๑๙. ความบริบูรณ์แห่งอุเบกขากับอัตตสัมปทา Perfection of Equanimity and SelfActualization
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติธรรมมนสิการ กรรมฐาน นั้น เมื่อนั้นต้องเจริญปัญญาให้เห็นธรรม นั่นคือ จำแนกแจกธรรม [ธัมมวิจยะวิมังสา] ให้ได้ ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ หมายถึง กระบวนการคิดที่ครอบคลุมสาเหตุของปัญหาตั้งแต่ต้นจนจบ โดยพิจารณาให้เห็นปัจจัยที่สัมพันธ์กันด้วยอุบายที่แยบคายตามหลักปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ก็ให้รักษาอารมณ์กรรมฐานให้ดำรงมั่นโดย โพชฌงค์ ๗ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ที่เรียกว่า สมาธิในวิปัสสนาจิตตัววิปัสสนา ซึ่งจะทำให้เกิด ญาณ [การหยั่งรู้] ต่างๆ ในวิปัสสนา ซึ่งหมายถึง ญาณทัสสนะ คือ การเห็นด้วยญาณในวิปัสสนา คำว่า โพชฌงค์ ๗ จึงหมายถึง องค์ธรรมที่จะเกิดควบคู่กับการเจริญฌานสมาบัติ คือ ฌานรูปฌาน ๔ ที่ต้องประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม อริยมรรคมีองค์ ๘ ในส่วนที่เป็น อธิจิตต์อธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ สำหรับองค์ธรรมใน โพชฌงค์ ๗ นั้น ได้แก่ (๑) สติ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง (๒) ธัมมวิจยะ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม (๓) วิริยะ คือ ความเพียร (๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจ (๕) ปัสสัทธิ คือ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (๖) สมาธิ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ (๗) อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง ฉะนั้น จตุตถฌาน จึงมีองค์ฌานเท่าเทียบกับ โพชฌงค์ ๗ ในข้อ ๖ คือ สมาธิสัมโพชฌงค์ กับ เอกัคคตา และข้อ ๗ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ กับ ฌานุเปกขา ส่วนองค์ธรรมที่เหลือก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักธรรมอื่น คือ (๑) สติปัฏฐาน ๔ = สติ (๒) โยนิโสมนสิการ = ธัมมวิจยะ (๓) อธิจิตต์ = วิริยะสติสมาธิ [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] ธรรมสมาธิ ๕ = ปีติปัสสัทธิสมาธิ ในทางปฏิบัตินั้น การจะบรรลุถึงฌานสมาบัติได้นั้น ต้องเกิดจากการเจริญภาวนาในส่วนที่เรียกว่า สมถภาวนาจิตตภาวนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับ อัตตสัมมาปณิธิ คือ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งจิตคิดมุ่งหมายนำตนไปถูกทาง นั่นคือ อัตตสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์ ทั้งด้าน กายศีลจิตและปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือ ผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ จะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย [แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีรุ่งอรุณของการศึกษา] ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมสามารถพัฒนาตนเองก้าวไปสู่ วิปัสสนาภาวนาปัญญาภาวนา ได้ไม่ยากนัก เพราะมีจิตที่ปราศจากนิวรณ์ คือ หมดจดสะอาดไม่มีมลทินปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว เป็นจิตที่มีคุณภาพในการเจริญอริยมรรคได้อย่างแน่นอน.
บทความที่ ๑๙ ประจำปี ๒๕๕๘ ความบริบูรณ์แห่งอุเบกขากับอัตตสัมปทา
ความรับผิดชอบในตำแหน่งและหน้าที่การงานเพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลนั้น เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่บ่งบอกถึงความเลื่อมใส ความศรัทธาและฉันทะในตัวบุคคลหรือคณะกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม ความรับผิดชอบ คือ การเอาใจใส่ การคิดไตร่ตรอง การพินิจพิเคราะห์ การคิดริเริ่ม การสร้างสรรค์ การดัดแปลงประยุกต์ การใช้เหตุผลวิจารณญาณ ตามงานที่ได้รับมอบหมายมา ในทางธรรมนั้น หมายถึง กระบวนการคิดอย่างถูกวิธี มีขั้นตอนในการสืบสาวจากต้นเหตุ ครอบคลุมถึงปลายเหตุ พิจารณาเห็นเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กัน มีอุบายวิธีในการแก้ไขปัญหา ที่คิดใคร่ครวญหาทางออกที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดอันเป็นประโยชน์ ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ [จินตามยปัญญา] ที่เกิดสืบเนื่องภายในตนจนถึงปัจจุบัน วิธีคิดตามแนวทาง โยนิโสมนสิการ นี้ จะเกิดขึ้นทั้งนอกวิปัสสนาภูมิและในวิปัสสนาภูมิ โดยคำนึงนึกคิดถึงหลักธรรม ปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา ถ้ากระบวนการคิดนี้ เกิดขึ้นในวิปัสสนาภูมิ เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ [กังขาวิตรณญาณธัมมัฏฺฐิติญาณ] หมายถึง ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่ารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนว กฎแห่งกรรม ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หรือ ปฏิจจสมุปปันนธรรม [ธรรมที่อุบัติขึ้นด้วยอาศัยสาเหตุเป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร มี ๑๒ ข้อ ได้แก่ อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรามรณะ และมีข้อควรทราบเกี่ยวกับ ภวจักรสังสารจักร อีก ดังนี้ อัทธา ๓ สังเขป ๔สังคหะ ๔ สนธิ ๓ วัฏฏะ ๓ อาการ ๒๐ มูล ๒] ในการเจริญวิปัสสนาญาณ ปัจจยปริคคหญาณ [กังขาวิตรณญาณธัมมัฏฺฐิติญาณ] นั้น ทำให้เห็น รากเหง้าแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า อวิชชา [อวิชชา ๔อวิชชา ๘] อันเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์จากอดีต และ ตัณหา ๓ [กามตัณหาภวตัณหาวิภวตัณหา] อันเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ในปัจจุบัน ในการกระบวนการคิดเกี่ยวกับ มูลเหตุแห่งทุกข์ นี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นการกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ [สมุทัย] และในขณะเดียวกัน กระบวนการคิดเกี่ยวกับ การดับสาเหตุแห่งทุกข์ นี้ คือ ดับอวิชชา อันเป็น รากเหง้าแห่งทุกข์ เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นการกำหนดรู้ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ [นิโรธ] นอกจากนี้ ในการเจริญวิปัสสนาญาณนี้ ยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) หมายถึง ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความเลื่อมใส ศรัทธาปสาทะ ใน กัมมผลสัทธา คือ เชื่อกรรม [กัมมสัทธา] และผลของกรรม [วิปากสัทธา] เชื่อกฎแห่งกรรม รวมทั้ง กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน ความเชื่ออย่างมีเหตุผลถูกต้องอย่างสามัญตามแนวนี้ ทำให้เกิดญาณในวิปัสสนา ที่เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ คือ ปัญญา [ปัญญาสามัญ] แต่ วิปัสสนาปัญญา ที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์ คือเห็น สามัญลักษณะ [อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา] เป็น อธิปัญญา หรือ กัมมัสสกตาปัญญา ที่โยงไปให้มองเห็น ทุกข์ ที่เนื่องด้วย วัฏฏะ หรือแม้กระทั่งความรู้๕วามเข้าใจที่ถูกต้องในการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ก้าวไปใน มรรค ก็เป็น อธิปัญญา เพราะฉะนั้น กระบวนการคิดแบบ โยนิโสมนสิการ หรือตามหลักธรรม ปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา จึงมีความสำคัญมากในการเจริญปัญญา คือ วิปัสสนาภาวนาปัญญาภาวนา ซึ่งเป็นขั้นตอนการพัฒนาองค์ความรู้ขั้นสูงสุดในการปฏิบัติธรรม
แต่อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องมีพื้นฐานเริ่มต้นจาก ศีลอธิศีล [สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ] เพื่อกำจัด วีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบอันเกี่ยวกับความประพฤติกับข้อละเว้นด้วยศีล และ สมาธิอธิจิตต์ [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] เพื่อกำจัดระงับ ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลางอันเกี่ยวกับ นิวรณูปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส ทั้งหลาย ซึ่งหมายถึง สมถะสมถภาวนาจิตตภาวนาฌานสมาบัติ โดยการฝึกอบพัฒนาจิตใจให้อยู่ในภาวะที่เรียกว่า ปราศจากนิวรณ์และเป็นสมาธิ นั่นคือ หมดจดสะอาดไม่มีมลทินปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว อนึ่ง คำว่า นิวรณ์ ในที่นี้ หมายถึง (๑) นิวรณ์ ๕ อกุศลธรรมที่กดทับจิตปิดกั้นปัญญา มี ๕ อย่าง คือ กามฉันทะพอใจใฝ่กามคุณ พยาบาทแค้นเคืองคิดร้ายเขา ถีนมิทธะหดหู่ซึมเซา อุทธัจจกุกกุจจะฟุ้งซ่านรำคาญใจ วิจิกิจฉาลังเลสงสัย (๒) อวิชชา ๔อวิชชา ๘ ความไม่รู้จริง ในอริยสัจจ์ ๔ กาลทั้ง ๓ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (๓) อรติ ความขึ้งเคียด ความไม่ยินดีด้วย ความริษยา และ (๔) บรรดาอกุศลธรรมทั้งปวง จิตที่สะอาด ผุดผ่อง บริสุทธิ์ จากบรรดาอุปกิเลสทั้งหลายนี้ เรียกว่า จิตดั้งเดิมจิตประภัสสร คือ จิตตามสภาพดั้งเดิม [ภวังคจิต = มโนมโนธาตุ] ที่ยังไม่เข้าสู่วิถีกระแสจิต วิถีจิต [มโนวิญญาณมโนวิญญาณธาตุ] ซึ่งเรียกว่า สังขารสังขตะสังขตธรรม หมายถึง สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามสัญเจตนาของมนุษย์ สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่ สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง [ตามหลักปฏิจจสมุปบาท] หรือ ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับ สังขาร ในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์สังขารทั้งปวง [ธรรมทั้งหลาย] ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น จิต [วิญญาณ] พร้อมด้วยอาการลักษณะแห่งจิตนั้นๆ เจตสิก [เวทนาสัญญาสังขาร] ที่เรียกว่า นามนามขันธ์ [รูปธรรม] มีความสำคัญต่อการเจริญภาวนาในส่วนที่เรียกว่า สมถภาวนา [สมถกรรมฐาน] หมายถึง การเจริญสมถกรรมฐาน เพื่อให้เกิดสมาธิ ได้แก่ (๑) บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน (๒) อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ ให้เกิด อุปจารสมาธิ (๓) อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ ให้เกิด อัปปนาสมาธิ เพื่อให้เข้าถึง ฌาน หรือในอีกนัยหนึ่ง เรียกว่า จิตตภาวนา หมายถึง การฝึกอบรมจิตใจให้ (๑) เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม (๒) มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส (๓) พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ โดยมีจุดมุ่งหมายตามหลักธรรม สมาธิภาวนา ๔ หมายถึง การเจริญสมาธิ วิธีฝึกสมาธิแบบต่างๆ จำแนกตามวัตถุประสงค์(๑) สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อ ทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือ เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เช่น ใช้เป็นเครื่องพักผ่อนจิต หาความสุขยามว่าง เป็นต้น (๒) สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อการได้ ญาณทัสสนะ (๓) สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อ สติ และ สัมปชัญญะ และ (๔) สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อ อาสวักขยะ คือ ความสิ้นอาสวะ เพราะฉะนั้น สมาธิ [อธิจิตต์] จึงมีบทบาทสำคัญโดยพื้นฐานในการเริ่มต้นปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา โดยผู้ปฏิบัติธรรมต้องผ่านการฝึกตนด้วยความประพฤติที่ถูกต้องด้วย ศีลบริสุทธิ์ [สีลวิสุทธิ] ก่อนจะมาพัฒนาจิตใจให้ถึง จิตบริสุทธิ์ [จิตตวิสุทธิ] ตามลำดับ
ในการเจริญฌานสมาบัตินั้น เพื่อให้จิตสะอาดบริสุทธิ์จากบรรดา นิวรณูปกิเลส ทั้งหลาย คือ ฌาน ๔ หรือ รูปฌาน ๔ ซึ่งผู้เจริญฌานนั้น ต้องมีความมั่นใจศรัทธาปสาทะอย่างแรงกล้าในข้อปฏิบัติแห่ง อริยมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ จนทำให้เกิด ธรรมสมาธิ ๕ [ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ] ที่จิตปราศจากข้อสงสัยในข้อปฏิบัติอันเป็น สัมมาปฏิปทา แห่งการปฏิบัติธรรมนั้น คือ เกิด จิตตสมาธิ เนื่องด้วยการเจริญอริยมรรค ๓ ประการ ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [สัมมัปปธาน ๔สติปัฏฐาน ๔ฌาน ๔] ถ้าองค์มรรคทั้ง ๓ นี้ไม่เกิดขึ้นในการเจริญอริมรรค แสดงว่าจิตใจอยู่ในสภาวะที่ไม่ถูกต้อง ฝืนปฏิบัติไป ก็กลับกลายเป็นเรื่องอกุศลจิตไป คือ มิจวายามะมิจฉาสติมิจฉาสมาธิ [พยายามผิดระลึกผิดตั้งจิตใจผิด] ไม่ใช่ทางแห่ง มัชฌิมาปฏิปทา ในการบำเพ็ญเพียรรูปฌานทั้ง ๔ นั้น จะเริ่มต้นจาก (๑) ปฐมฌาน ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๕ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌาน ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๓ ปีติสุขเอกัคคตา โดยละระงับ วิตก กับ วิจาร ออกไป (๓) ตติยฌาน ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ สุขเอกัคคตา โดยละระงับ ปีติ ออกไป (๔) จตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ อุเบกขาเอกัคคตา โดยละระงับ สุข ออกไป การจะบรรลุล่วงถึง รูปาวจรกุศลจิตแห่งฌานสมาบัติ ทั้ง ๔ ขั้นได้นั้น ไม่ใช่เรื่องจะเกิดขึ้นได้ง่ายในแต่ละบุคคล เป็นเรื่องที่เรียกว่า ปฏิปทา หมายถึง แนวปฏิบัติ ทางดำเนิน การปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมาย คือ ความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ ชนิดที่เรียกว่า ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เพราะฉะนั้น จึงต้องมีความมั่นคงในการเจริญองค์มรรคทั้ง ๓ แห่งอธิจิตต์มาเป็นอย่างดี นั่นคือ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [สัมมัปปธาน ๔สติปัฏฐาน ๔ฌาน ๔] โดยประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง ประกอบด้วยความเพียร วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร และความอดทน ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ โดยเป็นพื้นฐานหลักก่อน รวมทั้ง สีลสังวร สำรวมในศีล สติสังวร สำรวมด้วยสติ และ ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ ที่เรียกว่า สังวร ๕ เพื่อการระวังปิดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เข้ากลุ้มรุม ยำยี ครอบงำ จิตใจให้เกิดความเสร้าหมองรับคุณธรรมได้ยาก
เมื่อจิตได้รับการพัฒนาฝึกอบมาอย่างถูกวิธีแห่งอริยมรรคดีพร้อมแล้ว ผลานิสงส์ในการเข้าถึง จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา] ที่จะเกิดขึ้น ย่อมทำได้ง่ายเป็นปกตินิสัยในการปฏิบัติสมาธิภาวนา ข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด คือ ทรงสมาธินั้นได้ทุกขณะ หมายถึง การมีความสำรวมระวังใน สติสังวรอินทรียสังวร ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ นั่นคือ ประพฤติปฏิบัติให้เกิดความหมดจดบริสุทธิ์จนกลายเป็นศีลได้ ที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ เพราะฉะนั้น (๑) สติ [สังวรสุทธิ = ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร ความสำรวมที่เป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์] หมายถึง ความระลึกได้ นึกได้ สำนึกอยู่ไม่เผลอ กับ (๒) สัมปชัญญะ [โยนิโสมนสิการ = คิดอย่างชาญฉลาดถูกวิธีด้วยอุบายที่แยบคาย] หมายถึง ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท คุณธรรมทั้ง ๒ ประการ นี้ จึงมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน เมื่อจินอยู่ระดับคุณภาพแห่ง จตุตถฌานจิต [จิตประภัสสร] นั้น เอกัคคตาแห่งสมาธิ อันเป็นจิตบริสุทธิ์หมดย่อมทำให้ สติบริสุทธิ์ เป็นสติที่มีความคมชัด ความแก่กล้า ในขณะเดียวกัน สัมปชัญญะ [ความรู้ชัด รู้ชัดสิ่งที่นึกได้ ตระหนัก เข้าใจชัดตามความเป็นจริง] ก็มีความคมชัด ความแก่กล้า เช่นกัน ที่เรียกรวมกันว่า สติสัมปชัญญะ หรือ สติปัญญา นั่นเอง อันหมายถึง ปัญญาปฏิญาณไหวพริบ ฉะนั้น เมื่อจิตทรงสภาพใน อุเบกขา หมายถึง ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง คำว่า เห็นตามที่เป็นจริง คือ สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว ความรู้ตัวทั่วพร้อม ความรู้ชัด ความรู้ทั่วชัด ความตระหนัก กล่าวสรุป คือ มีสติสัมปชัญญะ ที่เกื้อกูล อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม และดำรงอยู่ในธรรม ไม่เอนเอียงหรือหวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ มีความสำรวมระวังไม่เกิดภาวะ ที่เรียกว่า เสียธรรม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการ หลงบุญ คือ ทำบุญให้ทานไม่ประกอบด้วยเหตุผล อนึ่ง คำว่า อุเบกขา เป็นข้อธรรมที่สหรคตด้วยข้อธรรมในหมวดอื่นๆ ซึ่งแยกออกเป็น ๑๐ ประการ ดังนี้ (๑) ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ ๖อารมณ์ ๖ [อินทรีย์ ๖] (๒) พรหมวิหารรุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร ๔ (๓) โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์ ๗ (๔) วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะ สัมมัปปธาน ๔ (๕) สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร ๓ (๖) เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา ๓ (๗) วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ ๙ (๘) ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ เจตสิก ๕๒ (๙) ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน ๔ (๑๐) ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์วิสุทธิ ๗
ในเส้นทางระหว่างการก้าวพัฒนาตนมาถึง สมภาวนา นั้น ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมอยู่ในมิติของการเจริญภาวนาทั้ง ๔ ประการ มาด้วยดี หมายถึง การเจริญ การทำให้เป็นให้มีขึ้น การฝึกอบรม การพัฒนา ได้แก่ (๑) กายภาวนา คือ การเจริญกาย พัฒนากาย การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้ง ๕ ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (๒) สีลภาวนา คือ การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน (๓) จิตตภาวนา คือ การเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น (๔) ปัญญาภาวนา คือ การเจริญปัญญา พัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา
อย่างไรก็ตาม ในการเจริญภาวนาทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าวต้นนี้ ก็เป็นการประพฤติปฏิบัติในเส้นทางแห่งอริยมรรค คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ [เริ่มต้นด้วยปัญญาดำเนินด้วยปัญญานำไปสู่ปัญญาอันยิ่ง] ที่แบ่งรูปแบบการฝึกฝนปฏิบัติตามหลักธรรม ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา โดยลำดับขั้นตอนการศึกษาฝึกฝนตามหลักธรรม อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ (๑) อธิปัญญาสิกขา = สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ (๒) อธิศีลสิกขา = สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๓) อธิจิตตสิกขา = สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ผู้ปฏิบัติได้ครบตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่า มัคคสมังคี ผู้ถึงพร้อมด้วยอริยมรรค ผู้ปฏิบัติได้ครบบริบูรณ์ด้วย ภาวนา ๔ [ภาวิต ๔] เรียกว่า ภาวิตัตต์ ผู้มีตนอันได้พัฒนาดีแล้ว อนึ่ง ในจุดประเด็นดังกล่าวนี้ คือ อัตตสัมปทา (ข้อ ๔ ในบุพนิมิตแห่งมรรค ๗ หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า อริยมรรค มีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย) หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือ ผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] ถ้าไม่เกิดคุณธรรมในข้อนี้ [อัตตสัมปทา] แล้ว การ้าวเดินที่ก้าวหน้าไปสู่การเจริญสมถภาวนาย่อมเกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะไม่มีความพร้อมในการพัฒนาตนเองให้ดีเสียก่อน เพราะฉะนั้น การพัฒนาตนเองให้เกิดความก้าวหน้าในฝ่ายกุศลนั้น เป็นเรื่องสำคัญต่อระดับคุณภาพจิตใจหรือชีวิต ที่หมายถึง เชาวน์ปัญญา หรือ ความฉลาดเป็นเลิศแห่งความแตกฉานทางปัญญา ดังหลักธรรมต่อไปนี้
โกศล ๓ หมายถึง ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ ได้แก่ (๑) อายโกศล คือ ความฉลาดในความเจริญ รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ (๒) อปายโกศล คือ ความฉลาดในความเสื่อม รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม (๓) อุปายโกศล คือ ความฉลาดในอุบาย รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
อนุตตริยะ ๓ หมายถึง ภาวะอันยอดเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ คือ การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ ปัญญาอันเห็นธรรม หรืออย่างสูงสุดคือเห็นนิพพาน (๒) ปฏิปทานุตตริยะ คือ การปฏิบัติอันเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้ว กล่าวให้ง่ายหมายเอามรรคมีองค์ ๘ (๓) วิมุตตานุตตริยะ คือ การพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง หรือนิพพาน
สัมมัตตะ ๑๐ หมายถึง ภาวะที่ถูก ความเป็นสิ่งที่ถูก ธรรมหมวดนี้ เรียกชื่ออีกอย่างว่า อเสขธรรม คือ ธรรมของพระอเสขะได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท (๒) สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ (๓) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ (๔) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ (๕) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ (๖) สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ (๗) สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ (๘) สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ (๙) สัมมาญาณ คือ รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณทั้ง 19 ประเภท (๑๐) สัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ
ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ได้แก่ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ปรีชาแจ้งในภาษา รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติและภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์
ข้อที่พึงพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ในการเจริญภาวนาที่ประกอบด้วยความบริบูรณ์ดีพร้อม คือ (๑) สมถะสมถภาวนา [ฌาน] = จตุตถฌาน ที่มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา กับ (๒) วิปัสสนาวิปัสสนาภาวนา [ญาณ] = มรรค ๔ ผล ๔นิพพาน ๑ ผู้ปฏิบัติบรรลุถึงอริมรรค [โลกุตตรธรรม ๙] และอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกว่า มัคคสมังคี หรือ ภาวิตัตต์ นั้น นั่นคือ ความสมบูรณ์แห่งความหมดจดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวงใน ไตรสิกขา นั่นคือ ศีลสมาธิปัญญา ผู้ปฏิบัติธรรมจึงกลายเป็นบุคคลที่ไม่ติดอยู่กับความถือมั่นติดมั่นในธรรมทั้งหลาย เพราะเข้าใจถูกต้องด้วยเหตุผลและปัญญา จึงมีจิตที่สหรคตด้วย อุเบกขา [ตัตรมัชฌัตตตา = ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ] และ เอกัคคตา [สมาธิ = ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว] และ สติสัมปชัญญะ [อัปปมาทะ = ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ] พร้อมด้วย วิริยะ [สัมมัปปธาน ๔ = ความเพียรใหญ่] ถ้าพิจารณาธรรมดังกล่าวนี้อย่างลึกซึ้งดีแล้ว ย่อมหมายถึง ตัวปัญญาที่เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ อันทำให้เกิด ญาณทัสสนะ คือ การหยั่งรู้ด้วยญาณในภูมิแห่งวิปัสสนา [ภาวนามยปัญญา คือ โสฬสญาณญาณ ๑๖] หรือในภูมิแห่งโลกียะ [จินตามยปัญญาโยนิโสมนสิการ กับ สุตมยปัญญาปรโตโฆสะ คือ ปัญญาสามัญ] ประกอบด้วยองค์ธรรม ๗ ประการ ได้แก่ (๑) สติ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง (๒) ธัมมวิจยะ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม (๓) วิริยะ คือ ความเพียร (๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจ (๕) ปัสสัทธิ คือ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (๖) สมาธิ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ (๗) อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง
เพราะฉะนั้น บุคคลที่หมั่นเพียรบำเพ็ญภาวนาใน สมถะ และ วิปัสสนา อย่างสืบเนื่องอยู่เป็นนิตย์ประจำ ย่อมมีจิตที่แก่กล้า เป็น จิตตสมาธิแห่งรูปาวจรกุศลฌานจิต [ปาทกฌาน] ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึง จตุตถฌาน นั่นคือ เกิดความชำนาญคล่องแคล่วในการเข้าออกฌานได้เป็นอย่างดี [วสี] ย่อมเป็นบุคคลที่มีจิตทรงสมาธิได้ตลอดเวลา คือ เอกัคคตาแห่งจิตเอกัคคตาแห่งสมาธิ ทำให้สามารถหยั่งรู้ในการพิจารณาสภาวธรรม [โยนิโสมนสิการ] ได้ในทุกขณะที่ต้องการ คือ (๑) จิตตามสภาพสามัญที่เป็นวิถีจิต [กิริยาจิต] (๒) จิตที่เป็นองค์ธรรมแห่งสมาธิที่เป็นตัววิปัสสนา และ (๓) จิตที่วางเฉยเป็นกลางและเที่ยงตรงในอารมณ์แห่งกรรมฐานหรือสภาวธรรม เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า อุเบกขา จึงมีความหมายครอบคลุมสาระสำคัญทั้ง ๑๐ ประการ ดังนี้ (๑) ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ ๖อารมณ์ ๖ [อินทรีย์ ๖] (๒) พรหมวิหารรุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร ๔ (๓) โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์ ๗ (๔) วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะสัมมัปปธาน ๔ (๕) สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร ๓ (๖) เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา ๓ (๗) วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนาวิปัสสนาญาณ ๙ (๘) ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความเป็นกลางในธรรมนั้นๆเจตสิก ๕๒ (๙) ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน ๔ (๑๐) ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์วิสุทธิ ๗
ฉะนั้น ตามนัยของ อุเบกขา นี้ จะสัมพันธ์กับ เอกัคคตาแห่งสมาธิ ใน ๒ ประการ นั่นคือ (๑) สมาธิ ๓ ซึ่งเป็นฝ่ายเจโตวิมุตติ และ (๒) วิโมกข์ ๓ ซึ่งเป็นฝ่ายปัญญาวิมุตติ ดังนี้
สมาธิ ๓ หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น ได้แก่ (๑) สุญญตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ = สุญญตวิโมกข์ (๒) อนิมิตตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ = อนิมิตตวิโมกข์ (๓) อัปปณิหิตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ = อัปปณิหิตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ความหลุดพ้น ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น ได้แก่ (๑) สุญญตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ = อาศัย อนัตตานุปัสสนา ถอน อัตตาภินิเวส [ความถือมั่นแห่งตัวตน] (๒) อนิมิตตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ = อาศัย อนิจจานุปัสสนา ถอน วิปัลลาสนิมิต [สภาวธรรมที่ผิดเพี้ยนจากความจริง] (๓) อัปปณิหิตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตา แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ = อาศัย ทุกขานุปัสสนา ถอน ตัณหาปณิธิ [ความตั้งมั่นในความอยาก]
ด้วยเหตุนี้ อุเบกขา จึงเป็นกระบวนการคิดที่วางตนเป็นกลางในอารมณ์แห่งธรรมทั้งหลาย เพราะเกิด ปัญญาเห็นธรรม คือ การเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ด้วย มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติ [อาตาปีสัมปชาโนสติมา = สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่สหรคตกับ อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้พิจารณาทบทวน อุเบกขา ๑๐ เปรียบเทียบกับ อนุปัสสนา ๓ [พิจารณาเนื่องๆ ด้วยความหมั่นเพียร เพื่อเป็นเครื่องระลึกของสติ และเครื่องเรียนรู้ของสัมปชัญญะ] ดังนี้ (๑) อนัตตานุปัสสนา ทำให้เกิดปัญญามาก ที่เรียกว่า มหาปัญญา (๒) อนิจจานุปัสสนา ทำให้เกิดปัญญาเร็ว ที่เรียกว่า ชวนปัญญา (๓) ทุกขานุปัสสนา ทำให้เกิดปัญญาดับกิเลส ที่เรียกว่า นิพเพธิกปัญญา
เพราะฉะนั้น ความหมายในคำว่า อุเบกขา จึงไม่ได้แปลว่า เฉยๆ คือ ไม่เกิดปัญญาแต่ประการใด เหมือนเข้าใจผิดใน อัปปนาสมาธิ เป็น สมาธิหัวตอ ไม่เกิด ปัญญาวิปัสสนา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ อุเบกขา กับ เอกัคคตา [จตุตถฌาน] เพราะไปเข้าใจว่า หมายถึง อทุกขมสุขเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา ซึ่งไม่ใช่ อุเบกขาแห่งจตุตถฌาน แต่ประการใด ดังครูบาอาจารย์วิปัสสนาหลายท่าน ชี้แนะว่า ปฏิภาคนิมิต เกิดขึ้นใน อุปจารสมาธิ ไม่ใช่เกิดขึ้นใน อัปปนาสมาธิ ในข้อนี้เป็นเรื่องการพัฒนาวิวัฒน์ ปัญญาวิปัสสนา ของผู้ที่มี ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา ที่แตกต่างกันในบุคคล ผู้ปฏิบัติจริงย่อมเห็นความจริงด้วยตนเอง ไม่ใช่ข้อถกเถียงชี้ขาดในการตรัสรู้ธรรมแต่ประการใด เพราะทั้ง อุปจารสมาธิ กับ อัปปนาสมาธิ ก็หมายถึง สมาธิในวิปัสสนา เพราะพัฒนาขึ้นมาจากการพิจารณาอารมณ์แห่งกรรมฐานทั้งนั้น อย่าไปคิดเล็กคิดน้อยจนเกิดความระแวงสงสัยโดยใช่เหตุเปล่าๆ ทำให้เสียการใหญ่ที่ต้องประพฤติปฏิบัติจริงๆ อีกมากมาย ไม่เกิด ธรรมสมาธิ ๕ นั่นเอง คือ ความมั่นใจในธรรมที่ตนเองปฏิบัติว่าเป็นสิ่งที่ถูกทางแห่งเส้นทางในอริยมรรค [อริยมรรคมีองค์ ๘มรรค ๔] ซึ่งทำให้ภาวะจิตที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ และเป็นเหตุให้เกิด จิตตสมาธิ ในการเจริญฌานทั้ง ๔ ขั้น ซึ่งมี เอกัคคตาแห่งสมาธิ เป็นองค์หลักในฌานแต่ละขั้น โดยมุ่งมั่นให้บรรลุถึง จตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตา ซึ่งทำให้การเจริญสมถภาวนามีความสมบูรณ์ครบตามหลักการเจริญภาวนา เพื่อเป็นบาทวิถีในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ โสฬสญาณญาณ ๑๖ ต่อไป การเกิดฌานจิตในขั้นนี้ เรียกว่า รูปาวจรกุศลจตุตถฌานจิต [รูปฌาน ๔] นั่นคือ อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ อันเป็นจิตตามสภาพดั้งเดิม ที่สะอาด ผุดผ่อง บริสุทธิ์ หรือ หมดจดสะอาดไม่มีมลทินปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว นั่นคือ เป็นภาวะจิตที่ปราศจาก นิวรณูปกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส ในทางปฏิบัตินั่น ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาสามารถน้อมนำจิตเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ ได้แก่
(๑) โสฬสญาณญาณ ๑๖ คือ ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป (๒) ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป (๓) สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ (๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับไปแห่งขันธ์ ๕ (๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายไปหมดของสังขารทั้งหลาย (๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๗) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ (๘) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย (๑๐) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาทบทวนเพื่อหาทาง (๑๑) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๑๒) สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ญาณยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ (๑๓) โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร [จากปุถุชนเป็นอริยบุคคล] (๑๔) มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค [โลกุตตรธรรมโลกุตตรมรรค] (๑๕) ผลญาณ ญาณในอริยผล [โลกุตตรธรรมโลกุตตรผล] (๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน [ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ = นิพพาน]
(๒) วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ คือ ระลึกชาติได้ ซึ่งตรงกับ นามรูปปริจเฉทญาณ (๒) จุตูปปาตญาณ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย คือ ทิพพจักขุญาณ ซึ่งตรงกับ ปัจจยปริคคหญาณ และ (๓) อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ คือ ความตรัสรู้ ซึ่งตรงกับญาณในวิปัสสนาตั้งแต่ข้อ ๓วิปัสสนาญาณ ๙ [ข้อ ๔ ข้อ ๑๒] ข้อ ๑๓โลกุตตรธรรม [ข้อ ๑๔ข้อ ๑๕] ถึง ข้อ ๑๖ ตามลำดับ
ฉะนั้น ความถึงพร้อมที่สมบูรณ์แห่งการเจริญภาวนา ที่เรียกว่า ภาวิตัตต์ แห่งภาวนาทั้ง ๔ คือ มัคคสมังคี แห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ประกอบด้วย (๑) ฌานสมังคี [ฌายีบุคคล] แห่งสมถภาวนา [ฌาน ๔] กับ (๒) ญาณสมังคี แห่งวิปัสสนาภาวนา [โสฬสญาณญาณ ๑๖ รวมทั้ง วิชชา ๓] นั้น ย่อมทำให้เกิดความสมมาตรและเป็นเอกภาพระหว่าง ฌานุเปกขา กับ อัตตสัมปทา ที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพแห่งจิตใจที่ได้รับการพัฒนาดีแล้ว ซึ่งเป็นคุณบทแห่งบุคคลผู้เจริญอริมรรคอย่างแท้จริง.
|