๖๑. กฎแห่งกรรมและกฎกรรมของสัตว์ The Law of Action and the Individual Ownership of Action
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
จุดเริ่มแรกในการปฏิบัติธรรมนั้น คือ ความศรัทธาในพระศาสนา ที่แสดงตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกา อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นต้องศรัทธาเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาแห่งพุทธศาสนา ที่เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อในพระปรีชาสามารถในการตรัสรู้ของพระองค์ ต่อจากนั้น จึงเชื่อศรัทธาในพระธรรมของพระองค์ ตามด้วยอริยสาวกของตถาคต ที่เรียกความเลื่อมใสศรัทธานี้ ว่า รตนัตตยสัทธา (พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์) ในอันดับถัดไป คือ การศึกษาและลงมือปฏิบัติภาคสนามตามพระธรรมคำสั่งสอนของตถาคต โดยทำความเข้าใจถึงหลักทฤษฎีหรือหลักปรัชญาในพระพุทธศาสนาของเราทั้งหลายอย่างละเอียดถี่ถ้วน แนวคิดหลักของพระสัทธรรม คือ หลักมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ทางสายกลายแห่งปัญญา ที่ยึดถือข้อประพฤติปฏิบัติด้วยสัมมาปฏิปทาอันยิ่ง ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘อริยอัฏฐังคิกมรรค ได้แก่ (๑) อธิปัญญาสิกขา คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ (๒) อธิศีลสิกขา คือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ และ (๓) อธิจิตตสิกขา คือ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ โดยกำหนดแนวทางการศึกษา ที่เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา ทั้งหลายทั้งปวง ต่างมีจุดมุ่งหมายในการดับกิเลสและทุกข์ทั้งปวง ด้วยกระบวนการคิดให้เห็นธรรมทั้งหลายตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ สำหรับแก่นแท้ของพระศาสนานั้น คือ กรุณา กับ ปัญญา อันเป็น โพธิสมภาร เพื่อความเป็นพุทธะ คือ (๑) ผู้รู้ไม่ทำความชั่วทั้งปวง (๒) ผู้ตื่นทำความดีให้เพียบพร้อม (๓) ผู้เบิกบานทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ตนประกอบกิจในศาสนาอันเป็น กุศลกรรม คือ เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับ กรรม ๓ ได้แก่ กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ฉะนั้น การกระทำใน ๓ ทาง นั้น ย่อมเกิดขึ้นตามความเชื่อ ความศรัทธา ความเลื่อมใส ในพระธรรมเกี่ยวกับ (๑) กฎแห่งกรรม คือ เชื่อในการกระทำ และผลของการกระทำนั้น = กัมมผลสัทธา และ (๒) กฎกรรมของสัตว์ คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น ทำดีย่อมได้ดีทำชั่วย่อมได้ชั่ว = กัมมัสสกตาสัทธา อีกนัยหนึ่ง ผู้รักษาศีลจนเป็น อธิศีล (ศีล ๕ศีล ๘ศีล ๑๐) เจริญจิตตภาวนาจนเป็น อธิจิตต์ (รูปฌาน ๔) ย่อมเจริญปัญญาจนเป็น อธิปัญญา (ญาณ ๑๖) ด้วยมุ่งหมายถึง จตุตถฌานจิต ย่อมเกิด ปัญญาเห็นกรรมทั้งหลายแห่งปรมัตถสัจจะ ได้แก่ นามรูปปริเฉทญาณปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ ปัจจยปริคคหญาณจุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ ๑ นอกจากนี้ รวมทั้ง วิชชา คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ อิทธิวิธิ (อิทธิจิต)ทิพพโสตญาณเจโตปริยญาณทิพพจักขุญาณยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณอนาคตังสญาณปัจจุปปันนังสญาณ ที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นกรรมทั้งหลาย ทั้ง กิเลสกรรมวิบาก ของวัฏฏะตนเองและของวัฏกะผู้อื่น ในเวลาเดียวกัน.
บทความที่ ๖๑ ประจำปี ๒๕๕๘ กฎแห่งกรรมและกฎกรรมของสัตว์
ถ้าผู้ที่จะแสดงตนเป็น พุทธมามกะ ได้นั้น เพราะว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา นั่นคือ บุคคลดังกล่าวนี้ ย่อมมีความเชื่อ ความศรัทธา ความเลื่อมใสด้วย ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง ๙ ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง ฉะนั้น ความเป็นพุทธศาสนิกชนนั้น ถ้าไม่มีความเชื่อใน ๔ อย่าง นี้ ก็ไม่น่าจะเป็น พุทธะ อย่างแท้จริง เพราะมีผลต่ออุปนิสัยในการปฏิบัติของตน ที่เรียกว่า สัทธา ๔ ดังนี้
สัทธา ๔ หมายถึง (๑) เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล (๒) ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ความเลื่อมใสซาบซึ้งชื่นใจ สนิทใจเชื่อมั่น มีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตาม ไปรับคุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ หรือ (๓) ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหล ตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ฉะนั้น ความศรัทธานี้ ไม่ใช่ความหลงใหลงมงาย ได้แก่ (๑) อาคมนสัทธาอาคมนียสัทธาอาคมสัทธา คือ ความเชื่อความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี (ทศบารมี) ที่เรียกว่า โพธิสมภารมหาโพธิสมภาร คือ ปฏิปทาอันยิ่งยวด เพื่อการตรัสรู้ถึง ความเป็นพระพุทธเจ้า (๒) อธิคมสัทธาอธิคมนสัทธา คือ ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ ตามพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า (๓) โอกัปปนสัทธาโอกัปปนียสัทธาอธิโมกขสัทธา คือ ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่วเมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง ที่เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี นั่นคือ คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์ ซึ่งเป็นเรื่อง วิริยะ (ขันติ)ปัญญา (๔). ปสาทสัทธา คือ ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง นั่นคือการสดับฟังธรรม การสนทนาธรรม หรือการแสดงพระธรรมของผู้รู้ สัตบุรุษ ปราชญ์แห่งมุนี อริยบุคคล อริยสาวกตถาคต เป็นต้น ข้อนี้ไม่สาธารณ์แก่พวกลัทธินอกพระพุทธศาสนา ได้แก่ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเดียรถีย์เดียรถีย์ติตถิยะอลัชชี หรือพวกวัตถุวิบัติ ที่เรียกว่า ติตถิยปักกันตกะ คือ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้
เมื่อเกิดความเลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว และค่อยเชื่อศรัทธาในพระรัตนตรัย ที่เรียกว่า รตนัตตยสัทธา คือ มีความยึดมั่นใน พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ อันเป็นสรณะที่พึ่งของชีวิตอย่างแท้จริง ในขั้นตอนนี้ เป็นการเริ่มต้นด้วยปัญญาเห็นธรรม คือ ให้ความสำคัญในการทำความดีให้แก่ตนเอง นั่นคือ การกระทำด้วยกุศลเจตนา (กุศลกรรม) ด้วยความฉลาดและรอบรู้ในเหตุแห่งความเจริญไพบูลย์ของชีวิต เห็นคุณค่าในตนเองที่จะทำกรรมดี นั่นคือ สัทธา ๒ อันแสดงเป็น กฎธรรม (Natural Law) ที่อธิบายเกี่ยวกับ การกระทำกับผลที่เกิดขึ้น ได้แก่ (๑) กฎแห่งกรรม ที่เป็นความเชื่ออย่างมีเหตุผลใน กัมมสัทธาวิปากสัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ และ เชื่อผลของกรรม ที่เรียกอีกอย่างว่า กัมมผลสัทธา (๒) กฎกรรมของสัตว์ ที่เป็นความเชื่ออย่างมีเหตุผลใน กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว นั่นคือ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเล็งเห็น ความสำคัญทางพฤติกรรมการกระทำของมนุษย์ ที่เรียกว่า กรรม อันมี เจตนาที่นึกคิดในใจ ทำหน้าที่ในการควบคุมหรือปรุงแต่งกิจกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม ก็ตาม ตัวตนของมนุษย์ที่แท้จริง คือ (๑) ร่างกายรูปกาย และ (๒) จิตใจนามกาย ที่ประกอบด้วย ชีวิตินทรีย์ เมื่อรวมกัน เรียกว่า ธรรมกาย คือ ที่ประชุมธรรมทั้งหลายแห่งเบญจขันธ์ ได้แก่ รูปเวทนาสังขารสัญญาวิญญาณ ธรรมทั้งหลายย่อมเกิดจากตรงนี้ กรรมทั้งหลายเกิดอุบัติจากที่ตรงนี้ จิตทั้งหลายมีมูลเหตุจากตรงนี้ และปัญญาทั้งหลายก็กำเนิดจากตรงนี้ นอกจากนี้ สัจจธรรมอันเป็นธรรมชาติก็วิวัฒน์มาจากตรงนี้ การพิจารณาตนเองเป็นภายใน ย่อมพิจารณาเห็นตนเองเป็นภายนอก เช่นกัน การพิจารณาย่อมทำด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อให้เกิดการหยั่งรู้และความรอบรู้ ทุกอย่างมี ใจเป็นประธาน ดังเช่น พุทธพจน์ของ หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด ต. จันทึก อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา ว่า:
รู้อยู่ที่ใจ ดูอยู่ที่ใจ เห็นอยู่ที่ใจ เพ่งอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ ให้เห็นความแจ้ง ความสว่าง ความสงบ ขึ้นในใจ
อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและเห็นด้วย ญาณทัสสนะ และ ปัญญาญาณ ซึ่งเป็นการเห็นด้วย ปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมอันเป็นปรมัตถสัจจะ (ยถา ปชานํ) ตามสภาพเป็นจริง ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะยถาภูตญาณ ซึ่งเกิดจากการบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนากัมมัฏฐาน ที่ประกอบด้วย ๒ อย่าง มีปฏิสังยุตด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ (๑) สมถภาวนาสมถพละเจโตวิมุตติ คือ รูปฌาน ๔ กับ อรูปฌาน ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่เรียกว่า จรณะ (จรณะ ๑๕) คือ ความประพฤติปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชาด้วยความประพฤติประเสริฐ และ (๒) วิปัสสนาภาวนาวิปัสสนาพละปัญญาวิมุตติ คือ อนุปัสสนา ๗ อนุปัสสนา ๑๐ ญาณ ๑๖ วิปัสสนาญาณ ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ ที่เรียกว่า จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง หรือเรียกย่อว่า วิชชา (วิชชา ๓วิชชา ๘) คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษความรู้ประเสริฐ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงเป็น องค์สัพพัญญู (สัพพัญญูญาณจักขุ ๕ = พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ มังสจักขุตาเนื้อ ๑ ทิพพจักขุตาทิพย์ ๑ ปัญญาจักขุตาปัญญา ๑ พุทธจักขุตาพระพุทธเจ้า ๑ สมันตจักขุตาเห็นรอบ) ประการสำคัญยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้รอบสามารถเห็นธรรมทั้งหลายโดยไม่วิปริต ที่จริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอื่น ที่ประกาศพระศาสนาสืบมาถึงปัจจุบันนี้ได้ ด้วยอำนาจแห่ง ตถาคตพลญาณ ๑๐ ที่เรียกว่า ทศพลญาณ ดังนี้
ทศพลญาณ หมายถึง พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง ได้แก่ (๑) ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้ กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรม เกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน (๒) กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน (๓) สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ปัจจุบัน สัมปรายิกัตถะประโยชน์เบื้องหน้า หรือ ปรมัตถะประโยชน์สูงสุด คือ รู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร (๔) นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่าย อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม) และฝ่าย อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่ อสังขตธาตุ คือ นิพพาน) เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิ การปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น (๕) นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปต่างๆ กัน (๖) อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่าย หรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๗) ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติทั้งหลาย (๘) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ (๙) จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม (๑๐) อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าพระปรีชาญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ กรรม เพราะฉะนั้น องค์ความรู้ดังกล่าวนี้ จึงเกี่ยวกับการให้บุคคลเลือกประพฤติความดีอันเป็นกุศลแก่ชีวิตตนเอง นั่นคือ กุสลธัมมานุโยคการหมั่นประกอบกุศลธรรม แต่พระธรรมของพระองค์นั้น คงประมวลรวมลงที่ พุทธโอวาท ๓ เพื่อเปลี่ยนกรรมหรือการตัดกรรมใหม่ปิดกรรมเก่าไม่ให้เกิดขึ้นอีก ดังนี้
พุทธโอวาท ๓ หมายถึง ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ ๓ ข้อ ซึ่งรวมอยู่ใน โอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญ เดือน ๓ ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา ได้แก่ (๑) สพฺพปาปสฺส อกรณํ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง (๒) กุสลสฺสูปสมฺปทา ทำแต่ความดี (๓) สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
เพราะฉะนั้น พุทธโอวาท ๓ ดังกล่าวนี้ จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับ กฎแห่งกรรมกฎกรรมของสัตว์ นั่นคือ (๑) เป็นผู้รู้ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง คือ อธิปัญญาสิกขา = สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ นั่นคือ เริ่มด้วยปัญญา (๒) เป็นผู้ตื่น ทำแต่ความดี คือ อธิสีลสิกขา = สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ นั่นคือ ดำเนินด้วยปัญญา (๓) เป็นผู้เบิกบาน ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ คือ อธิจิตตสิกขา = สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ นั่นคือ นำไปสู่ปัญญาอันยิ่ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงให้มุ่งเน้นประพฤติปฏิบัติตนด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘อริยอัฏฐังคิกมรรค ที่ดำเนินไปตาม แนวทางสายกลางแห่งปัญญา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ที่ประมวลลงที่ ไตรสิกขา (ศีลสมาธิปัญญา) เพื่อให้เกิด ปัญญาเห็นธรรม (ญาณทัสสนะ) กับ ปัญญาตรัสรู้ (สัมมาโพธิญาณ) นั่นคือ อริยสัจจ์ ๔ คือ (๑) ทุกขสัจจ์ทุกขอริยสัจจ์ คือ ความจริงอันประเสริฐกับสภาพแห่งทุกข์ (๒) สมุทัยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ คือ ความจริงอันประเสริฐกับเหตุแห่งทุกข์ (๓) นิโรธสัจจ์ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ คือ ความจริงอันประเสริฐกับสภาวะที่ปราศจากกิเลสและทุกข์ (๔) มรรคสัจจ์ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ คือ ความจริงอันประเสริฐกับการเจริญปฏิปทาอันยิ่งเพื่อดับกิเลสและทุกข์ เรียกสามัญว่า ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค ในกระบวนการตัดกรรมไม่ให้เกิดขึ้นอีก คือ การเจริญอริยมรรค (อริยมรรค ๔อริยมรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔) โดยให้พิจารณาถึงจริยาความประพฤติที่เกิดควบคู่กับอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยสัมปยุตต์กับ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ (อริยมรรค ๔ = โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค โดยมุ่งดับสังโยชน์ทั้ง ๑๐ อย่าง) ดังนี้ (๑) สัมมาทิฏฐิ เพราะประพฤติด้วยการทำนิพพานให้ประจักษ์ = ทัสสนจริยา (๒) สัมมาสังกับปะ เพราะพระพฤติปลูกฝังจิตไว้ในอารมณ์นั้น = อภิโรปนจริยา (๓) สัมมาวาจา เพราะประพฤติยึดวจีสังวร ๔ อย่างของสัมมาวาจานั้น = ปริคคหจริยา (๔) สัมมากัมมันตะ เพราะประพฤติตั้งอยู่ในกายสังวร ๓ อย่าง =สมุฏฐานจริยา (๕) สัมมาอาชีวะ เพราะประพฤติผ่องแผ้ว หรือ ปริสุทธจริยาประพฤติบริสุทธิ์ = โวทานจริยา (๖) สัมมาวายามะ เพราะประพฤติประคองใจ = ปัคคหจริยา (๗) สัมมาสติ เพราะประพฤติตั้งมั่น = อุปัฏฐานจริยา (๘) สัมมาสมาธิ เพราะประพฤติไม่ฟุ้งซ่าน = อวิกเขปจริยา
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงค้นพบระบบควบคุมจิตใจและร่างกายของมนุษย์ ให้เป็น ผู้ประเสริฐอริยชนอริยบุคคล มีค่านิยมแห่งความศรัทธาและเลื่อมใสใน เมตตากรุณาวิริยะปัญญา หรือมีข้อประพฤติปฏิบัติอันเป็นปฏิปทาอันยิ่งยวด ที่จะสนับสนุน ความเป็นพุทธะ (โพธิสมภาร) ที่เรียกว่า ทศบารมีบารมี ๑๐ ดังนี้
ทศบารมีบารมี ๑๐ หมายถึง คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า บารมีทั้ง ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบ ๓ ขั้น (๑) บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด = ขั้นต้น (๓) อุปบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด = ขั้นจวนสูงสุด (๓) ปรมัตถบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด = ขั้นสูงสุด ได้แก่ (๑) ทาน คือ การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์ (๒) ศีล คือความประพฤติถูกต้องสุจริต (๓) เนกขัมมะ คือความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ การออกบวช (๔) ปัญญา คือความรอบรู้เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหาและดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ (๕) วิริยะ คือความเพียรแกล้วกล้าบากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ (๖) ขันติ คือความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส (๗) สัจจะ คือความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง (๘) อธิษฐาน คือความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ (๙) เมตตา คือ ความรักความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข (๑๐) อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหว ไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ
นอกจากนี้ ความเป็นพุทธมามกะที่ดีนั้น ยังประกอบด้วยคุณธรรมที่เกื้อหนุนปัญญา (ปัญญาคืออาวุธ) และเป็นผู้แกร่งกล้าอาจหาญ ที่จะทำหน้าที่สืบทอดพระศาสนา ได้อย่างไม่เกรงกลัวพวก ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ผู้กล่าว ปรัปวาท [ปะ-รับ-ปะ-วาด] คือ คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของพวกลัทธิอื่นผู้วิปริต แต่ไม่ใช่เป็นการก่อทะเลาะวิวาทให้โทษแก่กัน อันไม่สร้างสรรค์ความสงบในสังคม ดังนี้
อริยทรัพย์ ๗ หมายถึง ทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม (๓) หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำความชั่ว (๔) โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว (๕) พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก (๖) จาคะ คือ ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (๗) ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ
อริยวัฑฒิ ๕อารยวัฒิ ๕ หมายถึง ความเจริญอย่างประเสริฐ หลักความเจริญของอารยชน ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผล (๒) ศีล คือ ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต (๓) สุตะ คือ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ (๔) จาคะ คือ การเผื่อแผ่เสียสละ เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจช่วยเหลือ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว (๕) ปัญญา คือ ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
เวสารัชชกรณธรรม ๕ หมายถึง ธรรมทำความกล้าหาญ คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) ศีล คือ ความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลธรรม (๓) พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก (๔) วิริยารัมภะ คือ ปรารภความเพียร คือ การที่ได้เริ่มลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้นๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง (๕) ปัญญา คือ ความรอบรู้ เข้าใจชัดในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และรู้ที่จะจัดการ
เมื่อ พุทธศาสนิกชนเป็นผู้เจริญด้วย ตถาคตโพธิสัทธา นั้น จึงไม่ใช่ความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา ถ้าไม่รู้จริง (อวิชชา) ก็ควรทำการศึกษา (สิกขา) ให้เกิดความรอบรู้อย่างแท้จริงในพระธรรม ที่ดำเนินด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ประมวลลงที่ ไตรสิกขา ได้แก่ (๑) ศีลอธิสีลสิกขา คือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๒) สมาธิอธิจิตตสิกขา คือ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ และ (๓) ปัญญาอธิปัญญาสิกขา คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความตรัสรู้ใน อริยสัจจ์ ๔ เพราะฉะนั้น ความเป็นพุทธะของศาสนิกชนทั้งหลายนั้น นอกจากจะเป็น ภาวิตัตต์มัคคสมังคีผลสมังคี ที่สัมปยุตต์ด้วยภาวะอันถูกต้องใน สัมมัตตะ ๑๐ (อริยมรรคมีองค์ ๘สัมมาญาณสัมมาวิมุตติ) แล้ว ยังตังเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย อนุตตริยะ ๓ ในเวลาเดียวกัน ดังนี้
อนุตตริยะ ๓ หมายถึง ภาวะที่ยอดเยี่ยมสิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม คือ ปัญญาเห็นธรรมแห่งญาณทัสสนะ (๒) ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันเยี่ยม คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ (๓) วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยม คือ พ้นกิเลสและกองทุกข์แห่งนิพพาน
ฉะนั้น พระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาแห่งการเรียนรู้ (Learning Religion) ผู้ที่เป็นพุทธมามกะทั้งหลาย จึงต้องมีฐานะเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้ (ไตรสิกขาพาหุสัจจะ = Learning People) เช่นกัน สังคมของชาวพุทธก็ต้องเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ (KnowledgeBased Society) อีกเช่นกัน แล้วภูมิใจไหมที่เป็นชาวพุทธ! ถ้าภูมิใจก็อย่าได้แต่อ้างว่าเป็นพุทธ แต่ด้อยปัญญาในพระศาสนา ถ้าอย่างนี้ ระงับความโง่นั้นเสีย และเริ่มศึกษาพระธรรมให้เป็นสิริมงคลในชีวิตดีกว่า อย่ามีชีวิตอยู่โดยไม่รู้อะไรจริงในพระศาสนา ให้รู้แก่นแท้ของพระศาสนาอย่างแท้จริง ไม่เสียชาติเกิด ภาวะนี้เป็นความจริงแน่นอน ให้ถือปฏิบัติ อย่าดื้อนะ! พูดให้รู้เรื่องเข้าใจภาษากันหน่อย จื่อบ่?...ขะนอย! อย่าให้ว่าวหลายก้อนคำ. ว่าวแล้วอย่าหน้ามีนปึกหลาย. ฟังแน่เดอ...ขะนอย! เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาจึงต้องเจริญกรรมฐาน มนสิการกรรมฐาน ให้มาก เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญาทั้งหลาย ซึ่งผลลัพธ์ คือ มีความฉลาดเชี่ยวชาญ รู้แจ้งโลก ทั้งทางโลกและทางธรรม อันเป็นคุณบทแห่งอริยบุคคล โดยมีหลักปฏิบัติที่พึงพิจารณาน้อมใส่ตน ชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา ๓ ดังนี้
อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ (๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๒) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (๓) ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับพุทธบริษัทแล้ว ควรพิจารณาข้อประพฤติปฏิบัติ อันเป็นปฏิปทาอันยิ่งยวดตามคำสอนของพระศาสดา นั่นคือ สังวร ๕พระสัตถุสาสน์ ๗พระสัตถุสาสน์ ๘ เพื่อป้องกันการหลงทางในการปฏิบัติธรรม ถ้าศีลวัตรใดที่มีข้อประพฤติปฏิบัติไม่สอดคล้องกันธรรมดังกล่าวนี้ ให้พึงพิจารณาว่าเป็นเรื่อง ความคิดเห็นความฉลาดเชี่ยวชาญความพิเศษ เฉพาะของบุคคลนั้น ซึ่งอาจเป็นกุสโลบายในการปฏิบัติเฉพาะตนในการแก้ทางจริตของตนให้บรรลุธรรมก็ได้ เช่น การใช้คำบริกรรมในการเจริญภาวนาที่แตกต่างกันตามสำนักปฏิบัติธรรมในการเจริญอานาปานสติ ได้แก่ (๑) พุทโธ! (๒) อรหันต์! (๓) ยุบหนอพองหนอ! หรือ ไม่ใช้คำบริกรรมเหล่านี้ (๔) อาจใช้การกำหนดสติตามพิจารณาลมหายใจเข้าออกด้วยความเงียบก็ได้ วิธีข้อปฏิบัติเหล่านี้ เป็นแค่อุบายช่วยหาสิ่งที่เหมาะสมเกื้อกูลการเป็นสมาธิจิตให้รวดเร็วตามจริตของแต่ละคน เหมือนการเลือกประเภทของกรรมฐานให้ตรงกับจริตของแต่ละคน ดังนี้
สังวร ๕ คือ ความสำรวมความระวังปิดกั้นบาปอกุศล เรียกอีกอย่างว่า สังวรศีล หมายถึง ศีลคือสังวรความสำรวมเป็นศีล ได้แก่ สังวร ๕ อย่าง ดังนี้ (๑) ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาฏิโมกข์ (๒) สติสังวร สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลธรรมเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น = อินทรียสังวร (๓) ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัย ๔ = ปัจจัยปัจจเวกขณ์ (๔) ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ (๕) วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิ = อาชีวปาริสุทธิ
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗ หลักกำหนดธรรมวินัยทั้ง ๗ กล่าวคือ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง ไม่หลงใหลเคลิบเคลิ้ม (๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ไม่ยึดติดรัดตัว เป็นอิสระ การสำรอกกิเลส (๓) นิโรธ คือ การดับกิเลส หมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ การสงบระงับกิเลส (๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่ง ความรู้ชัด ปัญญาอันยิ่ง (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน คือ นิพพานแห่งอมตธาตุ ความดับสนิทแห่งกิเลส ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่า เป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุสาสน์ คือ คำสอนของพระศาสดา หมวดนี้ตรัสแก่พระอุบาลี
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ หลักกำหนดธรรมวินัยทั้ง ๘ กล่าวคือ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ (๑) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ หรือเสริมความติดใคร่ (๒) วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์ (๓) อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่ ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่ (๕) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ (คือ ยินดีตามที่ได้ยินดีตามกำลังยินดีตามสมควร) (๖) ปวิเวก คือ ความสงัด ความปลีกออก มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ (คือ กายวิเวกจิตตวิเวกอุปธิวิเวก = อสังสัคคะ) (๗) วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร ปรารภความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน (๘) สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่า เป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุสาสน์ คือ คำสอนของพระศาสดา หมวดนี้ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
ในการเลือกเข้าไปปฏิบัติธรรมตามสำนักวิปัสสนาต่างๆ นั้น ต้องระวังเจ้าสำนักให้มาก ว่าท่านดำรงกิจอยู่ตามเกณฑ์ข้างต้นหรือไม่ มิฉะนั้น ท่านจะกลายเป็นผู้สร้างอกุศกรรมเอง เพราะไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้ดี วิบากที่ตามมาจากเจตนาที่ผิด คือ เสียเวลาเพราะเผชิญกับสัทธรรมปลอม โดยเฉพาะพวกมารที่เกาะกลุ่มอยู่รอบข้างเจ้าสำนึก ที่ทำหน้าที่เป็นตัวชงงานให้เจ้าสำนัก ยิ่งรวยก็ต้องยิ่งระวังตัวให้มากขึ้นเท่าตัว มิฉะนั้น โดนแน่ (ไปสว่างกลับมืด ไปมืดกลับยิ่งมืดอีก) การไตร่ตรองสืบสวนให้ดีนั้น เพราะอาจมีบางเจ้าสำนักนั้น สำคัญตนผิดใน อธิคมธรรมอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็น ความฟุ้งซ่านแห่งวิปัสสนูปกิเลส ที่เรียกว่า ธรรมุธัจจ์ธัมมุทธัจจะ คือ ความสำคัญผิดในธรรมว่าตนได้บรรลุธรรมวิเศษนี้แล้ว (ฌานสมาบัติมรรคผลนิพพาน) บางทีตั้งตนเป็นศาสดาเสียเอง ก็คงจะบ้าไปแล้ว! เพราะไม่มีวาสนา ไม่มีพระอริยสงฆ์เป็นกัลยาณมิตร ขาดครูอาจารย์ที่ดี (อริยบุคคลพระอรหันต์) บกพร่องสิ้นบุญในวาสนาข้อธรรม ที่เรียกว่า อนุตตริยะ ๖ อันเกิดจากศรัทธา ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคต หรือ รตนัตตยสัทธา คือ เชื่อพระรัตนตรัย (รวมทั้งความเชื่อประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา ทำให้เจตนานั้นไม่เป็นพิษด้วยมิจฉาทิฏฐิ ที่เรียกว่า กัมมผลสัทธา คือ เชื่อกรรมและผลของกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม) ดังนี้
อนุตตริยะ ๖ หมายถึง ภาวะที่ยอดเยี่ยมสิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม คือ ปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ (๒) สวนานุตตริยะ การสดับที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้สดับธรรมของพระพุทธเจ้า (๓) ลาภานุตตริยะ การได้ที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ได้ดวงตาเห็นธรรม (๔) สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิตต์ และ อธิปัญญา (๕) ปาริจริยานุตตริยะ การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้ พระตถาคต และ ตถาคตสาวก (พระอรหันตขีณาสพ) อันประเสริฐกว่า การที่จะบูชาไฟ พวกเครื่องรางของขลัง หรือ บำรุงบำเรออย่างอื่น เพราะช่วยให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง (๖) อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ล่วงพ้นทุกข์ได้
แต่ในอีกกรณีหนึ่งนั้น ผู้มีบุญวาสนาได้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ด้วยความมีปัญญาเป็นเลิศดีแล้ว ผู้ประกอบด้วย สัมมัตตะ ๑๐ คือ ภาวะอันถูกต้องสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘สัมมาญาณ ๑สัมมาวิมุตติ ๑ แค่ได้ฟังพระธรรมของพระตถาคต ย่อมสำเร็จลุถึงภาวะอันเยี่ยมด้วยธรรม ๓ ประการ ดังนี้
อนุตตริยะ ๓ หมายถึง ภาวะที่ยอดเยี่ยมสิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม คือ เห็นธรรม (๒) ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันเยี่ยม คือ มรรคมีองค์ ๘ (๓) วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยม คือ พ้นกิเลสและกองทุกข์
ฉะนั้น การสร้างกรรมกุศลที่ดีด้วยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรม มัชฌิมาปฏิปทา นั้น ต้องประกอบด้วย คุณ ๕ ประการ (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233 -235 FILE 17) ได้แก่ (๑) ความมักน้อยอัปปิจฉะ (๒) ความสันโดษสันโตสะ (๓) ความขัดเกลากิเลสสัลเลขะ (สัลเลขัฏฐญาณ) (๔) ความเป็นผู้เลี้ยงง่ายสุภรตา (๕) การปรารภความเพียรวิริยารัมภะ
คุณ ๕ ข้อ นี้ (ความมักน้อยความสันโดษความขัดเกลากิเลสความเป็นผู้เลี้ยงง่ายและการปรารภความเพียร) ของภิกษุนั้นบริบูรณ์อย่างนี้แล้วก็จักช่วยให้ กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์
ในจำนวนคุณธรรมทั้ง ๕ นั้น กถาวัตถุ ๓ ประการ คือ ความเป็นผู้มักน้อยความสันโดษและการปรารภความเพียร รวมกันเข้าได้กับ สัลเลขธรรม อันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง ได้แก่ (๑) สะดวกแก่การเปิดเผยจิตออกจากกิเลส (๒) เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียวความหน่ายสิ้นเชิง (๓) เป็นไปพร้อมเพื่อวิราคะการสำรอกกิเลส (๔) เป็นไปพร้อมเพื่อนิโรธะการดับกิเลส (๕) เป็นไปพร้อมเพื่ออุปสมะ การสงบระงับกิเลส (๖) เป็นไปพร้อมเพื่ออภิญญาปัญญาอันยิ่ง (๗) เป็นไปพร้อมเพื่อสัมโพธะการตรัสรู้ (๘) เป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพานความดับสนิทแห่งกิเลส
ฉะนั้น กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์ ก็จักช่วยให้ สิกขา ๓ บริบูรณ์ เช่นกัน ดังนี้
กถา ๔ นี้คือ สงเคราะห์เข้าใน อธิสีลสิกขา เท่านั้น ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๑) อัปปิจฉกถา คือ กถาว่าด้วยความมักน้อย (๒) สันโตสกถา คือ กถาว่าด้วยความสันโดษ (๓) อสังสัคคกถา คือ กถาว่าด้วยความไม่ระคนด้วยหมู่คณะ (๔) สีลกถา คือ กถาว่าด้วยเรื่องศีล
กถา ๓ นี้ สงเคราะห์เข้าใน อธิจิตตสิกขา เท่านั้น ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ (๑) ปวิเวกกถา คือ กถาว่าด้วยความสงัด (๒) วิริยารัมภกถา คือ กถาว่าด้วยการปรารภความเพียร (๓) สมาธิกถา คือ กถาว่าด้วยเรื่องสมาธิ
กถา ๓ นี้ สงเคราะห์เข้าใน อธิปัญญาสิกขา เท่านั้น ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ (๑) ปัญญากถา คือ กถาว่าด้วยเรื่องปัญญา (๒) วิมุตติกถา คือ กถาว่าด้วยเรื่องวิมุติ (๓) วิมุตติญาณทัสสนกถา คือ กถาว่าด้วยเรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
เมื่อ สิกขา ๓ บริบูรณ์ จะช่วยให้ กองแห่งอเสกขธรรม ๕ อย่างบริบูรณ์ ดังนี้ (๑) อธิสีลสิกขาบริบูรณ์ ก็จะเป็น กองแห่งศีล ที่เป็นอเสกขะ (๒) อธิจิตตสิกขาบริบูรณ์ ก็จะเป็น กองแห่งสมาธิ ที่เป็นอเสกขะ (๓) อธิปัญญาสิกขาบริบูรณ์ ก็จะเป็น กองแห่งปัญญาวิมุตติ ที่เป็นอเสกขะ (๔) อธิปัญญาสิกขาบริบูรณ์ ก็จะเป็น กองแห่งวิมุตติญาณทัสสนะ ที่เป็นอเสกขะ (๕) กองแห่งอเสกขธรรม ๔ บริบูรณ์ ก็จะช่วยให้ อมตนิพพานบริบูรณ์ ที่เป็นอเสกขะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์ใน คุณ ๕ ข้อ นี้ ได้แก่ ความมักน้อยความสันโดษความขัดเกลากิเลสความเป็นผู้เลี้ยงง่ายและการปรารภความเพียร (ดูเปรียบเทียบกับ สัตถุสาสน์ ๗ และ สัตถุสาสน์ ๘ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) ภิกษุผู้ดำเนินปฏิบัติบริบูรณ์แล้ว ก็จะช่วยให้คุณธรรมเริ่มตั้งแต่ กถาวัตถุ ๑๐ จนกระทั่งถึง อมตนิพพานบริบูรณ์ ภิกษุนี้ ปฏิบัติปฏิปทาแห่งธรรมทายาท แล้วจักได้เป็นอริยสาวกตถาคต ที่เรียกว่า ธรรมทายาทผู้พร้อมถึงความยอดเยี่ยม ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ประการสำคัญยิ่งอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่จะบรรลุถึงความเป็นอริยบุคคลได้นั้น นอกจาก คุณ ๕ ข้อ ดังกล่าวนั้น ย่อมประกอบด้วย ปัญญาเห็นธรรม ใน สัทธา ๔ ทั้ง ๒ หมวด และ สัทธา ๒ ดังนี้
สัทธา ๔ หมายถึง (๑) เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล (๒) ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ความเลื่อมใสซาบซึ้งชื่นใจ สนิทใจเชื่อมั่น มีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตาม ไปรับคุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ หรือ (๓) ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหล ตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ฉะนั้น ความศรัทธานี้ ไม่ใช่ความหลงใหลงมงาย ได้แก่ (๑) อาคมนสัทธาอาคมนียสัทธาอาคมสัทธา คือ ความเชื่อความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี (ทศบารมี) ที่เรียกว่า โพธิสมภารมหาโพธิสมภาร คือ ปฏิปทาอันยิ่งยวด เพื่อการตรัสรู้ถึง ความเป็นพระพุทธเจ้า (๒) อธิคมสัทธาอธิคมนสัทธา คือ ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ ตามพระสัตถุสาสน์ของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า (๓) โอกัปปนสัทธาโอกัปปนียสัทธาอธิโมกขสัทธา คือ ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่วเมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง ที่เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี นั่นคือ คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์ ซึ่งเป็นเรื่อง วิริยะ (ขันติ)ปัญญา (๔). ปสาทสัทธา คือ ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง นั่นคือการสดับฟังธรรม การสนทนาธรรม หรือการแสดงพระธรรมของผู้รู้ สัตบุรุษ ปราชญ์แห่งมุนี อริยบุคคล อริยสาวกตถาคต เป็นต้น ข้อนี้ไม่สาธารณ์แก่พวกลัทธินอกพระพุทธศาสนา ได้แก่ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเดียรถีย์เดียรถีย์ติตถิยะอลัชชี หรือพวกวัตถุวิบัติ ที่เรียกว่า ติตถิยปักกันตกะ คือ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้
สัทธา ๔ หมายถึง ความเชื่อความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ได้แก่ (๑) กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความดีความชั่วมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และ เชื่อว่า ผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น (๒) วิปากสัทธา คือ เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว (๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน (๔) ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง ๙ ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
สัทธา ๔ ดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นชุดสืบๆ กันมา ที่คนไทยรู้จักกันมาก ซึ่งจัดรวมขึ้นภายหลัง แต่ศรัทธาที่มีหลักฐานมาในคัมภีร์ (ชั้นอรรถกถา) ได้แก่ สัทธา ๒ ดังนี้
สัทธา ๒ หมายถึง ความเชื่อความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ได้แก่ (๑) กัมมผลสัทธา คือ เชื่อกรรมและผลของกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม (๒) ตถาคตโพธิสัทธารตนัตตยสัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคต หรือ เชื่อพระรัตนตรัย
ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า สภาวธรรมที่เกิดดับขึ้น ไม่มีความบังเอิญ แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลาย มาประชุมกัน มาตั้งรวมกัน แล้วย่อมดังเสื่อมไป เป็นธรรมดา ถ้าในกรณีของผู้มีบุญวาสนา คือ สร้างความดีกุศลผลบุญเป็นบารมีปฏิปทาอันยิ่ง ย่อมเกิด ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖) คือ ปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ นั่นคือ ภพภูมิในปัจจุบันก็มักจะพบแต่สิ่งดีๆ ไม่มีอุปสรรค หรือมี มาร ๕ มารบกวนน้อย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม คำว่า มาร ๕ หมายถึง สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุผลสำเร็จอันดีงาม ได้แก่
(๑) กิเลสมาร มารคือกิเลส กิเลสเป็นมาร เช่น อวิชชา ตัณหา ทิฏฐิ เพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
(๒) ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ เป็นมาร ได้แก่ รูป เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ซึ่งอาจหมายถึง ร่างกายกับชีวิตจิตใจ (นั่นคือ อุปธิวิบัติ = ร่างกายวิกลวิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้นหมายถึง สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคมาก บางทีบวกกับ วิบัติ ๔ ทั้งหมด คติวิบัติ คือ คติเสีย เกิดในกำเนิดต่ำทราม หรือที่เกิดอันไร้ความเจริญ ๑ กาลวิบัติ คือ กาลเสีย เกิดอยู่ในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่ว บีบคั้นคนดี ๑ ปโยควิบัติ คือ วิบัติแห่งการประกอบ กิจการเสีย ฝักใฝ่ในทางที่ผิดประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว เมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจด ใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบความดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่วหักล้างเสียในระหว่าง ๑) เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไป เพราะ ชาติ ชราพยาธิ เป็นต้น ล้วนรอนโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่ หรือบำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนาอย่างแรง อาจถึงกับพรากโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง
(๓) อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร หรือ อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม (กุศลเจตนาหรืออกุศลเจตนา หรือ โลกธรรม ๘ ทั้งหลาย) ทำให้เกิด ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังสารทุกข์
(๔) เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร คือ เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจรตนหนึ่ง ชื่อว่า มาร เพราะเป็นนิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้ห่วงพะวงในกามสุขไม่หาญเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่ได้
(๕) มัจจุมาร มารคือความตาย คือ ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาสที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย
หรือในอีกกรณีหนึ่ง ถ้าบวชก็ได้พระอุปัชฌายะที่มีเมตตากรุณา (พระอรหันตขีณาสพ) ได้เจอพระสัทธรรมที่แท้จริง ไม่เสียเวลามากในการฝึกฝนเจริญภาวนา สภาวธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ ย่อมดำเนินไปตาม การตัดสินใจเลือก อันมีเจตนาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในการก่อกรรมทั้งหลาย คือ เจตนาธรรมสัญเจตนา เป็นเหตุปัจจัยในการปรุงแต่งกรรมทั้งหลาย ที่เรียกว่า อภิสังขาร ๓ ดังนี้
อภิสังขาร ๓ หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่ง ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ เจตนาที่เป็นตัวการใน การทำกรรมกรรม ๓ นั่นคือ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑ ได้แก่ (๑) ปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร (กามสุคติภูมิ ๗ = มนุษย์ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) และ รูปาวจร (ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน = รูปาวจรภูมิ ๑๖) ซึ่งเป็นบาทวิถีให้เกิด อาเนญชา (อรูปาวจรจิต) และ ปัญญาวิปัสสนาญาณทัสสนะ (๒) อปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย นั่นคือ อกุศลผลวิบากในทุคติแห่ง อบาย ๔อบายภูมิ ๔ หมายถึง ภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ ได้แก่ นิรยะ คือ นรก สภาวะหรือที่อันไม่มีความสุขความเจริญ ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย ๑ ติรัจฉานโยนิ คือ กำเนิดดิรัจฉาน พวกมืดมัวโง่เขลา ๑ ปิตติวิสัย คือ แดนเปรต ภูมิแห่งผู้หิวกระหายไร้สุข ๑ อสุรกาย คือ พวกอสูร พวกหวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง (๓) อาเนญชาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา ฌานสมาบัติ สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็น อรูปาวจร ๔ (อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะอากิญจัญญายตนะเนวสัญญานาสัญญายตนะ) หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วย สมาธิแห่งจตุตถฌาน ขึ้นไป เพื่อเป็นปทัฏฐานในวิปัสสนาต่อไปใน โลกุตตรภูมิ
ด้วยเหตุนี้ โลกทัศน์ (Worldview) หรือ กระบวนทัศน์ (Paradigm) นั้น อันเป็นกระบวนประมวลผลทางความนึกคิดในใจ มโนภาพจินตนาการ (Imaginations) ทั้งหลาย ย่อมเป็นปัจจัยภายในตนที่จะกำหนดสิทธิ์ในการตัดสินใจเลือกทำกรรมต่างๆ ตาม เจตนาสัญเจตนา = Volitions (อุปนิสัยใจคอสัญชาติญาณ ที่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองหมักดองในพื้นจิตตสันดานนั้นๆ เช่น อนุสัย ๗อาสวะ ๔ สังโยชน์ ๑๐ หรือ อาจเป็นฝ่าย กุศลอาเนญชาโลกุตตระ = กุศลธรรมอัพยากตธรรม) ที่เป็นจิตดั้งเดิมที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งหมายถึง ภาวะจิตที่แปรปรวน อันประกอบด้วย ธรรม ๓ เพียงแต่ว่า ใครผู้ใดจะมีธรรมอะไรที่เป็นภูมิดั้งเดิมของตนติดตัวมาจำนวนมากน้อยแค่ไหน เช่น โสดาบัน ๓ หมายถึง ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ผู้แรกถึงกระแสอันนำไปสู่พระนิพพานแน่ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า ได้แก่ (๑) เอกพีชี คือ ผู้มีพืชคืออัตภาพอันเดียว นั่นคือ เกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต (๒) โกลังโกละ คือ ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือ เกิดในตระกูลสูงอีก ๒๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก ๒๓ ภพ ก็จักบรรลุอรหัต (๓) สัตตักขัตตุงปรมะ คือ ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือ เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต ดังนี้
ธรรม ๓ หมายถึง สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ ให้พิจารณาใน ปรมัตถสัจจะ ได้แก่ (๑) กุศลธรรม คือ ธรรมที่เป็นกุศล สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่ กุศลมูล ๓ ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นก็ดี กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน สุจริต ๓ ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ ๔ (๒) อกุศลธรรม คือ ธรรมที่เป็นอกุศล สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล ได้แก่ อกุศลมูล ๓ และกิเลสอันมีฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น ก็ดี นามขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น ก็ดี กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ทุจริต ๓ ก็ดี กล่าวสั้นว่า อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ หรือ อกุศลจิต ๑๒ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ (๓) อัพยากตธรรม คือ ธรรมที่เป็นอัพยากฤต สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ได้แก่ (๑) นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบากแห่ง กุศลธรรม และ อกุศลธรรม เป็น กามาวจรก็ตาม รูปาวจร ก็ตาม อรูปาวจร ก็ตาม โลกุตตระ ก็ตาม (๒) ธรรมทั้งหลายที่เป็น กิริยา มิใช่กุศล มิใช่อกุศล มิใช่วิบากแห่งกรรม (๓) รูป ทั้งปวง (๔) อสังขตธาตุ คือ นิพพาน กล่าวสั้น คือ วิบากในภูมิ ๔กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓รูป ๒๘และนิพพาน ๒ (ธรรมในข้อนี้ ให้พิจารณาเปรียบเทียบกบ อุเบกขา ๑๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จตุตถฌานุเปกขา หรือที่เรียกว่า อุเปกฺขโก เป็นผู้มีอุเบกขา
ฉะนั้น สภาวธรรมที่เป็นที่ปรารถนาของผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา คือ อัพยากตธรรม ที่สหรคตด้วย อุเบกขา ในสภาวธรรมต่างๆ ในการเจริญภาวนา (สมถะวิปัสสนา หรือ ฌานญาณ หรือ สมาธิปัญญา) ในการกำหนดอารมณ์แห่งกรรมฐานให้เป็น อุเบกขาจิตตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก คือ อาการของจิตที่สหรคตด้วยความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ อุเบกขา ทำให้จิตเป็นกลางเที่ยงตรงและมี สติ ที่บริสุทธิ์ คือ ความระลึกได้นึกได้สำนึกอยู่ไม่เผลอ พร้อมด้วยปัญญา ที่เรียกว่า สัมปชัญญะ คือ ความรู้ชัดรู้ชัดสิ่งที่นึกได้ตระหนักเข้าใจชัดตามความเป็นจริง เพราะเกิดปัญญาหยั่งรู้ การลุล่วงถึง อุเบกขา จึงเป็นภาวะจิตที่ถึงพร้อมด้วย สติสัมปชัญญะ (ความไม่ประมาทอัปปมาทะ) เกิดการบรรลุถึงได้มาซึ่ง ปัญญาเห็นธรรม คือ เห็นลักษณะในนามรูปโดยไตรลักษณ์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยปริยาย อุเบกขา ๑๐ มีรายละเอียดดังนี้
อุบกขา ๑๐ หมายถึง เห็นโดยความเข้าถึง ด้วยเห็นเสมอ คือ เป็นผู้ไม่ตกไปในฝักใฝ่เลยเห็น ผู้พร้อมเพรียงด้วย ตติยฌาน เรียกว่า ผู้มีอุเบกขาอุเปกฺขโก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น ซึ่งบริสุทธิ์ไพบูลย์มีกำลัง ได้แก่ ฉฬังคุเบกขา ๑ พรหมวิหารุเบกขา ๑ โพชฌังคุเบกขา ๑ วิริยุเบกขา ๑ สังขารุเบกขา ๑ เวทนุเบกขา ๑ วิปัสสนุเบกขา ๑ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑ ฌานุเบกขา ๑ และ ปาริสุทธิอุเบกขา ๑ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 510 -513 FILE 68) ดังนี้ (๑) ตัตรมัชฌัตตุเปกขา คือ อุเบกขาที่นำสหชาตธรรมไปเสมออันมาใน เยวาปนกธรรม ได้แก่ ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ กรุณา ๑ มุทุตา ๑ กายทุจริตวิรัติ ๑ วจีทุจริตวิรัติ ๑ มิจฉาชีววิรัติ ๑ (๒) พรหมวิหารุเปกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายที่จิตแผ่ออกไปทิศหนึ่ง (๓) โพชฌังคุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความเป็นกลางของธรรมอันเกิดร่วมกันที่อาศัย วิเวก คือ ความสงัดที่ปลีกออกจากกิเลส (๔) ฉฬังคุเปกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความไม่ละความเป็นปรกติอันบริสุทธิ์ ในคลอง อารมณ์ ๖ (รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์) ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาใน ทวาร ๖อินทรีย์ ๖ (ตาหูจมูกลิ้นกายใจ) (๕) ฌานุเปกขา คือ อุเบกขาอันยังธรรมที่ไม่ตกไปในฝักฝ่ายให้เกิดในฌานนั้น แม้เป็นสุขอย่างเลิศอยู่ก็ตาม (๖) ปาริสุทธุเปกขา คือ อุเบกขาอันไม่ขวนขวาย แม้ในความสงบจากธรรมเป็นข้าศึก บริสุทธิ์จากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหมด โดยเข้า จตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้ สติ บริสุทธิ์ (๗) วิปัสสนุเปกขา คือ อุเบกขาที่เป็นกลางในการค้นคว้าโดยละสิ่งที่มีที่เป็นด้วยอนัตตตา (๘) สังขารุเปกขา คือ อุเบกขาอันเป็นกลางในความไม่ยึดถือการดำรงอยู่ในความพิจารณา นิวรณ์ ด้วยอำนาจวิปัสสนา (๙) เวทนุเปกขา คือ อุเบกขาที่ไม่รู้ทุกข์ไม่รู้สุขโดยจิตเป็นกามาวจรกุศล (๑๐) วิริยุเปกขา คือ อุเบกขาอันได้แก่ความเพียรไม่ย่อหย่อน ด้วยการปรารภถึงความไม่เที่ยง ที่ใส่ใจถึง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล
อนึ่ง ในการเจริญภาวนานั้น สภาวธรรมทั้งหลายที่นำมามนสิการในกรรมฐานนั้น ล้วนเป็นภาวะจิตของตนเอง (ย่อมสามารถเป็น อิทธิจิต ได้ ซึ่งเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ด้วยอำนาจอัทธาปัจจุบัน) ที่กำลังเป็นไปในขณะนั้น คือ ปัจจุบันอัทธาปัจจุบันนัทธา และที่จะเคลื่อนไปสู่ สัมปรายภพ คือ ภพเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฉะนั้น ปัจจุบันกาล ๓ อย่าง นั้น ประกอบด้วย ช่วงแห่งเวลา ดังนี้ (๑) ขณปัจจุบัน คือ ปัจจุบันที่ถึง อุปปาทขณะฐีติขณะและภังคขณะ (๒) สันตติปัจจุบัน คือ ปัจจุบันเนื่องด้วยวาระเป็นไปติดต่อกันสิ้นในวาระหนึ่งหรือสองวาระ (๓) อัทธาปัจจุบัน คือ ปัจจุบันที่กำหนดด้วยภพหนึ่งไปข้างหน้า สัมปรายภพ
ฉะนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมและวิบากนั้น เพื่อเป็นรับรองเรื่อง กฎแห่งกรรม กับ กัมมัสสกตากฎกรรมของสัตว์ แล้วจะสามารถล่วงรู้ประวัติของตนหรือของผู้อื่นในอดีตได้อย่างไร วิธีที่จะเข้าถึงได้ คือ การบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนาให้ถึง จิตที่เป็นกุศลแห่งจตุตถฌาน (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 581582 FILE 76) ดังนี้
จตุตถฌาน ที่เป็นไปใน บุพเพนิวาส พึงทราบว่าเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) แม้โดยการตามระลึกถึง ชื่อ และ โคตร ในการพิจารณาถึง นิพพาน และ นิมิต นั่นแหละ พึงทราบว่าเป็น อดีตารัมมณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตนั่นเอง ในกาลที่เหลือ แม้จตุตถฌานที่เป็นไปใน ยถากัมมูปคญาณ ก็เป็น อตีตารัมมณะ เหมือนกัน
บรรดา จตุตถฌาน มี บุพเพนิวาสญาณ เป็นต้น เหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณ และ เจโตปริยญาณ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตก็จริง ถึงอย่างนั้น บรรดา บุพเพนิวาสญาณ และ เจโตปริยญาณ เหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณ ก็เป็นธรรมมีขันธ์ในอดีต และเป็นธรรมเนื่องด้วยขันธ์ อะไรๆ ชื่อว่า ไม่เป็นอารมณ์หามีไม่ เพราะ บุพเพนิวาสญาณ นั้น มีคติเสมอด้วย สัพพัญญุตญาณ ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์และธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ในอดีตเป็นอารมณ์ ส่วน เจโตปริยญาณ มีจิตซึ่งผ่านไปภายใน ๗ วันเท่านั้น เป็นอารมณ์ เพราะ เจโตปริยญาณ นั้น ย่อมไม่รู้ขันธ์อื่นหรือธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ แต่โดยปริยาย ตรัสว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะมีจิตสัมปยุตด้วยมรรคเป็นอารมณ์ ส่วน ยถากัมมูปคตญาณ เป็นมรรค คือ เจตนาในอดีตเท่านั้น เป็นอารมณ์ พึงทราบความต่างกัน ดังพรรณนามาฉะนี้
ในฐานะนี้ พึงทราบนัยแห่งอรรถกถา ต่อไป
ก็เพราะตรัสไว้ใน ปัฏฐาน ว่า กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ และ แก่อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ดังนี้ ฉะนั้น ขันธ์แม้ทั้ง ๔ จึงเป็นอารมณ์ของ เจโตปริยญาณ และ ยถากัมมูปตญาณ แม้ในญาณทั้ง ๒ เหล่านั้น ยถากัมมูปคญาณ ก็มีกุศลและอกุศลนั่นแหละเป็นอารมณ์
จตุตถฌาน ที่เป็นไปใน ทิพยจักษุ ชื่อว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันเท่านั้น เพราะสี (วรรณะ) ที่เป็นอารมณ์มีอยู่ จตุตถฌาน ที่เป็นไปใน อนาคตังสญาณ เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตเท่านั้น เพราะ อนาคตังสญาณ นั้น มีคติอย่าง สัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายที่มีขันธ์อนาคตและธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ในอนาคตเป็นอารมณ์เหมือน บุพเพนิวาสญาณ ในบรรดา เจโตปริยญาณ และ อนาคตังญาณ เหล่านั้น แม้ เจโตปริยญาณ จะมีอารมณ์เป็นอนาคตก็จริง ถึงอย่างนั้น เจโตปริยญาณ นั้น ก็ทำจิตที่เกิดขึ้นภายใน ๗ วัน เท่านั้นให้เป็นอารมณ์ อนาคตังสญาณ นี้ย่อมกระทำจิตที่เกิดขึ้นบ้าง ขันธ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์บ้าง ในอนาคตตั้งแสนกัปให้เป็นอารมณ์ได้ (บุคคลเมื่อรำลึกแม้ร้อยปี แม้แสนปี ย่อมระลึกได้และย่อมรู้ได้ อ้างใน: พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 580 FILE 76) ฌานที่ ๓ และ ฌานที่ ๔ ที่เป็นรูปาวจร เป็นต้น พึงทราบว่าเป็น นวัตตัพพารัมมณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์ พึงกล่าวไม่ได้โดยส่วนเดียว เพราะไม่ปรารภธรรมแม้อย่างหนึ่งในธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ให้เป็นไป
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อว่าโดยกุศลแล้ว จตุตถฌาน มี ๑๓ ประเภท (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432435 FILE 78) ดังนี้ (๑) จตุตถฌาน อันเป็น บาทแห่งฌานทั้งปวง (๒) จตุตถฌาน อันเป็น อิทธิวิธิ (๓) จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพโสตญาณ (๔) จตุตถฌาน อันเป็น เจโตปริยญาณ (๕) จตุตถฌาน อันเป็น ปุพเพนิวาสญาณ (๖) จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพจักขุญาณ (๗) จตุตถฌาน อันเป็น ยถากัมมูปคตญาณ (๘) จตุตถฌาน อันเป็น อนาคตังสญาณ (๙) จตุตถฌาน อันเป็น อากาสานัญจายตนฌาน (๑๐) จตุตถฌาน อันเป็น วิญญาณัญจายตนฌาน (๑๑) จตุตถฌาน อันเป็น อากิญจัญญายตนฌาน (๑๒) จตุตถฌาน อันเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (๑๓) จตุตถฌาน อันเป็น โลกุตตรจตุตถฌาน
ในอันดับต่อไปนี้ ให้กำหนดรู้ถึง อารมณ์แห่งจตุตถฌาน ที่เกิดใน อธิคมธรรม ต่างๆ ดังนี้
ในฌานเหล่านั้น จตุตถฌาน อันเป็น บาทแห่งฌานทั้งปวง (อารัมมณูปนิชฌานรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ลักขณูปนิชฌาน วิปัสสนา มรรค และ ผล) เป็น นวัตตัพพารัมมณะ อย่างเดียว (คือ มีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว)
เมื่อภิกษุน้อมกายไปสู่ ฌานที่ ๔ เพื่อทำ อิทธิวิธะ ด้วยอำนาจแห่งจิต (คือ ให้กายไปพร้อมกับจิต) ชื่อว่า เป็น ปริตตารัมมณะ (มีอารมณ์เล็กน้อย = ไม่ชำนาญไม่เติบโต) เพราะความที่ภิกษุนั้น มีกายเป็นอารมณ์ ในขณะที่ทำปาฏิหาริย์ด้วยการอันไม่ปรากฏอยู่ (คือ เมื่อกายไปพร้อมกับจิต กายก็จะไม่ปรากฏ เรียกว่า อทิสสมานกาย = หายตัวได้)
เมื่อภิกษุน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งกาย (คือ ให้จิตไปพร้อมกับกายย่อมปรากฏเห็นได้) กระทำปาฏิหาริย์ด้วยกายอันปรากฏอยู่ ไปสู่พรหมโลก ชื่อว่า เป็น มหัคคตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้น มีจิตในสมาบัติเป็นอารมณ์
ฌานที่ ๔ อันให้สำเร็จ ทิพพโสตญาณ ชื่อว่า ปริตตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้นมีเสียงเป็นอารมณ์
ฌานที่ ๔ อันให้สำเร็จ เจโตปริยญาณ เป็น ปริตตารัมมณะ ในขณะที่รู้จิตอันเป็นกามาวจร เป็น มหัคคตารัมมณะ (มีอารมณ์ที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร) ในเวลารู้จิตอันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร เป็น อัปปมาณารัมมณะ (มีอารมณ์ไม่มีประมาณ) ในเวลารู้จิตอันเป็น โลกุตตระ ก็ปุถุชนผู้ได้ เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชนทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยะทั้งหลาย พระโสดาบัน ย่อมรู้จิตของพระโสดาบัน และปุถุชนทั้งหลาย พระสกทาคามี ย่อมรู้จิตของพระสกทาคามี และบุคคลผู้มีภูมิต่ำกว่า พระขีณาสพย่อมรู้จิตของชนแม้ทั้งหมด
ฌานที่ ๔ อันเป็น ปุพเพนิวาสญาณ เป็น ปริตตารัมมณะ ในขณะที่ระลึกถึงขันธ์อันเป็นกามาวจร เป็น มหัคคตารัมมณะ ในขณะที่ตามระลึกถึงขันธ์ อันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร เป็น อัปปมาณารัมมณะ ในเวลาตามระลึกว่า ในอดีตกาล พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพทั้งหลาย เจริญมรรคแล้วกระทำให้แจ้งซึ่งผล ดังนี้ เป็น นวัตตัพพารัมมณะ ในเวลาที่ตามระลึกถึงชื่อและโคตร
ฌานที่ ๔ อันเป็น ทิพพจักขุญาณ ชื่อว่า เป็น ปริตตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้นมี สี เป็นอารมณ์
ฌานที่ ๔ อันเป็น ยถากัมมูปคตญาณ เป็น ปริตตารัมมณะ ในขณะระลึกถึงกรรมอันเป็นกามาวจร เป็น มหัคคตารัมมณะ ในขณะระลึกถึงกรรม อันเป็นรูปาวจร และอรูปาวจร
ฌานที่ ๔ อันเป็น อนาคตังสญาณ เป็น ปริตตารัมมณะ ในกาลกำหนดรู้ถึงการเกิดขึ้นแห่งกามธาตุในอนาคตกาล เป็น มหัคคตารัมมณะ ในเวลาที่รู้การเกิดขึ้นในรูปภพและอรูปภพ เป็น อัปปมาณารัมมณะ ในการรู้ว่า ในอนาคตกาล พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพทั้งหลาย จักเจริญมรรค จักสำเร็จผล ดังนี้ เป็น นวัตตัพพารัมมณะ ในเวลาที่ระลึกถึงชื่อและโคตร
ฌานที่ ๔ อันเป็น อากาสานัญจายตนะ และ อากิญจัญญายตนะ เป็น นวัตตัพพารัมมณะ
ฌานที่ ๔ อันเป็น วิญญานัญจายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็น มหัคคตารัมมณะ
ฌานที่ ๔ อันเป็น โลกุตตรจตุตถฌาน เป็น อัปปมาณารัมมณะ
อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาตนด้วยการเจริญภาวนานั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย คือ เป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ลำบาก และรู้ผลได้ช้า ที่เรียกว่า ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ข้อ ๑ ในปฏิปทา ๔) คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า คนที่ใจร้อนย่อมบรรลุผลได้ช้า หรือมิฉะนั้น ก็ให้เลิกรากันไปเลย ในการปฏิบัติธรรมนั้น คือ การสร้างกรรมดี กุศลกรรม โดยเริ่มต้นที่ดีที่สุดที่ กุศลกรรมบถ ๑๐ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเข้าใจถึงสมุฏฐานของการปฏิบัติธรรมว่า มีคติหรือมิติทางแนวความคิดที่เป็น ทางสายกลางแห่งปัญญาโดยมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งจะมุ่งเน้นการศึกษาปฏิบัติธรรมด้วย ไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา เพื่อดับปิดกั้น อวิชชา คือ ความไม่รู้จริง และ โมหะ คือ ความหลงใหล เพราะไม่รู้ใน อริยสัจจ์ ๔กาล ๓ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เพราะฉะนั้น ไตรสิกขา ที่สมบูรณ์และบริสุทธิ์นั้น ย่อมทำให้เกิด สติสัมปชัญญะอัปปมาทะ ที่สมบูรณ์และบริสุทธิ์ เช่นกัน คือ ความระลึกรู้ตัวดีชั่วด้วยความไม่ประมาท อันเป็น สามัญสำนึกแห่งพุทธะ ในขั้นนี้ หมายถึง ทุกหน่วยความนึกคิดในใจ ก็คือ กรรมที่ประกอบด้วยเจตนา อันเป็นไปตามความศรัทธาและความเลื่อมใสตาม (๑) กฎแห่งกรรม = กัมมผลสัทธา (๒) กฎกรรมของสัตว์ = กัมมัสสกตาสัทธา (๓) พระปรีชาสามารถในความตรัสรู้ของพระตถาคต = ตถาคตโพธิสัทธา (รตนัตตยสัทธา) ถ้าไม่เข้าใจอย่างประจักษ์ในจุดนี้ ก็คงเป็นการยากมากที่จะเข้าถึง คำว่า กุศลกามาวจรรูปาวจรอรูปาวจรโลกุตตระ ซึ่งเป็นเส้นทางแห่งกระแสพระนิพพาน ที่ต้องดำเนิน (โยนิโสมนสิการแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์) ด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อการตรัสรู้ถึง อริยสัจจ์ ๔ เพราะการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อดับกิเลสและทุกข์ทั้งปวง ก็คือ การสร้างกรรมดี ซึ่งจะให้ผลวิบาก คือ พระนิพพาน ในการจะสร้างกรรมดีได้นั้น ต้องมาจากอุปนิสัยใจคอที่เห็น กุศลกรรม รู้แจ้งใน กฎแห่งกรรม อนาคตที่ดีเกิดจากการทำความดีเป็นกุศลบุญในปัจจุบันนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะกลายเป็น บุญวาสนาสะสมเป็นบารมี ในภพต่อไป (สัมปรายภพ คือ ภพเป็นที่ไปในเบื้องหน้า) คือ การบรรลุความตรัสรู้สัมมาโพธิญาณ ได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น กุศลกรรม ที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นระดับจิตตั้งแต่ (๑) กามาวจรกุศลจิต (๒) รูปาวจรกุศลจิต (๓) อรูปาวจรกุศลจิต และ (๔) โลกุตตรจิต ตามลำดับ อันเป็น กุศลผลวิบากกรรม ที่ผู้อื่นจะมาแย่งหรือมาทำแทนตัวเราได้ยาก ถึงแม้จะแผ่เมตตาจิตให้ ถ้าไม่ลงมือทำเอง ย่อมไม่เกิดกุศลผลวิบากจิตดังกล่าวนี้ได้ ต้องทำเอง ทำแทนกันไม่ได้ เพราะ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง = กัมมัสสกตาปัญญา (ปัญญาสามัญ) เมื่อเกิด ปัญญาเห็นธรรม โดยนัยว่า กุศลกรรมดังกล่าวนี้ เป็นอริยมรรคที่จะนำทางออกจากวัฏฏะแห่งสงสารทุกข์ ก็ย่อมเกิด กัมมัสสกตาญาณแห่งอธิปัญญา โดยอนุโลมได้ จนเป็นบาทวิถีแห่งสามารถสำเร็จมรรคผลได้อย่างแท้จริงด้วยกรรมดีทั้งหลายที่ตนทำสืบเนืองกันมา กล่าวโดยสรุป ดังนี้
(๑) กฎแห่งกรรม ทำให้เห็นการกระทำดีด้วยเห็นผลตามหลักปฏิจจสมุปบาท เพื่อดับกิเลส อวิชชา เพื่อไม่ให้เกิดทุกข์ การเจริญภาวนา เป็นกุศลกรรมในการดับกิเลสและทุกข์ได้ ไม่ใช่การรอคอยผู้มีฤทธิ์มาช่วย ต้องทำเองด้วยตนเองเท่านั้น กฎแห่งกรรม ทำให้เห็น สภาพแห่งทุกข์ในวัฏฏะ เมื่อเจริญฌานถึง จตุตถฌาน ย่อมมีอิทธิฤทธิ์ ใน วิชชาญาณ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ และ ปัญญาหยั่งรู้ เพราะจิตสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ คือ หมดจดสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบานไม่มีมลทินปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ (๑) นามรูปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖) คือ ปัญญาหยั่งรู้ที่กำหนดแยกนามรูป ทำให้เกิด วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ และ (๒) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ นั่นคือ ระลึกชาติได้ ว่าเคยทำกรรมอะไรไว้บ้างในอดีต ซึ่งเป็นผลวิบากกรรมที่กำกับให้มาเกิดในภพปัจจุบันนี้ได้ นอกจากนี้ ยังรวมถึง ยถากัมมูปคตญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้ด้วยสามารถแห่งกาลรู้กรรมของตนและของผู้อื่น อันเกี่ยวเนื่องกับ กัมมัสสกตาของตน โดยตรง นั่นเอง เมื่อจิตเป็น จตุตถฌานกุศลจิต (จิตปฏิสังยุติด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘) มีภาวะตามที่เป็นจริงแห่ง ฌานุเปกขาจิต ย่อมวางตนเป็นกลางในอารมณ์แห่งกรรมฐานนั้นๆ เพราะเกิดปัญญารอบรู้ ที่เห็นนามรูปนั้นโดยไตรลักษณ์ (ที่เรียกว่า สัมมสนญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ ตามข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) คือ ความไม่เที่ยงอนิจจตา ความเป็นทุกข์ทุกขตา และ ความไม่ใช่ตัวตนอนัตตตา (ปัญญาญาณอันเกิดจากอนุปัสสนา ๗) ตามลำดับ ฉะนั้น จิตที่สหรคตด้วยอัปปมัญญาธรรม เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา ดีแล้ว ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายโดย ไม่เสียธรรม คือ ไม่หลงใหลงมงายในบุญอย่างไรเหตุผล
(๒) กฎกรรมของสัตว์ ทำให้ไม่ลังเลสงสัยในการทำดีอันเป็นกุศลกรรมที่ทำให้จิตอยู่ในภูมิแห่งความเจริญในกระแสนิพพาน มีความมั่นใจประคองจิตตั้งมั่นถือมั่นใน อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นปฏิปทาอันยอดเยี่ยม เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญเพียรเจริญภาวนาก้าวลุถึง จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตาแห่งสมาธิ) ดีแล้ว ถึงพร้อมแล้ว และไพบูลย์ยิ่งแล้ว ย่อมเกิด วิชชาญาณ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ และ ปัญญาหยั่งรู้ เพราะจิตสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ ได้แก่ (๑) ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป อันเป็น สาเหตุแห่งทุกข์ โดยพิจารณาสภาวธรรมดังกล่าวนั้นตาม ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หรือ กฎแห่งกรรม หรือ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ธรรมแห่งเหตุปัจจัยในภวจักรหรือสงสารจักร และ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายในสงสารวัฏฏ์ นั่นคือ เห็นสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง ที่เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ (กฎกรรมของสัตว์) อย่างไรก็ตาม เมื่อจิตเป็น จตุตถฌานกุศลจิต (จิตปฏิสังยุติด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘) มีภาวะตามที่เป็นจริงแห่ง ฌานุเปกขาจิต ย่อมวางตนเป็นกลางในอารมณ์แห่งกรรมฐานนั้นๆ เพราะเกิดปัญญารอบรู้ ที่เห็นนามรูปนั้นโดยไตรลักษณ์ (ที่เรียกว่า สัมมสนญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ ตามข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) คือ ความไม่เที่ยงอนิจจตา ความเป็นทุกข์ทุกขตา และ ความไม่ใช่ตัวตนอนัตตตา (ปัญญาญาณอันเกิดจาก อนุปัสสนา ๗ ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนาชวนปัญญา คือ ปัญญาเร็ว (๒) ทุกขานุปัสสนานิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาทำลายกิเลส (๓) อนัตตานุปัสสนามหาปัญญา คือ ปัญญามาก (๔) นิพพิทานุปัสสนาติกขปัญญา คือ ปัญญาคมกล้า (๕) วิราคานุปัสสนาวิบูลปัญญา คือ ปัญญากว้างขวาง (๖) นิโรธานุปัสสนาคัมภีรปัญญา คือ ปัญญาลึกซึ้ง (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนาอัสสามันตปัญญา คือ ปัญญาไม่ใกล้) ตามลำดับ ฉะนั้น จิตที่สหรคตด้วยอัปปมัญญาธรรม เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา ดีแล้ว ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายโดย ไม่เสียธรรม คือ ไม่หลงใหลงมงายในบุญอย่างไรเหตุผล
เพราะฉะนั้น กัมมัสสกตาญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้ความเป็นไปตามกรรมของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งรวมถึง กรรมของตนกัมมัสสกตาแห่งตน ซึ่งเป็นญาณที่ปฏิสังยุตด้วย (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ คือ เห็น อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ และ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็น สาเหตุแห่งทุกข์ นอกจากนี้ ยังสัมปยุตต์ด้วย วิชชา คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ อิทธิวิธิ (อิทธิจิต)ทิพพโสตญาณเจโตปริยญาณทิพพจักขุญาณยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณอนาคตังสญาณปัจจุปปันนังสญาณ ฉะนั้น วิชชาญาณ ทั้งหลายเหล่านี้ อันเป็น อธิสมณธรรม ของผู้บรรลุถึง รูปาวจรจตุตถฌาน ก็อย่าฟุ้งซ่านไปหลงงมงายสำคัญผิดในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น (อุเปกฺขโก เป็นผู้มีอุเบกขา ไม่หวั่นไหวฟู้งซ่านไปในสหชาตธรรม) แต่ให้ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็น มรรคามรรควิถี (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ) ในการดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อแสวงหาลาภสักการะ อันเป็นการพอกพูนกิเลสตัณหาที่ไม่ใช่ทางแห่งพระนิพพาน ให้สังวรไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ แต่ทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นเยี่ยม ซึ่งอรรถในพุทธวจนะนี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน พึงน้อมนำมาใส่จิตใจตนเองเพื่อปฏิบัติสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริงด้วย ให้เห็นกรรมของตนเท่านั้น.
|