๑๑๗. การเดินทางไม่ถึงดวงดาว Missing the Target Paradise Planet
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
คำที่ให้นิยามถึงความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมแห่งพระพุทธศาสนานั้น ไม่น่าจะเกินกว่าคำว่า นิพพาน ซึ่งตรงกับคำว่า วิมุตติ เพราะบุคคลเหล่านั้นได้พ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง แล้วบรรดาคณะผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายอยากเป็นเช่น บุคคลเหล่านั้น หรือไม่ ประการแรกนั้น ต้องเป็นคนที่มีสมาธิไม่หวั่นไหว หรือที่เรียกว่า วิกมฺปมานสฺส คือผู้ฟุ้งซ่านถึงความฟุ้งซ่าน และต้องถึงพร้อมสมบูรณ์ด้วยปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน นั่นคือ อานันตริกสมาธิญาณ โดยที่จิตพัฒนาถึงขั้น จตุตถฌาน แล้ว เอกัคคตาแห่งสมาธิ ที่นิ่งแห่งอารมณ์ด้วย อุเบกขา [ตัตรมัชฌัตตตา] เพราะรอบรู้ดีแล้ว [อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘วิปัสสนาญาณ ๑๐] ได้กลายเป็น มรรคสมาธิ เป็น มรรคสมาธิญาณ [อริยมรรค ๔] แล้วบรรลุถึง อริยผล ๔ [ผลสมาธิ] จนก้าวไปถึง ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ แห่ง ปัจจเวกขณญาณ อันมีอาการ ๑๙ และ อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔ จึงได้บรรลุความตรัสรู้อย่างรู้แจ้งแทงตลอดถึง สัมโพธิญาณ เข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้อย่างแท้จริง คำอธิบายแค่เพียงไม่ถึง ๑๐ บรรทัด จะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้กลายเป็น พระอรหันต์ กันหมดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน คือ ไม่อยู่ในฐานะได้เช่นนั้น เป็นแค่คำแนะนำบางส่วนให้เป็นเครื่องชี้นำไปในทางที่เป็นอริยมรรคเท่านั้น ยังไม่ขาดข้อสงสัยหมดเลย เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องรับภาระแห่งตนในการบำเพ็ญภาวนากรรมฐานอย่างหนักหน่วง มาทำเล่นๆ แก้เหงายังไม่ได้ผลอะไรดีขึ้น เพราะเสียหายคิดผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น ไม่สามารถกำหนดพิกัดตำแหน่งจิตใจของตนได้ ก็ย่อมทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน ก็เพราะไม่รู้อะไรจริง [อวิชชากินหัวคิด ก็อย่าถึงขั้นหมากินความคิดก็แล้วกัน] ฉะนั้น ความสำเร็จในการบรรลุอธิคมธรรมทั้งหลายนั้น อาศัยเวลาบำเพ็ญเพียรมากมายแตกต่างในบุคคลอย่างแน่นอน ถ้าขั้นก้าวบันไดที่ผิด ผลที่จะเกิดขึ้น มันก็ผิดตลอดเส้นทางได้เช่นกัน แทนที่จะเป็น ดาวจรัสแสง ก็กลายเป็น ดาวตกผีพุ่งไต้ ที่สะเทือนฐานชีวิตขนาดหนักได้เช่นกัน [Deep Impact] บางคนขวัญอ่อนมากก็อาจขอย้ายศาสนากันเลย [ส่วนใหญ่พวกบาปหนา เลือกศาสนาที่บาปน้อย] หรือ ไม่นับถือศาสนาไปเลยก็มี เพราะไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาเลื่อมใส โดยมีอคติลำเอียงว่า ไม่เป็นจริง ไปยอมเชื่อกับสิ่งที่เป็นจริงตามประสาทสัมผัสได้เท่านั้น และสิ่งเป็นนามธรรมนั้น เหมาเอาเองไม่มีจริง [ทิฏฐิเห็นผิดถือความเห็นของตนเป็นถูก] นั่นคือ อวิชชา คบหากับ นิวรณ์ เข้าเล่นงานพวกไม่มีความคิด โดยเฉพาะพวกมีการศึกษาสูงๆ และพวกไม่มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะตั้งปรารถนาจะโง่เอง ด้วยสำคัญตนเองผิดไป จึงเป็นมูลเหตุแห่งความล้มเหลวในชีวิตและในทางธรรม การเริ่มต้นปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดเริ่มจาก (๑) ไม่ทำความชั่ว (๒) ถึงพร้อมด้วยการทำความดี และ (๓) ทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
บทความที่ ๑๑๗ ประจำปี ๒๕๕๘ การเดินทางไม่ถึงดวงดาว
เมื่อพิจารณาถึงบรรยายกาศในการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะพบได้ว่า มีหลายบุคคลผู้ค้นหาแนวทางวิธีเพื่อให้บรรลุธรรมวิเศษ [อธิคมธรรมอุตตริมนุสสธรรม = ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาบัติ มรรคผล] ให้ได้ โดยมุ่งค้นหาวิธีอุบายให้ตรงกับ จริต อุปนิสัย หรือ อธิมุตติ ของตนให้มาที่สุด บางท่านก็ใช้เวลาเกือบตลอดชีวิตนี้ไปเลยก็มี บางท่านก็เสียชีวิตไปอย่างไม่คาดคิดมาก่อนก็มี หรือบางคนก็หนีจากผ้ากาสาวพัสตร์ ไปมีครอบครัว หรือกลับไปใส่สูททำมาหากินตามภาษาฆราวาสไป ก็มีเช่นกัน ส่วนปัจจัยอันเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงที่ทำให้เกิดความล้มเหลว หลังจากตัดสินใจออกบวชถือเพศเป็นสมณะนั้น ก็มีเหตุผลเอาแต่จะค้นหาข้ออ้างหรือเหตุผลมาอธิบายกันไป แต่อย่าลืมว่า เทวดาย่อมรู้ดีถึงเหตุแห่งหายนะของผู้ทิ้งผ้าเหลือง ส่วนการให้เหตุผลที่ดีที่สุดในอันดับแรก คือ การไม่เกิดภาวะจิตศรัทธาเลื่อมใสหรือปลงใจเชื่อในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ไม่เกิดความร่าเริงใจที่จะปฏิบัติธรรมในแต่ละช่วงขณะวันเวลาที่ผ่านไป นั่นคือ ความรู้ไม่จริงแห่งอวิชชา เข้ามาปิดบังปัญญาให้อ่อนกำลังลง กลายเป็นสิ้นปัญญาไปดื้อๆ เฉยเลย หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เป็นผู้ขาดแคลน กัลยาณปุถุชนปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง คอยเป็นเพื่อนที่ปรึกษาได้จริง เช่น พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย เป็นต้น และอีกประการหนึ่ง ขวัญกำลังใจ [Morales] หรือ แรงบันดาลใจ [Aspirations] ก็คือ ความหวังตามที่ตั้งใจมุ่งหมายเอาไว้ นั้น ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติธรรมหรือการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานประสบความสำเร็จได้ แต่ที่สำคัญที่สุด อย่าปัจจัยสำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง คือ เวลาของชีวิตที่สูญเสียไปทุกเสี้ยววินาที ที่บุคคลนั้นไม่เห็นคุณค่าของมัน ที่เรียกว่า จังหวะโอกาส [Rhythm and Chance] สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยองค์ประกอบชีวิตที่สามารถเลือกแสวงหาได้ แต่ไม่มีขายตามห้างร้านต่างๆ ต้องเสกสร้างขึ้นมาเอง ด้วยตนเองเท่านั้น อย่าไปคิดหาที่พึ่งจากผู้อื่น และอย่าไปถือเป็นเรื่องโชคลางยามดีอะไร สร้างมันขึ้นมาเองดีกว่า แน่นอนกว่า เพราะถ้าลงมือทำจริง มันก็เกิดขึ้นจริง แต่ถ้าไม่ทำจริง มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นจริง เช่นกัน เพราะฉะนั้น องค์ประกอบปัจจัยต่อไปนี้ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องสำรวมระวังเป็นพิเศษ เพื่อเป็นพละกำลังสำคัญในการบำเพ็ญเพียรภาวนาให้ไพบูลย์ยิ่งขึ้นไป ได้แก่ (๑) ร่างกายที่แข็งแรง [Physical Strength] (๒) ขวัญกำลังใจ [Morales] (๓) ปัญญาแห่งโยนิโสมนสิการ [Knowledge and Insight = ธัมมัฏฐิติญาณปัจจยาการ] และ (๔) คลังปัญญา [ต้นทุนทางปัญญาIntellectual Capital] สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นได้จาก การหมั่นเพียรเจริญภาวนากรรมฐาน [มนสิการกรรมฐานอนุปัสสนา ๗สติปัฏฐาน ๔] ที่ประกอบด้วย (๑) กายภาวนาภาวิตกาย (๒) สีลภาวนาภาวิตศีล (๓) จิตตภาวนาภาวิตจิต และ (๔) ปัญญาภาวนาภาวิตปัญญา คำว่า ภาวนาภาวิต หมายถึง การพัฒนา การฝึกอบรม หรือ การเจริญ ให้เกิดศักยภาพยิ่งขึ้น คือ เจริญดีแล้ว [สุภาวิตา] ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์ ฉะนั้น เรื่องแบบนี้ อย่าให้กลายเป็นเรื่อง ใกล้เกลือ กินด่าง ก็แล้วกัน เพราะไม่ย่อมใช้ปัญญาด้วยไหวพริบปฏิภาณ หรือหมั่นทำ โยนิโสมนสิการ [คิดถูกวิธีอย่างฉลาด = ปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการ] ให้บ่อยๆ เป็นการพอกพูนด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ได้ นั่นคือ รู้เห็นสรรพสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นั่นเอง
ดังนั้น การรู้เห็นธรรมชาติตามที่เป็นจริงนั้น เป็นเรื่องสำคัญอันเป็นปรากฏการณ์ทางภาวะจิตของมนุษย์ คือ กระบวนการคิด [Conceptualization] ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา เรียกว่า ปัญญาWisdom โดยแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ (๑) การใช้สมาธิในการคิดขั้นพื้นฐานและการคิดขั้นสูง [โลกียธรรม] (๒) การใช้สมาธิในการพิจารณาสภาวธรรมในวิปัสสนา [โลกุตตรธรรม หรือ โลกียญาณโลกุตตรญาณ] หรือ การเกิดปัญญาเห็นนามรูปโดย ไตรลักษณ์ หรือ ธรรมนิยาม ๓ [โดยใช้ วิปัสสนาภูมิ หรือ ปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๑มูล ๒ และ กฎแห่งกรรมกฎกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตา] คือ สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมของตน] อันเป็นความหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์ ที่เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truthsพระอภิธรรม] โดยแสดงเป็นนัยแห่ง โลกุตตรธรรม ๙ รวมถึง ปรมัตถธรรม ๔ โดยธรรมทั้งหลายนี้ ไม่ได้สหรคตด้วยกิเลสทั้งหลาย [ตัณหาทิฏฐิ คือ ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อมัชฌิมาปฏิปทา] ที่เรียกว่า สังสารทุกข์แห่งภวจักร หรือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [ขันธ์ ๕ มีกิเลสครอบงำอยู่แห่งวัฏฏะ คือ กิเลสกรรมวิบาก] ดังนี้
โลกุตตรธรรม ๙ หมายถึง ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกสภาวะพ้นโลก ได้แก่ (๑) มัคคญาณมรรค ๔อริยมรรค ๔ หมายถึง ญาณในอริยมรรค ปัญญาสูงสุดที่กำจัดกิเลสเป็นเหตุให้บรรลุความเป็น อริยบุคคล ชั้นหนึ่งๆ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณสกทาคามิมัคคญาณอนาคามิมัคคญาณอรหัตตมัคคญาณ (๒) ผลญาณผล ๔อริยผล ๔สามัญผล ๔ [สัมมาญาณ] หมายถึง ญาณในอริยผล ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจาก มัคคญาณ และเป็น ผลแห่งมัคคญาณ นั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้วได้ ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มี โสดาบันโสดาปัตติผลญาณ ๑ สกทาคามีสกทาคามิผลญาณ ๑ อนาคามีอนาคามิผลญาณ ๑ อรหันต์อรหัตตผลญาณ ๑ (๓) นิพพานนิพพาน ๒ หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพานนิพพานยังมีอุปาทิเหลือ หรือ กิเลสปรินิพพานดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคลพระเสขะ (๒) อนุปาทิเสสนิพพานนิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ หรือ ขันธปรินิพพานดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคลพระอเสขะ
ปรมัตถธรรม ๔ [ปรมัตถสัจจะอรรถบัญญัติ] หมายถึง สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด หรือ คำนิยามตามนัยแห่งพระอภิธรรมปิฎก ได้แก่ (๑) จิตจิต ๘๙ คือ สภาพที่คิด [นามขันธ์ = วิญญาณ] ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ ระดับจิตจำแนกตามภูมิทั้ง ๔ ได้แก่ (๑) กามาวจรภูมิ (๒) รูปาวจรภูมิ (๓) อรูปาวจรภูมิ (๔) โลกุตตรภูมิ (๒) เจตสิกเจตสิก ๕๒ คือ สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต [นามขันธ์ = เวทนาสัญญาสังขาร] ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓อกุศลเจตสิก ๑๔โสภณเจตสิก ๒๕ (๓) รูปรูป ๒๘ คือ สภาวะที่เป็นร่าง [รูปขันธ์ = รูป] พร้อมทั้งคุณและอาการ ได้แก่ (๑) มหาภูต ๔ คือ รูปต้นเดิม ได้แก่ ธาตุ ๔ กับ (๒) อุปาทายรูป ๒๔ คือ รูปอาศัยในมหาภูต ๔ (๔) นิพพานนิพพาน ๒ คือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหาอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพานนิพพานยังมีอุปาทิเหลือ [สัญญาเวทนา เป็นกิริยาจิต ไม่ส่งผลในวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสกรรมวิบาก เพราะเป็นจิตของพระอรหันต์] กับ (๒) อนุปาทิเสสนิพพานนิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ [อมตธาตุวิวัฏฏะขันธวินิมุติอนัตตาสุญญตา]
หมายเหตุ: ให้ระวังการสื่อความหมายใน คำว่า ขันธ์ ๕นามรูป [อุปาทิอุปาทานขันธ์] โดยแยกออกเป็น ๒ นัย ได้แก่ (๑) ขันธ์ ๕นามรูป อันเป็นจิตที่สหรคตหรือสัมปยุตต์ด้วยวัฏฏะ ๓ [กิเลสกรรมวิบาก] และ (๒) ขันธ์ ๕นามรูป อันเป็นจิตที่ไม่สหรคตหรือวิปยุตต์ด้วยวัฏฏะ ๓ [กิเลสกรรมวิบาก] โดยจะถูกระงับดับไปในวิปัสสนาภูมิ ซึ่งหมายถึง วิวัฏฏะนิพพาน อนึ่ง พึงพิจารณาว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้เวลาในการค้นคว้าเกี่ยวกับ ขันธ์ ๕นามรูป ยาวนานที่สุด ก่อนถึงการตรัสรู้ภายใน ๖ ปี
อนึ่ง มีข้อให้พิจารณาเป็นพิเศษ คือ การเริ่มจะทำกิจการใดๆ นั้น ถ้าเริ่มต้นด้วยข้อที่ผิด มันก็มักจะผิดไปตลอดโคจรงานนั้น หรือต้องแก้ไขปรับปรุงอยู่ตลอด กลายเป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ ทำให้ต้องล้มเลิกโครงการนั้นๆ ได้ ความจริงเกิดจาก ความไม่พร้อมอันสมบูรณ์ [นั่นคือ อวิชชาIgnorance หมายถึง ความไม่รู้ความไม่เห็นความไม่ถึงพร้อมเฉพาะความไม่ตามตรัสรู้ความไม่ตรัสรู้พร้อมความไม่แทงตลอดความไม่ถึงพร้อมความไม่ถึงรอบความไม่เห็นเสมอความไม่พิจารณาความไม่ทำให้ประจักษ์ความรู้ได้ยากความเป็นคนเขลาความไม่รู้ทั่วพร้อมความหลงใหลความมัวเมาอวิชชาเป็นโอฆะอวิชชาเป็นโยคะอวิชชาเป็นอนุสัยอวิชชาเป็นเครื่องกลุ้มรุมอวิชชาเป็นข่ายโมหะอกุศลมูล] ในการจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับงานนั้นๆ ในการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางด้านจิตนิยมและสัจจนิยมเชิงปรัชญา ที่หมายถึง เรื่องนามธรรมขั้นสูง [Higher Abstract] คือ กระบวนการคิดโดยให้จิตตามพิจารณาจิตด้วยปัญญารอบรู้ ฉะนั้น ผู้ที่ขาดประสบการณ์ในทักษะการเรียนรู้ [ภาษาและคำศัพท์] ย่อมเกิดความลำบากในการทำความเข้าใจ เมื่อมีการรู้การเห็นใน ปรากฏการณ์แห่งธรรม [The Phenomenal Statesภาพนิมิตมโนภาพ] ทั้งหลายขึ้น เพราะในวิปัสสนาภูมินั้น คงไม่ใช่ภาษากลาง ที่เรียกว่า ภาษาเทพDivine Language ที่บางคนบางว่า ออกสำเนียมคล้าย ภาษาลาติน [Latin] หรือ ภาษาบาลีสันสกฤต [PaliSanskrit] แต่เป็น ภาษาจีนไหหลำ หรือ ภาษากวางตุ้ง [Cantonese] นั้น ไม่น่าจะใช่ สำหรับข้อสมมติฐานในเรื่องนี้ ภาษาทางจิต เป็นสนามพลังงานเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า สนามพลังงานจิต [Mental Energy Field] ที่สื่อความหมายได้เหนือ สมมติสัจจะ หรือ ภาษาใดภาษาหนึ่งของมนุษย์ เช่น การสื่อสารในการรักษาด้วยจิตบำบัด [Psychotherapy] หรือ การสื่อสารผ่าน โทรจิต [Telepathy] เรียกอีกอย่างว่า เจโตปริยญาณ (ข้อ ๕ ในวิชชา ๘ คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ เมื่อบุคคลได้จตุตถฌาน รวมทั้ง ในข้อ ๒ มโนมยิทธิฤทธิ์สำเร็จด้วยใจหรือนิรมิตกายอื่น ในข้อ ๓ อิทธิวิธาแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ หรือ ในข้อ ๔ ทิพพโสตหูทิพย์ และในข้อ ๖ ปุพเพนิวาสานุสสติระลึกชาติได้กับข้อ ๗ ทิพพจักขุตาทิพย์ เรื่องนี้ ก็บุญบารมีของใครของมันที่สั่งสมไว้ อย่าไปร้อนใจกับผู้อื่น) หมายถึง ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ ก็เข้าในลักษณะอ่านจิตอ่านใจองผู้อื่นได้ [Mind Map] หรือ อธิมุตติ [อุปนิสัยแนวโน้มความนิยม] ของผู้อื่นได้ จนถึงขั้นบังคับจิตผู้อื่นได้ [Mind Control] ที่เรียกว่า Conspiracy Theory คือ ความเชื่อว่ามีองค์กรที่รับผิดชอบอยู่เบื้องหลังอย่างลับๆ ที่ควบคุมเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่อธิบายไม่ได้ เช่น การเปลี่ยนจิตใจของมนุษย์หรือความแปรปรวนในเรื่องดินฟ้าอากาศ เป็นต้น แต่บางคนแปลว่า ทฤษฎีทรยศต่อธรรมชาติ เช่น โครงการ HARRP = High Frequency Active Auroral Research Program ที่ถือเป็น อาวุธทางธรณีฟิสิกส์ [Geophysical Weapon] หรือ โครงการสตาร์วอร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น แต่คงไม่เกี่ยวกับ ปล่อยวัวธนูเสกตะปูโลงผีเป่าหนังควายเข้าท้องยาสั่งยาแฝดกุมารทองน้องพี่ สาลิกาลิ้นทองเครือหญ้านางมัดใจผัว [เทคโนโลยีหมอเขมรแถวสุรินทร์บุรีรัมย์] หรือ ลอยมาตาลมปล่อยของลองของพวกติรัจฉานวิชา [เทคโนโลยีหมอแขกมีนบุรี ข้อนี้ไม่เกี่ยวกับนักเรียนเทคนิคแถวนั้น ครูอาจารย์พ่อแม่เอาไม่อยู่ ชอบพากันปล่อยของตามรถเมล์ (รวมอ้วกขี้และเยียวไม่เป็นที่เป็นทางด้วย แถมมือบอน ชอบลงยันต์ตามรั้วกำแพงบ้านหรือตึก สงสัยเป็นลูกหลานจากตระกูลหมอผีหรือหมอธรรมสมัยกรุงเก่าครั้งกระโน้นนานมาก) เช่น ลูกระเบิดปิงปอง มีดอีดาบ ไม้จิ้มฟันเชี่ยนคมแฝด ข้าวคั่วปืน พวกนี้เก่งนักควรส่งไปอยู่ค่ายหนองจิก จะได้รู้ว่าชีวิตมีค่ามากแค่ไหน ควรทำอะไรให้ครอบครัวและสังคม] ของพวกหมอเวทย์มนตร์ไสยาศาสตร์ไทยๆ เรา [น่าแปลกที่ทัวร์จีนหรือคนเอเชียเหมือนกัน สนใจในเรื่องพวกนี้ ชอบของเสน่ห์มหานิยม เพื่อนำไปใช้ในการค้าขาย มากกว่าเครื่องรางของขลังแบบแคล้วคลาด หรือป้องกันอาวุธศัตรูคู่แค้น แต่ก็ต่างจากคนไทยชอบเครื่องรางของขลังป้องกันตัว คือ เตรียมรบอยู่เสมอแม้ยามสงบ ด้วยความไม่ประมาท] อนึ่ง คุณไสยพวกนี้ มันจะแพ้คนทำดีหรือผู้ทรงศีล
ในความเป็นจริง น่าจะเป็น ภาษาเชิงสัญลักษณ์ [Sign Language] คือ เป็นความเข้าใจระหว่างใจกับใจตามที่มโนภาพเอาไว้ในใจ แต่ใน ภาษาทางภาวนากรรมฐาน [Mental Development Language] นั้น เป็นการใช้ นิมิตนิมิตต์ [Signs] หรือ ภาพนิมิตจินตภาพ [Mental Images] อีกนัยหนึ่ง ก็น่าจะเป็นศักยภาพทางจิตที่สร้างภาพเสมือนจริงให้เกิดขึ้นได้ในกาลทั้ง ๓ ได้แก่ อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันนัทธา อย่างเช่น ภาพที่เกิดขึ้นในความฝัน [Dreams] ที่จิตใต้สำนึกสร้างขึ้นในขณะนอนหลับ ที่อาจจะเกิดจากการประมวลองค์ความรู้จากการสร้างภาพใน จินตนาการ [Imaginations] ตามความนึกคิดในใจ [โยนิโสมนสิการ = อธิโมกข์ คือ การปลงใจเชื่อด้วยศรัทธา หรือปักใจเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กับ มนสิการ คือ การใส่ใจ ใคร่ครวญ ด้วยวิจารณญาณและความยินดี หรือ ฉันทะ พอใจ ถ้าในวิปัสสนา คือ นิกันติ ความพอใจติดใจ และยังมีสติสัมปชัญญะ] ของผู้ฝันคนนั้น แต่ในความฝันนั้น บุคคลส่วนใหญ่นั้น ไม่มีสติสัมปชัญญะ จิตมันแอบสร้างภาพในฝันขึ้นเอง หรืออาจเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ได้ แต่พระอรหันต์ไม่มีฝันลมๆ แล้งๆ นอนฝันหวาน หรือ นั่งฝันกลางวัน กลางแดดร้อนๆ เพราะจิตของพระอรหันต์ นั่นคือ สติสัมปชัญญะ [มีเอกัคคตาแห่งสมาธิแล้วด้วย ถ้าพระอรหันต์ฝันเช่นชาวบ้าน แสดงว่าเป็นเรื่องผิดปกติ สังวร ๕ ไม่ครบหรือบกพร่องไป ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรสติสังวรญาณสังวรขันติสังวรวิริยสังวร] ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างสมบูรณ์ด้วย มหาสติปัฏฐานสติปัฏฐาน ๔ นั้น ย่อมกลายเป็น สัมมาสติ ไปแล้ว ไม่รอใครทั้งนั้นหรอก [คำเตือน: การไม่ปฏิบัติไม่ต้องไปรอเพื่อนๆ จะบรรลุก็ให้สำเร็จผลไปเลย บุญของใครของมัน ไม่เกี่ยวกัน ตัดกันให้ขาดในเรื่องนี้ หรือในทำนองเดียวกัน เมื่อคนออกลูก จะไปรอคนนั่นคนนี้มาพร้อมก่อน แล้วถึงจะคลอดออกมา หรือรอเอามหาฤกษ์เอายาม ก็เชิญตามสบาย เป็นเรื่องยากมากกับความเจ็บ ไม่ใช่ปวดอย่างเดียว และอันตรายด้วย]
อย่างไรก็ตาม จุดแรกเริ่มแห่งการปฏิบัติธรรมที่เป็น สัมมาปฏิปทา [ปฏิบัติธรรมถูกต้องโดยธรรม] หรือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน หรือ ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม ดังเช่น สัมมาปฏิปทาอนุโลมปฏิปทาอปัจจนีกปฏิปทา [ปฏิปทาที่ไม่ขัดขวางกับมัชฌิมาปฏิปทา] อันวัตถปฏิปทา [ปฏิปทาที่เป็นไปตามความมุ่งหมาย] ธัมมานุธัมมปฏิปทา [ปฏิบัติธรรมถูกหลัก] กล่าวคือ การบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย [สีลสัมปทาสีลวิสุทธิ] ๑ โภชเนมัตตัญญุตา ๑ ชาคริยานุโยค ๑ ที่เรียกว่า อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค [มัคคญาณอริยมรรค ๔มรรค ๔ทุกขนิโรธคามมินีปฏิปทา (มรรค) หรือ อริยสัจจ์ ๔ กับ อริยมรรคมีองค์ ๘อริยอัฏฐังคิกมรรค] ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ [สติสัมปชัญญะ]สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ กล่าวโดยย่อ คือ การชำระ ไตรสิกขาสิกขา ๓ ให้เกิดความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งหลายด้วยการเจริญ วิสุทธิ ๗ [ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะจิตดังกล่าวนี้ คือ (๑) อธิโมกข์ [ศรัทธา ๔สัทธา ๔] คือ ความศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กับ (๒) มนสิการ คือ ความใส่ใจด้วยยินดีปราโมทย์ในธรรมที่ปฏิบัติอย่างประจักษ์แจ่มแจ้ง ที่ปฏิสังยุตด้วย อริยอัฏฐังคิกมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ ในทุกขั้นตอน ดังนี้
(๑) วีติกกมกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาทางกายและวาจา เช่น เป็น กายทุจริต ๓ คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย [ปาณาติบาตฆ่าสัตว์ ๑ อทินนาทานลักทรัพย์ ๑ กาเมสุมิจฉาจารประพฤติผิดในกาม ๑] และ วจีทุจริต ๔ คือ ประพฤติชั่วด้วยวาจา [มุสาวาทพูดเท็จ ๑ ปิสุณาวาจาพูดส่อเสียด ๑ ผรุสวาจาพูดคำหยาบ ๑ สัมผัปปลาปะพูดเพ้อเจ้อ ๑] ย่อมละด้วยศีล [อธิศีลสิกขา = สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ นั่นคือ วจีสุจริต ๔กายสุจริต ๓สัมมาชีพ ๑]
(๒) ปริยุฏฐานกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างกลางที่พลุ่งขึ้นมาเร้ารุมอยู่ในจิตใจ ดังเช่น นิวรณ์ ๕ คือ ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี [กามฉันทะความพอใจในกาม ๑ พยาบาทความขัดเคืองแค้นใจ ๑ ถีนมิทธะความหดหู่และเซื่องซึม ๑ อุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและร้อนใจ ๑ วิจิกิจฉาความลังเลสงสัย ๑] ในกรณีที่จะข่มระงับไว้ ย่อมละด้วยสมาธิ [อธิจิตตสิกขา = สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ นั่นคือ สัมมัปปธาน ๔สติปัฏฐาน ๔ฌาน ๔]
(๓) อนุสยกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน [พื้นจิต] อันยังไม่ถูกกระตุ้นให้พลุ่งขึ้นมา ด้วยอารมณ์ที่จะประสบผ่านเข้ามาในใจ ถึงจะแสดงฤทธิ์ออกมาให้เห็นได้ เช่น อนุสัย ๗ คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน [กามราคะความกำหนัดในกาม ๑ ปฏิฆะความขัดใจ ๑ ทิฏฐิความเห็นผิด ๑ วิจิกิจฉาความสงสัย ๑ ภวราคะความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชาความไม่รู้จริง ๑] ย่อมละด้วยปัญญา [อธิปัญญาสิกขา = สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ นั่นคือ (๑) ความรู้อริยสัจจ์ ๔เห็นไตรลักษณ์รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูลเห็นปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ (๒) กุศลวิตก ๓]
ฉะนั้น ความรู้รอบตัวเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ (๑) ความเชื่อ (๒) ทัศนคติค่านิยม (๓) ขนบธรรมเนียม (๔) ประเพณี หรือ (๕) วัฒนธรรม เฉพาะกลุ่มในสังคมไทยนั้น มีความสำคัญยิ่ง อันจะเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติธรรม เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมผ่านไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อเลือกใช้เป็นที่นั่งสมาธิหรือเจริญภาวนากรรมฐาน ให้ถูกกาลเทศะ หรือเหมาะควรแก่ธรรม เรื่องนี้เป็นทักษะในการใช้ไหวพริบปฏิภาณเฉพาะตน เพราะเป็นองค์ประกอบปัจจัยที่บ่งบอกสัญญาณแห่งความสำเร็จในกาลข้างหน้า หรือให้เปรียบเทียบกับหลักธรรม สัปปายะ ๗ โดยอย่างไปหลงประเด็นกับค่านิยมตามกระแสสังคมที่ผิดๆ เพราะพุทธบริษัทที่แท้จริง ไม่ยินยอมจำนน [จนปัญญา] อยู่ภายใต้อำนาจแห่งกิเลสทั้งหลาย นั่นคือ โลกวิสัยโลกียวิสัยสังกิเลสทั้งปวง แต่ต้องแสดงตนเป็น ผู้นำแห่งจิตวิญญาณโดยวิถีตามสัจจภาวะแห่งพุทธะ [พุทธคุณ ๒พุทธคุณ ๓พุทธคุณ ๙] ให้พิจารณาหลักธรรม สัปปายะ ๗ ดังนี้
สัปปายะ ๗ หมายถึง สิ่งที่สบายสภาพเอื้อสิ่งที่เกื้อกูลสิ่งที่เอื้อต่อการอยู่ดีและการที่จะพัฒนาชีวิต สิ่งที่เหมาะกัน อันเกื้อหนุนในการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย ได้แก่ (๑) อาวาสสัปปายะเสนาสนสัปปายะ [Suitable Abode] คือ ที่อยู่อันเหมาะ เช่น ปลอดภัย ไม่พลุกพล่านจอแจ (๒) โคจรสัปปายะ [Suitable Resort] คือ แหล่งอาหารอำนวย ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป เปรียบเทียบกับ คำว่า อโคจร ๖ คือ บุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ ได้แก่ หญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวเทื้อ ภิกษุณี บัณเฑาะก์ [กะเทย] และ ร้านสุรา [รวมทั้งตำหนักหรือสำนักร่างทรงก็ไม่ควร] (๓) ภัสสสัปปายะธัมมัสสวนสัปปายะ [Suitable Speech] คือ การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ใน กถาวัตถุ ๑๐ ได้แก่ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา และ พูดแต่พอประมาณรู้จักกาลเทศะ รับทราบข่าวสารและสื่อสารที่เอื้อปัญญา (๔) ปุคคลสัปปายะ [Suitable Person] คือ บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น ไม่มีคนร้าย แต่มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ (๕) โภชนสัปปายะอาหารสัปปายะ [Suitable Food] คือ อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก (๖) อุตุสัปปายะ [Suitable Climate] คือ ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะ เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น (๗) อิริยาปถสัปปายะ [Suitable Posture] คือ อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี มีอิริยาบถสมดุล
เมื่อเข้าใจแจ่มชัดในหลักธรรม สัปปายะ ๗ ดีแล้ว ธรรมอันเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติโดยชอบ [โดยจะบกพร่อง ละเลย หรือ ขาดการใส่ใจ มิได้] นั้น คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค [มัคคญาณอริยมรรค ๔มรรค ๔ทุกขนิโรธคามมินีปฏิปทา (มรรค) หรือ อริยสัจจ์ ๔ กับ อริยมรรคมีองค์ ๘อริยอัฏฐังคิกมรรค] ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ [สติสัมปชัญญะจตฺตาโร สติปฎฺฐานา]สัมมัปปธาน ๔ [จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา]อิทธิบาท ๔ [จตฺตาโร อิทฺธิปาทา]อินทรีย์ ๕ [ปัญฺจินฺทฺริยานิ]พละ ๕ [ปญฺจ พลานิ]โพชฌงค์ ๗ [สตฺต โพชฺฌงฺคา]มรรคมีองค์ ๘ [อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาสติปัฏฐาน ๔สติปัฏฐาน ๔ ถ้าขึ้นต้นส่วนนี้ไม่ได้ การปฏิบัติธรรมที่เหลือก็เป็นเรื่องสูญเปล่า เพราะ ท่านสติแตกแล้ว [อวิชชาโมหะ] พวกจิตฟั่นเฟือน จิตสับสน จิตหวั่นไหว จิตสัดส่าย ไม่สามารถปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาได้ เพราะไม่มีสติสัมปชัญญะ [สติปัญญา] ที่จะเข้าใจหลักธรรมที่เป็นองค์รวมได้หมด ไม่เกิด อภิญญา [ความรู้ชัดแจ้ง] ไม่เกิด สัมโพธะ [ความตรัสรู้] และย่อมไม่เกิด นิพพาน [ภาวะอันตัดขาดจากวัฏฏะทั้งหลายดีแล้ว] ไม่ใช่พอเอาดอกไม้แดงทัดหูซ้ายเข้าให้ ถ่วงตุ้มหูด้านขวาไว้ [รักษาศูนย์ถ่วงไม่เอียงมากด้านใดด้านหนึ่ง] ก็ลุกฟ้อน ร้องรำทำเพลง อภัพบุคคล เช่นนี้ หมดสิทธิ์ที่จะบรรลุคุณอันใหญ่พระธรรมวินัยนี้ ดังนี้ ให้จัดการเรื่อง สติสัมปชัญญะ [เกิดขึ้นพร้อมฌานสมาธิในขั้นใดขั้นหนึ่ง หรือ อานาปานสติสมาธิ คือ กำหนดสติตามลมหายใจเข้าออก ให้สงบปัสสัทธิ ด้วยยินดีปราโมทย์และเป็นสุข จนเกิดเป็นสมาธิในอารมณ์นั้นๆ อย่างแน่วแน่] ให้ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การเกิดจิตตสมาธิ [เอกัคคตาแห่งวิเวกทั้ง ๓ ได้แก่ กายวิเวกความสงัดสงบระงับกาย ๑ จิตตวิเวกความสงัดสงบระงับใจ ๑ อุปธิวิเวกความสงัดสงบระงับสังขารทั้งปวง ๑] ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง โดยสัมปยุตต์ด้วยกับการเจริญภาวนากรรมฐาน [ภาวนา ๔: กายภาวนาสีลภาวนาจิตตภาวนาปัญญาภาวนา ซึ่งในฐานที่ตั้งสติเหล่านั้น จะเทียบเคียงกันได้พอดี ให้ผู้ปฏิบัติธรรมใส่ใจมนสิการการเกิดสัมปยุตตธรรมในข้อดีให้ดีเป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องปัญญาแตกฉานในธรรมหรือจุดมุ่งหลายแห่งอรรถธรรมซึ่งปรมัตถะ อันเป็นประโยชน์สูงสุดหรือปรมัตถประโยชน์ คือ นิพพาน นั่นเอง] ข้อพึงสังเกต คือ ใน การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้น ก็คือ การเจริญอนุปัสสนา ๗ ในแต่ละฐาน ไม่ใช่เพียง อนัตตานุปัสสนา เพียงอย่างเดียว แล้วหาข้อสรุปถึงความเป็นอนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตนเท่านั้น ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ๑ทุกขานุปัสสนา ๑อนัตตานุปัสสนา ๑นิพพิทานุปัสสนา ๑วิราคานุปัสสนา ๑นิโรธานุปัสสนา ๑ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ๑ ตามลำดับ ในประเด็นนี้ ดูเหมือนทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นงงมากยิ่งขึ้น ถ้าเป็นมือใหม่ฝึกหัดกรรมฐาน เพราะทั้งจะทำให้จิตกลายเป็นสมาธิแห่งรูปฌานทั้ง ๔ มันก็ยากแสนเข็ญ ยังต้องก้าวสู่การเจริญวิปัสสนาให้รู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ เหมือนนักบินที่ไม่เคยฝึกบินมากก่อนด้วยเครื่องบินฝึกหัด ให้ขับเครื่องเอฟ ๑๘ หรือแอร์บัส ๓๘๐ ไปเลย [โหม่งโลกอย่างไม่ใยดีทั้งนั้น แต่อย่าลืม บุญบารมีของคนไม่เท่ากัน ตามที่สร้างสมมาก่อน บางคนขึ้นขับก็เป็นได้เลย ของเก่าเขาดีจริงๆ (สัญญา) ใช้ในครั้นพุทธกาล ผู้ได้ฟังธรรมจากพระตถาคต ก็บรรลุอรหันต์ในคราวนั้น ขณะนั้น สมัยนั้น ได้เลย รอไม่ได้ ก็มีเช่นกัน ดังเช่น ภิกษุปัญจวัคคีย์ หมายถึง พระพวก ๕พระมหาเถระ ๕ภิกษุมีพวก ๕ ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะวัปปะภัททิยะมหานามะอัสสชิ [ภิกษุสงฆ์] และพร้อมด้วย พระนางมหาปชาบดีโคตรมี [ภิกษุณีสงฆ์] อีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็น พระอรหันตสาวก รุ่นแรกของพระพุทธเจ้า หลักเกิด ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ ในราตรีคืนแรก คืนราตรีถัดไปก็บรรลุถึง พระอรหันตขีณาสพ ตามลำดับ เพราะฉะนั้น อย่าประมาทปัญญา หรือ อย่าประมาทในธรรม เป็นเด็ดขาด] ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
ภิกษุเหล่านั้นได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงมลทินของพระกรรมฐานที่เกิดขึ้นๆฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังที่ที่ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ทรงบรรเทามลทิน ลำดับนั้น บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำภัตรออกไปอย่างนี้ โอวาทอยู่ พระวัปปเถระ ได้เป็นพระโสดาบันในวันปาฏิบท ในแรม ๒ ค่ำ พระภัททิยะ ในแรม ๓ ค่ำ พระมหานามะ ในแรม ๔ ค่ำ พระอัสสชิ และ ในวันแรม ๕ ค่ำของปักษ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นทั้งหมดประชุมรวมกันตรัส อนัตตลักขณสูตร [อนัตตตา] เวลาจบพระสูตร ภิกษุทั้งหมดตั้งอยู่ใน พระอรหัตผล (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 468 FILE 18)
ในอันดับต่อไปนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรม ใช้เวลาสักนิดในการพิจารณาทบทวนความเข้าใจและความแม่นยำจำได้ในหลักธรรม สติปัฏฐาน ๔ อย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนี้
สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ที่ตั้งของสติการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ซึ่งทำให้ลุถึง อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [ยถา ปชานํ] นั่นคือ ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ในความหมายรวมๆ ฉะนั้น การเจริญธรรม มหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นด่านแรกแห่งการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า อริยมรรค ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง นั่นคือ (๑) อานาปานสติ กำหนดลักษณะลมหายใจเข้าออก อัสสาสะปัสสาสะ ควรใช้เจริญฌานในขั้นแรก (๒) อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (๓) สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (๔) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (๕) ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ และ (๖) นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็น สุขก็ดีทุกข์ก็ดีเฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส [มีเครื่องล่อวัตถุ] และเป็นนิรามิส [เป็นอิสระ] ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่ มีราคะไม่มีราคะมีโทสะไม่มีโทสะมีโมหะไม่มีโมหะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒โพชฌงค์ ๗อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นและเข้าใจอย่างถูกต้องของข้อธรรมที่ต้องเริ่มแรกในการปฏิบัติธรรมในพระธรรมวินัยนี้ ให้พิจารณาถึงมหากุศลผลบุญอันจะเกิดขึ้นในแต่ละบุคคล ก็ต่างกรรมต่างวาระกัน ดังนี้
อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔ (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 254257 FILE 14)
[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ ว่าอย่างนั้นตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผล ในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิ [อุปทานขันธ์ ๕] ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๖ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๔ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๓ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๒ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๑ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีหนึ่งยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๖ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๕ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๔ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๓ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๒ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๑ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอดกึ่งเดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกึ่งเดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผล ในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือ เมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ ก็เป็น พระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก [เอกายนมรรค คือ คือ สติปัฏฐาน ๔ โดยรวม คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗] เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโสกและความร่ำไร เพื่ออัสดงดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ ญายธรรม [ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือ ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน] เพื่อกระทำ พระนิพพาน ให้แจ้งทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้
คำอัน ใด ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คำอันนั้น เราอาศัย เอกายนมรรค [คือ สติปัฏฐาน ๔ โดยรวม คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗] นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีใจยินดี เพลิดเพลินนัก ซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า [พุทธภาษิตถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าพูด ตรงข้ามกับ สาวกภาษิต] ด้วยประการฉะนี้แล
จบ มหาสติปัฏฐานสูตรที่ ๙ -------------------------
อย่างไรก็ตาม ก็อย่าลืม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง [กัมมัสสกตา] นั่นคือ จะปฏิบัติธรรมได้มากน้อยนั้น มีผลแตกต่างกันไป ให้ทำความเข้าใจให้ประจักษ์แจ้งในเรื่องของเวลาในการบรรลุธรรมวิเศษนี้ ที่เรียกว่า อธิคมธรรมอุตตริมานุสสธรรม หมายถึง ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่งธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌานวิโมกข์สมาบัติมรรคผล บางทีเรียกว่า ธรรมวิเศษคุณวิเศษคุณพิเศษ และนอกจากนี้ ก็ให้พิจารณาลักษณะที่ธรรมทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว [ธรรมสามัคคี] ที่เรียกว่า สัมปยุตตธรรมญาณสัมปยุตต์ ซึ่งเป็น กระบวนการย่อยความคิด ให้เกิด ปัญญายิ่ง ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมไตร่ตรองพิจารณาอย่างถูกวิธีด้วยการเจริญ โยนิโสมนสิการ ในวิปัสสนาภูมิอย่างแท้จริง ก็ใน ๗ วัน ก็ไม่แน่เหมือนกัน [ก็อาจถือ มูควัตร แบบชาวเมืองเดียรถีย์ไปก่อนก็ได้ คือ งดเว้นพูดคุยกับเพื่อนๆ ไปก่อนในช่วงนี้ เพื่อรักษาอารมณ์กรรมฐานให้ต่อเนื่อง นั่นคือ ต้องการความสงบสงัดแห่งวิเวก ไม่ให้เสียสมาธิ อนึ่ง พึงสังวรว่า มูควัตร นั้น การถือไม่พูดจากันเป็นวัตรของเดียรถีย์อย่างหนึ่ง มีพุทธบัญญัติห้ามไว้มิให้ภิกษุถือ เพราะเป็นการเป็นอยู่อย่างปศุสัตว์] ดังรายละเอียดในภาพประกอบทั้ง ๖ ประการ ต่อไปนี้
ภาพประกอบ ๑: การจำแนกความแตกต่างระหว่างศาสตร์ใน ๓ สาขา
คำนิยามเฉพาะ: (๑) นักสันดานวิทยา คือ ผู้รู้เห็นในอธิมุตติแห่งตนและคนอื่น คนสร้างความคิด [ต้นแบบปัญญา] (๒) นักอุบาทว์วิทยา คือ ผู้รวบรวมองค์ความรู้จากศาสดา คนเก็บขยะความคิด [ขี้ไคล้ปัญญา] (๓) นักระยำวิทยา คือ คนต่อยอดฉกฉวยความคิดจากนักอุบาทว์วิทยา เจ้าของโรงงานรีไซเคิล [ของย้อมแมว]
จาก ภาพประกอบ ๑ นั้น ผู้ปฏิบัติธรรมพึงประพฤติตนให้เป็นผู้ฉลาดชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญใน ๓ ศาสตร์ ได้แก่ พุทธศาสนา ๑พุทธปรัชญา ๑พุทธเทคโนโลยี ๑ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความเป็นเลิศใน ๓ ด้าน ได้แก่ พุทธศาสนาปรัชญาวิทยาศาสตร์ [ให้เปรียบเทียบกับไตรสิกขาและขันธ์ ๕] แต่สิ่งที่เหนืออื่นใดนั้น ต้องดับอารมณ์ในนัยแหง สัมมติสัจจะ หรือ สมมติบัญญัติ ให้ได้ เพื่อพิจารณาหาความจริงในนั้นให้ได้ เพื่อทำลายความถือมั่น ความยึดมั่น หรือ ความไม่พิจารณาในธรรม คือ คิดไม่ถึงสัจจธรรม ได้แก่ (๑) นักสันดานวิทยา คือ ผู้รู้เห็นในอธิมุตติแห่งตนและคนอื่น คนสร้างความคิด [ต้นแบบปัญญา] นั่นคือ การพัฒนาตนให้ถึงภาวะแห่งตน อัตตสัมปทา (ข้อ ๔ ในบุพนิมิตแห่งมรรค ๗: รุ่งอรุณของการศึกษา ได้แก่ กัลยาณมิตตตาสีลสัมปทาฉันทสัมปทาอัตตสัมปทาทิฏฐิสัมปทาอัปปมาทสัมปทาโยนิโสมนสิการสัมปทา) นั่นคือ ภาวนา ๔ภาวิต ๔ ได้แก่ กายภาวนาภาวิตกาย ๑ สีลภาวนาภาวิตศีล ๑ จิตตภาวนาภาวิตจิต ๑ ปัญญาภาวนาภาวิตปัญญา ที่เรียกว่า ภาวิตัตต์ หมายถึง บุคคลผู้มีตนอันได้พัฒนาให้เจริญพอกพูนด้วยอริมรรค นั่นคือ มีปรีชาสามารถควบคุมระงับอกุศลจิตหรือกิเลสทั้งหลายในพื้นจิตสันดานของตนได้เป็นอย่างดี จนได้ชื่อว่า บุคคลผู้ไม่มี โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา นั่นคือ พระอรหันต์ [พระอรหันตขีณาสพ] และในขั้นสูงสุดโดยปรมัตถ์ คือ เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดใน สัจจภาวะแห่งนิพพาน (๒) นักอุบาทว์วิทยา คือ ผู้รวบรวมองค์ความรู้จากศาสดา คนเก็บขยะความคิด [ขี้ไคล้ปัญญา] นั่นคือ การเข้าถึงสภาวะแห่งปัญญาของมวลนักปราชญ์ในโลกียวิสัยได้ แต่ให้เรียกว่า ปราชญ์มุนี [ปฏิสัมภิทัปปัตตะ = ผู้บรรลุจตุปฏิสัมภิทาญาณด้วยปัญญาแตกฉานถึงพร้อม] ไม่ใช่ ปราชญ์เมธี เพียงอย่างเดียว และจักต้องปฏิเสธความเป็นนักอุบาทว์วิทยาตาลกระแสโลก คือ บุคคลผู้มี โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา อีกนัยหนึ่งคือ การแสดงตนเป็นนักพุทธปรัชญา ที่มีปัญญาแตกฉานในพระพุทธศาสนา ผู้พยากรณ์ชะตากรรมของตนและโลกได้อย่างแยบคาย ไม่ใช่เขียนหนังสือพยากรณ์โลกขายเลี้ยงชีพ (๓) นักระยำวิทยา คือ คนต่อยอดฉกฉวยความคิดจากนักอุบาทว์วิทยา เจ้าของโรงงานรีไซเคิล [ของย้อมแมว] นั่นคือ พระอรหันต์ไม่ใช่ผู้รับจ้างหรือลูกจ้างของ พวกนายทุน นักธุรกิจ นักการเมือง สำนักโจร ที่จะนำองค์ความรู้แห่งพุทธปัญญาญาณ ไปแสวงหาลาภสักการะเครื่องสรรเสริญเยินย่องตามกระแสโลกธรรม อันได้ชื่อว่า บุคคลผู้มี โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ซึ่งจักไว้ในกลุ่มนักระยำวิทยา เพื่อคอยแสวงหาโอกาสจากความอ่อนแอทางทรัพย์หรือปัญญาของผู้อื่น ฉะนั้น พระอรหันต์ รวมทั้งผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จึงต้องเป็นผู้มีปัญญาล้ำเลิศ เป็นอัจฉริยบุคคล มีความเข้าใจประจักษ์ในศาสตร์ทางโลก ที่มุ่งเน้นในวัตถุนิยมและสัจจนิยม พวกนักวิทยาศาสตร์พูดอะไรก็สามารถอธิบายได้ด้วย จตุปฏิสัมภิทาญาณ อย่างไม่เสียธรรม แต่ไม่โอ้อวดด้วย ตัณหาทิฏฐิมานะ ประการสำคัญเป็นผู้ได้พัฒนาปัญญามาแล้วอย่างสมบูรณ์โดยรู้รอบพร้อมในทักษะการคิดขั้นพื้นฐานและขั้นสูงเป็นอย่างดี [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน บทความที่ ๑๑๓ (๒๕๕๘) อนุปัสสนาสัมปทาแห่งนิตยกาล หน้า ๓๕ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ (๒๕๔๙)] ดังนี้
กรอบแนวคิดทักษะการคิดและการพัฒนาการคิด ภาพประกอบ ๒: กรอบแนวคิดทักษะการคิดและการพัฒนาการคิด
จาก ภาพประกอบ ๒: กรอบแนวคิดทักษะการคิดและการพัฒนาการคิด นั้น องค์ความรู้ทางโลกก็ได้รับการพัฒนาอย่างมีขั้นตอนตาม วิธีทางวิทยาศาสตร์ [Scientific Methods] หรือที่เรียกว่า ระเบียบวิธีวิจัย [Research Methodology] โดยคณะนักวิจัย [โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ (๒๕๔๙)] และยังมีเกณฑ์ตรวจสอบความก้าวหน้าในการฝึกทักษะการคิดและการพัฒนาการคิดอย่างเป็นขั้นตอน ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็น ความรอบรู้ความเชี่ยวชาญความฉลาดปัญญาไหวพริบ หรือ ไหวพริบปฏิภาณ ในการประยุกต์ดัดแปลงใช้ในการเจริญภาวนากรรมฐาน ทั้งฝ่ายสมถะและฝ่ายวิปัสสนาในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง [ซึ่งเทียบเท่ากับการทำโยนิโสมนสิการในวิปัสสนา] นั้น มีส่วนสำคัญมากในการพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายที่ปรากฏในวิปัสสนาภูมิ ช่วยให้เกิดกระบวนการย่อยความคิดและปัญญาให้กลายเป็น องค์ความรู้ที่หลากหลาย และรวมทั้งยังเป็นศักยภาพใน การขยายขอบเขตพรหมแดนความรู้ อันสอดคล้องกับภาวะจิตและปัญญาที่ไพบูลย์ยิ่งด้วย อริยมรรค ที่เรียกว่า ปัญญาแตกฉานปฏิสัมภิทา ๔จตุปฏิสัมภิทาญาณ [ปฏิสัมภิทัปปัตตะจตุสัจจพุทธะ] เพราะโดยนัยที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาแห่งปัญญาปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากฝ่ายนิยม ไสยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น ในการพัฒนาตนเองให้ถึงพร้อมด้วย มัชฌิมาปฏิทาอริยอัฏฐังคิกมรรค ที่เรียกว่า อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ หมายถึง ญาณทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘ อันประเสริฐสุด แต่อย่าลืมว่า ความรู้ [Knowledge] ที่เกิดจากฝ่ายปัญญาทางโลกนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นด้านจริยธรรมหรือศีลธรรมอันเป็นพื้นฐานทางร่างกายหรือพฤติกรรม นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มจะพากันปฏิเสธแนวปฏิบัติตามศาสนาที่ตนนับถือ เพราะไม่สามารถทำให้เกิดความกลมกลืนการวิถีชีวิตในสังคมสมัยใหม่ได้ [ความอยากได้ไม่ควรคิดประทุษร้ายกันคิดเบียนเบียดกัน] ยิ่งถ้าเป็นพุทธศาสนิกชนที่ไม่เข้าใจลึกซึ้งในหลักธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะ มัชฌิมาปฏิทาอริยอัฏฐังคิกมรรค ก็ยิ่งมีแนวคิดและพฤติกรรมต่อต้านหลักธรรมในพระพุทธศาสนาว่า เป็นความคิดความเชื่อที่ล้าหลัง ไม่ทันสมัย สิ่งนี้คือความคิดที่จาก ความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา นั่นเอง เป็นอาการของกลุ่มผู้เดินทางไม่ถึงดวงดาว แถมท้ายยังพาลูกหลายเผ่าพันธุ์ตระกูลของตน ให้ปฏิเสธพระสัทธรรมอีกด้วย กล่าวโดยสรุป พระพุทธศาสนา [Buddhism] มีปรมัตถประโยชน์อยู่ที่ จิตตนิยม [Idealism] เทียบเคียงได้กับ กุศลธรรมอัพยากตธรรม หรือ อธิปัญญา ส่วน วิทยาศาสตร์ [Science] มีประโยชน์สูงสุดที่ วัตถุนิยม [Materialism] เทียบเคียงได้กับ อกุศลธรรม หรือ อธิศีล แต่ ปรัชญา [Philosophy] อยู่ตรงศูนย์กลางระหว่าง พระพุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์ เทียบเคียงได้กับ อัพยากตธรรม หรือ อธิจิตต์สมาธิสมาบัติ ๘ [รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔] ภาพประกอบ ๓: ภาวะจิตที่ดำรงอยู่ในการเจริญภาวนากรรมฐาน
จาก ภาพประกอบ ๓: ภาวะจิตที่ดำรงอยู่ในการเจริญภาวนากรรมฐาน นั้น ให้พิจารณาถึง ธรรม ๓ [ให้สังเกตตอนสวดอภิธรรมในงานศพเป็นภาษาบาลี ในตอนแรก แล้วตามด้วยหลักธรรม ปัจจัย ๒๔ เพื่อให้ผู้ฟังสวดเจริญธัมมักฐิติญาณได้ คือ อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการตถตา] ดังเช่น (๑) กุสลา ธมฺมา คือ สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล (๒) อกุสลา ธมฺมา คือ สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล (๓) อพฺยากตา ธมฺมา คือ สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ
ธรรม ๓ หมายถึง สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ [ให้มองโลกเป็นแบบนี้ทุกขณะ] ได้แก่ (๑) กุศลธรรม คือ ธรรมที่เป็นกุศล สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่ กุศลมูล ๓ ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตต์ด้วยกุศลมูลนั้นก็ดี กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ ๔ [กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิโลกุตตรภูมิ] (๒)อกุศลธรรม คือ ธรรมที่เป็นอกุศล สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล ได้แก่ อกุศลมูล ๓ และกิเลสอันมีฐานเดียวกับ อกุศลมูล นั้น ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตต์ด้วยอกุศลมูลนั้น ก็ดี กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ [โลภมูลจิต ๘โทสมูลจิต ๒โมหมูลจิต ๒] คือ ความคิดชั่ว จิตอกุศลเกิดขึ้น (๓) อัพยากตธรรม คือ ธรรมที่เป็นอัพยากฤต สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบากแห่งกุศลและอกุศล เป็นกามาวจรก็ตาม รูปาวจรก็ตาม อรูปาวจรก็ตาม โลกุตตระก็ตาม อย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่อกุศล มิใช่วิบากแห่งกรรม อย่างหนึ่ง รูปทั้งปวง อย่างหนึ่ง อสังขตธาตุ คือ นิพพานวิวฏะขันธวินิมุต อย่างหนึ่ง กล่าวสั้น คือ (๑) วิบากในภูมิ ๔ [กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิโลกุตตรภูมิ] รวมทั้ง (๒) กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ (๓) รูป ๒๘ และ (๔) นิพพาน ๒
ในอันดับต่อจากนั้น ให้พิจารณาถึงกระบวนความคิด [กระบวนทัศน์] ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ มนสิการกรรมฐาน ด้วยความยินดี ปราโมทย์ปัสสัทธิปีติสุขและสมาธิ [ธรรมสมาธิ ๕] หรือกำหนดจิตตสมาธิให้ได้ใน ปฐมฌานฌานที่ ๑ [สติปัฏฐาน ๔อานาปานสติสมาธิ] ก่อน [วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา] ให้พิจารณาจิตนี้ [ญาณทัสสนะ] ที่เกิดกระบวนการคิดแห่งโยนิโสมนสิการใน จิตตามสภาพปรุงแต่ง [สังกิเลสธรรมสมุทัย] ด้วย อนุปัสสนา ๗ เพื่อให้เกิด จิตที่คาดหวังไว้ [โวทานธรรมนิโรธ]
ภาพประกอบ ๔: ภาวะจิตนิยมในการเจริญภาวนากรรมฐานโดยจำแนกมีและไม่มีตัณหากับทิฏฐิ [อุปาทิ]
ความหมายเฉพาะ [ให้ใช้เกณฑ์ฝ่ายอกุศลเป็นหลักในการพิจารณาระดับจิต = ไม่ให้มีปล่อยวาง] (๑) [ อกุศลธรรม] = เลือดหรือจิตไม่ติดเชื้อกิเลส [ตัณหา-ทิฏฐิ] กับ [ กุศลธรรม] = จิตมีเชื้อกิเลส (๒) [+ อกุศลธรรม] = เลือดหรือจิตติดเชื้อกิเลส [ตัณหา-ทิฏฐิ] กับ [+ กุศลธรรม] = จิตไม่มีเชื้อกิเลส
จาก ภาพประกอบ ๔: ภาวะจิตนิยมในการเจริญภาวนากรรมฐานโดยจำแนกมีและไม่มีตัณหากับทิฏฐิ [อุปาทิ] นั้น ก็ยังคงเกี่ยวข้องกับ ธรรม ๓ หมายถึง สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ รวมทั้ง ความนึกคิดในใจ ด้วย ได้แก่ กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรม โดยให้แยกแยะหรือจำแนกแจกธรรมให้เป็นหมวดหมู่ โดยธรรมแต่ละธรรมไม่ละเมิดกันและกัน ในขณะที่เกิด ญาณสัมปยุตต์ธรรมสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรมองค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ พร้อมเพรียงกัน และประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมายเดียวกัน หรือ มีความเป็นเอกภาพเดียวกัน เช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น ในขั้นนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเกิดภาพนิมิต จินตภาพ มโนภาพ หรือสภาวะความนึกคิดในใจที่รู้เห็น [ญาณทัสสนะสติสัมปชัญญะ] สภาวธรรมทั้งหลายที่มารวมกันเป็นอย่างเดียวกันแบบองค์รวม ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ดำรงอยู่พร้อมกัน และดับไปพร้อมกัน ที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [ญาณในวิปัสสนา] หรือ ปัญญาเห็นธรรม [ธัมมัฏฐิติญาณแห่ง อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการตถตา] ฉะนั้น ความรู้ความเห็น รวมกับ ความเข้าใจอันถูกต้องแห่งสัมมาทิฏฐิและทิฏฐิสัมปทา [อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งอย่างชัดเจนแห่งอาณาจักรธรรม] นั้น เป็นการเตรียมความพร้อมให้บรรลุถึง ความตรัสรู้สัมโพธะ ที่เรียกว่า ปัญญาตรัสรู้ [ปัจจเวกขณญาณอาสวักขยญาณ] ทำให้มีปรีชาสามารถเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้จริง นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมยังต้องจำแนกหมวดธรรมใน ธรรม ๒ กับ นิพพาน ๒ ด้วย ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
ธรรม ๒ หมายถึง สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ โดยให้เทียบเคียงกับ ขันธ์ ๕ หรือ นามรูป ได้แก่ (๑) อุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ถูกยึด ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตต์ด้วย ตัณหาและทิฏฐิ เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก และ รูปที่เกิดแต่กรรม ทั้งหมด (๒) อนุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูกยึด ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตต์ด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และโลกุตตรธรรม ทั้งหมด
นิพพานนิพพาน ๒ หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้วภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ โดยให้พิจาณา ปรมัตถธรรม ๔ โดยตัด จิตเจตสิกรูป ออกไป ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพานนิพพานยังมีอุปาทิเหลือ หรือ กิเลสปรินิพพานดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคลพระเสขะ (๒) อนุปาทิเสสนิพพานนิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ หรือ ขันธปรินิพพานดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคลพระอเสขะ
ภาพประกอบ ๕: ภาวะจิตแห่งธรรมสามัคคีในกระบวนการตรัสรู้สัมโพธิญาณ
จาก ภาพประกอบ ๕: ภาวะจิตแห่งธรรมสามัคคีในกระบวนการตรัสรู้สัมโพธิญาณ นั้น จะเห็นได้ว่า เป็นสภาวะที่องค์ธรรมทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยให้กำหนดพิจารณาที่ (๑) สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นจุดเริ่มต้น (๒) อนุปัสสนา ๗ (๓) ไตรลิกขาสิกขา ๓ (๔) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (๕) วิสุทธิ ๗ และตามด้วยอันดับของ [A] ปัญญาเห็นธรรม สัมปยุตต์ด้วย นามรูปปริจเฉทญาณ [ผล]ปัจจยปริคคหญาณ [เหตุธัมมัฏฐิติญาณ] และในอันดับสุดท้าย คือ การหมุนวนของวงจักรธรรม ระหว่าง ข้อ (๑) ถึง ข้อ (๓) ก่อนที่จะบรรลุถึง [C] นิพพานอมตธาตุ [วิวัฏฏะอสังขตธรรม] ดังนี้
ขั้นกำหนดวิปัสสนาญาณ (๑) สติสัมปชัญญะ สัมปยุตต์ด้วย วิปัสสนาญาณ ๑๐ [วุฏฐานคามินีปฏิปทาโคตรภูญาณ] (๒) ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตต์ด้วย อริยมรรค ๔อริยผล ๔ [ปัจจเวกขณญาณ] (๓) ธรรมสามัคคี สัมปยุตต์ด้วย [B] ปัญญาตรัสรู้ [อาสวักขยญาณ] ขั้นลำดับสุดท้าย (๔) [C] นิพพานอมตธาตุ [วิวัฏฏะอสังขตธรรม]
ในความเป็นจริงนั้น ก็คือ โดยเริ่มต้นต้องเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก่อน แล้วต่อจากนั้น ค่อยเจริญภาวนากรรมฐานให้เกิด ญาณสัมปยุตต์ [ธรรมสามัคคี] ระหว่าง วิสุทธิ ๗ กับ ญาณ ๑๖โสฬสญาณ พร้อมด้วย อาสวักขยญาณ [มีอาการ ๖๔] ก่อนก้าวไปถึง พระนิพพาน [นิพพาน ๒] ที่เหลือจากนั้น อะไรจะเกิดหรือดับ ก็ให้คิดพิจารณาเอาเอง
ภาพประกอบ ๖: ภาวะจิตที่ดำรงอยู่ในการเจริญภาวนากรรมฐาน
จาก ภาพประกอบ ๖: ภาวะจิตที่ดำรงอยู่ในการเจริญภาวนากรรมฐาน นั้น ให้พิจารณาการเจริญภาวนากรรมฐานในภาพรวมอีกครั้งหนึ่ง โดยให้พิจารณาถึงองค์ธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ปรากฏในภาพประกอบนี้ว่า มีธรรมอะไรบ้าง โดยขึ้นอยู่กับ ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา ของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาถึง (๑) ธรรม ๒ (๒) นิพพาน ๒ และ (๓) ธรรม ๓ ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน จนพิจารณารู้เห็นได้ใน ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม เป็นต้น ภาพประกอบ ๗: ลักษณะธรรมสามัคคีในการเจริญภาวนากรรมฐาน
จาก ภาพประกอบ ๗: ลักษณะธรรมสามัคคีในการเจริญภาวนากรรมฐาน นั้น โดยให้เน้นที่กิจในการวิปัสสนากรรมฐาน คือ โยนิโสมนสิการ ที่ประกอบด้วย (๑) ตามพิจารณามนสิการ [ให้มีไม่ให้มี เพื่อไม่มี] กับ (๒) รู้อยู่ที่ใจดูอยู่ที่ใจเห็นอยู่ที่ใจ เพ่งอยู่ที่ใจกำหนดอยู่ที่ใจให้เห็นความแจ้งให้เห็นความสว่างให้เห็นความสงบ ขึ้นในใจ และพร้อมด้วย ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับ สมถะกับวิปัสสนา โดยตามนัยของคำว่า สมถะ คือ การเจริญจิตตภาวนาให้จิตมีความปราโมทย์ [ยินดีร่าเริงใจดับอรติแห่งความขัดเคืองใจ] สงบกายและใจ [ปัสสัทธิ] มีความปลื้มใจแห่งปีติ มีความสุขใจราบรื่น และเป็นสมาธิในอารมณ์เดียวไม่หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน หรือ สัดส่ายไปมา ที่เรียกว่า ธรรมสมาธิ ๕: ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ ซึ่งเป็นขั้นตอนการกำจัดระงับ นิวรณ์ [ปริยุฏฐานกิเลส คือ ถูกกิเลส นิวรณ์ ๕ กางกั้น กำบัง เคลือบ ปกปิด ครอบงำ] ที่กลุ้มรุมจิตใจออกไป จิตปราศจากนิวรณ์ก็ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว เหมือนเมื่อใส่แก้วมณีอันยังน้ำให้ใสสะอาดแล้ว โคลน สาหร่าย จอกแหน เปือกตม ย่อมสงบ น้ำย่อมใสสะอาดไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น ตามนัยนี้ คำว่า นิวรณ์ ๕ ดังนี้
นิวรณ์ ๕ หมายถึง สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดีอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ได้แก่ (๑) กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม ความต้องการกามคุณ (๒) พยาบาท คือ ความคิดร้าย ความขัดเคืองแค้นใจ (๓) ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่และเซื่องซึม ความฟุ้งซ่านและความรำคาญ (๕) อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล (๖) วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย
อนึ่ง ในความหมายที่กว้างเกี่ยวกับสมาธิโดยตรง คำว่า นิวรณ์ ๘ หมายถึง ธรรมที่ไม่อุปการะแก่สมาธิ ได้แก่ กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง เพื่อให้จิตเป็นสมาธิที่จะก้าวไปใน รูปฌาน ๔: (๑) ปฐมฌาน = วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา ๑ (๒) ทุติยฌาน = ปีติสุขเอกัคคตา ๑ (๓) ทุติยฌาน = สุขเอกัคคตา ๑ (๔) จตุตถฌาน: อุเบกขาเอกัคคตา จะต้องกำหนด สติสัมปชัญญะ สกัดระงับนิวรณธรรมทั้งหลายเหล่านี้ให้ได้ นั่นคือ สโต สมฺปชาโน ได้แก่ ประกอบด้วย สติและญาณ [สติปัญญา หรือภาวะที่เกิด จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง แห่งญาณทัสสนะ] เพราะเป็นธรรมอุปการะแก่ อาโลกสัญญา [ย่อมดับถีนมิทธะได้] ฉะนั้น โดยพื้นฐานก็ให้เริ่มจาก ธรรมสมาธิ ๕: ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ ก่อน แต่ธรรมที่ใช้ในสกัดระงับนิวรณ์ทั้ง ๘ นั้น เป็นธรรมที่มีอุปการะแก่สมาธิก่อนเข้าถึง ปฐมฌาน นั้น [ต่อจากนั้น จึงเป็น รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔มหาวิปัสสนา ๑๘อริยมรรค ๔] ได้แก่ เนกขัมมะอัพยาบาทอวิเขกปะอาโลกสัญญาธรรมววัตถานญาณ [ฌาน]ปราโมทย์กุศลธรรมทั้งปวง ฉะนั้น อกุศลธรรมปวง ย่อมดับระงับได้ด้วย อรหัตตมรรค ฉะนั้น คำว่า กุศลธรรมทั้งปวง คือ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔มหาวิปัสสนา ๑๘อริยมรรค ๔ นั่นเอง นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมควรคำนึงถึงความหมายในคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับ คำว่า นิวรณ์ อีก ดังนี้
(๑) คำว่า มโนภาวนียานํ คือ ผู้ยังใจให้เจริญ นั่นคือ จิตของผู้ระลึกถึง กระทำไว้ในใจ ย่อมเป็นจิตอันปราศจากนิวรณ์ คือ จิตฟูขึ้นเจริญขึ้น (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 82 FILE 15)
(๒) คำว่า อจฺโฉ คือ ไม่มีมลทิน นั่นคือ ปสนฺโน [ใส] คำว่า วิปฺปสนฺโน คือ ใสดี คำว่า อนาวิโล คือ ไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า บริสุทธิ์ คือ เว้นจาก ฟองน้ำ สาหร่าย และ จอกแหน [ไม่มีอุปกิเลส] [นิวรณ์] คำว่า อนาวิเลน คือ ปราศจากนิวรณ์ ๕ (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101 FILE 32)
(๓) คำว่า อาโลกสญฺญี คือ สัญญาอันบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ สามารถจำหมายแสงสว่างที่เห็นทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน [อาโลกสัญญา] คำว่า อาโลกา โหติ [สว่าง] ได้แก่ มีรัศมีดี ชื่อว่า วิวฏา [เปิดเผย] เพราะอรรถว่า ไม่มีเครื่องกั้น ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะอรรถว่า ไม่มีอุปกิเลส [นิวรณ์] ชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า ประภัสสร [จิตประภัสสรแห่งจตุตถฌาน = อุเบกขาเอกัคคตา] (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 455 FILE 11)
(๔) คำว่า ปหฏฺฐมนโส ความว่า เพราะเหตุที่มีจิตปราศจากนิวรณ์ จึงชื่อว่า มีใจเบิกบานแล้ว เหมือนทองคำ คือ เป็นผู้มีจิตรุ่งเรือง สว่างไสวแล้ว (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 94 FILE 56)
(๕) คำว่า วิเวกชํ คือ ความสงัด ชื่อว่า วิเวก ความว่า ปราศจากนิวรณ์ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัด นั่นคือ กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ซึ่งสงัดจากนิวรณ์ ชื่อว่า วิเวกชะ [เกิดแต่วิเวก] เพราะอรรถว่า เกิดแต่วิเวกนั้น หรือ ในวิเวกนั้น (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 302 FILE 65)
(๖) คำว่า ยา จิตฺตสฺส อกลฺยตา อกมฺมญฺญตา คือ ความที่จิตไม่สมประกอบ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน อาการแห่งความไม่ควรแก่การงานคือความเป็นไข้แห่งจิต และ คำว่า กลฺลจิตฺตํ มุทุจิตฺตํ วินีวรณจิตฺตํ คือ จิตควรแก่การงาน จิตอ่อนโยน จิตปราศจากนิวรณ์ คำว่า กลฺล คือ ควรแก่การงาน หรือ กลฺลตา ได้แก่ ความเป็นผู้ควรแก่การงาน นั่นคือ กัมมัญญตา คือ ความเป็นผู้ควรแก่การงาน โดยนัยรวมแล้ว คือ ความเป็นผู้ฉลาดในการทำความคล่องแคล่วแห่งสมาธิด้วยการฝึกจิต โดยอาการ ๑๔ อย่าง [ให้เทียบเคียงกับ วสี ๕] เหล่านี้ คือ (๑) โดยอนุโลมแห่งกสิณ (๒) โดยปฏิโลมแห่งกสิณ (๓) โดยอนุโลมปฏิโลมแห่งกสิณ (๔) โดยอนุโลมแห่งฌาน (๕) โดยปฏิโลมแห่งฌาน (๖) โดยอนุโลมปฏิโลมแห่งฌาน (๗) โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌาน (๘) โดยการก้าวเข้าไปสู่กสิณ (๙) โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌานและกสิณ (๑๐) โดยการก้าวไปสู่องค์ (๑๑) โดยการก้าวไปสู่อารมณ์ (๑๒) โดยการก้าวไปสู่องค์และอารมณ์ (๑๓) โดยการกำหนดองค์ (๑๔) โดยการกำหนดอารมณ์ ๑ หรือโดยอาการ ๑ เพิ่มบทว่า โดยกำหนดองค์และอารมณ์ ๑ เพราะฉะนั้น จิตควรแก่การงาน จิตอ่อนโยน จิตปราศจากนิวรณ์ โดยนัยนี้ หมายถึง จตุตถฌานจิตประภัสสร ที่ทำให้เกิด อภิญญา ๕ (วิชชา ๘) วิชชา ๓ญาณ ๓ (หยังรู้ในกาลทั้ง ๓ = ธัมมัฏฐิติญาณปฏิจจสมุปบาท ๑๒) อันเป็น ทุนทางปัญญา ที่สำคัญ หรือ วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ อันเป็นบาทฐานในวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไป (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 622-623 FILE 68)
วสี ๕ หมายถึง ความชำนาญความคล่องแคล่ว ได้แก่ (๑) อาวัชชนวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว (๒) สมาปัชชนวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที (๓) อธิฏฐานวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์ (๔) วุฏฐานวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ (๕) ปัจจเวกขณวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน
นอกจากนั้น ให้พิจารณาถึงมิติความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างศาสตร์ ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ศาสนา (๒) ปรัชญา (๓) วิทยาศาสตร์ และ ปัญญา ๓สัจจภาวะแห่งพุทธะ ๓พุทธโอวาท ๓ ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้ จะต้องเกิดขึ้นในตัวบุคคลคนเดียวกัน คือ ผู้ปฏิบัติธรรม นั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมประเด็นว่า การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องเชิงปรัชญาใน ๒ คติ คือ (๑) จิตตนิยมIdealism กับ (๒) สัจจนิยมRealism ในส่วนที่ถือเป็นการแสวงหาความรู้นั้น เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งฝ่ายวิทยาศาสตร์นั้น เน้นใน ๑ คติ (๑) วัตถุนิยมMaterialism กับ (๒) สัจจนิยมRealism นั่นก็หมายความว่า เมื่อมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในศาสตร์สาขาต่างๆ มากเท่าไหร่ คือ มีผลงานวิจัยในการศึกษาค้นพบความจริงหรือสัจจธรรมอันเป็นเรื่องธรรมชาติ ก็ยิ่งเป็นการยืนยันทฤษฎีที่เป็น กฎธรรมชาติ [Natural Law] เรื่อง รูปขันธ์ ในทางพระพุทธศาสนามากเท่านั้น โดยฝ่ายพระพุทธศาสนานั้น ได้พัฒนาจนถึงขั้นสูงสุดอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว คือ รูปขันธ์ ๑นามขันธ์ ๔ เท่ากับ ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ [รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ] ที่จัดเป็น ธรรม ๒ คือ (๑) สังขตธรรมโลกียธรรมอุปาทินนธรรม กับ (๒) อสังขตธรรมโลกุตตรธรรมอนุปาทินนธรรม หรืออีกนัยหนึ่ง จะเรียกให้สมบูรณ์กว่านี้ คือ ธรรมขันธ์ ๕ ดังนี้
ธรรมขันธ์ ๕ หมายถึง กองธรรมหมวดธรรมประมวลธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหัวข้อใหญ่ ส่วนธรรมขันธ์ ๔ ข้อ ส่วนล่างนั้น เรียกอีกอย่างว่า สาระ ๔ คือ แก่นหลักธรรมที่เป็นแก่นหัวใจธรรม ให้พิจารณาเปรียเทียบหรือเทียบเคียงกับ วิสุทธิ ๗ กับ ญาณ ๑๖โสฬสญาณ ได้แก่ (๑) สีลขันธ์ คือ กองศีล หมวดศีล ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปาติโมกขสังวร กายสุจริต สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นต้น (๒) สมาธิขันธ์ คือ กองสมาธิ หมวดสมาธิ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น (๓) ปัญญาขันธ์ คือ กองปัญญา หมวดปัญญา ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ธัมมวิจยะ วิมังสา ปฏิสัมภิทา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น (๔) วิมุตติขันธ์ คือ กองวิมุตติ หมวดวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ปหาน วิราคะ วิโมกข์ วิสุทธิ สันติ นิโรธ นิพพาน เป็นต้น (๕) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คือ กองวิมุตติญาณทัสสนะ หมวดธรรมเกี่ยวกับการรู้การเห็นในวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น
ฉะนั้น ในการจำแนกแจกธรรมให้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกระบวนทักษะการคิดและการพัฒนาการคิด ที่เรียกว่า ทักษะการจัดการความรู้ [Knowledge Management Skills = KMK] ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะวิทยาการสมัยใหม่ [Modern Technology] ที่ก้าวหน้าจนจะถึงสุดขอบแดนความรู้ [The End of Knowledge Revolutions] แล้วในปัจจุบัน มิฉะนั้น นัยแห่งคำว่า พุทธะ ที่บอกว่า ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน จะไม่เป็นจริง หรือตามนัยว่า ผู้รู้แจ้งโลกโลกวิทู ด้วยซ้ำไป ถ้าจะลืม ก็ให้ลืมกินน้ำกินข้าวได้ แต่ห้ามลืมปัญญา องค์ความรู้ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อประกวดแข่งขันกับลัทธิศาสนาอื่น เพื่อจะครองโลก อะไรทำนองนั้น แต่มีไว้เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง ก็อย่าลืมประเด็นนี้โดยเด็ดขาดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ที่จัดอยู่กลุ่ม การเดินทางไม่ถึงดวงดาว เพราะรอบรู้มากเกินไปจนบอกไม่เชื่อ กับรอบรู้น้อยเกินไปจนสอนไม่ได้ เพราะพื้นจิตสันดานประกอบด้วย ตัณหาทิฏฐิมานะ ที่คอยขัดขว้างความก้าวหน้าทางปัญญาของตนเอง ไม่ใช่คนอื่นไปทำอะไรให้เดือดร้อน อย่างนี้ เขาเรียกว่า บุญกุศลที่สร้างสมไว้ ทำให้เกิดผลวิบากในข้างหน้าดีกว่าเดิม เขาเรียกว่า วาสนาส่ง [ให้ผลแบบไม่เกรงใจด้วย นั่นคือ จัดชุดใหญ่หรือจัดหนักให้เต็มที่ ก็เทวดาสรรเสริญ (พระอริยสงฆ์สรรเสริญ) ถ้าตายยมบาลก็ไม่หนักใจ] อย่างไรก็ตาม ก็มีแนวทางที่จะใช้เป็นข้อประพฤติปฏิบัติให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง ที่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรท้อถอยเลิกปฏิบัติธรรม ถ้ารู้ว่าผิด ก็ต้องรู้จักปรับปรุงแก้ไขใหม่ ให้ดีกว่าเดิม [พุทธโอวาท ๓: ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ ทำความดีให้เพียบพร้อม ๑ ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ๑] เพื่อให้บรรลุถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ให้ได้ ดังนี้
ข้อคิดในการปฏิบัติเพื่อไปให้ถึงดวงดาว การปฏิบัติธรรมให้บรรลุธรรมวิเศษได้นั้น [นิพพาน] อย่าทำตัวให้ใหญ่คับฟ้า [อปจยะ] ทำตัวให้เล็กมักน้อย [อัปปิจฉตา] เพราะเทวดาประจำตัวของตน [นิสัยใจคอ = ตัณหาทิฏฐิมานะ (ปปัญจธรรม ๓: กิเลสเครื่องเนิ่นช้า หรือกิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา) หรือ อินทรีย์ ๖] มักคบหากับพวกพญามาร [อารมณ์ ๖] กล่อมเหลา [เห-ลา = ความสนุก] จิตใจของตนให้หลงระเริงเพลิดเพลินกับกิเลสทั้งหลาย [วิสังโยค] เมื่อตัวอ้วนใหญ่กินมากนอนมาก ก็ไม่สามารถรอดตาตะข่ายบ่วงของกิเลสได้ จะผ่านไปได้ก็ต้องตัวผอมๆ เพราะปฏิบัติธรรม [อุปสมะ] ไม่ได้หยุดไม่ได้หย่อนยาน [วิริยารัมภะ] ไม่หย่อยอารมณ์ ให้หลงเพลิดเพลินไปกับสิ่งยั่วยุอารมณ์ที่เข้ามาแห่งนิวรณูปกิเลสทั้งหลาย [วิราคะ]ไม่เห็นแก่กิน [สุภรตา] ไม่เห็นแก่นอน [โลกธรรม ๘] ไม่เห็นแก่ยศแม้ตรงข้ามยศเสื่อมยศ ไม่เห็นแก่ลาภสักการะแม้ตรงข้ามลาภเสื่อมลาภ ไม่เห็นแก่สรรเสริญแม้ตรงข้ามสรรเสริญนินทา ไม่เห็นแก่สุขแม้ตรงข้ามสุขทุกข์ [สันตุฏฐี] สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแม้สักว่าเกิดขึ้นแล้วดับไป [นิโรธ] หาแก่นสาระไม่ได้ [สัมโพธะ] ย่อมไม่ใช่ที่พึ่งสาระแห่งชีวิตจิตวิญญาณของผู้เจริญแล้ว [ปวิเวก] ฉะนั้น ผู้เห็นแก่กิน แก่นอน แก่ยศ แก่สรรเสริญ แก่สุข ย่อมเกี่ยวข้องอยู่กับรากเหง้าแห่งอกุศลทั้งปวง กิเลสทั้งหลาย อันเป็นทุกข์ทั้งปวง [เอกันตนิพพิทา] คือ ติดบ่วง เบ็ด ตะข่าย แห่งสังกิเลส ลิ่มแห่งอวิชชา อนุสัย โยคะ โอฆะ อาสวะแห่งอวิชชาในสังสารวัฏฏ์ ย่อมไม่สามารถรอดตะข่ายแห่งกิเลสมารได้ [อภิญญา]
ภาษิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ ประการ [ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗] (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง (๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด (๓) นิโรธ คือ ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบ (๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว
ภาษิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๘ ประการ [ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘] (๑) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ หรือเสริมความติดใคร่ (๒) วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์ (๓) อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่ (๕) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ (๖) ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ (๗) วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน (๘) สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก
อำนาจพลังแห่งสมถะและวิปัสสนา (๑) เนกขัมมะ [สมณธรรม] คือ ความปลอดจากความโลภ ย่อมละ กามฉันทะ (๒) อัพยาบาท คือ ความไม่คิดร้าย ย่อมละ พยาบาท (๓) อาโลกสัญญา คือ ความกำหนดหมายสว่างด้วยปัญญา ย่อมละ ถีนมิทธะ = สติและญาณ [ญาณทัสสนะ] (๔) อวิกเขปะ คือ ความไม่หวั่นไหว ย่อมละ อุทธัจจกุกกุจจะ (๕) ธรรมววัตถาน คือ การกำหนดธรรม ย่อมละ วิจิกิจฉา (๖) ญาณ คือ ความรู้ที่คมชัด [ฌานสงบวิเวก ย่อมละ อวิชชา ได้ เช่นกัน] = สัมปชัญญะ (๗) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจความร่าเริงสดใส ย่อมละ อรติ [โทสะ] (๘) กุศลธรรมทั้งปวง คือ ภาวะที่เจริญรุ่งเรืองแห่งสมถะและวิปัสสนา [รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔มหาวิปัสสนา ๑๘ อริยมรรค ๔ ทำให้ดับ อกุศลธรรมทั้งปวง และทำให้ไปถึงดวงดาว] (๙) ปีติ คือ ความอิ่มใจความปลื้มใจ [ผรณาปีติปีติซาบซ่าน] (๑๐) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจความผ่อนคลายรื่นสบาย (๑๑) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๑๒) สมาธิ [เอกัคคตา] คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย (๑๓) โอภาส คือ แสงสว่างไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ อันโชติช่วงและไพบูลย์ = สติสัมปชัญญะ [ญาณทัสสนะ] (๑๔) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง โดยมนสิการตามเป็นจริง (๑๕) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี [สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔] (๑๖) อุปัฏฐาน คือ สติแก่กล้าสติชัด = สติ [ทัสสนะเห็น = มนสิการสัมมสนะ] (๑๗) อุเบกขา คือ ความมีจิตเป็นกลาง [จิตประภัสสรปราศจากนิวรณ์] (๑๘) นิกันติ คือ ความพอใจติดใจ [ฉันทะแห่งอิทธิบาท ๔]
ฉะนั้น ในการสัมปยุตต์กันแห่งองค์ธรรมทั้งหลาย [ญาณสัมปยุตต์] ในระหว่าง ๓ ฝ่าย ได้แก่ (๑) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗ (๒) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ และ (๓) อำนาจพลังแห่งสมถะและวิปัสสนา ในภาระหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรับผิดชอบ คือ [B] โยนิโสมนสิการ [Analytic Implementation] ที่ดำเนินในจิตมีอาการ ๘ อย่าง ได้แก่ รู้อยู่ที่ใจดูอยู่ที่ใจเห็นอยู่ที่ใจเพ่งอยู่ที่ใจกำหนดอยู่ที่ใจให้เห็นความแจ้งขึ้นในใจให้เห็นความสว่างขึ้นในใจให้เห็นความสงบขึ้นในใจ [หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ๒๔๕๒๒๕๕๐] เพราะฉะนั้น สัมปยุตตธรรม ๓ ดังกล่าวนี้ ถือเป็น เกณฑ์ [Criteria] เพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง ที่อยู่นอกเหนือ [A] ทฤษฎีหลักธรรม [อภิญเญยธรรมทั้งหลาย] อย่างเป็นทางการ [ปฏิปัตติสัทธรรมไตรสิกขา] นอกจากนี้ ในระหว่างเจริญภาวนากรรมฐานนั้น จิตของผู้ปฏิบัติธรรมยังปฏิสังยุตด้วยปัญญา ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ปัญญาในสมาธิ [สมถพละเจโตวิมุตติ] เช่น มรรคสมาธิญาณทัสสนะ [สติสัมปชัญญะสติและญาณ] ยถภูตญาณทัสสนะ [สติและญาณที่หยั่งรู้ตามเป็นจริงแห่งกำหนดธรรมดาหรือกฎธรรมชาติ ได้แก่ ธรรมนิยาม ๓อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ไตรลักษณ์] หรือที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิ หมายถึง สมาธิอันไม่มีระหว่างคือไม่มีอะไรคั่น หมายความว่า ให้เกิดผลตามมาทันที ได้แก่ มรรคสมาธิ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเกิด มรรคญาณ คือ ปัญญาที่กำจัดอาสวะในแต่ละขั้นแห่ง อริยมรรค ก็ตามติดต่อมาในทันที และตามพร้อมด้วย (๒) ปัญญาในวิปัสสนา [วิปัสสนาพละปัญญาวิมุตติ] เช่น มรรคญาณมัคคญาณ หรือที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิญาณ หมายถึง ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ดังเช่น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญจิตตสมาธิด้วย อานันตริกสมาธิญาณ ในการตรัสรู้ [สัมโพธะอาสวักขยญาณ] ถึง พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ [ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ประกอบด้วย ปัจจเวกขณญาณ มี ๑๙ ประการ และ อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔] ในครั้งเดียวในคราวเดียวกันจนสมบูรณ์บริบูรณ์แห่งราตรีคืนตรัสรู้ เพราะฉะนั้น การพิจารณาไตร่ตรองถึง (๑) ปัญญาในสมาธิ กับ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา นั้น ย่อมทำให้เข้าใจถูกต้องถึงแนวทางในการประพฤติปฏิบัติอันเป็นสัมมาปฏิปทาอย่างแท้จริง ไม่ฟุ้งซ่านหวั่นไหวไปธรรมทั้งหลาย คือ รู้จักอย่างรอบรู้ที่จะเลือกเป็น [นั่นคือ ประกอบด้วย ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ไม่ใช่ว่า รู้ธรรมมากแล้วเป็นบ้า สติแตก ตบะแตก เกิดแผ่นดินไหว ที่ไม่ใช่มีพระอรหันต์อุบัติขึ้นในโลกแล้วหนึ่งองค์ โดยมี ธาตุดิน กับ ธาตุน้ำ เกิดไม่สมดุลโดยวิปริต ค้นหาตำแหน่งพิกัดตนเองไม่ถูก เหมือนโจรจะไปฆ่าคนดี พอเจอทั้งคนดีคนเลวมากๆ ในคราวเดียว ทำอะไรไม่ถูก ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาก่อน เลยยิงหัวตัวเองตายดีกว่า เพราะเกิดเปลี่ยนใจว่า มันเป็นบาปที่ทรงปริมาณหนักมาก เพราะรู้ว่าอยู่ต่อไปก็หนักโลก ย่อมเป็นงงมากกับตนเอง เรื่องนี้ไม่ขอสรุปว่าตายแล้วจะไปอยู่ในคติใด เพราะดีกับเลวก็พอๆ กัน เพราะผู้บรรยายก็เป็นงงด้วยเหมือนกัน...!] แล้วท่านทั้งหลายจะเอาอย่างไรกันต่อ คิดจะถอนตัวออกจากวงการ หรือจะปรารภประกอบความเพียรภาวนากันต่อ ก็เลือกกันเอง เพราะเวลาชีวิตมันเหลือน้อยทุกวินาที อย่าอยู่ด้วยความลังเลสงสัยในพระสัทธรรมนี้เลย
ขั้นก้าวบันไดไปสู่ดวงดาว [แผนที่ดวงดาวแห่งความสำเร็จในธรรมทั้งปวง]
(๑) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ [สติปัฏฐาน ๔ [สติสัมปชัญญะ]สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘] (๒) สมาธิภาวนา ๔ [ทิฏฐธรรมสุขวิหารญาณทัสสนะสติและสัมปชัญญะอาสวักขยะ] (๒.๑) สมถภาวนา (๒.๑.๑) ธรรมสมาธิ ๕ [อธิโมกข์มนสิการ] = ทิฏฐธรรมสุขวิหาร (๒.๑.๒) ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘ = ญาณทัสสนะ (๒.๑.๓) รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔ [สมาบัติ ๘ฌานสมาบัติ] = สติและสัมปชัญญะ (๒.๒) วิปัสสนาภาวนา = อาสวักขยะ (๒.๒.๑) ญาณ ๑๖โสฬสญาณ (๒.๒.๑.๑) นามรูปปริจเฉทญาณ (ทุกขสัจจ์) ปัจจยปริคคหญาณ (สมุทัยอริยสัจจ์) (๒.๒.๑.๒) วิปัสสนาญาณ ๑๐ (วุฏฐานคามินีปฏิปทา) [สัมมสนญาณอุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ] (๒.๒.๑.๓) อนุปัสสนา ๗ [อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา] (๒.๒.๑.๔) มหาวิปัสสนา ๑๘ [อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนาขยานุปัสสนาวยานุปัสสนาวิปริณามานุปัสสนาอนิมิตตานุปัสสนาอัปปณิหิตานุปัสสนาสุญญตานุปัสสนาอธิปัญญาธรรมวิปัสสนายถาภูตญาณทัสนะอาทีนวานุปัสสนาปฎิสังขานุปัสสนาวิวัฏฏนานุปัสสนา] (๒.๒.๑.๕) โคตรภูญาณ [ภาวะเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลแห่งโลกุตตรภูมิ] (๒.๒.๑.๖) มัคคญาณ ๔ (มรรคสัจจ์) [โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค] (๒.๒.๑.๗) ผลญาณ ๔ (นิโรธสัจจ์) [โสดาปัตติผลสกทาคามิผลอนาคามิผลอรหัตตผล = สัมมาญาณ] (๒.๒.๑.๘) ปัจจเวกขณญาณ (โลกียญาณ) [ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ญาณทัสสนะมีรอบ ๓ความหยั่งรู้หยั่งเห็นครบ ๓ รอบ มีอาการ ๑๙] (๒.๒.๒) ความตรัสรู้สัมโพธะ [อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔] (๒.๒.๓) นิพพาน ๒ [อมตธาตุสอุปาทิเสสนิพพานอนุปาทิเสสนิพพาน = อรหัตตผลวิมุตติสัมมาวิมุตติ]
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นเส้นทางแห่งธัมมานุธัมมปฏิปทา [การปฏิบัติธรรมถูกหลัก] ที่ย่างก้าวสู่ กระแสแห่งอริยมรรค ได้นั้น ก็ถือโอกาสเรียนเชิญให้ท่านทั้งหลายน้อมจิตน้อมใจ อธิโมกข์ คือ ความเชื่อศรัทธาเลื่อมใสในธรรมแห่งการปฏิบัติ ที่จะแสดงผลเป็นจริงทุกประการตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ มนสิการ คือ ความใส่ใจด้วยยินดีปราโมทย์แห่งฉันทะอันแรงกล้า [ฉลาดคิดฉลาดอยู่] ที่จะปฏิบัติตามด้วย โยนิโสมนสิการ นั่นคือ คิดอย่างถูกวิธีตามหลักปัจจยาการแห่งเหตุและผล ได้แก่ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ คิดให้ทั่วอย่างถูกวิธีอันแยบคายในใจ จากเหตุ (อวิชชา) โดยลำดับไปถึงผล (ทุกข์) ที่จะเกิด [สมุทัยวารสมุทัยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์] กับ (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ คิดให้ทั่วด้วยอุบายวิธีที่แยบคายไว้ในใจ จากผลที่เกิด ย้อนกลับไปดับที่ต้นเหตุแห่งผลนั้น [นิโรธวารนิโรธสัจจ์ทุกขนิโรธอริยสัจจ์] (๓) ปฏิจจสมุปปันนธรรมปัจจัยธรรม ทั้งหลาย รวมทั้ง กฎแห่งกรรมกฎกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตา] ดังนี้
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หมายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น ดังนี้
อนุโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายสมุทัย (๑) เพราะ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ปัจจัยธรรม จึงมี (๒) เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (๓) เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (๔) เพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (๕) เพราะ นามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (๖) เพราะ สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (๗) เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี (๘) เพราะ เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี (๙) เพราะ ตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (๑๐) เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี (๑๑) เพราะ ภพ เป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (๑๒) เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายนิโรธ (๑) เพราะ อวิชชา สำรอกดับไปไม่เหลือ (๒) เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ (๓) เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ (๔) เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ (๕) เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ (๖) เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ (๗) เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ (๘) เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ (๙) เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ (๑๐) เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ (๑๑) เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ (๑๒) เพราะ ชาติ ดับ ชรามรณะ จึงดับ ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
สำหรับ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ถือเป็นฝ่ายสมุทัย คือ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท เพียงแต่นำองค์ประกอบปัจจัยทั้ง ๑๒ อย่าง มาจำแนกแจกตามหลักธรรมย่อย ปัจจัยธรรม ส่วนเรื่อง กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ นั้น อยู่ใน วัฏฏะ ๓ไตรวัฏฏ์ ดังนี้
อัทธา ๓ [Periods] หมายถึง กาลเวลาทั้ง ๓ ช่วง ได้แก่ (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต = ชาติชรา มรณะ (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส)
สังเขป ๔ [Sections: สังคหะ ๔] หมายถึง ช่วงองค์ประกอบปัจจัยสืบเนื่องกันด้วยเหตุและผลเป็นระยะ ๔ หมวด หรือแยกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล = ชาติชรามรณะ (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส)
สนธิ ๓ [Connections] หมายถึง ขั้วต่อระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง ๔ ได้แก่ (๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล (๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ (๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
วัฏฏะ ๓ [Cycles: ไตรวัฏฏ์] หมายถึง การวนวงเวียนองค์ประกอบปัจจัยใหญ่ที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของ ภวจักร หรือ สังสารจักร ดังนี้ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ได้แก่ อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ได้แก่ สังขารและกรรมภพ (อภิสังขาร ๓ หรือ เจตนา) (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ได้แก่ วิญญาณนามรูปสฬายตนะ ผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติขึ้น ชาติชรามรณะความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ
อาการ ๒๐ [Modesล หมายถึง องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (Causes) และส่วนผล (Effects) ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา
หมายเหตุ: อาการ ๒๐ คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็มในทุกช่วงของ สังเขป ๔
มูล ๒ [Roots] หมายถึง กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่ (๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน (๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต
ในอันดับต่อไป ให้พิจารณาในเรื่อง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา หมายถึง สภาวะอันบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิต หรือระดับจิตในแต่ละบุคคลนั้น ขึ้นตามปัจจัยแห่งกาลเวลาทั้ง ๓ [อดีตอนาคตปัจจุบัน] (๑) ในอดีตกาล [อดีตอัทธา] คือ กรรมที่ได้ทำลงไปผ่านแล้วทำให้เกิดผลในปัจจุบันนั้นๆ (๒) ในอนาคตกาล [อนาคตอัทธา] คือ กรรมที่ทำในปัจจุบันไปแล้วที่จะเกิดผล และ (๓) ในปัจจุบันกาล [ปัจจุบันนัทธา] คือ กรรมที่จะทำให้เกิดในอนาคต ที่สืบเนื่องจากกรรมในอดีตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ฉะนั้น ที่บุคคลเป็นเช่นนี้ และเป็นเช่นนั้น ในช่วงปัจจุบัน เพราะผลของการกระทำทั้งในอดีตและปัจจุบันรวมกัน ในการเข้าถึงปัญญาดังกล่าวนี้ได้ เพราะการเจริญญาณในวิปัสสนา คือ ปัจจยปริคคหญาณธัมมัฏฐิติญาณ [ธรรมฐิติญาณ] ยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะกังขาวิตรณวิสุทธิ [ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้] (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖ หรือ ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗) ที่เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ [ตาทิพย์] (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓ ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖ ข้อ ๗ ในวิชชา ๘ ในกรณีเมื่อได้บรรลุฌานแล้ว โดยเฉพาะในขั้นจตุตถฌาน ที่จิตปราศจากนิวรณ์ เรียกว่า จิตประภัสสร อันเกิดจากสมถกรรมฐาน) หมายถึง ญาณอันเป็นปัญญาหยั่งรู้หรือกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรมของตน ดังนี้
กฎแห่งกรรม (The Law of Volitional Actions) กฎข้อที่ ๑ กัมมัสสะโกมมะหิ (เรามีกรรมเป็นของๆ ตน) กฎข้อที่ ๒ กัมมะทายาโท (เราเป็นผู้รับผลของกรรม) กฎข้อที่ ๓ กัมมะโยนิ (เรามีกรรมเป็นกำเนิด) กฎข้อที่ ๔ กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์) กฎข้อที่ ๕ กัมมะปะฏิสะระโณ (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย) กฎข้อที่ ๖ ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราจักทำกรรมอันใดไว้) กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา (ดีหรือชั่วก็ตาม) ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ)
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรมองข้ามความสำคัญไป นั่นคือ คำว่า อุเบกขาตัตรมัชฌัตตตา [Equanimity] หมายถึง ภาวะจิตที่สหรคตด้วยความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ (๑) เพราะได้เพ่งเห็นด้วยการศึกษาค้นคว้า ในขณะจิตเป็นสมาธิที่ปราศจาก วิตกความตริตรึกอารมณ์ และ วิจารความพิจารณาไตร่ตรองอารมณ์ นั่นคือ ไม่มีสภาพปรุงแต่งวาจา ที่เรียกว่า วจีสังขาร (ข้อ ๒ ในสังขาร ๓) รวมทั้ง กายสังขาร (ข้อ ๑ ในสังขาร ๓) คือ สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก หรือ (๒) เพราะได้การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ในขณะจิตพัฒนาไปสู่ ตติยฌาน [ปีติสุขเอกัคคตา] โดยยังเหลือ จิตตสังขาร (ข้อ ๓ ในสังขาร ๓) คือ สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญา และ เวทนา นั่นคือ ยังเหลือ นามขันธ์ ๓ อยู่ ได้แก่ เวทนาสัญญาสังขาร [จิตตสังขาร] = เจตสิก [Mental Factors] ฉะนั้น ก่อนจะบรรยายถึง อุเบกขาตัตรมัชฌัตตตา อย่างละเอียด ให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องในการพิจารณาถึงรายละเอียดของ เจตสิก ที่เป็น ลักษณะเฉพาะของจิต [Distinctive Features] ในขณะกำลังพัฒนาในภูมิแห่งรูปฌานหรือสมถภาวนา จนรวมถึงวิปัสสนาภาวนา เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจในเจตสิกทั้งหลายนี้ได้ ย่อมเข้าใจจิตได้ แม้จะต้องท่องจำ เพื่อให้เป็น สัญญา [ความทรงจำพื้นจิตสันดานทักษะประสบการณ์อุปนิสัยใจคอ] ก็จักต้องทำให้ได้ มิฉะนั้น ก็วิปัสสนาธรรมทั้งหลายไม่ออกเช่นกัน ดังนี้
เจตสิก ๕๒ หมายถึง ธรรมที่ประกอบกับจิตสภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิตอาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ได้แก่
ฝ่ายสมถภาวนา (ก) อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว) (๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ [เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง] (๑) ผัสสะ คือ ความกระทบอารมณ์ (๒) เวทนา คือ ความเสวยอารมณ์ (๓) สัญญา คือ ความหมายรู้อารมณ์ (๔) เจตนา คือ ความจงใจต่ออารมณ์ (๕) เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว (๖) ชีวิตินทรีย์ คือ อินทรีย์คือชีวิตสภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง (๗) มนสิการ คือ ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจใส่ใจด้วยยินดีเห็นประจักษ์แจ้งในธรรม (๒) ปกิณณกเจตสิก ๖ [เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง] (๘) วิตก คือ ความตรึกอารมณ์ (๙) วิจาร คือ ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ (๑๐) อธิโมกข์ คือ ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ด้วยเลื่อมใสในธรรมที่ปฏิบัติ (๑๑) วิริยะ คือ ความเพียร (๑๒) ปีติ คือ ความปลาบปลื้มในอารมณ์อิ่มใจ (๑๓) ฉันทะ คือ ความพอใจในอารมณ์ [นิกันติ: ความพอใจติดใจ] (ข) อกุศลเจตสิก ๑๔ (เจตสิกฝ่ายอกุศล ทำให้เกิด มิจฉัตตะ ๑๐ คือ ภาวะที่ผิดมรรคดำ) (๑) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก ๔ [เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง] (๑๔) โมหะ คือ ความหลง (๑๕) อหิริกะ คือ ความไม่ละอายต่อบาป (๑๖) อโนตตัปปะ คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป (๑๗) อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน (๒) ปกิณณกอกุสลเจตสิก ๑๐ [อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต] (๑๘) โลภะ คือ ความอยากได้อารมณ์ (๑๙) ทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด (๒๐) มานะ คือ ความถือตัว (๒๑) โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย (๒๒) อิสสา คือ ความริษยา (๒๓) มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ (๒๔) กุกกุจจะ คือ ความเดือดร้อนใจ (๒๕) ถีนะ คือ ความหดหู่ (๒๖) มิทธะ คือ ความง่วงเหงา (๒๗) วิจิกิจฉา คือ ความคลางแคลงสงสัย
ฝ่ายวิปัสสนาภาวนา [ค] โสภณเจตสิก ๒๕ (เจตสิกฝ่ายดีงาม ทำให้เกิด สัมมัตตะ ๑๐ คือ ภาวะที่ถูกอเสขธรรมมรรคขาว) (๑) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ [เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง] (๒๘) สัทธา คือ ความเชื่อ (๒๙) สติ คือ ความระลึกได้ความสำนึกพร้อมอยู่ (๓๐) หิริ คือ ความละอายต่อบาป (๓๑) โอตตัปปะ คือ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป (๓๒) อโลภะ คือ ความไม่อยากได้อารมณ์ (๓๓) อโทสะ คือ ความไม่คิดประทุษร้าย (๓๔) ตัตรมัชฌัตตตา คือ ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ (๓๕) กายปัสสัทธิ คือ ความสงบแห่งกองเจตสิก (๓๖) จิตตปัสสัทธิ คือ ความสงบแห่งจิต (๓๗) กายลหุตา คือ ความเบาแห่งกองเจตสิก (๓๘) จิตตลหุตา คือ ความเบาแห่งจิต (๓๙) กายมุทุตา คือ ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก (๔๐) จิตตมุทุตา คือ ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต (๔๑) กายกัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก (๔๒) จิตตกัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงานแห่งจิต (๔๓) กายปาคุญญตา คือ ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก (๔๔) จิตตปาคุญญตา คือ ความคล่องแคล่วแห่งจิต (๔๕) กายุชุกตา คือ ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก (๔๖) จิตตุชุกตา คือ ความซื่อตรงแห่งจิต (๒) วิรตีเจตสิก ๓ [เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น] (๔๗) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ (๔๘) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ (๔๙) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ (๓) อัปปมัญญาเจตสิก ๒ [เจตสิกคืออัปปมัญญา] (๕๐) กรุณา คือ ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ (๕๑) มุทิตา คือ ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข (๔) ปัญญินทรียเจตสิก ๑ [เจตสิกคือปัญญินทรีย์] (๕๒) ปัญญินทรีย์อโมหะ คือ ความรู้เข้าใจไม่หลง
เพราะฉะนั้น ในตีความหมายสภาวธรรมในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น ก็ต้องอาศัยการถอดรหัสเชิงสัญลักษณ์ [Sign] ที่เรียกว่า ภาพนิมิต [Mental Images] โดยที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีตัวตนของตนอย่างชัดเจน นั่นคือ เห็น เจตสิก ๕๒ [กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรม] ดีพร้อมแล้ว แล้วต้องเลือกประพฤติตนไปในทางใด โดยพื้นฐาน คือ ฝ่ายกุศลธรรม ขั้นดีสุด คือ ฝ่ายอัพยากตธรรม [สมถะกับวิปัสสนา] ดังนั้น การเห็นธรรมในอาการ ๓ นั้น กระบวนการเกิดนามรูปต้องมีขึ้น [อุปาทานขันธ์ ๕] อย่างเช่น การรับรู้และรู้แจ้งในอารมณ์ ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ โดยจิตอันเป็นเจตนา [สัญเจตนา ๖] เข้าไปปรุงแต่ง อยู่ในภาวะที่เรียกว่า ให้มี แต่ในทางปฏิบัติธรรม ไม่ต้องการให้ อุปาทานขันธ์ ๕ เกิดขึ้น ที่อยู่ในภาวะที่เรียกว่า ให้ดับ [ไม่ให้มี] ให้เทียบเคียงกับระบบการบันทึกแผ่นดิสค์ของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่า ๒ ลักษณะ เช่นเดียวกัน ได้แก่ (๑) ให้มี = 1 [อุปาทานขันธ์ ๕] คือ มีค่าเป็นบวก กับ (๒) ไม่ให้มี = 0 คือ มีค่าเป็นลบ เช่นเดียวกับคนไปตรวจเลือด ถ้าผลออกมาเป็นค่าเลือดบวก คือ เลือดไม่ดี เลือดติดเชื้อโรค แต่ถ้าผลออกมาเป็นค่าลบ คือ เลือดสะอาดไม่ติดเชื้อโรค หรือการตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าเหล้าหรือยาเสพติด ก็ทำนองเดียวกัน แต่คนที่มีทั้งค่าลบและค่าบวก คือ ยังวางตัวเป็นกลางอย่าง แต่ในทางธรรมหมายถึง ไม่ใช่กุศลหรือสุขเวทนา และไม่ใช่อกุศลหรือทุกขเวทนา เรียกว่า อุเบกขา [อทุกขมสุขเวทนา] แต่ค่าบวกลบในทางสถิตินั้น หมายถึง ค่าศูนย์สัมบูรณ์ [Absolute Zero] คือ มีความเป็นกลางมากที่สุดแห่งค่าเฉลี่ย [Mean] นั่นเอง ถ้ายังไม่เข้าใจดีอีก ก็ให้คิดง่ายๆ คือ มันไม่มีดีมันไม่มีชั่วมันอยู่เฉยๆ [เพราะรู้แล้วทำไมเป็นอย่างนั้นได้] นี่แหละ หมายถึง อุเบกขาตัตรมัชฌัตตตา [Equanimity] คือ ไตร่ตรอง พิจารณาใส่ใจ [มนสิการสัมมสนะ] ไตร่สวน [Scrutiny] อย่างตั้งใจแน่วแน่ อย่างมีสติและสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีทั้งศรัทธาและฉันทะที่แรงกล้าที่จะทำ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะจิตมนุษย์ไม่ว่าจะเต็มบาทไม่เต็มบาท ก็ตาม ก็ต้องพิจารณาใน เจตสิก ๕๒ นี้ โดยแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ (๑) ภาวะจิตปุถุชน กับ ภาวะจิตผู้ปฏิบัติธรรม ดังนี้
(๑) จิตกลุ่มแรก [ท่านไม่ควรเป็นเลย] ภาวะจิตปุถุชน ให้พิจารณาถึงกุศลธรรมกับอกุศลธรรมไม่มีหลักไตรสิกขาในชนหลงทิศเหล่านี้ แต่เป็นเรื่องโลกธรรม [สังสารทุกข์ มีทั้งสุคติและทุกคติเกิดขึ้นสลับกันไปในอาการของจิตวิญญาณ เรียกว่า วิญญาณกิจ ๑๔วิญญาณปวัตติอาการ คือ อาการที่วิญญาณเป็นไป นั่นคือ ภวังคจิตวิถีจิตตกภวังค์]
(ก) อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว) (๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ [เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง] (๑) ผัสสะ คือ ความกระทบอารมณ์ (๒) เวทนา คือ ความเสวยอารมณ์ (๓) สัญญา คือ ความหมายรู้อารมณ์ (๔) เจตนา คือ ความจงใจต่ออารมณ์ (๕) เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว (๖) ชีวิตินทรีย์ คือ อินทรีย์คือชีวิตสภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง (๗) มนสิการ คือ ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจใส่ใจด้วยยินดีเห็นประจักษ์แจ้งในธรรม (๒) ปกิณณกเจตสิก ๖ [เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง] (๘) วิตก คือ ความตรึกอารมณ์ (๙) วิจาร คือ ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ (๑๐) อธิโมกข์ คือ ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ด้วยเลื่อมใสในธรรมที่ปฏิบัติ (๑๑) วิริยะ คือ ความเพียร (๑๒) ปีติ คือ ความปลาบปลื้มในอารมณ์อิ่มใจ (๑๓) ฉันทะ คือ ความพอใจในอารมณ์ [นิกันติ: ความพอใจติดใจ] (ข) อกุศลเจตสิก ๑๔ (เจตสิกฝ่ายอกุศล ทำให้เกิด มิจฉัตตะ ๑๐ คือ ภาวะที่ผิดมรรคดำ) (๑) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก ๔ [เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง] (๑๔) โมหะ คือ ความหลง (๑๕) อหิริกะ คือ ความไม่ละอายต่อบาป (๑๖) อโนตตัปปะ คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป (๑๗) อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน (๒) ปกิณณกอกุสลเจตสิก ๑๐ [อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต] (๑๘) โลภะ คือ ความอยากได้อารมณ์ (๑๙) ทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด (๒๐) มานะ คือ ความถือตัว (๒๑) โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย (๒๒) อิสสา คือ ความริษยา (๒๓) มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ (๒๔) กุกกุจจะ คือ ความเดือดร้อนใจ (๒๕) ถีนะ คือ ความหดหู่ (๒๖) มิทธะ คือ ความง่วงเหงา (๒๗) วิจิกิจฉา คือ ความคลางแคลงสงสัย
กิจ ๑๔วิญญาณกิจ ๑๔ หมายถึง กิจของวิญญาณ หน้าที่ของจิต ที่เรียกว่า วิญญาณปวัตติวิญญาณปวัตติอาการ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ทำให้รู้แจ้งในการทำงานของจิตใน ๑ ขณะจิต [วิถีจิต = มโนทวารวิถี คือ การคำนึงอารมณ์ใหม่ทางทวารนั้นๆ ในทวารทั้ง ๕ เรียกว่า มโนทวาราวัชชนะ หรือ ชวนจิต คือ หมายถึงจิตซึ่งทำหน้าที่รับอารมณ์ในวิถี หรือ การทำหน้าที่ของจิตในการรับอารมณ์นั้น] ได้แก่ (๑) ปฏิสนธิ คือ หน้าที่สืบต่อภพใหม่ ได้แก่ จิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันตีรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปวิบาก ๕ อรูปวิบาก ๔ (๒)ภวังคะ คือ หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่ จิต ๑๙ อย่างเดียวกับปฏิสนธิ (๓) อาวัชชนะ คือ หน้าที่คำนึงอารมณ์ใหม่ ได้แก่ จิต ๒ คือ ปัญจทวาราวัชชนะมโนทวาราวัชชนะ (๔) ทัสสนะ คือ หน้าที่เห็นรูป ได้แก่ จักขุวิญญาณ ๒ (๕) สวนะ คือ หน้าที่ได้ยินเสียง ได้แก่ โสตวิญญาณ ๒ (๖) ฆายนะ คือ หน้าที่รู้กลิ่น ได้แก่ ฆานวิญญาณ ๒ (๗) สายนะ คือ หน้าที่ลิ้มรส ได้แก่ ชิวหาวิญญาณ ๒ (๘) ผุสนะ คือ หน้าที่ถูกต้องโผฏฐัพพะ ได้แก่ กายวิญญาณ ๒ (๙) สัมปฏิจฉนะ คือ หน้าที่รับอารมณ์ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ ๒ (๑๐) สันตีรณะ คือ หน้าที่พิจารณาอารมณ์ ได้แก่ สันตีรณะ ๓ (๑๑) โวฏฐัพพนะโวฏฐปนะ
คือ หน้าที่ตัดสินอารมณ์ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ ๑ (๑๒) ชวนะ คือ
หน้าที่แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วงที่ทำกรรม ได้แก่ จิต ๕๕ คือ กุศลจิต ๒๑
อกุศลจิต ๑๒ กิริยาจิต ๑๘ คือ เว้นอาวัชชนะทั้งสอง โลกุตตรผลจิต ๔ (๑๓) ตทาลัมพนะ คือ
หน้าที่รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนตกภวังค์ ได้แก่ จิต ๑๑ คือ มหาวิบาก ๘ สันตีรณะ
๓ (๑๔) จุติ คือ หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน ได้แก่ จิต ๑๙ อย่างเดียวกับในปฏิสนธิ
(๒) จิตกลุ่มหลัง [ท่านควรจักต้องเป็น] ภาวะจิตผู้ปฏิบัติธรรม ให้พิจารณาตามหลักไตรสิกขา [ศีลสมาธิปัญญา] ซึ่งจะมีครบองค์ประกอบ เมื่อจิตได้พัฒนาจนได้จตุตถฌาน ย่อมมีเจติสิกเหลืออยู่ ๒ ดวง คือ ตัตรมัชฌัตตตาเอกัคคตา ที่สหรคตด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [อิทธิบาท ๔ หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗] พร้อมด้วย (๑) สติ กับ (๒) ปัญญินทรีย์อโมหะ นั่นคือ สติสัมปชัญญะ เสมอ
ฝ่ายสมถภาวนา (ก) อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว) (๑) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ [เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง] (๑) ผัสสะ คือ ความกระทบอารมณ์ (๒) เวทนา คือ ความเสวยอารมณ์ (๓) สัญญา คือ ความหมายรู้อารมณ์ (๔) เจตนา คือ ความจงใจต่ออารมณ์ (๕) เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว (๖) ชีวิตินทรีย์ คือ อินทรีย์คือชีวิตสภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง (๗) มนสิการ คือ ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจใส่ใจด้วยยินดีเห็นประจักษ์แจ้งในธรรม (๒) ปกิณณกเจตสิก ๖ [เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง] (๘) วิตก คือ ความตรึกอารมณ์ (๙) วิจาร คือ ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ (๑๐) อธิโมกข์ คือ ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ด้วยเลื่อมใสในธรรมที่ปฏิบัติ (๑๑) วิริยะ คือ ความเพียร (๑๒) ปีติ คือ ความปลาบปลื้มในอารมณ์อิ่มใจ (๑๓) ฉันทะ คือ ความพอใจในอารมณ์ [นิกันติ: ความพอใจติดใจ]
ฝ่ายวิปัสสนาภาวนา [ค] โสภณเจตสิก ๒๕ (เจตสิกฝ่ายดีงาม ทำให้เกิด สัมมัตตะ ๑๐ คือ ภาวะที่ถูกอเสขธรรมมรรคขาว) (๑) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ [เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง] (๒๘) สัทธา คือ ความเชื่อ (๒๙) สติ คือ ความระลึกได้ความสำนึกพร้อมอยู่ (๓๐) หิริ คือ ความละอายต่อบาป (๓๑) โอตตัปปะ คือ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป (๓๒) อโลภะ คือ ความไม่อยากได้อารมณ์ (๓๓) อโทสะ คือ ความไม่คิดประทุษร้าย (๓๔) ตัตรมัชฌัตตตา คือ ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ (๓๕) กายปัสสัทธิ คือ ความสงบแห่งกองเจตสิก (๓๖) จิตตปัสสัทธิ คือ ความสงบแห่งจิต (๓๗) กายลหุตา คือ ความเบาแห่งกองเจตสิก (๓๘) จิตตลหุตา คือ ความเบาแห่งจิต (๓๙) กายมุทุตา คือ ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก (๔๐) จิตตมุทุตา คือ ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต (๔๑) กายกัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก (๔๒) จิตตกัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงานแห่งจิต (๔๓) กายปาคุญญตา คือ ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก (๔๔) จิตตปาคุญญตา คือ ความคล่องแคล่วแห่งจิต (๔๕) กายุชุกตา คือ ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก (๔๖) จิตตุชุกตา คือ ความซื่อตรงแห่งจิต (๒) วิรตีเจตสิก ๓ [เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น] (๔๗) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ (๔๘) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ (๔๙) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ (๓) อัปปมัญญาเจตสิก ๒ [เจตสิกคืออัปปมัญญา] (๕๐) กรุณา คือ ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ (๕๑) มุทิตา คือ ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข (๔) ปัญญินทรียเจตสิก ๑ [เจตสิกคือปัญญินทรีย์] (๕๒) ปัญญินทรีย์อโมหะ คือ ความรู้เข้าใจไม่หลง
จตุตถฌานมี ๑๓ ประเภท คือ อิทธิฤทธิ์แห่งจตุตถฌานที่ทำให้เกิดคุณวิเศษต่างๆ ๕ ประการ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432435 FILE 78) ได้แก่
(๑) หมวดอนุปุพพนิโรธ คือ ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับในสมาธิ (๑) บาทแห่งฌานทั้งปวง คือ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔ และ นิโรธสมาบัติ [สัญญาเวทยิตนิโรธ] (๒) หมวดอภิญญา [อภิญญา ๕] คือ ความรู้ยิ่งยวด (๒) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๓) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๔) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๕) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๖) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๓) หมวดญาณ [ญาณ ๒] คือ ปรีชาหยั่งรู้ปัญญาหยั่งรู้ (๗) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๘) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ (๔) หมวดอรูปฌาน [ข้อ ๗ ในกรรมฐาน ๔๐] คือ อรูปฌาน ๔ ที่เป็นบาทฐานในการเข้านิโรธสมาบัติ (๙) อากาสานัญจายตนฌาน คือ มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ (๑๐) วิญญาณัญจายตนฌาน คือ มนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๑) อากิญจัญญายตนฌาน คือ มนสิการว่า ภาวะไม่มีอะไรเลย (๑๒) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือ มนสิการว่า ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๕) หมวดโลกุตตระ คือ ภาวะเหนือโลกียธรรม ที่จิตปราศจากกิเลสและทุกข์แล้ว (๑๓) โลกุตตรจตุตถฌาน คือ จิตน้อมถึง เจโตวิมุตติ [สุญญตสมาธิอนิมิตตสมาธิอัปปณิหิตสมาธิ]
ฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรได้เข้าถึง จตุตถฌาน และบรรลุอธิคมธรรมในส่วนที่เป็น อภิญญา ๕ (ข้อ ๑๔) จาก อภิญญา ๖ ซึ่งจะได้ครบหรือไม่ครบทุกส่วนก็ตาม แต่จะตรัสรู้ด้วยความรู้ชัดในข้อสุดท้าย (ข้อ ๖) นั่นคือ อาสวักขยญาณ มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้ ด้วยการเจริญภาวนากรรมฐาน ได้แก่ (๑) ญาณทัสสนะสมถะ กับ (๒) ญาณในวิปัสสนา วิปัสสนา ดังนี้
อภิญญา ๖ หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด ใน ๓ ข้อสุดท้าย เรียกว่า วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
หมายเหตุ: ในการปฏิบัติธรรมที่ไม่มีขั้นตอนถูกต้องตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น แต่ได้ยินเสียงแวว เช่น เสียงพระสวดมนต์ เสียงดนตรีคนธรรพ์ [ผีบังบดเจ้าป่าเจ้าเขา] หรือ เสียงอีกาบอกข่าว เป็นต้น ข้อนี้ให้พึงระวังว่า เป็นเรื่องของความฟุ้งซ่านของจิตแห่งตน จนเกิดความยึดมั่นแห่งอุปาทานได้ คือ การสะกดจิตตัวเอง ในส่วนหนึ่ง ไม่ใช่การบรรลุธรรมวิเศษแต่ประการใด หรืออุปาทานจิตได้ไปเฝ้าพระอินทร์ โดยไม่มีเหตุผล หรือได้รับหมายเรียก เป็นต้น บางคนได้คุณวิเศษ เกิดความกลัวเลิกปฏิบัติธรรมไปก็มี ให้ปรึกษาครูอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ [พระอริยสงฆ์]
แต่อย่างไรก็ตาม การวางจิตให้เฉยเป็นกลางในรับรู้รับแจ้งแห่งอารมณ์นั้นๆ ในภูมิแห่งกรรมฐานนั้น เป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องฝึกฝนให้ได้ อย่าให้เกิดอารมณ์แห่งจิตตอุปกิเลสทั้งหลายโดยเด็ดขาด ทั้งในส่วนที่เป็นชีวิตจริงและในส่วนแห่งวิปัสสนาภูมิ ทั้ง ๒ ส่วน ต้องมีความสมดุลเท่าเทียมกัน นั่นหมายถึง เป็นบุคคลที่ไม่หวั่นไหวในธรรมทั้งหลาย มีจิตที่ทรงสมาธิอย่างมั่นคงเสมอ [มีสติสัมปชัญญะอาโลกสัญญา = สติกับญาณ] ให้พิจารณาถึงความมีอารมณ์เป็นกลางเพราะได้มีสติและสัมปชัญญะที่ระลึกและรู้รอบดีแล้ว จึงไม่อยากไม่ยุ่งกับสังกิเลสทั้งหลาย [วัฏฏะ ๓: กิเลสกรรมวิบาก] อนึ่ง จิตของผู้เป็นพระอรหันต์เป็นกิริยาจิตโดยปราศจากนิวรณ์และสังกิเลสทั้งหลาย และให้พิจาณาถึง อุเบกขา ๑๐ ในธรรมระดับต่างๆ ดังนี้
อุบกขา ๑๐ หมายถึง เห็นโดยความเข้าถึง ด้วยเห็นเสมอ คือ เป็นผู้ไม่ตกไปในฝักใฝ่เลยเห็น ผู้พร้อมเพรียงด้วย ตติยฌาน เรียกว่า ผู้มีอุเบกขาอุเปกฺขโก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น ซึ่งบริสุทธิ์ไพบูลย์มีกำลัง ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑ พรหมวิหารุเบกขา ๑ โพชฌังคุเบกขา ๑ ฉฬังคุเบกขา ๑ ฌานุเบกขา ๑ ปาริสุทธิอุเบกขา ๑ วิปัสสนุเบกขา ๑ สังขารุเบกขา ๑ เวทนุเบกขา ๑ และ วิริยุเบกขา ๑ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 510 -513 FILE 68) ดังนี้ (๑) ตัตรมัชฌัตตุเปกขา คือ อุเบกขาที่นำสหชาตธรรมไปเสมออันมาใน เยวาปนกธรรม ได้แก่ ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ กรุณา ๑ มุทุตา ๑ กายทุจริตวิรัติ ๑ วจีทุจริตวิรัติ ๑ มิจฉาชีววิรัติ ๑ (๒) พรหมวิหารุเปกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายที่จิตแผ่ออกไปทิศหนึ่ง (๓) โพชฌังคุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความเป็นกลางของธรรมอันเกิดร่วมกันที่อาศัย วิเวก คือ ความสงัดที่ปลีกออกจากกิเลส (๔) ฉฬังคุเปกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความไม่ละความเป็นปรกติอันบริสุทธิ์ ในคลอง อารมณ์ ๖ (รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์) ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาใน ทวาร ๖อินทรีย์ ๖ (ตาหูจมูกลิ้นกายใจ) (๕) ฌานุเปกขา คือ อุเบกขาอันยังธรรมที่ไม่ตกไปในฝักฝ่ายให้เกิดในฌานนั้น แม้เป็นสุขอย่างเลิศอยู่ก็ตาม (๖) ปาริสุทธุเปกขา คือ อุเบกขาอันไม่ขวนขวาย แม้ในความสงบจากธรรมเป็นข้าศึก บริสุทธิ์จากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหมด โดยเข้า จตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้ สติ บริสุทธิ์ (๗) วิปัสสนุเปกขา คือ อุเบกขาที่เป็นกลางในการค้นคว้าโดยละสิ่งที่มีที่เป็นด้วยอนัตตตา (๘) สังขารุเปกขา คือ อุเบกขาอันเป็นกลางในความไม่ยึดถือการดำรงอยู่ในความพิจารณา นิวรณ์ ด้วยอำนาจวิปัสสนา (๙) เวทนุเปกขา คือ อุเบกขาที่ไม่รู้ทุกข์ไม่รู้สุขโดยจิตเป็นกามาวจรกุศล (๑๐) วิริยุเปกขา คือ อุเบกขาอันได้แก่ความเพียรไม่ย่อหย่อน ด้วยการปรารภถึงความไม่เที่ยง ที่ใส่ใจถึง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล
แต่อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติธรรมมีกิจเด่นๆ อยู่ ๒ อย่าง คือ (๑) ไม่ให้มี คือ ความไม่รู้จริง [อวิชชา ๒๕] กับ (๒) ให้ปล่อยวาง คือ ภาวะที่ไร้กิเลสและทุกข์ทั้งปวงแล้ว [นิพพาน ๒๖] ดังนี้
อวิชชามีลักษณะ ๒๕ ประการ [องค์แห่งอวิชชาลักษณะอวิชชาด้วยอำนาจบท ๒๕] คือ อย่ายึดในสิ่งเหล่านี้ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 464461 FILE 77) ได้แก่ (๑) อัญญาณ คือ ความไม่หยั่งรู้ด้วยญาณ [ญาณปรีชาหยั่งรู้] (๒) อทัสสนะ คือ ความไม่เห็นด้วยญาณทัสสนะ [ทัสสนะความเห็น] (๓) อนภิสมัย คือ ความไม่ตรัสรู้ [อภิสมัยความตรัสรู้] (๔) อนนุโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้ตาม [อนุโพธะความตรัสรู้ตาม] (๕) อสัมโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้พร้อม [สัมโพธะความตรัสรู้พร้อม] (๖) อัปปฏิเวธะ คือ การไม่แทงตลอด [ปฏิเวธะการแทงตลอด] (๗) อสังคาหณา คือ ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง [สังคาหณาความถือเอาถูกต้อง] (๘) อปริโยคาหณา คือ ความไม่หยั่งโดยรอบคอบ [ปริโยคาหณาความหยั่งโดยรอบคอบ] (๙) อสมเปกขนา คือ ความไม่พินิจ [สมเปกขนาความพินิจ] (๑๐) อปัจจเวกขณา คือ ความไม่พิจารณา [ปัจจเวกขณาความพิจารณาทบทวน] (๑๑) อัปปัจจักขกรรม คือ ความไม่รู้ในกรรมของตน [กัมมผลสัทธากฎแห่งกรรม] (๑๒) ทุมมิชฌะ คือ ความทรามปัญญา [สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ อธิปัญญาปัญญาอันยิ่ง] (๑๓) พาลยะ คือ ความโง่เขลา [วิสารทะฉลาดชำนาญ ปฏิภาณความคิดทันการ] (๑๔) อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ทั่วพร้อม [สัมปชัญญะความรู้ทั่วพร้อม] (๑๕) โมหะ คือ ความหลง [ปัญญา ความรอบรู้ความรู้ชัด] (๑๖) ปโมหะ คือ ความลุ่มหลง [อวิกเขปะความไม่ฟุ้งซ่าน เอกัคคตาจิตตสมาธิ] (๑๗) สัมโมหะ คือ ความหลงใหล [อสัมโมหสัมปชัญญะรู้ชัดว่าไม่หลง] (๑๘) อวิชชา คือ รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ [วิชชาความรู้แจ้ง อภิญญาความรู้ยิ่งยวด] (๑๙) อวิชโชฆะ คือ โอฆะคืออวิชชาให้จมลงในวัฏฏะ [วิวฏะความพ้นจากวัฏฏะ = วิวัฏฏะ] (๒๐) อวิชชาโยคะ คือ โยคะคืออวิชชาให้ประกอบไว้ในวัฏฏะ [วิราคะความไม่ติดพันเป็นอิสระ] (๒๑) อวิชชานุสัย คือ อนุสัยคืออวิชชาด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ [นิโรธความดับกิเลสและทุกข์] (๒๒) อวิชชาปริยุฏฐาน คือ การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา [อุปสมะความสงบ สมถะการสงบระงับจิต] (๒๓) อวิชชาลังคี คือ กลอนเหล็กหรือลิ่มคืออวิชชา [วิสังโยคความหมดเครื่องผูกรัด] (๒๔) โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย [อพยาบาทความไม่ขัดเคืองมีเมตตา] (๒๕) โลภะ คือ ความอยากได้ [อปจยะความไม่พอกพูนกิเลส]
คำที่เป็นไวพจน์กับ คำว่า นิพพาน [อมตธาตุอสังขตธรรม] มีอยู่ ๒๖ คำ คือ ให้ถือปฏิบัติในสิ่งเหล่านี้ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 455456 FILE 68) ดังนี้ (๑) อเสสวิราโค คือ คลายกำหนัดโดยไม่มีเหลือ (๒) อเสสนิโรโธ คือ ดับโดยไม่มีเหลือ (๓) จาโค คือ ความสละ (๔) ปฏินิสฺสคฺโค คือ ความสละคืน (๕) มุตฺติ คือ ความหลุดพ้น (๖) อนาลโย คือ ความไม่อาลัย (๗) ราคกฺขโย คือ ความสิ้นราคะ (๘) โทสกฺขโย คือ ความสิ้นโทสะ (๙) โมหกฺขโย คือ ความสิ้นโมหะ (๑๐) ตณฺหกฺขโย คือ ความสิ้นตัณหา (๑๑) อนุปฺปาโท คือ ความไม่เกิด (๑๒) อปฺปวตฺตํ คือ ความไม่เป็นไป (๑๓) อนิมิตฺตํ คือ ความไม่เป็นไป (๑๔) อปฺปณิหิตํ คือ ความไม่มีที่ตั้ง (๑๕) อนายูหนํ คือ ความไม่มีกรรมเป็นเหตุปฏิสนธิ (๑๖) อปฺปฏิสนฺธิ คือ ความไม่สืบต่อ (๑๗) อนุปปตฺติ คือ ความไม่อุบัติ (๑๘) อคติ คือ ความไม่มีคติ (๑๙) อชาตํ คือ ความไม่เกิด (๒๐) อชรํ คือ ความไม่แก่ (๒๑) อพฺยาธิ คือ ความไม่เจ็บ (๒๒) อมตํ คือ ความไม่ตาย (๒๓) อโสกํ คือ ความไม่โศก (๒๔) อปริเทวํ คือ ความไม่ร้องไห้คร่ำครวญ (๒๕) อนุปายาสํ คือ ความไม่เหือดแห้งใจ (๒๖) อสงฺกิลิฏฺฐํ คือ ความไม่เศร้าหมอง
ในประการสุดท้ายนี้ ก็ให้ผู้ปฏิบัติธรรมรู้จักปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรืออุบายวิธีในทุกขั้นตอนของการเจริญภาวนากรรมฐานในขณะนั้นสมัยนั้น นั่นคือ กาลทั้ง ๓ [อัทธา ๓: อดีตอัทธาอดีตอัทธาปัจจุบันนัทธา] ให้พิจารณาถึง อนุปัสสนา ๓ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่าได้ขาดระยะ [กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน] ยิ่งเจริญได้มากแค่ไหน ก็ยิ่งพอกพูนด้วยปัญญาแห่งอริยมรรคและการตรัสรู้ ควรเว้นจากการกระทำที่ปราศจากการวางแผนที่เป็นไปตามนโยบายที่ดี คือ มีกระบวนทัศน์หรือกรอบความคิด ที่อธิบายถึงขั้นตอนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบ ๔ ประการ ได้แก่ (๑) ต้นทุนทางปัญญา [Intellectual Capital] คือ พาหุสัจจะพหูสูตมีองค์ ๕ ได้แก่ ได้ยินได้ฟังมากทรงจำไว้ได้คล่องปากเจนใจขบได้ด้วยทฤษฎี (๒) ทรัพย์ปัญญา [Knowledge Sources] ที่เป็นกระบวนการคิด โยนิโสมนสิการปฏิสัมภิทา ๔ (๓) ศักยภาพแห่งกองกำลัง [SelfActualization] อันทรงประสิทธิภาพ เช่น อนุปุพพปฏิปทา ได้แก่ อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘การจำแนกอารมณ์ ๓๘โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และ (๔) ขวัญกำลังใจและแรงดลบันดาลใจ [Morales and Inspirations] ที่ต้องสร้างขึ้นเอง ไม่ต้องไปพึงผู้อื่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ฉะนั้น ความสำเร็จในการบรรลุคุณวิเศษในพระพุทธศาสนาของแต่ละบุคคลนั้น จึงประกอบด้วยองค์ประกอบปัจจัยที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการสร้างสมบุญบารมีอันปฏิปทาอันยวดยิ่งมาแตกต่างกัน [บารมี ๑๐: ทานศีลเนกขัมมะปัญญาวิริยะขันติสัจจะอธิษฐานเมตตาอุเบกขา] ในความเป็นจริง ก็คือ ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ความเอาจริงเอาจัง ในการประพฤติปฏิบัติธรรม นั่นเอง ที่ประกอบด้วย สัมมาปฏิปทา คือ การปฏิบัติธรรมที่ถูกหลัก ที่เรียกว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติธัมมานุธัมมปฏิปทา (ข้อ ๔ ในวุฒิ ๔) หมายถึง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน หรือ ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม นอกจากนั้น ยังต้องประกอบด้วยคุณธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามอีก ๓ อย่าง ที่เรียกว่า วุฒิ ๔วุฑฒิธรรม ๔ คือ ธรรมเครื่องเจริญ ได้แก่ (๑) สัปปุริสสังเสวะ คือ เสวนาสัตบุรุษ คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร (๒) สัทธัมมัสสวนะ คือ สดับสัทธรรม ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้ และ (๓) โยนิโสมนสิการ คือ ทำในใจโดยแยบคาย รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี ฉะนั้น ขั้นก้าวบันไดแห่งความสำเร็จนั้น จะต้องเริ่มก้าวด้วยความถูกต้องด้วยปัญญาที่ถูกต้องแห่ง สัมมาทิฏฐิทิฏฐิสัมปทา ถ้าอยากสำเร็จก็ให้อยู่ในสังคมของผู้สำเร็จแห่งมรรคผลนิพพาน ที่พึงเรียกว่า พุทธบริษัท ทุกอย่างก็อยู่ที่ใจของตน นั่นเอง.
|