๘๓. กว่าจะถึงบางอ้อ Until You Get the Right Way
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
ในการประพฤติปฏิบัติตามพระสัตถุสาสน์อนุสาสนีแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเกิดอิทธิฤทธิ์ขึ้น ที่เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ทรงแนะนำพรั่งสอนไม่ให้ไป ถือมั่นยึดมั่น เพื่อให้เข้าใจถึง ธรรมทั้งหลายไม่มีตัวตน คือ เห็นความไม่มีตัวตน เป็นอนัตตาหรือสุญญตะ โดยไม่วิปริต นั่นคือ วิปลาส ๔ หมายถึง ความเห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ได้แก่ สัญญาวิปลาส ๑ จิตตวิปลาส ๑ ทิฏฐิวิปลาส ๑ ซึ่งทำให้เกิดความวิปลาสที่ ๔ คือ (๑) เห็นไม่เที่ยง เป็นเที่ยง (๒) เห็นทุกข์ เป็นสุข (๓) เห็นความไม่มีตัวตน เป็นอัตตา และ (๔) เห็นไม่งาม เป็นงาม ตามลำดับ เมื่อจิตใจมีวิปลาสครอบงำอยู่ จิตใจก็ถูกกลุ้มรุมด้วย นิวรณ์ (นิวรณูปกิเลสจิตตอุปกิเลสปริยุฏฐานกิเลส) เมื่อทำลายนิวรณ์ได้ สมาธิก็ย่อมอุบัติเกิดขึ้นในฌานธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะ จตุตถฌาน อันเป็น ปัญญาในสมาธิ (ญาณทัสสนะ) และทำให้เกิด ปัญญาในวิปัสสนา ที่เรียกว่า ญาณ เพราะฉะนั้น กุศลธรรมทั้งหลายฌานญาณ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติธรรม ที่ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาจะมองข้ามละเลยความสำคัญนี้ไม่ได้เด็ดขาด อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ย่อมเกิดขึ้น ตั้งแต่การบรรลุถึง ปฐมฌาน (วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา) จิตย่อมปราศจากนิวรณ์ทั้งหลาย (นิวรณ์ ๕อวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งหลาย = ญาณในธรรมที่อันตรายแก่สมาธิ) ฉะนั้น การปฏิบัติธรรม ก็คือ กระบวนการประพฤติปฏิบัติที่เริ่มต้นด้วย (๑) ให้ถือเอา สิกขา ๓ ด้วย อนุปุพพสิกขา คือ การศึกษาไปตามลำดับ (๒) ให้ถือเอา ธุดงค์ธรรม ๑๓ ด้วย อนุปุพพกิริยา คือ การทำไปตามลำดับ และ (๓) ให้ถือเอา อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘การจำแนกอารมณ์ ๓๘โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ด้วย อนุปุพพปฏิปทา คือ การปฏิบัติไปตามลำดับ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติธรรมนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายกับคนทั่วไปผู้มีบาปหนา ถึงแม้ผู้ออกบวชแล้ว ก็ใช่ว่าจะเข้าถึงได้จริง เพราะศีลที่บริสุทธิ์ (สังวร ๕) ย่อมทำให้เกิด อธิคมธรรมอุตตริมนุสสธรรม แต่อย่าไปหลงงมงาย จนเป็นบ้าไป เกินเลยไปจากคำสอนของพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมพึงดำเนินตามหลักแก่นพระศาสนาอย่างแท้จริง คือ พระไตรปิฎก ส่วนการต่อยอดองค์ความรู้ที่เกินไปจากนั้น ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่อง ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ความคิดริเริ่มความคิดสร้างสรรค์ความคิดประยุกต์ดังแปลง) แต่ก็อย่าไปหลงจนสำคัญตนเองผิดว่าเป็น ศาสนดาใหม่แห่งโลกวิปริต ที่หลายต่อหลายคนวิปลาสวิปริตไป แทนที่จะเป็น ผู้สืบทอดพระศาสนา กลับกลายเป็น ตัวทำลายพระศาสนา ไปเสียเอง ความมหัศจรรย์ของพระศาสนามีจริง แต่จะเกิดขึ้นจริงกับผู้มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลายและปัญญาตรัสรู้เท่านั้น คนที่ไม่สำรวมด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ ย่อมตกเป็นสาวกของความอุบาทว์ได้ทุกเมื่อขณะ เนื่องด้วยปัจจัย ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ความประมาทในปัญญา และ (๒) ความแห้งแล้วแห่งกัลยาณมิตร นั่นเอง.
บทความที่ ๘๓ ประจำปี ๒๕๕๘ กว่าจะถึงบางอ้อ
ความสงสัยเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อหาคำตอบถึงสาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบข้างของเรา ความสงสัยความตื่นตัว (Wakefulness) หรือ ความอยากรู้อยากเห็น (Inquisitiveness or Curiosity) ซึ่งแสดงนัยถึง การศึกษา การค้นคว้า การสืบหา การวิจัย ตามลักษณะชนิดนี้ ย่อมไม่ใช่ภาวะจิตที่ว่า ความลังเลสงสัยความระแวงวิจิกิจฉา (Doubt or Uncertainty) ซึ่งจะส่อไปในลักษณะ สัมผัปปลาปะ คือ คำพูดเพ้อเจ้อ คำซุบซิบนินทา ฉะนั้น ความอยากรู้อยากเห็น จึงเป็นลักษณะของความเจริญทางปัญญา ประเทืองปัญญา วิวัฒน์ปัญญา ส่วน ความระแวงสงสัย จึงเป็นลักษณะอุปนิสัยใจคอของพวกด้อยพัฒนาทางพฤติกรรมและจิตใจ ประกอบด้วยความเสื่อมทางอารยธรรมและคุณธรรม เพราะพวกนี้ มีปากไม่เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตน จิตใจจึงเศร้าหมองและขุ่นมัว มีคำพูดหยาบๆ เป็นอาหารหล่อเลี้ยงจิตใจ ที่เกิดจากพวกนรกมีวิวาห์กับอสุรกาย จิตใจจึงจองที่อยู่ในโครงการบ้านจัดสรรในอบายภูมิทั้ง ๔ อันเป็นเรือนใจ คือ พื้นจิตตสันดาน ดังนั้น ถ้าจะว่าไป ความลังเลสงสัยความวาดระแวงวิจิกิจฉา นั้น ย่อมเกิดจากความไม่รู้จริง อวิชชา (ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔กาล ๓ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ จะไปบอก พวกนี้ก็ไม่หยิ่งไม่อยากจะรู้) ความไม่ศึกษาพระธรรม ความไม่ได้สมาทานไตรสิกขา ได้แก่ อธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา ความไม่ได้ถือปฏิบัติตามหลัก อริยมรรคมีองค์ ๘ ความหลงงมงาย (โมหะ) และ ความไม่มีสติสัมปชัญญะ (อโยนิโสมนสิการ) กล่าวโดยสรุป ไม่เข้าใจหลักธรรมอันเป็นแนวทางทางปัญญาในพระพุทธศาสนา คือ มัชฌิมาปฏิปทา เพราะฉะนั้น พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จึงไปเกิดกับคนโง่เขลาได้ยากมาก แต่จะเกิดกับคนดี มีจิตใจเมตตาปราณี มีศีลธรรม ซึ่งสุดท้ายก็จะมีภาวะที่พร้อมพัฒนาปัญญาให้สูงขึ้นไปเป็นลำดับ จนสามารถบรรลุธรรมวิเศษในพระศาสนานี้ได้ อย่างนี้ก็ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสมาทานนำไปใช้จริงในชีวิต โดยไม่ดื้อ คิดคดทรยศต่อพระสัทธรรมแต่ประการใด หรือไปหักหลังคิดร้ายผู้ถือศีล เป็นต้น
ตามธรรมชาติของพระพุทธศาสนานั้น ไม่มีการบังคับเอาเป็นเอาตาย จึงถึงขั้นต้องใช้สงครามมาเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์จากฝ่ายศาสนา เพราะสาระสำคัญของพระศาสนานี้ ให้คิดเองทำเองรู้ผลเอง ไม่มีหน่วยงานกลางรับผิดชอบการสอบวัดผล ที่เปิดโอกาสให้คนชั่วเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ เช่น การสอบบรรลุ หรือสอบศึกษาเรียนต่อ ถ้าบุคคลนั้น ถือมั่นปฏิบัติอย่างจริงจัง ย่อมบรรลุผลปฏิเวธใน อธิคมธรรมอุตตริมนุสสธรรม นั่นคือ อธิคมธรรม หมายถึง ธรรมขั้นบรรลุผลแห่งการปฏิบัติ เช่น ฌานอภิญญามรรคผล หรือเรียกอีกอย่างว่า อุตตริมนุสสธรรม หมายถึง ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌานวิโมกข์สมาบัติมรรคผล บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษคุณวิเศษคุณพิเศษ บุคคลผู้มีคุณชาติแห่งพระอริยสงฆ์หรืออริยบุคคลนั้น ไม่ค่อยชอบโอ้อวดประกาศตน เพราะผิดพระธรรมวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นสมณเพศก็ต้องอาบัติปาราชิก ให้ลาสิกขาออกจาสมณะ เรียกว่า มนุษยวิบัติ คือ ผู้มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง (คิดชั่วจนนรกไม่รับ) หรือ วัตถุวิบัติ คือ จะมาบวชในพระศาสนาอีกไม่ได้ นั่นคือ เรื่องที่เป็นความผิดร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือ เป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน หรือ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ หรือเป็นสตรีไม่ให้อุปสมบทได้ (เฉพาะในไทย) ดังนี้ เป็นต้น แต่ถ้าเป็น วัตถุอุบาทว์ นั้น ไม่มีในพระไตรปิฎก มีแต่ อโคจร หมายถึง บุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ มี ๖ คือ หญิงแพศยา ๑ หญิงหม้าย ๑ สาวเทื้อ ๑ ภิกษุณี ๑ บัณเฑาะก์กะเทย ๑ ร้านสุรา ๑
ในกระบวนการคิดตามแบบพระพุทธศาสนานั้น ที่สำคัญมาก คือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการตถตา (ปัจจัย ๒๔มหาปัฏฐานคัมภีร์ปัฏฐาน) โดยสรุปข้อทฤษฎีหลักๆ ไว้ว่า:
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการตถตา (ปัจจัย ๒๔มหาปัฏฐานคัมภีร์ปัฏฐาน) (๑) การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน (๒) ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม (๓) การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น (๔) แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ (๕) โยนิโสมนสิการ คือ ทำในใจโดยแยบคาย รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี (๖) โยนิโสมนสิการ คือ การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย แยกแยะออกพิเคราะห์ ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธี ให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย (๗) ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไข ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง (๘) ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ คือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา นั่นคือ การเห็นสภาวธรรมตามเป็นจริงด้วยปัญญา ที่สังขตธรรมทั้งหลายประกอบด้วย ๓ ขณะ ไม่ว่าจะเป็น รูปอินทรีย์ หรือ อรูปอินทรีย์ ก็ตาม ได้แก่ (๑) อุปาทขณะ คือ ช่วงกำลังเกิดขึ้น (๒) ฐิติขณะ คือ ช่วงกำลังตั้งอยู่ (๓) ภังคขณะ คือ ช่วงกำลังเสื่อมดับหายไป อย่างเช่น ลักษณะอาการในอุปาทายรูป ที่ประกอบด้วย ๔ อาการ (ข้อ ๒๑๒๒๒๓๒๔ ในอุปาทายรูป ๒๔) ดังนี้ (๑) รูปัสสะ อุปจยะ คือ ความก่อตัวหรือเติบขึ้น (๒) รูปัสสะ สันตติ คือ ความสืบต่อ (๓) รูปัสสะ ชรตา คือ ความทรุดโทรม (๔) รูปัสสะ อนิจจตา คือ ความปรวนแปรแตกสลาย
เมื่อวิเคราะห์ถึง ลักษณะของความต่อเนื่อง (ความสืบต่อ) ทั้งระบบ (System) และ โครงสร้าง (Structure) ของฝ่ายรูปธรรมหรือร่างกายนั้น สภาวธรรมในแต่ละหน่วยของเซลล์ในร่างกายนั้น (อาการ ๓๒) ต้องประกอบด้วยอีก ๓ อาการ (ข้อ ๑๘๑๙๒๐ ในอุปาทายรูป ๒๔) ดังนี้
(๑) รูปัสสะ ลหุตา คือ ความเบา (๒) รูปัสสะ มุทุตา คือ ความอ่อนสลวย (๓) รูปัสสะ กัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงาน ความใช้การได้
แต่อย่างไรก็ตาม ในฝ่ายนามกายนั้น ภาวะปกติของ จิต กับ เจตสิก (ข้อ ๓๕๔๖) ก็มีเช่นเดียวกัน (๑) กายปัสสัทธิ คือ ความสงบแห่งกองเจตสิก (๒) จิตตปัสสัทธิ คือ ความสงบแห่งจิต (๓) กายลหุตา คือ ความเบาแห่งกองเจตสิก (๔) จิตตลหุตา คือ ความเบาแห่งจิต (๕) กายมุทุตา คือ ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก (๖) จิตตมุทุตา คือ ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต (๗) กายกัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก (๘) จิตตกัมมัญญตา คือ ความควรแก่การงานแห่งจิต (๙) กายปาคุญญตา คือ ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก (๑๐) จิตตปาคุญญตา คือ ความคล่องแคล่วแห่งจิต (๑๑) กายุชุกตา คือ ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก (๑๒) จิตตุชุกตา คือ ความซื่อตรงแห่งจิต
ทั้ง จิต กับ เจตสิก จะมีอำนาจพลังแห่งฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เมื่อถูกควบคุมด้วย ฌานสมาบัติ โดยเฉพาะ รูปฌาน (ฌาน ๔) ได้แก่ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน โดยมุ่งหมายเอา จตุตถฌาน: อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร คือ หมดจดสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบานไม่มีมลทินปราศจากนิวรณ์ปราศจากอุปกิเลสอ่อนควรแก่งานมั่นคงไม่หวั่นไหว เมื่อจิตอยู่ในจตุตถฌานนั้น จะมีคุณสมบัติครบ ๑๒ อาการข้างต้น นั่นเอง และ วิถีจิต (ภวังคจิตวิถีจิตตกภวังค์: ดูเพิ่มเติมใน วิญญาณกิจ ๑๔วิญญาณปวัตติอาการ) ย่อมประกอบด้วย (๑) อุปาทขณะ คือ ช่วงกำลังเกิดขึ้น (๒) ฐิติขณะ คือ ช่วงกำลังตั้งอยู่ (๓) ภังคขณะ คือ ช่วงกำลังเสื่อมดับหายไป เช่นเดียวกัน
สำหรับกระบวนการคิดที่สำคัญในการเจริญวิปัสสนานั้น มี ๔ ลักษณะ ดังนี้
(๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปัญญาพิจารณาเห็นสาเหตุแห่งทุกข์ กำหนดรู้สมุทัยสัจจ์
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 12 FILE 44)
(๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปัญญาพิจารณาเห็นการดับสาเหตุแห่งทุกข์ กำหนดรู้นิโรธสัจจ์
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 73 FILE 44)
(๓) อนุปัสสนา ๓ หมายถึง การพิจารณาเห็นแจ้งอยู่เนื่องๆ ดังนี้
(๑) อนิจจตา คือ ลักษณะของความไม่เที่ยงแห่งอนิมิตตะ อันเป็นบาทฐานในการเจริญ อนิจจานุปัสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจังอนิจจตาอนิจจลักษณะ) และ อนิมิตตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย ย่อมเกิด ชวนปัญญา ปัญญาเร็ว (๒) ทุกขตา คือ ลักษณะของความทุกข์แห่งอัปปณิหิตะ อันเป็นบาทฐานในการเจริญ ทุกขานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นทุกข์ (ทุกขังทุกขตาทุกขลักษณะ) และ อัปปณิหิตานุปัสสนา คือ การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง ย่อมเกิด นิพเพธิกปัญญาปัญญาทำลายกิเลส (๓) อนัตตตา คือ ลักษณะของความไม่มีตัวตนแห่งสุญญตะ อันเป็นบาทฐานในการเจริญ อนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน (อนัตตาอนัตตตาอนัตตลักษณะ) และ สุญญตานุปัสสนา คือ การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า ความไม่มีแก่นสาร ความไม่ใช่ตน ความไม่ใช่เรา ย่อมเกิด มหาปัญญาปัญญามาก
(๔) อริยสัจจ์ ๔ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ ๑ ความจริงของพระอริยะ ๑ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ๑ เรียกสามัญว่า ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค ได้แก่
(๑) ทุกข์ คือ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (๒)ทุกขสมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา (๓) ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือ นิพพาน (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มรรค ๔มัคคญาณ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงใน ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา
กิจในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง [ปโยคะ] จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจจ์หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ (๑) ปริญญา คือ การกำหนดรู้ เป็น กิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา (๒)ปหานะ คือ การละ เป็น กิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่ การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา (๓) สัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง เป็น กิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่ การเข้าถึงภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ (๔) ภาวนา คือ การเจริญ เป็น กิจในมรรค [มรรค ๔] ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่ การลงมือแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม ธรรมทั้ง ๔ กลุ่ม ดังกล่าวข้างต้นนี้ เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ขันธ์ ๕ (อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒) เมื่อธรรมทั้งหมดนี้ สัมปยุตต์กันเป็น สหชาตธรรมสหวุตติ เรียกว่า วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ที่จะเป็น ปัญญาเห็นธรรมปัญญาตรัสรู้ ที่อธิบายสภาวธรรมหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น อันอยู่เหนือโลกสมมติบัญญัติ คือ จะอธิบายสภาวธรรมนั้นๆ ตามสภาพที่เป็นจริง สัจฉิกัตถะ ด้วยความหมายสูงสุดด้วย ปรมัตถะปรมัตถสัจจะ อันเป็นเรื่องของ อรรถบัญญัติ (ปรมัตถสัจจะ = พระอภิธรรม) ไม่ใช่ประเด็นของ นามบัญญัติ (สมมติสัจจะ) เมื่อปัญญาเริ่มต้นตามขั้นตอนดังกล่าวนี้ แล้ว ปัญญารอบรู้ เกิดขึ้นได้อย่างไร พอจะอธิบายได้ ดังนี้ นั่นคือ เกิดขึ้นตั้งแต่ การเจริญจตุสติปัฏฐานภาวนา ซึ่งเป็น ข้อที่ ๑ ของ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันเป็นกลุ่มธรรมแรกแห่งการเจริญภาวนาในพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกว่า อนุปุพพปฏิปทา คือ การปฏิบัติตามลำดับ อันประกอบด้วย (๑) อนุปัสสนา ๗ (๒) มหาวิปัสสนา ๑๘ (๓) การจำแนกอารมณ์ ๓๘ และ (๔) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตามลำดับ หลังจากจิตได้รับการพัฒนาเป็น จิตตสมาธิแห่งจตุตถฌาน คือ จิตที่ปราศจากนิวรณ์แล้ว ที่เรียกว่า จิตประภัสสร (อัปปนาสมาธิ: อุเบกขาเอกัคคตา) มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเดินวิปัสสนาได้อย่างถูกต้อง คือ ญาณ ๑๖โสฬสญาณ อย่างครบระบบโครงสร้างที่สมบูรณ์บริบูรณ์ ทั้ง ปัญญาในสมาธิ และ ปัญญาในวิปัสสนา แล้วสาธุชนทั้งหลายที่ไปนั่งสมาธิที่วัดหรือสำนักวิปัสสนาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะเริ่มต้นกันอย่างไรถึงจะถูกต้อง เพราะพระธรรมแห่งพระธรรมวินัยนี้ มีความประณีตละเอียดอ่านเป็นนามธรรมขั้นสูงสุดโดยปรมัตถ์ ที่เรียกว่า สัทธรรม ๓ ดังนี้
สัทธรรม ๓ หมายถึง ธรรมอันดีธรรมที่แท้ธรรมของสัตบุรุษหลักหรือแก่นศาสนา ได้แก่ (๑) ปริยัตติสัทธรรม คือ สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ (๒) ปฏิปัตติสัทธรรม คือ สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือ ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา (๓) ปฏิเวธสัทธรรม คือ สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรคผลและนิพพาน
ข้อที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง คือ การเกิดปัญญาในภูมิแห่งการเจริญวิปัสสนานั้น เกิดจากการมนสิการกรรมฐานอยู่บ่อยๆ อย่างสืบเนื่องเสมอ ที่เรียกว่า อนุปัสสนา ๗ โดยพิจารณา อายตนะ ๑๒ กับ ธาตุ ๑๘ โดยมีจุดประสงค์ ไม่ให้เกิด วิปลาส ๔ หมายถึง ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ได้แก่ สัญญาวิปลาสหมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง ๑ จิตตวิปลาสความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง ๑ ทิฏฐิวิปลาสความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง ๑ ซึ่งทำให้เกิด (๑) ความเห็นในไม่เที่ยงว่าเที่ยง (๒) ความเห็นในทุกข์ว่าสุข (๓) ความเห็นในไม่ใช่ตัวตนว่าตัวตน และ (๔) ความเห็นในไม่งามว่างาม โดยการใช้ปัญญาว่า:
(๑) เห็นสักว่าเห็น = รูปที่เห็นเป็นอนิจจสัญญาทุกขสัญญาอนัตตสัญญาอสุภสัญญา (๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (๒) รูปธาตุ ธาตุคือรูปารมณ์ (๓) จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ (จักขุสัมผัส = ตา + รูป + จักขุวิญญาณ)
(๒) ได้ยินสักว่าได้ยิน = สิ่งที่ได้ยินเป็นอนิจจสัญญาทุกขสัญญาอนัตตสัญญาอสุภสัญญา (๔) โสตธาตุ ธาตุคือโสตปสาท (๕) สัททธาตุ ธาตุคือสัททารมณ์ (๖) โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ (โสตสัมผัส = หู + เสียง + โสตวิญญาณ)
(๓) ได้กลิ่นสักว่าได้กลิ่น = สิ่งที่ได้กลิ่นเป็นอนิจจสัญญาทุกขสัญญาอนัตตสัญญาอสุภสัญญา (๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆานปสาท (๘) คันธธาตุ ธาตุคือคันธารมณ์ (๙) ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ (ฆานสัมผัส = จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ)
(๔) รู้รสสักว่ารู้รส = สิ่งที่รู้รสเป็นอนิจจสัญญาทุกขสัญญาอนัตตสัญญาอสุภสัญญา (๑๐) ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหาปสาท (๑๑) รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์ (๑๒) ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ (ชิวหาสัมผัส = ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ)
(๕) รู้สึกกายสัมผัสสักว่ารู้สึกกายสัมผัส = สิ่งที่รู้สึกกายสัมผัสเป็นอนิจจสัญญาทุกขสัญญาอนัตตสัญญาอสุภสัญญา (๑๓) กายธาตุ ธาตุคือกายปสาท (๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (๑๕) กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ (กายสัมผัส = กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ)
(๖) รู้ความนึกคิดสักว่ารู้ความนึกคิด = สิ่งที่รู้ความนึกคิดเป็นอนิจจสัญญาทุกขสัญญาอนัตตสัญญาอสุภสัญญา (๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน (๑๗) ธรรมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ (๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโนวิญญาณ (มโนสัมผัส = ใจ + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ)
ฉะนั้น สำหรับ อายตนะ ๑๒ หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ หรือแดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ ส่วน ธาตุ ๑๘ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยาม นั่นคือ กำหนดแห่งธรรมดา (กฎธรรมชาติ) ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ โดยมี วิญญาณ ๖ ทำหน้าที่ถอดรหัสความหมาย ที่เป็นไปตาม (๑) สมมติสัจจะนามบัญญัติ (Signifier) และ (๒) ปรมัตถสัจจะอรรถบัญญัติ (ปรมัตถะ = Reality) โดยมีสิ่งที่ถูกอ้างถึง ที่เรียกว่า สัจฉิกัตถะ (Signified) คือ สภาพตามเป็นจริง ดังนี้
วิญญาณ ๖ หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์ ซึ่งตามขั้นตอนการเรียนรู้นั้น จะมี สัญญา ๖ กับ เวทนา ๖ บวกกับ เจตนา ๖สัญญาเจตา ๖ (อภิสังขาร ๓) ทำหน้าที่ปรุงแต่อารมณ์ทั้ง ๖ ที่ผ่านมาทางอินทรีย์ทั้ง ๖ กลายเป็น อภิสังขาร ๓: ปุญญาภิสังขารอภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร ๑ อปุญญาภิสังขารอภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย ๑ อาเนญชาภิสังขารอภิสังขารที่เป็นอาเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน ๑ กับ สังขาร ๓: กายสังขารสภาพที่ปรุงแต่งกาย ๑ วจีสังขารสภาพที่ปรุงแต่งวาจา ๑ จิตตสังขารสภาพที่ปรุงแต่งใจ ๑ แล้วต่อจากนั้น วิญญาณ ๖ จึงทำหน้ารู้แจ้งเรียนรู้จำระลึกในอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น ซึ่งวิญญาณทั้ง ๖ เรียกว่า วิญญาณธาตุ นั่นเอง ได้แก่ (๑) จักขุวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา นั่นคือ รู้รูปด้วยตา = เห็น (๒) โสตวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางหู นั่นคือ รู้เสียงด้วยหู = ได้ยิน (๓) ฆานวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางจมูก นั่นคือ รู้กลิ่นด้วยจมูก = ได้กลิ่น (๔) ชิวหาวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น นั่นคือ รู้รสด้วยลิ้น = รู้รส (๕) กายวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางกาย นั่นคือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย = รู้สึกกายสัมผัส (๖) มโนวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางใจ นั่นคือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ = รู้ความนึกคิด
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วิญญาณ ๖ ย่อมหมายถึง วิถีจิต ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วิถีจิต หมายถึง จิตในวิถี คือ จิตในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์ จิตซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปในวิถี คือ พ้นจากภวังค์ หรือพ้นจากภาวะที่เป็น ภวังคจิต (และมิใช่เป็น ปฏิสนธิจิต หรือ จุติจิต) พูดอีกอย่างหนึ่งว่า จิต ๑๑ ชื่อ ซึ่งทำกิจ ๑๑ อย่าง นอกจาก ปฏิสนธิกิจ ๑ ภวังคกิจ ๑ จุติกิจ ๑ คำว่า วิถีจิต เป็นคำรวม เรียกจิตทั้งหลาย ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ อารมณ์ ๖ ทางทวารทั้ง ๖ (คำบาลีว่า วีถิจิตฺต) ซึ่งพออธิบายอย่างง่ายให้เข้าใจเป็นพื้นฐานว่า:
สัตว์ทั้งหลายหลังจากเกิด คือ ปฏิสนธิ แล้ว จนถึงก่อนตาย คือ จุติ ระหว่างนั้น ชีวิตเป็นอยู่โดยมีจิตที่เป็นพื้น เรียกว่า ภวังคจิต (จิตที่เป็นองค์แห่งภพ หรือจิตในภาวะที่เป็นองค์แห่งภพ) ซึ่งเกิดดับสืบเนื่องต่อกันไปตลอดเวลา (มักเรียกว่า ภวังคโสต คือ กระแสแห่งภวังค์ = ชีวิตสันตติ) ทีนี้ ถ้าจิตอยู่ในภาวะภวังค์ เป็น ภวังคจิต และเกิดดับสืบต่อไปเป็น ภวังคโสต เท่านั้น ก็เพียงแค่ยังมีชีวิตอยู่ เหมือนหลับอยู่ตลอดเวลา แต่ชีวิตนั้นเป็นอยู่ดำเนินไป โดยมี การรับรู้ (วิญญาณ ๖) และทำกรรมทางทวารต่างๆ เช่น เห็น ได้ยิน ดู ฟัง เคลื่อนไหว พูดจา ตลอดจนคิดการต่างๆ จิตจึงมิใช่อยู่เพียงในภาวะที่เป็น ภวังค์ คือ มิใช่แค่เป็น องค์แห่งภพ ไว้เท่านั้น แต่ต้อง (๑) มีการรับรู้เสพอารมณ์ และ (๒) ทำกรรมทางทวารทั้งหลายด้วย ดังนั้น เมื่อมีอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มาปรากฏแก่ทวาร (มาสู่คลองในทวาร = อินทรีย์ ๖) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะมีการรับรู้ โดย ภวังคจิต ที่กำลัง เกิดดับสืบต่อกระแสภพ กันอยู่นั้น แทนที่ว่า ภวังคจิตหนึ่งดับไป จะเกิดเป็นภวังคจิตใหม่ขึ้นมา ก็กลายเป็นว่า ภวังคจิตหนึ่งดับไป แต่เกิดเป็นจิตหนึ่งที่เข้าอยู่ในวิถีแห่งการรับรู้เกิดขึ้นมา (ตอนนี้ พูดอย่างภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายว่า จิตออกจากภวังค์ หรือ จิตขึ้นสู่วิถี) แล้วก็จะมีจิตที่เรียกชื่อต่างๆ เกิดขึ้นมาทำหน้าที่ต่อๆ กันไป ใน วิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์ นั้น จนครบกระบวนจบวิถีไปรอบหนึ่ง แล้วก็เกิดเป็น ภวังคจิต ขึ้นใหม่มาอีก (พูดอย่างภาษาชาวบ้านว่า ตกภวังค์) จิตทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาทำหน้าที่แต่ละขณะในวิถีแห่งการรับรู้เสพอารมณ์นั้นจนจบกระบวน เรียกว่า วิถีจิต และ จิตแต่ละขณะในวิถีนั้น มีชื่อเรียกเฉพาะของมัน ตามกิจ คือ งานหรือหน้าที่ที่มันทำ เมื่อตกภวังค์อย่างที่ว่านั้นแล้วภวังคจิตเกิดดับต่อกันไป แล้วก็เปลี่ยน (เรียกว่า ตัดกระแสภวังค์) เกิดเป็น วิถีจิต ขึ้นมารับรู้เสพอารมณ์อีก แล้วพอจบกระบวน ก็ ตกภวังค์ เป็น ภวังคจิต แล้วก็ ตัดกระแสภวังค์ เกิดเป็น วิถีจิต ขึ้นอีกสลับกันหมุนเวียนไป โดยนัยนี้ ชีวิตที่ดำเนินไปแม้ในกิจกรรมเล็กน้อยหนึ่งๆ จึงเป็นการสลับหมุนเวียนไปของ กระแสภวังคจิต (ภวังคโสตะ) กับ กระบวนวิถีจิต (วีถิจิตตปวัตติ) ที่เกิดดับสืบต่อไปมากมายไม่อาจนับได้
เพราะฉะนั้น วิถีจิต จึงหมายถึง สังขตธรรม (สภาพปรุงแต่งขึ้นตาม สัญเจตนา ๖ หรือ อภิสังขาร ๓ อันทำให้เกิด กรรมภพ ต่างๆ สืบเนื่องกันไปใน วัฏสงสาร ที่เรียกว่า สังสารทุกข์ ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์) ที่แทนความหมายทั้ง รูปธรรม และ นามธรรม คือ นามรูป ซึ่งหมายถึง ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ (รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ) อย่างไรก็ตาม คำว่า วัฏสงสารสังสารทุกข์วัฏฏะ ๓ภวจักรสังสารจักร คือ กระบวนการเกิดนามรูปแห่งขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วย องค์แห่งปัจจยาการในปฏิจจสมุปบาท (ธัมมัฏฐิติญาณปัจจยปริคคหญาณจุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ = ความรู้ในปัจจยาการ หรือ ปัญญาเห็นสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน นั่นคือ กัมมัสสกตาญาณ) ที่มีรวมกันจำนวน ๑๒ องค์ ฉะนั้น เวลากล่าวถึงคำว่า ขันธ์ ๕เบญจขันธ์นามรูป จึงหมายถึง สังขตธรรม สภาพที่ปรุงแต่งมีกรรมหรือใจแห่งเจตนาที่ถูกกิเลสตัณหาครอบงำอยู่ โดยให้เทียบเคียงเป็น องค์แห่งปัจจยาการในปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมด ๑๒ องค์ พร้อมด้วยอกุศลวิบากแห่งสังสารทุกข์ ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส นั่นคือ วิธีคิดตามแบบ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการตถตา ไม่ใช่ว่า ขันธ์ ๕ ก็คือ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ ขันธ์ ๖ อะไรอย่างนั้น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา อย่างมีเหตุและผล อันเป็นอุบายวิธีที่แยบคายในใจโดย โยนิโสมนสิการ ถ้ายังคิดแบบนี้อยู่ ก็ต้องทำพิธีสังคายนากันใหม่อย่างแน่นอน เพราะ ดูท่าท่านคงจะบ้าแล้ว เมื่อเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ (อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์) นั่นคือ องค์แห่งปัจจยาการในปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมด ๑๒ องค์ โดยพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง คือ ให้เห็น การเกิดการดับ ในทั้ง ๑๒ องค์ ดังนี้
(๑) เมื่อพิจารณาสภาวธรรมถึงการเกิด คือ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท ด้วยพิจารณาไปตามลำดับจาก เหตุ (ธัมมปฏิสัมภิทา = ปัญญาแตกฉานในเหตุ) จนไปถึง ผล (อัตถปฏิสัมภิทา = ปัญญาแตกฉานในผล) ฉะนั้น เมื่อมี อวิชชา ย่อมมี ทุกข์ เกิดขึ้น ในกระบวนการคิดนั้น ให้คำนึงถึง ธรรมใดๆ ที่มีสมมติฐานเกิดจากเหตุปัจจัยเดียวกัน ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม ได้แก่ อัทธา ๓ (กาล ๓) สังเขป ๔ (สังคหะ ๔) สนธิ ๓ วัฏฏะ ๓ อาการ ๒๐ มูล ๒ ดังนี้
(๑) อัทธา ๓ คือ กาล ๓ ได้แก่ ๑) อดีต = อวิชชาสังขาร ๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ ๓) อนาคต = ชาติชรามรณะ {โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส}
(๒) สังเขป ๔สังคหะ ๔ คือ ช่วง หมวด หรือ กลุ่ม ๔ ได้แก่ ๑) อดีตเหตุ = อวิชชาสังขาร ๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหาอุปาทานภพ ๔) อนาคตผล = ชาติชรามรณะ {โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส}
(๓) สนธิ ๓ คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง ๔ ได้แก่ ๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล ๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ ๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
(๔) วัฏฏะ ๓ คือ องค์ประกอบที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของภวจักร หรือ สังสารจักร ได้แก่ ๑) กิเลสวัฏฏ์ = วงจรกิเลส ประกอบด้วย อวิชชาตัณหาอุปาทาน ๒) กรรมวัฏฏ์ = วงจรกรรม ประกอบด้วย สังขารกรรมภพ ๓) วิปากวัฏฏ์ = วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพภพ ชาติชรามรณะ {โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส}
(๕) อาการ ๒๐ คือ องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ และส่วนผล ได้แก่ ๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ ๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ ๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะ ผัสสะเวทนา
(๖) มูล ๒ คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่ ๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึง เวทนา ในช่วงปัจจุบัน ๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึง ชรามรณะ ในช่วงอนาคต
(๒) เมื่อพิจารณาสภาวธรรมถึงการดับ คือ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ด้วยพิจารณาย้อนกลับ นั่นคือ ต้องการดับทุกข์ ก็ต้องไปที่ เหตุ (ธัมมปฏิสัมภิทา = ปัญญาแตกฉานในเหตุ) จนไปถึง ผล (อัตถปฏิสัมภิทา = ปัญญาแตกฉานในผล) ฉะนั้น เมื่อดับ อวิชชา ย่อมดับ ทุกข์ ได้ในกระบวนการคิดนั้น ให้คำนึงถึง ธรรมใดๆ ที่มีสมมติฐานเกิดจากเหตุปัจจัยเดียวกัน ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม ได้แก่ อัทธา ๓ (กาล ๓) สังเขป ๔ (สังคหะ ๔) สนธิ ๓ วัฏฏะ ๓ อาการ ๒๐ มูล ๒ เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึง กระบวนการคิดที่สำคัญอีก ๓ ประการ อันเกี่ยวข้องกับ สัทธาศรัทธา คือ เชื่ออย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ความโง่เขลา ความงมงาย บอกอะไรให้เชื่อ ก็จะเชื่อตะพืดตะพือ เชื่อเรื่อยไป ไม่ใช้วิจารณญาณ หรือ ความไม่มีสติสัมปชัญญะ (อโยนิโสมนสิการ) นั่นคือ อวิชชาโมหะ อนึ่ง กระบวนการคิดทั้ง ๓ ประการ นั้น คือ กัมมสัทธา ๑วิปากสัทธา ๑ กัมมัสสกตาสัทธา ๑ ซึ่งรวมอยู่ใน ศรัทธา ๔ ดังนี้
ศรัทธา ๔ หมายถึง ความเชื่อความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ได้แก่ (๑) กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง นั่นคือ (๑) เชื่อว่า: เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความดีความชั่วมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และ (๒) เชื่อว่า: ผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น (๒) วิปากสัทธา คือ เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง นั่นคือ (๑) เชื่อว่า: กรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว (๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน นั่นคือ เชื่อว่า: แต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน ในข้อนี้ ทำให้เกิด (๑) กัมมัสสกตาปัญญา (ปัญญาสามัญ) คือ ความเข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลายก็มีกรรมเป็นของตน รวมทั้งเกิดความเชื่อในกรรมของตนเช่นกัน ที่เรียกว่า กัมมัสสกตาแห่งตน และ (๒) กัมมัสสกตาญาณ (อธิปัญญา) คือ พิจารณาเห็น กิเลสกรรมวิบาก ที่เกิดขึ้นใน วัฏฏะ ๓ อันเป็นสังสารทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) (๔) ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต เชื่อว่า: พระพุทธองค์ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง ๙ ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง ฉะนั้น จึงคิดทำกรรมดี
เพราะฉะนั้น ให้พิจารณาบทสวดเกี่ยวกับ (๑) กฎแห่งกรรม ซึ่งพอจะหาข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้ ในการพิจารณาถึง กิเลสกรรมวิบาก ของสัตว์ทั้งหลาย ที่ได้กระทำกรรมไว้ และต้องรับผลกรรมนั้น สืบต่อไป หรือ (๒) กฎแห่งกรรมของสัตว์ จนรวมถึง (๓) กัมมัสสกตาแห่งตน คือ กรรมและวิบากของตน หรือ กฎแห่งกรรมของตน ดังนี้
กฎแห่งกรรม (The Law of Volitional Actions) กฎข้อที่ ๑ กัมมัสสะโกมมะหิ (เรามีกรรมเป็นของๆ ตน) กฎข้อที่ ๒ กัมมะทายาโท (เราเป็นผู้รับผลของกรรม) กฎข้อที่ ๓ กัมมะโยนิ (เรามีกรรมเป็นกำเนิด) กฎข้อที่ ๔ กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์) กฎข้อที่ ๕ กัมมะปะฏิสะระโณ (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย) กฎข้อที่ ๖ ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราจักทำกรรมอันใดไว้) กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา (ดีหรือชั่วก็ตาม) ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ)
สำหรับเรื่อง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาแห่งตน หรือ (๑) กฎแห่งกรรมของสัตว์ กับ กฎแห่งกรรมของตน นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาเห็น สภาวธรรมที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ เกี่ยวกับชีวิตที่สืบเนื่องกันในกาลทั้ง ๓ ที่ประกอบด้วย ๔ อาการ ดังนี้ (๑) อัทธา คือ กาลเวลาทั้ง ๓ ได้แก่ อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันนัทธา (๒) สันตติ คือ ความสืบต่อระหว่างกาลทั้ง ๓ ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓ (๓) ขณะ คือ ระยะเวลาที่ประชิดใน ๓ อาการ ได้แก่ อุปาทขณะฐิติขณะภังคขณะ (๔) สมัย คือ ช่วงเวลาที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ได้แก่ อัทธาสันตติขณะ
อนึ่ง ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดใน กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาแห่งตน นั้น เรียกว่า ทิพพจักขุญาณจุตูปปาตญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) ซึ่งผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงได้ด้วย อุเบกขาเอกัคคตาแห่งจตุตถฌาน เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิที่บริสุทธิ์ และมีความรู้ตัวทั่วถ้วนด้วยการวางเฉยแห่งอุเบกขาในอารมณ์ทั้งหลาย จิตย่อมปราศจากนิวรณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิด ญาณ คือ ความหยั่งรู้ที่ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ คำว่า ญาณ จะประกอบด้วยคุณลักษณะ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 38) ดังนี้ (๑) มี การแทงตลอดสภาวะ เป็น ลักษณะ คือ มีการแทงตลอดอย่างไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ เหมือนการยิงลูกศรอันนายขมังธนูผู้ชาญฉลาดยิงไปแล้ว ฉะนั้น (๒) มี การส่องซึ่งอารมณ์ เป็น รส เหมือนดวงประทีปส่องสว่าง ฉะนั้น (๓) มี ความไม่หลง เป็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนพรานป่าบอกทางแก่คนหลงทาง ฉะนั้น (๔) มี สมาธิ เป็น ปทัฏฐาน ตามพระบาลีว่า: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ก็ใน ลักษณะรสปัจจุปัฏฐานปทัฏฐาน พึงทราบว่า (๑) สภาวะก็ดี สามัญญะก็ดี ชื่อว่า ลักษณะ (๒) กิจก็ดี สมบัติก็ดี ชื่อว่า รส (๓) อาการที่ปรากฏก็ดี ผลก็ดี ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน ดังนี้
เพราะฉะนั้น เมื่อมีจิตตสมาธิแห่งจตุตถฌานดีพร้อมแล้ว ฌายีบุคคลนั้น ย่อมบรรลุถึง ญาณ (ความหยั่งรู้ภายในจิตอันเป็นปัญญารอบรู้) ได้ คือ ความรู้แจ้ง ความรู้ชัด ที่เรียกว่า วิชชา ๓ อันเป็นคุณวิเศษ (อธิคมธรรมอุตตริมานุสสธรรม) ซึ่งภาวะจิตในขณะนั้น ต้องประกอบด้วยเหตุปัจจัย ๔ ประการ ได้แก่ (๑) ลักษณะ คือ การแทงตลอดสภาวะ ได้แก่ สามัญลักษณะ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม (๒) รส คือ การส่องซึ่งอารมณ์ ได้แก่ ญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะ (๓) ปัจจุปัฏฐาน คือ ความไม่หลง ได้แก่ สติสัมปชัญญะ (๔) ปทัฏฐาน คือ เอกัคคตาแห่งสมาธิ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ดังนั้น สภาวะดังกล่าวนี้ ย่อมนำไปสู่คุณชาติของผู้ได้ ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ ไม่ว่าจะเกิดจากการฟังธรรม (สุตมยญาณ) หรือ การมนสิการกรรมฐาน (โยนิโสมนสิการ) ก็ตาม ซึ่งเป็นเหตุให้บรรลุถึง โสดาปัตติมรรค ได้ โดยพิจารณารู้แจ้งในธรรมทั้งหลายตามที่เป็นจริง ด้วยปัญญาว่า: สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหลายล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 30 31 FILE 68) ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน ๔ อย่างเหล่านี้ คือ (๑) สปฺปุริสสํเสโว การคบหากับสัตบุรุษ (๒) สทฺธมฺมสฺสวนํ การฟังพระสัทธรรม (๓) โยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยแยบคาย (๔) ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
และตรัสว่า:
กุลบุตรเกิด สัทธา แล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ (๑) เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้ (๒) เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยหูลง (๓) เมื่อเงี่ยหูลงแล้ว ย่อมฟังธรรม (๔) ครั้นฟังธรรมแล้ว ย่อมทรงธรรมไว้ (๕) ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว (๖) เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนซึ่งความพินิจ (๗) เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะ ย่อมเกิด (๘) เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ (๙) ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง (๑๐) ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความ เพียร (๑๑) เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งชัดซึ่ง ปรมัตถสัจจะ นั้น ด้วยกาย (ทัสสนะ) และ (๑๒) เห็นแจ้งแทงตลอดซึ่ง ปรมัตถสัจจะ นั้น ด้วยปัญญา (ญาณ) ดังนี้
และตรัสว่า พระตถาคตได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ (พร้อมด้วย พระพุทธคุณ ๙ ประการ) เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยอดเยี่ยม ของพระองค์เองแล้ว ทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งาม (ไพเราะ) ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้
หมายเหตุ:
ปัญญา คือ เครื่องทำให้รู้ชัด เครื่องทำอรรถะนั้นๆ ให้ปรากฏ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใด ย่อมรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการนั้นๆ คือ รู้โดย อนิจลักษณะทุกขลักษณะอนัตตลักษณะ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ปัญญา
ปัญญา ๓ หมายถึง ความรอบรู้ความรู้ทั่วความเข้าใจความรู้ซึ้ง ได้แก่
คำนิยามแห่งไวพจน์ใน ปัญญา ความมีสติสัมปชัญญะ นั่นคือ (๑) ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๑) จินตามยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา การใช้เหตุผล การใช้ดุลพินิจ หรือ ปัญญาสืบแต่ โยนิโสมนสิการ ที่ตั้งขึ้นในตนเอง ที่เรียกว่า ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน และ ทักษะการคิดขั้นสูง (๒) สุตมยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน การค้นคว้า สังเกตการณ์ การทดลอง การวิจัย หรือ ปัญญาสืบแต่ ปรโตโฆสะ โดยเฉพาะการฟังและสนทนาธรรมกับกัลยาณมิตรผู้ทรงธรรม หรือ พระอริยสงฆ์ หรือพระอรหันตขีณาสพเจ้า (๓) ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรภาวนาตามข้อประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามหลักธรรม นั่นคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งประกอบด้วย (๑) สมถภาวนาเจโตวิมุตติ คือ จรณะ ๑๕ (๒) วิปัสสนาภาวนาปัญญาวิมุตติ คือ วิชชา ๓ กับ วิชชา ๘ หรือ ปัญญาสืบแต่ปัญญาสองอย่างแรกนั้น แล้วหมั่นมนสิการในประดาสภาวธรรม นั่นคือ การมนสิการกรรมฐาน ซึ่งทำให้เกิด โยนิโสมนสิการ ใน ญาณ ๑๖ ตามแนวเจริญปัญญาใน วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ รวมทั้ง ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น ในการบรรลุคุณวิเศษแห่งพระโสดาบันได้นั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วย ปัญญา ที่มีทั้ง (๑) ปัญญาในสมาธิ (จตุตถฌาน) และ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา (วิชชา ๓ ญาณ ๑๖) ซึ่งปัญญาเหล่านี้ ย่อมทำให้เห็นธรรมทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริงด้วย กฎธรรมชาติ ดังนี้
(๑) ย่อมเห็น อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓: ระลึกชาติได้) และ นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖: แยกนามรูปได้) ซึ่งเป็นขั้นกำหนดรู้ ทุกขสัจจ์ทุกขอริยสัจจ์ (ข้อ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) (๒) ย่อมเห็น เหตุแห่งทุกข์ ด้วย จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓: เห็นกรรมของสัตว์ทั้งหลาย) ปัจจยปริคคหญาณธัมมัฏฐิติญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖: ความรู้ในปัจจยาการหรือเหตุปัจจัยของทุกข์) ซึ่งเป็นขั้นกำหนดรู้ สมุทัยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ โดยเฉพาะ การเกิดปัญญาแจ้งใน กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตาญาณ (๓) ย่อมเห็น สามัญลักษณะ ด้วย สัมมสนญาณ (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖: แยกนามรูปโดยไตรลักษณ์) อันเป็นแนวทางไปสู่ปัญญาใน อาสวักขยญาณ ซึ่งเป็นขั้นกำหนดรู้ มรรคสัจจ์ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ อันจะทำให้ออกจากสังขารทั้งหลายด้วย วิปัสสนาญาณ ๙ ต่อจากนั้น ก็จะเป็น โคตรภูญาณมัคคญาณผลญาณปัจจเวกขณญาณ แล้วตามด้วย อาสวักขยญาณ และ พระนิพพาน ตามลำดับแห่งการวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ในอันดับต่อไป ให้กลับมาพิจารณาเรื่อง กฎแห่งกรรม อีกครั้ง ว่ามีกระบวนการคิดประกอบด้วยเหตุและผลอย่างไร ด้วยการใช้อุบายวิธีที่ชาญฉาดในการคิดโดย โยนิโสมนสิการ ดังนี้
การพิจารณากรรมและวิบากกรรมเพื่อความหลุดพ้น
จากภาพประกอบข้างบนนี้ กฎแห่งกรรม เป็น กฎธรรมชาติ ที่ทำหน้าที่อธิบายการกระทำและผลของการกระทำที่เกิดครอบคลุมในกาลทั้ง ๓ ได้อย่างแน่นอน ซึ่งผลวิบากที่จะเกิดขึ้นนั้น อาจกินเวลายาวนานไม่เท่ากัน เนื่องจากมีเหตุปัจจัยอื่น ส่งผลกระทบต่อกันและกัน จึงทำให้ส่งผลช้า ยิ่งมนุษย์มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงมากเท่าไหร่ การส่งผลวิบากกรรมก็ยิ่งมีความเร็วเป็นเงาติดตามได้มากขนาดนั้นเช่นกัน เพราะเทคโนโลยีกับความสะดวกสบาย ก็คือ ผลวิบากในปัจจุบันและอนาคต ของความคิด (กิเลส) ของมนุษย์ นั่นเอง ฉะนั้น ให้พิจารณาสาระสำคัญในเรื่องให้ละเอียดและลึกซึ้ง โดยเทียบเคียงกับพฤติกรรมของตนเอง ที่กระทำผ่านไปในอดีต ว่ามีผลกระทบส่งมาปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร และทำไม่จึงไม่เกิดผลวิบากนั้น ก็ให้พิจารณาทั้งฝ่ายกุศลกรรมและอกุศลกรรม ส่วนผู้ปฏิบัติธรรม ก็ลองพิจารณาว่า ได้มีโอกาสเสวยผลสมาบัติที่กระทำอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุอันใด นอกจากนี้ ในการปฏิบัติธรรมนั้น จะต้องพิจารณาเรื่อง กาลเวลา เป็นสำคัญ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่อธิบายถึง ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ของพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิต ซึ่งต้องเป็นไปตาม (๑) กฎแห่งกรรม และ (๒) กัมมัสสกตาปัญญา ฉะนั้น ความสำคัญเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์มิติแห่งกาลเวลา จึงมีส่วนอธิบายสภาวธรรมที่แท้จริงได้อย่างลึกซึ้งของปุถุชนทั่วไป ส่วนพระอรหันต์นั้น การกระทำเป็น กิริยาจิต ไม่ประกอบด้วย กรรมแห่งกิเลสตัณหา มีแต่ประกอบเมตากรุณาให้แก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น
ความสัมพันธ์มิติแห่งกาลเวลา
สำหรับมิติของกาลเวลานั้น ให้พิจารณาจากช่วงสมัยเวลาที่กว้างที่สุดหาขอบเขตไม่ได้ จนลงไปเล็กที่สุดจนไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาททั้ง ๕ ยกเว้น จะใช้ จิตตามพิจารณาจิต ได้เท่านั้น คือ จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในรูปทรงกรวย ที่ครอบคลุมเวลาทั้ง ๓ กาล แต่ให้ตั้งมั่นอยู่ที่ปัจจุบันธรรมไว้ก่อน ดังนี้ (๑) ปีแสง Light Year [9.4607 × 1012 km = Nearly 6 Million Million Miles] (๒) ศตวรรษ Century (๓) ทศวรรษ Decade (๔) ปี Year (๕) เดือน Month (๖) สัปดาห์ Week (๗) วัน Day (๘) ชั่วโมง Hour (๙) นาที Minute (๑๐) วินาที Second (๑๑) นาโนวินาที Nanosecond [One Thousand Millionth of a Second]
กรวยเวลาTime Cone
อนึ่ง ในการจะเข้าใจเกี่ยวกับ ธรรมสภาวธรรมปรากฏการณ์ นั้น ย่อมหมายถึง หน่วยรวมสหวุตติ (United Unit) ที่ประกอบด้วย ระดับของความสัมพันธ์ ใน ๒ ลักษณะ ได้แก่ (๑) โครงสร้างแนวนอนHorizontal Structure คือ หน่วยรวมที่สัมพันธ์กันอยู่ในแนวตั้ง อาจมีหลายหน่วยรวมระบบย่อยที่มารวมกันเป็นระบบหลักหนึ่งๆ ซึ่งในแต่ละหน่วยเหล่านั้น ก็ประกอบด้วยโครงสร้างหลักและโครงสร้างย่อยหลายโครงสร้างมารวมกัน เพื่อให้กลายเป็นองค์ประกอบย่อย อยู่ในหน่วยรวมต่างระดับของระบบหลายๆ หน่วยรวม (ระบบย่อย) มารวมกัน (๒) ระบบแนวตั้งVertical System คือ หน่วยรวมที่สัมพันธ์กันอยู่ในแนวนอน อาจมีหลายหน่วยรวมโครงสร้างย่อยที่มารวมกันเป็นโครงสร้างหลักหนึ่งๆ ซึ่งในแต่ละหน่วยเหล่านั้น ก็ประกอบด้วยโครงสร้างหลักและโครงสร้างย่อยหลายโครงสร้างมารวมกัน เพื่อให้กลายเป็นองค์ประกอบย่อย อยู่ในหน่วยรวมต่างระดับทั้งของระบบและโครงสร้างหลายๆ หน่วยรวม (ระบบหลักระบบย่อยโครงสร้างหลักโครงสร้างย่อย) มารวมกัน
นอกจากนี้ ยังประกอบด้วย มิติแห่งขณะเวลา ใน ๓ ลักษณะ ได้แก่ (๑) เส้นเวลาTime Line คือ ลักษณะการก้าวคืบไปในระยะช่วงเวลาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา (๒) วงเวียนเวลาTime Cycle คือ ลักษณะการหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามคุณสมบัติของกรวยเวลา (๓) กรวยเวลาTime Cone คือ ลักษณะความลึกของช่วงเวลา จากระดับกว้างที่สุดจนแคบที่สุด
โดยที่ ธรรมสภาวธรรมปรากฏการณ์ ใดๆ นั้น มีการอุบัติขึ้นในกาล ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) อดีตอัทธา เวลาก่อนแต่ปฏิสนธิกาล หรือ เวลาที่ดับไปแล้วตามธรรมดา เพราะได้ผ่านขณะทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ อุปปาทักขณะฐิติขณะภังคขณะ ไป (๒) อนาคตอัทธา เวลาหลังจากจุติ หรือ เวลาที่ยังไม่ถึงขณะแม้ทั้ง ๓ ได้แก่ อุปปาทักขณะฐิติขณะภังคขณะ (๓) ปัจจุบันนัทธา เวลาในระหว่างแห่งปฏิสนธิกับจุติ รวมทั้งจุติและปฏิสนธิ หรือ เวลาที่พรั่งพร้อมไปด้วยขณะทั้ง ๓ ได้แก่ อุปปาทักขณะฐิติขณะภังคขณะ
เมื่อพิจารณาสภาวธรรมในกาลทั้ง ๓ นั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องพิจาณาเห็นด้วยความรอบรู้ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เหตุผล เหตุปัจจัยแห่งปัจจยาการ (ธัมมัฏฐิติญาณ) ที่มีช่วงเวลาติดต่อกันในกาลทั้ง ๓ ที่เรียกว่า ญาณ ๓ และ วิชชา ๓ ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะที่จิตเป็น อุเบกขาและสมาธิแห่งจตุตถฌาน ดังนี้
ญาณ ๓ หมายถึง ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้ การโยนิโสมนสิการด้วยอุบายวิธีแห่งเหตุผล ได้แก่ (๑) อตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต นั่นคือ รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๒) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต นั่นคือ รู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ (๓) ปัจจุปปันนังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน นั่นคือ รู้ปัจจุบัน กำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่
วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ การพิจารณาถึงวัฏฏะ: กิเลสกรรมวิบาก ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ นั่นคือ ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม นั่นคือ เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (๓) อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ นั่นคือ ความตรัสรู้
ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์มิติแห่งกาลเวลานั้น จะต้องประกอบด้วย นามรูปแห่งขันธ์ ๕: สังขตธรรม ที่ถูกขับเคลื่อนแปรเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุดตาม ความเปลี่ยนแปลงแห่งกาลเวลา (Time Change) ซึ่งหมายถึง วิปริณามทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงแปรไปเป็นอย่างอื่น ในการพิจารณาธรรมให้ลึกซึ้งในขั้นนี้ ต้องไม่ลืมว่า คำว่า ขันธ์ ๕ = กองทุกข์ทั้งปวง ถ้าไม่มนสิการกรรมฐานเช่นนี้ ก็แสดงว่า ท่านกำลังออกนอกลู่นอกทาง โดยมีความคิดที่วิปริตไป มีความคิดที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ที่เรียกว่า วิปลาส ๔ ดังนี้
วิปลาส ๔ หมายถึง ความรู้เห็นคลาดเคลื่อนความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ได้แก่ (๑) สัญญาวิปลาสสัญญาคลาดเคลื่อนความจำเสื่อม (๒) จิตตวิปลาสจิตคลาดเคลื่อนหวั่นไหวไม่มั่นคง (๓) ทิฏฐิวิปลาสทิฏฐิคลาดเคลื่อนเห็นผิดเป็นชอบ (๔) มหาวิบัติแห่งวิปลาสที่ ๔ มีวัตถุ ๔ อาการ นั่นคือ การล้มสลายแห่งไตรลักษณ์ The Collapse of the Three Characteristics ดังนี้ (๑) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (๒) วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (๓) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (๔) วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่อง กฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นใน การสมาทานไตรสิกขาแห่งมัชฌิมาปฏิปทา โดยถือข้อประพฤติปฏิบัติไปตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้เกิดปัญญาที่เห็นธรรมและปัญญาในการตรัสรู้ซึ่ง อริยสัจจ์ ๔ (จตุสัจจพุทธะ) เพราะฉะนั้น ในการพิจารณาถึงกรรมของสัตว์ กัมมัสสกตาปัญญา ก็คือ การพิจารณาถึง ความโง่ (อวิชชาตัณหา) คือ มีบาปมากกว่าบุญ กับ ความฉลาด (ปัญญาญาณ) คือ มีบาปน้อยกว่าบุญ ของสัตว์ทั้งหลาย นั่นเอง เพราะฉะนั้น ทศพลญาณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง ดังนี้
ทศพลญาณ หมายถึง พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง ได้แก่ (๑) ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้ กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรม เกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน (๒) กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน (๓) สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ปัจจุบัน สัมปรายิกัตถะประโยชน์เบื้องหน้า หรือ ปรมัตถะประโยชน์สูงสุด คือ รู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร (๔) นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นอเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่าย อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม) และฝ่าย อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่ อสังขตธาตุ คือ นิพพาน) เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิ การปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น (๕) นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปต่างๆ กัน (๖) อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่าย หรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๗) ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติทั้งหลาย (๘) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ (๙) จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม (๑๐) อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ประการสำคัญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไม่สรรเสริญการประกวดโอ้อวด การแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์เชิงไสยาศาสตร์ (ปาฏิหาริย์ ๓ หมายถึง การกระทำที่กำจัดหรือทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้ การกระทำที่ให้เห็นเป็นอัศจรรย์ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์) ได้แก่ (๑) อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ (๒) อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คือการทายใจ รอบรู้กระบวนของจิตจนสามารถกำหนดอาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้องเป็นอัศจรรย์ แต่ทรงสรรเสริญในข้อ (๓) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์ ฉะนั้น ในประเด็นนี้ ให้เปรียบเทียบกับ วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ การพิจารณาถึงวัฏฏะ: กิเลสกรรมวิบาก ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ นั่นคือ ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม นั่นคือ เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย และ (๓) อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ นั่นคือ ความตรัสรู้
อย่างไรก็ตาม ในการบำเพ็ญเพียรภาวนานั้น จะมีธรรมที่มาสัมปยุตต์กัน ๕ กลุ่ม ดังนี้ (๑) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ (๒) วิสุทธิ ๗ความบริสุทธิ์แห่งไตรสิกขา ได้แก่ สีลวิสุทธิจิตตวิสุทธิทิฏฐิวิสุทธิกังขาวิตรณวิสุทธิมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิญาณทัสสนวิสุทธิ (๓) อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกขอริยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ (๔) กิจในอริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ปริญญาปหานะสัจฉิกิริยาภาวนา (๕) ญาณ ๓ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ ได้แก่ สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ) กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ) กตญาณ (หยั่งรู้การอันทำแล้วปัจจเวกขณญาณอันมีญาณทัสสนะ ๑๙ ประการ)
ข้อสังเกต คือ ปัญญาญาณทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้ เรียกว่า สัมปยุตตธรรมญาณสัมปยุตต์ (สหชาตปัจจัย) โดยให้พิจารณาถึง สภาวธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกัน และดับไปพร้อมกัน ที่แสดงถึง ปรากฏการณ์ธรรม ใดๆ ในกาลทั้ง ๓ ที่สามารถอธิบายสภาวธรรมได้ใน (๑) กามาวจรภูมิ (๒) รูปาวจรภูมิ (๓) อรูปาวจรภูมิ และ (๔) โลกุตตรภูมิ ถ้าไม่สามารถอธิบายสภาวธรรมใดๆ (สังขตธรรม อสังขตธรรม) ได้นั้น พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปราศจากคุณสมบัติ ที่เรียกว่า อกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาลที่จะรู้ได้ตามความเป็นจริง นั่นคือ พระธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยกาล ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล ไม่ว่าสมัย หรือ ช่วงขณะใด ก็ตาม เพราะฉะนั้น ปรากฏการณ์ธรรมสภาวธรรมปรมัตถสัจจะ (สังขตธรรม) ใดๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็น รูปธรรม หรือ นามธรรม (นามรูปแห่งขันธ์ ๕ = สิ่งใดสิ่งหนึ่ง) ก็ตาม จะประกอบด้วย ๔ อาการ ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับขณะเวลา (กาล ๓ อย่างขณะ ๓ อย่าง) ดังนี้
(๑) กลาปวิปัสสนา หมายถึง หน่วยรวมรูปธรรมที่เล็กที่สุด หรือ หน่วยรวมเล็กที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบที่จำเพาะแน่นอนมารวมกันขึ้นอันเป็นส่วนย่อยของรูปธรรมประเภทนั้นๆ แต่ในที่นี้ ให้พิจารณาการจัดหมวดหมู่ของธรรมหรือสภาวธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ซึ่งจะมีลักษณะอาการ ได้แก่ (๑) สหวุตติ คือ มีความเป็นไปร่วมกันแห่งเอกภาพอย่างเดียวกัน (๒) เอกุปปาทะ คือ ทั้งเกิดขึ้นด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (๓) เอกนิโรธะ คือ ทั้งดับด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (๔) เอกนิสสยะ คือ มีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยร่วมกันเป็นอารมณ์และลักษณะอันเดียว
(๒) กลาป [กะหลาบ] คือ หน่วยรวมย่อยของรูปธรรมทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ นั้นเป็น หน่วยแกน ยืนพื้น ถ้าไม่มีองค์ประกอบอื่นร่วม ก็เป็น หน่วยรวมหมวด ๘ ล้วน เรียกว่า สุทธัฏฐกกลาป (สุทธ=ล้วน + อัฏฐก=หมวด ๘ + กลาป=หน่วยรวม) ดังกล่าวแล้ว แต่ถ้ามีองค์ประกอบอื่นเข้าร่วมเพิ่มขึ้น ก็เป็นกลาปต่างแบบออกไป โดยที่กลาปแต่ละแบบนั้นมีจำนวนองค์ประกอบร่วมอย่างเดียวกันเท่ากันตายตัว ถ้ามีองค์ประกอบ ๙ ก็เป็น นวก=หมวด ๙ ถ้ามีองค์ประกอบ ๑๐ ก็ เป็น ทสก=หมวด ๑๐ ถ้ามีองค์ประกอบ๑๑ ก็เป็น เอกาสก=หมวด ๑๑ ถ้ามีองค์ประกอบ ๑๒ ก็เป็น ทวาทสก=หมวด ๑๒ ถ้ามีองค์ประกอบ ๑๓ ก็เป็น เตรสก=หมวด ๑๓ ในข้อนี้ ให้เปรียบเทียบและเทียบเคียงกับ ความรู้ทางโลกียะ เกี่ยวกับ โครงสร้างระบบโมเลกูล ที่อยู่ศาสตร์สาขา ชีวเคมีวิทยา (Biochemistry) และ ฟิสิกส์ปรมาณู (Nuclear Physics) หรือ โมเลกุลวิทยา (Nanotechnology) อนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ในศาสตร์สาขาดังกล่าวนี้ ถ้ามาปฏิบัติธรรม ยิ่งทำให้เข้าถึงพระธรรมในระดับต่างๆ ง่ายยิ่งขึ้น เพียงแต่ว่า อย่าคิดชั่วอย่าทำชั่ว เท่านั้นเอง
นอกจากนี้ ยังมีข้อพึงพิจารณาเป็นพิเศษ คือ วิญญาณ ๖วิญญาณธาตุ ๖ ย่อมหมายถึง จิต ๘๙ พร้อมด้วยอาการลักษณะของจิตนั้นๆ ที่เรียกว่า เจตสิก ๕๒ และ รูป ๒๘ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ กับ อุปาทายรูป ๒๔ ซึ่งเมื่อบรรลุถึง พระอรหัตตผลวิมุตติ ก็จะเข้าถึง พระนิพพาน (อมตธาตุ) คือ ภาวะปราศจาก จิตเจตสิกรูป (ปรมัตถธรรม ๔) แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการเกิดปัญญาในสมาธิและวิปัสสนานั้น เกิดจากการพิจารณาสภาวธรรม หรือการมนสิการกรรมฐาน ด้วย อนุปัสสนา ๗ ซึ่งสามารถต่อยอดเป็น ปัญญา ๑๐ ดังนี้
อนุวิปัสสนา ๗ ซึ่งทำให้เกิด ปัญญาความรู้แจ้ง ที่เรียกว่า ปัญญา ๑๐ ได้แก่ (๑) ชวนปัญญา ปัญญาเร็ว โดยเจริญ อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง] (๒) นิพเพธิกปัญญา ปัญญาทำลายกิเลส โดยเจริญ ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์] (๓) มหาปัญญา ปัญญามาก โดยเจริญ อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน] (๔) ติกขปัญญา ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์] (๕) วิบูลปัญญา คือ ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา [ดับความกระหายวัฏฏะ] (๖) คัมภีรปัญญา ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส] (๗) อัสสามันตปัญญา ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน] (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน โดยเจริญ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา] (๙) ปุถุปัญญา ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] (๑๐) หาสปัญญา ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ]
เพราะฉะนั้น ปัญญาสำคัญประการหนึ่ง ที่ควรทำความเข้าใจ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ผู้ที่มีปรีชาสามารถบรรลุคุณวิเศษนี้ได้ เรียกว่า ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ข้อ ๕ ในอรหันต์ ๕) คือ บุคคลผู้บรรลุอรหัตตผลแล้วในเบื้องต้น ท่านผู้สมควรรับทักษิณาและการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้ที่ถือครองสมณเพศจึงหมายถึง บุคคลผู้มีคุณชาติจะเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลข้างหน้า องค์ความรู้ทั้งหมดที่มี สัมปยุตตธรรม มารวมกัน ทำให้เกิดความรู้ด้วย อนุวิปัสสนา ๗ (ปัญญา ๑๐) ฉะนั้น ปัญญาแตกฉานในธรรมทั้งหลายนั้น จึงเป็นองค์ความรู้ที่เห็นและเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับ อริยสัจจ์ ๔ ไม่ว่าจะเป็น โลกียสัมมาทิฏฐิ หรือ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ก็ตาม ที่สัมปยุตต์ด้วย ปัจจยธรรม (ธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวธรรมเดียวกัน) ทั้งหลายที่รากฐานมาจาก ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย (อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา) โดยเฉพาะ กาล ๓ อย่างอัทธา ๓ (อดีตอัทธาอนาคมอัทธาปัจจุบันนัทธา) ซึ่งจะทำหน้าที่สงบระงับ อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้จริงใน อริยสัจจ์ กาล ๓ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (อิทัปปัจจยการ) ให้พิจารณาธรรมรวม (สหวุตติ) อันเป็นหน่วยรวมเดียวกัน เพื่อเป็นแนวทางในกำหนดธรรมตามเป็นจริง ซึ่งต้องอธิบายด้วยข้อธรรมหลักและข้อธรรมย่อยต่างๆ ตามที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะมีศักยภาพในการประมวลผลได้ด้วยปัญญาในสมาธิและปัญญาในวิปัสสนา ดังนี้
ดังนั้น ในความเป็นจริง ความเข้าใจที่ถูกต้องตามเป็นจริงนั้น (ปฏิสัมภิทา ๔สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะ) นั้น ย่อมเป็นการพิจารณาธรรม (วิมังสาธัมมวิจยะ) ทั้งหลาย ด้วยการจัดหมวดหมู่ด้วยอุบายวิธีที่แยบคายในใจอย่างถูกวิธีและชาญฉลาด (โยนิโสมนสิการ) เพราะความเป็นจริงด้วยความหมายสูงสุด ไม่สามารถอธิบายได้ด้วย โลกสมมติบัญญัติ ในทุกกรณีได้หมดทุกประการ คือ ความจริงที่เหนือบัญญัติ ที่หมายถึง (๑) ปัญญาในสมาธิ และ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจากอินทรีย์ทั้ง ๕ แต่เป็นผลรวมของกำลังพละแห่ง อินทรีย์ ๖ ที่เป็น (๑) สมถนิมิต (ทัสสนะ) กับ (๒) วิปัสสนานิมิต (ญาณ) อันเหนือกำลังพละที่เกิดจาก ปัญญาสามัญโดยโลกียวิสัย ไม่ใช่ ปัญญา ล้วนๆ แต่เป็น ญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ที่สัมปยุตต์ด้วย ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ คือ การเห็นตามเป็นจริงด้วยญาณในวิปัสสนาภูมิ เพราะฉะนั้น ในการนั่งสมาธิวิปัสสนาธรรมทั้งหลายที่ปรากฏในจิตใจของตนเองอันเป็นเรื่องธรรมภายในนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาต้องสะสมทักษะกระบวนการคิดขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นคือ ให้เห็นธรรมทั้งที่เป็น รูปธรรม กับ อรูปธรรม อย่างแท้จริง อันเป็นธรรมที่ประกอบด้วย ชีวิตินทรีย์ (นามรูปแห่งขันธ์ ๕) ไม่ใช่ วัตถุนิยมสัจจนิยม เพียรอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องเป็น วัตถุนิยมจิตนิยมสัจจนิยม ในคราวเดียวกัน นั่นคือ รูปธรรมนามธรรมความจริงแห่งทัสสนะกับปัญญา ที่เรียกว่า การค้นพบด้วยการเห็นและการหยั่งรู้ (สมถพละเจโตวิมุตติ กับ วิปัสสนาพละปัญญาวิมุตติ) เพราะฉะนั้น การค้นพบความจริงของนักวิทยาศาสตร์ยังไม่เป็น เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ เพราะเป็นการค้นพบเพื่อตอบสนอง ความต้องตามกำลังของกิเลสตัณหา (หากินไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉานทั่วไปบนพิภพนี้ แย่งกัน เอาเปรียบกัน เบียดเบียนกัน เช่น การค้นพบระเบิดปรมาณูเอามาโยนใส่หัวกันกลัวฉิบหายกันช้าหรือไม่ทันใจ) ไม่ใช่เพื่อความหลุดพ้นไปสู่ อริยภูมิโลกุตตรภูมิ ที่อริยชนพึงกระทำข้อแตกต่างกันระหว่างปัญญาชนทางโลกกับอริยชนทางธรรม คือ วิธีที่ใช้ประพฤติปฏิบัติในการศึกษา ที่เรียกว่า ไตรสิกขาสมาทานไตรสิกขา (ศีลสมาธิปัญญา = อธิศีลอธิจิตต์อธิปัญญา นั่นคือ อนุปุพพสิกขา ที่ประกอบตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา (๓) นำไปสู่ปัญญาอันยิ่ง ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นคือ (๑) สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ (๒) สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๓) สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ) พระปรีชาสามารถในการตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อความโอ้อวดเหนือมนุษย์คนอื่น แต่เป็น การวิวัฒน์ปัญญาของมวลมนุษยชาติ ทั้งผองเผ่าพันธุ์ว่าจะเลือกประพฤติปฏิบัติตามหรือไม่ เพราะฉะนั้น ถ้าโยนพระธรรมใส่หัวใครได้ คนนั้นก็จะได้รับมหาผลานิสงส์แห่งปัญญาที่สามารถหลุนพ้นจากจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวงได้ ไม่เดือดร้อนเป็นทุกข์ทรมานอีกต่อไปทั้งชีวิต ถ้ายังอยู่บนโลกนี้ ก็มีแต่อยู่ในสุคติ ถ้าเป็นโลกหน้า ก็คือ พระนิพพาน อันเป็นเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ฉะนั้น ในการพิจารณาสภาวธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมก็ควรมีกระบวนทัศน์ที่แตกต่างจากปุถุชนทั่วไป นั่นคือ การเป็นนักทฤษฎี ที่ทำหน้าที่ในการวิจัยธรรม (ธัมมวิจยะ) ที่ประกอบด้วยปัญญาแตกฉานใน อริยสัจจ์ ๔ เช่นกัน
ฉะนั้น กระบวนทัศน์ที่เกิดขึ้นการบวนการคิดในวิปัสสนาภูมินั้น จึงทำหน้าที่คล้ายการเจริญอนุสติอีกอย่างหนึ่ง ที่ประกอบด้วย อนุปุพพปฏิปทา คือ การประพฤติปฏิบัติตามลำดับ ได้แก่ (๑) อนุปัสสนา ๗ (๒) มหาวิปัสสนา ๑๘ (๓) การจำแนกอารมณ์ ๑๘ (๔) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่ต้องดำเนินไปตาม อนุปุพพสิกขา คือ การศึกษาค้นคว้าตามลำดับ ได้แก่ (๑) อธิสีลสิกขา: สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๒) อธิจิตตสิกขา: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ (๓) อธิปัญญาสิกขา: สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีเวลาไปคิดนอกเรื่องในการเจริญภาวนา เพราะในแต่ละวันนั้น จะต้อง มนสิการกรรมฐาน อย่างเต็มกำลัง จนกว่าจะเกิดความเชี่ยวชาญหรือความชำนาญขึ้นจริงๆ เนื่องจากในความเป็นจริงนั้น ภาษาธรรม (ปรมัตถสัจจะ) มีความแตกต่างจาก ภาษาโลก (สมมติสัจจะ) อย่างสิ้นเชิง ซึ่งกระบวนทัศน์นั้น ต้องมี ความหมายอันสูงสุดโดยปรมัตถ์ (อรรถบัญญัติ) ไม่ใช่คำศัพท์สามัญที่มนุษย์เป็นคนกำหนดขึ้น (นามบัญญัติ) เช่น ในคำต่อไปนี้ ทางโลกมีนัยที่แตกต่างกัน คนไทย คนลาว คนญวน คนเขมร คนพม่า แต่ในทางธรรมนั้น พิจารณาเป็น (๑) มหาภูตรูป คือ ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ (๒) อสุภสัญญา คือ ความสำคัญในสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะเหมือนกันหมด แต่มีความแตกต่างกันที่ จิตวิญญาณ (อุปนิสัยพื้นจิต) ที่ทำให้แสดงกรรมแตกต่างกัน ๓ ด้าน ที่เรียกว่า กรรม ๓ ได้แก่ (๑) กายกรรม (๒) วจีกรรม (๓) มโนกรรม โดยจำแนกออกเป็น ๓ อย่าง ที่เรียกว่า อภิสังขาร ๓ ได้แก่ บุญบาปอาเนญชา ดังนี้
อภิสังขาร ๓ หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่ง ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม ได้แก่ (๑) ปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร (๒) อปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ เป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (๓) อาเนญชาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา หรือ อรูปฌาน ๔ สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วย สมาธิแห่งจตุตถฌาน (อัปปนาสมาธิ) เป็นบาทวิถีมาก่อน คำว่า อาเนญชาอาเนญชะ หมายถึง จตุตถฌาน และ อรูปฌาน ๔อรูปสมาบัติ ๔ ทั้งหมด ได้แก่ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๑ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ๑ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ๑ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ เมื่อได้ อาเนญชา แล้ว ก็ย่อมเป็นบาทฐานในวิปัสสนาได้ เพราะจิตปราศจากนิวรณ์ดีแล้ว แต่บางคนที่บรรลุ จตุตถฌาน แล้ว ก็สามารถเข้าถึงอริยภูมิ (โลกุตตระ) ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ให้ทบทวนลำดับในภาพประกอบข้างต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ลองพิจารณาอย่างละเอียดของการสัมปยุตต์กันของธรรมทั้งหลาย (ญาณสัมปยุตต์) ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ โดยอาศัยกระบวนการคิดอย่างฉลาดถูกวิธีตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปัจจยาการ ๑๒ (อิทัปปัจจยการตถตาปัจจัย ๒๔) นั่นคือ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท (Deductionอนุมาน) คือ พิจารณาเห็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ด้วย อวิชชา ที่ตามด้วยผลวิบากกรรม ที่เรียกว่า สังสารทุกข์แห่งภวจักร ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ที่เป็นธรรมดา (ซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติ) กับ (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท (Inductionอุปมาน) คือ พิจารณาเห็นอุบายวิธีการดับสาเหตุของการเกิดทุกข์ คือ การดับอวิชชา ได้ ย่อมดับ สังสารทุกข์แห่งภวจักร ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ที่เป็นธรรมดา (ซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติ) เพราะฉะนั้น คำว่า โยนิโสมนสิการ จึงเป็นบ่งบอกถึง ความฉลาดเชี่ยวชาญด้วยไหวพริบ ที่ประกอบด้วย โกศล ๓ (Proficiency) ดังนี้
โกศล ๓ (Proficiency) หมายถึง ความฉลาดความเชี่ยวชาญ ได้แก่ (๑) อายโกศล คือ ความฉลาดในความเจริญ รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ (๒) อปายโกศล คือ ความฉลาดในความเสื่อม รอบรู้ทางเสื่อม และเหตุของความเสื่อม (๓) อุปายโกศล คือ ความฉลาดในอุบาย รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์ และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
อนึ่ง ในการพิจารณาธรรม (มนสิการกรรมฐาน) นั้น ธรรมสำคัญๆ ต้องมีความสอดคล้องกันเป็นหนึ่งเดียวด้วยเอกภาพเดียวกัน หรือมีการยอมรับสนับสนุนซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า ความถึงพร้อม (สัมปทา) อย่างเช่น โกศล ๓ จะเกิดขึ้นได้ ก็ย่อมเกิดจากเหตุปัจจัยจากธรรมอื่นด้วยที่คอยสนับสนุนจาก ปฏิสัมภิทา ๔ บ้าง อริยสัจจ์ ๔ บ้าง กิจในอริยสัจจ์ ๔ บ้าง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือ ที่เรียกว่า สมถนิมิต กับ วิปัสสนานิมิต เป็นต้น แต่ที่สำคัญ คือ อนุตตริยะ ๓ (Excellent States) ดังนี้
อนุตตริยะ ๓ หมายถึง ภาวะอันยอดเยี่ยมสิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ คือ การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ ปัญญาอันเห็นธรรม (ปัญญาเห็นธรรมดวงตาเห็นธรรม) หรือ อย่างสูงสุด นั่นคือ การเห็นนิพพาน (๒) ปฏิปทานุตตริยะ คือ การปฏิบัติอันเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้ว กล่าวให้ง่ายหมายเอา มรรคมีองค์ ๘ โดยเฉพาะการเข้าถึง อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ (ญาณคือทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘ = มัคคังคะ ๘) ได้ (๓) วิมุตตานุตตริยะ คือ การพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น นั่นคือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง หรือ นิพพาน
เพราะฉะนั้น การฝีกฝนสร้างประสบการณ์ในการเจริญภาวนาจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การฝึกฝนในด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติจึงต้องเจริญพัฒนาขึ้น อย่างเท่าเทียบกัน เพื่อพิจารณาปรับปรุง แก้ไข ให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ และ ประการสำคัญ คือ ได้สั่งสมพอกพูนประสบการณ์ในการจำแนกแยกธรรมทั้งหลาย (ธัมมวิจยะ) ในลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน เป็นการฝึกฝนธรรมใน (๑) ปฏิสัมภิทา ๔ (๒) อริยสัจจ์ ๔ (๓) กิจในอริยสัจจ์ ๔ (๔) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (๕) ปฏิจจสมุปปันนธรรม (๖) ไตรลักษณ์ (๗) โยนิโสมนสิการ (๘) อริยมรรคมีองค์ ๘ และ (๙) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (อันเป็นฐานสำคัญแก่สมาธิและวิปัสสนา) ในการพิจารณาอยู่เนืองๆ เจริญให้มาก ทำให้มาก ทำให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ทำให้ยิ่งไพบูลย์ขึ้นไป ย่อมประสบความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติของตนเป็นสำคัญ เพราะการตรัสรู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นวาระแห่งตนเพียงแต่ผู้เดียว ไม่ใช่เป็นหมู่คณะ อีกอย่างหนึ่ง กิเลสของตนเพียงแต่ผู้เดียว มันก็กำจัดได้ยากพอสมควร ถ้าไปรวมกับของคนอื่นด้วย ก็ยิ่งไปกันใหญ่ มีแต่จะวินาศสันตโรมากกว่าเจริญยิ่งขึ้น ฉะนั้น ผู้ที่มีพระอริยสงฆ์เป็นกัลยาณมิตรคอยให้คำแนะนำในการปฏิบัติธรรม จึงนับว่าโชคดี ไม่ใช่อภัพบุคคล หรือบุคคลผู้ฉิบหายเสียคุณอันใหญ่ หมดโอกาสบรรลุโลกุตตรธรรมได้ในชาตินี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติธรรมทุกอย่างเริ่มต้นที่ตนเอง ถึงจะมีมารมาผจญก็คลาดแคล้วจากบ่วงมารเหล่านั้น เมื่อวาระแห่งตนมาถึงอย่างไรก็สะบัดทิ้งละจากพวกมารทั้งหลาย ที่คอยเป็นอุปสรรคขัดขว้างไม่ไห้เข้าถึงคุณความดี แม้แต่ เทวปุตตมาร ก็ไม่สามารถมาขัดขว้างล่อลวงให้ติดอยู่ในกามราคะได้ การเอาชนะใจของตนเองได้นั้น จึงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ การเลือกอยู่ในสภาวแวดล้อมที่เอื้อในการทำดี ก็เป็นเรื่องใหญ่เช่นกัน จนรวมถึงการเจริญ กัลยาณมิตตตา คือ ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็น เหตุปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นเหตุ) หรือ อุปนิสสยปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า) คอยค้ำจุนในเข้าถึง กระแสแห่งอริยอัฏฐังคิกมรรค ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึง โยนิโสมนสิการ ดังนี้
โยนิโสมนสิการ หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
นอกจากนี้ ธรรมข้ออื่น ที่ได้รับยกย่องคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ในบางแง่ ได้แก่ (๑) อัปปมาทะ คือ ความไม่ประมาท (๒) วิริยารัมภะ คือ การปรารภความเพียร ทำความเพียรมุ่งมั่น (๓) อัปปิจฉตา คือ ความมักน้อย ไม่เห็นแก่ได้ ไม่พอกพูนกิเลส (๔) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ ไม่คลุกคลีหมู่คณะ (๕) สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว สำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา (๖) กุสลธัมมานุโยค คือ การหมั่นประกอบกุศลธรรม (๗) สีลสัมปทา คือ ความถึงพร้อมตั้งตนอยู่ในวินัยและมีความประพฤติทั่วไปดีงาม (๘) ฉันทสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ (๙) อัตตสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์แล้ว (๑๐) ทิฏฐิสัมปทา คือ การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล (๑๑) อัปปมาทสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท (๑๒) โยนิโสมนสิการสัมปทา คือ ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้
เพราะฉะนั้น ปรีชาสามารถในการสังเคราะหหาลักษณะร่วมที่เป็น ลักษณะสากล (Universality) ก็เป็นทักษะสำคัญในการพัฒนา กระบวนการคิด (Conceptualization) หรือบรรทัดฐานที่เป็นเกณฑ์ (Criteria) สำคัญในการกำหนดทิศทางในการบำเพ็ญเพียรภาวนาที่ถูกต้องตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ที่เรียกว่า ทฤษฎี (Theory) นั่นคือ ทิฏฐิสัมปทาสัมมาทิฏฐิ หมายถึง การตั้งอยู่ในหลักความคิด ความเชื่อถือ ที่ถูกต้องดีงาม มีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔ คือ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ (๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น และ (๓) ปฏิจจสมุปปันนธรรม (คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นอย่างเดียวกัน) ในข้อ อัทธา ๓กาล ๓ อย่าง เพื่อทำหน้าที่คอยสำรวมระวังไม่ให้ อวิชชา ๘ เข้าบุกลุก ครอบงำจิตใจ และ ปิดบังปัญญา ให้พิจารณาการสรุปข้อทฤษฎีของ (๑) หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และ (๒) หลวงปู่ทา จารุธัมโม ดังนี้
ไม้ซกงก หกพันง่า (กายใจ) กะปอมก่าแล่นขึ้น มื้อละฮ้อย (อวิชชา) กะปอมน้อยแล่นขึ้น มื้อละพัน (ตัณหา) โตได๋มาบ่ทัน แล่นขึ้นนำคู่มื้อๆ (กิเลส)
ภาวนาธรรม: หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต (๒๔๑๓๒๔๙๒)
รู้อยู่ที่ใจดูอยู่ที่ใจเห็นอยู่ที่ใจ เพ่งอยู่ที่ใจกำหนดอยู่ที่ใจ ให้เห็นความแจ้งความสว่างความสงบขึ้นในใจ
ภาวนาธรรม: หลวงปู่ทา จารุธัมโม (๒๔๕๒๒๕๕๐)
ในการหาข้อสรุปทางทฤษฎีนั้น ต้องกินเวลานานไม่เท่ากัน เพราะขึ้นกับความแตกต่างของเชาว์ปัญญาในแต่ละบุคคล ขอบเขตความกว้างลึกของทฤษฎีที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทั้งหลาย (Phenomena) หรือสภาวธรรมทั้งหลาย ได้อย่างครอบคลุม ซึ่งมีความหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์ คือ อรรถบัญญัติ (นิยามที่เหนือโลกสมมติบัญญัติ นั่นคือ ปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิตเจตสิกรูปนิพพาน = พระอภิธรรม) ไม่ใช่ นามบัญญัติ (การสร้างคำสร้างศัพท์ขึ้นเพื่อนิยามความหมายโดยมนุษย์) คำว่า ใจ (Mind) ของหลวงปู่ทา จารุธัมโม นั้น หมายถึง จิตใจ (Consciousness = จิต ๘๙ หรือ จิต ๑๒๑) หรือ จิตวิญญาณ (Spirituality) เพราะฉะนั้น องค์ความรู้ในพระพุทธศาสนานั้น นำธรรมทุกอย่างมาประมวลอยู่ใน จิตสมาธิ = จิตตัววิปัสสนาด้วยสติสัมปชัญญะ (สมถนิมิต = ฌาน) และ ปัญญา = ปรีชาหยั่งรู้ (วิปัสสนานิมิต = จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง) ฉะนั้น ใครจะปฏิบัติได้ถึงตรงไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแรงจิตอธิษฐานบารมีของแต่ละบุคคล ซึ่งบางคนอาจใช้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย หรืออีกหลายๆ ชาติ ก็ได้ เพราะพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เนื่องจากเป็นความจริงสูงสุดโดยปรมัตถ์ จะบรรลุเมื่อไหร่ ก็เป็นเมื่อนั้นเสมอ ไม่อ่อนข้อให้แก่กิเลสตัณหาที่มนุษย์นับถือศรัทธา เพราะฉะนั้น เกร็ดธรรมคำคมของครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนานั้น จึงเป็นข้อสรุปทางทฤษฎี ที่แต่ละท่านได้เห็นและปฏิบัติมา ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมวิเคราะห์อย่างละเอียดย่อมเห็นธรรมทั้งหลายในนั้นอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาและปรัชญาที่คู่ควรกับเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ฉลาดมีปัญญา ไม่ใช่พวกโง่ๆ คือ โง่เขลาเบาปัญญา ถือจะมีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมดังกล่าวนี้ ก็ยังไม่เกิดปัญญาที่จะเห็นธรรมได้ จะอาศัยเพียงแต่ ความดี (ศีล) อย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่เพียงพอ ต้องประกอบด้วย การสมาทานไตรสิกขา อย่างหนักแน่น ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา (บุญฌานญาณ = ยถาภูตญาณทัสสนะ) ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว สำหรับ ความดี นั้น ยังจัดอยู่ใน กามาวจรธรรม กับ รูปาวจรธรรม ยังไม่สามารถข้ามขึ้นสู่ธรรมในระดับ โลกุตตระ ก็เป็นได้แค่บาทฐานไปสู่ สมาธิ และ วิปัสสนา ถ้าไม่มี ความดี การก้าวสู่ โลกุตตรภูมิ นั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าฝ่าฝืนให้เป็นก็คือ โจรปล้นสมาธิและทัสสนะ (ตั้งใจอย่างชั่วๆ เห็นอย่างชั่วๆ) ดังนี้
หมายเหตุ: มัคคญาณ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ
ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องที่ยากและรู้ผลได้ช้า ส่วนคุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็น พุทธะพระพุทธเจ้า ได้นั้น ก็ต้องเหนือมวลมนุษย์ด้วยกันขึ้นไปอีกหลายชั้น ที่จะบรรลุผลแห่งการปฏิบัตินั้นได้ นั่นคือ อธิคมธรรม หมายถึง ธรรมขั้นบรรลุผลแห่งการปฏิบัติ เช่น ฌานอภิญญามรรคผล หรือเรียกอีกอย่างว่า อุตตริมนุสสธรรม หมายถึง ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌานวิโมกข์สมาบัติมรรคผล บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษคุณวิเศษคุณพิเศษ ฉะนั้น คนที่มาบวชอย่างขี้กลากขี้เรื้อน (นิสัยสันดานยังขัดเกลาไม่ได้ดี) มีปัญญาแค่หางอึ่ง จึงมีสิทธิ์ทุศีลได้ตลอด จัดอยู่ในพวกอลัชชี (พวกหน้ามืนหน้าด้าน) หรือทำผิดพระธรรมวินัยอย่างร้ายแรง ที่เรียกว่า พวกเดียรถีย์ หรือภิกษุที่ละเมอไปเข้าลัทธิเดียรถีย์นี้ ติตถิยปักกันตกะ (ซึ้งในไสยาศาสตร์ เวทมนต์ อาคม) เพราะฉะนั้น การจะเข้าถึง ความเป็นพุทธะ (พระโพธิสัตว์) ได้นั้น จึงต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติอันยิ่ง คือ ปฏิปทาอันยิ่ง ๓ อย่าง ที่เรียกว่า บารมีอุปบารมีปรมัตถบารมี (ทศบารมี) ได้แก่ (๑) ทานการให้เสียสละ (๒) ศีลความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย (๓) เนกขัมมะความปลีกตัวปลีกใจจากกาม (๔) ปัญญาความรอบรู้หยั่งรู้เหตุผล (๕) วิริยะความเพียร (๖) ขันติความอดทน (๗) สัจจะพูดจริง ทำจริง และ จริงใจ โดยไม่เสียธรรม (๘) อธิษฐานความตั้งใจมั่น (๙) เมตตาความรักใคร่ โดยไม่เสียธรรม (๑๐) อุเบกขาความวางใจเป็นกลาง โดยไม่เสียธรรม
อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้เวลาในบำเพ็ญบารมีถึง ๕๐๐ ชาติ คือ เกิดแล้วเกิดอีกจนถึงโอกาสบรรลุซึ่ง โลกุตตรธรรม ที่เรียกว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ในชาติสุดท้าย จึงได้เป็น พระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ แห่งภัทรกัป) ที่เรียกว่า พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาเป็นเลิศในการตรัสรู้ธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น คนที่เกิดมาชาตินี้ ได้เจอพระศาสนาแห่งพุทธะนี้ ถือว่าเป็นผู้มีโชคดี ถ้าได้ทุ่มเทกายใจในการปฏิบัติธรรมให้ถึงแก่นพระศาสนาอย่างแท้จริง ไม่ทำตัวเหมือนจิ้งจกตัวเหี้ย หลอกตัวเองและคนอื่นไปวันๆ หากินเลี้ยงชีพอย่างผิดๆ (บาปกินหัวกินกระบาล) แต่ถ้าคิดว่าตนเองปัญญาไม่พร้อม ก็ให้ศึกษาอย่างจริงจัง มันไม่เกินความสามารถของเราได้ ถ้าทำจริง อย่าใจเซาะเหมือนปลาซิว คือ เข้าทำนอง งานหนักไม่เอา งานเบาไม่สู้ (ไม่เกิดศรัทธาและฉันทะอย่างแรงกล้าในพระศาสนา) พวกที่จิตตอุปกิเลสครองงำ (อุปกิเลส ๑๖: สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี) ดังนี้
อุปกิเลส ๑๖ หมายถึง ธรรมเครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี ได้แก่ (๑) อภิชฌาวิสมโลภะ คือ คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร (๒) พยาบาท คือ คิดร้ายเขา (๓) โกธะ คือ ความโกรธ (๔) อุปนาหะ คือ ความผูกโกรธ (๕) มักขะ คือ ความลบหลู่คุณท่าน (๖) ปลาสะ คือ ความตีเสมอ (๗) อิสสา คือ ความริษยา (๘) มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ (๙) มายา คือ มารยา (๑๐) สาเถยยะ คือ ความโอ้อวดหลอกเขา (๑๑) ถัมภะ คือ ความหัวดื้อกระด้าง (๑๒) สารัมภะ คือ ความแข่งดี (๑๓) มานะ คือ ความถือตัวทะนงตน (๑๔) อติมานะ คือ ดูหมิ่นเขา (๑๕) มทะ คือ ความมัวเมา (๑๖) ปมาทะ คือ ความประมาท เลินเล่อ
เพราะเหตุนี้ ขั้นตอนในปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา จึงเริ่มต้นด้วย อนุปุพพสิกขา คือ การศึกษาที่ต้องทำตามลำดับ ที่ปฏิสังยุตด้วยหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ (๑) เริ่มด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา และ (๓) นำไปสู่ปัญญาอันยิ่ง โดยต้องปฏิบัติจริงด้วยลำดับต่อไปนี้ (๑) อธิสีลสิกขา: สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ เพื่อกำจัดกิเลสอย่างหยาบ วิตีกมกิเลส (๒) อธิจิตตสิกขา: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ เพื่อกำจัดกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส (๓) อธิปัญญาสิกขา: สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เพื่อกำจัดกิเลสอย่างละเอียด อนุสยกิเลส
ฉะนั้น ในขั้นตอนที่จะกำจัดกิเลสทั้งหลายนั้น คือ การชำระไตรสิกขาให้บริสุทธิ์ ที่เรียกว่า วิสุทธิ ๗ พร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ดังนี้
วิสุทธิ ๗ หมายถึง ความหมดจด ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน ได้แก่ (๑) สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ วิสุทธิมัคค์ว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ (๒)จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา วิสุทธิมัคค์ว่า ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอุปจาร (๓) ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริงเป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] (๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ และจัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ (๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย [ไตรลักษณ์สามัญลักษณะ ได้แก่ อนิจจังทุกขัง อนัตตา] อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือวิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมี วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณ นั้นต่อไป ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์ (๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิด โคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่ง ความเป็นปุถุชน กับ ความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ ๙ [กระบวนการทุบขันธ์ ๕] (๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ใน อริยมรรค ๔มรรคญาณ [ปัญญาอริยะโลกุตตรปัญญา] อันเกิดถัดจาก โคตรภูญาณ เป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจาก มรรคญาณ นั้นๆ ความเป็นอริยบุคคล ย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ในข้อปฏิบัติตามขั้นตอนใน วิสุทธิ ๗ นี้ ให้คำนึงถึง ศีลสมาธิปัญญา เป็นสำคัญ อนึ่ง พึงสำรวมระวัง คือ การปฏิบัติธรรมไม่ใช่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นมหาเศรษฐีในโลกชาตินี้ มันเป็นเรื่องคนละประเด็น แต่ถ้าการเป็นบุคคลที่ทรงศีลให้บริสุทธิ์จริง ก็อยู่ในสุคติเกินมนุษย์ทั่วไปแล้ว แล้วอยากได้สวรรค์วิมานอะไรกันมากกว่านี้อีก ให้พิจารณาธรรมต่อไปนี้ เกี่ยวกับ ศีลบริสุทธิ์ แล้วทำให้เกิดอะไร อ่านแล้วคิดเอง ดังนี้
สีเลนะ สุคะติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ สีเลนะ นิพพุติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ตัสมา สีลัง วิโสทะเย = เพราะเหตุนั้นพึงชำระศีลให้หมดจด
ดังนั้น ในการถอดรหัสถึงความหมายที่ลึกซึ้งจากคาถาดังกล่าวข้างต้นนี้ ถ้าศีลบริสุทธิ์ย่อมทำให้ถึง นิพพาน ได้เช่นกัน เมื่อศีลบริสุทธิ์ ย่อมทำให้จิตปราศจาก อกุศลกรรมบถ ๑๐ (กายทุจริต ๓วจีทุจริต ๔มโนทุจริต ๓) ความดีย่อมต่อยอดด้วยความดี เริ่มทำจิตใจให้ปราศจากนิวรณ์ ด้วยการเจริญฌานสมาบัติ (ฌาน ๔รูปฌาน ๔) เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ และเจริญจนถึง อุเบกขาเอกัคคตาแห่งจตุตถฌาน ได้ ย่อมเกิด ปัญญาในสมาธิ (ญาณทัสสนะ) และเกิดปัญญาหยั่งรู้ในวิปัสสนา (ญาณ ๑๖) คือ ปัญญาในวิปัสสนา (ญาณ: จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง) คำที่ใช้อธิบายในขั้นต่างๆ นี้ ดูเหมือนง่ายๆ เป็นสามัญ แต่ในความเป็นจริง เป็นเรื่องของคุณชาติแห่งความเป็นพระอรหันต์ ที่จะบรรลุเข้าถึงภูมิแห่งโลกุตตระนี้ได้จริง ไม่ใช่ปุถุชนทั่วไปผู้บาปหนาชั่วหนักที่พึงจะเข้าถึงได้ ในการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้น การเกิดปัญญาที่หลากหลายย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจสมาธิและอำนาจวิปัสสนา นั่นคือ การเห็นทุกข์ ๑ สาเหตุแห่งทุกข์ ๑ กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา (ปฏิจจสมุปบาท ๑๒) ๑ ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ๑ จากนั้นจึงจะก้าวสู่ โลกุตตรภูมิ (โดยผ่านโคตรภูญาณ) ที่ประกอบด้วย (๑) มัคคญาณ (๒) ผลญาณ (๓) ปัจจเวกขณญาณ (๔) อาสวักขยญาณ (๕) สัมโพธิญาณ (๖) พระนิพพาน ตามลำดับ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ เรียกว่า การวิวัฒน์ปัญญาแห่งมวลมนุษยชาติ อย่างแท้จริง จากการบรรยายธรรมทั้งหมดนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมคงจะถึงบางอ้อได้แล้ว นั่นคือ (๑) การเห็นตายก่อนตา (ปฏิจจสมุปบาท ๑๒) คือ ปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย ที่มีกำลังพละในการจำแนกแจกธรรมได้ และ (๒) การเห็นนิพพานก่อนนิพพาน (ไตรลักษณ์) คือ ปัญญาตรัสรู้อริยธรรมได้จริง.
|