๒๒. นามรูปโดยนัยแห่งวิชชาจรณะ Mind and Matter Depended on Knowledge and Conduct
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
ในหลักธรรมอันเกี่ยวข้องกับ นามรูปแห่งขันธ์ ๕ ตามพระธรรมวินัยนี้ เป็นเรื่อง สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่เป็นอันซึ่งสรณะที่พึ่งได้แห่งชีวิต และยังประกอบด้วย ทุกขตา ๓ หมายถึง ความเป็นทุกข์ ภาวะแห่งทุกข์ สภาพทุกข์ ความเป็นสภาพที่ทนได้ยากหรือคงอยู่ในภาวะเดิมไม่ได้ ได้แก่ (๑) ทุกขทุกขตา สภาพทุกข์คือทุกข์ หรือความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ ได้แก่ ทุกขเวทนาทางกายก็ตาม ใจก็ตาม ซึ่งเป็นทุกข์อย่างที่เข้าใจสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ (๒) วิปริณามทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงแปรไปเป็นอย่างอื่น หรือ กิเลสมาร มารคือกิเลส กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต (๓) สังขารทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร ได้แก่ ตัวสภาวะของสังขาร คือ (๑) สิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง รูปธรรม ก็ตาม นามธรรม ก็ตาม [ได้ในคำว่า สังขาร ตามนัยของ อนิจฺจา วต สงฺขารา] ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ และให้เกิดทุกข์แก่ผู้ยึดถือด้วยอุปาทาน ที่เรียกว่า สังขตธรรมสังขตสังขาร หรือ ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะ ชราพยาธิ เป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนาอย่างแรง อาจถึงกับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง (๒) สังขารคือสิ่งที่กรรมแต่งขึ้น ได้แก่ รูปธรรม ก็ตาม นามธรรม ก็ตาม ในภูมิสามที่เกิดแต่ กรรม [กรรมภพ] ที่เรียกว่า อภิสังขตสังขาร หรือ และ (๓) สังขารคือกรรมที่เป็นตัวการปรุงแต่ง ได้แก่ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนา ทั้งปวงในภูมิสาม ได้ในคำว่า สังขาร ตามหลักปฏิจจสมุปบาท คือ สังขาร ๓อภิสังขาร ๓ ที่เรียกว่า อภิสังขรณกสังขาร หรือ อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจาก สังสารทุกข์ เพราะฉะนั้น การทำลายระงับ นามรูปโดยไตรลักษณ์ จึงเป็นปัญญาวิปัสสนาโดย โสฬสญาณญาณ ๑๖ ซึ่งจัดอยู่ใน วิชชา [วิปัสสนาญาณ ๙ = ปัญญา] ที่ประกอบด้วย รูปาวจรกุศลจตุตถฌานจิต ที่ทำหน้าที่เป็น สมาธิในวิปัสสนาจิตตัววิปัสสนา ซึ่งจัดอยู่ใน จรณะ [รูปฌาน ๔= สมาธิ] ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด ย่อมถึงพร้อมด้วย วิชชา และ จรณะ ดังในคำว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (ข้อ ๓ ในพุทธคุณ ๙) เป็นความเห็นที่ไม่ผิด สัมมาทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยเหตุผลที่แสดงความจริงตามสภาพด้วยปัญญาโดย โยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลายแห่งสรรพสิ่งทั้งในทางโลกและทางธรรม.
บทความที่ ๒๒ ประจำปี ๒๕๕๘ นามรูปโดยนัยแห่งวิชชาจรณะ
พระพุทธเจ้าทรงประมวลองค์ความรู้แห่งพุทธะไว้อย่างแยกคาย ที่สามารถอธิบายธรรมได้ทุกระดับชั้นที่จะเข้าถึงได้นับตั้งแต่ อริยสาวกอริยสาวิกา ลงมาถึงเหล่าบรรดา อุบาสกอุบาสิกา รวมทั้งสามัญชนทั่วไปผู้รู้ครูอาจารย์นักวิชาการนักวิทยาศาสตร์นักธุรกิจ หรือ ผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ที่ต้องการขยายวงเขตพรหมแดนความรู้ให้ยิ่งใหญ่ที่เป็น สัจจธรรมตามหลักธรรมชาติ [กฎธรรมชาติ] อันเรียกว่า ปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ ที่เป็นความหมายจริงโดยปรมัตถ์ ความหมายสูงสุด ความหมายที่แท้จริง สภาวะตามความหมายสูงสุด สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง เป็นสภาวธรรมที่เหนืออรรถบัญญัติใน สมมตติสัจจะ ที่เป็นความหมายที่อิงกับกิเลสตัณหาของมนุษย์เป็นผู้กำหนด จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ โดยจำแนกประเด็นสำคัญออกเป็น ๒ ประการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
(๑) เพื่อให้เกิด วิชชา หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ โดยนัยแห่งอธิปัญญา ดังนี้ (๑) วิชชา ๓ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ หรือ ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (๓) อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือ ความตรัสรู้ (๒) วิชชา ๘ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน (๒) มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ (๓) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ (๓) อภิญญา ๖ ความรู้ยิ่งยวด ได้แก่ (๑) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป (๔) วิปัสสนาญาณ ๙ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน ได้แก่ (๑) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป (๒) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา (๓) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ (๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ ใคร่จะพ้นไปเสีย (๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง (๘) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๙) สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ (๕) มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ได้ เหมือนชักดาบออกจากฝัก หรืองูออกจากคราบ
(๒) เพื่อเป็น จรณะ [จรณะ ๑๕] หมายถึง หนทาง ความประพฤติ ปฏิปทา ข้อปฏิบัติโดยนัยแห่งอธิจิตต์ อันเป็นทางบรรลุถึง วิชชา หรือ นิพพาน ที่เรียกว่าอีกอย่างว่า เสขปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ ๑๕ ประการ ดังนี้ (๑) สีลสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล นั่นคือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ (๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ ด้วยการระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ [ตาหูจมูกลิ้นกายใจ] (๒) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค ด้วยการรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (๓) ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป (๓) สัทธรรม ๗ (ข้อ ๑ ในสัปปุริสธรรม ๘) หมายถึง ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ได้แก่ (๑) มีศรัทธา (๒) มีหิริ (๓) มีโอตตัปปะ (๔) เป็นพหูสูต (๕) มีความเพียรอันปรารภแล้ว (๖) มีสติมั่นคง (๗) มีปัญญา (๔) ฌาน ๔ หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ในรูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่ (๑) ปฐมฌาน คือ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ ได้แก่ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌาน คือ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ได้แก่ ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌาน คือ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ได้แก่ สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌาน คือ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตา
สำหรับ คำว่า นามรูป หมายถึง นามธรรม และ รูปธรรม ทั้งหลายตามกำหนดธรรมดาซึ่งเป็นความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยให้พิจารณาตาม ปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิตเจตสิกรูปนิพพาน ฉะนั้น ในส่วนประการแรกชื่อว่า นามธรรม [Mentality] หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ [อินทรีย์ ๕] ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นกาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ที่เรียกว่า นามขันธ์ ๔ ได้แก่ เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ หรือ อรูปธรรม [Incorporeality] ได้แก่ นามขันธ์ ๔ และ นิพพาน ดังนี้
(๑) เวทนาสัญญาสังขาร เรียกว่า เจตสิกกองเจตสิก หรือ นามกายกองแห่งนามธรรม หมายถึง เจตสิกทั้งหลาย นั่นคือ เจตสิก ๕๒ หมายถึง ธรรมที่ประกอบกับจิต สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น โดยจัดจำแนกออกเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕ แต่ถ้าจัดโดย ขันธ์ ๕ นั้น เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นั่นเอง
(๒) วิญญาณ [มโนวิญญาณ] เรียกว่า จิตจิตต์จิต ๘๙ หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์สภาพที่นึกคิดความคิดใจวิญญาณ จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโนมานัสหทัยบัณฑรมนายตนะมนินทรีย์และวิญญาณ เป็นต้น ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ [หรือพิสดารเป็น ๑๒๑] แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ [พิสดารเป็น ๓๗] วิปากจิต ๓๖ [๕๒] และ กิริยาจิต๒๐ แต่ถ้าแบ่งโดยภูมิเป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ [พิสดารเป็น ๔๐] นอกจากนี้ ยังมีคำว่า จิตตุปบาท [จิด-ตุบ-บาด เปรียบเทียบกับ อุปปนธรรม คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสาเหตนั้นๆ] หมายถึง ความเกิดขึ้นแห่งจิต นั่นคือ จิตพร้อมทั้งเจตสิกที่ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ การเกิดความคิดผุดขึ้น ความคิดที่ผุดขึ้น
ส่วนประการหลังตามนัยความจริงของ คำว่า รูปธรรม [Corporeality] หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป สภาวะที่เป็นรูป ได้แก่ รูปขันธ์ทั้งหมด [รูป ๒๘] หรือ รูปกาย คือ ประชุมแห่งรูปธรรม กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความ ได้แก่ รูปขันธ์ หรือ ร่างกาย หมายถึง (๑) กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย (๒) ส่วนประกอบฝ่าย รูปธรรม ทั้งหมด สิ่งที่เป็นร่างกายพร้อมทั้งคุณและอาการ [อุปาทายรูป] อนึ่ง ให้พิจารณาในรายละเอียดของคำว่า รูป [Material Qualities] หมายถึง (๑) สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน ในส่วน ร่างกาย นั้น จำแนกเป็น รูป ๒๘ ได้แก่ มหาภูต ๔ธาตุ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ [= รูปขันธ์ในขันธ์ ๕] (๒) อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาตามนัยสำคัญของ คำว่า รูป ๒๘ ดังนี้ รูป ๒๘ หมายถึง รูปธรรมทั้งหมดในรูปขันธ์ โดยจำแนกออกไปตามนัยแห่งอภิธรรมเป็น ๒๘ อย่าง จัดเป็นองค์ความรู้หลักๆ ๒ ประเภท คือ มหาภูตรูป กับ อุปาทายรูป ดังนี้
(๑) มหาภูต ๔ภูตรูป ๔ หมายถึง รูปใหญ่ รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวีอาโปเตโชและวาโย ที่เรียกสามัญว่า ดินน้ำไฟลม ซึ่งจะใช้ให้สำเร็จประโยชน์ ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในความหมายที่แท้จริง [ปรมัตถสัจจะ] ธาตุเหล่านี้เป็น สภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง เช่น ปฐวีธาตุ คือ ดิน นั้น มีอยู่ในรูปธรรมตามธรรมชาติ หรือแม้แต่ อาโปธาตุ คือ น้ำ ก็เป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ [เราไม่สามารถรับรู้อาโปธาตุด้วยประสาททั้ง ๕ แต่ธาตุทั้ง ๔ เป็น สุขุมรูป ที่รู้ด้วย มโน] และ อาโป นั้นก็มีอยู่ในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในก้อนหินแห้ง ในก้อนเหล็กร้อน และในแผ่นพลาสติก ดังนี้เป็นต้น ดังนั้น จึงนิยมจำแนก ธาตุ ๔ ตามความหมายที่ใช้ในระดับต่างๆ ดังนี้ (๑) เป็นธาตุในความหมายที่แท้โดยลักษณะ [ลักขณะ] (๒) ธาตุในสภาพมีสิ่งประกอบปรุงแต่งที่มนุษย์เข้าถึงเกี่ยวข้องตลอดจนใช้งานใช้การซึ่งถือเป็นธาตุอย่างนั้นๆ ตามลักษณะเด่นที่ปรากฏ [สสัมภาร] (๓) ธาตุในความหมายที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน [นิมิตอารมณ์] และ (๔) ธาตุในความหมายตามที่สมมติเรียกกัน [สมมติ] ดังต่อไปนี้
(๑) ปฐวีธาตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ลักขณปฐวี ปฐวีโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะแข้นแข็งแผ่ไป เป็นที่ตั้งอาศัยให้ปรากฏตัวของประดารูปที่เกิดร่วม หรือเรียกว่า ปรมัตถปฐวีกักขฬปฐวี (๒) สสัมภารปฐวี ปฐวีโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ผมขนเล็บฟันหนัง ภายนอกกาย เช่น ทองเงินเหล็กกรวดหินดินทรายศิลาภูเขา (๓) อารัมมณปฐวี ปฐวีโดยเป็นอารมณ์ คือ ดินเป็นอารมณ์ในกรรมฐาน โดยเฉพาะมุ่งเอา ปฐวีกสิณ ที่เป็น ปฏิภาคนิมิต หรือเรียกว่า นิมิตตปฐวีกสิณปฐวี (๔) สมมติปฐวี ปฐวีโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ [สมมตติสัจจะ] เช่น ที่นับถือแผ่นดินเป็นเทวดา เรียกว่า แม่พระธรณี หรือเรียกว่า บัญญัติปฐวี
(๒) อาโปธาตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ลักขณอาโป อาโปโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะไหลซ่าน เอิบอาบ ซาบซึม เกาะกุม หรือเรียกว่า ปรมัตถอาโป (๒) สสัมภารอาโป อาโปโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ดีเสมหะหนองเลือดเหงื่อ ภายนอกกาย เช่น น้ำดื่ม น้ำชาน้ำยาน้ำผลไม้น้ำ ฝนน้ำผึ้งน้ำตาลห้วยละหานแม่น้ำคลองบึง (๓) อารัมมณอาโป อาโปโดยเป็นอารมณ์ คือ น้ำที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน หรือเรียกว่า นิมิตตอาโปกสิณอาโป (๔) สมมติอาโป อาโปโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือน้ำเป็นเทวดา เรียกว่า แม่พระคงคาพระพิรุณ เป็นต้น หรือเรียกว่า บัญญัติอาโป
(๓) เตโชธาตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ลักขณเตโช เตโชโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่ร้อน ความร้อน ภาวะที่แผดเผา สภาวะที่ทำให้ย่อยสลาย หรือเรียกว่า ปรมัตถเตโช (๒) สสัมภารเตโช เตโชโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ไอร้อนของร่างกายไฟที่เผาผลาญย่อยอาหารไฟที่ทำกายให้ทรุดโทรม ภายนอกกาย เช่น ไฟถ่านไฟฟืนไฟน้ำมัน ไฟป่าไฟหญ้าไฟฟ้าไอแดด (๓) อารัมมณเตโช เตโชโดยเป็นอารมณ์ คือ ไฟที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน หรือเรียกว่า นิมิตตเตโชกสิณเตโช (๔) สมมติเตโช เตโชโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือไฟเป็นเทวดา เรียกว่า แม่พระเพลิงพระอัคนีเทพ เป็นต้น หรือเรียกว่า บัญญัติเตโช
(๔) วาโยธาตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ลักขณวาโย วาโยโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่สั่นไหว ค้ำจุน เคร่งตึง หรือเรียกวา ปรมัตถวาโย (๒) สสัมภารวาโย วาโยโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ลมหายใจลมในท้องลมในไส้ลมหาวลมเรอ ภายนอกกาย เช่น ลมพัดลมลมสูบยางรถลมเป่าไฟให้โชนลมร้อนลมหนาวลมพายุลมฝนลมเหนือลมใต้ (๓) อารัมมณวาโย วาโยโดยเป็นอารมณ์ คือ ลมที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน หรือเรียกว่า นิมิตตวาโยกสิณวาโย (๔) สมมติวาโย วาโยโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือลมเป็นเทวดา เรียกว่า พระมารุตพระพาย เป็นต้น หรือเรียกว่า บัญญัติวาโย
(๒) อุปาทายรูป ๒๔ [อุปาทารูป ๒๔] หมายถึง รูปอาศัย รูปที่เป็นไปโดยอาศัยมหาภูตทั้ง ๔ รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูต อาการของภูตรูป หรือ คุณและอาการแห่งมหาภูต ดังนี้ (๑) ประสาท ๕ปสาทรูป ๕ คือ รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ ได้แก่ จักขุตา โสตหู ฆานะจมูก ชิวหาลิ้น กายกายสัมผัส มโนใจ (๒) โคจรรูป ๕วิสัยรูป ๕ [รูปที่เป็นอารมณ์] คือ รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ [โผฏฐัพพะไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป] (๓) ภาวรูป ๒ คือ รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ ได้แก่ อิตถีภาวะความเป็นหญิง และ ปุริสภาวะความเป็นชาย (๔) หทัยรูป ๑ คือ รูปคือหทัย ได้แก่ หทัยวัตถุหัวใจ (๕) ชีวิตรูป ๑ คือ รูปที่เป็นชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ (๖) อาหารรูป ๑ คือ รูปคืออาหาร ได้แก่ กวฬิงการาหารอาหารที่กินเกิดเป็นโอชาหรือคำข้าว (๗) ปริจเฉทรูป ๑ คือ รูปที่กำหนดเทศะ ได้แก่ อากาศธาตุช่องว่าง (๘) วิญญัติรูป ๒ คือ รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย ได้แก่ กายวิญญัติเคลื่อนไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติเคลื่อนไหววาจาให้รู้ความ คือพูด (๙) วิการรูป ๕ คือ อาการดัดแปลงต่างๆ รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ ได้แก่ ลหุตาความเบา มุทุตาความอ่อน กัมมัญญตาความควรแก่งาน [อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก] (๑๐) ลักขณรูป ๔ คือ รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด ได้แก่ อุปจยะความเติบขึ้นได้ สันตติสืบต่อได้ ชรตาทรุดโทรมได้ อนิจจตาความสลายไม่ยั่งยืน [นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูปเพียง ๓ จึงได้ ๒๔]
นอกจากนี้ ยังต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบทางด้าน โครงสร้างของรูประดับอณูย่อย [Molecular Subatomic Structure or Nanotechnology] ที่เรียกว่า กลาป [กะ-หลาบ] หมายถึง หน่วยรวมเล็กที่สุด หน่วยรวมรูปธรรมที่เล็กที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบที่จำเพาะแน่นอนมารวมกันขึ้น อันเป็นส่วนย่อยของรูปธรรมประเภทนั้นๆ โดยที่องค์ประกอบทั้งหมดมี สหวุตติ คือ มีความเป็นไปร่วมกัน (๑) ทั้งเกิดขึ้นด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว [เอกุปปาทะ] (๒) ทั้งดับด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว [เอกนิโรธะ] และ (๓) มีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยร่วมกันเป็นอันเดียว [เอกนิสสยะ] ตามหลักทางอภิธรรมนั้น หน่วยรวมรูปธรรมเล็กที่สุด ที่เป็นหน่วยย่อยพื้นฐานของรูปธรรมทั้งปวง [Materialism] ได้แก่ สุทธัฏฐกกลาป [หน่วยรวมหมวด ๘ ล้วน] คือ กลาป ซึ่งประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ [รูปธรรมแปดอย่างที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป ไม่สามารถแยกพรากออกจากกันได้] นั้นเป็นแกนยืนพื้น อันได้แก่ ปฐวีอาโปเตโชวาโยวัณณะคันธะรสะโอชา
เพราะฉะนั้น ในทางธรรมนั้น เมื่อกล่าวถึง คำว่า นามรูป จึงแสดงนัยถึง เบญจขันธ์ขันธ์ ๕ หมายถึง (๑) กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมทั้ง ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม โดยบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เป็นต้น (๒) ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต [จิตวิญญาณ] ดังนี้ (๑) รูปขันธ์ กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ (๒) เวทนาขันธ์ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ (๓) สัญญาขันธ์ กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆ ได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง ดี ชั่ว สุข ทุกข์ เป็นต้น (๔) สังขารขันธ์ กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นธรรมใน ๓ อย่าง ได้แก่ กุศลอกุศลอัพยากฤต (๕) วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ [อินทรีย์ ๖] มีการเห็นรูปการได้ยินเสียงการได้กลิ่นการรับรสการสัมผัสด้วยกายในโผฏฐัพพะการรู้แจ้งในธรรมารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ ๖
ฉะนั้น ในการเกิดธรรมขึ้นด้วยเหตุปัจจัยจากอกุศลธรรม คือ อวิชชาสวะอวิชชานิวรณ์ อวิชชาสังโยชน์ [อวิชชาสัญโญชน์] อวิชชาโยคะอวิชโชฆะอวิชชานุสัยอวิชชาปริยุฏฐานอวิชชาลังคิ [ลิ่มคืออวิชชา] นั่นคือ อวิชชาเป็นสังขตะ หรือ อวิชชาเป็นสังสารนายิกา [ตัวนำสังสาระในหลักปฏิจจสมุปบาท] ซึ่งหมายถึง สังกิเลส หมายถึง ความเศร้าหมอง ความสกปรก สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง เป็นธรรมที่อยู่ใน หานภาค คือ ในฝ่ายข้างเสื่อม [อกุศลธรรม] ธรรมจำพวกที่ทำให้ตกต่ำ เสื่อมทราม เป็นทุกข์ เช่น อโยนิโสมนสิการอคติตัณหามานะทิฏฐิอวิชชา หรือ อกุศลผลวิบากที่เกิดขึ้นโดยมี อวิชชา อันเป็น รากเหง้าแห่งทุกข์ นั่นคือ ต้นเหตุของวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลสกรรมและวิบาก ซึ่งเรียกว่า วัฏฏะ ๓ ดังนี้ (๑) กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วย อวิชชาตัณหาอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขารภพ (๓) วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส
กล่าวโดยย่อ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับ วิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิด กิเลส แล้วทำ กรรม หมุนเวียนต่อไปอีกตาม กฎแห่งกรรม เพราะฉะนั้น นามรูป จึงเป็น ผลวิบากแห่งอกุศล ที่เกิดจาก อวิชชา ในขณะเดียวกัน การพิจารณาในทางธรรม คือ สภาวธรรมแห่งกรรมฐาน [อารมณ์ในกรรมฐาน] หมายถึง การวิเคราะห์พินิจพิจารณาความเป็นจริงตามสภาพโดย กฎธรรมชาติ [Natural Law] เพื่อลงความเห็นเป็นข้อสรุปทั่วไปที่เป็นสากล [Universality] คือ ความจริงที่เป็นไปตามสภาพไม่ได้มีเจตนาเข้าไปปรุงแต่ง โดย ปรมัตถ์ [ปรมัตถธรรมปรมัตถสัจจะ] แต่ในความหมายทางโลก เรียกว่า ทฤษฎี [Theory] หมายถึง ข้อสรุปที่ผ่านการพิสูจน์ด้วยหลักฐานว่าเป็น สัจจธรรม นั่นคือ ความจริงที่ผ่านขั้นตอนการพิสูจน์แล้วตาม ข้อสมมตติฐาน [Hypothesis] ที่ตั้งไว้ ฉะนั้น ทฤษฎี ดังกล่าวนั้น ยังไม่เป็น ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths ซึ่งในทางธรรมหมายถึง โลกุตตรปัญญา] เพียงแต่เป็นความจริงตามบัญญัติ [สมมตติสัจจะ โดยขั้นตอนการแสวงหาความรู้ด้วยระเบียบวิธีวิจัยในทางโลก นั่นคือ จินตามยปัญญาสุตมยปัญญา คือ สื่อเนื่องในตนด้วย โยนิโสมนสิการ กับ ปรโตโฆสะ] ด้วยเหตุนี้ จึงเป็น ความคิดเห็นหรือความเชื่อ ที่ง่อนแง่น ไม่มั่นคง ไม่เสถียร ไม่ใช่สรณะที่พึ่ง ไม่เป็น อริยสัจจธรรม [อริยสัจจ์ ๔] จึงมีการพิสูจน์ล้มล้าง ทฤษฎี ดังกล่าวนั้นได้ ในการเจริญวิปัสสนาก็เช่นเดียวกัน สภาวธรรมที่พิจารณาอยู่นั้น ถือเป็น สังขตะสังขตธรรม [นามรูปที่มีกิเลสตัณหาครอบงำ] จึงต้องเห็นความจริงใน นามรูปโดยไตรลักษณ์ เพื่อยกจิตให้แล่นไปถึง อสังขตะอสังขตธรรม [โลกุตตรธรรม ๙ = มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] ในทางธรรมนั้น คำว่า ทฤษฎี หมายถึง ปรมัตถสัจจะ ตามหลักการขององค์ความรู้ในพระอภิธรรม นั่นคือ สภาวะตามความหมายสูงสุด หรือ สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริงอย่างมั่นคงไม่แปรเปลี่ยนเป็นอื่น นั่นคือ สภาวธรรมปรมัตถธรรม [ปรมัตถธรรม ๔] ดังนี้
ปรมัตถธรรม ๔ หมายถึง สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด โดยนิยามตามหลักอภิธรรม ให้พิจารณาทบทวนตามนิยามของ นามรูป ดังที่บรรยายมาแล้วข้างต้น ที่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจักต้องจดจำให้ได้ทั้งหมด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเจริญภาวนาในส่วนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้แก่ (๑) จิต [จิต ๘๙] สภาพที่คิด ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ (๒) เจตสิก [เจตสิก ๕๒] สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต (๓) รูป [รูป ๒๘] สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ (๔) นิพพาน [นิพพาน ๒] สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหา สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ (๒) อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ
ฉะนั้น ธรรมสภาวธรรม ทั้งหลายที่พิจารณาในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น หมายถึง สังขตธรรม นั่นคือ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ ทั้งหมดที่ครอบงำด้วยเจตนาหรือกิเลสทั้งหลาย หรือ ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น [สังขตะ คือ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น] ที่เรียกว่า สังขตสังขาร หมายถึง สังขารคือสังขตธรรม ได้แก่ สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง รูปธรรมก็ตามนามธรรมก็ตาม ตรงกับ สังขาร ดังในคำว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา คือ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น กล่าวโดยย่อ ย่อมหมายถึง นามรูปขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วย ทุกข์ ที่บุคคลเข้าไปถือมั่นยึดมั่นเป็นสรณะ [โลกธรรม ๘] ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ หรือตามนัยแห่งคำว่า อุปาทิ หมายถึง (๑) สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น เรียกว่า เบญจขันธ์ขันธ์ ๕ (๒) กิเลสเป็นเหตุถือมั่น ความยึดติดถือมั่น เรียกว่า อุปาทาน ในขั้นสุดท้าย ที่เป็นภาระใหญ่หลวงของผู้ปฏิบัติธรรม คือ การทุบขันธ์ ๕การระเบิดขันธ์ ๕การเจริญวุฏฐานคามินีปฏิปทาการเจริญวิปัสสนาญาณ ๙ [วิปัสสนาญาณ ๙ หมายถึง ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา ได้แก่ (๑) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับไปแห่งขันธ์ ๕ (๒) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายไปหมดของสังขารทั้งหลาย (๓) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ (๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย (๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาทบทวนเพื่อหาทาง (๘) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๙) สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ญาณยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ ] ฉะนั้น ในบรรดาธรรมทั้งหมดข้างต้นนี้ หมายถึง ขั้นตอนในการทำลาย สังขารนิมิต ทั้งภายในและภายนอกของจิตแห่งตนที่มนสิการกรรมฐาน [ขันธวินิมุต = ภาวะที่ปราศจากขันธ์] เพื่อให้บรรลุล่วงถึง อริยมรรค ทั้ง (๑) มรรค ๔มัคคญาณ และ (๒) อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งจิตต้องสัมปยุตต์ด้วยองค์มรรค [มัคคังคะ] ทั้ง ๘ ประการ อันประเสริฐ กับ มรรค ๔ แห่งโลกุตตรมรรค ได้แก่ โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือคู่มือปฏิบัติธรรมฉบับย่อ มัชฌิมาปฏิปทา: วิถีแห่งอัจฉริยะและความหลุดพ้น สามารถดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ Siripat.Com]
เพราะฉะนั้น คำว่า นามรูป จึงหมายถึง ขันธ์ ๕ ที่มีเจตนาของบุคคลครอบงำด้วยกิเลสตัณหา จึงทำให้บุคคลนั้น เกิดความยึดมั่นถือมั่นใน ขันธ์ ๕ ดังกล่าวนั้น ส่วนคำว่า วิชชา [ปัญญารู้แจ้ง = วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖วิปัสสนาญาณ ๙และมโนมยิทธิ ซึ่งหมายถึง ฤทธิ์เดชฤทธิ์เดชอิทธิอิทธิฤทธิ์ หรืออีกนัยหนึ่ง จักขุญาณปัญญาวิชชาอาโลโก อันเป็น ยถาภูตญาณทัสสนะ] กับ จรณะ [ปฏิปทาอันยิ่ง = สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗และฌาน ๔] นั้น เป็นข้อสรุปแนวทางหนึ่งในการปฏิบัติธรรมเพื่อทำให้จิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นใน นามรูปขันธ์ ๕ [อุปทานขันธ์] อันมีต้นเหตุมาจาก อวิชชาโมหะ คือ ความไม่รู้จริง ความหลงขาดสติ ด้วยเหตุนี้ แนวทางประพฤติปฏิบัติอันยิ่งโดย มัชฌิมาปฏิทา นั่นคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ จำแนกออกเป็น ภาวนา ๒ หมายถึง การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น การทำให้เกิดขึ้น การเจริญ การบำเพ็ญ การฝึกอบรม หรือ การเจริญพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดวิชชา ได้แก่ (๑) สมถภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ ซึ่งหมายถึง การเจริญฌานสมาบัติ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ จิตตสมาธิรูปาวจรกุศลฌานจิต ซึ่งประกอบด้วย ธรรมสมาธิ ๕ ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ และเป็นระดับคุณภาพจิตที่เข้าถึง จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา] ที่เรียกว่า จิตประภัสสร [ภวังคจิต] คือ ภาวะจิตที่ หมดจดสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบานไม่มีมลทินปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว นั่นคือ จิตที่ปราศจากนิวรณ์ [นิวรณ์ ๕อวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง] ที่สามารถนำไปใช้งานเป็น สมาธิในวิปัสสนาจิตตัววิปัสสนา ที่เรียกว่า อธิจิตต์ ซึ่งประกอบด้วยองค์มรรค ๓ คือ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ (๒) วิปัสสนาภาวนา คือ ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง ที่เรียกว่า อธิปัญญา ที่ประกอบด้วยองค์มรรค ๒ คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ที่ทำให้เกิด ญาณทัสสนะ การหยั่งรู้ด้วยญาณในวิปัสสนา หรือ ยถาภูตญาณทัสสนะ การหยั่งรู้ด้วยญาณในวิปัสสนาตามที่เป็นจริง ซึ่งหมายถึง อธิปัญญาในวิปัสสนากัมมัฏฐาน นั่นคือ โสฬสญาณญาณ ๑๖ รวมทั้งบรรดา อธิคมธรรม ทั้งหลายที่เกิดขึ้น เช่น วิชชา ๓อภิญญา ๖วิชชา ๘ เป็นต้น โดยมีหลักธรรมสำคัญที่เป็นแกนนำในการทำลายกิเลสตัณหาที่สหรคตอยู่กับ นามรูปขันธ์ ๕ [อุปาทานขันธ์ ๕อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] นั่นคือ วิปัสสนาญาณ ๙ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุปฏิเวธเข้าถึง ภูมิแห่งอริยบุคคล [มรรค ๔มัคคญาณ] โดยอาศัยปัญญาข้ามโคตรด้วย โคตรภูญาณ หลังจากนั้น ก็เป็นการเจริญโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ ได้แก่ มัคคญาณ ๔ผลญาณ ๔นิพพาน ๑ และ ปัจจเวกขณญาณ ที่ประกอบด้วย ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ ดังที่พระพุทธองค์ได้ปฏิญาณตนว่า ได้บรรลุถึงความตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยประการฉะนี้.
|