๙๑. สิ่งที่ครอบงำจิตใจของเรา Something Indoctrinating Our Mind
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
ในอรรถที่ว่า จิตวิญญาณความนึกคิดในใจ นั้น ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทรงอิทธิพลต่อวิธีคิดแห่งกระบวนทัศน์และการแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ กิเลสตัณหาทั้งหลายเนื่องด้วยอวิชชา ที่ปริยุฏฐานกลุ้มรุมในจิตใจนั้น แสดงบทบาทในการควบคุมตัวของมนุษย์อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ [ทุกข์ความไม่สบายทางกาย โทมนัสความเสียใจ] เป็นสุข [สุขความสบายทางกาย โสมนัสความแช่มชื่นสบายใจ] หรือวางตนอยู่เฉยๆ [อุเบกขาความรู้สึกเฉยๆ] ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับการประพฤติปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนานั้น ศีลวัตร จะควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ให้สะอาดบริสุทธิ์เป็นกรรมสุจริต สมาธิ จะยกจิตใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย และ วิปัสสนา จะพัฒนาจิตใจไปสู่ปัญญารอบรู้ สุดท้ายทำให้เป็นผู้มีสติและสัมปชัญญะ รู้ดีรู้ชั่ว อะไรเป็นทางเจริญ อะไรเป็นทางเสื่อม เพราะมีสามัญสำนึกหรือวิจารณญาณไตร่ตรองเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิต ไม่ว่าจะราบรื่นหรือขรุขระ ก็ตาม ก็ให้เข้าใจว่า: นี่คือชีวิต ก็แล้วกัน ที่ต้องดำเนินไปตาม กฎแห่งกรรม แต่ทำอย่างไร ถึงจะไม่เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ผู้หวั่นไหวไปตามกระแสโลกิยวิสัย เพราะจิตเป็นทาสรับใช้กิเลสทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่รู้จริงที่กลุ้มรุมในจิตใจ อวิชชาปริยุฏฐาน อันเป็นเหตุนำมาซึ่ง โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส [สังสารทุกข์แห่งภวจักร] ที่เกิดหมุนเวียนไม่สิ้นสุดใน วัฏฏจักรแห่งชีวิต [ชีวิตสันตติ] บนโลกใบนี้ คำว่า โลก หมายถึง ขันธ์ ๕ คือ กองชีวิต ๕ ประการ ที่มาประชุมกันเป็นร่างกายและจิตใจของมนุษย์ ถ้าคนเรามีจิตใจที่ปลอดจาก โลกแห่งขันธ์ ๕ [วัฏฏะ ๓: กิเลสกรรมวิบาก] จิตใจของคนนั้น ก็หลุดพ้นจาก กระแสโลกธรรม ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อีกต่อไป ย่อมก้าวไปสู่ กระแสโลกุตตระ [วิวัฏฏะอมตธาตุบรมธรรมนิพพาน] ซึ่งจะเข้าถึงผลแห่งการเจริญภาวนากรรมฐานนี้ได้ ด้วย โลกุตตรธรรม: อริยมรรค ๔อริยผล ๔นิพพาน ๑ ซึงประกอบด้วย ไตรสิกขาอริยมรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา [ทางสายกลางแห่งปัญญา] ฉะนั้น ข้อประพฤติปฏิบัติดังกล่าวนี้ ถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย นั่นคือ สิ่งที่ครอบงำจิตใจของเรา [อวิชชาปริยุฏฐาน ซึ่งกำจัดระงับโดยการเจริญวิสุทธิ ๗] ในการปฏิบัติธรรมนั้น จึงต้องการ ความบริสุทธิ์แห่งจิตและปัญญา ประกอบกันอย่างเหมาะควรแก่ธรรม โดยมีพื้นฐานจากความประพฤติอันบริสุทธิ์ปกติที่กลายเป็น สีลสัมปทาสัทธรรม ๗: ศรัทธาหิริโอตตัปปะพาหุสัจจะวิริยารัมภะสติปัญญา ได้ และนำไปสู่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ และ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ตามลำดับ ซึ่งต้องมีธรรมเครื่องสนับสนุนการตรัสรู้และอริยมรรค คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ จึงเป็นเครื่องมือในการชำระ สิ่งที่ครอบงำจิตใจของเรา ให้หมดสิ้นไปได้.
บทความที่ ๙๑ ประจำปี ๒๕๕๘ สิ่งที่ครอบงำจิตใจของเรา
ความนึกคิดในใจของมนุษย์ ที่เรียกว่า สังกัปปะConcepts นั้น คือ ความรู้ความเข้าใจUnderstanding ในเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ อันเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่ผ่านไปตลอดเวลา ฉะนั้น ความเชื่อ ความศรัทธา ค่านิยม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนาธรรม ความคิดเห็น จึงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญ ที่กำหนดขอบเขตแดนความรู้ ที่แสดงเป็น มุมมองกระบวนทัศน์ที่มีต่อโลก (Paradigms) หรือ โลกทัศน์ (Worldview) ที่เรียกว่า ทัศนคติเจตคติ (Attitudes) จนกลายเป็นตัวเกณฑ์กำหนดขั้นตอน กระบวนความคิด (Conceptualizations) และ กระบวนการตัดสินใจ (Mind Decisions) ทำให้เลือกข้อประพฤติปฏิบัติที่หลากหลายออกไปแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ที่เรียกว่า กรรม (Volitional Actions) หมายถึง การกระทำที่เป็นพฤติกรรมอันประกอบด้วยเจตนา คำว่า เจตนาสัญเจตนา คือ ความรู้ความทรงจำอันเป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากอดีตที่ผ่านไป ที่ถูกนำมาประมวลผลในการกระทำที่กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเป็น ปฏิฆสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นด้วยการกระทบกันระหว่าง อารมณ์ ๕ กับ อินทรีย์ ๕ ได้แก่ รูปสัญญาสัททสัญญาคันธสัญญารสสัญญาโผฏฐัพพสัญญา] และ นานัตตสัญญา [ธัมมสัญญามโนวิญญาณ] คำว่า สัญญาPerception หมายถึง ความกำหนดได้หมายรู้ความหมายรู้อารมณ์ความจำได้หมายรู้ ที่อุบัติเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปในกาล ๓ อย่าง ซึ่งประกอบด้วย ๓ ขณะ [อุปาทขณะฐิติขณะภังคขณะ: GrowthExistenceDecline] ได้แก่ (๑) อดีตอัทธาPast (๒) อนาคตอัทธาFuture และ (๓) ปัจจุบันนัทธาPresent อย่างไรก็ตาม ให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องกับ คำว่า ปฏิฆสัญญา กับ นานัตตสัญญา (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 252 FILE 66) ดังนี้
บทว่า ปฏิฆสญฺญาย หมายถึง สัญญาที่เกิดขึ้นด้วยการกระทบกันของ วัตถุ มี จักขุวัตถุโสตวัตถุฆานวัตถุชิวหาวัตถุกายวัตถุ [อินทรีย์ ๕] เป็นต้น กับ อารมณ์ มี รูปเสียงกลิ่นรสกาย [อารมณ์ ๕] ชื่อ ปฏิฆสัญญา คำนี้เป็นชื่อของ รูปสัญญาสัททสัญญาคันธสัญญารสสัญญาโผฏฐัพพสัญญา เหมือนอย่างที่ตรัสว่า: บรรดาสัญญาเหล่านั้น ปฏิฆสัญญา เป็นไฉน คือ รูปสัญญาสัททสัญญาคันธสัญญารสสัญญาโผฏฐัพพสัญญา สัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา สัญญาเหล่านั้น เป็น กุศลวิบาก ๕ เป็น อกุศลวิบาก ๕ จาก ปฏิฆสัญญา นั้น
บทว่า นานตฺตสญฺญาย หมายถึง จากสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์ต่างๆ หรือ จากสัญญาที่มีอารมณ์ต่างๆ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า: บรรดาสัญญาเหล่านั้น นานัตตสัญญา เป็นไฉน ความรู้พร้อม กิริยาที่รู้พร้อม ภาวะแห่งผู้ที่มีความรู้พร้อม กิริยาที่รู้พร้อม ภาวะแห่งผู้ที่มีความรู้พร้อมของภิกษุผู้ยังมิได้บรรลุ ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย มโนธาตุ [ใจมโนจิตวิญญาณจิตวิญญาณ] หรือผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย มโนวิญญาณธาตุ [มโนวิญญาณ = ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจรู้ความนึกคิดธรรมเกิดกับใจเกิดความรู้ขึ้น] เหล่านี้เรียกว่า นานัตตสัญญา ท่านกล่าวจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ด้วยประการฉะนี้ สัญญาเหล่านั้นท่านประสงค์เอาไว้ในที่นี้ สัญญาที่สงเคราะห์ด้วย มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ ของภิกษุผู้ยังมิได้บรรลุ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ที่มีความต่างกัน คือ มีสภาวะต่างกัน ต่างโดยรูปและเสียงเป็นต้น
เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นและการดับไปของ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นั้น ย่อมเกี่ยวข้องกับแดน สัมผัส ๖: จักขุสัมผัสฆานสัมผัสชิวหาสัมผัสกายสัมผัสมโนสัมผัส กับ เวทนา ๖: จักขุสัมผัสสชาเวทนาฆานสัมผัสสชาเวทนาชิวหาสัมผัสสชาเวทนากายสัมผัสสชาเวทนามโนสัมผัสสชาเวทนา ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางระหว่าง อินทรีย์ ๖ [วัตถุ ๖; ตาหูจมูกลิ้นกายใจ หรือ จักขุนทรีย์โสตินทรีย์ฆานินทรีย์ชิวหินทรีย์กายินทรีย์มนินทรีย์] กับ อารมณ์ ๖: รูปเสียงกลิ่นรสกายธรรมารมณ์ หรือ รูปารมณ์สัททารมณ์คันธารมณ์รสารมณ์โผฏฐัพพารมณ์ธรรมารมณ์ ที่ปฏิสังยุตเกี่ยวด้วย เจตนา ๖สัญเจตนา ๖: รูปสัญเจตนาสัททสัญเจตนาคันธสัญเจตนารสสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนาธัมมสัญเจตนา [สัญญา ๖: รูปสัญญาสัททสัญญาคันธสัญญารสสัญญาโผฏฐัพพสัญญาธัมมสัญญา] ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น คือ ย่อมรู้แจ้งในอารมณ์นั้นๆ ด้วย วิญญาณ ๖: จักขุวิญญาณโสตวิญญาณฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณกายวิญญาณมโนวิญญาณ ประการสำคัญ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ย่อมเกิดขึ้นจาก เจตนา ๖ ที่เข้าไปปรุงแต่งอารมณ์นั้นๆ ด้วยการครอบงำของกิเลสตัณหาทั้งหลาย ที่สั่งสมอยู่ในพื้นจิตของตน [สัญญา ๖] เพราะความไม่รู้จริงใน อริยสัจจ์ ๔กาล ๓ [ญาณ ๓]ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ไม่สามารถทำ โยนิโสมนสิการ ได้อย่างแยบคายในใจด้วยอุบายวิธีที่ถูกวิธี หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธีความรู้จักคิดคิดเป็น นั่นคือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า อิทัปปัจจยการปฏิจจสมุปบาท อันจัดเป็น ขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ ซึ่งเป็นความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ ที่เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ (ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗: กังขาวิตรณญาณ) ซึ่งเป็นการเข้าถึง ธรรมฐิติ (ธัมมัฏฐิติญาณ) หมายถึง ความดำรงคงตัวแห่งธรรม ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ ซึ่งตรงกับญาณในวิปัสสนา ที่เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป นั่นคือ เกิดปัญญารู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนว (๑) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกันธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อมการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น (๒) ปฏิจจสมุปปันนธรรม [อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒] คือ บรรดาธรรมทั้งหลายที่มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นอย่างเดียวกัน รวมทั้ง (๓) กฎแห่งกรรม หมายถึง เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม นั่นคือ เป็นความดีความชั่วมีขึ้นในตนเป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ ที่เรียกว่า กัมมสัทธา รวมทั้ง เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว ที่เรียกว่า วิปากสัทธา และ (๔) กฎแห่งกรรมของสัตว์กัมมัสสกตา หมายถึง เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน ที่เรียกว่า กัมมัสสกตาสัทธา (กัมมัสสกตาญาณ คือ ความรู้จักว่าทุกคนเป็นเจ้าของแห่งกรรมของตน) ซึ่งในข้อนี้จะตรงกับ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) หมายถึง ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม ปัญญาเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ วัฏฏะ ๓ ดังนี้
วัฏฏะ ๓ไตรวัฏฏ์ หมายถึง องค์ประกอบที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของ ภวจักรสังสารจักร ได้แก่ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ประกอบด้วย อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ประกอบด้วย สังขารและกรรมภพ (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏ ที่เรียกว่า อุปปัตติภพชาติชรามรณะ และตามด้วย โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส
ในบรรดา องค์ปัจจัย ๑๒ ประการในปฏิจจสมุปบาท อันเป็นเหตุปัจจัยแห่ง อวิชชาตัณหาอุปาทานสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาภพชาติชรามรณะ พร้อมด้วยผลวิบากทั้งหลายแห่ง โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ที่เรียกว่า สังสารทุกข์แห่งภวจักร ที่กลุ้มรุมเกาะกินยำยีจิตใจมวลมนุษย์ทั้งโลกไม่สิ้นสุด จนเกิดความไร้รู้สึกกับ อารมณ์แห่งกิเลสทั้งหลาย (มูล ๒: อวิชชาตัณหา) จนผู้คนผู้ไม่รู้จริงทั้งหลายไม่เข้าใจด้วยเหตุและผล สมดังคำว่า อันธปุถุชนพาลปุถุชน คือ ผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง หรือ บุคคลที่เรียกว่า อัสสุตวาปุถุชน คือ ชนผู้ไร้การศึกษาพระธรรม หรือจะเรียกว่า ชนผู้หลงทิศ ก็ไม่ผิด ก็น่าจะได้เช่นกัน นั่นคือ บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ อันประกอบด้วยอกุศลธรรมเหล่านี้ (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2021 FILE 76)
(๑) ทิฏฐิวิสูกายิกะ [ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ] ความเห็นผิดเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวน สัมมาทิฏฐิ ไป (๒) ทิฏฐิวิปผันทิตะ [ความผันแปรแห่งทิฏฐิ] เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูปแห่งทิฏฐิ เพราะบางคราวก็ถือเอา ความเที่ยง [สัสสตทิฏฐิ] บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ [อุจเฉททิฏฐิ] เพราะว่า คนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือ บางคราวก็คล้อยตามความเที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ (๓) ทิฏฐิ นั่นแหละ ชื่อว่า สัญโญชน์ [สังโยชน์] ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์ [ทิฏฐิสังโยชน์] (๔) คาหะ [ความยึดถือ] เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์ร้ายมีจระเข้ เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่น ฉะนั้น (๕) ปติฏฐวาหะ [ความตั้งมั่น] เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดยความเป็นไปอย่างมีกำลัง (๖) อภินิเวสะ [ความยึดมั่น] เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยง เป็นต้น (๗) ปรามาสะ [ความถือผิด] เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่งความเที่ยง เป็นต้น (๘) กุมมัคคะ [ทางชั่ว] เพราะอรรถว่า เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบายทั้งหลายที่บัณฑิตเกลียด (๙) มิจฉาปถะ [ทางผิด] เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง (๑๐) มิจฉัตตะ [ภาวะที่ผิด] เพราะเป็นสภาพผิดเหมือนกัน
เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า: ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้น ดังนี้ ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่า: ทางนี้เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น ดังชื่อว่า ทางผิด เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่า มิจฉัตตะ เพราะมี สภาพผิด ที่ชื่อว่า ติตถะ [ลัทธิเป็นดังท่า] เพราะ เป็นที่ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการหมุนไปมาในที่นั้น ติตถะ [คือลัทธิ] นั้นด้วย เป็น อายตนะ [บ่อเกิด] แห่งความฉิบหาย ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ [ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ] อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะอรรถว่า เป็น อายตนะ ด้วยความหมายเป็นส่วน สัญชาติ และด้วยความหมายว่า เป็น ที่อาศัย
ในการปฏิบัติธรรมนั้น คือ ขั้นตอนการศึกษาถึงความเป็นจริง [สัจจธรรม] ได้แก่ (๑) สภาวะที่เป็นทุกข์ = ปริญญา คือ การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ (๒) สาเหตุแห่งทุกข์ = ปหานะ คือ การละ เป็นกิจในสมุทัย (๓) ภาวะที่ปราศจากทุกข์ = สัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ และ (๔) แนวทางดับทุกข์ = ภาวนา คือ การเจริญ เป็นกิจในมรรค ซึ่งเรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค นั่นเอง สำหรับกระบวนการคิดดังกล่าวนี้ ให้นำมาพิจารณาอยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ กับ เหตุการณ์ [Situations] หรือ ปรากฏการณ์ [Phenomena] ที่ประสบพบเห็นในทุกขณะ คือ การพิจารณาดูเห็นที่จิตของตนเอง ที่เรียกว่า ภาวะจิตจิตตภาพ [สภาวธรรมปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ] ชำระให้สะอาดหมดจดจากกิเลสทั้งหลาย คือ ปราศจากนิวรณ์ ซึ่งหมายถึง จิตที่เป็นสมาธิในรูปฌาน ๔ ขั้น ได้แก่ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน โดยหมายเอา จตุตถฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา หมายถึง ภาวะจิตที่วางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิต เพราะมีปัญญารู้เห็นความจริงแห่งธรรม ที่เรียกว่า ธรรมฐิติ และจิตเป็นจิตที่บริสุทธิ์ คือ จิตประภัสสร ไร้ อุปกิเลส มาครอบงำจิต และปราศจาก นิวรณูปกิเลส [นิวรณ์ ๕: กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา] อวิชชา อรติ และอกุศลธรรมทั้งหลายด้วย สมาธิที่บริสุทธิ์ในจตุตถฌานนี้ [สัมมาสมาธิฌาน ๔: ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน] ย่อมส่งผลให้ สติ บริสุทธิ์ คือ สัมมาสติ [สติปัฏฐาน ๔: กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน] พร้อมประกอบด้วยความหมั่นเพียรในไม่ทำชั่ว ถึงพร้อมด้วยการทำความดี คือ สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔: สังวรปธานเพียรระวังปิดกั้น ๑ ปหานปธานเพียรละกำจัด ๑ ภาวนาปธานเพียรเจริญ ๑ อนุรักขนาปธานเพียรรักษา ๑ ซึ่งกระบวนทางจิตหรือกระบวนการคิดทั้งหมดนี้ เรียกว่า อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกอบรบด้วยจิตอันประเสริฐยิ่ง ซึ่งจะเป็นบาทฐานสำคัญในก้าวไปสู่ภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน
นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมยังต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งถึง คำว่า ธรรม [Dhamma] ในการศึกษาวิจัยธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งหมายรวมถึง สภาวธรรมปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] อันเป็นความหมายสูงสุดโดยนัยแห่ง อรรถบัญญัติ [Terms] ดังนี้
(๑) สภาพที่ทรงไว้ [States] ธรรมดาธรรมชาติสภาวธรรมสัจจธรรมความจริง (๒) เหตุ [Conditions] ต้นเหตุปัจจัยองค์ประกอบ (๓) สิ่ง [Things] ปรากฏการณ์ธรรมารมณ์สิ่งที่ใจคิดความนึกคิด (๔) คุณธรรม [Virtues] ความดีความถูกต้องความประพฤติชอบ (๕) วิทยาการ [Knowledge] เทคโนโลยีหลักการทฤษฎีกฎระเบียบแบบแผนธรรมเนียมหน้าที่ (๖) ความชอบ [Righteousness] ความถูกต้องความยุติธรรม (๗) พระธรรม [Doctrines] พระสัตถุสาสน์พระอนุสาสนีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
เพราะฉะนั้น กระบวนการตีความหมาย [Interpretations] เพื่อสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง คือ เป็นกลางจากอารมณ์ใน (๑) ความปรารถนา [สัญเจตนา ๖] หรือว่าเป็น ความต้องการที่สหรคตด้วย กิเลสตัณหา ทั้งหลาย (๒) ความคิดเห็นที่ผิด [ทิฏฐิ] และ (๓) ความหยิ่งในตนเอง [มานะ] ที่จะทำหน้าที่ในการปรุงแต่งกรรมทั้งหลาย [กรรม ๓: กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม] เนื่องจาก พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สามารถอธิบายความจริงแห่งชีวิตได้ทุกแง่มุม ไม่ใช่เรื่องจอมปลอม โกหก ไม่เป็นจริง หรือ ไร้สาระ แต่ประการใด ฉะนั้น การเกิดปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริง [ดวงตาเห็นธรรมแห่งอิทัปปัจจยตา] จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการปฏิบัติธรรมหรือการบำเพ็ญเพียรภาวนา มิฉะนั้น ก็ไม่ทราบว่าจะทำไปทำไม ถ้าไม่เข้าใจได้ตามเป็นจริง [ยถาภูตธรรมธรรมฐิติสัมมาทัสสนะ] หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น จึงไม่ใช่เรื่องการชักนำบังคับให้เชื่อโดยไม่ประกอบด้วยเหตุผล ที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง ขอเพียงให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม สัทธรรม ๓: ธรรมอันดีธรรมที่แท้ธรรมของสัตบุรุษหลักหรือแก่นศาสนา ดังนี้
(๑) ปริยัตติสัทธรรม คือ สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์พุทธวจนะสัตถุสาสน์อนุสาสนี (๒) ปฏิปัตติสัทธรรม คือ สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] หรือ ไตสิกขาสิกขา ๓ คือ ศีลสมาธิปัญญา [อธิสีลสิกขา: สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ เพื่อกำจัดระงับกิเลสอย่างหยาบ วีติกกมกิเลส: กายทุจริต ๓วจีทุจริต ๔ อธิจิตตสิกขา: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ เพื่อกำจัดระงับกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส: นิวรณ์ ๕อุปกิเลส ๑๖ อธิปัญญาสิกขา: สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เพื่อกำจัดระงับกิเลสอย่างละเอียด อนุสยกิเลสกิเลสานุสัย: อนุสัย ๗สังโยชน์ ๑๐อาสวะ ๔] (๓) ปฏิเวธสัทธรรมอธิคมสัทธรรม คือ สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ โลกุตตรธรรม ๙: มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ [อริยมรรค ๔สามัญผล ๔นิพพาน ๒]
เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น คือ การกำจัดระงับเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายอันเป็นมูลเหตุแห่งสังสารทุกข์ให้สิ้นไป และแน่นอนจริงแท้ ย่อมไม่ใช่การเอากิจธุระใน การสร้างโลกจักรวาลหรืออนุสาวรีย์ แต่ประการใดทั้งสิ้น เพราะผู้ปฏิบัติธรรมต้องเก็บอารมณ์อันเป็น สัญญา: แนวความคิดความเข้าใจสำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน (ข้อ ๘ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐) โดยเฉพาะในข้อที่ว่า:
(๑) สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง [Contemplation on the non-delightfulness of the whole world] (๒) สพฺพสงฺขาเรสุ อนิฏฺฐสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง [Contemplation on the non-pleasantness of the whole world]
ฉะนั้น ภาวะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ อโยนิโสมนสิการ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมหมดสิ้นแล้วแห่งปัญญาที่จะตามทันกิเลสทั้งหลายที่เข้ามาครอบงำจิตใจ โดยผ่านทางอินทรีย์ทั้ง ๖ [อินทรียสังวรสติสังวร] คุมศีลไม่อยู่ กลายเป็นทุศีล ไม่ได้ สีลสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยศีลที่ครบถ้วนสมบูรณ์บริบูรณ์ นั่นคือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็รักษากายวาจาให้เรียบร้อยประพฤติอยู่ในคลองธรรม ถ้าเป็นภิกษุก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทดีงาม เป็นต้น แต่ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ [สติสัมปชัญญะ: ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท] เข้าจริงๆ แล้ว อวิชชา ย่อมกินหัวกระบาลผู้ปฏิบัติอย่างแน่นอน นั่นคือ อ่อนซ้อมกระทำกรรมใน โยนิโสมนสิการ [มนสิการกรรมฐาน] จึงคิดไม่ออก เห็นอะไรก็ไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเจริญกรรมฐาน ผิดไปหมด ที่เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ ดังนี้
อโยนิโสมนสิการ คือ การไม่ใช้ความคิดถูกวิธีความไม่รู้จักคิดความคิดไม่เป็น นั่นคือ ไม่ทำในใจโดยแยบคาย ไม่มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา ไม่รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย [วิปลาสข้อที่ ๔ = สัญญาวิปลาสจิตตวิปลาสทิฏฐิวิปลาส] หมายถึง (๑) ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่เทียง ว่าเที่ยง คือ ยังยึดมั่นถือมั่นใน นิจจสัญญา แทนที่จะเป็น อนิจจสัญญา ด้วยการทำ โยนิโสมนสิการ (๒) ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข คือ ยังยึดมั่นถือมั่นใน สุขสัญญา แทนที่จะเป็น ทุกขสัญญา ด้วยการทำ โยนิโสมนสิการ (๓) ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตน ว่าเป็นอัตตาตัวตน คือ ยังยึดมั่นถือมั่นใน อัตตสัญญา แทนที่จะเป็น อนัตตสัญญา ด้วยการทำ โยนิโสมนสิการ (๔) ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม คือ ยังยึดมั่นถือมั่นใน สุภสัญญา แทนที่จะเป็น อสุภสัญญา ด้วยการทำ โยนิโสมนสิการ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ความไม่นึก ความไม่นึกเนืองๆ ความไม่คิดความไม่พิจารณา ความไม่ทำไว้ในใจแห่งจิต โดยวิปริตผิดไปจากความจริง = ไม่มีสัมปชัญญะอวิชชา
ด้วยเหตุนี้ อาการทางจิตในกระบวนการคิด ที่เรียกว่า ไม่มีสัมปชัญญะอวิชชาอโยนิโสมนสิการ นี้ ย่อมสามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า: สงสัยเป็นอย่างมากว่า ท่านคงมีกิเลส อุปกิเลส โยคธรรม ทั้งหลาย ได้ครอบงำ นิสัย อุปนิสัย พื้นจิตตสันดานเข้าแล้ว กระมัง [นรกกินหัวภาวะที่ไม่เจริญ ที่อุบาทว์ ที่จัญไร] แต่ก็ยังสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางจิตนี้ได้ด้วยหลักธรรม ปปัญจะ ๓ปปัญจธรรม ๓ ดังนี้
ปปัญจะ ๓ปปัญจธรรม ๓ หมายถึง กิเลสเครื่องเนิ่นช้า กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา ในคัมภีร์วิภังค์ เรียก ปปัญจะ ๓ นี้เป็น ฉันทะ [ตัณหา] มานะทิฏฐิ ได้แก่
(๑) ตัณหา [Craving] คือ ความทะยานอยาก ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน ความอยากได้อยากเอา ได้แก่ (๑) กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้กามคุณ นั่นคือ สิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ (๒) ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในภพ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้ จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป ความใคร่อยากที่ประกอบด้วย ภวทิฏฐิสัสสตทิฏฐิ [ความเห็นเนื่องด้วยภพ ความเห็นว่าอัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป] (๓) วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในวิภพ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตน จากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากให้ดับสูญ ความใคร่อยากที่ประกอบด้วย วิภวทิฏฐิอุจเฉททิฏฐิ [ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ]
(๒) ทิฏฐิ [Dogma] คือ ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่างๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงาย หรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน ความยึดติดในทฤษฎี เป็นต้น ถือความคิดเห็นเป็นความจริง ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับ สีลัพพตปรามาส (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐) คือ ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงายเห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรืออีกนัยหนึ่ง ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร [คือ ถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอ ที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงายหรืออย่างงมงายก็ตาม] ความถือศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่าจะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย
(๓) มานะ [Conceit] คือ ความถือตัว ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียม หรือด้อยกว่าผู้อื่น ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ เช่น ในคำว่า ทิฏฐิมานะ หมายถึง ถือรั้นอวดดี หรือดึงดื้อถือตัว แต่อย่างไรก็ตาม ให้เข้าใจถึง คำว่า มานะ ได้แก่ (๑) มานะ [เราเท่ากับเขา] คือ ความถือตัวอยู่ภายใน โดยมีตัวตนที่ต้องคอยให้ความสำคัญ ที่จะพะนอจะบำเรอจะยกจะชูให้ปรากฏหรือให้เด่นขึ้นไว้ อันให้คำนึงที่จะแบ่งแยกเราเขา จะเทียบ จะแข่ง จะรู้สึกกระทบกระทั่ง (๒) อติมานะ [เราดีกว่าเขา] คือ ความถือตัวเกินล่วง โดยสำคัญตนหยาบรุนแรงขึ้นเป็นความยกตัวเหนือเขา ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น (๓) โอมานะ [เราเลวกว่าเขา] คือ ความถือตัวต่ำด้อย โดยเหยียดตัวลงเป็นความดูถูกดูหมิ่นตนเอง ฉะนั้น มานะอติมานะโอมานะ ทั้งหลายนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ในพระอรหันตขีณาสพ นอกจากนี้ ควรทราบถึง มานะ ๙ ดังนี้ (๑) ดีกว่าเขา สำคัญตัวว่า ดีกว่าเขา (๒) ดีกว่าเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา (๓) ดีกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา (๔) เสมอเขา สำคัญตัวว่า ดีกว่าเขา (๕) เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา (๖) เสมอเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา (๗) เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า ดีกว่าเขา (๘) เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา (๙) เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา
มานะ [Conceit] ชื่ออื่นที่ควรทราบ ดังนี้ (๑) อธิมานะ คือ ความสำคัญตนเกินเป็นจริงความสำคัญตนผิด เช่น ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในระดับหนึ่ง ซึ่งที่แท้ยังเป็นปุถุชน แต่สำคัญตนเป็นพระอรหันต์หรือเป็นพระอริยะ (๒) อัสมิมานะ คือ ความถือตัว โดยมีความยึดมั่นสำคัญหมายใน ขันธ์ ๕ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตน (๓) มิจฉามานะ คือ ความถือตัวผิด โดยหยิ่งผยองลำพองตนในความยึดถือหรือความสามารถในทางชั่วร้าย เช่น ภูมิใจว่าพูดเท็จเก่งใครๆ จับไม่ได้ ลำพองว่า: สามารถใช้วิชาของตนในทางที่คนอื่นรู้ไม่ทัน เพื่อหากิน หรือกลั่นแกล้งรังแกคนอื่นได้ (๔) อวมานะ คือ การถือตัวกดเขาลง ซึ่งแสดงออกภายนอก โดยอาการลบหลู่ ไม่ให้เกียรติ ทำให้อับอายขายหน้า ไม่แยแส ไร้อาทร เช่น ผู้มีกำลังอำนาจที่ทำการขู่ตะคอก ลูกที่เมินเฉยต่อพ่อแม่ เป็นคู่ตรงข้ามกับคำในฝ่ายดี คือ สัมมานะ อันได้แก่ การนับถือ ยกย่อง ให้เกียรติแก่ผู้มีคุณความดีโดยเหมาะสมอย่างจริงใจ
อย่างไรก็ตาม มานะ [Conceit] เป็นกิเลสเด่นนำเนื่องกันและคู่กันกับ ตัณหา เป็นแรงขับดันให้ปุถุชนทำการต่างๆ ก่อความขัดแย้ง ปัญหาและทุกข์นานา แม้หากรู้จักใช้ จะปลุกเร้าให้เบนมาเพียรพยายามทำความดีได้ ก็แฝงปัญหาและไม่ปลอดทุกข์ จึงต้องมีการศึกษา เริ่มแต่ฝึกวินัยให้มี ศีล ที่จะควบคุมพฤติกรรมไว้ ในขอบเขตแห่งความสงบเรียบร้อย ไม่เบียดเบียนกัน แล้วพัฒนาจิตปัญญา ให้เจริญ ฉันทะ ขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนแทนที่ ตัณหา และ มานะ เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ ถึงจะยังมี มานะ อยู่อย่างละเอียดจนเป็นพระอนาคามี ก็จะแทบไม่มีโทษภัย จนกว่าจะพ้นจาก มานะ เป็นอิสระสิ้นเชิงเมื่อบรรลุ อรหัตผล ซึ่งจะเป็นอยู่ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ [โลกุตตสัมมาทิฏฐิ] สืบไป
เพื่อให้เข้าใจและรู้เห็นด้วยปัญญาถึงอำนาจแห่งกิเลสให้ดียิ่งขึ้น จึงควรพิจารณาถึง จิตตอุปกิเลส ทั้ง ๑๖ ประการ ที่มีอยู่นอกเหนือจาก กิเลสเครื่องเนิ่นช้า ที่เรียกว่า ปปัญจะ ๓ปปัญจธรรม ๓ ดังได้บรรยายมาแล้วข้างต้น ดังนี้
อุปกิเลส ๑๖ หมายถึง โทษเครื่องเศร้าหมองสิ่งที่ทำจิตต์ใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว ซึ่งรับคุณธรรมได้ยาก เรียกอีกอย่างว่า จิตตอุปกิเลส ได้แก่ (๑) อภิชฌาวิสมโลภะ คือ คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร (๒) พยาบาท คือ คิดร้ายเขา (๓) โกธะ คือ ความโกรธ (๔) อุปนาหะ คือ ความผูกโกรธ (๕) มักขะ คือ ความหลู่ความดีของผู้อื่น (๖) ปลาสะ คือ ความตีเสมอ (๗) อิสสา คือ ความริษยา (๘) มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ (๙) มายา คือ มารยา (๑๐) สาเถยยะ คือ ความโอ้อวดหลอกเขา (๑๑) ถัมภะ คือ ความหัวดื้อกระด้าง (๑๒) สารัมภะ คือ ความแข่งดีไม่ยอมลดละ (๑๓) มานะ คือ ความถือตัวทะนงตน (๑๔) อติมานะ คือ ดูหมิ่นเขา (๑๕) มทะ คือ ความมัวเมา (๑๖) ปมาทะ คือ ความประมาทละเลยเลินเล่อ
ในการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายนั้น ต้องอาศัย ธรรมสมาธิ ๕ เป็นพื้นฐานเพื่อให้จิตเป็น เอกัคคตาแห่งสมาธิ โดยเน้นการเจริญรูปฌานทั้ง ๔ ขั้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นใดขั้นหนึ่ง แต่หมายเอาจิตแน่วแน่เป็นอารมณ์เดียวเป็นสมาธิใน จตุตถฌานฌานที่ ๔ ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตา ที่เรียกว่า จิตประภัสสร แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการกำจัด นิวรณธรรม ทั้งหลายนั้น เป็นเรื่องสำคัญอีกขั้นหนึ่ง ได้แก่ (๑) กามฉันทะ (๒) พยาบาท (๓) ถีนมิทธะ (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (๕) วิจิกิจฉา (๖) อวิชชา (๗) อรติ (๘) อกุศลธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งหมดนี้เป็น นิวรณ์ หรือ เป็นญาณในธรรมที่อันตรายต่อสมาธิโดยพื้นฐาน เพราะฉะนั้น ต้องหาปัญญาที่จะทำลาย นิวรณูปกิเลส เหล่านี้ ด้วยญาณในธรรมที่อุปการะต่อสมาธิ ดังนี้
ญาณในธรรมที่อันตราย [อสัปปายะ] และอุปการะแก่สมาธิ [สมธรรมธรรมสงบสัปปายะ] (๑) เนกขัมมะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ กามฉันทะ อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ (๒) อัพยาบาท เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ พยาบาท อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ (๓) อาโลกสัญญา เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ ถีนมิทธะ อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ (๔) อวิกเขปะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ อุทธัจจะ อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ (๕) ธรรมววัตถาน เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ วิจิกิจฉา อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ (๖) ญาณ [ฌาน] เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ อวิชชา อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ (๗) ปราโมทย์ เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ อรติ อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ (๘) กุศลธรรมทั้งปวง เป็นอุปการะแก่สมาธิ เพราะละ อกุศลธรรมทั้งปวง อันเป็นอันตรายแก่สมาธิ
ข้อพึงสังเกต คือ คำว่า ปราโมทย์ หมายถึง ความบันเทิงใจความปลื้มใจ ที่เกิดจากความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมว่า: ตนเองปฏิบัติมาถูกทางตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ที่ประกอบด้วย ไตรสิกขา และ อริยมรรคมีองค์ ๘ ครบถ้วนบริบูรณ์ ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล [สีลวิสุทธิสีลสัมปทา] ย่อมกลายเป็นบาทฐานสำคัญให้มั่นคงดำรงมั่นใน สมถกรรมฐานสมถภาวนา [สมถพละสมถนิมิตปัญญาในสมาธิ] ซึ่งถือเป็นขั้นชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสอีกเช่นกัน [จิตตวิสุทธิ] เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมมาถูกต้องทุกขั้นตอนตามคำสอนของพระศาสดาถึงขั้น จตุตถฌาน แล้ว ย่อมประสบกับ คุณชาติแห่งสมถนิมิต: ความดีในสมถะอธิการในวิปัสสนา [วิปัสสนูปกิเลส ๑๐] ต่อไปนี้
(๑) โอภาส คือ แสงสว่าง (๒) ญาณ คือ ความหยั่งรู้ (๓) ปีติ คือ ความอิ่มใจ (๔) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็น (๕) สุข คือ ความสุขสบายใจ (๖) อธิโมกข์ คือ ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ (๗) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๘) อุปัฏฐาน คือ สติแก่กล้า สติชัด (๙) อุเบกขา คือ ความมีจิตเป็นกลาง (๑๐) นิกันติ คือ ความพอใจ ติดใจ
ฉะนั้น คุณชาติแห่งสมถนิมิต ทั้งหมดนี้ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ อำนาจที่เกิดจากเอกัคคตาแห่งสมาธิโดยวิเวกในฌาน [สัมมาสมาธิใน วิเวก ๓: ความสงัดความปลีกออก ได้แก่ (๑) กายวิเวก คือ ความสงัดกาย ได้แก่ อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี (๒) จิตตวิเวก คือ ความสงัดใจ ได้แก่ ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และ อนุสัย เป็นต้น หมายเอา จิตแห่งท่าน ผู้บรรลุฌาน นั่นคือ จตุตถฌานกุศลจิต และ ผู้บรรลุอริยมรรคอริยผล นั่นคือ โลกุตตรจิต (๓) อุปธิวิเวก คือ ความสงัดอุปธิ ได้แก่ ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง นั่นคือ ภาวะอันปราศจาก กิเลสทั้งหลาย ก็ดี อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ดี อภิสังขาร ๓: ธรรมเครื่องเจตนาปรุงแต่งกรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น ได้แก่ บุญบาปอาเนญชา หรือ ปุญญาภิสังขารอปุญญาภิสังขารอาเนญชาภิสังขาร ก็ดี ที่เรียกว่า อุปธิ หมายเอา พระนิพพาน นั่นคือ อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว ซึ่งเรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคล นั่นคือ พระอเสขะ] ซึ่งเป็นธรรมทั้งหมดที่สัมปยุตต์ด้วย ฌานสมถะ นั่นเอง โดยรวมเอา ธรรมสมาธิ ๕ เข้าไปด้วย ดังนี้
ธรรมสมาธิ ๕ หมายถึง ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมถูกต้อง [ธัมมานุธัมมปฏิปทา] กำจัดความข้องใจสงสัยเสียได้ เมื่อเกิด ธรรมสมาธิ คือ ความมั่นสนิทในธรรม ก็จะเกิด จิตตสมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต ได้แก่ (๑) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส (๒) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ (๓) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย (๔) สุข คือ ความรื่นใจไร้ความข้องขัด (๕) สมาธิ คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย
หมายเหตุ: ธรรม หรือ คุณสมบัติ ๕ ประการนี้ ตรัสไว้ทั่วไปมากมาย เมื่อทรงแสดงการปฏิบัติธรรมที่ก้าวมาถึงขั้นเกิดความสำเร็จชัดเจน ต่อจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะเดินหน้าไปสู่การบรรลุผลของ สมถะ [คือได้สำเร็จฌาน] หรือการบรรลุผลของ วิปัสสนา แล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงใช้เป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติขั้นตอนในระหว่างได้ดี และเป็น ธรรม หรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ
ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องประกอบด้วย สมถพละ [สมถนิมิต] กับ วิปัสสนาพละ [วิปัสสนานิมิต] ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติอันเป็นกุศลธรรมที่อุปการะต่อสมาธิและวิปัสสนา แต่อย่างลืมว่า สมธรรมธรรมสงบ เหล่านี้ ไม่พึงไปยึดมั่นติดมั่นจนเกิดการสำคัญผิดในธรรมเหล่านี้ว่า ตนได้บรรลุ อธิคมธรรมคุณวิเศษ [อุตตริมนุสสธรรม] แล้ว ดังนี้
(๑) เนกขัมมะ [สมณธรรม] คือ ความปลอดจากความโลภ (๒) อัพยาบาท คือ ความคิดร้าย (๓) อาโลกสัญญา คือ ความกำหนดหมายสว่างด้วยปัญญา (๔) อวิกเขปะ คือ ความไม่หวั่นไหว (๕) ธรรมววัตถาน คือ การกำหนดธรรม (๖) ญาณ คือ ความรู้ที่คมชัด [ฌานสงบวิเวก ย่อมละอวิชชาได้ เช่นกัน] (๗) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจความร่าเริงสดใส (๘) กุศลธรรมทั้งปวง คือ ภาวะที่เจริญรุ่งเรือง (๙) ปีติ คือ ความอิ่มใจความปลื้มใจ (๑๐) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจความผ่อนคลายรื่นสบาย (๑๑) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๑๒) สมาธิ คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย (๑๓) โอภาส คือ แสงสว่างไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ อันโชติช่วงและไพบูลย์ (๑๔) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง (๑๕) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๑๖) อุปัฏฐาน คือ สติแก่กล้าสติชัด (๑๗) อุเบกขา คือ ความมีจิตเป็นกลาง (๑๘) นิกันติ คือ ความพอใจติดใจ
เพราะฉะนั้น สมาธิเอกัคคตา นั้น จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนา ที่ชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จาก จิตตอุปกิเลสนิวรณ์ [กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง = นิวรณ์] ซึ่งทำให้เกิดสมาธิที่บริสุทธิ์ สัมมาสมาธิรูปฌาน ๔ และสติที่บริสุทธิ์ สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔ และ เกิดปัญญารอบรู้ ความรู้ตัว ความรู้ตัวทั่วพร้อม ความรู้ชัด ความรู้ทั่วชัด ความตระหนัก [สัมปชัญญะ ๔: สาตถกสัมปชัญญะสัปปายสัมปชัญญะโคจรสัมปชัญญะอสัมโมหสัมปชัญญะ] ที่เป็น ปัญญาในสมาธิญาณทัสสนะ กับ ปัญญาในวิปัสสนาญาณ โดยปฏิสังยุตด้วยความเที่ยงตรงเป็นกลางต่ออารมณ์แห่งกรรมฐานต่างๆ ที่เกิดดับคู่กับ สภาวธรรม นั้นๆ ที่เรียกว่า อุเบกขา คือ การวางเฉยต่ออารมณ์เพราะเกิด สติสัมปชัญญะ ที่ถึงพร้อมด้วย ไตรสิกขาแห่งวิสุทธิ ๗ ซึ่งทำให้เกิดปัญญาเห็นธรรมด้วยญาณตามเป็นจริง [ยถาภูตญาณทัสสนะ] จึงพิจารณาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ [สัมมสนญาณ] ที่สัมปยุตต์ด้วย วิปัสสนาญาณ ๙ ได้แก่ (๑) ความเกิดและความดับ (๒) ความสลาย (๓) ความน่ากลัว (๔) ความมีโทษ (๕) ความหน่าย (๖) ความใคร่จะพ้นไปเสีย (๗) ความพิจารณาหาทาง (๘) ความเป็นกลางต่อสังขาร และ (๙) ความอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ ฉะนั้น ในอารมณ์แห่งกรรมฐานนั้นๆ จึงเกิดปัญญาเห็นธรรม ด้วยการทำกรรมใน โยนิโสมนสิการ ดังนี้
โยนิโสมนสิการ คือ การใช้ความคิดถูกวิธีความรู้จักคิดความคิดเป็น นั่นคือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ความทำไว้ในใจโดยแยบคาย นั่นคือ มนสิการในอุบาย มนสิการถูกทาง มนสิการโดยอุบาย มนสิการโดยคลองธรรม ได้แก่ (๑) มนสิการโดยนัยแห่ง อนิจจลักษณะ ว่าใน สิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง นั่นคือ อนิจจสัญญา (๒) มนสิการโดยนัยแห่ง ทุกขลักษณะ ว่าใน สิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นทุกข์ นั่นคือ ทุกขสัญญา (๓) มนสิการโดยนัยแห่ง อนัตตลักษณะ ว่าใน สิ่งที่ไม่ใช่อัตตา ว่าเป็นอนัตตา นั่นคือ อนัตตสัญญา (๔) มนสิการโดยนัยแห่ง อสุภสัญญา ว่าใน สิ่งที่ไม่งาม ว่าไม่งาม นั่นคือ อสุภสัญญา
หรือ การพิจารณา การตามพิจารณา การรำพึง การใคร่ครวญ การใส่ใจ อนุโลมในของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา = มีสัมปชัญญะปัญญา สำหรับผลานิสงส์แห่งการประพฤติปฏิบัตินี้ ย่อมเกิด จินตามยปัญญาจินตามยญาณ จนรวมถึง ภาวนามยปัญญา ได้
ด้วยเหตุนี้ สมาธิแห่งอธิจิตตสิกขา [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] นั้น จึงเป็นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญใน ฌานสมาธิจิตตสมาธิ นั้น เป็นพลังอำนาจแห่งจิตที่เป็นสมาธิ ที่สามารถทำลายระงับความไม่รู้แจ้งใน อริยสัจจ์ ๔ [อวิชชา ๔] และ ความไม่รู้ใน อิทัปปัจจยตา [อวิชชา ๘] ดังนี้
(๑) ทุกฺเข อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ในทุกข์ (๒) ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ในทุกขสมุทัย (๓) ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ในทุกขนิโรธ (๔) ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๕) ปุพฺพนฺเต อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ในส่วนอดีต (๖) อปรนฺเต อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ในส่วนอนาคต (๗) ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต (๘) อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญฺญาณํ คือ ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น ตามหลักอิทัปปัจจยตา
แต่อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ปฏิบัติธรรม พิจารณาลักษณะองค์ประกอบอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของอวิชชาอีกมุมหนึ่ง ดังนี้
อวิชชามีลักษณะ ๒๕ ประการ [องค์แห่งอวิชชา] ได้แก่ (๑) อัญญาณ คือ ความไม่หยั่งรู้ด้วยญาณ [ญาณปรีชาหยั่งรู้] (๒) อทัสสนะ คือ ความไม่เห็นด้วยญาณทัสสนะ [ทัสสนะความเห็น] (๓) อนภิสมัย คือ ความไม่ตรัสรู้ [อภิสมัยความตรัสรู้] (๔) อนนุโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้ตาม [อนุโพธะความตรัสรู้ตาม] (๕) อสัมโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้พร้อม [สัมโพธะความตรัสรู้พร้อม] (๖) อัปปฏิเวธะ คือ การไม่แทงตลอด [ปฏิเวธะการแทงตลอด] (๗) อสังคาหณา คือ ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง [สังคาหณาความถือเอาถูกต้อง] (๘) อปริโยคาหณา คือ ความไม่หยั่งโดยรอบคอบ [ปริโยคาหณาความหยั่งโดยรอบคอบ] (๙) อสมเปกขนา คือ ความไม่พินิจ [สมเปกขนาความพินิจ] (๑๐) อปัจจเวกขณา คือ ความไม่พิจารณา [ปัจจเวกขณาความพิจารณาทบทวน] (๑๑) อัปปัจจักขกรรม คือ ความไม่รู้ในกรรมของตน [กัมมผลสัทธากฎแห่งกรรม] (๑๒) ทุมมิชฌะ คือ ความทรามปัญญา [สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ อธิปัญญาปัญญาอันยิ่ง] (๑๓) พาลยะ คือ ความโง่เขลา [วิสารทะฉลาดชำนาญ ปฏิภาณความคิดทันการ] (๑๔) อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ทั่วพร้อม [สัมปชัญญะความรู้ทั่วพร้อม] (๑๕) โมหะ คือ ความหลง [ปัญญา ความรอบรู้ความรู้ชัด] (๑๖) ปโมหะ คือ ความลุ่มหลง [อวิกเขปะความไม่ฟุ้งซ่าน เอกัคคตาจิตตสมาธิ] (๑๗) สัมโมหะ คือ ความหลงใหล [อสัมโมหสัมปชัญญะรู้ชัดว่าไม่หลง] (๑๘) อวิชชา คือ รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ [วิชชาความรู้แจ้ง อภิญญาความรู้ยิ่งยวด] (๑๙) อวิชโชฆะ คือ โอฆะคืออวิชชาให้จมลงในวัฏฏะ [วิวฏะความพ้นจากวัฏฏะ = วิวัฏฏะ] (๒๐) อวิชชาโยคะ คือ โยคะคืออวิชชาให้ประกอบไว้ในวัฏฏะ [วิราคะความไม่ติดพันเป็นอิสระ] (๒๑) อวิชชานุสัย คือ อนุสัยคืออวิชชาด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ [นิโรธความดับกิเลสและทุกข์] (๒๒) อวิชชาปริยุฏฐาน คือ การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา [อุปสมะความสงบ สมถะการสงบระงับจิต] (๒๓) อวิชชาลังคี คือ กลอนเหล็กหรือลิ่มคืออวิชชา [วิสังโยคความหมดเครื่องผูกรัด] (๒๔) โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย [อพยาบาทความไม่ขัดเคืองมีเมตตา] (๒๕) โลภะ คือ ความอยากได้ [อปจยะความไม่พอกพูนกิเลส]
๔. หิมวันตสูตร ว่าด้วย ธรรมที่ทำลายอวิชชาได้ (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 585586 FILE 36)
[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย ธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม ๖ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ (๒) เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ (๓) เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ (๔) เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ (๕) เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ (๖) เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า จบหิมวันตสูตรที่ ๔ ---------------------
อรรถกถาหิมวันตสูตร (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 586587 FILE 36)
พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:- บทว่า ปทาเลยฺย แปลว่า พึงทำลาย บทว่า ฉวาย ได้แก่ ต่ำทราม (๑) บทว่า สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสโล โหติ ความว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาด คือ เฉียบแหลม ได้แก่ มีปรีชาสามารถ เพื่อเข้าสมาธิ โดยกำหนดเอาอาหารเป็นที่สบาย และฤดูเป็นที่สบาย (๒) บทว่า สมาธิสฺส ฐิตกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการหยุดสมาธิไว้ได้ อธิบายว่า สามารถจะยับยั้งไว้ได้ (๓) บทว่า สมาธิสฺส วุฏฐานกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการออกสมาธิ อธิบายว่า สามารถเพื่อจะออกได้ตามกำหนด (๔) บทว่า สมาธิสฺส กลฺลิตกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในความที่สมาธิควรแก่กาล อธิบายว่า สามารถเพื่อจะทำให้สมควร เพื่อให้สมาธิจิตร่าเริง (๕) บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อเว้นอสัปปายะ คือ ธรรมที่ไม่ได้เป็นอุปการะแก่สมาธิ ส้องเสพสัปปายะ คือ ธรรมที่เป็นอุปการะ [แก่สมาธิ] ก็ดี รู้อยู่ว่า สมาธินี้มีนิมิตเป็นอารมณ์ สมาธินี้ มีลักษณะเป็นอารมณ์ก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ของสมาธิ (๖) บทว่า สมาธิสฺส อภินีหารกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อสามารถเพื่อจะนำสมาธิมีปฐมฌานเป็นต้น ให้ก้าวหน้าไป เพื่อประโยชน์แก่การเข้าสมาบัติสูงๆ ขึ้นไป ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาด ในความก้าวหน้าของสมาธิ คือ เธอออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ฉะนี้แล จบอรรถกถาหิมวันตสูตรที่ ๔ ---------------------
นอกจากนี้ ให้พิจารณาประกอบกับเรื่อง วสี ๕ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจริญสมถภาวนา ดังนี้
วสี ๕ หมายถึง ความชำนาญคล่องแคล่ว ได้แก่ (๑) อาวัชชนวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว (๒) สมาปัชชนวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที (๓) อธิฏฐานวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์ (๔) วุฏฐานวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ (๕) ปัจจเวกขณวสี คือ ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน
ประการสุดท้ายนี้ วัตถุประสงค์ของการนั่งสมาธินั้น ก็เพื่อทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย ที่กลุ้มรุมครอบงำจิตใจให้เศร้าหมอง ไม่สามารถเข้าถึงความดีหรือคุณธรรมได้ มีแต่ความทุกข์ตรมขุ่นมัว อยู่ในภาวะที่เสื่อม ไม่พบกับภาวะที่เจริญ รู้จักการใช้เหตุผลและปัญญาอย่างถูกต้องในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่ใช้เวลาทั้งหมดในการทำมาหากิน ในการพอกพูนทรัพย์สินและชื่อเสียง จนเกิดความคิดที่ว่า: เห็นคนไม่ใช่คน มีแต่ความนึกคิดที่อุบาทว์จัญไร ที่ผิดมนุษย์ทั่วไปที่เจริญแล้วที่พวกเขาคิดกัน สิ่งที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง คือ ไม่สามารถนำพาชีวิตดำเนินตามครรลองคลองธรรมได้ นั่นคือ ส่วนใหญ่มัก ใช้ชีวิตเหมือนสัตว์เดรัจฉานแย่งกันกินหรือแย่งกันหาผลประโยชน์ [ละโมบไม่ควรคิดประทุษร้ายเบียดเบียดผู้อื่น] เนื่องจาก อกุศลมูล ๓: โลภะโทสะโมหะ ๑ อกุศลวิตก ๓: กามวิตกพยาบาทวิตกวิหิงสาวิตก ๑ มูล ๒: อวิชชาตัณหา ๑ ปปัญจะ ๓: ตัณหาทิฏฐิมานะ ๑ อกุศลกรรมบถ ๑๐: กายทุจริต ๓วจีทุจริต ๔มโนทุจริต ๓ ๑ แต่ที่สำคัญที่สุด จิตใจที่ถูกกลุ้มรุมด้วย นิวรณูปกิเลสจิตตอุปกิเลส [นิวรณ์ ๕อุปกิเลส ๑๖] อันเป็นเหตุทำให้ ไม่มีสติสัมปชัญญะ คือ ไม่ใช้เหตุผลประกอบการนึกคิดในใจ หรือการขาดสามัญสำนึกอย่างรุนแรง มีแต่ กิเลอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นจิตตัวผลักดัน ให้คิดชั่ว ทำชั่ว แบบไม่หยั่งคิดได้ว่า เป็นการทำความเดือดร้อน วิปฏิสาร ให้เกิดขึ้นแก่ตนและสังคม ฉะนั้น แก่นสารที่เป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนานั้น มีคุณใหญ่ ๓ ประการ [พุทธโอวาทคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า] ดังสัมมาปฏิปทาต่อไปนี้
(๑) สพฺพปาปสฺส อกรณํ ความว่า ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ด้วยคุณชาติแห่งผู้รู้ ที่ถึงพร้อมด้วย อธิปัญญาสิกขาปัญญาอันประเสริฐยิ่ง: สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ [ทัสสนจริยาการเห็นตามเป็นจริง ๑ อภิโรปนจริยาการตรึกอารมณ์แห่งจิต ๑] โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดระงับกิเลสอย่างหยาบ วีติกกมกิเลส เช่น กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔
(๒) กุสลสฺสูปสมฺปทา ความว่า ทำความดีให้เพียบพร้อม ด้วยคุณชาติแห่งผู้ตื่น ที่ถึงพร้อมด้วย อธิสีลสิกขาศีลอันประเสริฐยิ่ง: สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ [ปริคคหจริยาการกำหนดสำรวม ๑ สมุฏฐานจริยาสิ่งที่ทำขึ้นด้วยสำรวม ๑ โวทานจริยาความผ่องแผ้วบริสุทธิ์ ๑] โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดระงับกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส เช่น อุปกิเลส ๑๖ นิวรณ์ ๕
(๓) สจิตฺตปริโยทปนํ ความว่า ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยคุณชาติแห่งผู้เบิกบาน ที่ถึงพร้อมด้วย อธิจิตตสิกขาจิตอันประเสริฐยิ่ง: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [ปัคคหจริยาความเพียรที่พอดี ๑ อุปัฏฐานจริยาสติคมชัด ๑ อวิกเขปจริยาความไม่ฟุ้งซ่าน ๑] โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดระงับกิเลสอย่างละเอียด อนุสยกิเลส เช่น สังโยชน์ ๑๐ อนุสัย ๗ โยคะ ๔ อาสวะ ๔
เพราะฉะนั้น การคำนึงตรึกอยู่กับ พุทธโอวาท ๓ ดังกล่าวนี้ ให้เป็นสติเตือนใจ [อนุสติ] อยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตที่สะอาดบริสุทธิ์ [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] ให้เป็นไปตามหลักแนวคิดแห่งพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ เส้นทางสายกลางแห่งปัญญา ได้แก่ (๑) เริ่มด้วยปัญญาแห่งอธิปัญญาสิกขา (๒) ดำเนินด้วยปัญญาแห่งอธิสีลสิกขา และ (๓) นำไปสู่ปัญญาด้วยอธิจิตตสิกขา ตามลำดับ จนเกิด ปัญญาเห็นธรรม [ธรรมฐิติธัมมัฏฐิติญาณอิทัปปัจจยตา] ทั้งหลายตามเป็นจริงที่ประเสริฐยิ่งเช่นกัน ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ คือ คุณธรรมอันบริสุทธิ์ยิ่งที่ทำให้บุคคลกลายเป็นอริยบุคคลได้ ได้แก่ พระโสดาบันพระสกทาคามีพระอนาคามีพระอรหันต์ ซึ่งเป็นจริงตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกประการ และ พระสัทธรรม นี้ ย่อมเป็นจริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอื่นโดยวิปริต แนวทางประพฤติปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้ปฏิเสธการหาเลี้ยงชีพในทางโลกที่มีคุณธรรม ถึงแม้ว่า พระสัทธรรมจะชี้ทางให้ออกจากสังขารนิมิตแห่งโลกียวิสัย ก็ตาม แต่ก็เน้นให้ประพฤติปฏิบัติเลี้ยงชีพด้วยความสุจริตแห่ง อธิศีลสีลสัมปทา ไม่ได้เน้นให้หากินอย่างสัตว์เดรัจฉานทั่วไปบนผิวพื้นโลกนี้ อย่าทำตัวเป็นสัตว์เดรัจฉาน [อวิชชาตัณหา = ไม่รู้จักบุญไม่รู้จักคุณ นั่นคือ ตัวกูของกู แห่งมานะ ให้พิจารณาทบทวนเรื่อง มานะ อีกรอบ] เพียงแค่นั้น นั่นเอง ทั้งหมดที่บรรยายมานี้ เป็นความจริงทุประการ ด้วยประการฉะนี้.
|