ ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาบุรุษอุดมบุรุษโสภณบุรุษ ผู้ได้บรรลุสำเร็จจริงในโลกุตตรธรรมทั้งหลายมาแล้ว เมื่อได้ศึกษาโดย ไตรสิกขาสิกขา ๓ อย่างถ่องแท้แจ่มชัด จนเกิด ปัญญาภูมิ [วิปัสสนาภูมิ] คือ ธรรมที่เป็นภูมิของปัญญา ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓ [กาล ๓]สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตา]
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อที่พึงพิจารณาเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเจริญ สติปัฏฐาน ๔ นั้น นั่นคือ สติปัฏฐาน ๔ ถือเป็น โลกุตตรธรรม [โพธิปักขิยธรรม ๓๗] อีกหมวดหนึ่ง นอกเหนือจาก โลกุตตรธรรม ๙ [มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ และ อาสวักขยญาณ (มีอาการ ๖๔) = ความตรัสรู้สัมโพธะ] เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาสภาวธรรม นั่นคือ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ นั้น ให้ถือเป็นภาวะจิตที่เกิดขึ้นในนิมิตเป็น สังขตะสังขตธรรม [สังขารสังขารธรรม = อภิสังขาร ๓: ปุญญาภิสังขารอปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร (บุญบาปอาเนญชา)] แต่เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาความจริงที่เกิดขึ้นนั้น คือ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ [อภิธรรมธรรมสภาวธรรมปรมัตถสัจจะ] อันเป็นนัยหรืออรรถะที่ใช้นิยามสภาวธรรม [ภาวะจิต] ที่เกิดขึ้น ปรุงแต่งขึ้น ตามเจตนา [สัญเจตนา ๖ คือ ความทรงจำตามประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตที่สั่งสมไว้ในพื้นจิต] ที่ถูกครอบงำหรือกลุ้มรุมจิตใจ [อธิมุตติ: อัธยาศัยความโน้มเอียงความคิดมุ่งไปความมุ่งหมาย] ด้วยกิเลสทั้งหลาย ได้แก่ (๑) วีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบ เช่น กายทุจริต ๓ [มิจฉากัมมันตะ คือ ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม] หรือ วจีทุจริต ๔ [มิจฉาวาจา คือ พูดเท็จพูดส่อเสียดพูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้อ] ซึ่งระงับด้วยการเจริญอธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๒) ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง เช่น นิวรณ์ ๕นิวรณูปกิเลส หรือ อุปกิเลส ๑๖จิตตอุปกิเลส ซึ่งระงับด้วยการเจริญอธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ (๓) อนุสยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด เช่น อนุสัย ๗สังโยชน์ ๑๐อาสวะ ๔โอฆะ ๔โยคะ ๔ ซึ่งระบับด้วยการเจริญอธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ในความเป็นจริง คือ การประพฤติปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา [สิกขา ๓] อันเกี่ยวเนื่องกับ อริยอัฏฐังคิกมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ (ข้อ ๗ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗) คือ ถ้าธรรมข้อนั้นไม่อยู่ใน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือ โลกุตตรธรรม ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมที่ไม่สามารถสนับสนุนหรือเกื้อกูลความตรัสรู้ได้ หรือส่งเสริมให้บรรลุ อริยมรรค ได้
ภาพประกอบ ๑: ความสัมพันธ์ระหว่างนามรูปกับธัมมัฏฐิติญาณและสัมมสนญาณ
จากรายละเอียดภาพประกอบ ๑ นั้น ทำให้ทราบว่า การเกิดปัญญาที่เห็นธรรมหรือสภาวธรรมตามเป็นจริงนั้น ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลักๆ ๒ ประการ ดังนี้
(๑) ปัญญาเห็นธรรม [เอกันตนิพพิทาความหน่ายสิ้นเชิง] (๑.๑) ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ (๑.๒) ธัมมัฏฐิติญาณสัมมทัสสนะอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการ (๑.๓) สัมมสนญาณ [ไตรลักษณ์วิปัสสนาญาณ ๙วิปัสสนาญาณ ๑๐วุฏฐานคามินีปฏิปทา] (๒) ปัญญาตรัสรู้ [วิราคะความคลายกำหนัด นิโรธหมดกิเลสหมดทุกข์ อุปสมะความสงบ อภิญญาความรู้ยิ่ง] (๒.๑) อริยมรรค ๔อริยผล ๔ [อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ญาณ ๓ (สัจจญาณกิจจญาณกตญาณ)] (๒.๒) ปัจจเวกขณญาณ [ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ หรือ มี ๑๙ ประการ] [สัมโพธะความตรัสรู้] (๒.๓) อาสวักขยญาณ [มีอาการ ๖๔] [นิพพานสภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว] (๒.๔) นิพพาน ๒ [สอุปาทิเสสนิพพานอนุปาทิเสสนิพพาน]
อนึ่ง ข้อพึงพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาถึงหลักธรรมคำสอนของพระศาสดา อันเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ ว่าความเข้าใจของตนในขณะนั้น มีความถูกต้องเป็น สัมมาทิฏฐิ หรือไม่ ก็ให้พิจารณาความจริงว่าเป็นไปตาม ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗หลักกำหนดธรรมวินัย ๗ ดังนี้ (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง (๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด (๓) นิโรธ คือ ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบ (๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว
ดังนั้น ขั้นตอนในการปฏิบัติธรรมทั้งหมดนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถศึกษาค้นคว้าธรรมจากพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด คือ เป็นการเตรียมภาคทฤษฎีให้ถึงพร้อมในสภาพอันเยี่ยมก่อนลงมือปฏิบัติในภาคปฏิบัติหรือภาคสนาม เพื่อพิสูจน์ข้อสมมติฐาน [ความนึกคิดที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้าว่าเป็นจริงหรือไม่] ที่เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนของพระศาสดา นั่นคือ การยืนยันหลักธรรมหรือทฤษฎีว่าเป็นจริงหรือไม่ เพื่อเป็นบาทฐานสำคัญให้เกิดความก้าวหน้าในวิปัสสนากัมมัฏฐานที่สูงขึ้นไปอีก ไม่ใช่การก้าวหน้าแบบมีข้อสงสัยที่ประกอบด้วย อวิชชา จนทำให้กรรมฐานล้มได้เช่นกัน เพราะไม่รู้จริงไม่รู้แจ้งในธรรมทั้งหลาย ความเข้าใจในหลักทฤษฎี และทักษะการประยุกต์ใช้หลักธรรมหลักทฤษฎีอย่างถูกต้อง เป็นเรื่อง กระบวนการคิดที่ถูกวิธีด้วย โยนิโสมนสิการ คือ การใช้อุบายวิธีได้อย่างแยบคาย มีการครุ่นคิดในใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แล้วแต่จะคิดขึ้นได้ จิตในสมาธิสามัญและจิตในสมาธิแห่งฌานนั้น ควรเกิดขึ้นควบคู่กัน ที่เรียกว่า จิตทรงสมาธิ อยู่ตลอดเวลา [อินทรียสังวร] จิตที่มุ่งมั่นในกิจอันใดอันหนึ่งนั้น ย่อมทำให้รู้แจ้งในเรื่องนั้นๆ ได้ คือ เกิดการต่อยอดทางปัญญาให้เพิ่มมากขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น ความเข้าใจอย่างถูกต้องจนพิจารณาเห็นภาพรวมของขั้นตอนการปฏิบัติธรรมนั้น จึงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของความเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง ไม่ใช่การไปฟังแต่คำสั่งสอนจากพระอาจารย์ผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศคำสอนของพระองค์ยั่งยืนเป็นเวลายาวนานเกือบ ๒,๖๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว จากยุคสมัยไม่มีกระดาษจนถึงยุคสมัยเป็นดิจิตอลแล้ว คนสมัยใหม่ยังโง่กว่าคนสมัยโบราณ ก็น่าให้มันสูญพันธุ์ไปเลยพวกคนเช่นนี้ เพราะเป็นสายพันธุ์ชั้นต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติมีขั้นตอนคัดสรรเลือกสายพันธุ์ที่แข็งแรงเอาไว้เอง ไม่ต้องไปเร่งให้มันสูญพันธุ์หรอก [กัมมัสสกตา] ใครจะอยู่ใครจะไปเร็วช้ากว่ากันไม่ใช่กิจของสงฆ์ [ถ้าคิดไม่ได้ก็รู้เห็นธรรมและตรัสรู้ธรรมได้ยาก] ปัญญาที่มีอยู่คงไม่ใช่ ตรัสรู้ [สัมโพธะ] น่าจะเป็น ตัดรู้ [ตัดปัญญาไม่ให้รู้ทิ้งไปอสัมโพธะ] คือ ไม่มีญาณในการหยั่งรู้เกิดขึ้น ให้พิจารณากลุ่มคำที่เป็นไวพจน์ (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22 -24 FILE 76) ดังนี้ (๑) สภาวะที่ชื่อว่า อัญญาณ ความไม่รู้ เพราะปฏิปักษ์ต่อญาณ (๒) สภาวะที่ชื่อว่า อทัสสนะ ความไม่เห็น เพราะปฏิปักษ์ต่อความเห็น (๓) สภาวะที่ชื่อว่า อนภิสมัย ความไม่ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า เป็นสภาพเผชิญหน้าก็ไม่ตรัสรู้ตามธรรมได้คือย่อมไม่ถึงโดยชอบ (๔) สภาวะที่ชื่อว่า อนนุโพธะ การไม่ตรัสรู้ธรรมโดยสมควร เพราะความที่อนนุโพธะนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุโพธะนั้น สภาวะที่ชื่อว่า อนุโพธะ ตรัสรู้โดยสมควร เพราะอรรถว่าย่อมตรัสรู้ธรรมโดยสมควร (๕) สภาวะที่ชื่อว่า อสัมโพธะ ไม่รู้ตามเป็นจริง เพราะอรรถว่า ไม่ประกอบกับสภาวะทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นแล้วตรัสรู้ ชื่อว่า อสัมโพธะ เพราะอรรถว่า ไม่สงบและไม่ชอบ ดังนี้บ้าง (๖) สภาวะที่ชื่อว่า อัปปฏิเวธะ ไม่แทงตลอด เพราะอรรถว่า ย่อมไม่แทงตลอดธรรมใน อริยสัจจ์ ๔ (๗) สภาวะที่ชื่อว่า อสังคาหณา ไม่ถือเอาให้ถูกต้อง เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ถือเอาพร้อมแม้ธรรมหนึ่งในธรรมมีรูป เป็นต้น โดยสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยง เป็นต้น (๘) สภาวะที่ชื่อว่า อปริโยคาหณา ไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หยั่งลงสู่ธรรมนั้น (๙) สภาวะที่ชื่อว่า อสมเปกขนา ความไม่พินิจ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่เพ่งโดยสม่ำเสมอ (๑๐) สภาวะที่ชื่อว่า อปัจจเวกขณา ความไม่พิจารณา เพราะอรรถว่า ย่อมไม่เพ่งเฉพาะสภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย (๑๑) สภาวะที่ชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ การไม่ทำให้ประจักษ์ เพราะอรรถว่า กรรมแม้ข้อหนึ่งก็ไม่ประจักษ์แก่สภาวะนี้ในบรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลายด้วยความเป็นไปโดยวิปริตบ้าง ด้วยไม่มีการกำหนดโดยสภาวะบ้าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า การทำให้ประจักษ์แก่ธรรมไดๆ เองมิได้มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ (๑๒) สภาวะที่ชื่อว่า ทุมเมชฌะ ความทรามปัญญา เพราะอรรถว่า เมื่อโมหะนี้ยังไม่เกิดขึ้นจิตสันดานใด พึงเป็นจิตบริสุทธิ์ คือสะอาดผ่องแผ้ว จิตสันดานอันบริสุทธิ์นั้น อันโมหะนี้ประทุษร้ายแล้ว (๑๓) สภาวะที่ชื่อว่า พาลยะ ความโง่เขลา เพราะอรรถว่า เป็นภาวะของพวกคนพาล (๑๔) สภาวะที่ชื่อว่า โมหะ ความหลง เพราะอรรถว่า ย่อมหลง โมหะมีกำลังแรง ชื่อว่า ปโมหะ ความลุ่มหลง (๑๕) สภาวะที่ชื่อว่า สัมโมหะ หลงใหล เพราะอรรถว่า ย่อมหลงโดยรอบ (๑๖) สภาวะที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ไม่ใช่วิชชาเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชชา ความหมายของโอฆะ [เพราะย่อมท่วมทับ คือยังสัตว์มีกิเลสให้จมลงในวัฏฏะ] โยคะ [เพราะประกอบสัตว์ผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ] และ คัณฐะ [เพราะผูก คือ เชื่อมต่อบุคคลผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ]
ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยธรรมให้รู้จริงได้มากๆ เป็นผลานิสงส์ของตน [ชาคริยานุโยค] ไม่ได้บาป ไม่ได้เป็นการวัดรอยเท้าของครูอาจารย์แต่ประการใด แต่เป็นการพัฒนาปัญญาที่ไร้ขอบเขตหรือพรหมแดนแห่งความรู้ที่บุคคลพึ่งกระทำได้ ไม่ต้องไปรอคำสั่งจากบุคคลใดเป็นพิเศษ ผู้ปฏิบัติธรรมที่ประกอบความตื่น ไม่ลังเลกับการนอนกินบ้านกินเมือง ย่อมเกิดความพรั่งพรูแห่งปัญญาอันหาขอบเขตไม่ได้ เหลือคณานับ ที่จะนับเป็นจำนวนได้ พระอริยสาวกของพระตถาคตผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมถือสำรวมระวังในวิริยะและขันติ [สังวร ๕] หรือที่เรียกว่า เนสัชชิกังคธุดงค์ หมายถึง ไม่นอนเป็นวัตรไม่เป็นศีล [ธุดงค์ ๘ คือ อารัญญิกังคธุดงค์ปิณฑปาติกังคธุดงค์ปังสุกูลิกังคธุดงค์เตจีวริกังคธุดงค์สปทานจาริกังคธุดงค์ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์เนสัชชิกังคธุดงค์ยถาสันถติกังคธุดงค์ นี้เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 418 FILE 65)] ดำเนินอยู่ในอิริยาบถ ๓ คือ ยืนเดินนั่ง เท่านั้น ถึงแม้จะหลับก็ให้หลับขณะนั่งสมาธิ จะไม่นอนโดยเด็ดขาด (พระครูสิทธวราคม [นิคม นิคมวโร] วัดเวฬุวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ๒๕๔๗. ประวัติพระครูภาวนากิจโกศล [หลวงปูสอ พันธุดล] วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมื่อ จ.ยโสธร ที่ระลึกงานสมโภชพระพุทธสิริสัตตราช [หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์] ณ เขื่อนปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ๒๗๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ พิมพ์ครั้งที่ ๙) ในความเป็นจริงก็ให้ถือ อปัณณกปฏิปทา ๓ หลักธรรม ๑ ใน จรณะ ๑๕ [เสขปฏิปทา] หมายถึง เครื่องดำเนิน ปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗และฌาน ๔ ดังนี้
อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ (๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ นั่นคือ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๒) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค นั่นคือ รู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (๓) ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน นั่นคือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาถึงการหมั่นเพียรในการเจริญอนุปัสสนาทั้ง ๗ อยู่เป็นประจำ ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนา (๒) ทุกขานุปัสสนา (๓) อนัตตานุปัสสนา (๔) นิพพิทานุปัสสนา (๕) วิราคานุปัสสนา (๖) นิโรธานุปัสสนา (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา หรือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนา (๒) เวทนานุปัสสนา (๓) จิตตานุปัสสนา (๔) ธัมมานุปัสสนา [โดยกำหนดสติพิจารณาเฉพาะอนัตตานุปัสสนาในฝ่ายโลกุตตรธรรม หรือกำหนดรู้ในอนัตตสัญญาหรือสุญญตา] ดังอธิบายมาแล้วข้างต้น เพื่อให้เกิดปัญญาในวิปัสสนากัมมัฏฐาน [ภาวนามยปัญญา] ฉะนั้น สิ่งที่ปรารถนาอันเป็นผลานิสงส์อันยิ่งใหญ่ที่จะตามมา นั่นคือ ปัญญา ๑๐ [โดยต่อยอดกันขึ้นตามลำดับ อันเป็นอีกทางหนึ่งในการพัฒนาปัญญาของพระพุทธศาสนา ที่เกิดจากความหมั่นเพียรในการเจริญอนุปัสสนาทั้ง ๗ เป็นพื้นฐาน ที่ทำให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ได้เช่นกัน คือ ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เรียกว่า พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ นั่นเอง แต่ต้องมีบาทฐานมาจากไตรสิกขาที่ปฏิสังยุตด้วย อริยสัจจ์ ๔ และ อริยมรรคมีองค์ ๘] ดังนี้ (๑) ชวนปัญญา คือ ปัญญาเร็วด้วยการเจริญอนิจจานุปัสสนา (๒) นิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาทำลายกิเลสด้วยการเจริญทุกขานุปัสสนา (๓) มหาปัญญา คือ ปัญญามากด้วยการเจริญอนัตตานุปัสสนา (๔) ติกขปัญญา คือ ปัญญาคมกล้าด้วยการเจริญนิพพิทานุปัสสนา (๕) วิบูลปัญญา คือ ปัญญากว้างขวางด้วยการเจริญวิราคานุปัสสนา (๖) คัมภีรปัญญา คือ ปัญญาหยั่งลึกซึ้งด้วยการเจริญนิโรธานุปัสสนา (๗) อัสสามันตปัญญา คือ ปัญญาไม่ใกล้อันเจริญยิ่งด้วยการเจริญปฏินิสสัคคานุปัสสนา (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ปัญญาแตกฉานด้วยการเจริญปัญญาทั้ง ๗ ให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ (๙) ปุถุปัญญา คือ ปัญญาแน่นหนาด้วยการเจริญปฏิสัมภิทา ๔ ให้ถึงพร้อมบริบูรณ์ (๑๐) หาสปัญญา คือ ปัญญาร่าเริงด้วยการเจริญปุถุปัญญาให้ถึงพร้อมบริบูรณ์
นอกจากนี้ ให้พึงสังวรหรือสำรวมระวังไว้เสมอว่า อธิคมธรรม ทั้งหลาย [อุตตริมนุสสธรรม หมายถึง ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌานวิโมกข์สมาบัติมรรคผล บางทีเรียกว่า ธรรมวิเศษคุณวิเศษคุณพิเศษ] นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะความหมั่นเพียรและอดทนของบุคคลนั้นๆ คือ ภาวะที่พึ่งตนเองได้ [อัตตนาถะ] ไม่ใช่การชื่นชมบุญของคนอื่น แล้วเหมาว่าเป็นบุญของตนเองรวมอยู่ด้วย การอยู่ใกล้ชิดพระอริยสงฆ์เพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่พอ ต้องลงมือปฏิบัติด้วย ทำให้เห็นจริง รู้เห็นในปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ ตามคำสอนของพระศาสดา ไม่ใช่ตามคำบอกเล่าของผู้ให้คำแนะนำ แล้วไปยึดมั่นในตัวบุคคล อันเป็นการปิดความก้าวหน้าในการเจริญภาวนากรรมฐาน ข้อนี้ให้พึงระวังเป็นอย่างยิ่ง ความรู้ในยุคสมัยดิจิตอลนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถแสวงหาได้อย่างไร้ข้อจำกัดทางเวลาและสถานที่ มีเพียงอย่างเดียวที่ต้องพัฒนาไม่หยุดยั้ง คือ ทักษะการเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ และ การกำจัดความงมงายในตัวบุคคลทิ้งไป ให้รู้เห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง ตามกำหนดธรรมดา ตามกฎธรรมชาติ [มีธรรมชาติเป็นครู] ให้ยึดหลักข้อคิดใน กาลามสูตร [กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐] ไว้เตือนสติไม่ให้ฟุ้งซ่านไปกับบุคคลอันไม่ควร ถึงแม้จะเป็นการเข้าใจเอาเองว่า เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากผู้ทำสำเร็จมาแล้วก็ตาม สิ่งนี้ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องแน่นอน เพราะจริต [อธิมุตติ] ของมนุษย์มีความแตกต่างกัน เพราะทั้ง คน ผี เทวดา ยังหลอกเป็นเหมือนกัน มีผลเสียงถึงขั้น ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่ ได้จริง นั่นคือ ไม่ได้บรรลุโลกุตตรธรรม หมดโอกาสที่จะบรรลุโลกุตตรธรรม ดังนี้
กาลามสูตร หมายถึง สูตรหนึ่งใน คัมภีร์ติกนิบาตรอังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก ๑๐ ข้อ ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศลเป็นกุศล มีโทษไม่มีโทษ เป็นต้น แล้วจึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น ประการสำคัญ ไม่มีประสงค์ทำลายความดีของผู้อื่นที่คิดดี เพียงแต่มีจิตระวังภัย ดังนี้ (๑) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา [ความเชื่อส่วนบุคคล] (๒) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา [ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมวัฒนธรรม] (๓) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ [เรื่องเล่านิทานคติชาวบ้าน] (๔) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ [พระไตรปิฎก] (๕) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยตรรก [ใช้เหตุผลเชิงอุปมานInduction] (๖) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอนุมาน [ใช้เหตุผลเชิงอนุมานDeduction] (๗) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล [โยสิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาท] (๘) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน [วิธีทางวิทยาศาสตร์ระเบียบวิธีวิจัย] (๙) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ [นักวิชาการผู้รู้พหูสูตปราชญ์] (๑๐) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา [สัตบุรุษอริยบุคคล]
ดังนั้น เมื่อได้ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ทางความคิดมา [ฟังเทศน์ฟังธรรม] สิ่งแรกนั้น อย่าพึ่งวางใจอะไรทั้งนั้น ให้ทำการตรวจสอบใช้เหตุผล ใช้วิจารณญาณใคร่ครวญว่าเป็นจริงหรือมีประโยชน์แก่ตนมากเพียงใด ถ้าทำไปแล้ว จะไม่นำความเดือดร้อนมาให้ตน หรือเพิ่มทุกข์ขึ้นโดยไม่ควร ก็ให้เลือกเอาส่วนที่เป็นเรื่องสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ยิ่ง ที่จะทำให้เกื้อกูลในการบรรลุถึงธรรมวิเศษหรืออริยมรรค อย่าวางใจในสิ่งทั้งหลายที่ได้กล่าวมาใน กาลามสูตร ต้องทดลองลงมือปฏิบัติเองให้เห็นผล คือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อย่าหลงทิศหลงทางในการปฏิบัติธรรม เพราะของปลอมหรือของเทียมเลียนแบบมีมากในวงการศาสนา ที่ชอบเบี่ยงเบนพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [ฉลาดมากก็ไม่รู้มาบวชในพระศาสนานี้ทำไม ก็น่าไปตั้งลัทธิใหม่ไม่ดีกว่าหรือ จะได้เป็นศาสดาโลกอีกองค์] ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะว่ามีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ที่ต้องผิดหวังและเสื่อมศรัทธาและความเลื่อมใสในพระศาสนาลงไปมากมาย เพราะไปเจอของปลอมของเทียมที่เป็นตัวเหลือบในพระศาสนา ที่คอยดูดเลือดผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถึงขนานบางคนไม่ขอถือศาสนาไปเลยก็มี เพราะความซวยของบุคคลนั้นเอง เลือกให้เป็น พิจารณาให้เป็น อะไรเป็นของแท้ อะไรเป็นของปลอม ให้เชื่อในเรื่อง กฎแห่งกรรม โดยใช้เหตุผล อันประกอบด้วยปัญญา อย่าไปโทษดวงชะตา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนที่จะตัดสินใจเลือกกระทำกรรมใดๆ ก็ขึ้นอยู่กับตนเองทั้งสิ้น คำแนะนำจากบุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่เจ้าของชีวิตทั้งชีวิตคือตนเองเท่านั้น จะไปขึ้นสวรรค์หรือจะไปลงนรก ตนเองเป็นผู้เลือก คนอื่นไม่เกี่ยวข้องอันใดเลย อย่าให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนโดยวิปริต มีความเห็นผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง คือ กฎธรรมชาติ [กำหนดแห่งธรรมดา] และก็อย่างลืม (๑) ปัญญาเห็นธรรม กับ (๒) ปัญญาตรัสรู้ นั่นเอง ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่จะได้มาฟรีๆ ไม่ต้องลงทุน แม้แต่ลงทุนไป ก็ไม่มีอะไรที่จะเป็นผลกำไรเพียงฝ่ายเดียว มิฉะนั้น บุคคลนั้นก็ถือด้วยความประมาทชีวิตและปัญญา เพราะเป็นบุคคลที่หลงเชื่อคนอื่นง่ายเกินไป
ในการปฏิบัติธรรมนั้น เวลาของชีวิตเป็นสิ่งที่สูญไปที่จะเรียกคืนไม่ได้ อย่าไปคิดว่ามันมีพรุ่งนี้อีก เพราะมีพรุ่งนี้ เวลาของชีวิตมันก็หมดไปอีกส่วนหนึ่ง คือ ความแก่ชราพร้อมด้วยความเจ็บป่วย ที่จะนำพาชีวิตไปสู่ความตายอย่างแน่นอนในพรุ่งนี้ ไม่ช้าไม่นานเกินรอ มนุษย์บริหารจัดการเวลาของชีวิตอย่างไร ซึ่งหมายถึง จิตใจ [จิตวิญญาณ] ซึ่งประกอบด้วย (๑) สติสัมปชัญญะ คือ จิตตัววิปัสสนาและเป็นสมาธิ [ญาณทัสสนะ] กับ (๒) วิถีจิต คือ จิตที่แปรปรวนไปตามกระแสวิถี [ชวนะ] แล้วตกภวังค์มาเป็น ภวังคจิต อีก ในส่วนที่เป็น วิถีจิต นี้ ก็ต้องทำใจให้เที่ยง ปล่อยวาง ไม่เข้าไปปรุงแต่งจิตนั้นให้สัดส่ายไปตามกระแสของกิเลสทั้งหลาย อันครอบงำกลุ้มรุมจิตใจของตนเองในขณะนั้น ฉะนั้น สติสัมปชัญญะ จะทำหน้าที่ควบคุมจิตใจไม่ให้หวั่นไหวหรือสัดส่ายไปตามกระแสโลก ที่เรียกว่า โลกธรรม ๘ ได้แก่ มีลาภไม่มีลาภ มียศไม่มียศ นินทาสรรเสริญ สุขทุกข์ อันนำมาซึ่ง สังสารทุกข์แห่งภวจักร [ไตรวัฏฏ์วัฏฏะ ๓] ฉะนั้น กรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ ตนเอง ที่จะเลือกตัดสินกระทำกรรมเช่นใดต่อไป แต่ในทางปฏิบัตินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้นึกคิดถือปฏิบัติด้วยความบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว [โวทานธรรม] ที่เรียกว่า อาเนญชาอาเนญชาภิสังขาร ด้วยจิตที่เป็นจตุตถฌานและอรูปฌานทั้งหลาย ที่เป็นพื้นฐานสำคัญให้บรรลุอริยมรรคได้ หรือความตรัสรู้ถึงสัมโพธิญาณได้ อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาถึง คำว่า เวลาของชีวิต ให้ดีอย่างระมัดระวัง คือ ด้วยความไม่ประมาท อัปปมาทะ [Earnestness] เพราะความสำเร็จในการบรรลุถึงความตรัสรู้ถึง อธิคมธรรม ทั้งหลายนั้น เป็นเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน และประมวลคำสอนของพระศาสดานั้น ก็ได้บันทึกไว้ใน พระไตรปิฎก [Tipitaka or The Pali Canon] เป็นอย่างดี รวมทั้งหลักธรรมคำสอนอื่นๆ ที่อยู่ในรูปแบบพจนานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประการสำคัญ ผู้ปฏิบัติธรรมจะเข้าถึงข้อมูลข่างสารดังกล่าวนี้ด้วย ปัญญา [Wisdom] นั่นคือ ทักษะการเรียนรู้ด้วยปัญญาสามัญและภาวนามยปัญญา [ปัญญา ๓: จินตามยปัญญาสุตมยปัญญาภาวนามยปัญญา] ส่วนเกณฑ์การตรวจสอบว่าธรรมใดเป็นพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดาหรือไม่ ก็ให้ถือตามหลัก ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗หลักกำหนดธรรมวินัย ๗ ดังนี้ (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง (๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด (๓) นิโรธ คือ ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบ (๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว
หรือ มิฉะนั้น ก็ให้ถือปฏิบัติตาม ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘หลักกำหนดธรรมวินัย ๘ ดังนี้ (๑) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ หรือเสริมความติดใคร่ (๒) วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์ (๓) อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่ (๕) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ (๖) ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ (๗) วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน (๘) สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก
ฉะนั้น เรื่องความหลงงมงายเป็นเรื่องที่ห้ามกันได้ยาก แม้แต่การหลงอยู่กับพระอรหันต์ก็ใช่ว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะสุดท้ายทำให้เกิด อุปาทาน ๔ คือ ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้อง เป็นการถ่วงตนเองให้ติดอยู่กับ วัฏฏะ ๓ [กิเลสกรรมวิบาก] อย่าลืมว่า การปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น คือ ทิ้งความทะยานอยากในโลกนี้ [โลกียภูมิ] ไปสู่ภาวะที่เหนือวิสัยโลก ที่เรียกว่า โลกุตตรภูมิ เพราะ อุปาทาน ๔ มีรากเหง้ามาจาก อวิชชาตัณหา [อนุโลมปฏิจจสมุปบาท] ดังรายละเอียดต่อไปนี้
อุปาทาน ๔ หมายถึง ความยึดมั่นความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลสความยึดติดอันเนื่องมาแต่ตัณหา ผูกพันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ได้แก่ (๑) กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นในกามคุณทั้ง ๕ เบญจกามคุณ หรือ อารมณ์ ๕ นั่นคือ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ มีแต่ความทะยานอยากจากของคนอื่น เพราะแพ้ใจชั่วๆ ของตนเอง นั่นคือ (๑) กิเลสมาร คือ มารคือกิเลส กิเลสเป็นมาร เพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ (๒) อภิสังขารมาร คือ มารคืออภิสังขาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น พร้อมด้วยสังกิเลสทั้งหลาย เข้าขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังสารทุกข์ (๒) ทิฏฐุปาทาน คือ ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี นั่นคือ ความเห็น ลัทธิ หรือ หลักคำสอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หลงใหลอย่างงงงายในวาทะหรือความนึกคิดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของเจ้าสำนักทั้งหลาย ทั้งฝ่ายปฏิบัติธรรมและฝ่ายร่างทรง แต่พอมาฟังธรรมของพระศาสดาแล้วจะเป็นลมตีขึ้นเบื้องบนและลงเบื้องล่าง ก็ไปเสียอย่างนั้นอีก หมดวาสนานั่นเอง ผีนรกครอบงำกลุ้มจิตใจ นั่นคือ เทวปุตตมาร คือ มารคือเทพบุตร เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่งชื่อว่า มาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้ ข้อนี้เกี่ยวดองกับ กามุปาทาน ในข้อ (๑) (๓) สีลัพพตุปาทาน คือ ความยึดมั่นในศีลและพรต นั่นคือ ถือว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียม ประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ โดยถือว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่า ทำสืบๆ กันมา หรือ ปฏิบัติตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือ โดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล [ไม่คิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท] ในข้อนี้ แทนที่จะเป็น สีลสัมปทาสีลวิสุทธิ กลับไปเป็น สีลวิบัติ (๔) อัตตวาทุปาทาน คือ ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน นั่นคือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลาย หรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวง อันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ ขาดการเจริญ อนุปัสสนา ๓ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ๑ ทุกขานุปัสสนา ๑ อนัตตานุปัสสนา ๑ จึงเข้าไม่ถึง ชวนปัญญาปัญญาเร็ว ๑ นิพเพธิกปัญญาปัญญาทำลายกิเลส ๑ มหาปัญญา ปัญญาอันยิ่งมาก ๑ ตามลำดับ
ฉะนั้น การลบล้างความเห็นผิดแห่ง ทิฏฐิ ๒ทิฏฐิ ๓ กับ ที่สุด ๒ อย่าง และความเชื่อไม่ประกอบด้วยเหตุผลตาม ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ พร้อมด้วยความเห็นคลาดเคลื่อนจากความจริง วิปลาส ๔ นั้น ย่อมเป็นเหตุปัจจัยทำให้บุคคลนั้นล้มเหลวในการปฏิบัติธรรมได้ อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นภัยที่ทำลายความคิดและปัญญาใน มัชฌิมาปฏิปทา ดังนี้
ทิฏฐิ ๒ หมายถึง ความเห็นความเห็นผิด ได้แก่ (๑) สัสสตทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเที่ยง ความเห็นว่ามีอัตตาและโลกซึ่งเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (๒) อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่าขาดสูญ ความเห็นว่ามีอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป
ทิฏฐิ ๓ หมายถึง ความเห็นความเห็นผิด ได้แก่ (๑) อกิริยทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ เห็นว่าการกระทำไม่มีผล (๒) อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย (๓) นัตถิกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าไม่มี เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้
ที่สุด ๒ อย่างอันตา ๒ หมายถึง ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง นั่นคือ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ (๑) กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข ความสุขในการครอบครองทรัพย์สิน ความมั่งคั่งไพบูลย์ในลาภสักการะ หรือโภคทรัพย์ในเชิงวัตถุนิยมและบริโภคนิยมแบบเกินความพอดี สมกับฐานะในความเป็นมนุษย์ จนแสวงหาความสุขบนความทุกข์ร้อนของคนอื่น ด้วยความเบียดเบียนเขาอย่างไร้มนุษยธรรมที่นิยมในสังคม จนกลายเป็นเรื่องปกติไป โดยเข้าใจว่าเป็นทางหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงได้ (๒) อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน โดยเข้าใจว่าเป็นทางหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงได้ เช่น การบำเพ็ญตบะที่พยายามจะแสดงอิทธิฤทธิ์ เพื่อแสวงหาลาภสักการะ หรือความศรัทธาเลื่อมใสในพฤติกรรมของตนอันเช่นนั้นที่วิปริตไป อย่างเช่น การบำเพ็ญทุกรกิริยา อดข้าว กลั้นลมหายใจ ให้ถึงขั้นปางตายจนกลายเป็นเรื่องการยึดมั่นศีลวัตรเหล่านั้น ว่าเป็นอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประพฤติปฏิบัติกันมาอย่างไรเหตุผล ว่าเป็นหนทางแห่งความหลุดพ้น ให้ตนบริสุทธิ์ได้ พระศาสดาได้ทรงดำเนินปฏิบัติมาแล้ว ว่าไม่เป็นจริงตามความเชื่อนั้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่ใช่ในแนวทางสายกลางแห่งปัญญา คือ มัชฌิมาปฏิปทา ที่พระองค์ทรงต่อยอดความคิดใหม่ให้แสดงผลไปไกลกว่านั้น ไม่ใช่ ชนผู้หลงทิศ อีกต่อไป นั่นคือ เป็นเรื่อง การเห็นด้วยตรัสรู้อริยสัจจธรรมในวิปัสสนาภูมิ ที่ละเอียดประณีตกว่า จนกลายเป็นการหลุดพ้นทั้งฝ่ายสมาธิสมถะใน เจโตวิมุตติ กับฝ่ายปัญญาวิปัสสนาใน ปัญญาวิมุตติ
ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ หมายถึง ลัทธิดังกล่าวนี้ ไม่ชอบด้วยเหตุผล ถูกยันเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆ กันมา เป็นลัทธิประเภท อกิริยา หากยึดมั่นถือตามเข้าแล้ว ย่อมให้เกิดโทษ คือ ไม่เกิดฉันทะ และความพยายาม ที่จะทำการที่ควรทำและเว้นการที่ไม่ควรทำ ได้แก่ (๑) ปุพเพกตเหตุวาท ลัทธิกรรมเก่า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในปางก่อน แต่กลับไม่เชื่อการสร้างกุศลกรรมในปัจจุบันสมัยแห่งตนนี้ (๒) อิสสรนิมมานเหตุวาท ลัทธิพระเป็นเจ้า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่ แต่มีมติขัดแย้งกับแนวคิดในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า กฎแห่งกรรม กับ กัมมัสสกตาสัทธา (๓) อเหตุอปัจจัยวาท ลัทธิเสี่ยงโชค คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ คือ ถึงคราวก็เป็นไปเอง แต่กลับปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมที่ไร้จุดหมาย ไม่ต่างจากชีวิตสัตว์เดรัจฉานทั่วไป
วิปลาส ๔ หมายถึง ความรู้เห็นคลาดเคลื่อนความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ได้แก่ (๑) สัญญาวิปลาสสัญญาคลาดเคลื่อนความจำเสื่อม (๒) จิตตวิปลาสจิตคลาดเคลื่อนหวั่นไหวไม่มั่นคง (๓) ทิฏฐิวิปลาสทิฏฐิคลาดเคลื่อนเห็นผิดเป็นชอบ (๔) มหาวิบัติแห่งวิปลาสที่ ๔ มีวัตถุ ๔ อาการ นั่นคือ การล้มสลายแห่งไตรลักษณ์ The Collapse of the Three Characteristics ดังนี้ (๑) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (๒) วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (๓) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (๔) วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
ด้วยเหตุนี้ กุศลธรรมที่จะแก้ไขความคิดคลาดเคลื่อนดังกล่าวนี้ในเบื้องต้น คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ให้ถือหลักธรรมในบางส่วนต่อไปนี้ ได้แก่ (๑) สีลสัมปทาทิฏฐิสัมปทา (๒) สีลวิสุทธิทิฏฐิวิสุทธิ และ (๓) ความหมดจดแห่งทิฏฐิความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด ดังนี้
(๑) สีลสัมปทาทิฏฐิสัมปทา (๑.๑) สีลสัมปทา หมายถึง ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลสัมปทา (๑.๒) ทิฏฐิสัมปทา หมายถึง ความเห็นว่า (๑) ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล (๒) การบูชาย่อมมีผล (๒) การบวงสรวงย่อมมีผล (๓) ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ (๔) โลกนี้มีอยู่ (๕) โลกอื่นมีอยู่ (๖) มารดามีอยู่ (๗) บิดามีอยู่ (๘) สัตว์ที่จุติและอุบัติมีอยู่ (๙) สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีอยู่ในโลก (๑๐) สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา
(๒) สีลวิสุทธิทิฏฐิวิสุทธิ (๒.๑) สีลวิสุทธิ หมายถึง ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิสุทธิ สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิสุทธิ (๒.๒) ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน [กัมมัสสกตาญาณ] ญาณอันสมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ [สัจจานุโลมิกญาณ] ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค [มัคคญาณ] ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล [ผลญาณ]
(๓) ความหมดจดแห่งทิฏฐิความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด (๓.๑) ความหมดจดแห่งทิฏฐิ หมายถึง ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ (๓.๒) ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด หมายถึง การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประดับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ
ในการพึงตนเองได้ก่อนนั้น เป็นองค์ประกอบสำคัญให้ถึงความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมได้จริง นอกจากนี้ ค่อยแสวงหาตัวช่วยที่เกื้อกูลให้เกิดความสำเร็จเพิ่มเติม ที่เรียกว่า กัลยาณมิตตตา หมายถึง คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเหนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมี ศรัทธาศีลจาคะปัญญา แต่ต้องพึ่งตนเองวันยังค่ำอีกเช่นเดิม คือ รอบรู้ในการต่อยอดปัญญา ได้อย่างถูกต้องเป็น สัมมาทิฏฐิ ได้จริง ไม่ต้องไปเสียเวลามากในการไปขุดหารากเหง้ากอหญ้าคาใหม่ให้เสียเวลาโดยสูญเปล่า ฉะนั้น เมื่อสาธุชนทั้งหลายมีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติธรรม ก็ให้พิจารณาเส้นทางการปฏิบัติธรรมโดยจำแนกธรรมออกเป็น ๒ อย่าง คือ (๑) การบำเพ็ญสมณธรรม [ทำสมณธรรมเจริญวิปัสสนา แล้วบำเพ็ญพรหมจรรย์] คือ ผลประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ กับ (๒) การเจริญสมธรรม คือ ธรรมสงบ ธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์ตามลำดับ ดังนี้
(๑) การบำเพ็ญสมณธรรม [สมถภาวนาฝ่ายสมาธิ] (๑.๑) ธรรมอุปาการะแก่สมาธิ: เนกขัมมะ [ประพฤติพรหมจรรย์ = กุศลธรรมทั้งหลาย] [กุศลวิตก ๓ หมายถึง ความตริตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม ได้แก่ (๑) เนกขัมมวิตก คือ ความตรึกปลอดจากกามหรือกามฉันทะ ข้อนี้เป็น สมณธรรม (๒) อพยาบาทวิตก คือ ความตรึกปลอดจากพยาบาท ข้อนี้เป็น สมธรรม (๓) อวิหิงสาวิตก คือ ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน ข้อนี้เป็น สมธรรม]
(๒) การเจริญสมธรรม [สมถภาวนาฝ่ายสมาธิ] (๒.๑) ธรรมอุปาการะแก่สมาธิ: อัพยาบาทอาโลกสัญญาอวิกเขปะธรรมววัตถานฌาน [ญาณ] อรติปราโมทย์ (๒.๒) รูปฌาน ๔: ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน (๒.๓) อรูปฌาน ๔: อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญายตนะ [วิปัสสนาภาวนาฝ่ายวิปัสสนา] (๒.๔) อริยมรรค ๔: โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องในการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนานั้น มีคำศัพท์บัญญัติบางคำมีความซ้ำซ้อนกับความหมายทางลัทธิพราหมณ์ เช่น คำว่า พรหมจรรย์ ดังนี้
พรหมจรรย์ หมายถึง (๑) จริยะอันประเสริฐ และ (๒) การครองชีวิตประเสริฐ ตามที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงความประพฤติเว้นเมถุน หรือการครองชีวิต ดังเช่น การบวชที่ละเว้นเมถุน แต่แท้จริงนั้น พรหมจรรย์ คือ พรหมจริยะ อันหลักการใหญ่ที่พอประมวลได้ ๑๐ ประการ ดังนี้ (๑) ทาน คือ การให้ การเสียสละ การบริจาค (๒) ไวยาวัจจ์ คือ การขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ทำประโยชน์ (๓) เบญจศีล คือ ศีลที่พึงรักษาเป็นประจำ [นิจศีล] ศีลประจำตัวของอุบาสกอุบาสิกา (๔) อัปปมัญญา ๔ คือ พรหมวิหาร ๔ (๕) เมถุนวิรัติ คือ การเว้นเมถุน (๖) สทารสันโดษ คือ ความพอใจเฉพาะภรรยาหรือคู่ครองของตน (๗) สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรชอบ ความเพียรใหญ่ ขยันหมั่นด้วยความพยายามและอดทน (๘) อุโบสถศีล คือ การรักษาอุโบสถ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ (๙) อริยมรรค คือ ทางดำเนินอันประเสริฐ ของพระอริยะ ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ (๑๐) พระศาสนา คือ ไตรสิกขาสิกขา ๓ [ศีลสมาธิปัญญา] ทั้งหมด
นอกจากนี้ ควรเข้าใจถึง คำว่า กุศลธรรม ในความหมายของ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ดังนี้
อกุศลกรรมบถ ๑๐ หมายถึง ทางแห่งอกุศลกรรม ทางทำความชั่ว กรรมชั่วอันเป็นทาง นำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคติ ได้แก่ ก. กายกรรม ๓ หมายถึง การกระทำทางกาย กายทุจริต ๓ (๑) ปาณาติบาต คือ การทำชีวิตให้ตกล่วง ปลงชีวิต (๒) อทินนาทาน คือ การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย ลักทรัพย์ (๓) กาเมสุมิจฉาจาร คือ ความประพฤติผิดในกาม ข. วจีกรรม ๔ หมายถึง การกระทำทางวาจา วจีทุจริต ๔ (๔) มุสาวาท คือ การพูดเท็จ (๕) ปิสุณาวาจา คือ วาจาส่อเสียด (๖) ผรุสวาจา คือ วาจาหยาบ (๗) สัมผัปปลาปะ คือ คำพูดเพ้อเจ้อ ค. มโนกรรม ๓ หมายถึง การกระทำทางใจ มโนทุจริต ๓ (๘) อภิชฌา คือ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา (๙) พยาบาท คือ คิดร้ายผู้อื่น (๑๐) มิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นผิดจากคลองธรรม
เพราะฉะนั้น การพึ่งตนเองตั้งแต่เริ่มแรกในการปฏิบัติธรรมจึงเป็นวิธีคิดที่ถูกต้อง เพราะผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องคิดเป็นและทำเป็นด้วยตนเอง มีความเป็นอิสระจากผู้อื่นผู้เป็นกัลยาปุถุชนได้อย่างเต็มที่ อีกประการหนึ่ง ในยามที่ต้องตรัสรู้นั้น ไม่ได้ตรัสรู้เป็นหมู่คณะ เป็นภาวะที่ต้องการความสงบสงัดจากผู้อื่น ต้องการความมั่นใจในตนเองเป็นสำคัญ คือ ต้องมีความกล้าหาญที่จะคิดจะทำด้วยตนเองตามลำพังด้วย สัมมาทิฏฐิ ก็คงไม่แตกต่างกับการมาเกิดหรือการตายที่มาคนเดียวไปคนเดียว แม้แต่ฝาแฝดก็คลอดออกมาทีละคน ไม่ใช่ทั้งชุดหมู่คณะแต่ประการใด อันผิดธรรมชาติ [ถ้าเป็นธรรมเนียมของกระเหรี่ยงถือเป็นพวกผีเสนียดพิกลพิการ ต้องโยนทิ้งหน้าผา ไม่เป็นภาระต่อสังคมส่วนรวม ไม่เหมือนสังคมปัจจุบัน พวกเป็นบ้าวิกลจริตก็ยังเดินทั่วเมือง แต่ไม่มีข่าวว่าพวกผีบ้าวางระเบิดหรือจุดไฟเผาบ้านเมือง ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครบ้ากันแน่ เป็นงงหมดเลย] ฉะนั้น พวกที่มาถือพุทธหรือมาบวชแล้วเป็นบ้านั้น มีจำนวนน้อยมาก เพราะไม่ได้ตั้งใจมาบวชจริง ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง ทำกันตามความเชื่อแบบโง่ๆ ว่าตนเองจะได้มหากุศลบุญหนักเวลาตายไปเป็นผีอุบาทว์ แทนที่จะหาวิธีชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เช่น ในขั้นตอนสามัญเบื้องต้น คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิ ชำระกิเลสนิวรณ์อันขัดขว้างการเข้าถึงความดี แล้วก็เจริญจาก กามาวจรภูมิ [ภูมิของผู้ประกอบกุศลกรรมกับอกุศลกรรม] ไปสู่ รูปาวจรภูมิรูปพรหมภูมิ [ภูมิของผู้ได้รูปฌาน ๔ ในขั้นใดขั้นหนึ่ง]ด้วยการเจริญรูปฌาน [ฌาน ๔] อย่างไงก็ตาม เกิดมาชาตินี้ ทำอะไรไม่ได้ดี ก็ให้เจริญสมาธิให้ถึงรูปฌาน [ฌาน ๔] อย่างน้อยที่สุด ก็ให้ได้ ปฐมฌาน [มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา] หรือ ทุติยฌาน [มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตา] ก็เท่าทุนที่เป็นภูมิดั้งเดิมของมนุษย์ก่อนมาเกิดบนโลกใบนี้ และอย่างน้อยให้ได้สมาธิที่เกิดจากการเพ่งอารมณ์จากลมหานใจเข้าลมหายใจออกไว้ก่อน ที่เรียกว่า อานาปานสติสมาธิ คือ กำหนดสติตามพิจารณาลักษณะลมหายใจของตนเอง ดีกว่าหายใจทิ้งไปวันๆ ไร้ค่า ไร้วาสนา เสียเปล่าๆ ก็ให้ทำสมาธิง่ายคือ สมาธิอันเกิดเนื่องจากตามพิจารณาลมหายใจ ก็ไม่คิดไปเรื่องอื่น ด้วยจิตหวั่นไหวหรือสัดส่าย ถึงฟุ้งซ่านไร้สติสัมปชัญญะ ถ้าเข้าใจดีแล้วก็ทำได้เลยตอนนี้ ไม่ต้องรอฤกษ์ยามมหากุศลอะไรหรอก เข้าใจได้ดีแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติได้เลย เทวดารอสรรเสริญอย่างแน่นอนไม่เป็นอื่น ถ้าตายคาที่อยู่ในระหว่างเป็นสมาธิก็ไม่ไปเกิดเป็นหมาเป็นแมวอย่างแน่นอน ก็เรียนเชิญให้เป็น รูปพรหม [รูปพรหม ๑๖ ชั้น อยู่ในรูปภพ คือ เป็นเหล่าเทพเบื้องต้น] คำว่า พรหม หมายถึง ผู้ประเสริฐ เทพในพรหมโลกเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ได้แก่ [ปฐมฌาน] (๑) พรหมปาริสัชชา (๒) พรหมปุโรหิตา (๓) มหาพรหมา [ทุติยฌาน] (๔) ปริตตาภา (๕) อัปปมาณาภา (๖) อาภัสสรา ภูมิดั้งเดิมของมนุษย์ [ตติยฌาน] (๗) ปริตตสุภา (๘) อัปปมาณสุภา (๙) สุภกิณหา (๑๐) อสัญญีสัตตา (๑๑) เวหัปผลา [จตุตถฌานภูมแห่งพระอานาคามี = สุทธาวาส ๕] (๑๒) อวิหา (๑๓) อตัปปา (๑๔) สุทัสสา (๑๕) สุทัสสี (๑๖) อกนิฏฐา เมื่อรู้ได้ถึงขั้นนี้แล้ว ก็อย่าไปเป็นเลย มนุษย์ เสียเที่ยวเปล่าๆ ใน กามาวจรภูมิ ๑๑ แบ่งเป็น อบายภูมิ ๔ [นิรยะนรก ๑ ติรัจฉานโยนิกำเนิดดิรัจฉาน ๑ ปิตติวิสัยแดนเปรต ๑ อสุรกายพวกอสูร ๑] และ กามสุคติภูมิ ๗ [กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์ และเทพชั้น จาตุมหาราชิกาดาวดึงส์ยามาดุสิตนิมมานรดีปรนิมมิตวสวัตดี] เมื่อรู้ถึงระดับนี้ แล้วผู้ปฏิบัติธรรมมีปรารถนาที่จะอยู่ในภพภูมิใดอีกต่อไป แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไปให้ถึง อริยบุคคล ๔ ปลอดภัยกว่านี้เยอเลย ไม่ต้องกังวลว่าจะมียมบาลเอาหอกมาแทงตูดโยนลงกระทะทองแดง อะไรทำนองนั้น แต่เป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น คือ พระอรหันต์ เพราะไม่ต้องมาวุ่นวายในโลกมนุษย์นี้อีกต่อไป ได้ข้ามไปสู่โลกุตตรภูมิอย่างแท้จริง ที่เรียกว่า นิพพาน [อมตธาตุ] คือ ภาวะที่ปราศจากกิเลสและกองทุกข์แล้ว ในการสร้างความดีดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าอับอายฟ้าดิน แต่เป็นเรื่องการเปลี่ยนสถานภาพหรือระดับคุณภาพชีวิต ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเป็นได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และยังสามารถแก้ตัวได้ทันเวลา ได้แก่ (๑) จากคนไปเป็นมนุษย์ (๒) จากมนุษย์ไปเป็นเทวดา (๓) จากเทวดาไปเป็นเทพ [วิสุทธเทพจตุสัจจพุทธะ] แต่ก็อย่าขันย้อนศรก็แล้วกัน (๔) จากคนไปเป็นสัตวนรกหรืออสุรกาย [ข้อนี้ไม่ต้องฝึกยากให้ลำบากกายใจ ทุกคนน่าจะชำนาญโดยสัญชาตญาณ] สำหรับในข้อที่ ๔ นี้ รับรองได้ว่าไม่ใช่ทางแห่งปัญญาที่ประเสริฐตามแนวทาง มัชฌิมาปฏิปทา อย่างแน่นอน
ประการสุดท้ายนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายต้องคิดพึ่งตนเองเป็นหลักในการเจริญภาวนากรรมฐาน คิดโดยใช้เหตุผล อันประกอบด้วยปัญญา ด้วยการศึกษาค้นคว้าวิจัยธรรมจากพระไตรปิฎกก่อน ต่อจากนั้น เรียนรู้จากบุคคลผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ผู้เป็นมิตรแท้อย่างแท้จริง ผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้ทรงศีลทรงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นอริยสาวกของพระศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงายหรือลุ่มหลงอย่างขาดสติสัมปชัญญะ [ไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาอย่างละเอียดด้วยเหตุผล] คือ อย่าเชื่ออะไรทั้งสิ้น จนกว่าจะพิจารณาด้วยการใช้เหตุผล [โยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาท ๑๒] มิฉะนั้น ก็จะกลายเป็นผู้ล้มเหลวในการปฏิบัติธรรมและการดำเนินชีวิตโดยธรรม เพราะไม่มีปัญญา ไม่เกิดสมาธิมุ่งมั่นในธรรมอย่างจริงจัง [ธัมมานุธัมมปฏิปทาธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] การทำบุญให้ทานเพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่พอ ต้องใช้สติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผล ใช้วิจารณญาณอย่างชาญฉลาดและแยบคายในใจอยู่เสมอ ไม่ใช่คิดได้เฉพาะวันพระวันศีลเท่านั้น อย่าเป็นพวกผีบ้าปฏิบัติธรรมตามสมัยนิยมของพวกคนโง่ๆ ที่มาชักนำอีกเลย เวลาของชีวิตมันมีน้อยมาก และไม่สามารถกำหนดให้สั้นหรือยาวได้ตามอำเภอใจ ชีวิตจะยาวหรือสั้น ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างกรรมทั้งหลายในกรรมภพ เพื่อจะหนีจากกรรมภพเหล่านั้น [วัฏฏะ ๓: กิเลสกรรมวิบาก] ฉะนั้น ความเข้าใจที่ถูกต้อง [สัมมาทิฏฐิแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘] นั้น ย่อมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอยู่ภายในตน ที่จะนำจิตวิญญาณของตนให้ประสบกับความสำเร็จในการบรรลุธรรมวิเศษของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราทั้งหลาย ได้อย่างแน่นอน ขอให้มั่นใจยึดมั่นในกุศลทั้งหลายที่จะเป็นบาทฐานสำคัญในการเจริญธรรมแห่งพระพุทธศาสนานี้ คำว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จึงเป็นขวัญกำลังใจที่สำคัญยิ่ง ที่จะเป็นแรงดลบันดาลใจไม่ให้สันโดษจากการทำบุญกุศล คือ การเจริญภาวนากรรม เมื่อเราทั้งหลายคิดดีทำดี เหล่าเทพเทวดาทั้งหลาย จนรวมทั้งพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญคุณงามความดีทั้งหลายที่สั่งสมไปเรื่อยเพื่อความสำเร็จในอริยมรรคและพระนิพพานจนเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์นี้ ก็อย่ารอเวลาให้สิ้นไป และไม่สันโดษต่อการสร้างกุศลบุญบารมีในความเป็นพุทธมามกะในชาตินี้อย่างเด็ดขาด สวัสดี.
|