๖๕. คุณค่าความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ Noble Values of Humanity
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
ความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐย่อมเป็นคุณสมบัติที่ปรารถนาของสังคม เพราะสิ่งนั้นแสดงถึงความสงบวิเวกทางกาย จิตใจ และกิเลส ความไม่เป็นทุกข์อีกแล้ว ที่ปราศจากความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ซึ่งเรียกว่า อริยชนอริยบุคคล ในขั้นสูงสุด คือ พระอรหันต์ ผู้ได้สำเร็จถึง สัจจภาวะแห่งสันติบทในนิพพาน ย่อมเข้าถึง ความเป็นอุดมบุรุษ เพราะพรั่งพร้อมด้วยปัญญาทั้งหลาย อันเกิดจาก ยถาภูตญาณทัสสนะญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นองค์ความทั้งปวงที่เห็นเยี่ยมใน อริยสัจจ์ ๔ ที่เรียกว่า จตุสัจจพุทธะ คือ พระอรหันต์ผู้อริยสาวกแห่งตถาคตเจ้า และเป็นผู้มีความประพฤติถูกต้องเหมาะควรในอะไรควรหรืออะไรไม่ควร ไม่เป็นที่ตำหนิติเตียนจากชุมชนคณะ หรือปัจเจกบุคคล จนถึงได้รับคำสรรเสริญจากเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย คือ ผู้รู้ ปราชญ์ สัตบุรุษ พระอริยเจ้า ไม่มียกเว้นถึงเทพเทวดา นั่นคือ มีความดีพร้อมในทุกด้านแห่งไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา ซึ่งเป็นผู้ถึงแล้วความบริสุทธิ์แห่งไตรสิกขา ที่อยู่ในภาวะอันถูกต้องแห่ง สัมมัตตะ ๑๐ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิสัมมาญาณสัมมาวิมุตติ และมีความถึงพร้อมสมบูรณ์ที่ไพบูลย์ด้วยภาวะอันยอดเยี่ยม อันเป็นปัฏฐานให้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้ ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ หมายถึง การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ ปัญญาอันเห็นธรรม การได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) หรือ อย่างสูงสุดคือ การเห็นนิพพาน (๒) ปฏิปทานุตตริยะ หมายถึง การปฏิบัติอันเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้ว กล่าวให้ง่ายหมายเอา อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อยึดเป็นแนวทางแห่ง สัมมาปฏิปทา ที่เหมาะควรแก่ธรรมตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา (๓) วิมุตตานุตตริยะ หมายถึง การพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง ที่เรียกว่า นิพพาน ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ได้ชื่อว่า มนุษย์ผู้ประเสริฐ ย่อมมีความถึงพร้อมสมบูรณ์ด้วยปัญญาที่เห็นแจ้งสภาวธรรมตามความเป็นจริง คือ แทงตลอดสภาวะแห่งธาตุนั้นๆ โดยไม่วิปริต (ยถาภูตํ ปชานาติ) มีธรรมเครื่องที่เกษมจากโยคะที่ผูกใจสัตว์ไว้กับวัฏฏะ ที่เรียกว่า โยคเกษมธรรม และธรรมเครื่องนำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส ความหลุดพ้น นิพพาน ที่เรียกว่า โมกขธรรม การที่จิตหลุดพ้นจากวิสัยโลกได้ ต้องมีศีลบริสุทธิ์ มีจิตเป็นสมาธิแห่งจตุตถฌานจิตโดยปราศจากนิวรณ์ อันเป็นจิตที่ยิ่งใหญ่ ที่มีความเพียร มีสติสัมปชัญญะ มีอุเบกขา และยังต้องมีปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอด (สัมโพธะ) ทั้ง โลกิยสัมมาทิฏฐิ และ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ ศีลสมาธิปัญญา เป็นธรรมเครื่องที่แบ่งมนุษย์ออกเป็น ๒ พวก (๑) อันธปุถุชน คือ นรชนผู้เขลายังเป็น ผู้มีโลกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา กับ (๒) อริยบุคคลแห่งอรหันต์ คือ ผู้หลุดพ้นจากวัฏฏะด้วยฐานะแห่ง ผู้ปราศจากโลกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา นั่นเอง.
บทความที่ ๖๕ ประจำปี ๒๕๕๘ คุณค่าความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ
ความเป็นมนุษย์นั้น ย่อมมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานทั่วไป นั่นคือ จิตใจที่สูงด้วยคุณธรรม และแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่งดงาม ที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้มีอารยธรรม กล่าวโดยง่าย คือ จิตใจดีและพฤติกรรมดี คุณสมบัติข้อนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความมีทรัพย์สินมั่งคั่ง ไพบูลย์ด้วยบริวาร หรือยศถาบรรดาศักดิ์ ที่สมมติกันขึ้นมาเอง คำว่า ใจดีใจงาม คือ ฐานะที่ มีสติสัมปชัญญะ ด้วยมีสติปัญญา มีปฏิภาณไหวพริบ ที่เป็น สัมมาทิฏฐิ มีความรอบรู้อริยสัจจ์ ๔ กาล ๓ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ กุศลกรรมบถ ๑๐ กฎแห่งกรรม กัมมัสสกตาแห่งตน (กฎกรรมของสัตว์) ศรัทธา ๔ เป็นต้น ส่วนคำว่า พฤติกรรมดีพฤติกรรมงาม นั้น คือ (๑) ไม่ทำความชั่วทั้งปวง (๒) ทำความดีให้ถึงพร้อมสมบูรณ์ (๓) ทำจิตใจให้เบิกบาน ไม่ว่าจะดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะอะไรก็ตาม ใจต้องงาม พฤติกรรมต้องงาม ที่กระทำจนเป็นนิสัยประจำตัว ไม่ว่าจะอยู่ในกาลเวลาหนใด อดีต อนาคต หรือ ปัจจุบัน ก็จะเป็นอย่างเช่นนี้ตลอด ไม่เป็นอื่น อย่างจริงแท้แน่นอน ความมั่นใจ ความศรัทธา ความเชื่อ อย่างแรงกล้าไม่มีข้อสงสัย ย่อมเป็นใจที่สหรคตด้วย อธิโมกข์ เป็นกำลังแห่งศรัทธาและฉันทะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (อริยสงฆ์ ไม่ใช่สมมติสงฆ์) ความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็สามารถศึกษาค้นคว้าได้จากพระไตรปิฎก ความศรัทธาเลื่อมใสในพระธรรมก็ต้องศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และกัลยาณมิตาสหายธรรม ผู้อยู่ในฐานะแห่งอริยบุคคล ความศรัทธาเลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็สามารถสืบค้นหาพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ปฏิบัติตรง ผู้ปฏิบัติถูกทาง ผู้ปฏิบัติสมควรผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย ผู้ควรแก่การต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณาทำบุญ ผู้ควรแก่การกราบไหว้ ประการสำคัญ ย่อมเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก อันเป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก ไม่เสียแรงที่จะกล่าวว่าเป็น สัตบุรุษอุดมบุรุษปราชญ์แห่งมุนีพระอรหันตขีณาสพ ในฐานะที่เป็นอริยสาวกตถาคต ผู้มีบกพร่องในคุณบทแห่งบุคคลผู้ประเสริฐดังกล่าว คือ ทำไม่ได้ต้องอาบัติปาราชิก ก็ลาสิกขาลาบวชมาเป็นเด็กวัดหรือฆราวาสดีกว่าเป็น อลัชชีชนผู้หน้าด้านด้วยทิฏฐิวิบัติ หรือ เดียรถีย์ผู้มีความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา คนเหล่านี้ พาลปุถุชน (คนไม่ดี) ไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของพระพุทธศาสนา ผู้ทำผิดตรงกันข้ามกับ สังฆคุณ ๙ คือ ความเป็นพระอริยสงฆ์ ที่สมควรเป็นแค่ผู้อยู่ในฐานะ อันธปุถุชน (นรชนผู้โง่เขลา) ไม่สมควรให้ชาวบ้านกราบไหว้ด้วยเข้าใจผิด ทำให้ตัวเองมีบาปกรรมติดตัวเปล่าๆ ไม่ใช่คิดเอาเองว่า อยู่ดีๆ มาไหว้อั๊วทำไม แถบเอาของดีๆ มาให้กินอีก เพราะฉะนั้น ผู้เป็นพุทธศาสนิกทั้งหลาย ควรคิดให้มากในการทำบุญ มิฉะนั้น ก็จะตกเป็นเครื่องมือให้มิจฉาชีพที่เข้ามาบวชในพระศาสนา อาจกล่าวได้ว่า มันเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนที่คอยปกป้องและสืบทอดพระศาสนา ไม่ใช่ปล่อยทิ้งพระศาสนาอยู่กับพวก อลัชชีเดียรถีย์ ผู้ตาบอดในพระธรรม เป็นผู้เผยแผ่พระศาสนา ทำได้อย่างมากก็แค่แจกซองผ้าป่ากันเท่านั้น ถามว่าพระธรรมเป็นอย่างไร พวกนี้จะตอบว่า พระธรรมเป็นของสูงมาก อยู่บนยอดไม้ มีไว้ให้นกอินทรีย์มาอ่าน พรวกเราเป็นแค่นกกระจิบ ก็หากินเล็กๆ น้อยๆ ไป เป็นกำลังใจให้ชาวบ้าน และชาวบ้านหลงผิด ก็ได้เริ่มต้นฝากวัดไว้กับคนพวกนี้แล้ว จะทำอย่างไร กฎหมายบ้านเมืองก็ไม่มีข้อบัญญัติลงโทษอะไรรุนแรง นอกจากทำผิดกฎหมายเท่านั้น ส่วนทางฝ่ายชาวบ้าน ก็ใช่จะเป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมเมื่อไหร่เล่า ยุ่งแต่ทำมาหากิน ก็ไม่มีเวลาแล้ว ก็ถือว่าคน ๒ พวก นี้ เป็น อันธปุถุชน คู่ วัดก็เลยมีโบสถ์หลังใหญ่ ศาลาหลังกว้าง เมรุทันสมัย รั้ววัดสวยๆ แค่นั้น แต่พระธรรมอันตรธานหายไป ไปอยู่บนยอดไม้เหมือนพวกในวัดบอกไว้ข้างตน ทั้งที่ในความเป็นจริง พระสงฆ์เป็นตัวแทนเผยแผ่พระธรรมศาสนา กลับทุศีลละหน้าที่แห่งตน
ในเมื่อสภาวะสังคมจริงๆ เป็นเช่นนี้ ผู้ต้องการผู้มีปัญญามีคุณธรรมมาขัดเกลากิเลสให้หมดไป จึงทำตัวได้ยาก ไปคุยสนทนากับพระก็มีแต่จะปลูกสร้างวัตถุทางศาสนา ไม่รู้ว่าได้เปอร์เซ็นต์จากร้านค้าวัสดุก่อสร้างหรือเป็นญาติกันมาแต่เมื่อไหร่กัน จึงชอบสร้าง หาอุบายหลอกชาวบ้านว่าเป็นบุญ สังคมพุทธเป็นสังคมใช้ปัญญา แต่กลับเป็นสังคมอับปัญญา อย่างน่าเสียดาย ว่างๆ ขายังดี ยังไม่หัก ก็แวะไปดูวัดข้างบ้านกันหน่อย ว่ามีพระครูใหม่ชื่ออะไร จะเอาที่วัดมาสร้างคอนโดหรือไม่ เรื่องนี้ ผู้นำสังคมต้องกลับมาคิดสร้างอุบายให้คนหันมาสนใจพระศาสนาให้มากขึ้น นำหลักธรรมที่ถูกต้องมาให้คนนับถือปฏิบัติจริงๆ ให้เห็นผลได้จริงๆ ไม่ใช่สภาพสังคมที่เป็น บ้านพึ่งวัดไม่ได้ และวัดก็พึ่งบ้านไม่ได้ โง่กับโง่เจอกันอะไรจะเกิดขึ้น ก็พากันโง่ต่อเป็นเครือญาติกันไป ก็ไม่รู้พระสัทธรรมหายไปไหน ในเมื่อพระไตรปิฎกก็อ่านยากมาก อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เขียนให้ใครนำไปปฏิบัติ หรือเป็นแค่หนังสืออ้างอิงชนิดหนึ่งสำหรับคนเรียนเปรียญ พระบางรูปก็ถือโอกาสเฉลิมฉลองพระธรรมปลอดดีกว่า ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย ตนเองก็พูดอบรมได้ง่าย เพราะคิดเองเป็นส่วนใหญ่ แล้วเข้าใจว่าเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เลยไปกันใหญ่ลงน้ำโขงไปเลย กลายเป็นพวกพญานาคต่อไปอีก ถ้าเป็นผู้หญิง เดี๋ยวก็บอกว่าเป็นลูกสาวพญานาค ถ้าเป็นผู้ชาย เดี๋ยวก็บอกว่าเป็นโอรสของพญานาค ที่อาการหนักไปหน่อย ก็บอกว่าเป็นร่างทรงของเหล่าพญานาคทั้ง ๙ เส้นตระกูล พูดเข้าป่าเข้าดงไป เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือหรือบารมีผิดๆ ให้กับตน พอเจอของจริงก็พากันหงายหลังหน้าแตกไปตามๆ กัน ไม่รู้จริงอย่าไปยุ่งกับโลกในมิติที่เร้นลับ เขามีไว้เฉพาะผู้มีปัญญามีฤทธิ์เท่านั้น ถ้ามีฤทธิ์แค่ไฟหิ่งห้อยริบๆ หรี่ๆ จวนจะดับอยู่แล้ว ก็อย่าไปลองของกันดีกว่า ถ้าเชื่อศรัทธาพระพุทธเจ้าก็ให้เป็นชาวพุทธจริง เชื่อคำสั่งสอนพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ต้องไปเป็นทาสรับใช้ใครอีก กรรมมีจริง ให้ทานมีผลเป็นจริง คนให้ทานตั้งใจไว้อย่างหนึ่ง ผู้รับทานเอาไปทำอย่างหนึ่ง กรรมก็ให้ผลแตกต่างกัน เรื่องพญานาคยังไม่พอ แต่ก็พอแรงแล้ว... วัดบางวัดยังแบ่งคนทำบุญตามระดับสิ่งที่ศรัทธาเพิ่มอีก เช่น เพิ่มรณรงค์เทพทางลัทธิฮินดูเข้ามาอีก ถ้ายังไม่หนำใจ ก็สั่งเพิ่มแม่ตะเคียนทอง มาสนธิกำลังกับกุมารทองบ้าง ถ้าเล่นของสูงหน่อย ก็ให้สนธิกำลังกับพญาครุฑ ชูชก หรือชื่อเทพต่างๆ ในรามเกียรติ์ เช่น หนุมาน ปู่แดง ปู่เขียว หรือ พระราม นางสีดา เป็นต้น เอาแต่ว่าจะคิดหาได้ เพื่อตอบสนองคนมาทำบุญ เพราะมีปัญญาในระดับแตกต่างกัน โง่มากก็ต้องให้ลึกลับมากๆ ถ้าฉลาดมาก ก็พูดถึงเรื่องมนุษย์ต่างดาว UFO ไปเลย ว่าตนสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวได้ สรุปแล้วใครเข้าวัดสมัยใหม่นี้ เสร็จอลัชชีหรือเดียรถีย์หมด ลวงกระเป๋าจ่ายทำบุญหมด ยิ่งเป็นช่วงมีงานเทศกาลด้วย ยิ่งน่าเชื่อถือ บางทีบอกว่า สังเกตให้ดีนะ... บางคืนมีพญานาคแปลกายเป็นสาวสวยหนุ่มหล่อมาทำบุญกับชาวบ้านด้วย พอจะกลับก็หายตัวแถวๆ พุ่มไม้หน้าวัด พวกคลั่งพญานาคอยู่ไม่ได้แน่นอน ก็มาดักเจอสาวพญานาคหรือหนุ่มพญานาค ว่าพ่อนาคาแม่นาคีฝากคำมาบอกอะไรบ้าง หรือฝากคำกลับไปว่า ตอนนี้ขอบำเพ็ญบุญบนโลกมนุษย์ก่อน เดี๋ยวคงจะกลับ ไม่ต้องเป็นห่วงหรอก พ่อนาคาแม่นาคี ฟังดูแล้วเหมือนพวกลิเกหลงโรง (โลง) มากเลย สรุปแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่า เป็นพุทธศาสนิกจริงหรือไม่ หรือเป็นพวกถือผีถือสางไหว้ไปทั่วว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งศักดิ์ศักดิ์ ยิ่งให้หวยให้เบอร์ยิ่งบ้ากันใหญ่ กรรมมีจริง ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ถ้าบ้าหาหวย ก็บ้าเสียเงินเสียทอง ไม่เป็นอันทำมาหากินสุจริตอาชีพได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะถึงเรื่อง กัมมัสสกตาแห่งตน ไว้ว่า:
ทิฏฐิสัมปทา (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 510511 FILE 76) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่อง กัมมผลสัทธากัมมัสสกตาสัทธา ตามนัยต่อไปนี้ (๑) ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล (๒) การบูชาย่อมมีผล (๓) การบวงสรวงย่อมมีผล (๔) ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ (๕)โลกนี้มีอยู่ โลกอื่นมีอยู่ (๖) มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ (๗) สัตว์ที่จุติและอุบัติมีอยู่ (๘) สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ในโลก (๙) สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่น มีอยู่ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก
แต่พระพุทธองค์ ยังไม่ให้เชื่อคำพูดคำกล่าวอะไรง่ายๆ โดยตรัสไว้ใน กาลามสูตร ดังนี้
กาลามสูตร หมายถึง สูตรหนึ่งใน คัมภีร์ติกนิบาตรอังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก ๑๐ ข้อ ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศลเป็นกุศล มีโทษไม่มีโทษ เป็นต้น แล้วจึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น (แต่ถ้ารู้ว่ากำลังคบอยู่กับคนชั่ว นั่นคือ เหตุแห่งความวิบัติ ถอยหาสัปปายะดีกว่า อย่าดื้อนะ เพราะคนส่วนใหญ่ ถึงจุดอวสานตายแน่ เพราะเชื่อและวางใจคนชั่วเกินพอดีและเกินไป จึงได้เสียธรรม ผิดด้วยหรือที่วางใจคน ไม่ผิด แต่อาจซวยได้ เพราะความประมาทเลินเล่อ ไม่รอบคอบ) ดังนี้ (๑) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (๒) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา (๓) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (๔) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ (๕) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยตรรก (๖) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอนุมาน (๗) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (๘) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน (๙) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ (๑๐) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เป็นเรื่องความไม่รู้จริง อวิชชา กับ ความหลงงมงาย โมหะ ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขในตัวบุคคลได้ยาก โดยเฉพาะสังคมที่ไม่ชอบการเรียนรู้ ชอบอยู่กับความงมงายอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ พระอริยสงฆ์ดีๆ ก็ไม่อยากเจอ ถ้าไม่บอกหวย หรือสะเดาเคราะห์ ให้เครื่องรางของขลัง สังคมจึงวิปริตเพราะมีปัญญาได้แค่นี้กัน พระที่ประพฤติดีประพฤติถูก ไปคลุกคลีกับชาวบ้านชั่วๆ มากเข้า ก็กลายเป็นเครื่องมือพวกคนชั่วหรือคนโง่แบบไม่รู้ตัว ก็เลยต่างฝ่ายต่างแนะนำกันไม่ได้ นรกก็มากินหัวกระบาลเท่านั้นเอง
พระอริยสงฆ์ที่แท้จริงต้องประกอบด้วย สังฆคุณ ๙ ได้แก่ (๑) ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ (๒) ผู้ปฏิบัติตรง (๓) ผู้ปฏิบัติถูกทาง (๔) ผู้ปฏิบัติสมควร (๕) ผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย (๖) ผู้ควรแก่การต้อนรับ (๗) ผู้ควรแก่ทักษิณาทำบุญ (๘) ผู้ควรแก่การกราบไหว้ ประการสำคัญ (๙) ย่อมเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก อันเป็นแหล่งปลูกฝัง และเผยแพร่ความดี ที่ยอดเยี่ยมของโลก
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหมายถึง ความเป็นพุทธะ (ความเป็นพระพุทธเจ้า) ก็ควรถือปฏิบัติได้ในคุณชาติแห่ง พุทธคุณ ๙ ดังนี้
พุทธคุณ ๙ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้า ได้แก่ (๑) อรหํ เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น (๒) สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง (๓) วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ ความรู้และความประพฤติ (๔) สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ แม้ปรินิพพานแล้วก็เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา (๕) โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ (๖) อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า (๗) สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๘) พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่น และย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย (๙) ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม
เพราะฉะนั้น คุณค่าของความเป็นมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนานั้น จะต้องประกอบด้วย (๑) พุทธคุณ ๙ กับ (๒) สังฆคุณ ๙ และ (๓) มีความรู้ใน ธรรมคุณ ๖ หรืออีกประการหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า คนพุทธต้องที่บุคคลที่เป็นที่รวมของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในคนเดียวกัน นี้คือคุณค่าของความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง ส่วนองค์ประกอบย่อยอย่างอื่นนั้น เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธีตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา มีข้อปฏิบัติอันประเสริฐตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้ชีวิตเจริญงอกงามด้วยคุณธรรม ดังนี้
อริยทรัพย์ ๗ หมายถึง ทรัพย์อันประเสริฐที่จะนำไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม (๓) หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำความชั่ว (๔) โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว (๕) พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก (๖) จาคะ คือ ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และประการสำคัญ (๗) ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ
สัปปุริสธรรม ๗ หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี ธรรมของผู้ดี ได้แก่ (๑) ธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม รู้หลัก รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คือ อะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการหรือบรรลุจุดหมายอันนั้นๆ เป็นต้น (๒) อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำ หรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น (๓) อัตตัญญุตา ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป (๔) มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น (๕) กาลัญญุตา ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน หรือปฏิบัติการต่างๆ เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น (๖ ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น (๗) ปุคคลัญญุตาปุคคลปโรปรัญญุตา ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
สัทธรรม ๗ หมายถึง ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ความเลื่อมใสซาบซึ้งชื่นใจสนิทใจเชื่อมั่นมีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตามไปรับคุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ ความมั่นใจในความจริง ความดีสิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก (๒) หิริ คือ ความละอายแก่ใจ คือ ละอายต่อความชั่ว (๓) โอตตัปปะ คือ ความกลัวบาป ความเกรงกลัวต่อทุจริต ความเกรงกลัวความชั่วเหมือนกลัวอสรพิษ ไม่อยากเข้าใกล้ พยายามหลีกให้ห่างไกล (๔) พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียนมีองค์ ๕ คือ (๑) พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก (๒) ธตา ทรงจำไว้ได้ (๓) วจสา ปริจิตา คล่องปาก (๔) มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ (๕) ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี (๕) วิริยารัมภะ คือ ปรารภความเพียร นั่นคือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ระดมความเพียร (๖) สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง จำการที่ทำ และคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (๗) ปัญญา คือ ความรู้ทั่ว ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล ความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง
แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติธรรมเพื่อความเป็นอริยบุคคลนั้น คุณค่าความเป็นมนุษย์จะอยู่ที่ วิชชา ๓วิชชา ๘ คือ ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ และ จรณะ ๑๕ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิชชาเหล่านั้น ดังนี้
วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้ง \ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรมเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ (๓) อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะความตรัสรู้
วิชชา ๘ หมายถึง ความรู้แจ้ง \ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) วิปัสสนาญาณ คือ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา นั่นคือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือ นามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน (๒) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ (๓) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๔) ทิพพโสต คือ หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ (๘) อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
จรณะ ๑๕ หมายถึง เครื่องดำเนิน ปฏิปทา อันเป็นข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา ได้แก่ (๑) สีลสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยศีล นั่นคือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติอยู่ในคลองธรรม ถ้าเป็นภิกษุ ก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทดีงาม เป็นต้น (๒) อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึงข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ (๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ นั่นคือ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๒) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค นั่นคือ รู้จักพิจารณารับประทานอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (๓) ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน นั่นคือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป (๓) สัทธรรม ๗ หมายถึง ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ความเลื่อมใสซาบซึ้งชื่นใจสนิทใจเชื่อมั่นมีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตามไปรับคุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ ความมั่นใจในความจริง ความดีสิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก (๒) หิริ คือ ความละอายแก่ใจ คือ ละอายต่อความชั่ว (๓) โอตตัปปะ คือ ความกลัวบาป ความเกรงกลัวต่อทุจริต ความเกรงกลัวความชั่วเหมือนกลัวอสรพิษ ไม่อยากเข้าใกล้ พยายามหลีกให้ห่างไกล (๔) พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียนมีองค์ ๕ คือ (๑) พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก (๒) ธตา ทรงจำไว้ได้ (๓) วจสา ปริจิตา คล่องปาก (๔) มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ (๕) ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี (๕) วิริยารัมภะ คือ ปรารภความเพียร นั่นคือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ระดมความเพียร (๖) สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง จำการที่ทำ และคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (๗) ปัญญา คือ ความรู้ทั่ว ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล ความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง
(๔) ฌาน ๔ หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์อันเป็นรูปาวจรจนแน่วแน่แห่งสมาธิ ได้แก่ (๑) ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ ๒ คือ สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึง คำว่า สมาธิเอกัคคตา นั้น ก็ควรพิจารณาถึง ธรรมสมาธิ ๕ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ความเลื่อมใส ในข้อประพฤติปฏิบัติว่า เป็นหนทางแห่งความตรัสรู้ถึงพระนิพพานได้อย่างแน่นอน ไม่ได้ปฏิบัติผิดทาง แห่ง อธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ นั่นคือ สัมมัปปธาน ๔สติปัฏฐาน ๔ฌาน ๔ และในการจะก้าวสู่ภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานได้นั้น จะต้องมีความถึงพร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ด้วย ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ที่ต้องสัมปยุตต์ด้วยสมถพละและวิปัสสนาพละร่วมกัน ดังนี้
ธรรมสมาธิ ๕ หมายถึง ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมถูกต้อง กำจัดความข้องใจสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดธรรมสมาธิ คือความมั่นสนิทในธรรม ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ได้แก่ (๑) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส (๒) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ (๓) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย (๔) สุข คือ ความรื่นใจไร้ความข้องขัด (๕) สมาธิ คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย
การจะบรรลุถึงฌานในแต่ละขั้นได้นั้น ยังต้องประกอบด้วย ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ด้วย ดังนี้
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ๔ หมายถึง ธรรมที่จะช่วยให้ได้ทุลลภธรรมสมหมาย ได้แก่ (๑) สัทธาสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา (๒) สีลสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยศีล (๓) จาคสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยการบริจาค (๔) ปัญญาสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ว่าด้วย หมวดโพธิปักขิยธรรม ๓๗
สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ที่ตั้งของสติ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ซึ่งทำให้ลุถึง อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [ยถา ปชานํ] นั่นคือ ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ (ญาณวิโมกข์) ในความหมายรวมๆ ฉะนั้น การเจริญธรรม มหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นด่านแรกแห่งการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า อริยมรรค ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ (๑) อานาปานสติ กำหนดลักษณะลมหายใจเข้าออก อัสสาสะปัสสาสะ ควรใช้เจริญฌานในขั้นแรก (๒) อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (๓) สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (๔) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (๕) ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ และ (๖) นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็น สุขก็ดีทุกข์ก็ดีเฉยๆ ก็ดี หรือ สุขเวทนาทุกขเวทนาอทุกขมสุขเวทนา ทั้งที่เป็นสามิส [มีเครื่องล่อวัตถุ] และเป็นนิรามิส [เป็นอิสระ] ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่ มีราคะไม่มีราคะมีโทสะไม่มีโทสะมีโมหะไม่มีโมหะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒โพชฌงค์ ๗อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
สัมมัปปธาน ๔ปธาน ๔ หมายถึง ความเพียร ความเพียรชอบ ความเพียรใหญ่ ได้แก่ (๑) สังวรปธาน เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น [ให้พิจารณาถึง อินทรียสังวร กับ สติสังวร] (๒)ปหานปธาน เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (๓) ภาวนาปธาน เพียรเจริญเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น (๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ [ให้พิจารณาถึง อารักขกัมมัฏฐาน เพื่อความไม่ประมาท]
อิทธิบาท ๔ หมายถึง คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ซึ่งต้องเป็นองค์ประกอบภายในตน ที่เรียกว่า พลังความคิดขวัญกำลังใจแรงดลบันดาลใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ ความเป็นเลิศ ความถึงพร้อมสมบูรณ์ในทุกด้าน ได้แก่ (๑) ฉันทะ ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป = พอใจศรัทธาเลื่อมใส (๒)วิริยะ ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย = ขยันอดทนบากบั่น (๓) จิตตะ ความคิดมุ่งไป คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ = มุ่งมั่น (๔) วิมังสา ความไตร่ตรองทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น = คิดวิเคราะห์แยกแยะหาผลปรับปรุงแก้ไข
อินทรีย์ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธินทรีย์ ความเชื่อ ย่อมระงับปิดกั้นความไร้ศรัทธาอสัทธา (๒)วิริยะวิริยินทรีย์ ความเพียร ย่อมระงับปิดกั้นความเกียจคร้านโกสัชชะ (๓) สติสตินทรีย์ ความระลึกได้ ย่อมระงับปิดกั้นความประมาทปมาทะ (๔) สมาธิสมาธินทรีย์ ความตั้งจิตมั่น ย่อมระงับปิดกั้นความฟุ้งซ่านอุทธัจจะ (๕) ปัญญาปัญญินทรีย์ ความรู้ทั่วชัด ย่อมระงับปิดกั้นความหลงลืมสติโมหะ หรือ อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ไม่เห็น ขัดข้องเพราะ อวิชชาความหลงอกุศลมูล หรือ มุฏฐสัจจะ คือ การอยู่อย่างขาดสติไม่มีสติระลึกตามไปไม่ได้ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้นึกไม่ออจำไม่ได้ฟั่นเฟือนหลงลืมหลงเลือนหลงใหลไปหลงพร้อม คือ สมฺโมหวิหาโร แปลว่า อยู่ด้วยความหลง [ตั้งนโมไม่ทัน]
พละ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นกำลัง [ขวัญพลังใจแรงบันดาลจิตที่ตั้งมั่น เลื่อมใส ศรัทธา = อธิโมกข์] ให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ [ดูปฏิปักษ์ธรรมเช่นเดียวกับ อินทรีย์ ๕] ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธา เชื่อมั่นในอริยมรรค (๒)วิริยะวิริยพละ คือ ความเพียร เพียรชอบในการละชั่วทำดี (๓) สติสติพละ คือ ความระลึกได้ ไม่หลงลืม เลื่อนลอย (๔) สมาธิสมาธิพละ คือ ความตั้งจิตมั่น ไม่ฟุ้งซ่านสัดส่าย (๕) ปัญญาปัญญาพละ คือ ความรู้ทั่วชัด โยนิโสมนสิการ ฉลาดคิดถูกวิธี
โพชฌงค์ ๗ หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้องค์ธรรมตรัสรู้ ได้แก่ (๑) สติ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง (๒)ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม (๓) วิริยะ ความเพียรบากบั่นเพื่อทำดีละชั่ว (๔) ปีติ ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำในใจ (๕) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (๖) สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น จิตสงบแน่วแน่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน (๗) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง
มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ทางมีองค์แปดประการ อันประเสริฐ เปรียบเทียบกับ จริยา ๘ คือ ความประพฤติ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือ เห็นปฏิจจสมุปบาท = ทัสสนจริยา การเห็นแจ้ง (๒)สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ =อภิโรปนจริยา มีกระบวนทัศน์ (๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔= ปริคคหจริยา สำรวมวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ = สมุฏฐานจริยา สร้างสรรค์ (๕) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ ประกอบสัมมาชีพ = โวทานจริยา ความบริสุทธิ์ (๖) สัมมาวายามะ พยายามชอบ ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ = ปัคคหจริยา หมั่นพากเพียร (๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ = อุปัฏฐานจริยา สติชัดแก่กล้า (๘) สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ = อวิกเขปจริยา จิตสงบตั้งมั่นสนิท
แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าถึง วิชชา ได้นั้น จะต้องพัฒนาจิตให้เป็น สมาธิเอกัคคตา ที่มีคุณภาพสูงสุด คือ จิตที่ปราศจากนิวรณ์ทั้งหลายจริงๆ ที่เรียกว่า จตุตถฌาน ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา ปราศจาก วิตกวิจารปีติสุข โดยคุณสมบัติของฌานขั้นที่ ๔ นี้ ย่อมทำให้จิตมีพลังอำนาจแห่งสมาธิ ทำให้เกิด ปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริงยถาภูตญาณทัสสนะ ที่เรียกว่า จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง ย่อมเกิดขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถแห่ง ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา ของบุคคลนั้นๆ เพราะฉะนั้น จตุตถฌานกุศลจิต จึงเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญในการพัฒนาวิวัฒน์จิตใจให้บริสุทธิจากกิเลสและกองทุกข์ ที่เรียกว่า จตุตถฌานมี ๑๓ ประเภท (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432435 FILE 78) ดังนี้ (๑) จตุตถฌาน อันเป็น บาทแห่งฌานทั้งปวง (๒) จตุตถฌาน อันเป็น อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ (๓) จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพโสตญาณ (๔) จตุตถฌาน อันเป็น เจโตปริยญาณ (๕) จตุตถฌาน อันเป็น ปุพเพนิวาสญาณ (๖) จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพจักขุญาณ (๗) จตุตถฌาน อันเป็น ยถากัมมูปคตญาณ (๘) จตุตถฌาน อันเป็น อนาคตังสญาณ (๙) จตุตถฌาน อันเป็น อากาสานัญจายตนฌาน (๑๐) จตุตถฌาน อันเป็น วิญญาณัญจายตนฌาน (๑๑) จตุตถฌาน อันเป็น อากิญจัญญายตนฌาน (๑๒) จตุตถฌาน อันเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (๑๓) จตุตถฌาน อันเป็น โลกุตตรจตุตถฌาน
ธรรมทั้งหมดนี้ ถือเป็นฝ่ายอำนาจทางสมาธิ ที่สามารถลุล่วงถึง วิชชา ได้ในบางส่วนของ วิชชา ๓วิชชา ๘ เพราะจิตบริสุทธิ์จากนิวรณ์แห่งจตุตถฌาน นั่นคือ นิวรณ์ ๕อวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง ซึ่งทำให้ สติสัมปชัญญะสติปัญญา มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเช่นกัน เมื่อจิตเป็นสมาธิแห่งจตุตถฌานที่ปฏิสังยุตด้วยปัญญาหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นในภูมิแห่งวิปัสสนา ที่เรียกว่า ญาณ ๑๖โสฬสญาณ ดังนี้
ญาณ ๑๖โสฬสญาณ [ปัญญาประเสริฐปัญญาอริยะ] หมายถึง ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป (๒) ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป (๓) สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ (๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับไปแห่งขันธ์ ๕ (๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายไปหมดของสังขารทั้งหลาย (๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๗) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ (๘) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย (๑๐) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาทบทวนเพื่อหาทาง (๑๑) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๑๒) สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ญาณยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ (๑๓) โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร (๑๔) มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค (๑๕) ผลญาณ ญาณในอริยผล (๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน
แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเจริญ ญาณ ๑๖ นั้น ช่วงข้อ ๔๑๒ นั้น เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๙ หรือ กระบวนการทุบขันธ์ ๕ ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินีปฏิปทา หมายถึง ข้อปฏิบัติออกนำจิตออกจากสังขารทั้งหลายเพื่อให้เข้าถึงอริยมรรค นั่นคือ ข้อ ๑๔ มัคคญาณมรรคญาณ (มรรค ๔) หรือ อริยมรรค ๔ ได้แก่ (๑) โสดาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค (๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค อนึ่ง คำว่า อริยมรรค ยังรวมถึง (๑) อริยมรรคมีองค์ ๘ และ (๒) อริยสัจจ์ ๔ อีกด้วย นอกจากนี้ ญาณ ๒ ในญาณ ๑๖ นั้น ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ กับ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ ยังเรียกว่า วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิปัญญาวิปัสสนา ซึ่งประกอบด้วยธรรมย่อยต่อไปนี้ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปฏิจจสมุปปันนธรรม คือ อัทธา ๓ สังเขป ๔ สนธิ ๓ วัฏฏะ ๓ อาการ ๒๐ มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตาแห่งตน (กฎแห่งกรรมของตน)
แต่เมื่อเปรียบกับ จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ ที่เป็น วิชชา ๓ ได้เฉพาะ ข้อ ๑ กับ ข้อ ๒ ได้แก่ (๑) จตุตถฌาน อันเป็น ปุพเพนิวาสญาณ นั่นคือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ระลึกชาติได้ ซึ่งสงเคราะห์ใน นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ (๒) จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพจักขุญาณ นั่นคือ จุตูปปาตญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรมเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ ซึ่งสงเคราะห์ใน ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปฏิจจสมุปปันนธรรม คือ อัทธา ๓ สังเขป ๔ สนธิ ๓ วัฏฏะ ๓ อาการ ๒๐ มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตาแห่งตน (กฎแห่งกรรมของตน ซึ่งอาจสหรคตด้วย ยถากัมมูปคตญาณ)
ส่วน อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะความตรัสรู้ นั้น คงเปรียบเทียบได้กับ สัมมสนญาณ (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ ซึ่งประกอบด้วยกลไกแห่งวิปัสสนา ได้แก่ (๑) อนุปัสสนา ๗ กับ (๒) มหาวิปัสสนา ๑๘ ดังนี้
อนุปัสสนา ๗ (๑) อนิจจานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ชวนปัญญา (ปัญญาเร็ว) ให้บริบูรณ์ (๒) ทุกขานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นสภาพแห่งทุกข์ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง นิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลายกิเลส) ให้บริบูรณ์ (๓) อนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง มหาปัญญา (ปัญญามาก) ให้บริบูรณ์ (๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้บริบูรณ์ (๕) วิราคานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในราคะ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง วิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์ (๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความดับแห่งสมุมัยโดยความเป็นเหตุเกิด ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง คัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์ (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ พิจารณาความถือมั่นตั้งไว้โดยความถือผิดยึดมั่น ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง อัสสามันตปัญญา (ปัญญาไม่ใกล้) ให้บริบูรณ์
มหาวิปัสสนา ๑๘ (๑) อนิจจานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (๒) ทุกขานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความทุกข์ (๓) อนัตตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่ใช่ตัวตน (๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย (๕) วิราคานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด (๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความดับ (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความสละคืน (๘) ขยานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความสิ้นไป (๙) วยานุปัสสนา คือ การเห็นความเสื่อมไป (๑๐) วิปริณามานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความแปรปรวน (๑๑) อนิมิตตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย (๑๒) อัปปณิหิตานุปัสสนา คือ การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง (๑๓) สุญญตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า (๑๔) อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง (๑๕) ยถาภูตญาณทัสนะ คือ ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง (๑๖) อาทีนวานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นโทษ (๑๗) ปฎิสังขานุปัสสนา คือ การพิจารณาหาทาง (๑๘) วิวัฏฏนานุปัสสนา คือ การพิจารณาการเห็นอุบายที่จะหลีกไป
ในอีกกรณีหนึ่ง จะมีการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวระหว่า เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ ในการเจริญภาวนา ทำให้เกิด สมาธิ ๓ ของฝ่ายสมถพละ กับ วิโมกข์ ๓ ของฝ่ายวิปัสสนาพละ ซึ่งนำไปสู่ อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) ดังนี้
สมาธิ ๓ หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น ได้แก่ (๑) สุญญตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ (๒) อนิมิตตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ (๓) อัปปณิหิตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ
วิโมกข์ ๓ หมายถึง ความหลุดพ้น ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น ได้แก่ (๑) สุญญตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส (๒) อนิมิตตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต (๓) อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตา แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ
นอกจากนี้ อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) ยังเกี่ยวข้องกับ อินทรีย์ ๒๒ (อินทรีย์ ๘ = หมวดที่ ๔ กับ หมวดที่ ๕ แต่ต้องปฏิสังยุตกับอินทรีย์ข้ออื่นด้วย คือ ใจชีวิตสุข) โดยตรง ซึ่งเป็นข้อธรรมย่อยใน วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ (นามรูปปริจเฉทญาณ ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖: ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ ยกเว้น ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ กับ ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง กฎแห่งกรรม กัมมัสสกตาแห่งตน) เพราะการดับขันธ์ ๕ ได้นั้น ต้องเข้าใจสภาพองค์ประกอบแห่งทุกข์อย่างละเอียด นั่นเอง
ว่าด้วย อินทรีย์ ๒๒ หมวดที่ ๑ (ข้อ ๖) (๑) มนินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ก็ตาม ว่าด้วย อินทรีย์ ๒๒ หมวดที่ ๒ (ข้อ ๙) (๑) ชีวิตินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ ชีวิต ว่าด้วย อินทรีย์ ๒๒ หมวดที่ ๓ (ข้อ ๑๒) (๑) โสมนัสสินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา ว่าด้วย อินทรีย์ ๒๒ หมวดที่ ๔ (ข้อ ๑๕๑๙) (๑) สัทธินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ ศรัทธา (๒) วิริยินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ วิริยะ (๓) สตินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ สติ (๔) สมาธินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา (๕) ปัญญินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ ปัญญา ว่าด้วย อินทรีย์ ๒๒ หมวดที่ ๕ (๑) อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ หมายถึงอินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ (๒) อัญญินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ 6 ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ (๓) อัญญาตาวินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็น อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) ในทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้พิจารณาในนิทเทส ต่อไปนี้
อาสวักขยญาณนิทเทส (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 10361040 FILE 68)
[๒๕๘] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็น อาสวักขยญาณอย่างไร
อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตผล
(๑) โสดาปัตติมรรค [๒๕๙] ในขณะโสดาปัตติมรรค ด้วยอรรถว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะโสดาปัตติมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็น กุศล ทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค นั้น อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ นั้น
(๒) โสดาปัตติผล [๒๖๐] ในขณะโสดาปัตติผล ด้วยอรรถว่า อัญญินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะโสดาปัตติผล ทั้งหมดนั่นแล เป็น อัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติผล นั้น อัญญินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อัญญินทรีย์ นั้น
(๓) สกทาคามิมรรค [๒๖๑] ในขณะสกทาคามิมรรค ด้วยอรรถว่า อัญญินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะสกทาคามิมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็น กุศล ทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะสกทาคามิมรรค นั้น อัญญินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อัญญินทรีย์ นั้น
(๔) สกทาคามิผล ในขณะสกทาคามิผล ด้วยอรรถว่า อัญญินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะสกทาคามิผล ทั้งหมดนั่นแล เป็น อัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะสกทาคามิผล นั้น อัญญินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อัญญินทรีย์ นั้น
(๕) อนาคามิมรรค ในขณะอนาคามิมรรค ด้วยอรรถว่า อัญญินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะอนาคามิมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็น กุศล ทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอนาคามิมรรค นั้น อัญญินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อัญญินทรีย์ นั้น
(๖) อนาคามิผล ในขณะอนาคามิผล ด้วยอรรถว่า อัญญินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะอนาคามิผล ทั้งหมดนั่นแล เป็น อัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอนาคามิผล นั้น อัญญินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อัญญินทรีย์ นั้น
(๗) อรหัตมรรค ในขณะอรหัตมรรค ด้วยอรรถว่า อัญญินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะอรหัตมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็น กุศล ทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตมรรค นั้น อัญญินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อัญญินทรีย์ นั้น
(๘) อรหัตผล [๒๖๒] ในขณะอรหัตผล ด้วยอรรถว่า อัญญาตาวินทรีย์ ซึ่งมีอินทรีย์ ๘ ประการ ดังนี้ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิด ในขณะอรหัตผล ทั้งหมดนั่นแล เป็น อัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตผล นั้น อัญญาตาวินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแล เป็นอาการและเป็นบริวารของ อัญญาตาวินทรีย์ นั้น
อินทรีย์ ๘ หมวดเหล่านี้ รวมเป็น อาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้ จบอาสวักขยญาณนิทเทส ------------------------------
อนึ่ง ให้พิจารณาว่า เมื่อเจริญ วิปัสสนาญาณ ๙ (ข้อ ๔๑๒ ในญาณ ๑๖) แล้ว ก็จะข้ามจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยบุคคลด้วย โคตรภูญาณ ไปเป็น มรรคญาณ ผลญาณ (อริยมรรค ๔สามัญผล ๔) ตามหลักแล้ว ย่อมเกิดขึ้นก่อน อาสวักขยญาณ ก่อนจะถึง อินทรีย์ ๘ ใน มรรค ๔ กับ ผล ๔ รวมเป็น อาการ ๖๔ ดังนี้
อริยมรรค ๔ หมายถึง ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด ได้แก่ (๑) โสดาปัตติมรรค คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส และย่อมกำจัด กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสทิฏฐานุสัยวิจิกิจฉานุสัย) ได้ (๒) สกทาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง และย่อมกำจัด กิเลสหยาบๆ (กามราคสังโยชน์ปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบกามราคานุสัยปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ) ได้ (๓) อนาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ และย่อมกำจัด กิเลสละเอียด (กามราคสังโยชน์ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียดกามราคานุสัยปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด) ได้ (๔) อรหัตมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา และย่อมกำจัด กิเลสทั้งหลาย (รูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชามานานุสัยภวราคานุสัยอวิชชานุสัย) ได้หมด
อริยผล ๔สามัญญผล ๔ หมายถึง ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ ที่เรียกว่า สัมมาญาณ ดังนี้ (๑) โสดาปัตติผล คือ ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย (๒) สกทาคามิผล คือ ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย (๓) อนาคามิผล คือ ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย (๔) อรหัตตผล คือ ผลคือความเป็นพระอรหันต์ ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
หลักจากนั้น จึงเป็นการเจริญ ปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๑๖ ในญาณ ๑๖) ดังนี้
ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ (๑) สำรวจรู้มรรค (๒) สำรวจรู้ผล (๓) กิเลสที่ละแล้ว (๔) กิเลสที่เหลืออยู่ และ (๕) นิพพาน (ให้เปรีบเทียบกับ นิโรธ ๕) เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะเกิด ญาณทัสสนะ ๑๙ ประเภท หรือ ปัจจเวกขณวิถี ๑๙ ประการ โดยใช้ปัญญาหยั่งรู้และญาณทัสสนะทบทวนใน มรรควิถี ๔อริยมรรค ๔มรรค ๔มรรคญาณ กับ สามัญผล ๔ผล ๔ผลญาณ เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบ ได้แก่
แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนภายใน ปัจจเวกขณญาณ นั้น ให้พิจารณาถึง ญาณ ๓ อีกชุดหนึ่ง ดังนี้
ญาณ ๓ หมายถึง ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้ ได้แก่ (๑) สัจจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือ ความหยั่งรู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒) กิจจญาณ หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญให้มาก (๓) กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำเสร็จแล้ว
ญาณ ๓ ในหมวดนี้ เนื่องด้วย อริยสัจจ์ ๔ โดยเฉพาะ เรียกชื่อเต็มตามที่มาว่า ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ (ญาณทัสสนะมีรอบ ๓ หรือ ความหยั่งรู้หยั่งเห็นครบ ๓ รอบ หรือ ปริวัฏฏ์ ๓ แห่งญาณทัสสนะ) ปริวัฏฏ์ ๓ หรือ วนรอบ ๓ นี้ เป็นไปในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ รวมเป็น ๑๒ ญาณทัสสนะนั้น จึงได้ชื่อว่า มีอาการ ๑๒ พระผู้มีพระภาคทรงมีญาณทัสสนะตามเป็นจริงในอริยสัจจ์ ๔ ครบวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ (ติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) อย่างนี้แล้ว จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่าทรงบรรลุ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้ว ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กิจในอริยสัจจ์ ๔ ดังนี้
กิจในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่า รู้อริยสัจจ์หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ (๑) ปริญญา คือ การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา (๒) ปหานะ คือ การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา (๓) สัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ (๔) ภาวนา คือ การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา
ในการแสดงอริยสัจจ์ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจจ์ ก็ดี จะต้องให้อริยสัจจ์แต่ละข้อ สัมพันธ์ตรงกันกับกิจแต่ละอย่าง จึงจะเป็นการแสดงและเป็นการปฏิบัติโดยชอบ ทั้งนี้วางเป็นหัวข้อได้ ดังนี้ (๑) ทุกข์ทุกขอริยสัจจ์ เป็นขั้นแถลงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต = ปริญญา (๒) สมุทัยทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ เป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป = ปหานะ (๓) นิโรธทุกขนิโรธอริยสัจจ์ เป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหา อันเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ = สัจฉิกิริยา (๔) มรรคทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ เป็นขั้นกำหนดวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา = ภาวนา
ด้วยเหตุนี้ คำว่า วิชชา เป็นเรื่องทั้ง ฌานวิโมกข์ และ ญาณวิโมกข์ ที่เกิดควบกันเป็น ยถาภูตญาณ หรือที่เรียกว่า จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง อันเนื่องจาก ปัญญาเห็น มัคคญาณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ยถาภูตญาณทัสสนวิสุทธิ อนุโลมญาณในอริยสัจจ์ ๔ จึงเกิดปัญญาเห็นธรรมในอริยสัจจ์ ๔ ที่เรียกว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ประกอบด้วย จักขุง อุปะปาทิ ๑ ญาณัง อุทะปาทิ ๑ ปัญญา อุปะปาทิ ๑ วิชชา อุทะปาทิ ๑ อาโลโก อุทะปาทิ ๑ [ตาแห่งปัญญาญาณหยั่งรู้ปัญญารอบรู้ความรู้แจ้งแสงสว่างแห่งปัญญารู้ชัด = ญาณทัสสนะ ได้เกิดแก่บุคคลนั้น] ซึ่งเป็นไปตามแนวทางสายกลางแห่งปัญญา คือ มัชฌิมาปฏิทา (อริยมรรคมีองค์ ๘) ได้แก่ (๑) จักขุกรณี เครื่องกระทำให้เกิดจักขุ (๒) ญาณกรณี เครื่องทำให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ (๓) อุปสมายะ เพื่อความสงบ (๔) อภิญญายะ เพื่อความรู้ยิ่ง (๕) สัมโพธายะ เพื่อความรู้พร้อมแห่งการตรัสรู้ และ (๖) นิพพานายะ เพื่อนิพพาน ฉะนั้น การพิจารณาสืบเนื่องเป็นนิตย์ย่อมเกิด ญาณวิโมกข์ปัญญาแห่งความหลุดพ้น (ดู ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) ดังนี้ (๑) อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (๒) ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ พิจารณาเห็นสภาพแห่งทุกข์ (๓) อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน (๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย (๕) วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในราคะ (๖) นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความดับแห่งสมุมัย (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ พิจารณาความถือมั่นตั้งไว้โดยความถือผิดยึดมั่น (๘) อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย (๙) อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง (๑๐) สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า
ในแสงสว่างแห่งปัญญาหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้เกิด ปัญญาญาณ ต่างๆ จำนวน ๗๓ ญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑ มาติกา ว่าด้วย ปัญญาญาณ ๗๓ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 17 FILE 68)
๑. ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็น สุตมยญาณ ๒. ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสังวรไว้ เป็น สีลมยญาณ ๓. ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็น ภาวนามยญาณ ๔. ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็น ธรรมฐิติญาณ ๕. ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็น สัมมสนญาณ ๖. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน เป็น อุทยัพพยญาณ ๗. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น วิปัสสนาญาณ ๘. ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็น อาทีนวญาณ ๙. ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณา และวางเฉยอยู่ เป็น สังขารุเปกขาญาณ ๑๐. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็น โคตรภูญาณ ๑๑. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และ สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น มรรคญาณ ๑๒. ปัญญาในการระงับปโยคะ (การสร้างวิบากกรรม) เป็น ผลญาณ ๑๓. ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็น วิมุตติญาณ ๑๔. ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็น ปัจจเวกขณญาณ ๑๕. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็น วัตถุนานัตตญาณ ๑๖. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็น โคจรนานัตตญาณ ๑๗. ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็น จริยานานัตตญาณ ๑๘. ปัญญาในการกำหนดปรมัตถธรรม ๔ เป็น ภูมินานัตตญาณ ๑๙. ปัญญาในการกำหนดโลกุตตรธรรม ๙ เป็น ธรรมนานัตตญาณ ๒๐. ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็น ญาตัฏฐญาณ ๒๑. ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ เป็น ตีรณัฏฐญาณ ๒๒. ปัญญาในการละ เป็น ปริจจาคัฏฐญาณ ๒๓. ปัญญาเครื่องเจริญ เป็น เอกรสัฏฐญาณ ๒๔. ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็น ผัสสนัฏฐญาณ ๒๕. ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็น อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๒๖. ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็น ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๒๗. ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็น นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๒๘. ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็น ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๒๙. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็น วิหารรัฏฐญาณ ๓๐. ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็น สมาปัตตัฏฐญาณ ๓๑. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็น วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ ๓๒. ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุให้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็น อานันตริกสมาธิญาณ ๓๓. ทัสนาธีปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดีอันใหญ่ยิ่ง (ญาณทัสสนะ) วิหาราธิคมคุณเครื่องบรรลุ (อภิญญา ความรู้ใหญ่ยิ่ง) คือ วิหารธรรม (ที่ตั้งอันแน่นอนแห่งธรรม) อันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในสมาบัติอันประณีต เป็น อรณวิหารญาณ ๓๔. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็น นิโรธสมาปัตติญาณ ๓๕. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็น ปรินิพพานญาณ ๓๖. ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็น สมสีสัฏฐญาณ ๓๗. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนาสภาพต่างๆ และเดช เป็น สัลเลขัฏฐญาณ ๓๘. ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็น วิริยารัมภญาณ ๓๙. ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็น อรรถสันทัสสนญาณ ๔๐. ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็น ทัสสนวิสสุทธิญาณ ๔๑. ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น เป็น ขันติญาณ ๔๒. ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็น ปริโยคาหนญาณ ๔๓. ปัญญาในการรวมธรรม เป็น ปเทสวิหารญาณ ๔๔. ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็น สัญญาวิวัฏฏญาณ ๔๕. ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็น เจโตวิวัฏฏญาณ ๔๖. ปัญญาในการอธิษฐาน เป็น จิตตวิวัฏฏญาณ ๔๗. ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็น ญาณวิวัฏฏญาณ ๔๘. ปัญญาในความสลัดออก เป็น วิโมกขวิวัฏฏญาณ ๔๙. ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็น สัจจวิวัฏฏญาณ ๕๐. ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา เป็น อิทธิวิธญาณ ๕๑. ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็น โสตธาตุวิสุทธิญาณ ๕๒. ปัญญาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภทอย่างเดียว สามารถแห่งความผ่องในแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น เจโตปริยญาณ ๕๓. ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถแห่งความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็น บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๕๔. ปัญญาในความเห็นรูปนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแห่งแสงสว่าง เป็น ทิพจักขุญาณ ๕๕. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็น อาสวักขยญาณ ๕๖. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็น ทุกขญาณ ๕๗. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรละ เป็น สมุทยญาณ ๕๘. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้แจ้ง เป็น นิโรธญาณ ๕๙. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ เป็น มรรคญาณ ๖๐. ปัญญาเห็นสภาพแห่งทุกข์ เป็น ทุกขญาณ ๖๑. ปัญญาเห็นเหตุแห่งทุกข์ เป็น ทุกขสมุทยญาณ ๖๒. ปัญญาเห็นแจ้งในนิพพาน เป็น ทุกขนิโรธญาณ ๖๓. ปัญญาเห็นข้อปฏิบัติที่พ้นทุกข์ เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ๖๔. ปัญญาแตกฉานในความหมายแห่งผล เป็น อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๖๕. ปัญญาแตกฉานในหลักธรรมแห่งเหตุ เป็น ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๖๖. ปัญญาแตกฉานในภาษา เป็น นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๖๗. ปัญญาแตกฉานในความคิดทันการมีไหวพริบแห่งญาณทั้งหลาย เป็น ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๖๘. ปัญญาเป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยแห่งเวไนยสัตว์ คือ ญาณเฉพาะพระตถาคต เป็น อินทริยปโรปริยัตตญาณ ๖๙. ปัญญาเป็นเหตุให้ทรงทราบอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ คือ ญาณเฉพาะพระตถาคต เป็น อาสยานุสยญาณ ๗๐. ปัญญาแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ คือ ญาณเฉพาะพระตถาคต เป็น ยมกปาฏิหาริยญาณ ๗๑. ปัญญาแสดงพระคุณอันยิ่งใหญ่แก่เวไนยสัตว์ คือ ญาณเฉพาะพระตถาคต เป็น มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๗๒. ปัญญาอันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ สมันตจักขุ คือ ญาณเฉพาะพระตถาคต เป็น สัพพัญญุตญาณ ๗๓. ปัญญาหยั่งรู้ตลอดทะลุปรุโปร่งไม่มีอะไรกั้นได้ ปัญญารอบรู้ ทศพลญาณ จักขุญาณ คือ ญาณเฉพาะพระตถาคต เป็น อนาวรณญาณ
หมายเหตุ: ญาณ ๖ เบื้องปลาย ไม่ทั่วไปแห่งสาธารณ์แก่พระสาวก และเป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น
ฉะนั้น คุณค่าความเป็นมนุษย์ ผู้ประเสริฐ มหาบุรุษ อุดมบุรุ บุรุษผู้สูงที่สุด นั้น ต้องมีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติธรรม ที่เป็นผู้เหนือโลก แล้วกลับมาเข้าใจโลก ไม่ใช่จากโลกแล้วไปเข้าใจธรรมทีเหนือโลก ซึ่งเป็นการย่อมรับได้ยาก เพราะต้องหนีจากโลก คือ จิตที่เหนือวิสัยโลกที่มนุษย์ยึดมั่นติดมั่นว่าเป็นชีวิตที่แท้จริง เมื่อพิจารณาตามหลักปฏิจจสมุปบาท จะพบว่า คนที่หนีจากโลกไม่ได้ เรียกว่า ผู้มีโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา สิ่งนี้ สภาวะนี้ ภาวะนี้ ธรรมนี้ เป็น โลกียะโลกิยธรรม เป็นเรื่องของชาวโลก (โลกธรรม ๘) เมื่อวิเคราะห์ให้ละเอียดลงลึกอีก คำว่า ทุกข์ (แห่งปฏิจจสมุปบาท) มีบริวารกิเลสเบื้องต้น ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) โสกะความโศก กับ (๒) ปริเทวะความคร่ำครวญ และมีบริวารกิเลสเบื้องปลาย ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) โทมนัสทุกข์ใจ กับ (๒) อุปายาสความคับแค้นใจ ส่วน ทุกข์ทุกข์กาย เป็นกิเลสในเบื้องกลาง ผู้ที่ดับ อวิชชาตัณหาอุปาทาน ได้ ย่อมดับกิเลสและทุกข์ทั้งหลายได้ ดังเช่น พระอรหันต์ ที่มีชื่อว่า ผู้ปราศจากโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา เมื่อดับ อวิชชา ได้ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็ย่อมดับไป เช่นกัน ฉะนั้น โสกะปริเทวะโทมนัสอุปายาส คือ กิเลส ส่วน ทุกข์ ก็คือ กิเลส เช่นกัน องค์ประกอบทั้ง ๑๒ ประการ ได้แก่ อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรามรณะ ต่างก็เป็น ขันธ์ ๕ ที่มีใจครอบครอง (กิเลส) มีกรรมครอบครอง (คือ ถูกกิเลสกลุ้มรุมจิตไว้) มีวิบากตามมาพร้อม ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ซึ่งก็หมายถึง วัฏฏะ ๓ เพื่ออยู่ตามกระแสโลกธรรม แต่ในทางตรงกันข้าม การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา สอนให้ทิ้งวิสัยโลกนี้ให้หลุดพ้นเสีย โดยให้รู้ความจริงอันสูงสุดโดยปรมัตถ์ แล้วบอกลาพวกโลกนี้ไปสู่ ภาวะที่ปราศจากวัฏฏะวิวัฏฏะนิพพาน นั่นคือ ภาวะที่ปราศจากกิเลสและกองทุกข์ดีแล้ว ที่เรียกว่า โลกุตตรธรรมโลกุตตรภูมิ ความจริงก็คือ ภูมิแห่งพระอรหันต์ นั่นเอง ไม่ใช่ภูมิของผู้บรรลุฌานสมาบัติ (รูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ = รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔) หรือภูมิของอริยบุคคลในระดับ โสดาบัน สกทาคามี และ อนาคามี ซึ่งท่านทั้งหลายเหล่านี้ ยังต้องเจริญภาวนาให้บรรลุถึง อรหันต์ ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นภพนี้หรือในภพหน้าก็ตาม คุณค่าความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐดีแท้นั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเรื่อง ความเป็นพระอรหันต์ หรือ ความเป็นพระพุทธเจ้าความเป็นพุทธะ (คำว่า พุทธะ คือ พระพุทธเจ้า) เพราะฉะนั้น ความเป็นพระพุทธเจ้า จึงหมายถึง พระอรหันตขีณาสพ เท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่มีอนุโลมอ่อนข้อให้ สิ่งนี้คือ กฎเหล็ก ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่อนุญาตให้เรียกว่า ผู้ประเสริฐสูงสุด เพราะฉะนั้น ผู้จะบรรลุถึงภูมิสูงสุดนี้ได้ จึงมี ศีลสมาธิปัญญา ที่บริสุทธิ์ (ไตรสิกขา กับ วิสุทธิ ๗) จนเกิดปัญญาเห็นธรรมใน อริยสัจจ์ ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ และ สามัญผล ๔ พร้อมด้วยนิพพาน เท่านั้น
ภาวะจิตที่เป็นสมาธิในฌานขั้นที่ ๔ นั้น เป็นจิตที่มีพลังอำนาจ มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เนื่องจากเป็นจิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติธรรม เจริญจิตตสมาธิมาจาก อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกว่า อธิจิตตสิกขา ที่ประกอบด้วย (๑) สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔ (๒) สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔ (๓) สัมมาสมาธิฌาน ๔ และ อธิสีลสิกขา ที่ประกอบด้วย (๑) สัมมาวาจาวจีสุจริต ๔ (๒) สัมมากัมมันตะกายสุจริต ๓ (๓) สัมมาอาชีวะอาชีพสุจริต เพราะฉะนั้น จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง จึงเป็นองค์ความรู้ที่มีฐานมาจากความบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายและปลอดทุกข์ทั้งปวง แต่ การมีสติสัมปชัญญะ ที่ทำให้ไม่เกิดความประมาท ที่จะไปหลงใหลในองค์ความรู้เหล่านั้น เป็นเรื่องไม่พึงกระทำยิ่ง เพราะไม่ใช่ทางไปสู่นิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติธรรม สติสัมปชัญญะ ทำให้เกิด สติปัญญา ที่สหรคตกับ อุเบกขาสมาธิ ในขณะที่จิตเป็นจตุตถฌาน จิตย่อมวางเฉยเป็นกลางต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะเข้าใจสภาวธรรมตามที่เป็นจริง และประการสำคัญ ย่อมเกิด ปัญญาเห็นธรรม ที่เรียกว่า กัมมัสสกตาแห่งตนกฎแห่งกรรมของตน (กฎกรรมของสัตว์) ทำให้เข้าใจถูกต้องกับภาวะจิตของตน ที่เป็นอย่างนั้น หรือเป็นอย่างนี้ เพราะ กิเลสกรรมวิบาก ตามสภาพทุกข์แห่งวัฏฏะ ไม่ใช่ไม่รู้ไม่เข้าใจความเป็นมาของสภาวธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้น ฉะนั้น ผู้มีปัญญาย่อมไม่ยอมให้ชีวิตไปเวียนว่ายตายเกิดในสงสารทุกข์ดังกล่าวนั้น การได้รับความโชคดี คือ ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุปัญญาเห็นธรรม จึงเป็นจุดเริ่มของผู้ปฏิบัติธรรมที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไปในเส้นทางอริยมรรค เพื่อให้บรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น ศีลสมาธิปัญญา (ไตรสิกขาอริยมรรคมีองค์ ๘) จึงเป็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐอีกส่วนหนึ่งในพระพุทธศาสนา ดังนั้น ผู้ตื่นเนื่องจากไม่ทำชั่ว ผู้เบิกบานด้วยใจไม่เศร้าหมอง ผู้รู้เพราะมีวิชชา ย่อมเป็นที่ปรารถนาของทุกสังคม เพราะไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น รู้อะไรควร อะไรไม่ควร ฉะนั้น ในความหมายของคำว่า อริยะ คือ ประเสริฐ ดีเยี่ยม ศิวิไลซ์ มีวัฒนธรรมสูงส่ง มีปัญญาล้ำเลิศ มีเมตตากรุณาสูงไม่มีประมาณและประกอบด้วยเหตุผล มีวิจารณญาณหรือสามัญสำนึก ปราศจาก อภิชฌาพยาบาทวิหิงสา เพราะจิตได้พัฒนาถึงจุดสูงสุด ทำให้รู้สึกนึกคิดเกินกว่าที่อยากได้ของคนอื่น เกินที่จะคิดปองร้ายผู้อื่น เกินที่จะเอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น ความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐจึงบังเกิดขึ้นทั้งร่างกายด้วยกระทำอันเป็น ปฏิปทานุตตริยะการปฏิบัติอันเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้ว กล่าวให้ง่ายหมายเอามรรคมีองค์ ๘ จิตใจด้วยอุเบกขากับเอกัคคตาแห่งสมาธิในจตุตถฌาน ประกอบด้วยปัญญาโดยยถาภูตญาณที่มี ทัสสนานุตตริยะการเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ ปัญญาอันเห็นธรรม จึงมีความพร้อมถึงความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ด้วย วิมุตตานุตตริยะการพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง หรือ นิพพาน ได้จริงแท้แน่นอน.
|