๗๑. สัมมสนญาณโดยไตรลักษณ์ MentalityMateriality Based Knowledge with the Three Characteristics
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ ปัญญาพิจารณาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์นั้น ทำให้เกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง นั่นคือ เป็นธรรมชาติตามสภาพ ที่ปราศจากเจตนา ซึ่งเข้าไปปรุงแต่งสังขาร ความนึกคิดในใจ ให้ตกอยู่ในวัฏฏะทั้ง ๓ ได้แก่ กิเลสกรรมวิบาก ที่ตามมาด้วย สงสารทุกข์แห่งสังสารจักร ในการรู้เห็นและเข้าใจถูกต้องด้วย สัมมาทิฏฐิ คือ รู้ดีรู้ชั่ว รู้จักเลือกประโยชน์ รู้ อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค รู้ กาล ๓ ได้แก่ อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันนัทธา รู้ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ได้แก่ อนุโลมปฏิจจสมุปบาทปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท รู้ ไตรลักษณ์ คือ สามัญลักษณะ ได้แก่ อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา คำว่า ธรรม หมายถึง สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ (ความนึกคิดในใจ) ได้แก่ รูปธรรมอรูปธรรม ๑ โลกียธรรมโลกุตตรธรรม ๑ สังขตธรรมอสังขตธรรม ๑ อุปาทินนธรรม (ธรรมที่ถูกยึด) อนุปาทินนธรรม (ธรรมที่ไม่ถูกยึด) ๑ กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรม ๑ แต่ธรรมที่สำคัญมาก คือ ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา จำเป็นต้องเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้ง รวมทั้งธรรมทั้งหลายที่เหลือ คือ สัมปยุตตธรรม ที่เกี่ยวข้องกับ ขันธ์ ๕นามรูป: รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ จุดเริ่มต้นของการเกิด ภาวนามยปัญญา นั้น จะเริ่มจาก วิชชา ๓ หลังจากได้เข้าถึง รูปฌานสมาบัติ (จตุตถฌาน) ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทำให้เกิด นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญากำหนดรู้นามรูปแห่ง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ กับ (๒) ทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณ ทำให้เกิด ปัจจยปริคคหญาณธัมมฐิติญาณ คือ ปัญญากำหนดรู้เหตุปัจจัยแห่งนามรูปโดย ปฏิจจสมุปบาท ๑๒และปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ในขั้นถัดจากนั้น จะเข้าถึงกระแสแห่ง สัมมสนญาณ คือ ปัญญากำหดรู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ นั่นคือ อนิจจังทุกขังอนัตตา ซึ่งทำให้เกิดปัญญาในวิปัสสนาภูมิอีก ได้แก่ (๑) ชวนปัญญา คือ ปัญญาเร็ว โดยเจริญ อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง] (๒) นิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาทำลายกิเลส โดยเจริญ ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์] (๓) มหาปัญญา คือ ปัญญามาก โดยเจริญ อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน] (๔) ติกขปัญญา คือ ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์] (๕) วิบูลปัญญา คือ ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา [ดับความกระหายวัฏฏะ] (๖) คัมภีรปัญญา คือ ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส] (๗) อัสสามันตปัญญา คือ ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน] (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ปัญญาแตกฉาน โดยเจริญ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา] (๙) ปุถุปัญญา คือ ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] (๑๐) หาสปัญญา คือ ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ] ด้วยประการฉะนี้.
บทความที่ ๗๑ ประจำปี ๒๕๕๘ สัมมสนญาณโดยไตรลักษณ์ ความสำคัญยิ่งยวดที่พิจารณารู้เห็น
ลักษณะสากล (Universality) ในนามรูปโดยไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า
ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ ที่มีนัยแสดงถึง (๑) ทุกข์ทุกขตา: สภาพแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ และรวมทั้ง (๒) อนิจจังอนิจจตา: ความไม่เที่ยง กับ อนัตตาอนัตตตา:
ความไม่ใช่ตัวตน
การพิจารณาเห็นเฉพาะสภาพแห่งขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖ อันสัมปยุตต์ด้วย ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ข้อ ๑
ในวิชชา ๓) ส่วนการพิจารณาเห็นสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ คือ ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖
อันสัมปยุตต์ด้วย จุตูปปาตญาณ หรือ ทิพพจักขุญาณ ข้อ ๒ ในวิชชา ๓)
ด้วยสามารถแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ที่เรียกว่า ธัมมฐิติญาณธมฺมฐิติญาณํ คือ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
ได้แก่ ญาณในปัจจยาการ คือ ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น
ในบรรดาญาณเหล่านั้น มีญาณ ๒ หมวด คือ (๑) ชรามรณะเกิดเพราะชาติปัจจัย
(๒) เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี ดังนี้
อันประกอบด้วยกระบวนการคิด ๒ ประการ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ
พิจารณาเห็นอวิชชาเป็นเหตุแห่งทุกข์ ด้วยกำหนดรู้สมุทัยสัจจ์ และ (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท
คือ พิจารณาเห็นการดับอวิชชาเป็นเหตุแห่งทุกข์ ด้วยกำหนดรู้นิโรธสัจจ์ ฉะนั้น
การพิจารณารู้เห็นนามรูปแห่งขันธ์ ๕ เพียง ทุกข์สัจจ์สมุทัยสัจจ์นิโรธสัจจ์
แค่นี้ จึงไม่เพียงพอ เพราะยังขาด มรรคสัจจ์ ที่ต้องพิจารณารู้เห็นนามรูปที่ประกอบด้วย สามัญลักษณะ ครบทุกอย่าง เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือบาทวิถีในการดับทุกข์อย่างแท้จริง
ที่ต้องเจริญให้มากด้วย สัมมสนญาณ (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) หมายถึง (๑)
ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ
ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็น สิ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์มิใช่ตัวตน
และ (๒) ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย หรือหาข้อสรุปในธรรมทั้งหลาย
ทั้งใน อดีตอนาคตและปัจจุบัน แล้วกำหนดไว้ ย่อมเป็น
สัมมสนญาณ อย่างแน่นอน ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา
ต้องให้ความสำคัญถึงความเปลี่ยนแปลงใน นามรูป นั่นคือ (๑) รูปสันตติ คือ สภาวะในความสืบต่อแห่ง รูปรูปธรรมรูปกลาปกลาป หรือ รูปชีวิตินทรีย์
กับ (๒) อรูปสันตติ คือ
สภาวะในความสืบต่อแห่ง นามนามธรรมจิตตสังขารจิตเจตสิก
หรือ อรูปชีวิตินทรีย์ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับ กาล ๓ ที่มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง ได้แก่ (๑) ขณะ
ได้แก่ อุปปาทขณะ ฐีติขณะ และ ภังคขณะ (๒) สันตติ ได้แก่ วาระ (๓)
สมัย ได้แก่ ช่วง ตอน และ (๔) อัทธา ได้แก่ ภพ
ห้วงเวลา ดังนี้ (๑) อดีตกาล
ได้แก่ อดีตขณะขณอดีต ๑
อดีตสันตติสันตติอดีต ๑ อดีตสมัยสมัยอดีต
๑ อดีตอัทธาอัทธาอดีต ๑ (๒) ปัจจุบันกาล
ได้แก่ ปัจจุบันขณะขณปัจจุบัน
๑ ปัจจุบันสันตติสันตติปัจจุบัน ๑ ปัจจุบันสมัยสมัยปัจจุบัน ๑ ปัจจุบันอัทธาอัทธาปัจจุบัน ๑ (๓) อนาคตกาล
ได้แก่ อนาคตขณะขณอนาคต ๑
อนาคตสันตติสันตติอนาคต ๑ อนาคตสมัยสมัยอนาคต ๑ อนาคตอัทธาอัทธาอนาคต ๑ คุณลักษณะหน่วยมิติของกาลเวลา (๑) ขณะ (Moment) คือ
การบ่งบอกอาการความเปลี่ยนแปลงที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดของเวลา (๒) สันตติ (Continuity) คือ
การบ่งบอกความคาบเกี่ยวที่สืบต่อเนื่องกันระหว่างห้วงเวลาในทุกระดับ (๓) สมัย (Period) คือ การบ่งบอกระยะความห่างของช่วงคาบเกี่ยวของเวลาเป็นตอนๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าอัทธา
(๔) อัทธา (Time) คือ
การบ่งบอกหน่วยเวลาที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในกาลทั้ง ๓ ในทางทฤษฎีนั้น
ปัญญาที่ใช้ในการหยั่งรู้สภาวธรรมในกาลทั้ง ๓ เรียกว่า ญาณ ๓
ดังนี้ ญาณ ๓ หมายถึง ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้ (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย
สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔
- หน้าที่ 357358 FILE 37) ได้แก่ (๑) อตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต
รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ โดยอาศัย บุพเพนิวาสญาณปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) คือ ระลึกชาติได้ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ (๒) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต
รู้อนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ โดยอาศัย ทิพยจักษุญาณทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) คือ
ความรู้ดุจดวงตาทิพย์ ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย
ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กันเพราะอำนาจกรรม อนึ่ง บุคคลย่อมรู้อนาคตที่เกิดในภายหลังแต่นั้นได้ด้วยสามารถแห่ง
การณะ
คือ เครื่องกระทำ หรือ เหตุทั้งสิ้น ด้วยคำไวพจน์ต่อไปนี้
มูลย่อมทำธรรมใดให้เป็นผลของตน
ธรรมที่เป็นผลนั้นในที่นั้นจึงอาศัยตั้งอยู่ได้ เหตุให้ผลธรรมนั้นเจริญและเป็นไปทั่ว
นิทานเป็นแดนมอบให้ซึ่งผลธรรมนั้นๆ สมภพย่อมให้ผลธรรมเกิดพร้อมแต่เหตุนั้น ประภพเป็นแดนเกิดก่อน สมุฏฐานผลธรรมนั้นย่อมตั้งขึ้นพร้อมในเพราะธรรมอันเป็นเหตุนั้น
ย่อมยังผลธรรมนั้นๆ ให้ตั้งขึ้นพร้อม อาหารย่อมนำมาซึ่งผลธรรมนั้นๆ อารมณ์ไม่สละซึ่งผลธรรมนั้น ปัจจัยผลธรรมนั้นอาศัยธรรมอันเป็นเหตุเป็นไป
สมุทัยยังผลธรรมให้เกิดขึ้นจากเหตุ
บุคคลย่อมรู้ซึ่งจิตนั้น เพราะความเป็นเหตุปัจจัย อธิบายว่า
ธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัยในธรรมเหล่านั้น ย่อมรู้ซึ่งธรรมเหล่านั้น (พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่
798 799 FILE 80) (๓) ปัจจุปปันนังสญาณ คือ
ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน
รู้ปัจจุบันและกำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่
โดยอาศัย ทิพยจักษุญาณทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) คือ ความรู้ดุจดวงตาทิพย์ พิเศษของพระพุทธเจ้า
และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ
กันเพราะอำนาจกรรม หมายเหตุ: ส่วน อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) คือ
โลกุตตรญาณ (โลกิยคุณและโลกุตตรคุณ
อันเป็นพระสัพพัญญูคุณของพระพุทธเจ้า) ที่ดับอาสวะทั้งหลายได้ (พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445 FILE 20) อย่างไรก็ตาม
ก่อนที่จะพิจารณาด้วย สัมมสนญาณ นั้น ให้ทำความเข้าใจให้ชัดเจนกับ ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ เพิ่มเติมโดยสังเขป ดังนี้ อธิบายญาณวัตถุหมวด ๗ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้าที่ 672673 FILE 78) พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสซึ่งปัจจเวกขณญาณอันต่างโดย กาล ๓ ใน องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๑ ไว้แต่ละองค์ (สังขาร
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ) ด้วยสามารถแห่ง
(๑) ความเป็นไป และ (๒) ความไม่เป็นไป โดยนัยว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เป็นต้น
แล้วก็ตรัสญาณอันใดนั้นโดยสังเขปอย่างนี้ว่า ความรู้ว่า: ธัมมฐิติญาณของบุคคล นั้น โดยประการทั้งหลาย
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นต้น บรรดาญาณเหล่านั้น ญาณ ๒ หมวด คือ (๑)
ชรามรณะเกิดเพราะชาติปัจจัย (๒) เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี ดังนี้ ตรัสไว้ด้วย สามารถแห่งปัจจุบันกาลอันยาวนาน
(ปัจจุบัน ๔ คือ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันสันตติ
ปัจจุบันสมัย และปัจจุบันอัทธา ส่วน อดีตและอนาคต ก็มีอย่างละ ๔
เช่นเดียวกัน อ้างอิงจาก สัมโมหวิโนทนี. อรรถกถา. หน้า ๙) ญาณ ๖ เหล่านี้ คือ ญาณ ๒ หมวดในอดีต และญาณ
๒ หมวดในอนาคต อย่างนี้ว่า อดีตกาลอันยาวนาน ก็ดี อนาคตอันยาวนาน ก็ดี (รวมปัจจุบันอีก ๒) เป็น ๗ กับ ด้วย ธัมมฐิติญาณ
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ธมฺมฐิติญาณํ (แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย) ได้แก่ ญาณในปัจจยาการ จริงอยู่
ปัจจยาการ (คือ
ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น) พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเรียกว่า ธรรมฐิติ ดังนี้
เพราะความที่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเหตุ (การณะ) แห่งการเป็นไปและตั้งอยู่ ธัมมฐิติญาณ นี้
เป็นชื่อของญาณ ๖ อย่างนั้น เพราะทำญาณเหล่านั้นในองค์หนึ่งๆ ให้เป็นหมวดละ ๗ ละ
๗ ในองค์ ๑ (ปัจจยาการ ๑๑) จึงรวมเป็น ๗๗ ญาณ
(ทุติยธัมมญาณ ๗๗) ด้วยประการฉะนี้ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยธมฺมํ
(แปลว่า มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ สภาวะอันถึงซึ่งความสิ้นไป คำว่า วยธมฺมํ (แปลว่า มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา)
ได้แก่ สภาวะอันถึงซึ่งความเสื่อมไป คำว่า วิราคธมฺมํ (แปลว่า มีความคลายไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ ภาวะอันไม่น่ายินดี คำว่า นิโรธธมฺมํ (แปลว่า มีความดับไปเป็นธรรมดา)
ได้แก่ สภาวะอันหมดไป จบ อธิบายญาณวัตถุหมวด ๗ ---------------------- ในทำนองเดียวกันนั้น ทั้ง ธัมมฐิติญาณปฏิจจสมุปบาท ๑๒ กับ สัมมสนญาณกลาปสัมมสนญาณ ต่างเกี่ยวข้องกับ กาลเวลา (Time) ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
ตามรายละเอียดในภาพประกอบข้างต้นนั้น
ทำให้เห็นภาพรวมสภาวะอิทธิพลของ หน่วยมิติแหงกาลเวลา (Time Dimension
Hierarchy) หรือ ความเปลี่ยนแปลง (Change) ที่เรียกว่า ปริวัฏฏ์วิปริฌาม (Transformation) อันเป็นอำนาจที่แฝงอยู่ใน ขันธ์ ๕
แห่งชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต) ซึ่งมีพละกำลังแห่งสภาวะพลวัต
(Dynamics) ในทุกขณะจิต (อุปปาทขณะฐีติขณะและภังคขณะ) ในกาลทั้ง ๓ (อดีตอัทธาอนาคตอัทธาและปัจจุบันนัทธา)
ซึ่งจะมีอาการลักษณะที่สืบต่อเนื่องกันไป (สันตติอดีตสันตติปัจจุบันสันตติอนาคต) ที่ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีสามารถแห่งปรีชาหยั่งรู้ด้วย ญาณ ๓วิชชา ๓ คือ ปัญญาหยั่งรู้ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) อตีตังสญาณปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (๒) อนาคตตังสญาณทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณ (๓) ปัจจุปปันนังสญาณทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณ อันทำให้รู้ดูเห็นเข้าใจถึง ชีวิตสันตติแห่งสังสารจักร ไม่ว่าจะเป็น (๑) รูปสันตติกลาปรูป หรือ (๒) อรูปสันตตินาม ก็ตาม แต่ว่า ทั้ง รูป และ นาม นั้น หมายถึง ขันธ์ ๕ แห่งสังขตธรรม คือ สิ่งที่ปรุงแต่งตามเจตนาของตนตามสภาวะของวัฏฏะ (กิเลสกรรมวิบาก = กรรมภพ
และ อุปัตติภพ) อันมีอดีตมูลมาจาก อวิชชา คือ ความไม่รู้จริง (อโยนิโสมนสิการ) ที่ทำให้เกิด สงสารทุกข์ นั่นคือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปยาส เป็นธรรมดา ฉะนั้น โสดาบันสกทาคามีอนาคามี ยังไม่หลุดพ้นจากวัฏฏะ
และการพิจารณารู้เห็นและเข้าใจถึง สามัญลักษณะแห่งนามรูปโดยไตรลักษณ์ (สัมมสนญาณ) ได้นั้น ทำให้เห็นแจ้งแทงตลอดใน ลักษณะแห่งสังขตธรรม นั่นคือ สังขตลักษณะ ๓ ได้แก่ มีความเกิดขึ้น ปรากฏ ๑ ความดับสลาย ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่
ความแปรปรากฏ ๑ โดยพิจารณาตาม อนุโลมปฏิจจสมุปบาท (รู้เห็นเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ธัมมัฏฐิติญาณ) แต่ในขณะเดียวกันนั้น
ย่อมเกิดปัญญาเห็น ลักษณะแห่งอสังขตธรรม นั่นคือ อสังขตลักษณะ ๓ ได้แก่ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความสลาย ๑ เมื่อตั้งอยู่
ไม่ปรากฏความแปร ๑ โดยพิจารณาตาม ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท
(รู้เห็นการดับเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ทุกขนิโรธญาณ)
เพราะฉะนั้น สัมมสนญาณ (ข้อ
๓ ในญาณ ๑๖) ทำให้เกิดปัญญารู้เห็นทั้ง สังขตธรรมลักษณะ
๓ แห่งวัฏฏะ (มีอนิจจัง มีทุกข์ ไม่มีอัตตา = (๑) ความเป็นไป และ (๒) ความไม่เป็นไป
) และ อสังขตธรรมลักษณะ ๓
แห่งวิวัฏฏะ (ภูมิแห่งพระอรหันต์
ผู้เข้าถึงกระแสแห่งนิพพาน) อันเป็นอานิสงส์ตามมาในเวลาเดียวกัน แต่ องค์ธรรม ที่นำมาพิจารณากรรมฐานนั้น คงใช้
(๑) ขันธ์ ๕ และ (๒) อาการลักษณะที่อ้างอิงถึงขันธ์ ๕ โดยย่อ
หมายถึง ธรรม ๖
(วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ) ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์
๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ดังรายละเอียดใน อภิญเญยธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง จาก ข้อ (๑) ถึง ข้อ (๒๒) จำนวนประมาณ
๒๒๒ องค์ ดังต่อไปนี้ ๕. อรรถกถาสัมมสนญาณุทเทส ว่าด้วย สัมมสนญาณ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่
5153 FILE 68) ชื่อว่า อดีต เพราะอรรถว่า
ถึงแล้ว ถึงยิ่งแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ซึ่งสภาวะของตนหรือ ขณะ มี อุปปาทขณะ ฐิติขณะ และ ภังคขณะ
ชื่อว่า อนาคต เพราะอรรถว่า
ไม่ถึงแล้ว ไม่ถึงพร้อมแล้ว แม้ซึ่งสภาวะของตน และ ขณะ มี อุปาทขณะ ฐิติขณะ และ ภังคขณะ
ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะอรรถว่า บรรลุแล้ว ถึงแล้ว เป็นไปแล้วเพราะอาศัยเหตุนั้นๆ
จนล่วง ขณะ มี อุปาทขณะ
ฐิติขณะ และ ภังคขณะ ในคำนี้ว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนานํ
ธมฺมานํ สงฺขิปิตฺวา ววตฺถาเน ปญฺญา ในกาล
ในขณะสืบต่อและในปัจจุบันในที่นี้ประสงค์เอา ปัจจุบันสันตติ
คือ ปัจจุบันที่กำลังสืบต่อ ปัญญาในการรวบรวมเอาธรรม คือ ขันธ์ ๕ ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน
เหล่านั้นเข้าไว้ในขันธ์หนึ่งๆ แล้วทำให้เป็นกองด้วยสามารถ กลาป [กะ-หลาบ กลาปสัมมสนญาณ
= กำหนดพิจารณาโดยกลาป ดังเช่น การจัดหมวดหมู่ใน อภิญเญยธรรม ทั้ง ๒๒ หมวด ใน สัมมสนญาณนิทเทส
ในอันดับต่อไป] คือ หมวดหมู่แล้ว กำหนด วินิจฉัย ตัดสินได้ ญาณ คือ ปัญญาในการถูกต้อง เลือกเฟ้น
เพ่งพินิจด้วยดี อธิบายว่า ญาณในการพิจารณาในเบญจขันธ์โดยความเป็นหมวดหมู่
(กลาป) ชื่อว่า สมฺมสเน ญาณํ แปลว่า ญาณในการพิจารณาเบญจขันธ์ จริงอยู่ กลาปสัมมสนญาณ นี้
ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้ ธัมมัฏฐิติญาณ เป็นเครื่องกำหนดปัจจัยของนามรูป ในลำดับแห่ง นามรูปววัตถานญาณ ยกแต่ละขันธ์ๆ
ที่กำหนดไว้แล้วในก่อนขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วเห็นแจ้งอยู่ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาตามที่กล่าวแล้ว โดยนัยแห่งพระบาลี เป็นต้น ว่า
พระโยคีบุคคลกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน
เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ ประการหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์
การกำหนดนี้ เป็น สัมมสนญาณ
ประการหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้ก็เป็น สัมมสนญาณ ประการหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม
ส่วนอาจารย์เหล่าอื่น
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 467468 FILE 68) กล่าวว่า ญาณในสัจจะทั้งหลาย มี ๔ อย่าง
(อริยสัจจ์ ๔) ได้แก่ สุตมยญาณ คือ ญาณเกิดจากการฟัง ๑ ววัตถานญาณ คือ ญาณเกิดจากการกำหนด ๑ สัมมสนญาณ คือ ญาณเกิดจากการพิจารณา ๑ อภิสมยภาณ คือ ญาณเกิดจากการตรัสรู้ ๑ ดังนี้ (๑) ในญาณเหล่านั้น สุตมยญาณ
เป็นไฉน พระโยคาวจรฟังสัจจะ ๔ โดยย่อหรือโดยพิสดารย่อมรู้ว่า
นี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค นี้ชื่อว่า สุตมยญาณ
= พาหุสัจจะ คือ ผู้คงแก่เรียน โดย ปรโตโฆสะ อันปัจจัยทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ (๒) ววัตถานญาณ
เป็นไฉน พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดความของการฟัง โดยธรรมดา
และโดยลักษณะ ย่อมลงความเห็นว่า ธรรมเหล่านี้นับเนื่องในสัจจะนี้
นี้เป็นลักษณะของสัจจะนี้ นี้ชื่อว่า ววัตถานญาณ = ปริญญา คือ
กำหนดรู้ธรรมทั้งหลายตามความจริงโดยอริยสัจจ์ ๔ (๓) สัมมสนญาณ
เป็นไฉน พระโยคาวจรนั้น กำหนดสัจจะ ๔
ตามลำดับอย่างนี้แล้วถือเอาทุกข์เท่านั้น ย่อมพิจารณาตลอดไปถึง โคตรภูญาณ (รวมเอา วิปัสสนาญาณ ๙ เข้าไปด้วย) โดยความไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา นี้ชื่อว่า สัมมสนญาณ = กลาปวิปัสสนา คือ ธัมมวิจยะ วิมังสา ทำโดย โยนิโสมนสิการ ด้วย การคิดอย่างถูกวิธีตามหลักธรรม ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ [ธัมมฐิติญาณ] อันปัจจัยทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ (๔) อภิสมยญาณ
เป็นไฉน พระโยคาวจรนั้น ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยญาณหนึ่ง
ในขณะโลกุตรมรรค ไม่ก่อน ไม่หลัง คือ ย่อมตรัสรู้ ทุกข์
โดยการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้ ย่อมตรัสรู้ สมุทัย โดยการตรัสรู้ด้วยการละ ย่อมตรัสรู้ นิโรธ โดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง
ย่อมตรัสรู้ มรรค โดยการตรัสรู้ด้วยการเจริญ
นี้ชื่อว่า อภิสมยญาณ = สัจฉิกิริยา คือ ทำให้แจ้ง ฉะนั้น การพิจารณารู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์นั้น
ย่อมเกิดจาก อนิจจานุปัสสนาชวนปัญญา คือ ปัญญาเร็ว
เพราะความไม่เที่ยงตามทัน จึงถอนวิปลาสนิมิต ชื่อว่า ความไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ อย่าง ได้แก่ (๑) โดยมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นที่สุด (๒)
โดยความแปรปรวนไป (๓) โดยความเป็นของชั่วคราว (๔) โดยปฏิเสธความเที่ยง (๒) ทุกขานุปัสสนานิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาทำลายกิเลส เพราะกิเลสเป็นเหตุแห่งความแปรปรวน
จึงถอนตัณหาปณิธิ ชื่อว่า ความเป็นทุกข์ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง ได้แก่ (๑) โดยความเป็นของบีบคั้นเนืองๆ (๒) โดยความเป็นของทนได้ยาก (๓) โดยเป็นวัตถุตั้งแห่งทุกข์
(๔) โดยปฏิเสธความสุขและ (๓) อนัตตานุปัสสนามหาปัญญา คือ ปัญญามาก เพราะประจักษ์แล้วในความถือมั่นในตัวตนไม่เป็นจริง
จึงถอนอัตตาภินิเวส ชื่อว่า ความเป็นอนัตตา ด้วยเหตุ ๔ อย่าง ได้แก่ คือ (๑) โดยความเป็นของสูญ (๒) โดยความไม่มีเจ้าของ (๓)
โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ (๔) โดยปฏิเสธต่ออัตตา สัมมสนญาณนิทเทส (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค
๑ - หน้าที่ 657660
FILE 68) ในบทนี้ให้กำหนดธรรมข้อย่อยใน อภิญเญยธรรม ทั้งหมด ๒๒ หัวข้อ โดยพิจารณาให้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า สามัญลักษณะ ได้แก่ (๑) อนิจจตา
(๒) ทุกขตา (๓) อนัตตตา ดังนี้ อภิญเญยธรรม (๑) ขันธ์ ๕ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (๒) อายตนะภายใน ๖อินทรีย์ ๖สฬายตนะ =
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ = รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ (๔) วิญญาณ ๖ = จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ (๕) ผัสสะ ๖ = จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส (๖) เวทนา ๖ = จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา (๗) สัญญา ๖ = รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา (๘) เจตนา ๖ = รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธรรมสัญเจตนา (๙) ตัณหา ๖ = รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา (๑๐) วิตก ๖ = รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก (๑๑) วิจาร ๖ = รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร
(๑๒) ธาตุกัมมัฏฐาน ๑๖ = ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ
อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ
วิญญาณกสิณ (๑๓) อาการ ๓๒ทวัตติงสาการ = ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ (๑๔) อายตนะ ๑๒ = จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ
ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ (๑๕) ธาตุ ๑๘ = จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ
กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (๑๖) อินทรีย์ ๒๒ = จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า
เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ] อัญญินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจธรรมด้วยมรรคนั้น
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรคญาณ] อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้รู้จบแล้ว
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ] (๑๗) ธาตุ ๓ = กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ (๑๘) ภพ ๙ = กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ
ปัญจโวการภพ (๑๙) ฌาน ๔ = ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน (๒๐) อัปปมัญญา ๔ = เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ
อุเบกขาเจโตวิมุต (๒๑) อรูปสมาบัติ ๔ = อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (๒๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา] = อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ [๙๙] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย
ทั้ง อดีต (อดีตอัทธา) อนาคต (อนาคตอัทธา) และ ปัจจุบัน (ปัจจุบันนัทธา)
แล้วกำหนดไว้ เป็น สัมมสนญาณอย่างไร พระโยคาวจร ย่อมกำหนด รูป
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม
ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ (อนิจจานุปัสสนาชวนปัญญา) อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ (ทุกขานุปัสสนานิพเพธิกปัญญา) อย่างหนึ่ง
กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ (อนัตตานุปัสสนามหาปัญญา) อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด เวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม
ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด สัญญา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม
ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด สังขาร
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม
ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด วิญญาณ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม
ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด จักษุ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม
ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด โสตะ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม
โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด ฆานะ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม
ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด ชิวหา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม
โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด กาย
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม
ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจร ย่อมกำหนด ใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม
ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง หมายเหตุ: ในทำนองเดียวกัน
ให้ไล่ลำดับข้อธรรมย่อย จากข้อ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ จนถึง ข้อ (๒๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ นั่นคือ คำว่า ชราและมรณะ พระโยคาวจร ย่อมกำหนด ชราและมรณะ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม
โดย ความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นอนัตตา
การกำหนดนี้เป็น สัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง [๑๐๐] ปัญญาในการย่อแล้ว
กำหนดว่า รูป ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง
เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา
เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้ เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า เวทนา
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป
เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า สัญญา
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป
เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า สังขาร
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป
เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า วิญญาณ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป
เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า จักษุ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป
เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า โสตะ ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า ฆานะ ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า ชิวหา ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า กาย ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า ใจ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป
เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ หมายเหตุ: ในทำนองเดียวกัน
ให้ไล่ลำดับข้อธรรมย่อย จากข้อ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ จนถึง ข้อ (๒๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ นั่นคือ คำว่า ชราและมรณะ ปัญญาในการย่อแล้ว กำหนดว่า ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะอรรถว่า น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า หาแก่นสารมิได้
เป็น สัมมสนญาณ [๑๐๑] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
รูป ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า สัญญา
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า สังขาร
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า วิญญาณ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า จักขุ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า โสตะ ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ฆานะ ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ชิวหา ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า กาย ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ใจ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ หมายเหตุ: ในทำนองเดียวกัน
ให้ไล่ลำดับข้อธรรมย่อย จากข้อ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ จนถึง ข้อ (๒๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ นั่นคือ คำว่า ชราและมรณะ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ชราและมรณะ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็น สัมมสนญาณ อนึ่ง
ในอันดับต่อไปนี้ ให้พิจารณาองค์แห่งปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท ทั้ง ๑๒ องค์
โดยไล่ลำดับจากอนาคตไปหาอดีต (อัทธา ๓: อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันอัทธา เวลาที่พรั่งพร้อมไปด้วย อุปปาทักขณะฐิติขณะภังคขณะ คือ
ขณะทั้ง ๓ ชื่อว่า ปัจจุบันนัทธา) ตามลำดับต่อไปนี้ (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต = ชาติชราและมรณะ [๑๐๒] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชราและมรณะ เมื่อ ชาติ ไม่มี ชราและมรณะ
ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ ภพ
เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ เมื่อ ภพ ไม่มี ชาติ ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ อุปาทาน
เป็นปัจจัย จึงมี ภพ เมื่อ อุปาทาน ไม่มี ภพ ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ ตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน เมื่อ ตัณหา ไม่มี อุปาทาน
ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ เวทนา
เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เมื่อ เวทนา ไม่มี ตัณหา ก็ไม่มี
เป็น สัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ ผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เมื่อ ผัสสะ ไม่มี เวทนา ก็ไม่มี
เป็น สัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ สฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เมื่อ สฬายตนะ ไม่มี ผัสสะ ก็ไม่มี
เป็น สัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ นามรูป
เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เมื่อ นามรูป ไม่มี สฬายตนะ
ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ วิญญาณ
เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป เมื่อ วิญญาณ ไม่มี นามรูป
ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ สังขาร
เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ เมื่อ สังขาร ไม่มี วิญญาณ
ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ อวิชชา
เป็นปัจจัย จึงมี สังขาร เมื่อ อวิชชา ไม่มี สังขาร
ก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า
ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เมื่ออวิชชาไม่มีสังขารก็ไม่มี เป็น สัมมสนญาณ ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน แล้วกำหนด เป็น สัมมสนญาณ ดังนั้น กล่าวโดยสรุป รายละเอียดเกี่ยวกับ องค์แห่งปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท ๑๒ มีเพิ่มเติม (อภิธรรมภาชนีย์. อกุศลนิเทศ.
อกุศลจิต ๑๒. อกุศลจิต ดวงที่ ๑. ปัจจยจตุกกะ. พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 605 608 FILE 78) ดังต่อไปนี้ [๒๙๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น
ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด
ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา
ความไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง
ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะอันใด นี้รียกว่า อวิชชา [๒๙๓] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เป็นไฉน การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน
ความคิดอ่านอันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย [๒๙๔] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ
มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย [๒๙๕] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย [๒๙๖] อายตนะที่ ๖
เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ
มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะที่ ๖
เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย [๒๙๗] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่
๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง
ความถูกต้องอันใด นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย [๒๙๘] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ
ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย [๒๙๙] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก
ความชักนำให้คล้อยตามไป ความยินดีความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย [๓๐๐] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ทิฏฐิความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ
กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ
ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด
ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย [๓๐๑] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย [๓๐๒] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด
ความบังเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย [๓๐๓] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ชรา มรณะ ในชรามรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ
แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชรา และ มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความหายไป
แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ
ฉะนั้น ชราและมรณะ ดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย [๓๐๔] คำว่า ควานเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
นั้น ได้แก่ ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นอกจากนี้
ในการศึกษาพระธรรมนั้น พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญใน คำว่า ทุกข์
(โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส) ดังคำไวพจน์ต่อไปนี้ คำไวพจน์แห่งนิยามว่าทุกข์: ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก ทุกข์ในดิรัจฉานกำเนิด
ทุกข์ในเปรตวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล
ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล
ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ผู้เกิด ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด
ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของตน ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น
ทุกข์ที่เกิดแต่ทุกขเวทนา (ทุกขเวทนามีในกายและใจ) ทุกข์เกิดแต่สังขาร
ทุกข์เกิดแต่ความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคจักษุ ทุกข์เพราะโรคหู ทุกข์เพราะโรคจมูก
ทุกข์เพราะโรคลิ้น ทุกข์เพราะโรคกาย ทุกข์เพราะโรคศีรษะ ทุกข์เพราะโรคในหู
ทุกข์เพราะโรคปาก ทุกข์เพราะโรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไขหวัด โรคไข้พิษ
โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน
โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก
โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง
โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ
อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน
ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแต่ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง
ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย
ทุกข์เพราะพี่หญิงน้องหญิงตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย
ทุกข์เพราะธิดาตายทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ
ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค
ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ กล่าวโดยสรุป ความหมายทั้งหลายของคำดังกล่าวเหล่านี้
ก็สรุปลงที่ คำว่า ขันธ์
๕เบญจขันธ์นามรูป เรียกให้เต็มยศว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฉะนั้น ศีลที่บริสุทธิ์กับจิตที่บริสุทธิ์นั้น เป็นหนทางให้เข้าถึง ปัญญาที่บริสุทธิ์ญาณทัสสนะ (สัมมาทิฏฐิ) คือ ความรู้เห็นด้วยปัญญาหยั่งรู้ นั่นคือ
ด้วยญาณในวิปัสสนา (วิปัสสนาญาณ ข้อ ๑ ในวิชชา ๘) อีกนัยหนึ่ง
นั่นคือ ขันธ์ ๕ = ทุกข์ = กิเลส = กรรม = วิบาก = อวิชชา หรือ
พร้อมด้วยอาการลักษณะทั้งหมดที่ประกอบเป็น ขันธ์ ๕ ที่เรียกว่า อภิญเญยธรรม ๒๒ ทั้งหมด ดังนี้ อภิญเญยธรรม (๑) ขันธ์ ๕ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (๒) อายตนะภายใน ๖อินทรีย์ ๖สฬายตนะ =
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ = รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ (๔) วิญญาณ ๖ = จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ (๕) ผัสสะ ๖ = จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส (๖) เวทนา ๖ = จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา (๗) สัญญา ๖ = รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา (๘) เจตนา ๖ = รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธรรมสัญเจตนา (๙) ตัณหา ๖ = รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา (๑๐) วิตก ๖ = รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก (๑๑) วิจาร ๖ = รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร
(๑๒) ธาตุกัมมัฏฐาน ๑๖ = ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ
เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ
(๑๓) อาการ ๓๒ทวัตติงสาการ = ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ (๑๔) อายตนะ ๑๒ = จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ
ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ (๑๕) ธาตุ ๑๘ = จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (๑๖) อินทรีย์ ๒๒ = จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า
เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ] อัญญินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจธรรมด้วยมรรคนั้น
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรคญาณ] อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้รู้จบแล้ว
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ] (๑๗) ธาตุ ๓ = กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ (๑๘) ภพ ๙ = กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ (๑๙) ฌาน ๔ = ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน (๒๐) อัปปมัญญา ๔ = เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเบกขาเจโตวิมุต (๒๑) อรูปสมาบัติ ๔ = อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (๒๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา] = อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมสามารถดับ
อวิชชา ได้ ย่อมดับเหล่า อภิญเญยธรรม ๒๒ และ ทุกข์ ทั้งหมด ได้เช่นเดียวกัน (ธรรมนิยาม ๓: สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน)
ที่เรียกว่า ผู้ปราศจากโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส
เป็นธรรมดา นั่นคือ พระอรหันต์ ในการเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์นี้
อาศัยปัญญาเห็นธรรมทั้งหลายด้วย ปัจจยปริคคหญาณกังขาวิตรณญาณธัมมัฏฐิติญาณ หมายถึง ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป โดยหลักธรรมต่อไปนี้ (๑) ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ (๒) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ได้แก่ องค์ประกอบ ๖ ในสังสารจักร: อัทธา ๓สังเขป ๓สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง (๓) กฎแห่งกรรม และ กฎแห่งกรรมของตน [กัมมัสสกตาแห่งตน] คำศัพท์บัญญัติที่ควรรู้ยิ่งอีก
คือ วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ (ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา =
ปฏิสัมภิทา ๔ อันเกิดจากปัญญาวิปัสสนาที่เจริญด้วย อนุปัสสนา ๗ ที่เจริญให้มาก
ทำให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ และไพบูลย์ยิ่ง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา) ดังนี้ วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ หมายถึง ภูมิแห่งวิปัสสนา
ฐานที่ตั้งอันเป็นพื้นที่ซึ่งวิปัสสนาเป็นไป พื้นฐานที่ดำเนินไปของวิปัสสนา
นั่นคือ (๑) การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานที่วิปัสสนาดำเนินไป คือ การมองดูรู้เข้าใจ (สัมมสนะ = พิจารณาเห็นสามัญลักษณะ) หรือ รู้เท่าทันสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็น อนิจจะทุกขะอนัตตา
อันดำเนินไปโดยลำดับ จนเกิดตรุณวิปัสสนา
ซึ่งเป็นพื้นของการก้าวสู่วิปัสสนาที่สูงขึ้นไป (๒) ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง
ตรงกับคำว่า ปัญญาภูมิ ได้แก่
ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเน้น ปฏิจจสมุปบาท
ซึ่งเป็นที่รวมในการทำความเข้าใจธรรมทั้งหมดนั้น ว่าโดยสาระ ก็คือ
ธรรมชาติทั้งปวงที่มีในภูมิ ๓ ได้แก่ กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ วิปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี
๙ อย่าง ที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๙ (ข้อ ๔๑๒ ในญาณ ๑๖) คือ
รู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ก่อนที่จะข้ามโคตรจากปุถุชนไปเป็นอริยบุคคล ด้วยญาณครอบโคตร
คือ โคตรภูญาณ (ข้อ ๑๓
ในญาณ ๑๖) ไปสู่ มัคคญาณ
(ข้อ ๑๔ ในญาณ ๑๖) และ ผลญาณ (ข้อ ๑๕ ในญาณ ๑๖) ตามลำดับ จนถึง ปัจจเวกขณญาณ (ข้อ ๑๖ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณพิจารณาทบทวนกิจในอริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ (๑) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ คือ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป (๒) ภังคานุปัสสนาญาณ คือ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา (๓) ภยตูปัฏฐานญาณ คือ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ คือ ญาณคำนึงเห็นโทษ (๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณ คือ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย (๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ คือ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง (๘) สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๙) สัจจานุโลมิกญาณ คือ ญาณเป็นไปโดยควรแก่ (อนุโลมตาม) การหยั่งรู้อริยสัจจ์ แต่อย่างไรก็ตาม สัมมสนญาณ (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) นั้น อยู่ก่อนถึง วิปัสสนาญาณ
๙ อันเกิดจากปัญญาหยั่งรู้ใน วิชชา ๘ ข้อ ๑ คือ วิปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือ
ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร คือ นามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ
ต่อเนื่องกัน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ สัมมสนญาณ เป็นต้นไป ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิปัสสนาญาณ
๑๐ เพราะฉะนั้น ปัญญาหยั่งรู้ทั้งหมดใน ญาณ ๑๖โสฬสญาณ หมายถึง
ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรคผลนิพพาน ที่เรียกว่า โลกุตตรธรรม มีจำนวน ๑๖ อย่าง หรือ ๑๖ ญาณ คำว่า ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้ปัญญา อีกนัยหนึ่ง ญาณ ๑๖ ทั้งหมด เป็นการกำหนดพิจารณาให้รู้เห็น ความจริงตามสภาพของนามรูปแห่งขันธ์
๕ นั่นคือ พิจารณาให้รู้เห็น ความเกิดขึ้นความตั้งอยู่ความดับไป โดยพิจารณาให้เห็นในกาลทั้ง ๓ ได้แก่ อดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ดังนั้น
สภาธรรมหนึ่งๆ ที่มีอยู่ ต้องประกอบด้วย ชีวิต กับ เวลา เสมอ
โดยให้เปรียบเทียบกับ องค์แห่งปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท ที่บ่งบอกถึงสภาวะชีวิตที่สืบเนื่องกันไปไม่สิ้นใดในวัฏฏะ (ภวจักรสังสารจักร) ได้แก่ ภพชาติชรา(พยาธิ)มรณะ ในอันดับต่อไปนี้ ให้พิจารณาเปรียบเทียบ ความเกิดขึ้นความตั้งอยู่ความดับไป
ระหว่างรูปธรรมแห่งร่างกาย กับ นามธรรมแห่งจิต ดังนี้ วยธมฺมํ หมายถึง ถึงความเสื่อมไปเป็นสภาวะ (อนิจจานุปัสนา) โดยมีสภาวะต่อไปนี้ (๑) อสสฺสตํ ความไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน (๒) วิปริณามธมฺมํ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา คือ มีความแปรปรวนไปเป็นปรกติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยความชรา และ ด้วยความมรณะ และ (๓) อทุธุวํ ไม่ยั่งยืน คือ ไม่มั่นคง เพราะตกไปในความตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง และเพราะไม่มีความเป็นของมั่นคง ฉะนั้น เวลาที่พรั่งพร้อมไปด้วย อุปปาทักขณะฐิติขณะภังคขณะ คือ ขณะทั้ง ๓ ชื่อว่า ปัจจุบันนัทธา ให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง รูปสันตติความสืบต่อแห่งรูป กับ อรูปสันตติความสืบต่อแห่งนาม) ดังนี้
(๑) อุปปาทขณะ (ความเกิดขึ้น) คือ วิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ = ปรากฏด้วยเห็นการเกิดขึ้นจากความเป็นสามัญ (อุปฺปชฺชนฺติเข้าไปด้วยการอุบัติ หรือ อาทานํการบังเกิด) ด้วยคำว่า อหุตฺวา สมฺโภนฺติ นี้ พระเถระเห็นความเกิดขึ้น ชื่อว่า อหุตฺวา สมฺภูตํ ไม่มี แล้วมี เพราะไม่มีอยู่จากความเกิดในกาลก่อน ได้แก่ อุปจยะความก่อตัวหรือเติบขึ้น ปฏิสนธิจิตความเกิดแห่งจิต (อุกกุชชะ)
(๒) ฐิติขณะ (ความตั้งอยู่) คือ วิทิตา อุปฏฺฐหนฺติ = ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป โดยความสูญ ที่จะสืบต่อเนื่อง ได้แก่ (รูปรับเจตนาจากจิต) กายปัสสัทธิจิตตปัสสัทธิ (ความสงบ) รูปลหุตาความเบา กายลหุตาจิตตลหุตา รูปมุทุตาความอ่อนสลวย กายมุทุตาจิตตมุทุตา รูปกัมมัญญตาความควรแก่การงาน กายกัมมัญญตาจิตตกัมมัญญตา รูปสันตติความสืบต่อ กายปาคุญญตาจิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่ว) (รูปรับเจตนาจากจิต) กายุชุกตาจิตตุชุกตา (ความซื่อตรง)
(๓) ภังคขณะ (ความดับไป) คือ วิทิตา อพฺภตฺถํ คจฺฉนฺติ = ปรากฏถึงความดับไป คือ ปรากฏถึงความพินาศ ด้วยเห็นความเสื่อมโดยความเป็นสามัญ (นิกฺเขปนํความแตกสลาย) ด้วยคำว่า หุตฺวา ปฏิเวนฺติ นี้ พระเถระเห็นความเสื่อมไป ชื่อว่า มีแล้ว จักไม่มี เพราะความไม่มีจากความเสื่อมต่อไป ได้แก่ ชรตาความทรุดโทรม ความเสื่อมแห่งจิต (อวกุชชะ) อนิจจตาความปรวนแปรแตกสลาย จุติจิตความดับแห่งจิต (จิตฺตภงฺคา)
ฉะนั้น ผู้ที่เข้าใจดีแล้วเข้าถึงแล้วทั้งตามหลักปฏิจจสมุปบาทและไตรลักษณ์ในขณะเดียวกัน
เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ หมายถึง
ความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้พื้นฐานในพระพุทธศาสนานั้น
เป็นประเด็นสาระสำคัญที่กำหนดอาณาเขตแห่ง พรมแดนทางปัญญา (ธรรมจักร) อันเป็น ต้นทุนทางปัญญา ที่เป็นองค์รวมทั้งหมด
ที่นำเข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรค ทำให้เกิด ธัมมญาณ (อริยมรรค ๔อริยผล ๔) และ อันวยญาณ (ปัจจเวกขณญาณ) ดังนี้ (๑) มัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ
ไม่หย่อนไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญา
เจริญด้วย อธิปัญญา (ดับอวิชชา = ผู้รู้) (๒) ดำเนินด้วยปัญญา
เจริญด้วย อธิศีล (ดับตัณหา =
ผู้ตื่น) (๓)
นำไปสู่ปัญญา
เจริญด้วย อธิจิตต์ (ดับราคะ =
ผู้เบิกบาน) (๒) อริยสัจจ์ ๔ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
ได้แก่ (๑) ทุกขอริยสัจจ์ เจริญด้วย ปริญญา (การกำหนดรู้)
(๒) ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ เจริญด้วย ปหานะ (การละ) (๓) ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ เจริญด้วย สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง) (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์
เจริญด้วย ภาวนา (การเจริญ) (๓) อริยมรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ญาณดำเนินที่ประเสริฐอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สงบระงับ อนุสยกิเลส (อย่างละเอียด-หมักดอง) (๒) สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สงบระงับ วีติกกมกิเลส (อย่างหยาบ-ล่วงละเมิด) (๓) สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สงบระงับ ปริยุฏฐานกิเลส (อย่างกลาง-กลุ้มรุม) (๔) ไตรสิกขา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษาให้บรรลุปรมัตถประโยชน์แห่งนิพพาน
ได้แก่ (๑) อธิสีลสิกขา
เจริญด้วย สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
(บุญ) (๒) อธิจิตตสิกขา เจริญด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (ฌานอาเนญชา) (๓) อธิปัญญาสิกขา
เจริญด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ (ญาณ) (๕) ภาวนา ๔ หมายถึง
การเจริญ การทำให้เกิดให้มีขึ้น การฝึกอบรมจิตใจ ได้แก่ (๑) กายภาวนา
เจริญด้วย สุขภาพอนามัย (สัปปุริสธรรม ๗) (๒) สีลภาวนา
เจริญด้วย ศีลวัตร (สีลสัมปทา-อปัณณกปฏิปทา
๓-สัทธรรม ๗) (๓) จิตตภาวนา
เจริญด้วย ฌานสมาบัติ (ปฐมฌาน-ทุติยฌาน-ตติยฌาน-จตุตถฌาน) (๔) ปัญญาภาวนา
เจริญด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ
(จักขุ-ญาณ-ปัญญา-วิชชา-แสงสว่าง) (๖) ปัญญา ๓
หมายถึง ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความเข้าใจ ความรู้ซึ้ง ความมีสัมปชัญญะ
ได้แก่ (๑) จินตามยปัญญา เจริญด้วย โยนิโสมนสิการ (การคิดอย่างถูกวิธี) (๒) สุตมยปัญญา
เจริญด้วย ปรโตโฆสะ (การศึกษาค้นคว้า)
(๓) ภาวนามยปัญญา เจริญด้วย
ปัญญาญาณ (ญาณในวิปัสสนาทั้งหลาย) (๗) กรรม ๓ หมายถึง
ความเชื่อมีเจตนาแห่งกิเลสตัณหาแสดงออกด้วยการกระทำอันมีวิบากตามมา ได้แก่ (๑) กายกรรม
เจริญด้วย กายสุจริต ๓ (ละเว้น ปาณาติบาต-อทินนาทาน-กาเมสุมิจฉาจาร)
(๒) วจีกรรม
เจริญด้วย วจีสุจริต ๔ (ละเว้น มุสาวาท-ปิสุณาวาจา-ผรุสวาจา-สัมผัปปลาปะ) (๓) มโนกรรม
เจริญด้วย มโนสุจริต ๓ (ละเว้น อนภิชฌา-อพยาบาท-สัมมาทิฏฐิ) (๘) อาหาร ๔ หมายถึง
ปัจจัยปรุงแต่งที่หล่อเลี้ยงรูปธรรมและนามธรรม นั่นคือ นามรูปแห่งขันธ์ ๕
ได้แก่ (๑) กวฬิงการาหาร
ย่อมกำหนดรู้ ราคะ อันเกิดจาก กามคุณ ๕ ได้ (๒) ผัสสาหาร
ย่อมกำหนดรู้ เวทนา ๓ อันเกิดจาก ผัสสะ ๖ ได้ (๓) มโนสัญเจตนาหาร
ย่อมกำหนดรู้ ตัณหา ๓ อันเกิดจาก สัญเจตนา ๖
ได้ (๔) วิญญาณาหาร
ย่อมกำหนดรู้ นามรูป (รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร
คือ รูป กับ เจตสิก หรือ นามขันธ์ ๓ ส่วนจิต คือ (๙) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หมายถึง สหชาตธรรมที่เกิดดับอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ (๑)
อดีต =
อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต = ชาติชราและมรณะ (พร้อมวิบาก = โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส)
สรุป: อวิชชา-ตัณหา-อุปาทาน-กรรม-อาหาร-การเกิด-ความตั้งอยู่-ความแปรปรวน-ความเสื่อม-การดับ-ทุกข์ ให้พิจารณาถึงว่า องค์แห่งปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท
ทั้งหมด อุบัติผุดเกิดใน สังสารจักร คือ สงสารทุกข์ (๑๐) ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะสากลของนามรูปตาม
กฎธรรมชาติ ธรรมฐิติ หรือ ธรรมนิยาม ๓ ได้แก่ (๑) อนิจจตาอนิจจานุปัสสนา
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงเกิด ชวนปัญญา (๒) ทุกขตาทุกขานุปัสสนา
การพิจารณาเห็นความทุกข์เกิด นิพเพธิกปัญญา (๓) อนัตตตาอนัตตานุปัสสนา
การพิจารณาเห็นความไม่ใช่ตัวตนเกิด มหาปัญญา (๑) อนิมิตตะอนิมิตตานุปัสสนา
การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมายใน วิปัลลาสนิมิต (๒) อัปปณิหิตะอัปปณิหิตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นธรรมไม่มีที่ตั้งใน
ตัณหาปณิธิ (๓) สุญญตะสุญญตานุปัสสนา
การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าใน
อัตตาภินิเวส หมายเหตุ: อนุปัสสนา ทั้งหมดนี้
คือ ยถาภูตญาณ (ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง) ได้แก่ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ
อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ อันเป็น ญาณวิโมกข์ คือ ปัญญาหลุดพ้น (๑๑) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง ธรรมอันเกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ได้แก่
(๑) สติปัฏฐาน
๔ คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง (๒) สัมมัปปธาน
๔ คือ ความเพียรชอบที่ละเว้นความชั่วและสร้างความดี (๓) อิทธิบาท
๔ คือ คุณเครื่องให้ถึงทางแห่งความสำเร็จสมประสงค์ (๔) อินทรีย์
๕ คือ
ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตนนำสัมปยุตตธรรมกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ (๕) พละ ๕ คือ
ธรรมเป็นกำลังให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคงซึ่งธรรมตรงข้ามเข้าครอบงำไม่ได้ (๖) โพชฌงค์ ๗ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ (๗) มรรคมีองค์
๘ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ทางดำเนินอันประเสริฐของพระอริยะ
(๑๒) วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ หมายถึง ธรรมอันเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ได้แก่ (๑) ขันธ์ ๕
คือ กองแห่งชีวิตประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรม (๒) อายตนะ ๑๒
คือ ระบบประสาทแห่งอินทรีย์ ๖ กับ สภาวะภายนอกแห่งอารมณ์ ๖ (๓) ธาตุ ๑๘
คือ สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นตามธรรมชาติ (๔) อินทรีย์
๒๒ คือ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน ทำให้ธรรม
ที่เกี่ยวข้องคล้อยตาม (๕) อริยสัจจ์
๔ คือ ความจริงอันประเสริฐในการดับทุกข์ (๖) ปฏิจจสมุปบาท
๑๒ คือ
ธรรมทั้งหลายอันเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในการเกิดดับ (๗) ปฏิจจสมุปปันนธรรม
คือ ธรรมอันอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน (๘) กฎแห่งกรรม
คือ ความศรัทธา ความเชื่อ ในการกระทำและมีผลวิบากตามมา (๙) กฎกัมมัสสกตาแห่งตน คือ ความเชื่อในสัตว์ทั้งหลายมีกรรมของตนและตนเองเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาทั้งหลายนั้น
ไม่ควรละเลยในการสอดส่องในธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ยิ่ง ที่เรียกว่า อภิญเญยยธรรม เพราะในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักธรรมนั้น
(ธัมมานุธัมมปฏิปทา) มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องจดจำ (ธตา)
หลักธรรมและข้อธรรมย่อยทั้งหลายให้ได้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา (สัมมสนะ)
รู้เห็นไตรลักษณ์ในกรรมฐานทั้งหลาย การอ่านทบทวนเป็นประจำ เจริญให้มาก
ปฏิบัติให้มาก ให้สมบูรณ์ยิ่ง และให้ไพบูลย์ยิ่ง
เป็นบารมีปฏิปทาอันยิ่งเช่นกัน การฝึกฝนภาวนาจนเกิดความชำนาญยิ่ง
ย่อมเป็นการเพิ่มความรวดเร็ว ความมีทักษะการเรียนรู้ ในกระบวนการคิดทั้งนอกภาวนกรรมฐาน
(ปัญญาสามัญ: กระบวนการคิดขั้นพื้นฐานกระบวนการคิดขั้นสูง) และในภาวนากรรมฐาน (ปัญญา
๓: จินตามยปัญญาสุตมยปัญญาภาวนามยปัญญา) ฉะนั้น ก่อนที่จะเจริญ สัมมสนญาณ (ปัญญารู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์)
นั้น ความรู้ในธรรมทั้งหลายจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ทั้งหลักธรรมที่เป็นแกนเกณฑ์สำคัญ และธรรมที่เป็นคำนิยาม ความพรรณนา คำอธิบาย
เหล่าสภาวธรรมทั้งหลายในกรรมฐาน ดังนี้ อภิญเญยยนิทเทส (พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑
- หน้าที่ 177ก 249 FILE 68) โดยนัยอรรถใน
คำว่า อภิญเญยยธรรม หมายถึง ธรรมควรรู้ยิ่ง หรือ กถํ อิเม
ธมฺมา อภิญฺเญยฺย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ซึ่งจะกลายเป็น ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา
ทั้งในวิปัสสนาภูมิ อันเป็นปัญญาอริยะ ได้แก่ ภาวนามยปัญญา และนอกวิปัสสนาภูมิ
อันเป็นปัญญาสามัญ ได้แก่ จินตามยปัญญา กับ สุตมยปัญญา
ในความเป็นจริงนั้น
บุคคลย่อมเกิดปัญญาความรู้ชัดจากการศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าจากผู้รู้ [ปรโตโฆสะ] ซึ่งผ่านวิธีบอกด้วยปากเปล่า คือ มุขปาฐะ
ซึ่งใช่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในพระธรรมครั้นสมัยพุทธกาล การรักษาองค์ความรู้
คือ สัจจะอริยสัจจธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญในความก้าวหน้าแห่งการปฏิบัติธรรม
ฉะนั้น ความจำ จึงเป็นปัจจัยสำคัญ เช่น ความเจนใจจำได้แม่นยำถูกต้อง
และความสามารถขบได้ด้วยทฤษฎีหรือหลักธรรม ดังนั้น อภิญเญยยธรรม
จึงเป็นองค์ความรู้ที่ควรเข้าใจอย่างถูกต้องในเบื้องต้น เป็นหลักธรรมที่รู้อย่างจริงจัง
ก่อนก้าวสู่ภูมิธรรมในขั้นสูงขึ้นไป
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ [๑] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
คือ เป็นเครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง
เรียกว่า สุตมยญาณ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ธรรม ๒
ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒ ดังนี้ (๑) สังขตธาตุ (๒) อสังขตธาตุ ธรรม ๓
ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓ ดังนี้ (๑) กามธาตุ (๒) รูปธาตุ (๓) อรูปธาตุ ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อาหาร ๔ ทำให้สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ ดังนี้ (๑) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว เป็นอาหารหยาบหรือละเอียด
(๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ (๓) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือเจตนา (๔) วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ธรรม ๔
ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจจ์ ๔
ดังนี้ (๑) ทุกขอริยสัจจ์ (๒)
ทุกขสมุทยอริยสัจจ์ (๓)
ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์
ธรรม ๕
ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายนะ ๕
ดังนี้ (๑)
การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่นแสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน (๒)
การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่าอื่น (๓)
การสาธยายธรรมที่ตนได้สดับมาแล้ว (๔)
การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ (๕) อารมณ์อันสมควรแก่สมถกรรมฐาน
๔๐ มี กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ธรรม ๖
ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
สภาวะอันยอดเยี่ยม ดังนี้ (๑) ทัสนานุตริยะ การเห็นอันประเสริฐ (๒) สวนานุตริยะ การฟังอันประเสริฐ (๓) ลาภานุตริยะ การได้อันประเสริฐ (๔) สิกขานุตริยะ การศึกษาอันประเสริฐ (๕) ปาริจริยานุตริยะ
การบำรุงอันประเสริฐ
(๖) อนุสตานุตริยะ อนุสติอันประเสริฐ ธรรม ๗
ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗
เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป ดังนี้ (๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขาและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการสมาทานสิกขา (๒)
เป็นผู้ได้ความยินดีอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรมและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการใคร่ครวญธรรมต่อไป (๓)
เป็นผู้ยินดีอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก
และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการกำจัดความอยากต่อไป (๔)
เป็นผู้มีความยินดีอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น
และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการหลีกเร้นต่อไป (๕)
เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเริ่มความเพียร และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการเริ่มความเพียรต่อไป (๖)
เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว
และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป (๗)
เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ
ต่อไป ธรรม ๘
ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘ อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลผู้ครอบงำไว้ ได้แก่ (๑) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทรามครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๒) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณ
มีวรรณะดีและทรามครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๓) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทราม
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๔) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณ
มีวรรณะดีและทรามครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๕) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน
มีรังสีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว
หรือว่าผู้ที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว
เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ เรารู้ เราเห็น (๖) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน
มีรังสีเหลือง ดอกกรรณิกาอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
หรือว่าผู้ที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง
เหลืองล้วน มีรังสีเหลืองแม้ฉันใด ผู้ใดมีความสำคัญในอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๗) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง
ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดงแดงล้วน มีรังสีแดง หรือว่า
ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดงแดงล้วน
มีรังสีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง
มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น (๘) ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว
ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณะขาวขาวล้วน มีรังสีขาว หรือว่า
ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน
มีรังสีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว
มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ธรรม ๙
ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธนิโรธสมาบัติ ๑ ดังนี้ (๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
มีวิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ (๒) ภิกษุ
เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ ก็เข้าทุติยฌาน
อันเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายในมีอารมณ์เป็นเอโกทิภาพความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ (๓) ภิกษุ
เข้าตติยฌานอันปราศจากปีติอยู่ด้วยอุเบกขา สติ
สัมปชัญญะเสวยสุขทางกายซึ่งพระอริยะทั้งหลายเรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขดังนี้ (๔) ภิกษุ
เพราะละสุขและทุกข์ดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้
จึงเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์และสุข บริสุทธิด้วยอุเบกขาและสติอยู่ (๕) ภิกษุ
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาได้โดยประการทั้งปวง
จึงเข้าอากาสานัญจายตนะด้วยบริกรรมว่า อนนฺโต อากาโส
อากาสไม่มีที่สุดอยู่ (๖) ภิกษุ
ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง
จึงเข้าวิญญาณัญจายตนะด้วยบริกรรมว่า อนนฺตํ วิญฺญาณํ
วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ (๗) ภิกษุ
ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง
จึงเข้าอากิญจัญญายตนะด้วยบริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิ นิดหนึ่งหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่ (๘) ภิกษุ
ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ (๙) ภิกษุ
ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง
จึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรม ๑๐
ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐
เหตุกำจัด มิจฉัตตะ ๑๐ สภาวะที่ผิด ด้วย สัมมัตตะ ๑๐ สภาวะที่ถูก ดังนี้ (๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาทิฏฐิของผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมลง อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด
มีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ของผู้มีสัมมาทิฏฐินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย.
และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๒)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะของผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาสังกัปปะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย
และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัยก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๓)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวาจาของผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาวาจานั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย และกุศลธรรมอันเป็นอเนกมีสัมมาวาจาเป็นปัจจัย
ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๔)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉากัมมันตะของผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมากัมมันตะนั้น
ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย
ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๕)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาอาชีวะของผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาอาชีวะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย
และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๖)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวายามะของผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวายามะเป็นปัจจัยย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาวายามะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย
และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๗)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสติของผู้มีสัมมาสติ ย่อมเสื่อมลง อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกมีมิจฉาสติเป็นปัจจัย
ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มีสัมมาสตินั้น
ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสติเป็นปัจจัย
ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๘)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสมาธิของผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาสมาธินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย
และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๙)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาญาณของผู้มีสัมมาญาณ ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาญาณนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย
และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาญาณเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ (๑๐)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวิมุตติของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมลง
อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มีสัมมาวิมุตตินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย
และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่ [๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมชาติทั้งปวง [สรรพสิ่งทั้งหลาย] ควรรู้ยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดังนี้ อายตนะ ๑๒วิญญาณ ๖สัมผัส ๖เวทนา ๓ (๑) ตา รูป
จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้ อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย [แต่ละอย่าง ๆ] ควรรู้ยิ่ง (๒) หู เสียง
โสตวิญญาณ โสตสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้ อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ควรรู้ยิ่ง (๓) จมูก กลิ่น
ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรรู้ยิ่ง (๔) ลิ้น รส
ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้ อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ควรรู้ยิ่ง (๕) กาย โผฏฐัพพะ
กายวิญญาณ กายสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรรู้ยิ่ง (๖) ใจ ธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ธรรมารมณ์ มี ๑๒ ประเภท คือ จิตและเจตสิกรับอารมณ์โดยแน่นอนมีอารมณ์ ๑๒ ประเภท ได้แก่ (๑) กามอารมณ์ = กามจิต ๕๔
เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ (๒) มหัคคตอารมณ์ =
มหัคคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕ (๓) นิพพานอารมณ์ = นิพพาน (๔) นามอารมณ์ = จิต
เจตสิก นิพพาน (๕) รูปอารมณ์ = รูป ๒๘ (๖) ปัจจุบันอารมณ์ = จิต
เจตสิก รูป (๗) อดีตอารมณ์ = จิต
เจตสิก รูป (๘) กาลวิมุตติอารมณ์ =
นิพพาน บัญญัติ (๙) บัญญัติอารมณ์ =
อัตถบัญญัติ สัททบัญญัติ (๑๐) ปรมัตถอารมณ์ = จิต
เจตสิก รูป นิพพาน (๑๑) อัชฌัตตอารมณ์ = จิต
เจตสิก รูป (๑๒) พหิทธอารมณ์ = จิต
เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ หมายเหตุ: นับจากธรรมในหมวดเป็นต้นไป
คือ อาการลักษณะรวมของ คำว่า ทุกข์สงสารทุกข์นามรูปขันธ์ ๕สังขารทั้งหลายสังขตะสังขตธรรม [๓]
(๑) ขันธ์ ๕
= รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (๒) อายตนะภายใน ๖อินทรีย์ ๖สฬายตนะ =
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ = รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ (๔) วิญญาณ ๖ = จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ (๕) ผัสสะ ๖ = จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส (๖) เวทนา ๖ = จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา (๗) สัญญา ๖ = รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา (๘) เจตนา ๖ = รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธรรมสัญเจตนา (๙) ตัณหา ๖ = รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา (๑๐) วิตก ๖ = รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก (๑๑) วิจาร ๖ = รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร
ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง [๔] ธาตุกัมมัฏฐาน = ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ
อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ
วิญญาณกสิณ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง [๕] อาการ ๓๒ทวัตติงสาการ = ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง [๖] (๑) อายตนะ ๑๒ = จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ
ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ (๒) ธาตุ ๑๘ = จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (๓) อินทรีย์ ๒๒ = จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า
เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ] อัญญินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจธรรมด้วยมรรคนั้น
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรคญาณ] อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้รู้จบแล้ว
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ] ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง [๗] (๑) ธาตุ ๓ = กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ (๒) ภพ ๙ = กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ
ปัญจโวการภพ (๓) ฌาน ๔ = ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง [๘] (๑) อัปปมัญญา ๔ =
เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเบกขาเจโตวิมุตติ (๒) อรูปสมาบัติ ๔ = อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (๓) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา] = อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฉะนั้น คำศัพท์ใน หัวข้อบท [๓] ถึง หัวข้อบท [๖] ดังกล่าวนี้ จะเป็นข้อธรรมย่อย (ธรรมสภาวธรรมปรากฏการณ์ปรมัตถสัจจะ)
ที่นำมาพิจารณารู้เห็นในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้แก่ (๑) อนุปัสสนา ๗ (๒)
อนุปัสสนา ๑๐ (๓) มหาวิปัสสนา ๑๘ (๔) ญาณ ๑๖โสฬสญาณ (๕)
วิปัสสนาญาณ ๙ หรือ หลักธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือสงเคราะห์ในสัมปยุตตธรรม
ที่ทำให้เกิด ธรรมสามัคคีแห่งญาณสัมปยุตต์ นั่นเอง อนึ่ง ถ้าเริ่มเปลี่ยนใจอยากจะปฏิบัติธรรม
ความเริ่มต้นอย่างไรดี โดยพื้นฐานแล้ว ก็มีข้อแนะนำ ดังนี้ (๑) สมาทานศีล โดยเฉพาะ ศีล ๕เบญจศีล ให้บริสุทธิ์ ตามระยะเวลาที่ตนตั้งไว้ ศีล ๕เบญจศีล หมายถึง ความประพฤติชอบทางกายและวาจา
การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การรักษาปกติตามระเบียบวินัย
ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน (๑) เว้นจากการปลงชีวิต เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน (๒) เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ เว้นจากการลัก โกง
ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน (๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน (๔) เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง (๕) เว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ
(๒) กำหนดสติระลึกได้ ด้วย อนุสติ ๑๐ เพื่อไม่ให้เกิดความฟุ้งซ่าน พรหมวิหาร ๔ (อัปปมัญญาธรรม) หรือการเจริญ โพธิปักขิยธรรม
๓๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้ อนุสติ ๑๐ หมายถึง ความระลึกถึง อารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ ได้แก่ (๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระองค์ (๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม
คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระธรรม (๓) สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์
คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระสงฆ์ (๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีล
คือ น้อมจิตรำลึกพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติปฏิบัติ บริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย (๕) จาคานุสติ ระลึกถึงการบริจาค
คือ น้อมจิตระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรมคือความเผื่อแผ่เสียสละนี้ที่มีในตน
(๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา
คือ น้อมจิตระลึกถึงเทวดาทั้งหลายที่ตนเคยรู้
และพิจารณาเห็นคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดานั้นๆ ตามที่มีอยู่ในตน (๗) มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา
พิจารณาที่จะให้เกิดความไม่ประมาท (๘) กายคตาสติ สติอันไปในกาย คือ
กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ อันไม่สะอาด ไม่งาม
น่ารังเกียจ เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา (๙) อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
(๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ
คือ ระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์
พรหมวิหาร
๔ (อัปปมัญญาธรรม) หมายถึง
ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจอันประเสริฐ
หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์
ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด
และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ เพื่อให้เข้าใจถึง กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ โดยเฉพาะ กัมมัสสกตาของตน ได้แก่ (๑) เมตตา คือ ความรัก
ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข
มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า (๒) กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ (๓) มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ
ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข
เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป (๔) อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง
อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชู
ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว
อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ
พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู
ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง
หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ที่ตั้งของสติ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ
มันเป็นของมัน ซึ่งทำให้ลุถึง อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [ยถา ปชานํ] นั่นคือ ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์
(ญาณวิโมกข์) ในความหมายรวมๆ ฉะนั้น การเจริญธรรม มหาสติปัฏฐาน
๔ นี้ เป็นด่านแรกแห่งการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า อริยมรรค ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ (๑) อานาปานสติ กำหนดลักษณะลมหายใจเข้าออก อัสสาสะปัสสาสะ ควรใช้เจริญฌานในขั้นแรก (๒) อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (๓) สัมปชัญญะ
สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (๔) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้
(๕) ธาตุมนสิการ
พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ และ (๖) นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ
อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด
ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา
ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็น สุขก็ดีทุกข์ก็ดีเฉยๆ ก็ดี หรือ
สุขเวทนาทุกขเวทนาอทุกขมสุขเวทนา ทั้งที่เป็นสามิส [มีเครื่องล่อวัตถุ] และเป็นนิรามิส [เป็นอิสระ] ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่ มีราคะไม่มีราคะมีโทสะไม่มีโทสะมีโมหะไม่มีโมหะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น อย่างไรๆ
ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม
ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒โพชฌงค์ ๗อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์
และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ สัมมัปปธาน ๔ปธาน ๔
หมายถึง ความเพียร ความเพียรชอบ ความเพียรใหญ่ ได้แก่ (๑) สังวรปธาน เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
มิให้เกิดขึ้น [ให้พิจารณาถึง อินทรียสังวร กับ สติสังวร] (๒) ปหานปธาน
เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ
เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (๓) ภาวนาปธาน
เพียรเจริญเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น (๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา คือ
เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ [ให้พิจารณาถึง อารักขกัมมัฏฐาน เพื่อความไม่ประมาท] อิทธิบาท ๔ หมายถึง คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ
คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ซึ่งต้องเป็นองค์ประกอบภายในตน
ที่เรียกว่า พลังความคิดขวัญกำลังใจแรงดลบันดาลใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ
ความเป็นเลิศ ความถึงพร้อมสมบูรณ์ในทุกด้าน ได้แก่ (๑) ฉันทะ
ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ
ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป =
พอใจศรัทธาเลื่อมใส (๒) วิริยะ
ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม
เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย = ขยันอดทนบากบั่น (๓) จิตตะ
ความคิดมุ่งไป คือ
ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด
เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ =
มุ่งมั่น (๔) วิมังสา
ความไตร่ตรองทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล
และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล
คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น = คิดวิเคราะห์แยกแยะหาผลปรับปรุงแก้ไข
อินทรีย์ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน
ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธินทรีย์ ความเชื่อ
ย่อมระงับปิดกั้นความไร้ศรัทธาอสัทธา (๒) วิริยะวิริยินทรีย์ ความเพียร
ย่อมระงับปิดกั้นความเกียจคร้านโกสัชชะ (๓) สติสตินทรีย์ ความระลึกได้
ย่อมระงับปิดกั้นความประมาทปมาทะ (๔) สมาธิสมาธินทรีย์ ความตั้งจิตมั่น
ย่อมระงับปิดกั้นความฟุ้งซ่านอุทธัจจะ (๕) ปัญญาปัญญินทรีย์ ความรู้ทั่วชัด
ย่อมระงับปิดกั้นความหลงลืมสติโมหะ หรือ อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ไม่เห็น ขัดข้องเพราะ อวิชชาความหลงอกุศลมูล หรือ มุฏฐสัจจะ คือ การอยู่อย่างขาดสติไม่มีสติระลึกตามไปไม่ได้ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้นึกไม่ออจำไม่ได้ฟั่นเฟือนหลงลืมหลงเลือนหลงใหลไปหลงพร้อม คือ สมฺโมหวิหาโร แปลว่า อยู่ด้วยความหลง [ตั้งนโมไม่ทัน] พละ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นกำลัง [ขวัญพลังใจแรงบันดาลจิตที่ตั้งมั่น
เลื่อมใส ศรัทธา = อธิโมกข์] ให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง
ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้
[ดูปฏิปักษ์ธรรมเช่นเดียวกับ อินทรีย์ ๕] ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธา เชื่อมั่นในอริยมรรค (๒) วิริยะวิริยพละ คือ ความเพียร เพียรชอบในการละชั่วทำดี (๓) สติสติพละ คือ ความระลึกได้ ไม่หลงลืม เลื่อนลอย (๔) สมาธิสมาธิพละ คือ ความตั้งจิตมั่น ไม่ฟุ้งซ่านสัดส่าย (๕) ปัญญาปัญญาพละ คือ ความรู้ทั่วชัด โยนิโสมนสิการ ฉลาดคิดถูกวิธี โพชฌงค์ ๗ หมายถึง
ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้องค์ธรรมตรัสรู้ ได้แก่
(๑) สติ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ
จิตอยู่กับเรื่อง (๒) ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม (๓) วิริยะ ความเพียรบากบั่นเพื่อทำดีละชั่ว (๔) ปีติ ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำในใจ (๕) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (๖) สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น จิตสงบแน่วแน่ในอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่าน (๗) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ทางมีองค์แปดประการ อันประเสริฐ เปรียบเทียบกับ
จริยา ๘ คือ ความประพฤติ
ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ
เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือ เห็นปฏิจจสมุปบาท
= ทัสสนจริยา การเห็นแจ้ง (๒) สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์
อวิหิงสาสังกัปป์ =อภิโรปนจริยา มีกระบวนทัศน์ (๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔= ปริคคหจริยา สำรวมวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ = สมุฏฐานจริยา สร้างสรรค์ (๕) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ ประกอบสัมมาชีพ =
โวทานจริยา ความบริสุทธิ์ (๖) สัมมาวายามะ พยายามชอบ ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ = ปัคคหจริยา หมั่นพากเพียร (๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ = อุปัฏฐานจริยา สติชัดแก่กล้า (๘) สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ = อวิกเขปจริยา จิตสงบตั้งมั่นสนิท (๓) เจริญสมถภาวนาด้วย รูปฌาน ๔ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิในขั้นต่างๆ
ดังนี้ ฌาน ๔รูปฌาน ๔ ว่าด้วย กุศลฌานจตุกกนัย [ฌานพื้นฐานที่ต้องฝึกก่อนฌานอื่นๆ]โดยใช้ กรรมฐาน ๔๐
โดยใช้ ปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน แต่ก็ควรเริ่มที่ อานาปานสติ ก่อนจะฝึกด้วย กสิณ ๑๐ หรือกรรมฐานอื่นๆ ต่อไป และควรฝึกอบรม กุศลฌาน เป็นหลักก่อน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (๑) ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ ได้แก่ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา ดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา (ดูบทที่ ๒มรรคมีองค์
๘) เพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน (๒) ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ ได้แก่ ปีติสุขเอกัคคตา ดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงรูปภพ
บรรลุทุติยฌานทีมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน [เป็นของภายในเฉพาะตน] เป็นธรรมชาติผ่องใส [ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง] เพราะวิตกวิจารสงบ [ระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี
ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว] เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ [ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต
ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ] ไม่มีวิตก
[ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์
ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ = วิตก] ไม่มีวิจาร [ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณาอารมณ์
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์อยู่เนืองๆ = วิจาร] มีแต่ปีติและสุขอัน
เกิดแต่สมาธิ [ความผ่องใส ปีติ สุข
เอกัคคตาแห่งจิต เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว
ในสมาธินี้] อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน (๓) ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ สุขเอกัคคตา ดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงรูปภพ
เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า
เป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒
คือ สุขเอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน (๔) จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตา ดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงรูปภพ
บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราละสุขและทุกข์ได้เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น
นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน (๔) เจริญวิปัสสนาภาวนา ด้วย ญาณ ๑๖โสฬสญาณ ดังนี้ ญาณ ๑๖โสฬสญาณ [ปัญญาประเสริฐปัญญาอริยะ] (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป
(๒) ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป
(๓) สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์
(๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับไปแห่งขันธ์
๕ (๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายไปหมดของสังขารทั้งหลาย
(๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
(๗) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ (๘) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
(๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย
(๑๐) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาทบทวนเพื่อหาทาง
(๑๑) สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
(๑๒) สัจจานุโลมิกญาณอนุโลมญาณ ญาณยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ (๑๓) โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร (๑๔) มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค (๑๕) ผลญาณ ญาณในอริยผล (๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน
กล่าวโดยสรุป
ให้เข้าใจถึงการปฏิบัติที่เป็นแก่นแท้จริงๆ ๔ ประการ ดังนี้ (๑)
ถือและรักษาศีลให้เป็น อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๒) เจริญอนุสติทั้ง ๑๐
ประการ พรหมวิหาร ๔ และ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (๓) เจริญรูปฌาน ๔
เพื่อให้เป็น อธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ (๔) เจริญญาณ ๑๖
เพื่อให้เป็น อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ นอกจากนี้ ให้พิจารณาระดับมิติแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง (๑) สัมมสนญาณ (๒) ญาณ ๑๖ (๓) อริยสัจจ์ ๔ และ (๔) โลกุตตรธรรม ๙ ตามลำดับ ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
ในอันดับต่อไป ให้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง (๑) โพธิปักขิยธรรม
๓๗ (๒) จรณะ ๑๕ และ (๓) วิชชา ๓วิชชา ๘ ดังรายละเอียดข้างล่างนี้ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (๑) สติปัฏฐาน ๔จตฺตาโร สติปฎฺฐานา (๒) สัมมัปปธาน ๔จตฺตาโร
สมฺมปฺปธานา (๓) อิทธิบาท ๔จตฺตาโร อิทฺธิปาทา (๔) อินทรีย์ ๕ปัญฺจินฺทฺริยานิ (๕) พละ ๕ปญฺจ พลานิ (๖) โพชฌงค์ ๗สตฺต โพชฺฌงฺคา (๗) อริยมรรคมีองค์ ๘อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค จรณะ จรณะ ๑๕ (เสขปฏิปทา) (๑) อธิสีลสิกขา ปาริสุทธิศีล ๔ สีลสัมปทา ๑ อปัณณกปฏิปทา ๓ สัทธรรม ๗ (๒) อธิจิตตสิกขา อุตริมนุสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ญาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ความเปิดจิต
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ติยฌาน จตุตถฌาน วิโมกข์ ๓ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สมาธิ ๓ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ ญาณทัสสนะ ได้แก่ ยถาภูตญาณทัสสนะ
(ความรู้เห็นตามเป็นจริง) สมาบัติ ๓ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ
ความเปิดจิตจากโทสะ ความเปิดจิตจากโมหะ ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน วิชชา วิชชา ๓วิชชา ๘ (๓) อธิปัญญาสิกขา ญาณ ๓ ได้แก่ วิชชา ๓ (วิชชา ๓ กับ วิชชา ๘
นั้น ทำให้เกิด ญาณ ๑๖ วิปัสสนาญาณ ๙) การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท
๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล
นอกจากนี้
ในการปฏิบัติธรรมนั้น ให้พิจารณาภาพรวมด้วย บทว่า วินัยเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นที่สุด (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171-172 FILE
01) โดยลำดับตาม ไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา สำหรับ สมาธิ (จิตตสมาธิแห่งฌานเอกัคคตาแห่งสมาธิ) มุ่งที่ ธรรมสมาธิ ๕ ได้แก่ ปราโมทย์ปิติปัสสัทธิสุขสมาธิ ดังนี้ ก็อีกประการหนึ่ง กุศลธรรมเหล่าใด
ซึ่งมีสังวรเป็นมูล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว บุคคลผู้ทรงวินัยนั่นแล
ชื่อว่า เป็นทายาทแห่งกุศลธรรมเหล่านั้น เพราะธรรมเหล่านั้น มีวินัยเป็นมูล สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า: วินัย ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สังวร
คือ ความสำรวม สังวร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อวิปปฏิสาร
คือ ความไม่เดือดร้อน อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปราโมทย์
คือ ความปราโมทย์ ปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปีติ
คือ ความอิ่มใจ ปีติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปัสสัทธิ
คือ ความสงบ ปัสสัทธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สุข
คือ ความสุข สุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สมาธิ
คือ ความตั้งใจมั่น สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ยถาภูตญาณทัสสนะ
คือ ความรู้เห็นตามเป็นจริง ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ นิพพิทา
คือ ความเบื่อหน่าย นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิราคะ
คือ ความสำรอกกิเลส วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติ
คือ ความหลุดพ้น วิมุตติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติญาณทัสสนะ
คือ ความรู้เห็นความหลุดพ้น วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อนุปาทาปรินิพพาน
คือ ความดับสนิทหาเชื้อมิได้ การกล่าว การปรึกษา
กิริยานั่งใกล้ความเงี่ยโสตลงสดับ (ตั้งใจฟัง) แต่ละอย่างๆ มี อนุปาทาปรินิพพาน คือ ความพ้นพิเศษแห่งจิต ไม่ถือมั่น นั่นเป็น อริยผล เพราะฉะนั้น
ควรทำความพยายามโดยเอื้อเฟื้อในการเล่าเรียนพระวินัย ดังนี้แล กล่าวโดยสรุป
ขั้นตอนในกระบวนการปฏิบัติธรรมนั้น
ญาณที่เกิดขึ้นในกูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อกำหนดพิจารณา สังขตลักษณะแห่งนามรูป (อุปาทิขันธ์ ๕) นั้น มีจำนวน ๑๐ ญาณ
ที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๑๐
ได้แก่ สัมมสนญาณ ๑ และ วิปัสสนาญาณ ๙ จนรวมถึง โคตรภูตญาณ เพื่อจะข้ามโคตรสู่คุณอันใหญ่แห่ง
โลกุตตรธรรม ได้แก่ มัคคญาณ
๔ ผลญาณ ๔ นิพพาน ๑ และ อาสวักขยญาณ ๑ ดังนี้ วิปัสสนาญาณ ๑๐ หมายถึง ลำดับการวิปัสสนาเพื่อดับนามรูปให้เข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรค
ที่เรียกว่า การทุบขันธ์ ๕ ได้แก่ (๑) สัมมสนญาณ คือ
ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ (๒) อุทยัพพยญาณ คือ
ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป (๓) ภังคญาณ คือ
ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา (๔) ภยญาณ คือ
ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๕) อาทีนวญาณ คือ
ญาณคำนึงเห็นโทษ (๖) นิพพิทาญาณ คือ
ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๗) มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ
ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย (๘) ปฏิสังขาญาณ คือ
ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง (๙) สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขารด้วยเกิดปัญญาตามจริง
(๑๐) อนุโลมญาณ คือ
ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
อย่างไรก็ตาม
ในกระบวนการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ย่อมเกิดปัญญาเห็นธรรมตามความเป็นจริงขึ้น
เพราะมีสามารถแห่ง ญาณทัสสนะ คือ รู้เห็นด้วยปัญญา หรือ ยถาภูติญาณทัสสนะ คือ รู้เห็นด้วยปัญญาตามเป็นจริง อันเกิดจากการพิจารณาอยู่เนืองๆ
เจริญให้มาก ทำให้สมบูรณ์ และไพบูลย์ยิ่ง แห่ง ปัญญา
๑๐ ดังนี้ (๑) ชวนปัญญา
ปัญญาเร็ว โดยเจริญ อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง] (๒) นิพเพธิกปัญญา ปัญญาทำลายกิเลส
โดยเจริญ ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์] (๓) มหาปัญญา
ปัญญามาก โดยเจริญ อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน] (๔) ติกขปัญญา
ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์] (๕) วิบูลปัญญา
ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา [ดับความกระหายวัฏฏะ] (๖) คัมภีรปัญญา
ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส] (๗) อัสสามันตปัญญา
ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน] (๘) ปฏิสัมภิทา
๔ ปัญญาแตกฉาน โดยเจริญ
อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา] (๙) ปุถุปัญญา
ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] (๑๐) หาสปัญญา
ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ]
ในบรรดาปัญญาทั้งหลายทั้งปวงในวิปัสสนาภูมินั้น
ย่อมมีรากฐานมาจาก ญาณสมาบัติ คือ การเข้าถึงฌานโดยการเพ่งด้วยสมาธิที่ประณีตละเอียดสูงขึ้นตามลำดับ
ได้แก่ (๑) รูปสมาบัติ (๒) อรูปสมาบัติ (๓) พรหมวิหารสมาบัติ
(๔) นิโรธสมาบัติ และ (๕) ผลสมาบัติ ฉะนั้น ผลสมาบัติ ชื่อว่า
เป็นฐานอันใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อรหัตผลสมาบัติ คือ
ทำฌานอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นบาทแล้วจึงเข้าถึง ชื่อว่า อาเนญชสมาธิ แต่อย่างไรก็ตาม
แหล่างกำเนิดปัญญาที่เห็นธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง (สัมมาทิฏฐิ) นั้น
ย่อมเกิดจากการเจริญให้มาก ให้สมบูรณ์และไพบูลย์ยิ่งด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ และ คำว่า ปัญญาเห็นธรรม หมายถึง
กระบวนการคิดด้วยปัญญาที่เห็น ทุกข์แห่งขันธ์ ๕ นั่นคือ รู้เห็นเข้าใจอย่างแท้จริงใน อาณาจักรแห่งขันธ์
๕ ที่เป็น สังขตธรรม โดยมีรากเหง้าจากวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสกรรมวิบาก
ที่อุบัติผุดเกิดและดับในจิตใจ (พื้นจิตตสันดาน) ของตนเอง อันเป็นสภาวธรรมภายใน
แล้วพิจารณาให้ธรรมเช่นเดียวกัน อันเป็นสภาวธรรมภายนอก ด้วยเหตุนี้ การเกิดการตั้งอยู่การดับไป ของทุกข์ในขันธ์ทั้ง ๕ นั้น ก็คือ องค์แห่งปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท
๑๒ โดยให้เกิดปัญญาเห็น (๑) การเกิดเหตุแห่งทุกข์ด้วย
อนุโลมปฏิจจสมุปบาท และ (๒)
การดับเหตุแห่งทุกข์ด้วย ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ในสภาวธรรมทั้งหลายใน องค์แห่งปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท
๑๒ นั้น
ผู้เจริญภาวนาจะต้องกำหนดพิจารณาความเป็นหมวดหมู่แห่งธรรมทั้งหลายที่เหลืออยู่
ให้เป็น สัมปยุตตธรรมแห่งขันธ์ ๕ นั่นคือ ธรรมอันเป็นอาการลักษณะแห่งเบญจขันธ์หรือนามรูปแห่งสังขตะ
(สิ่งปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัย) นั้นๆ
โดยกำหนดพิจารณาให้เห็นนามรูปทั้งหลายนั้นโดยไตรลักษณ์ โดยปฏิสังยุตเข้าด้วย กาล ๓ (อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันนัทธา) เพื่อให้เห็น การเกิดการตั้งอยู่การดับไป อันเป็น สามัญลักษณะ ๓ = อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ สังขตลักษณะ ๓ = มีความเกิดมีความแปรปรวนเมื่อตั้งอยู่ มีความเสื่อมดับไป
อันเป็นอาการลักษณะธรรมในวัฏฏะ สงสารทุกข์ ที่หมุนเวียนไม่สิ้นสุดในกระแสโลก คำว่า หมวดหมู่ คือ ชื่อหัวข้อหลักธรรม ก็เปรียบเสมือน กฎRule ส่วน ข้อธรรมย่อยในแต่ละหลักธรรม ก็เปรียบเสมือน คุณลักษณะเฉพาะDistinctive
Features เป็นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย
ตามหลักการพิจารณากลาปนั้น เมื่อพิจารณาข้อธรรมย่อยแล้ว
ก็ให้จัดหมวดหมู่หรือกลุ่มธรรมตามชื่อหลักธรรม
ซึ่งก็มีอาการลักษณะเช่นเดียวกันทั้งหมด เช่น เมื่อพิจารณา รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ โดยไตรลักษณ์แล้ว
ก็เทียบเคียงเพื่อหาข้อสรุปในลักษณะเดียวกันโดยไตรลักษณ์ตามชื่อหัวข้อหลักธรรม
นั่นคือ ขันธ์ ๕ ส่วน จักขุโสตะฆานะชิวหากายใจ นั่น ก็คือ อายตนะภายใน
๖อินทรีย์ ๖สฬายตนะ เป็นต้น สิ่งนี้ คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นใน สัมมสนญาณ สำหรับการพิจารณานามรูปแห่งสังขตธรรม หรือเรียกว่า กฎ ๒๒ และคุณลักษณะเฉพาะ ๒๒๒ แห่งสังขตธรรม หรือจะเรียกอีกอย่างว่า สมการสังขตธรรม ดังนี้ กฎ ๒๒ และ คุณลักษณะเฉพาะ ๒๒๒ แห่งสังขตธรรม (๑) ขันธ์ ๕ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (๒) อายตนะภายใน ๖อินทรีย์ ๖สฬายตนะ =
จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ (๓) อายตนะภายนอก ๖อารมณ์ ๖ = รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ (๔) วิญญาณ ๖ = จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ (๕) ผัสสะ ๖ = จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส (๖) เวทนา ๖ = จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา (๗) สัญญา ๖ = รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา (๘) เจตนา ๖ = รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธรรมสัญเจตนา (๙) ตัณหา ๖ = รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา (๑๐) วิตก ๖ = รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก (๑๑) วิจาร ๖ = รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร
(๑๒) ธาตุกัมมัฏฐาน ๑๖ = ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ
อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ
วิญญาณกสิณ (๑๓) อาการ ๓๒ทวัตติงสาการ = ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ (๑๔) อายตนะ ๑๒ = จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ
ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ (๑๕) ธาตุ ๑๘ = จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (๑๖) อินทรีย์ ๒๒ = จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า
เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ] อัญญินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจธรรมด้วยมรรคนั้น
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรคญาณ] อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้รู้จบแล้ว
อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ] (๑๗) ธาตุ ๓ = กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ (๑๘) ภพ ๙ = กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ (๑๙) ฌาน ๔ = ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน (๒๐) อัปปมัญญา ๔ = เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ
อุเบกขาเจโตวิมุต (๒๑) อรูปสมาบัติ ๔ = อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (๒๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา] = อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ กฎแห่งสังขตธรรม (The Rules of
Conditioned Things) ตัวอย่างที่ ๑ กฎที่ ๑ ขันธ์ ๕ = รูป + เวทนา + สัญญา + สังขาร + วิญญาณ X1 = A + B + C +
D + E
n ตัวอย่างที่ ๒ กฎที่ ๑๐ วิตก
๖ =
รูปวิตก + สัททวิตก + คันธวิตก รสวิตก + โผฏฐัพพวิตก
+ ธรรมวิตก X10 = A + B
+ C + D + E + F
n ตัวอย่างที่ ๓ กฎที่ ๒๐ อัปปมัญญา ๔ = เมตตาเจโตวิมุตติ + กรุณาเจโตวิมุตติ +
มุทิตาเจโตวิมุตติ + อุเบกขาเจโตวิมุต X20 = A +
B + C + D
n ความหมายสัญลักษณ์
สรุปกฎ คือ
X(
22)
= A + B + C + D
(32)
(๑) กำหนดให้ X คือ
ตัวแปรต้นอันเป็นลำดับกฎสำหรับชื่อหัวข้อธรรมหลัก (๒) กำหนดให้ A + B + C + D + E คือ ตัวแปรตามอันเป็นจำนวนข้อธรรมย่อย (๓) กำหนดให้
n คือ
จำนวนตัวแปรจากธรรมทั้งหมดที่เหลืออันเป็นสัมปยุตตธรรมได้
ฉะนั้น
ทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดในพระอภิธรรมนั้น
จะเป็นสภาวะที่ปฏิสังยุตด้วย ปัญญา ๓ พร้อมด้วยคำไวพจน์แห่งปัญญา ดังนี้ ปัญญา ๓ หมายถึง ความรอบรู้ความรู้ทั่วความเข้าใจความรู้ซึ้ง
ได้แก่ คำนิยามแห่งไวพจน์ใน ปัญญา ความมีสติสัมปชัญญะ นั่นคือ (๑) ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง
ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- (๑) จินตามยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา การใช้เหตุผล
การใช้ดุลพินิจ หรือ ปัญญาสืบแต่ โยนิโสมนสิการ ที่ตั้งขึ้นในตนเอง ที่เรียกว่า ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน และ ทักษะการคิดขั้นสูง
(๒) สุตมยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน
การค้นคว้า สังเกตการณ์ การทดลอง การวิจัย หรือ ปัญญาสืบแต่ ปรโตโฆสะ
โดยเฉพาะการฟังและสนทนาธรรมกับกัลยาณมิตรผู้ทรงธรรม หรือ พระอริยสงฆ์
หรือพระอรหันตขีณาสพเจ้า (๓) ภาวนามยปัญญา คือ
ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรภาวนาตามข้อประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามหลักธรรม
นั่นคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งประกอบด้วย (๑) สมถภาวนาเจโตวิมุตติ
คือ จรณะ ๑๕ (๒) วิปัสสนาภาวนาปัญญาวิมุตติ คือ วิชชา ๓ กับ วิชชา
๘ หรือ ปัญญาสืบแต่ปัญญาสองอย่างแรกนั้น แล้วหมั่นมนสิการในประดาสภาวธรรม
นั่นคือ การมนสิการกรรมฐาน
ซึ่งทำให้เกิด โยนิโสมนสิการ ใน ญาณ ๑๖ ตามแนวเจริญปัญญาใน วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘
อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ รวมทั้ง ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น การจะได้บรรลุเข้าถึง
อริยสัจจธรรมอริยสัจจ์ ๔ ได้นั้น ต้องเป็นปัญญาที่สัมปยุตต์ด้วยปัญญาธรรม
ที่เรียกว่า ญาณ ๔
ได้แก่ (๑) สุตมยญาณ คือ
ญาณเกิดจากการฟัง (๒) ววัตถานญาณ
คือ ญาณเกิดจากการกำหนด (๓) สัมมสนญาณ
คือ ญาณเกิดจากการพิจารณา (๔) อภิสมยภาณ
คือ ญาณเกิดจากการตรัสรู้ ดังนี้
|