๗๖. ทำบาปและทำบุญ Commit a Sin and Make a Merit
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
แนวคิดเกี่ยวกับการทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น เป็นกิจขั้นพื้นฐานในพุทธศาสนิกชน เพื่อแสดง เมตตาธรรม ต่อสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมโลก เพื่อความสงบสุข คือ ไม่เบียดเบียนกันและกัน คำว่า การทำบุญ ที่เรียกว่า ทาน (ข้อ ๑ ในสังคหวัตถุ ๔สังคหพละ คือ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว หลักการสงเคราะห์) หมายถึง การให้ การให้ปัน คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของ ด้านทุนหรือปัจจัยเครื่องยังชีพ ตลอดจนเผื่อแผ่กันด้วยไมตรี ตลอดถึง การให้ทานอย่างเลิศนั้น หมายถึง ธรรมทาน คือ ให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน แนะนำสั่งสอนให้ความรู้ความเข้าใจ จนเขารู้จักพึ่งตนเองได้ และนอกจากนี้ ยังรวมถึง การให้บริจาค เสียสละ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่กัน อันเป็นการสร้างบุญบารมี ที่เรียกว่า จาคะ (ข้อ ๖ ในอริยทรัพย์ ๗ และ ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔) หมายถึง ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้างพร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว ส่วนธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับ การทำบุญ นั้น คือ การทำบาป หมายถึง การเสร้างความเดือดร้อน ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ให้เกิดขึ้นแก่ตนและผู้อื่นด้วยอกุศลกรรมทั้งหลาย สภาวะที่เป็นบุญบารมีนั้น เกิดจากมีปัญญาที่เห็นธรรม คือ กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาแห่งตน อันเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิด กุศลจิตจิตที่สมาทานด้วยศีลทั้งหลาย ที่สหรคตด้วย สีลสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยศีล คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติอยู่ในคลองธรรม ถ้าเป็นภิกษุก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทดีงาม หรือปฏิสังยุตด้วย (๑) สัมมาวาจาวจีสุจริต ๔ (๒) สัมมากัมมันตะกายสุจริต ๓ (๓) สัมมาอาชีวะอาชีวปาริสุทธิศีล ในการทำบุญนั้น ยังประกอบด้วย กุศลธรรมทั้งหลาย (บุญกุศล) จนทำให้มีวาสนารวมไปถึง สมาธิ (สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ) และ ปัญญา (สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ) ฉะนั้น การทำบุญนั้น จึงแยกออกเป็น ๓ ลักษณะ (๑) การให้สิ่งของเป็นทาน (๒) การให้ปัญญาธรรมเป็นทาน (๓) การถือปฏิบัติธรรมของตน ย่อมเป็นทั้งอินทรีย์และพละให้ระงับปิดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ มีสามารถด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้บริบูรณ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป แต่ให้พึงสำรวมใน สังวร ๕ คือ ความสำรวมระวังปิดกั้นบาปอกุศล ได้แก่ (๑) ปาฏิโมกขสังวร คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาฏิโมกข์ (๒) สติสังวรอินทรียสังวร คือ ระวังรักษามิให้บาปอกุศลธรรมเข้าครอบงำอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) ญาณสังวร คือ ตัดกระแสกิเลสเสียได้ ด้วยใช้ปัญญา = ปัจจัยปัจจเวกขณ์ (๔) ขันติสังวร คือ อดทนไม่แสดงความวิการ (๕) วิริยสังวร คือ สำรวมด้วยความเพียรกำจัดอกุศลวิตก ตลอดจนละมิจฉาชีพ = อาชีวปาริสุทธิ ดังนี้.
บทความที่ ๗๖ ประจำปี ๒๕๕๘ ทำบาปและทำบุญ
ความรู้สึกตัวทั่วถ้วนและระลึกได้ด้วยนั้น เรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ หมายถึง ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท แต่เมื่อคำว่า มีสติสัมปชัญญะ ก็จะเป็น (๑) มีสติ และ (๒) มีสัมปชัญญะ ดังนี้
(๑) คำว่า มีสติ หมายถึง ความระลึกได้ นึกได้ สำนึกอยู่ไม่เผลอ จึงประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
(๒) ส่วนคำว่า มีสัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ชัด รู้ชัดสิ่งที่นึกได้ ตระหนัก เข้าใจชัดตามความเป็นจริง จึงประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้
(๑) ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก (๒)ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า สัมปชัญญะ นั้น เป็นคำอธิบายองค์ความรู้ของมนุษย์ที่เป็นฝ่ายปัญญา ซึ่งรวมถึง กระบวนการคิด การกำหนดความหมาย ความรู้ซึ้งที่เป็นทัศนคติที่จะกำหนดพฤติกรรม หรือการแสดงออกทางวาจาและพฤติกรรม นอกจากนี้ ยังรวมนัยถึง ความศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ความปลงใจเชื่อ (อธิโมกข์) ฉันทะแห่งความพอใจ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ การปลูกฝังทางความคิด การถ่ายเทวิทยาการหรือเทคโนโลยี นิทาน การเล่าขานสืบต่อทางความคิดและความเชื่อ คติพจน์ คุณธรรม จริยธรรม การแสดงออก ละคร ภาพยนตร์ สารคดี สิ่งตีพิมพ์ ข้อมูลสารสนเทศในสื่อประเภทต่างๆ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชาวบ้าน บรรทัดฐาน กฎหมาย โดยภาพรวม คือ วัฒนาธรรมอารยธรรม อันเป็น เครื่องมือในการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งหมายถึง (๑) การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว (๒) ระบบการศึกษา และ (๓) สภาพแวดล้อมสังคมและภูมิศาสตร์ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว สัมปชัญญะ มีความเป็น สังขารธรรมสังขตะสังขตธรรม คือ สภาพที่ปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยที่มารวมกันเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และดับไปพร้อมๆ กัน ซึ่งหมายถึง จิตวิญญาณมโนวิญญาณ (วิญญาณ ๖) นั่นเอง ที่เกิดจากการรับรู้ในการเสวยอารมณ์ทั้ง ๖ อย่าง (รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรม [ความนึกคิดในใจ] = อารมณ์ ๖อายตนะภายนอก ๖) ที่ผ่านมากระทบเกิดผัสสะทางอินทรีย์ทั้ง ๖ เช่นกัน (ตาหูจมูกลิ้นกายใจ = อินทรีย์ ๖อายตนะภายใน ๖) เพราะ สัมปชัญญะ จึงมีนัยถึง ขันธ์ ๕ขันธปัญจกนามรูป ที่เป็นฝ่าย สังขตธรรม คือ มีกิเลสจิตตอุปกิเลสนิวรณ์อกุศลธรรม มีใจ มีเจตนา มีกรรม มีวิบาก ครอบครองจิตใจอยู่ ยังไม่เป็น สามัญสำนึกมโนธรรมวิจารณญาณ ที่สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยอริยมรรค ยังมี สัญชาตญาณพื้นจิตจิตตสันดาน ที่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองหมักดองอยู่เป็นอุปนิสัยใจคอในส่วนลึก ฉะนั้น การหันหน้าเข้าการศึกพระธรรมและการปฏิบัติธรรม จึงเป็นเรื่อง ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ทำให้ สติ และ สัมปชัญญะ มีความบริสุทธิ์สะอาด ผ่องแผ้ว ร่าเริง สดใส เบิกบาน ที่เรียกว่า จิตประภัสสร จิตมีความมุ่งมั่นตระหนักในการทำความดีอันจะเป็นกุศลวิบากต่อไปในกาลข้างหน้า ฉะนั้น ให้พิจารณาถึงนัยของ คำว่า สัมปชัญญะ ๔ ดังนี้
สัมปชัญญะ ๔ หมายถึง ความรู้ตัวความรู้ตัวทั่วพร้อมความรู้ชัดความรู้ทั่วชัดความตระหนัก ได้แก่ (๑) สาตถกสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักในจุดหมาย นั่นคือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำนั้นมีประโยชน์ตามความมุ่งหมายอย่างไรหรือไม่ หรือว่าอะไรควรเป็นจุดหมายของการกระทำนั้น เช่น ผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อจะไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง มิใช่สักว่ารู้สึกหรือนึกขึ้นมาว่าจะไป ก็ไป แต่ตระหนักว่าเมื่อไปแล้วจะได้ปีติสุขหรือความสงบใจ ช่วยให้เกิดความเจริญโดยธรรมจึงไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรืออำนวยประโยชน์ที่มุ่งหมาย (๒)สัปปายสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล นั่นคือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งของนั้น การกระทำนั้น ที่ที่จะไปนั้น เหมาะกันกับตน เกื้อกูลแก่สุขภาพ แก่กิจ เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรมและการเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม จึงใช้ จึงทำ จึงไป หรือเลือกให้เหมาะ เช่น ภิกษุใช้จีวรที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศและเหมาะกับภาวะของตนที่เป็นสมณะ ผู้เจริญกรรมฐานจะไปฟังธรรมอันมีประโยชน์ในที่ชุมนุมใหญ่ แต่รู้ว่ามีอารมณ์ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกรรมฐาน ก็ไม่ไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบายเอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน (๓) โคจรสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน นั่นคือ รู้ตัวตระหนักชัดอยู่ตลอดเวลาถึงสิ่งที่เป็นกิจ หน้าที่ เป็นตัวงาน เป็นจุดของเรื่องที่ตนกระทำ ไม่ว่าจะไปไหนหรือทำอะไรอื่น ก็รู้ตระหนักอยู่ ไม่ปล่อยให้เลือนหายไป มิใช่ว่าพอทำอะไรอื่น หรือไปพบกับสิ่งอื่นเรื่องอื่น ก็เตลิดเพริดไปกับสิ่งนั้นเรื่องนั้น เป็นนกบินไม่กลับรัง โดยเฉพาะการไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งรวมถึงการบำเพ็ญจิตภาวนาและปัญญาภาวนาในกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะคุมกายและจิตไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย (๔) อสัมโมหสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวเนื้อหาสภาวะ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน นั่นคือ เมื่อไปไหน ทำอะไร ก็รู้ตัวตระหนักชัดในการเคลื่อนไหว หรือในการกระทำนั้น และในสิ่งที่กระทำนั้น ไม่หลง ไม่สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน เข้าใจล่วงตลอดไปถึงตัวสภาวะในการกระทำที่เป็นไปอยู่นั้น ว่าเป็นเพียงการประชุมกันขององค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ประสานหนุนเนื่องกันขึ้นมาให้ปรากฏเป็นอย่างนั้น หรือสำเร็จกิจนั้นๆ รู้ทันสมมติ ไม่หลงสภาวะเช่นยึดเห็นเป็นตัวตน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนัก ในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริงโดยสมมติสัจจะ หรือตลอดถึงโดยปรมัตถสัจจะ มิใช่พรวดพราดทำไป หรือสักว่าทำ มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิดไปเสียด้วยความพร่ามัว หรือด้วยลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ หรือเย้ายวน เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การพัฒนาปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาภาวนา จึงเป็นเรื่อง สัมปชัญญะปัญญา เมื่อมีปรีชาในทั้งสมถะพละและวิปัสสนาพละ มียถาภูตญาณทัสสนะเกิดอุบัติขึ้น คือ มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลายตามเป็นจริงใน กฎธรรมชาติ (Natural Law) หรือ ธรรมฐิติธรรมนิยามสัมมทัสสนะ นั่นคือ สัมมาทิฏฐิทิฏฐิสัมปทา ด้วยทั้ง ปัญญาในสมาธิญาณทัสสนะ และ ปัญญาในวิปัสสนาญาณ บุคคลนั้นย่อมกลายเป็นผู้ประเสริฐ ที่เรียกว่า อริยบุคคล ที่ถึงพร้อมด้วย จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง นั่นคือ ตาปัญญาปัญญาหยั่งรู้ปัญญารู้ชัดความรู้แจ้งความสว่างไสวแห่งปัญญา ย่อมเกิดขึ้นจริง เพราะ (๑) การเจริญสมถภาวนา ได้แก่ รูปฌานสมาบัติอรูปฌานสมาบัตินิโรธสมาบัติ ในส่วนหนึ่ง และ (๒) การเจริญวิปัสสนาภาวนา ได้แก่ อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๙ญาณ ๑๖วิปัสสนาญาณ ๙วุฏฐานคามินิปฏิปทา (วุฏฐานคามินีวิปัสสนา)โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ในอีกส่วนหนึ่ง โดยต้องสัมปยุตต์ด้วย โยนิโสมนสิการ ในทุกขั้นตอนแห่งการเจริญภาวนานั้นๆ แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ต้องเริ่มจาก กุศลมูลจิต (จิตสหรคตด้วย อโลภะอโทสะอโมหะ) เป็นเบื้องต้นก่อนเสมอ ซึ่งต้องมีองค์ประกอบบางประการที่เข้ามาสนับสนุนให้เกิดกุศลธรรม ที่เรียกว่า ปัจจัยค้ำจุนพื้นฐานแห่งการเกิดกุศลจิต มี ๑๒ ประการ ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับ พุทธโอวาท ๓ หมายถึง ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ ๓ ข้อ ได้แก่ (๑) ไม่ทำความชั่วทั้งปวง คือ ผู้รู้ด้วยอธิปัญญาสิกขา (๒) ทำความดีให้เพียบพร้อม คือ ผู้ตื่นด้วยอธิสีลสิกขา (๓) ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ คือ ผู้เบิกบานด้วยอธิจิตตสิกขา ข้อพึงสังเกต: การทำใจตนให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ก่อน เป็นบ่อเกิดหรือรากเหง้าแห่งความดีทั้งปวง เพราะจิตใจมีความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรม ย่อมเกิด สติสัมปชัญญะ ที่รู้ดีรู้ชั่วโดยปริยาย จิตที่มีสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน (อวิกเขปะเอกัคคตา) ย่อมไม่สัดส่ายไปกับกระแสของโลกธรรมทั้งหลาย มีการวางใจเป็นกลางต่อสภาวการณ์ที่เป็นทั้ง สุขเวทนา และ ทุกขเวทนา เพราะมีปัญญารู้ชัดดีพร้อม ที่เรียกว่า อุเบกขา คือ จิตปราศจากนิวรณ์ จิตจึงดำรงตามสภาพดั้งเดิม จิตประภัสสร โดยเริ่มตั้งแต่ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌาน จนถึง จตุตถฌาน ดังนี้
ปัจจัยค้ำจุนพื้นฐานแห่งการเกิดกุศลจิต (๑) ผัสสปัญจกะ คือ อาศัยธรรม ๕ อย่าง หรือ ผัสสปัญจมกธรรม ได้แก่ สฬายตนะผัสสะเวทนาสังขารวิญญาณ เป็นเหตุสำคัญในการทำให้ จิต เกิดขึ้น (อนุโลมปฏิจจสมุปบาท) เช่น ก่อนที่จิตดวงหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นนั้น ต้องอาศัย ผัสสะ คือ การกระทบกับอารมณ์ก่อน จิตจึงจะเกิดขึ้นได้ (๒) องค์ฌาน คือ อาศัยองค์ฌาน ๕ ได้แก่ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา เป็นเหตุทำให้เกิด ผัสสะ ขึ้น ซึ่งทำหน้าที่ช่วยยก จิต และ ผัสสเจตสิก ขึ้นสู่อารมณ์ คือ ฌาน ๔ (๓) อินทรีย์ คือ อาศัยหลักธรรมอินทรีย์ ๘ ได้แก่ สัทธินทรีย์วิริยินทรีย์สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์มนินทรีย์โสมนัสสินทรีย์ชิวิตินทรีย์ เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ องค์ฌาน เกิดขึ้น (๔) องค์มรรค คือ องค์มรรค ๕ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะสัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ เป็นเหตุสำคัญทำให้ อินทรีย์ เกิดขึ้น (๕) พละ คือ องค์ธรรมอันได้ชื่อว่าพละ ได้แก่ สัทธาพละวิริยพละสติพละสมาธิพละปัญญาพละ เป็นเหตุสำคัญทำให้ องค์มรรค เกิดขึ้น (๖) กุศลมูล คือ องค์ธรรมอันเป็นรากเหงาแห่งกุศลมูล ได้แก่ อโลภะอโทสะอโมหะ เป็นเหตุสำคัญทำให้หลักธรรม พละ เกิดขึ้น (๗) กุศลกรรมบถ คือ ทางแห่งกุศลกรรม หรือ กุศลกรรมบถ ๓ ได้แก่ ทำบุญให้ทานรักษาศีลบำเพ็ญภาวนา ด้วยจิตที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเหตุสำคัญทำให้ กุศลมูล เกิดขึ้น (๘) โลกบาล คือ หลักธรรมคุ้มครองโลก ความละอายและความกลัวบาป ได้แก่ หิริ และ โอตตัปปะ เป็นเหตุสำคัญทำให้ กุศลกรรมบถ เกิดขึ้น (๙) ปัสสัทธิยุคฬาทิ คือ องค์ธรรมอันเป็นคู่ๆ ที่มีลักษณะเป็นคู่แห่งความสงบคู่กัน เช่น โลกบาลธรรม ได้แก่ หิริ และ โอตตัปปะ เป็นเหตุสำคัญทำให้ ธรรมคุ้มครองโลก เกิดขึ้น (๑๐) สติสัมปชัญญะ คือ องค์ธรรมที่เป็น สติ และ สัมปชัญญะ เป็นเหตุสำคัญทำให้หลักธรรมที่มี ปัสสัทธิเป็นคู่กัน เกิดขึ้น (๑๑) สมถวิปัสสนา คือ องค์ธรรมที่เป็น สมถะ และ วิปัสสนา เป็นเหตุสำคัญทำให้หลักธรรม สติสัมปชัญญะ เกิดขึ้น (๑๒) ปัคคาหอวิกเขปะ คือ องค์ธรรมที่เป็น ปัคคาหะ คือ ความเพียรหรือวิริยะ และ อวิกเขปะ คือ ความตั้งมั่นหรือสมาธิ เป็นเหตุสำคัญทำให้ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา เกิดขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ที่เรียกว่า สีลสัมปทาปาริสุทธิศีล ๔ อันหมายถึง อธิสีลสิกขา ได้แก่ องค์มรรค ๓ ต่อไปนี้ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ เพื่อทำลายกิเลสอย่างหยาบ วีติกกมกิเลส (การทุศีล การทุจริตฉ้อโกง) ด้วยการถือปฏิบัติด้วย กุศลกรรมบถ ๓ (ทานศีลภาวนา) และ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ย่อมเป็นบาทฐานให้เกิด สมาธิสมถะ (ความมีจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียวความสงบ) ที่เรียกว่า อธิจิตตสิกขา ได้แก่ องค์มรรค ๓ ต่อไปนี้ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ เพื่อทำลายกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส (นิวรณ์อวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอันตรายแก่สมาธิ) ด้วยการเจริญรูปฌาน และ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เมื่อจิตปราศจากนิวรณธรรมทั้งหลายแล้วนั้น จึงก้าวสู่ อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ องค์มรรค ๒ ต่อไปนี้ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เพื่อทำลายกิเลสอย่างละเอียด อนุสยกิเลส (อนุสัย ๗อาสวะ ๔สังโยชน์ ๑๐) ด้วยการเจริญวิปัสสนา ได้แก่ อนุปัสสนา ๗ มหาวิปัสสนา ๑๘ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ญาณ ๑๖ ฉะนั้น คนคิดจะทำบุญทำทานนั้น ต้องเกิดจากปัญญาที่เชื่อใน กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาแห่งตน ก่อนเป็นพื้นฐาน หรือเกิดจากปัญญาเห็น ธรรมสังเวช ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในวัฏฏะแห่งสังสารจักร คือ ความเห็นแจ้งในเหตุแห่งทุกข์ (อนุโลมปฏิจจสมุปบาท) กับ ความเห็นแจ้งในการดับเหตุแห่งทุกข์ (ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท) ในทางที่เป็นปฏิปักษ์กัน (เห็นทั้งดีเห็นทั้งชั่ว มีสติสัมปชัญญะที่เห็นทั้งกุศลและอกุศล) แต่คนที่มีวาสนาดี มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องมาดีแล้ว ย่อมเข้าถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้อย่างถูกวิธี คือ ทำกรรมประกอบใน โยนิโสมนสิการ นั่นคือ มีปัญญาเห็นอุบายวิธีที่แยบคายและฉลาดที่กำหนดรู้ได้ในใจ อันส่งผลให้เกิดปัญญาในวิปัสสนาได้ (อนุปัสสนาญาณ ๓) ดังเช่น (๑) อนิจจานุปัสสนา คือ ความเห็นแจ้งในความไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ย่อมเกิด ชวนปัญญาปัญญาเร็ว ไม่เชื่อในวิปลาสนิมิต ก็ด้วยสามารถในกุสโลบายแห่งโยนิโสมนสิการ (๒) ทุกขานุปัสสนา คือ ความเห็นแจ้งในความเป็นทุกข์ ว่าเป็นทุกข์ ย่อมเกิด นิพเพธิกปัญญาปัญญาทำลายกิเลส ไม่เชื่อในตัณหาปณิธิ ก็ด้วยสามารถในกุสโลบายแห่งโยนิโสมนสิการ (๓) อนัตตานุปัสสนา คือ ความเห็นแจ้งในความไม่มีตัวตน ว่าเป็นอนัตตา ย่อมเกิด มหาปัญญาปัญญามาก ไม่เชื่อในอัตตาภินิเวส ก็ด้วยสามารถในกุสโลบายแห่งโยนิโสมนสิการ
แต่สำหรับฝ่ายการพัฒนาสมาธิภาวนานั้น ก่อนจะเข้าถึง ฌานสมาบัติ (รูปฌาน ๔) ได้นั้น ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนานั้น จะต้องเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นของการทำสมาธิจิตให้ได้ว่า เหตุปัจจัยอะไรเป็น ญาณในธรรมที่อุปการะแก่สมาธิ และเหตุปัจจัยอะไรเป็น ญาณในธรรมที่อันตรายแก่สมาธิ ฉะนั้น ให้พิจารณาสภาวธรรมใน ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) ขั้นก่อนเจริญฌาน นั่นคือ อธิสีลสิกขา (๒) ขั้นสมถภาวนาฌาน นั่นคือ อธิจิตตสิกขา และ (๓) ขั้นวิปัสสนาภาวนาญาณ นั่นคือ อธิปัญญาสิกขา ดังนี้
ฉะนั้น ตามนัยแห่งพระไตรปิฎกที่ ว่าด้วยหัวข้อ บุญและบาป นั้น เป็นการอธิบายถึง กฎแห่งกรรม ที่เรียกว่า กัมมสัทธาวิปากสัทธา (กัมมผลสัทธา) กับ กัมมัสสกตาแห่งตน (กัมมัสสกตาสัทธา) ที่นรชนผู้มีปัญญาย่อมเลือกทำสิ่งที่เป็นกุศลกรรมมากกว่า แต่ในความเป็นจริงนั้น ย่อมหมายถึง สัมมัปปธาน ๔ (ปธาน ๔ จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา ภาวนา: ข้อ ๒ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗) คือ ความเพียรใหญ่ ได้แก่ (๑) สังวรปธาน เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (๒) ปหานปธาน เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (๓) ภาวนาปธาน เพียรเจริญ หรือ เพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น (๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ คุณธรรมทั้ง ๔ ประการ ที่เกิดต่อเนื่องจาก สติปัฏฐาน ๔ (จตฺตาโร สติปฎฺฐานา ภาวนา: ข้อ ๑ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗) ที่เป็นวิปัสสนาหรือความเห็นแจ้งที่พิจารณาอารมณ์แห่งกรรมฐานสืบเนื่องบ่อยๆ คือ อนุปัสสนา ๓ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาชวนปัญญา ทุกขานุปัสสนานิพเพธิกปัญญา อนัตตานุปัสสนามหาปัญญา โดยพิจารณาในฐานที่ตั้งมั่นแห่งสติทั้ง ๔ ประการ ได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานกายภาวนา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานสีลภาวนา จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานจิตตภาวนา ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานปัญญาภาวนา ดังนั้น ย่อมทำให้มีปัญญาที่เห็นธรรมตามสภาพเป็นจริง โดยมีอานิสงส์เกิดขึ้น คือ จิตที่สำรวมระวัง ไม่ให้เกิดความประมาทในการดำรงชีวิตด้วยพุทธปัญญา (มัชฌิมาปฏิปทา: อริยมรรคมีองค์ ๘) ด้วยตาแห่งปัญญาที่ว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหลายย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา (ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปัจจยาการ ๑๒: อนุโลมปฏิจจสมุปบาทปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ การกำหนดรู้ด้วยสมุทัยสัจจ์กับนิโรธสัจจ์) นั่นคือ กายเวทนาจิตธรรม ทั้งหลายนั้น สักว่า กายเวทนาจิตธรรม ไม่ใช่ตัวตน (อนุปัสสนา ๓: สัมมสนญาณ คือ ปัญญาเห็น สามัญลักษณะ แห่งนามรูปโดยไตรลักษณ์) เมื่อจิตมี สติปัฏฐาน ๔ กับ สัมมัปปธาน ๔ ประชุมลงเป็นธรรมเดียวกัน และธรรมแต่ละอย่างไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน ย่อมทำให้เกิด ปัญญินทรีย์ กับ ปัญญาพละ (ข้อ ๕ ในอินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ เทียบเท่ากับ วิมังสา ข้อ ๔ ในอิทธิบาท ๔ = ข้อ ๓ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือ ธัมมวิจยะ ข้อ ๒ ในโพชฌงค์ ๗ = ข้อ ๖ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือ อธิปัญญาสิกขา ข้อ ๓ ในไตรสิกขา นั่นคือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ข้อ ๑๒ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ = ข้อ ๗ ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗) ซึ่งสามารถสงบระงับอกุศลธรรม อวิชชา คือ ความไม่รู้อริสัจจ์ทั้ง ๔ ประการ กาล ๓ และ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ทำให้จิตเบิกบานผ่องแผ้วที่ประกอบด้วยกุศลจิตที่อยากทำความดี ให้พิจาร บาปและบุญ (กฎแห่งกรรม คือ เชื่อว่า การกระทำอย่างใด ย่อมได้ผลวิบากเช่นนั้น นั่นคือ กัมมัสสกตาแห่งตน ตนมีกรรมและวิบากเป็นของตน คือ ทำดีย่อมได้ดีทำชั่วย่อมได้ชั่ว) อันเป็นข้อสติเตือนใจ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒ ตอนที่ ๓ ปาปวรรค ที่ ๙ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 13 FILE 42)
ว่าด้วย บุญและบาป [๑๙] บุญและบาป มีข้อพึงพิจารณา ดังนี้ (๑) บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิตเสียจากบาป เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป (๒) ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะว่า ความสั่งสมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (๓) ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่า ความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข (๔) แม้คนผู้ทำบุญ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใดบาปเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว ฝ่ายคนทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใดกรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดี (๕) บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาป ได้ฉันนั้น (๖) บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ได้ฉันนั้น (๗) บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย เหมือน พ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว (และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย ฉะนั้น (๘) ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้ บุคคลพึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะ ยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ฉันนั้น (๙) ผู้ใดประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขาซัดทวนลมไป ฉะนั้น (๑๐) ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ (๑) ผู้มีกรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก (๒) ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติ ย่อมไปสวรรค์ (๓) ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน (๑๑) บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอกภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่ (๑๒) บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอกภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด ความตายพึงครอบงำไม่ได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่
จบปาปวรรคที่ ๙ --------------------
ว่าด้วยการละบุญบาป (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 501 FILE 65)
[๑๒๑] คำว่า พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป มีความว่า: (๑) กุสลาภิสังขาร อันให้ปฏิสนธิใน ไตรธาตุ (กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ = ระดับคุณภาพจิตในภูมิ ๓ ได้แก่ กามาวจรกุศลจิตรูปาวจรจิตอรูปาวจรจิต) อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า บุญ (๒) อกุศลทั้งหมด เรียกว่า บาป (กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชา อรติกุศลธรรมทั้งปวง = นิวรณ์) (๓) (ทั้งหลายทั้งปวง = กามาวจรจิต [อกุศลจิตกุศลจิต = บาปบุญ] รูปาวจรจิตอรูปาวจรจิต [อาเนญชา = จตุตถฌา อรูปฌาน ๔]) ไม่ใช่ บุญปุญญาภิสังขารอปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพอันพราหมณ์ละเสียแล้ว (๔) มี มูลราก อันตัดขาดแล้ว ทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ดุจตาลยอดด้วน ทำให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ในกาลใดในกาลนั้น (๕) พราหมณ์นั้น ชื่อว่า ย่อมไม่ติด ไม่ติดพันไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออกไปสละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในบุญและบาป เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ (๖) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป
หมายเหตุ: (๑) ปราศจาก บุญและบาป (ไม่มีสุขและทุกข์) ด้วยจตุตถฌาน (๒) ปราศจาก แดนกิเลส ด้วยอรหัตตมรรค
ข้อพึงพิจารณายิ่ง: ในการพิจารณาจำแนกแจกธรรมในข้อธรรมหลักใดๆ นั้น ให้พึงสำรวมระวังใน
(๑) คำว่า ธรรมทั้งปวง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ดังนี้ (๑) สังขตธรรม = ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ ซึ่งหมายถึง การกำหนดทุกขสัจจ์ นั่นคือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (๒) ธรรม ๓ = กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรม ซึ่งหมายถึง สภาวธรรมที่เป็นจริง ที่มีนัยถึง บุญบาปอาเนญชา อันจะเป็นบาทวิถีต่อจาก อาเนญชา = จตุตถฌานอรูปฌานสมาบัติ ๔ จนถึง นิพพาน (๓) ธรรมในภูมิแห่งจิต ๔ = กามาวจรธรรม (อกุศลธรรมกับกุศลธรรม) รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม (โลกุตตรภูมิ)
(๒) คำว่า ภาวนา ๒ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ดังนี้ (๑) ขั้นก่อนเจริญฌาน ได้แก่ ญาณในธรรมที่อันตรายและอุปการะแก่สมาธิ อย่างละ ๘ ญาณ (๓) ขั้นสมถภาวนา ได้แก่ รูปฌานสมาบัติ ๔ คือ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน (๓) ขั้นวิปัสสนาภาวนา ได้แก่ อริยมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค
ฉะนั้น ให้กลับมาพิจารณาอรรถแห่งวาทะว่า: พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป นั้น ย่อมหมายถึง
ย่อมไม่ติด ไม่ติดพันไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว (๑) เป็นผู้ออกไปสละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในบุญและบาป (๒) เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้
ดังนั้น ตามนัยนี้ คำว่า บาปและบุญ จึงเป็นเพียงแค่ขั้นบันไดให้เหยียบก้าวขึ้นไปสู่ โลกุตตรธรรม ๙ (มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑) และเป็นคำที่เป็นธรรมปฏิปักษ์กันที่ต้องเลือก บุญกุศลธรรม อันเป็นสุคติ แต่ในความหมายที่ลึกกว่านี้ ได้แก่ (๑) บาป = อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา นั่นคือ ลาภได้ลาภ ยสได้ยศ ปสังสาสรรเสริญ สุขความสุข ส่วน (๒) บุญ = อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา นั่นคือ อลาภเสื่อมลาภ อยสเสื่อมยศ นินทาติเตียน ทุกข์ความทุกข์ เพราะฉะนั้น ทั้ง บาปอนิฏฐรารมณ์อกุศลธรรม และ บุญอิฏฐารมณ์กุศลธรรม ก็ต่างเกิดขึ้นสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนในจิตใจของมนุษย์ อันเรียกว่า สงสารทุกข์แห่งสังสารจักร (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส) ฉะนั้น บุญอิฏฐารมณ์กุศลธรรม ก็คือ กิเลสที่มีความละเอียดสุขุม ไม่ประกอบด้วย อกุศลมูล ๓ อย่างเบาบาง ได้แก่ ราคะโทสะโมหะ เพราะ คำว่า กุศลธรรม ยังเป็นธรรมที่ครอบงำระดับภูมิแห่งจิตใน ๓ ได้แก่ (๑) กามาวจรภูมิ ๑ รุปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑ ไม่ใช่ โลกุตตรภูมิ ซึ่งจิตจะไม่หลงใหลในบุญและบาป เพราะเป็น อุเบกขาจิตแห่งโลกุตตระ (โลกุตตรกุศลจิต ๔ โลกุตตรวิบากจิต ๔ ซึ่งอยู่เหนือคุณชาติแห่ง วิปัสสนาญาณ ๙สังขารุเปกขานุปัสสนา) นั่นคือ (๑) ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์วิสุทธิ ๗ และ (๒) โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์ ๗ ซึ่งได้ผ่านขั้นใน ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน ๔ (ประกอบด้วย รูปาวจรกิริยาจิต ๔อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ และ ทำให้เกิด วิชชา ๓) มาเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นภาพองค์รวมของการเจริญภาวนาที่ทำให้จิตใจมีความบริสุทธิขึ้นตามลำดับภูมิแห่งจิต (จิต ๘๙) ดังนี้
จิต ๘๙ หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์สภาพที่นึกคิดความคิดใจวิญญาณ ได้แก่
๑. กามาวจรจิต ๕๔ (กามาวจรภูมิ) (๑) อกุศลจิต ๑๒ (อบายภูมิ ๔) - โลภมูลจิต ๘ - โทสมูลจิต ๒ - โมหมูลจิต ๒ (๒) อเหตุกจิต ๑๘ - อกุศลวิบากจิต ๗ - กุศลวิบากอเหตุกจิต ๘ - อเหตุกกิริยาจิต ๓ (๓) กามาวจรโสภณจิต ๒๔ (อธิสีลสิกขา: มนุษยโลก ๑ กามาวจรสวรรค์ ๖) - มหากุศลจิต ๘ - มหาวิบากจิต ๘ - มหากิริยาจิต ๘
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ (อธิจิตตสิกขา: รูปาวจรภูมิ) (๑) รูปาวจรกุศลจิต ๕ (๒) รูปาวจรวิบากจิต ๕ (๓) รูปาวจรกิริยาจิต ๕
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ (อธิสีลสิกขา: อรูปาวจรภูมิ) (๑) อรูปาวจรกุศลจิต ๔ (๒) อรูปาวจรวิบากจิต ๔ (๓) อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ (สิ้นสุด เขตพรหมแดนบาปและบุญ แล้วข้ามสู่ ภูมิอริยบุคคล)
๔. โลกุตตรจิต ๘ (อธิปัญญาสิกขา: โลกุตตรภูมิ) (๑) โลกุตตรกุศลจิต ๔ = อริยมรรค ๔มัคคญาณ (๒) โลกุตตรวิบากจิต ๔ = สามัญผล ๔ผลญาณ (สิ้นสุด เขตพรหมแดนวัฏฏะ แล้วข้ามสู่ วิวัฏฏะแห่งพุทธภูมิ)
ฉะนั้น ในการจำแนกแจกธรรม ธัมมวิจยะ นั้น ข้อธรรมหลักหรือข้อธรรมย่อยใดๆ ก็ตาม ต้องสามารถระบุได้ว่า อยู่ใน จิตระดับใด หรือ จิตในภูมิประเภทใด ซึ่งก็จัดเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการคิดใน โยนิโสมนสิการ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจน ไม่สับสนหรือฟั่นเฟือน พิจารณาเห็นภาพองค์รวมได้ทุกขณะในการพิจารณาธรรมทั้งหลาย (สภาวธรรมอารมณ์แห่งกรรมฐาน) นั่นคือ มนสิการกรรมฐาน กระบวนการคิดด้วยทักษะหรือเทคนิคดังกล่าวนี้ เรียกว่า อุบายวิธีกุสโลบาย ในการพัฒนาปัญญาให้มีความเสถียรรวดเร็วหรือแม่นยำถูกต้องตามหลักธรรม มิฉะนั้น ก็เกิดความสับสนเข้าใจอย่างผิดๆ พูดกันคนละภาษา หรือพูดกันคนละเรื่อง ดังตัวอย่างนี้
การสื่อสารส้มเหลว (Communication Breakdown) มีพระภิกษุติดอยู่บนเครื่องบินที่นักบินสลบบังคับเครื่องลงไม่ได้ พระภิกษุรูปนั้นจึงแจ้งไปที่หอบังคับการบินว่า มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น จะทำอย่างไรดี หอบังคับการฯ บอกว่า ใจเย็นๆ ไม่ต้องกลัว สามารถนำเครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัย แต่ตอนนี้ให้ท่านแจ้งความสูงและระดับของท่านด่วน พระภิกษุเข้าใจเองตามนัยทางพระ (คิดกันคนละทาง ใช้คำผิด กำกวม ไม่ชัดเจน) ไม่ได้เข้าใจคำศัพท์ตามนัยทางหอบังคับการบินฯ จึงตอบว่า อาตมาก็สูง ๑๗๐ เซนติเมตร ระดับเจ้าอาวาส น่ะโยม จนถึงปานนี้ ยังไม่ทราบเหมือนกันว่า นำเครื่องลงจอดได้แล้วหรือยัง เป็นต้น
อนึ่ง บุคคลผู้มีการเห็นอันเยี่ยม ทัสสนานุตตริยะ คือ มีปัญญาที่เห็นธรรม เห็นเส้นทางที่จะเข้าถึง กระแสแห่งพระนิพพาน ย่อมมีสามารถที่จะเห็น อาณาจักรธรรมทั้งหลาย ที่เป็นมุมองในภาพองค์รวมและองค์ธรรมรายย่อยได้ เห็นประเภทของธรรมที่เป็น อกุศลธรรมกุศลธรรมอัพยากตธรรม และเข้าใจว่าธรรม ๒ ประการหลังนั้น จะเป็นข้อประพฤติปฏิบัติไปสู่คุณชาติแห่ง ความเป็นอริยะ และ พระนิพพาน เพราะฉะนั้น คำว่า ธรรมทั้งปวง ต้องเข้าใจว่ามี ดังนี้ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม เป็นต้น แต่ถ้าพิจารณาถึงการทำความดีนั้น ให้คำนึงถึงหลักธรรม กุศลกรรมบถ ๑๐ และเปรียบเทียบกับ อกุศลกรรมบถ ๑๐ รวมทั้งพิจารณาถึง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กุศลกรรมบถ ๑๐ หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม ทางทำความดี กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติด้วย กฎแห่งกรรมดี การกระทำ พฤติกรรม ที่สะอาด บริสุทธิ์ จนกลายเป็น ศีลที่บริสุทธิ์เองตามปกติ จนมีความนึกคิดในใจด้วยสมาธิที่เห็นทุกอย่างเนืองๆ เห็นตามที่เป็นจริงเดี๋ยวนี้ ไม่ปรุงแต่ง คือ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ก. กายกรรม ๓ คือ การกระทำทางกายด้วย กายสุจริต ๓ = สัมมากัมมันตะ (๑) ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากปลงชีวิต (๒)อทินฺนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย (๓) กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม ข. วจีกรรม ๔ คือ การกระทำทางวาจาด้วย วจีสุจริต ๔ = สัมมาวาจา (๔) มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ (๕) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด (๖) ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ (๗) สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ค. มโนกรรม ๓ คือ การกระทำทางใจด้วย มโนสุจริต ๓ =สัมมาอาชีวะ (๘) อนภิชฺฌา ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา (๙) อพฺยาปาท ความไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น (๑๐) สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม
อกุศลกรรมบถ ๑๐ หมายถึง ทางแห่งอกุศลกรรม ทางทำความชั่ว กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคติ ได้แก่ ก. กายกรรม ๓ หมายถึง การกระทำทางกาย กายทุจริต ๓ (๑) ปาณาติบาต คือ การทำชีวิตให้ตกล่วง ปลงชีวิต (๒) อทินนาทาน คือ การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย ลักทรัพย์ (๓) กาเมสุมิจฉาจาร คือ ความประพฤติผิดในกาม ข. วจีกรรม ๔ หมายถึง การกระทำทางวาจา วจีทุจริต ๔ (๔) มุสาวาท คือ การพูดเท็จ (๕) ปิสุณาวาจา คือ วาจาส่อเสียด (๖) ผรุสวาจา คือ วาจาหยาบ (๗) สัมผัปปลาปะ คือ คำพูดเพ้อเจ้อ ค. มโนกรรม ๓ หมายถึง การกระทำทางใจ มโนทุจริต ๓ (๘) อภิชฌา คือ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา (๙) พยาบาท คือ คิดร้ายผู้อื่น (๑๐) มิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นผิดจากคลองธรรม
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำบุญทางทำความดี [กฎแห่งกรรมดี] ได้แก่ (๑) ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ (๒) สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี (๓) ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา (๔) อปจายนมัย ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม (๕) เวยยาวัจจมัย ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ (๖) ปัตติทานมัย ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (๗) ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น (๘) ธัมมัสสวนมัย ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ (๙) ธัมมเทสนามัย ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ (๑๐) ทิฏฐุชุกัมม์ ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง
นอกจากนี้ ในการรักษาจิตให้เบิกบานผ่องแผ้วแจ่มใสเข้าอยู่ในกระแสแห่งอริยมรรคนั้น ให้หาเครื่องระลึกของ สติ และเครื่องเรียนรู้ของ สัมปชัญญะ ซึ่งธรรมเครื่องนั้นย่อมเป็น อาหารของสติสัมปชัญญะ ได้แก่ อนุสติ ๑๐ และ บารมี ๑๐ ดังนี้
อนุสติ ๑๐ หมายถึง ความระลึกถึงอารมณ์ที่ควรระลึกพิจารณาถึงเนืองๆ ได้แก่ (๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า (๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม (๓) สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา (๕) จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว (๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา (๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา (๘) กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม (๙) อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก (๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน
บารมี ๑๐ทศบารมี หมายถึง สัมมาปฏิปทาหรืออุบายอันยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ซึ่งแยกออกเป็น ๓ ระดับ คือ (๑) บารมีระดับสามัญ (๒) อุปบารมีระดับรอง และ (๓) ปรมัตถบารมีระดับสูงสุด ได้แก่ (๑) ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์ (๒) ศีล ความประพฤติถูกต้องสุจริต (๓) เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ การออกบวช (๔) ปัญญา ความรอบรู้เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหาและดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ (๕) วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้าบากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ (๖) ขันติ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส (๗) สัจจะ ความจริงซื่อสัตย์จริงใจจริงจัง (๘) อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ (๙) เมตตา ความรักความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข (๑๐) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหว ไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาในพระพุทธศาสนานั้น ความเล็งเห็นการทำบุญละบาปที่ให้ผลานิสงส์สูงมากด้วย ปฏิบัติบูชา คือ (๑) การเจริญสมาธิในสมถะ และ (๒) การเจริญปัญญาในวิปัสสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มพูนปัญญาให้ยิ่งขึ้น ที่เจริญด้วย อนุสติ ๗ คือ การพิจารณาเห็นธรรมตามเป็นจริงบ่อยๆ อย่างสืบเนื่อง ย่อมทำให้เกิด ภาวนามยปัญญา หรือ พุทธปัญญาญาณ ดังนี้
ปัญญา ๑๐ หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญอนุปัสสนา ได้แก่ (๑) ชวนปัญญา ปัญญาเร็ว โดยเจริญ อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง] (๒) นิพเพธิกปัญญา ปัญญาทำลายกิเลส โดยเจริญ ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์] (๓) มหาปัญญา ปัญญามาก โดยเจริญ อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน] (๔) ติกขปัญญา ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์] (๕) วิบูลปัญญา ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา [ดับความกระหายวัฏฏะ] (๖) คัมภีรปัญญา ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส] (๗) อัสสามันตปัญญา ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน] (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน โดยเจริญ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา] (๙) ปุถุปัญญา ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] (๑๐) หาสปัญญา ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ]
ว่าด้วย สมาธิกับวิปัสสนา ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยกุศลอาการแห่งกุสโลบายอันแนบเนียน (โยนิโสมนสิการ) (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 265268 FILE 69)
[๔๖๐] (๑) ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็น ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ๗ เป็นไฉน ปุถุชนผู้มีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมประกอบด้วยคุณ ดังนี้ (๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ (นิมิตอันให้เกิดนั้น) (๒) เป็นผู้ฉลาดให้ความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต (๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต (๔) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน (๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส (๖) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง (๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ เหล่านี้
(๒) พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน พระเสขะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมประกอบด้วยคุณ ดังนี้ (๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ (๒) เป็นผู้ฉลาดให้ความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต (๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต (๔) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน (๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส (๖) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง (๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา (๘) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว พระเสขะผู้เจริญสมาธิ ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้
(๓) ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ท่านผู้ปราศจากราคะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมประกอบด้วยคุณ ดังนี้ (๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ อารมฺมณูปฏฺฐานกุสโล (กรรมฐานนิมิต) (๒) เป็นผู้ฉลาดให้ความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต สมถนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล (องค์ฌาน) (๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ปคฺคหนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล (มีความเพียรพอดี) (๔) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน อวิกฺเขปูปฏฐานกุสโล (ไม่ฟุ้งซ่าน) (๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส โอภาสุปฏฺฐานกุสโล (ญาโณภาสธรรมสังเวช) (๖) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง สมฺปหํสนูปฏฺฐานกุสโล (ระลึกถึงพระรัตนตรัย) (๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา อุเปกฺขูปฏฺฐานกุสโล (ไม่ข่มไม่ยกย่อง) (๘) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว เอกตฺตูปฏฺฐานกุสโล (ธรรมคู่ปรปักษ์กัน) (๙) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ญาณูปฏฺฐานกุสโล (อสัมโมหญาณไม่หลงใหล) (๑๐) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต จิตตูปฏฺฐานกุสโลวิมุตฺตูปฏฺฐานกุสโล (อรหัตผลวิมุตติ) ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้
[๔๖๒] (๑) ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมประกอบด้วยคุณ ดังนี้ (๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง อนิจจตา (๒) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง นิจจสัญญา (๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ทุกขตา (๔) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข สุขสัญญา (๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา อนัตตตา (๖) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา อัตตสัญญา (๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ขยาขยธมฺมตา (๘) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ฆนสัญญา (๙) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป วยธมฺมตา (๑๐) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา อายูหนา (กรรมอันปรุงแต่งปฏิสนธิ) (๑๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน วิปริณาม (๑๒) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน ธุวสัญญา (๑๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ -อนิมิต (๑๔) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต นิมิตตสัญญา (๑๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง อัปปณิหิตา (๑๖) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ปณิธิ (๑๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ สุญญตา (๑๘) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น อภินิเวส ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้
(๒) พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมประกอบด้วยคุณ ดังนี้ (๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง (๒) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง (๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ (๔) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข (๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา (๖) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา (๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป (๘) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน (๙) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป (๑๐) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา (๑๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน (๑๒) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน (๑๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ (๑๔) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต (๑๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง (๑๖) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง (๑๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ (๑๘) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น (๑๙) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ (๒๐) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้
(๓) ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมประกอบด้วยคุณ ดังนี้ (๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง (๒) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง (๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ (๔) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข (๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา (๖) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา (๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป (๘) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน (๙) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป (๑๐) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา (๑๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน (๑๒) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน (๑๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ (๑๔) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต (๑๕) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง (๑๖) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง (๑๗) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ สุญฺญตูปฏฺฐานกุสโล สุญฺญโต อุปฏฺฐานกุสโล (๑๘) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น (๑๙) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ญาณูปฏฺฐานกุสโล (๒๐) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ (๒๑) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง วิสญฺโญคูปฏฺฐานกุสโล (๒๒) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง สญฺโญคานุปฏฺฐานกุสโล (๒๓) เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ นิโรธูปฏฺฐานกุสโล (๒๔) เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อม เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น กระบวนการปฏิบัติธรรมอันเกี่ยวกับ สมาธิ และ วิปัสสนา ดังกล่าวข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นการเจริญภาวนากรรมฐาน ที่เรียกว่า มนสิการกรรมฐาน โดยพิจารณาเห็นธรรมตามเป็นจริงที่กระทำบ่อยๆ เจริญให้มากๆ ย่อมเกิด ปัญญาในสมาธิ และ ปัญญาในวิปัสสนา อย่างแน่นอน ด้วยกรรมประกอบใน โยนิโสมนสิการ คำว่า บุญ จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การให้ทานหรือบริจาคทรัพย์อย่างเดียวเท่านั้น ดังปุถุชนจำนวนมากที่เป็นชาวพุทธเข้าใจกันอย่างผิดๆ เพราะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของพวกตะวันตกที่มี ค่านิยมในสงสารทุกข์เต็มขั้น คือ (๑) วัตถุนิยมMaterialism กับ (๒) บริโภคนิยมConsumerism โดยเกิดปัญญาหางอึ่งเข้าใจว่า: ให้บริจาคเงินหรือทรัพย์มาก ยิ่งได้บุญมาก เลยมีหลายคนตกเป็นเหยื่อของ ความขาดสติปัญญา เพราะถูกความไม่รู้จริงเข้าเล่นงาน อวิชชา ความหลงงมงายเข้าเล่นงาน โมหะ และ ความทะยานอยากไม่สมควรเข้าเล่นงาน ตัณหาอภิชฌาวิสมโลภะ เช่นกันหมด ฉะนั้น บุญที่พร่องปัญญา ไม่น่าจะเป็นบุญกุศลอะไรมากมาย กลับเป็นการสร้างแรงทะยานอยากด้วยความใคร่พอใจไม่รู้จักพอด้วยซ้ำไป ความอยากได้บุญมาก ยิ่งมาก ยิ่งเห็นแก่ตัว ขี้เหนียวในบุญ มัจฉริยะ กลัวคนอื่นได้มากกว่าตน (ติดสันดานยื้อแย่งเหมือนพวกหมาแมวในวัด) ผู้รับบุญก็จนปัญญา ผู้ให้บุญก็จนปัญญา เพราะมีเจตนาในการทำบุญที่ไม่บริสุทธิ์ ก็ให้โง่ต่อไป ด้วยทศนิยมไม่รู้จบ เมื่อพิจารณาด้วยความมีสติสัมปชัญญะใน ความเขลาปัญญาด้วยทศนิยมไม่รู้จบ (ปัญญาหางอึ่ง) ทำให้เกิดความรู้น่าอับอายที่เกิดในแดนพระพุทธศาสนา แต่ไม่รู้จริงในพระศาสนาเลยจำนวนมาก งมโข่ง (ทำไม่เข้าท่า) อยู่กับให้ทานให้บริจาคแค่ระดับพฤติกรรมในเรื่อง ศีลวัตร ยังขาดโอกาสเข้าถึงเรื่อง สมาธิ กับ ปัญญา ที่ถูกต้องด้วยธรรม ที่เรียกในทางธรรมว่า ธัมมานุธัมมปฏิปทา หรือ ธรรมานุธรรมปฏิบัติธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง (๑) ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (๒) ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน (๓) ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม ฉะนั้น ความมืดบอดแห่งอวิชชา บ้าง ความมืดมิดแห่งอกุศลมูล (ราคะโทสะโมหะ) บ้าง ความมืดสนิทแห่งกิเลสตัณหา บ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้มารวมกันมหาสมุทรแห่งความโง่ ย่อมทำให้มีโง่เขลาแห่งอาการวิปริต ที่เห็นผิดเป็นชอบ ได้แก่ (๑) เห็นไม่เที่ยง เป็นเที่ยง (๒) เห็นทุกข์ เป็นสุข (๓) เห็นอนัตตา เป็นตัวตน (๔) เห็นไม่งาม เป็นงาม (สงสัยว่าจะบ้าแล้ว) เพราะท่านทั้งหลายผู้ครองวิปลาสทั้ง ๔ อาการเหล่านี้ มีความเจริญลงยิ่งในทางเสื่อมทางฉิบหายแน่นอน แม้มีโอกาสได้เจอพระสัทธรรมแท้ ก็เปรียบเสมือนลิงกังเจอเพชรมณี เอามาปาขว้างใส่กระบาลกันเล่น เพราะลิงก็คือลิง ไม่ใช่บรรพบุรุษคน จึงคิดไม่เป็น แต่คนคิดไม่เป็น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับหนึ่งของโลก และมีแนวโน้มว่า สังคมส่วนใหญ่มีคนเป็นลิงวอกจำนวนมาก (ดีไม่เป็นหมา หรือเป็นไปแล้ว อยู่กันจนชิน เลยไม่รู้ว่าเป็นหมา หมากับหมาคุยกันรู้เรื่องอย่างหมาๆ อย่าประมาท) ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมมีกุสโลบายให้เปลี่ยนนิสัยสันดาน (๑) จากสัตว์ให้เป็นคน (๒) จากคนให้เป็นมนุษย์ (๓) จากมนุษย์ให้เป็นอริยะ (๔) จากอริยะให้เป็นพระอรหันต์ และ (๕) จากพระอรหันต์ให้เป็นพระพุทธเจ้า (ถ้าทำได้ย่อมเกิดจากใจของตน) แล้วจะเลือกเอาแนวทางไหนดังที่กล่าวมานี้ แต่อย่าลืมว่า กระบวนถอยหลังลงคลอง Regressive) ย่อมเกิดขึ้นด้วยการครอบงำของ อวิชชา คือ คนกลับไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน (จิตใจเป็นสัตว์) ได้เหมือนกัน แล้วลองคิดสิว่า: มีสัตว์ที่ไหนไปวัดทำบุญ นอกจากทำบาปเพื่อมีชีวิตอยู่รอด เท่านั้น เพื่อประทังความหิว สิงโตล่าเนื้อได้ไม่มีตู้เย็นเกิดอาหารไว้กินต่อ มีแต่คนสะสมอาหารด้วยกิเลสตัณหา มีแล้วอยากมีอีก ไม่รู้จักพอ ไม่รู้เหมือนกันว่ามีใครมือดีย่องไปลบ คำว่า พอ ออกจากพจนานุกรรมไทยไปแล้ว คนส่วนใหญ่เลยไม่รู้จัก คำว่า พอเพียง (เพียงเป็นน้องของพอ และพอเป็นพี่ของเพียง พอไม่ได้อยู่คนเดียว ยังมีพี่น้องอยู่ด้วย ให้คิดแบบปฏิจจสมุปบาทเล่นๆ)
เพราะฉะนั้น ข้อปฏิบัติในระดับศีลวัตร จึงมีอาการ ๓ ด้วย ได้แก่ (๑) ทำบาป เพราะไม่รู้ (๒) ทำบุญ เพราะไม่รู้ และมีผู้มาชักนำให้ทำ เกิดปัญญายิ่ง จึงเข้าใจใน กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาแห่งตน เลยสะสมบุญบารมีที่ยิ่งสูงขึ้นไป จนเป็นสมถะและวิปัสสนาได้จริง อย่างนี้ พระอริยเจ้าท่านสรรเสริญ (๓) ไม่ทำทั้งบาปและบุญ คือ อยู่เฉยๆ เพราะเชื่อว่า ไม่มีทั้งบาปและบุญ ตามแนวคิดของพวกลัทธินอกพระพุทธศาสนา (ได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยคการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข อัตตกิลมถานุโยคการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง สัสสตทิฏฐิความเห็นว่าเที่ยง อุจเฉททิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญ อกิริยทิฏฐิความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ อเหตุกทิฏฐิความเห็นว่าไม่มีเหตุ นัตถิกทิฏฐิความเห็นว่าไม่มี ปุพเพกตวาทลัทธิกรรมเก่า อิศวรนิรมิตวาทลัทธิพระเป็นเจ้า อเหตุวาทลัทธิเสี่ยงโชค) แนวคิดที่ (๑) และแนวคิดที่ (๓) นั้น ขัดแย้งและเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดพื้นฐานในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ที่ถือข้อประพฤติปฏิบัติด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ (อริยอัฏฐังคิกมรรค) แล้วผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีอาการดังกล่าวข้างต้นนี้หรือไม่ ถ้าเกิดบังเอิญมี ก็ให้ดับด้วยพระสัทธรรมแห่งพุทธปัญญา ไม่มียาเคมีหรือยาสมุนไพรขนาดใดรักษาได้ รักษาได้ด้วย (๑) ไม่ทำชั่วทั้งปวง (๒) ประกอบความเพียรทำดีให้ถึงพร้อม (๓) เจริญสมาธิให้จิตใจเบิกบานผ่องแผ้วจากนิวรณ์ และเจริญปัญญาให้เหมาะควรแก่ธรรม อาการจะทุเลาลงและดีขึ้นจนเป็น อริยบุคคลผู้ประเสริฐ ได้ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายสัมปยุตต์กัน ทำให้เห็นธรรมใน ๓ ประการ (๑) อกุศลธรรม (๒) กุศลธรรม และ (๓) อัพยากตธรรม ในธรรม ข้อที่ ๒ กับ ข้อที่ ๓ จะทำให้จิตอำลาหลุดพ้นจากแดน (๑) กามาวจรภูมิ ข้ามไปสู่ภพภูมิแห่งพรหม คือ (๒) รูปาวจรภูมิ กับ (๓) อรูปาวจรภูมิ และแล้ว ย่อมดับกิเลสอกุศลธรรมทั้งปวง ข้ามสู่กระแสแห่งอริยมรรค (๔) โลกุตตรภูมิ และประกอบพุทธกิจอันยิ่งจนสำเร็จบรรลุเข้าถึง (๕) การดับขันธปรินิพพาน อันเป็นการสิ้นสุดการวิวัฒน์พัฒนาปัญญาแห่งมนุษยชาติ ด้วยประการฉะนี้.
|