๔๕. ความสะอาดแห่งความเป็นปราชญ์ Cleansing of Being Sage
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
ในคำกล่าวว่า ผู้ที่จะปรินิพพานในปัจจุบัน ได้นั้น ต้องประกอบด้วย สัญญา ๔ ได้แก่ (๑) หานภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายเสื่อม ความรอบรู้ในทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม [อปายโกศล] (๒) ฐิติภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายดำรงอยู่ คือ ความรอบรู้ในทางเจริญและเหตุของความเจริญ [อายโกศล] (๓) วิเสสภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายวิเศษที่ปฏิเวธในอธิคมธรรม คือ การเกิดปัญญาวิปัสสนา และ (๔) นิพเพธภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายชำแรกกิเลสด้วย วิสุทธิ ๗ หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีลสมาธิปัญญา [อริยมรรคมีองค์ ๘มัคคญาณ ๔] คือ รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ [อุปายโกศล] นอกจากนี้ ยังรวมทั้งความรู้แจ้งในธรรมทั้งหลายที่เกื้อกูลความตรัสรู้และอริยมรรค องค์ประกอบด้วยธรรมทั้งหลายดังกล่าวนี้ ย่อมแสดงนัยสำคัญถึง ความเป็นปราชญ์แห่งมุนีในพระพุทธศาสนา [โมเนยยะ] มีแนวโน้มฐานะด้วยปรีชาสามารถที่จะบรรลุหรือบรรลุแล้วซึ่ง ความตรัสรู้บรมสัมโพธิญาณ ได้ในกาลปัจจุบันนี้ได้ ฉะนั้น ความเป็นมุนีความเป็นปราชญ์ ในพระพุทธศาสนานั้น คือ ผู้ถึงพร้อมด้วย สุจริต ๔ ได้แก่ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ อันเป็นการแสดงกรรมทั้งหลายในปัจจุบันกาล ที่เห็นแจ้งในขณะทั้ง ๓ [เกิดตั้งอยู่ดับไป] ได้แก่ อุปปาทักขณะช่วงเวลาการเกิดขึ้นแห่งสังขารนิมิต ๑ ฐิติขณะช่วงเวลาการตั้งอยู่ของสังขารนิมิต ๑ ภังคขณะช่วงเวลาการเสื่อมไปของสังขารนิมิต ๑ ผู้เป็นปราชญ์แห่งมุนีนั้น ย่อมทำให้เป็นผู้พิจารณาด้วย โยนิโสมนสิการการคิดถูกวิธีด้วยอุบายแยบคายเห็นนามรูปด้วยปฏิจจสมุปบาทและไตรลักษณ์ และเห็นแจ้งใน ความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ความไม่มีตัวตน แห่งปัจจัยธรรมทั้งหลาย นั่นคือ มี ดวงตาเห็นธรรม ในเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติธรรม นั่นคือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา กระบวนการคิดด้วยเหตุผลที่สัมพันธ์กับเวลาในกาลทั้ง ๓ เป็นขั้นตอนการดำรงตนโดยชอบอยู่ในอริยธรรมของคนดีแห่งสัตบุรุษผู้เป็นมุนีโดยความเป็นปราชญ์ คือ สะอาดในกายวาจาใจ ด้วยความสามารถบรรลุเข้าถึง บรมธรรมนิพพาน ได้ ไม่ว่าจะเป็น ปรินิพพานในปัจจุบัน หรือจะเข้าถึง ปรินิพพานในอนาคต ซึ่งบุคคลนั้น จะต้องมองเห็นอันเยี่ยมใน พระนิพพานอมตธรรมบรมสัมโพธิญาณ นั้นๆ คือ สภาวะที่ปราศจากกิเลสทั้งหลายและปวงทุกข์ และเข้าถึงข้อปฏิบัติอันเยี่ยมใน อริยมรรคมีองค์ ๘มรรค ๔ อันเป็นแนวคิดสายกลางแห่งปัญญาโดย มัชฌิมาปฏิปทา เพราะฉะนั้น กระบวนการปฏิบัติธรรมหรือภาวนากรรมฐานนั้น จึงเป็นการเน้นมุ่งมั่นใน ความสะอาดความหมดจดความบริสุทธิ์ ในข้อปฏิบัติแห่งไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา อันเป็นธรรมปฏิบัติที่อยู่ในกระแสแห่งอริยมรรคและพระนิพพานโดยปรมัตถปฏิปทา.
บทความที่ ๔๕ ประจำปี ๒๕๕๘ ความสะอาดแห่งความเป็นปราชญ์
ตามนัยแห่งความเป็นปราชญ์นั้น คือ ผู้รู้ผู้สูงสุด ที่เรียกว่า ความเป็นมุนี ชื่อว่า โมเนยยะ เป็นคำบัญญัติถึง ความเป็นสาธุชน ได้แก่ ความเป็นบัณฑิตความเป็นสัตบุรุษ ไม่ใช่นรชนผู้เป็น นักวิชาการขี้กากรู้ไม่จริงชนผู้หลงทิศ ๑ นักวิชาการขี้เรื้อนประกอบติรัจฉานวิชาอัญญเดียรถีย์ ๑ นักวิชาการขี้หิดเปรตที่อาวาหะและวิวาหะด้วยอุสรกายทรชน [โจรไม่มีอาวุธ มีทุจริตทั้ง ๓ เป็นอาวุธพยาบาทและเบียดเบียนคนอื่น] ๑ ฉะนั้น คำว่า ผู้รู้ผู้สูงสุด หมายถึง (๑) นรชนผู้บริสุทธิ์ในกายทวารหรือผู้รู้ทางกาย = กายมุนี (๒) นรชนผู้บริสุทธิ์ในวจีทวารหรือผู้รู้ทางวาจา = วจีมุนี และ (๓) นรชนผู้บริสุทธิ์ในมโนทวารหรือผู้รู้ทางใจ = มโนมุนี ซึ่งเรียกอีกอย่าง ว่า พระขีณาสพสัพพปหายี หมายถึง ผู้ละได้ทั้งหมด [สพฺพปฺปหายินํ] ได้แก่ (๑) ผู้บริสุทธิ์ในกายทวารหรือผู้รู้ทางกาย (๒) ผู้บริสุทธิ์ในวจีทวารหรือผู้รู้ทางวาจา และ (๓) ผู้บริสุทธิ์ในมโนทวารหรือผู้รู้ทางใจ เพราะฉะนั้น ความเป็นมุนีโมไนยะ ได้แก่ (๑) กายโมไนยะ คือ ความเป็นปราชญ์ทางกาย นั่นคือ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากอพรหมจรรย์ [เมถุน] หรือ ความสะอาดทางกาย กายโสไจยะ นั่นคือ ผู้เว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร (๒) วจีโมไนยะ คือ ความเป็นปราชญ์ทางวาจา นั่นคือ เป็นผู้เว้นจากมุสาวาท เว้นจากปิสุณาวาจา เว้นจากผรุสวาจา เว้นจากสัมผัปปลาป หรือ ความสะอาดทางวาจา วจีโสไจยะ นั่น ผู้เว้นจากมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาป และ (๓) มโนโมไนยะ คือ ความเป็นปราชญ์ทางใจ นั่นคือ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือ ความสะอาดทางใจ มโนโสไจยะ นั่นคือ ผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีใจพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 542544 FILE 34) ดังนี้
มโนโสไจยะ เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ [ด้วยเจริญโยนิโสมนสิการ] (๑) กำหนดรู้ นิวรณ์ ๕ ได้แก่ (๑) กามฉันทะความพอใจในกาม (๒) พยาบาทความปองร้าย (๓) ถีนมิทธะความท้อแท้และความง่วง (๔) อุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ (๕) วิจิกิจฉาความเคลือบแคลงลังเล = ปริญญา การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ (๒) กามฉันทะความพอใจในกาม ก็ดี พยาบาทความปองร้าย ก็ดี ถีนมิทธะความท้อแท้และความง่วง ก็ดี อุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ ก็ดี วิจิกิจฉาความเคลือบแคลง ลังเล ก็ดี มีอยู่ในใจ ก็รู้ว่า กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา มีอยู่ในใจของตน = ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย (๓) กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ในใจ ก็รู้ว่า กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ในใจของตน = สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ (๔) ย่อมรู้ทางเกิดแห่ง กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด = สังวรปธาน เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น หรือ = ภาวนา การเจริญ เป็นกิจในมรรค หรือ อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม (๕) รู้วิธีละ กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา ที่เกิดแล้ว = ปหานปธาน เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว หรือ = ภาวนา การเจริญ เป็นกิจในมรรค หรือ อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ (๖) รู้อุบายทำ กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา ที่ละได้แล้วมิให้เกิดต่อไป = ปหานปธาน เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว และพร้อมด้วย ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น กับ อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ หรือ = ภาวนา การเจริญ เป็นกิจในมรรค หรือ อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
ด้วยเหตุนี้(๑) บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางกาย (๒) บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางวาจา (๓) บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางใจ ซึ่งหาอาสวะมิได้ และ (๔) บุคคลผู้เป็นปราชญ์พร้อมด้วยคุณธรรมของปราชญ์ บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ละบาปหมด หรือคำกล่าวว่า
บุคคลผู้สะอาดทางกาย สะอาดทางวาจา สะอาดทางใจ ไม่มีอาสวะ เป็นคนสะอาดพร้อมด้วยคุณธรรมของคนสะอาด ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ล้างบาปแล้ว
คำว่า ผู้ล้างบาปแล้ว หมายถึง บุคคลที่เข้าถึงพร้อมด้วย พุทธะ คือ (๑) ผู้รู้ (๒) ผู้ตื่น (๓) ผู้เบิกบาน นั่นคือ การปฏิบัติตาม พุทธโอวาท ๓ ได้แก่ ความเป็นผู้เว้นจากการทำชั่วทั้งหลาย ๑ หมั่นเพียรในการทำความดี ๑ ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ๑ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นปราชญ์แห่งมุนีนั้น คือ ความสะอาดความบริสุทธิ์จากอกุศลธรรมทั้งหลายนั้น ย่อมหมายถึง ความเจริญในธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออกุศลธรรมหรือนิวรณ์ทั้งหลาย [นิวรณ์ ๕ อวิชชา อรติ อกุศลธรรมทั้งหลาย] อันเป็นคุณบทของบุคคลแห่งอริยะ ดังนี้
กุศลกรรมบถ ๑๐ หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม ทางทำความดี กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ ซึ่งยังหมายถึงธรรมอื่นๆ ได้แก่ (๑) ธรรมจริยาความประพฤติธรรม (๒) โสไจยความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว (๓) อริยธรรมอารยธรรมธรรมของผู้เจริญ (๔) อริยมรรคมรรคาอันประเสริฐ (๕) สัทธรรมธรรมดีธรรมแท้ (๖) สัปปุริสธรรมธรรมของสัตบุรุษ ดังนี้ ก. กายกรรม ๓ การกระทำทางกาย (๑) ปาณาติปาตา เวรมณี คือ เว้นจากปลงชีวิต ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (๒) อทินฺนาทานา เวรมณี คือ เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย ละอทินนาทานเคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น (๓) กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี คือ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ละการประพฤติผิดในกามไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ ข. วจีกรรม ๔ การกระทำทางวาจา (๔) มุสาวาทา เวรมณี คือ เว้นจากพูดเท็จ ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จเพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ (๕) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี คือ เว้นจากพูดส่อเสียด ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี (๖) ผรุสาย วาจาย เวรมณี คือ เว้นจากพูดคำหยาบ ละคำหยาบ พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน (๗) สมฺผปฺปลาปา เวรมณี คือ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง มีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ ค. มโนกรรม ๓ การกระทำทางใจ (๘) อนภิชฺฌา คือ ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น (๙) อพฺยาปาท คือ ความไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น ไม่มีจิตคิดร้าย คิดปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด (๑๐) สมฺมาทิฏฺฐิ คือ ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น
หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง ข้อประพฤติปฏิบัติตามขั้นตอนการขัดเกลากิเลสทั้งหลาย ดังนี้
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ [อาเสวติย่อมเสพ ภาเวติย่อมเจริญ พหุลีกโรติย่อมทำให้มาก] ซึ่ง สัลเลขธรรมสัลเลขัฏฐญาณ ธรรมเครื่องขัดเกลา ที่ถึงพร้อมด้วยอาการที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน [เอกัคคตาแห่งสมาธิ] ต่อไปนี้ (๑) บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ อธิคมนฏฺเฐน (๒) ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือจักถึง ความได้ด้วยการถึงปฏิลาภฏฺเฐน (๓) ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ เข้าถึงให้สำเร็จแล้วอุปสมฺปชฺช (๔) แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทงตลอด ปฏิเวธฏฺเฐน (๕) ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง สจฺฉิกรณฏฺเฐน (๖) ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ผสฺสนฏฺเฐน (๗) ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ วสิปฺปตฺตา (๘) ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ปารมิปฺปตฺตา (๙) ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า เวสารชฺชปฺปตฺตา บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น สัทธาธิมุต ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็น กายสักขี ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็น ทิฏฐิปัตตะ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ [บุคคล ๓ = สัทธาธิมุตบุคคล ๑กายสักขีบุคคล ๑ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑]
ในคำว่า สัลเลขธรรม นั้น ประกอบด้วย พละ ๒ คือ (๑) สมถพละ ๑๕ กับ (๒) วิปัสสนาพละ ๒๒ ที่ต้อง เจริญแล้ว ย่อมเจริญ และ จักเจริญ มีอาการ ๙ ข้างต้น ในข้อธรรมย่อยแต่ละข้อ เช่น เนกขัมมะอัพยาบาทอาโลกสัญญาอวิกเขปะ เป็นต้น จนถึงข้อธรรมย่อย ชรามรณะ ในปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ดังนี้
(๑) สมถพละ ๑๕ เนกขัมมะ [ปฐมฌานสมาธิกุศลธรรมทั้งหมด] อัพยาบาท [ความไม่พยาบาท] อาโลกสัญญา อวิกเขปะ [ความไม่ฟุ้งซ่าน] ธรรมววัตถาน [การกำหนดธรรมวัตถุนานัตตญาณ] ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
กระบวนการคิดในการพิจารณาธรรม (๑) เมื่อได้ เนกขัมมะ ย่อมดับ กามฉันทะ (๒) เมื่อได้ อัพยาบาท ย่อมดับ พยาบาท (๓) เมื่อได้ อาโลกสัญญา ย่อมดับ ถีนมิทธะ (๔) เมื่อได้ อวิกเขปะ ย่อมดับ อุทธัจจะ (๕) เมื่อได้ ธรรมววัตถาน ย่อมดับ วิจิกิจฉา (๖) เมื่อได้ ญาณ ย่อมดับ อวิชชา (๗) เมื่อได้ ความปราโมทย์ ย่อมดับ อรติ (๘) เมื่อได้ ปฐมฌาน ย่อมดับ นิวรณ์ (๙) เมื่อได้ ทุติยฌาน ย่อมดับ วิตกและวิจาร (๑๐) เมื่อได้ ตติยฌาน ย่อมดับ ปีติ (๑๑) เมื่อได้ จตุตถฌาน ย่อมดับ สุขและทุกข์ [การละฉันทราคะ คือ การดับกายสังขาร [อัสสาสะปัสสาสะ] กายโมเนยยะ และ วจีสังขาร [วิตกวิจาร] วจีโมเนยยะ] (๑๒) เมื่อได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมดับ รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา (๑๓) เมื่อได้ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมดับ อากาสานัญจายตนสัญญา (๑๔) เมื่อได้ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมดับ วิญญาณัญจายตนสัญญา (๑๕) เมื่อได้ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมดับ อากิญจัญญายตนสมาบัติ (๑๖) เมื่อได้ สัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมดับ จิตสังขาร [สัญญาเวทนา] มโนโมเนยยะ
ยกตัวอย่าง เนกขัมมะ กับ อัพยาบาท
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่ง เนกขัมมะ ที่ถึงพร้อมด้วยอาการที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน [เอกัคคตาแห่งสมาธิ] (๑) บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ (๒) ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือจักถึง (๓) ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ (๔) แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทงตลอด (๕) ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง (๖) ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง (๗) ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ (๘) ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ (๙) ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น สัทธาธิมุต ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็น กายสักขี ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็น ทิฏฐิปัตตะ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่ง อัพยาบาท ที่ถึงพร้อมด้วยอาการที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน [เอกัคคตาแห่งสมาธิ] (๑) บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ (๒) ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือจักถึง (๓) ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ (๔) แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทงตลอด (๕) ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง (๖) ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง (๗) ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ (๘) ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ (๙) ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น สัทธาธิมุต ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็น กายสักขี ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็น ทิฏฐิปัตตะ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
(๒) วิปัสสนาพละ ๒๒ มหาวิปัสสนา ๑๘ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ขยานุปัสสนา วยานุปัสสนา วิปริณามานุปัสสนา อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา สุญญตานุปัสสนา อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสนะ อาทีนวานุปัสสนา ปฏิสังขานุปัสสนา วิวัฏฏนานุปัสสนา มรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค
รวมทั้งการพิจารณาโดย มหาวิปัสสนา ๑๘ ใน (๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะภายใน ๖อินทรีย์ ๖สฬายตนะ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ (๔) วิญญาณ ๖ (๕) ผัสสะ ๖ (๖) เวทนา ๖ (๘) เจตนา ๖ (๙) ตัณหา ๖ (๑๐) วิตก ๖ (๑๑) วิจาร ๖ (๑๒) ธาตุกัมมัฏฐาน ๑๖ (๑๓) อาการ ๓๒ทวัตติงสาการ (๑๔) อายตนะ ๑๒ (๑๕) ธาตุ ๑๘ (๑๖) อินทรีย์ ๒๒ (๑๗) ธาตุ ๓ (๑๘) ภพ ๙ (๑๙) ฌาน ๔ (๒๐) อัปปมัญญา ๔ (๒๑) อรูปสมาบัติ ๔ (๒๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
กระบวนการคิดในการพิจารณาธรรม (๑) เมื่อได้ อนิจจานุปัสนา ย่อมดับ นิจจสัญญา (๒) เมื่อได้ ทุกขานุปัสนา ย่อมดับ สุขสัญญา (๓) เมื่อได้ อนัตตานุปัสนา ย่อมดับ อัตตสัญญา (๔) เมื่อได้ นิพพิทานุปัสนา ย่อมดับ ความเพลิดเพลิน (๕) เมื่อได้ วิราคานุปัสนา ย่อมดับ ราคะ (๖) เมื่อได้ ขยานุปัสนา ย่อมดับ มนสัญญา (๗) เมื่อได้ นิโรธานุปัสนา ย่อมดับ สมุทัย (๘) เมื่อได้ ปฏินิสสัคคานุปัสนา ย่อมดับ ความถือมั่น (๙) เมื่อได้ วยานุปัสนา ย่อมดับ อายูหนะการประมวล [ภพ] หรือการทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่สังขาร (๑๐) เมื่อได้ วิปริณามานุปัสนา ย่อมดับ ธุวสัญญาความสำคัญว่ายั่งยืน (๑๑) เมื่อได้ อนิมิตตานุปัสนา ย่อมดับ นิมิตวิปลาสนิมิต (๑๒) เมื่อได้ อัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมดับ ปณิธิตัณหาปณิธิ (๑๓) เมื่อได้ สุญญตานุปัสนา ย่อมดับ อภินิเวสอัตตาภินิเวสความยึดมั่นว่ามีตัวตน (๑๔) เมื่อได้ อธิปัญญาธรรมวิปัสสนาความเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมดับ สาราทานาภินิเวสความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็นแก่นสาร (๑๕) เมื่อได้ ยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมดับ สัมโมหาภินิเวสความยึดมั่นด้วยความหลงใหล (๑๖) เมื่อได้ อาทีนวานุปัสนา ย่อมดับ อาลยาภินิเวสความยึดมั่นด้วยความอาลัย (๑๗) เมื่อได้ ปฏิสังขานุปัสนา ย่อมดับ อัปปฏิสังขาความไม่พิจารณา (๑๘) เมื่อได้ วิวัฏฏนานุปัสนา ความตามเห็นกามเป็นเครื่องควรหลีกไป ย่อมดับ สัญโญคาภินิเวส ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ (๑๙) เมื่อได้ โสดาปัตติมรรค ย่อมดับ กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ (๒๐) เมื่อได้ สกทาคามิมรรค ย่อมดับ กิเลสอย่างหยาบ (๒๑) เมื่อได้ อนาคามิมรรค ย่อมดับ กิเลสอย่างละเอียด (๒๒) เมื่อได้ อรหัตมรรค ย่อมดับ กิเลสทั้งปวง
ยกตัวอย่าง อนิจจานุปัสสนา
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่ง อนิจจานุปัสสนา ที่ถึงพร้อมด้วยอาการที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน [เอกัคคตาแห่งสมาธิ] (๑) บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ (๒) ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือจักถึง (๓) ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ (๔) แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทงตลอด (๕) ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง (๖) ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง (๗) ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ (๘) ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ (๙) ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น สัทธาธิมุต ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็น กายสักขี ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็น ทิฏฐิปัตตะ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
รายละเอียด มหาวิปัสสนา ๑๘ ดังนี้ (๑) อนิจจานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (๒) ทุกขานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความทุกข์ (๓) อนัตตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่ใช่ตัวตน (๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย (๕) วิราคานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด (๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความดับ (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความสละคืน (๘) ขยานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความสิ้นไป (๙) วยานุปัสสนา คือ การเห็นความเสื่อมไป (๑๐) วิปริณามานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความแปรปรวน (๑๑) อนิมิตตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย (๑๒) อัปปณิหิตานุปัสสนา คือ การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง (๑๓) สุญญตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า (๑๔) อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง (๑๕) ยถาภูตญาณทัสนะ คือ ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง (๑๖) อาทีนวานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นโทษ (๑๗) ปฎิสังขานุปัสสนา คือ การพิจารณาหาทาง (๑๘) วิวัฏฏนานุปัสสนา คือ การพิจารณาการเห็นอุบายที่จะหลีกไป
คำว่า มุนี คือ ปราชญ์ผู้รู้ ที่ประกอบด้วยปัญญาญาณที่มีจำนวนแตกต่างกันตามฐานะ ซึ่งญาณในข้อ ๖๙ ๗๓ เป็นญาณเฉพาะพระตถาคต ได้แก่ อินทริยปโรปริยัตตญาณอาสยานุสยญาณยมกปาฏิหาริยญาณมหากรุณาสมาปัตติญาณสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ ดังต่อไปนี้ ๑. สุตมยญาณ ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว ๒. สีลมยญาณ ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสังวรไว้ ๓. ภาวนามยญาณ ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี ๔. ธรรมฐิติญาณ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เพราะการกำหนดธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ล้วนสำเร็จด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างเดียว [ธัมมัฏฐิติญาณ] ๕. สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ คือ การเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ๖. อุทยัพพยญาณ ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน คือ ความดับไปแห่งธรรม คือ เบญจขันธ์ ในภายในที่เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจสันตติ ๗. วิปัสสนาญาณ ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป ๘. อาทีนวญาณ ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย ปัญญาในการปรากฏขึ้นแห่ง อุปปาทะความเกิด ปวัตตะความเป็นไป นิมิตเครื่องหมาย อายูหนาการประมวลมา และ ปฏิสนธิการเกิดในภพใหม่ โดยความเป็นภัย คือ ในการเข้าไปยึดถือว่ามีภัยปรากฏอยู่เฉพาะหน้า โดยการประกอบด้วยความเบียดเบียนอยู่เนืองๆ ๙. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณา และวางเฉยอยู่ ๑๐. โคตรภูญาณ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก ๑๑. มรรคญาณ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอก [เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดานในภายในด้วยนิมิตคือเครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย] ทั้งสอง มรรคญาณ แม้ทั้ง ๔ ออกจาก นิมิต เพราะมีพระนิพพานอันไม่มี นิมิต เป็นอารมณ์ และย่อมออกจาก ปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยได้ขาด ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุภโตวุฏฐานะ คือ ออกโดยส่วนทั้งสอง ๑๒. ผลญาณ ปัญญาในการระงับปโยคะ การประกอบอย่างแรงกล้า คือ ความพยายามที่ออกจากและขันธ์ทั้ง ๒ ได้ด้วยมรรคภาวนาโดยทำให้แจ้งซึ่งผล ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา คือ ปัญญาเข้าถึงการสิ้นสุดแห่งกิจในมรรคทั้ง ๔ เป็นผลในมรรควิถี ๑๓. วิมุตติญาณ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว ๑๔. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น ๑๕. วัตถุนานัตตญาณ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน ๑๖. โคจรนานัตตญาณ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก ๑๗. จริยานานัตตญาณ ปัญญาในการกำหนดจริยา ๑๘. ภูมินานัตตญาณ ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ ๔ ๑๙. ธรรมนานัตตญาณ ปัญญาในการกำหนดธรรมธรรมทั้งหลายอย่างละ ๙ ๒๐. ญาตัฏฐญาณ ปัญญาที่รู้ยิ่ง ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา และ ปหานปริญญา ๒๑. ตีรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ ความรู้ที่ซึมซาบไปด้วยสามารถแห่งสามัญลักษณะมีอนิจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ ๒๒. ปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญาในการละ ปัญญาเป็นเครื่องละวิปลาสทั้งหลายมีนิจจสัญญาวิปลาส สุขสัญญาวิปลาส อัตตสัญญาวิปลาส ๒๓. เอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องเจริญ ญาณมีกิจอันเดียวเป็นสภาวะ หรือญาณมีรสอันเป็นสภาวะ คือ วิมุตติ ๒๔. ผัสสนัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ปัญญาเป็นเครื่องกระทำพระนิพพานให้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด หรือด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ ๒๕. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ ๒๖. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม ๒๗. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ ๒๘. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ ๒๙. วิหารรัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม ๓๐. สมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ ๓๑. วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณ ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุให้ไม่ฟุ้งซ่าน ๓๓. อรณวิหารญาณ ทัสนาธีปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคมคุณเครื่องบรรลุคือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในสมาบัติอันประณีต ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วย พละ ๒ [สมถพละวิปัสสนาพละ] ด้วยความระงับ สังขาร ๓ [วจีสังขาร กายสังขาร และ จิตสังขาร] ด้วย ญาณจริยา ๑๖ [อนุปัสนา ๘ มี อนิจจานุปัสนา เป็นต้น โลกุตระ ๘ คือ มรรค ๔ ผล ๔ จึงรวมเป็น ๑๖] และด้วย สมาธิจริยา ๙ [รูปาวจรสมาธิ ๔อรูปาวจรสมาธิ ๔ กับทั้งอุปจาระอีก ๑ จึงรวมเป็น ๙] ๓๕. ปรินิพพานญาณ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว ๓๖. สมสีสัฏฐญาณ ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ ๓๗. สัลเลขัฏฐญาณ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนาสภาพต่างๆ และเดช ๓๘. วิริยารัมภญาณ ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ๓๙. อรรถสันทัสสนญาณ ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ ๔๐. ทัสสนวิสสุทธิญาณ ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน ๔๑. ขันติญาณ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ๔๒. ปริโยคาหนญาณ ปัญญาในความถูกต้องธรรม ๔๓. ปเทสวิหารญาณ ปัญญาในการรวมธรรม ๔๔. สัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี ๔๕. เจโตวิวัฏฏญาณ ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ ๔๖. จิตตวิวัฏฏญาณ ปัญญาในการอธิษฐาน ๔๗. ญาณวิวัฏฏญาณ ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า ๔๘. วิโมกขวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความสลัดออก ๔๙. สัจจวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความว่าธรรมจริง ๕๐. อิทธิวิธญาณ ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณ ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป ๕๒. เจโตปริยญาณ ปัญญาในการกำหนดจริยาคือวิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท อย่างเดียวสามารถแห่งความผ่องในแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ๕๓. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถแห่งความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว ๕๔. ทิพจักขุญาณ ปัญญาในความเห็นรูปนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแห่งแสงสว่าง ๕๕. อาสวักขยญาณ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ๕๖. ทุกขญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ๕๗. สมุทยญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรละ ๕๘. นิโรธญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้แจ้ง ๕๙. มรรคญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ ๖๐. ทุกขญาณ ปัญญาเห็นสภาพแห่งทุกข์ ทุกขอริยสัจจ์ ๖๑. ทุกขสมุทยญาณ ปัญญาเห็นเหตุแห่งทุกข์ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ ๖๒. ทุกขนิโรธญาณ ปัญญาเห็นแจ้งในนิพพาน ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ ๖๓. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ปัญญาเห็นข้อปฏิบัติที่พ้นทุกข์ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ ๖๔. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในความหมาย ๖๕. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในหลักธรรม ๖๖. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา ๖๗. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในความคิดทันการมีไหวพริบ ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปัญญาเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุมีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ปัญญาเป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยแห่งเวไนยสัตว์ ญาณเฉพาะพระตถาคต ๖๙. อาสยานุสยญาณ ปัญญาในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่อง จริต [ความประพฤติ] อธิมุตติ [อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความคิดมุ่งไป ความมุ่งหมาย] ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบชัดภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์ ของพระตถาคต ปัญญาเป็นเหตุให้ทรงทราบอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ ญาณเฉพาะพระตถาคต ๗๐. ยมกปาฏิหาริยญาณ ปัญญาแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ อันเป็นปาฏิหาริย์พิเศษที่เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงกระทำได้ ไม่สาธารณะกับพระสาวกทั้งหลาย ญาณเฉพาะพระตถาคต ๗๑. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ปัญญาแสดงพระคุณอันยิ่งใหญ่แก่เวไนยสัตว์ที่สหรคตด้วยสมาบัติด้วยอำนาจกรรมอันเป็นคุณ ญาณเฉพาะพระตถาคต ๗๒. สัพพัญญุตญาณ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวง ปัญญาอันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ สมันตจักขุ ญาณเฉพาะพระตถาคต ๗๓. อนาวรณญาณ ปัญญาอันไม่มีอะไรติดขัด ปัญญาหยั่งรู้ตลอดทะลุปรุโปร่งไม่มีอะไรกั้นได้ ปัญญารอบรู้ ทศพลญาณ จักขุญาณ ญาณเฉพาะพระตถาคต
อย่างไรก็ตาม ตามนัยของคำว่า ความสะอาดโสไจยะ นั้น ความบริสุทธิ์วิสุทธิ คือ ความปราศจากมลทิน มละ ๙ หมายถึง ธรรมเครื่องทำให้มัวหมอง เปรอะเปื้อน กิเลสดุจสนิมใจ ได้แก่ (๑) โกธะความโกรธ (๒) มักขะความลบหลู่คุณท่านความหลู่ความดีผู้อื่น (๓) อิสสาความริษยา (๔) มัจฉริยะความตระหนี่ (๕) มายามารยา (๖) สาเถยยะความโอ้อวดหลอกเขาสาไถย (๗) มุสาวาทการพูดปด (๘) ปาปิจฉาความปรารถนาลามก (๙) มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด
นอกจากนี้ ยังรวมถึงสภาพที่เศร้าหมองที่ครอบงำจิต คือ กิเลส ๑๐ และ อุปกิเลส ๑๖ ดังนี้
กิเลส ๑๐ หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง หรือ กิเลสวัตถุ ๑๐ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ได้แก่ (๑) โลภะความอยากได้ (๒) โทสะความคิดประทุษร้าย (๓) โมหะความหลงความไม่รู้ความเขลา (๔) มานะความถือตัว (๕) ทิฏฐิความเห็นผิด (๖) วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยความเคลือบแคลง (๗) ถีนะความหดหู่ความท้อแท้ถดถอย (๘) อุทธัจจะความฟุ้งซ่าน (๙) อหิริกะความไม่ละอายต่อความชั่ว (๑๐) อโนตตัปปะความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว
อุปกิเลส ๑๖จิตตอุปกิเลส ๑๖ หมายถึง ธรรมเครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี ได้แก่ (๑) อภิชฌาวิสมโลภะคิดเพ่งเล็งอยากได้โลภไม่สมควรโลภกล้าจ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร (๒) พยาบาทคิดร้ายเขา (๓) โกธะความโกรธ (๔) อุปนาหะความผูกโกรธ (๕) มักขะความหลู่ความดีของผู้อื่นการลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น (๖) ปลาสะความตีเสมอยกตัวเทียมท่านเอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน (๗) อิสสาความริษยา (๘) มัจฉริยะความตระหนี่ (๙) มายามารยา (๑๐) สาเถยยะความโอ้อวดหลอกเขาหลอกด้วยคำโอ้อวด (๑๑) ถัมภะความหัวดื้อกระด้าง (๑๒) สารัมภะความแข่งดีไม่ยอมลดละมุ่งแต่จะเอาชนะกัน (๑๓) มานะความถือตัวทะนงตน (๑๔) อติมานะความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขาดูหมิ่นเขา (๑๕) มทะความมัวเมา (๑๖) ปมาทะความประมาทละเลยเลินเล่อ
อาสวะ ๔ หมายถึง สภาวะอันหมักดองสันดาน สิ่งที่มอมพื้นจิต กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ได้แก่ (๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม กิเลสดองอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิดความใคร่ (๒) ภวาสวะ อาสวะคือภพ กิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน ทำให้อยากเป็นอยากเกิดอยากมีคงอยู่ตลอดไป (๓) ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ กิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน ทำให้เห็นผิดถือผิด (๔) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา กิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง
สังโยชน์ ๑๐ หมายถึง กิเลสอันผูกใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับวัฏฏทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ได้แก่ ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น (๒) วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเล ไม่แน่ใจ (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงายเห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร (๔) กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง (๖) รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต ความปรารถนาในรูปภพ (๗) อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม ความปรารถนาในอรูปภพ (๘) มานะ ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง ความหลง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ศีลสมาธิปัญญา คือ อาวุธที่เป็นเครื่องทำลายกิเลสทั้งหลาย โดยเฉพาะ อวิชชาตัณหาอุปาทาน อันทำให้เกิด อกุศลวิบากกรรม นั่นคือ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสะ เป็นธรรมดาที่เกิดขึ้นในจิตใจของปุถุชนผู้หลงทิศ [อวิชชาโมหะ] หรือบกพร่องด้วยสติสัมปชัญญะ นั้นคือ มีภาวะจิตอยู่ในอาการต่อไปนี้ ความโศกความเสียใจความตรอมตรม ๑ ความคร่ำครวญความร่ำไรความพูดพร่ำเพรื่อ ๑ ความไม่สำราญความลำบากอันมีทางกาย ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส ๑ ความไม่สำราญความลำบากอันมีทางใจทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ ๑ ความแค้นความเคืองความเป็นผู้เคืองแค้น ๑ ซึ่งหมายถึง สงสารทุกข์สงสารวัฏฏ์ คือ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ทุกข์ที่ประสบในภาวะแห่งการว่ายวนอยู่ในกระแสแห่งวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสกรรมและวิบาก หรือ ชีวิตสืบเนื่อง ชีวิตสันตติ ในวังวนแห่งสงสาร คือ การมีชีวิตท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะฉะนั้น การชำระจิตใจให้บริสุทธิ์หมดจดต้องดำเนินหรือเจริญด้วย ไตรสิกขาโดยวิสุทธิ ๗ ดังนี้
(๑) ศีลอธิศีลอธิสีลสิกขา ดับกิเลอย่างหยาบวีติกมกิเลส ด้วยการเจริญให้มากใน สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ [วจีสุจริต ๓กายสุจริต ๓อาชีพสุจริต] (๒) สมาธิอธิจิตอธิจิตตสิกขา ดับกิเลสอย่างกลางปริยุฏฐานกิเลส ด้วยการเจริญให้มากใน สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [สัมมัปปธาน ๔สติปัฏฐาน ๔ฌาน ๔] (๓) ปัญญาอธิปัญญาอธิปัญญาสิกขา ดับกิเลสอย่างละเอียดอนุสยกิเลส ด้วยการเจริญให้มากใน สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ [ปัญญาภูมิวิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖กุศลวิตก ๓] วิสุทธิ ๗ หมายถึง ความหมดจด ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน ได้แก่
(๑) สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ วิสุทธิมัคค์ว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔
ปาริสุทธิศีล ๔ หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์ ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์ ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล (๑) ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น (๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือพิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา
(๒) จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา วิสุทธิมัคค์ว่า ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอุปจาร นั่นคือ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌานอากาสานัญจายตนสมาบัติวิญญาณัญจายตนสมาบัติอากิญจัญญายตนสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
(๓) ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริงเป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์ = นามรูปปริเฉทญาณ คือ เห็นสภาพแห่งทุกข์ใน ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
(๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ [อัทธา ๓ = อดีตอัทธาเวลาที่ดับไปแล้วตามธรรมดา เพราะผ่านไปขณะทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ อุปปาทักขณะ ฐิติขณะ ภังคขณะ เวลาก่อนแต่ปฏิสนธิกาล ๑ อนาคตอัทธาเวลาที่ยังไม่ถึงขณะแม้ทั้ง ๓ นั้น เวลาหลังจากจุติ ๑ ปัจจุบันนัทธาเวลาที่พรั่งพร้อมไปด้วยขณะทั้ง ๓ นั้น เวลาในระหว่างแห่งปฏิสนธิกับจุติ รวมทั้งจุติและปฏิสนธิ ๑ อนึ่ง การจำแนกกาลประกอบด้วยธรรม ๔ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่ง อัทธา ๑ สันตติ ๑ สมัย ๑ ขณะ ๑ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมข้างล่าง แต่อย่างไรก็ตาม ในข้อนี้ ถ้าพร้อมถึงบุญวาสนาบารมีบริบูรณ์ ก็มีโอกาสลุถึง ญาณ ๓ = อตีตังสญาณรู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ ๑ อนาคตังสญาณรู้อนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ ๑ ปัจจุปปันนังสญาณรู้ปัจจุบันและกำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ ๑ วิชชา ๓ = ปุพเพนิวาสานุสสติญาณระลึกชาติได้ ๑ จุตูปปาตญาณเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ๑ อาสวักขยญาณความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ ๑ รวมทั้ง วิชชา ๘ หรือ อภิญญา ๖ ซึ่ง อธิคมสมณธรรม เหล่านี้ จะเกิดขึ้นเฉพาะบุคคล] ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ = ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นสาเหตุแห่งทุกข์ใน ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ รวมทั้ง ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓ สังเขป ๔ สนธิ ๓ วัฏฏะ ๓ อาการ ๒๐ มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม กับ กัมมัสสกตาปัญญา ให้พิจารณา ปฏิจจสมุปปันธรรมแห่งอัทธา ๓ โดยวิธีแบบ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท ดังนี้
อัทธา ๓ คือ กาล ๓ ได้แก่ ๑) อดีตอัทธา = อวิชชาสังขาร ๒) ปัจจุบันนัทธา = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ ๓) อนาคตอัทธา = ชาติชรามรณะ อกุศลผลวิบาก = โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสะ
อวิชชา เป็นมูลเหตุในอดีตอัทธาแห่ง ตัณหา ซึ่งเป็นผลในปัจจุบันนัทธา ตัณหา เป็นมูลเหตุในปัจจุบันนัทธาแห่ง อุปาทาน ซึ่งเป็นผลในปัจจุบันนัทธา อุปาทาน เป็นมูลเหตุในปัจจุบันนัทธาแห่ง ชาติชรามรณะทุกข์ ซึ่งเป็นผลในอนาคตอัทธา
รายละเอียดเพิ่มต้นกาล ๓ สันตติ ๓ (๑) ด้วยอำนาจแห่งสันตติ รูปทั้งหลายนี้เหมือนกัน มีฤดูเดียวกันเป็นสมุฏฐาน และมีอาหารอย่างเดียวกันเป็นสมุฏฐาน แม้กำลังเป็นไป ด้วยสามารถแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลายเป็นปัจจุบัน รูปทั้งหลายที่มีฤดูและอาหาร ไม่เหมือนกัน เป็นสมุฏฐาน ก่อนแต่นั้นเป็นอดีต หลังจากนั้น เป็นอนาคต (๒) ด้วยสามารถแห่งสันตติ รูปทั้งหลายที่เกิดจากจิต อันมีวิถีเดียวกันและมีสมาบัติเดียวกันเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจุบัน ก่อนแต่นั้นเป็นอดีต หลังจากนั้นเป็นอนาคต สำหรับรูปทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเฉพาะอย่าง (๓) แต่พึงทราบว่า ด้วยสามารถเป็นผู้อุปถัมภ์ รูปเฉพาะอย่างนั้น เป็นอดีต เป็นต้น รูปเหล่านั้นนั่นแหละ ที่มีฤดู อาหาร และจิต เป็นสมุฏฐาน
สมัย ๓ (๔) ด้วยอำนาจแห่งสมัย รูปทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่ ด้วยสามารถแห่งการสืบต่อ ในสมัย [ต่างๆ กัน] เช่น ครู่เดียว เช้าเดียว เย็นเดียว คืนเดียว วันเดียว เป็นต้น ชื่อว่า เป็นปัจจุบัน ในสมัยนั้นๆ ก่อนหน้านั้น เป็นอดีต หลังจากนั้นเป็นอนาคต นี้เป็นนัยในรูปธรรมก่อน ส่วนในอรูปธรรมทั้งหลาย ดังนี้
ขณะ ๓ (๕) ด้วยอำนาจแห่งขณะ ธรรมทั้งหลายที่นับเนื่องในขณะทั้ง ๓ มี อุปปาทักขณะฐิติขณะภังคขณะ เป็นปัจจุบัน ก่อนแต่นั้นเป็นอดีต หลังจากนั้นเป็นอนาคต (๖) อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยผ่านไปแล้วเป็นอดีต ธรรมทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็นเหตุเสร็จแล้ว แต่ทำหน้าที่เป็นปัจจัยยังไม่สำเร็จ เป็นปัจจุบัน ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ถึงพร้อมด้วยกิจ [ยังไม่ทำหน้าที่] ทั้ง ๒ อย่าง เป็นอนาคต (๗) อีกอย่างหนึ่ง ในขณะแห่งกิจของตน ธรรมทั้งหลายเป็นปัจจุบัน ก่อนแต่นั้นเป็นอดีต หลังจากนั้นเป็นอนาคต
(๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป [พิจารณาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ = สัมมสนญาณ] จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา เป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมี วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ เกิดขึ้น [ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ นั่นคือ ไม่หลงหรือยึดมั่นในอุปกิเลสเหล่านี้ ได้แก่ โอภาสแสงสว่าง ๑ ญาณความหยั่งรู้ ๑ ปีติความอิ่มใจ ๑ ปัสสัทธิความสงบเย็น ๑ สุขความสุขสบายใจ ๑ อธิโมกข์ศรัทธาแก่กล้า ๑ ปัคคาหะความเพียรที่พอดี ๑ อุปัฏฐานสติแก่กล้า ๑ อุเบกขาความมีจิตเป็นกลาง ๑ นิกันติความพอใจติดใจ] กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณ นั้นต่อไป ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์
(๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึง สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ซึ่งจัดเป็น พลววิปัสสนา วิปัสสนาแก่กล้า ต่อแต่นี้ก็จะเกิด โคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่ง ความเป็นปุถุชน กับ ความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ ๙ ดังนี้
(๑) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ (๒) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย (๓) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ (๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย (๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง (๘) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๙) สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
(๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ในอริยมรรค ๔ หรือ มรรคญาณ อันเกิดถัดจาก โคตรภูญาณ เป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจาก มรรคญาณ นั้นๆ ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ หรือ มรรค ๔ ดังนี้
อริยมรรค ๔มัคคญาณ ๔ (ข้อ ๑๕ ในโสฬสญาณญาณ ๑๖ = มรรค ๔) หมายถึง ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ญาณที่ทำให้ละ สังโยชน์ ๑๐ ได้ขาดโดยตรงด้วยอธิปัญญาแห่งวิปัสสนาภูมิ ประกอบด้วยอำนาจแห่งฌานสมาธิ [จตุตถฌาน] ที่กำหนดบุคคลผู้ปฏิบัติอริยมรรคเป็นอริยะ ดังรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไปนี้ (๑) โสดาปัตติมรรค คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก [อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ ญาณคือทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘] มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส (๒) สกทาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำ ราคะโทสะโมหะ [อกุศลมูล ๓] นั่นคือ ติดโกรธหลง ให้เบาบางลง (๓) อนาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ (๔) อรหัตตมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา
กล่าวโดยสรุป คือ เป็นการดับกิเลสในอริยมรรค ดังนี้
(๑) โสดาปัตติมรรค = สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย (๒) สกทาคามิมรรค = กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ (๓) อนาคามิมรรค = กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด (๔) อรหัตมรรค = รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
หลังจากนั้น ก็เป็นการเจริญ ผลญาณ และ ปัจจเวกขณญาณ เป็นการสิ้นสุดแห่งการวิปัสสนา
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเป็นปราชญ์แห่งมุนีโมเนยยะนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องการประพฤติปฏิบัติตนและการยกจิตให้สงบ ความสะอาดโสไจยะ อันหมายถึง ภาวะสะอาดสุจริตในกายกรรมวจีกรรมมโนกรรม แต่ยังรวมถึง วิชชาจรณะ อันเกิดจากการเจริญภาวนาธรรม ที่ประกอบด้วย (๑) สมถพละสมถภาวนากรรมฐาน กับ (๒) วิปัสสนาพละวิปัสสนาภาวนากรรมฐาน ในกระบวนการพัฒนาตนที่ตั้งไว้โดยชอบ อัตตสัมมาปณิธิ นี้ เป็นข้อประพฤติปฏิบัติด้วย สัมมาปฏิปทาอันยิ่ง เป็น การสร้างบุญกุศลบารมี เพื่อให้เกิด วาสนา คือ โอกาสในความสำเร็จในการพัฒนาจิตตสมาธิ สมาธิภาวนา คือ หมดจดสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบานไม่มีมลทินปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว และพร้อมด้วยการพัฒนาปัญญา ปัญญาญาณ ให้หลุดพ้นจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ให้สำเร็จบรรลุถึง ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ การเห็นธรรมด้วยปัญญาตามที่เป็นจริง [ยถา ปชานํ] ที่เป็นทั้ง (๑) โลกิยปัญญา [นามรูปปริจเฉทญาณปัจจยปริคคหญาณสัมมสนญาณวิปัสสนาญาณ ๙โคตรภูญาณปัจจเวกขณญาณ] และ (๒) โลกุตตรปัญญา [มัคคญาณผลญาณอาสวักขยญาณ = ญาณทัสสนวิสุทธิญาณ] เพราะฉะนั้น การพัฒนาจิตให้เห็นแจ้งบรรลุเข้าถึง สมถพละ ที่หมายถึง สมาบัติ ๘อนุบุพพวิหาร ๙ พร้อมด้วยอุปจาร ดังนี้
รูปฌาน ๔ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน
อรูปฌาน ๔ อากาสานัญจายตนสมาบัติวิญญาณัญจายตนสมาบัติอากิญจัญญายตนสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
อนุบุพพวิหาร ๙ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔สัญญาเวทยิตนิโรธ [นิโรธสมาบัติ = สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา]
ฉะนั้น ข้อประพฤติปฏิบัติทั้งหมดนี้ จึงเป็นเรื่องที่ยากใช้เวลานาน และรู้ได้ยาก [ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา = ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า] ซึ่งขัดกับความรู้สึกของปุถุชนทั่วไป ที่มีอารมณ์ความรู้สึก สุกเอาเผากิน ผู้ไม่มี ความอดทนขันติ ๑ ความพากเพียรวิริยะ ๑ ความเมตตากรุณา ๑ และ ปัญญาธรรม อีกหนึ่ง เพราะฉะนั้น การรู้แจ้งเข้าถึง วิปัสสนาพละ จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนประณีตสำหรับผู้มีจิตใจปราศจากนิวรณ์ทั้งหลายดีแล้ว คือ จิตที่ครองด้วย สติสัมปชัญญะอุเบกขา ดำรงมั่นและเป็นสมาธิด้วยจิตตั้งมั่น เอกัคคตาแห่งจิต อยู่ในอริยมรรค เกิด สมาธิในวิปัสสนาจิตตัววิปัสสนา ด้วยปฏิเวธเข้าถึงคุณวิเศษ คือ ยถาภูตญาณทัสสนะ ที่ประกอบเหมาะควรด้วย ปัญญาญาณ ๗๓ปัญญาวิปัสสนา [วิปัสสนาภูมิ = ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรมอริยสัจจ์ ๔] คือ อย่างน้อยที่สุดควรจะเป็น ญาณ ๑๖ ที่สัมปยุตต์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง ธรรมเครื่องเกื้อกูลความตรัสรู้และอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ที่เรียกว่า อภิญเญยธรรม เป็นสมุฏฐานธรรมสำหรับ ปราชญ์แห่งมุนี ที่นอกเหนือจาก โสไจยธรรม ๑๐ [กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓] และ ประการสำคัญ ธรรมดังกล่าวนี้ เป็นคู่ศัตรูกับอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา อันเป็นกระบวนการคิดที่ถูกต้อง พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง คือ โยนิโสมนสิการ นั่นคือ เห็นทั้งเหตุแห่งทุกข์ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ปัจจยุปปันนธรรม [ธรรมอันเกิดจากปัจจัย = ปัจจัยธรรม] คือ กระบวนการคิดที่อนุโลมคล้อยตามด้วยเหตุผลจากการสาวหาความจริงจากต้นเหตุไปหาปลายเหตุอันเป็นผลที่จะเกิดขึ้น เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท นั่นคือ อวิชชาเป็นเหตุแห่งทุกข์ [สมุมัยวาร] และ กระบวนการคิดที่ปฏิโลมย้อนทวนด้วยเหตุผลเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ ดับอวิชชาย่อมดับทุกข์ [นิโรธวาร] เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ซึ่งกระบวนการคิดดังกล่าวนี้ ต้องเริ่มจากแนวคิดที่มี ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ หมายถึง ความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า:
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา
ดังนี้ ในธรรมข้อนี้ ย่อมประกอบด้วยการเจริญฌานสมาบัติมีวัตถุ สัญญา ๔ อันเป็นเบื้องต้น หมายถึง ความรู้เข้าใจในธรรมอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน เพราะให้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมเหล่านี้ในกาลทั้ง ๓ [อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันนัทธา] หรือใน ขณะ ๓ [อุปปาทักขณะฐิติขณะภังคขณะ] ได้แก่ (๑) หานภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายเสื่อม ความรอบรู้ในทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม [อปายโกศล] (๒) ฐิติภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายดำรงอยู่ คือ ความรอบรู้ในทางเจริญและเหตุของความเจริญ [อายโกศล] (๓) วิเสสภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายวิเศษที่ปฏิเวธในอธิคมธรรม คือ การเกิดปัญญาวิปัสสนา และ (๔) นิพเพธภาคิยสัญญา คือ สัญญาฝ่ายชำแรกกิเลสด้วย วิสุทธิ ๗ หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีลสมาธิปัญญา [อริยมรรคมีองค์ ๘มัคคญาณ ๔] คือ รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ [อุปายโกศล] นอกจากนี้ ยังรวมทั้งความรู้แจ้งในธรรมทั้งหลายที่เกื้อกูลความตรัสรู้และอริยมรรค องค์ประกอบด้วยธรรมทั้งหลายดังกล่าวนี้ ย่อมแสดงนัยสำคัญถึง ความเป็นปราชญ์แห่งมุนีในพระพุทธศาสนา มีแนวโน้มฐานะด้วยปรีชาสามารถที่จะบรรลุหรือบรรลุแล้วซึ่ง ความตรัสรู้บรมสัมโพธิญาณ ได้ในกาลปัจจุบันนี้ได้ ฉะนั้น ความสำเร็จย่อมเป็นลักษณะที่แท้จริงของ อิทธิบาท ๔ หมายถึง คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ได้แก่
(๑) ฉันทะ ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป (๒) วิริยะ ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย (๓) จิตตะ ความคิดมุ่งไป คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ (๔) วิมังสา ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ความดำรงอยู่แห่งสติแก่กล้า สติชัด ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ที่เรียกว่า อุปัฏฐาน และการเกิดปัญญาที่เลื่อมใสยิ่งในข้อประพฤติปฏิบัติแห่งอริยมรรค คือ อธิโมกข์ ฉะนั้น ศรัทธาปสาทะ จึงเป็นเหตุสมุฏฐานอันยิ่งใหญ่ในพระศาสนา ที่มีอาการ ๔ ประการแห่งศรัทธา ดังนี้
ปสาทะ คือ ความเลื่อมใส ความชื่นบานผ่องใส ความเชื่อถือมั่นใจ ความรู้สึกยอมรับนับถือ ความเปิดใจรับ อาการที่จิตเกิดความแจ่มใสโปร่งโล่งเบิกบานปราศจากความอึดอัดขัดข้องขุ่นมัว โดยเกิดความรู้สึกชื่นชมนิยมนับถือ ต่อบุคคลหรือสิ่งที่พบเห็นสดับฟัง [สุตมยญาณ] หรือระลึกถึง
สัทธา ๔ คือ ความเชื่ออย่างมีเหตุผล ได้แก่ (๑) กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ กฎแห่งกรรม (๒) วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม (๓) กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กฎแห่งกรรมของสัตว์ (๔) ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
สัทธา ๔ คือ ความเชื่ออย่างมีเหตุผล ได้แก่ (๑) อาคมนสัทธาอาคมนียสัทธาอาคมสัทธา ความเชื่อความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี (๒) อธิคมสัทธาอธิคมนสัทธา ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ (๓) โอกัปปนสัทธาโอกัปปนียสัทธาอธิโมกขสัทธา ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่วเมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง (๔) ปสาทสัทธา ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง
ฉะนั้น ความเชื่อม ความเลื่อมใสศรัทธา ใน กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตาปัญญา ย่อมทำให้ผู้จะเป็นปราชญ์แห่งมุนีมีความมุ่งมั่นในการประพฤติปฏิบัติอริยมรรค เพราะเชื่อมในผลแห่งการกระทำความดี ที่หมายถึง ความสะอาดความบริสุทธิ์ [โสไจยธรรม ๓] ในกรรมทั้ง ๓ ได้แก่ กายสุจริตกรรมวจีสุจริตกรรมมโนสุจริตกรรม นั่นคือ ความปราศจากกิเลสทั้งหลายและปวงทุกข์ นั่นเอง.
|