๙๓. พระธรรมวินัยนี้ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า The True Doctrine as Painful Progress with Slow Insight
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
ในความเป็นจริงนั้น อะไรคือแก่นแท้ของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คำว่า พุทธะ หมายถึง ความเป็นอิสระจากสิ่งมัวเมาชีวิตให้จมอยู่กับกองทุกข์ ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภวจักรไม่สิ้นสุด ให้ไปสู่ภาวะที่ถูกต้อง ดีเยี่ยม เป็นเลิศ ปราศจากทุกข์ทั้งปวง ที่เรียกว่า โลกุตตรธรรมอมตธรรมพระนิพพาน นั่นเอง ภาวะดังกล่าวนี้ ไม่ได้อยู่เกินความจริงที่จะเข้าถึงได้ แม้จะปฏิบัติได้ยาก ทั้งรู้ผลได้ช้า ก็ตาม แต่ก็มีผู้มีขันติและวิริยะทำได้ ที่ได้ชื่อว่าเป็น พระอริยสาวกแห่งตถาคต มาแล้วมากมายจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า ยากลำบาก จึงถูกลบออกจากพจนานุกรมการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ปัญหาอุปสรรคขัดขว้างอีกต่อไป ถ้าตั้งใจมั่นจะทำจริงเสียอย่าง สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตไม่ใช่จะได้มาง่ายๆ แต่ต้องแลกด้วยชีวิต คือ ใช้ชีวิตต่อชีวิต ซึ่งจะว่าไป ธรรมชาติให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนที่ปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้น ความยากซับซ้อน จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายความสำเร็จเช่นกัน เพราะมันสร้างคุณค่าในตัวของมันเองโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะ ความภาคภูมิใจในความสำเร็จในสิ่งที่ได้มายาก อันเป็นรางวัลตอบแทนที่คุ้มค่าที่ค้นหาสิ่งนั้น ความยากลำบากในการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ก็จัดอยู่ในภาวะดังกล่าวนี้ ผู้ไม่ตั้งใจจริง ทำจริง คิดจริง เห็นจริง ย่อมเห็นแจ้งรู้แจ้งในจิตของตน ไม่ได้ไปรู้เห็นในที่อื่น ภาวะที่เป็นจริงอันสูงสุดจึงไม่ใช่วัตถุจับต้องได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ แต่ประการใด แต่เป็นเรื่องจิต สติสัมปชัญญะ ตามพิจารณาภาวะจิตที่เกิดขึ้นในความนึกคิดในใจของตนเอง เพราะฉะนั้น สิ่งที่พิจารณาในการเจริญภาวนากรรมฐาน จึงเป็นเรื่องนามธรรมขั้นสูง ที่เรียกว่า ปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ ที่พิจารณาเป็น มโนธาตุมโนวิญญาณธาตุ อันเป็น ความจริงแห่งสรรพสิ่งสัจฉิกัตถะ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงเน้นความสำคัญในข้อประพฤติปฏิบัติที่แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย ได้แก่ ศีล [กายภาวนาสีลภาวนา]สมาธิ [จิตตภาวนาสมถภาวนา]ปัญญา [ปัญญาภาวนาวิปัสสนาภาวนา] ซึ่งมักจัดแนวทางปฏิบัติเป็น ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ด้วยตั้งสมมติฐานไว้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตถูกครอบงำด้วยกิเลสและทุกข์ทั้งหลาย นั่นคือ ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ แรงกล้า ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นอยู่เนืองๆ ที่เรียกว่า สังสารทุกข์แห่งภวจักร [ผู้มีโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา] ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงมีนัยถึง การขัดเกลากิเลสสัลเลขธรรมสัลเลขปฏิปทา ที่ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ได้แก่ (๑) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด (๒) วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด (๓) อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตา คือ ความมักน้อย (๕) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ (๖) ปวิเวก คือ ความสงัด (๗) วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร (๘) สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย ด้วยประการฉะนี้.
บทความที่ ๙๓ ประจำปี ๒๕๕๘ พระธรรมวินัยนี้ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า
เมื่อมีใครสักคนมีปรารถนาด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง และจักต้องลงมือประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมหรือคำสอนของพระศาสดาอย่างหวังผลสำเร็จนั้น บุคคลนั้นต้องเริ่มต้นอย่างไรถึงจะไม่ผิดเพี้ยนจากพระสัตถุสาสน์ ไม่กลายเป็น ชนผู้หลงทิศ เพราะความรู้ไม่จริง [อวิชชา] หรือความหลงใหลไม่มีสติ [โมหะ] ยิ่งเป็นบุคคลผู้มาจากสังคมไม่ศรัทธาการศึกษาค้นคว้าหรือแสวงหาความรู้ ก็ยิ่งเพิ่มปัญหาหรืออุปสรรคที่คอยขัดขวางไม่ให้ค้นหาความจริง สัจจธรรมปรมัตถ์ [วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์] หรือ ปรมัตถสัจจะปรมัตถะปรมัตถ์ [อริยสัจจ์ ๔] ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ปรัชญาหรือศาสนา ก็ตาม ต่างฝ่ายก็พยายามที่จะค้นหา ความจริงอันสูงสุดโดยปรมัตถ์ [Absolute Truths] เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในทางพระพุทธศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นและค้นพบความจริงอันประเสริฐแห่งชีวิต ที่มีพลังอำนาจพัฒนาปุถุชนทั่วไปให้กลายเป็น พระอริยบุคคล ได้ รวมทั้ง พระธรรมทั้งหลายของพระศาสดา ยังเป็น แหล่งบ่อเกิดภูมิปัญญา ที่ไม่ล้าสมัยอยู่เหนือกาลเวลาได้อีกต่างหาก คือ พระธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นองค์ความรู้เบื้องต้นหรือต้นแบบทางทฤษฎีของศาสตร์สมัยใหม่ในสาขาต่างๆ ที่นักวิชาการหรือนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังเช่น คอมพิวเตอร์Computer อินเทอร์เน็ตThe Internet [e-Commerce] การสื่อสารโทรคมนาคมTelecommunications เครือข่ายระบบดาวเทียมSeattleite Network ชีวโมเลกุลวิทยาBio Nanotechnology หรือ ระบบพลังงานแสงแดดSolar Panel System เป็นต้น เพราะการศึกษาทางธรรมวิจัยในพระพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพจิตให้บริสุทธิ์ด้วยสมาธิ ที่ทำให้เกิด ญาณทัสสนะ อันเป็นบาทฐานสำคัญในการพัฒนาปัญญาให้บริสุทธิ์จนเกิด ญาณ คือ ปัญญาหยั่งรู้ ปัญญารอบรู้แจ้ง ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา แต่มีสิ่งหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งชัดเจน คือ องค์ความรู้ที่เรียกว่า ปัญญาญาณ [จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง] ไม่ได้เน้นเอาความเป็นเลิศในทางโลกียวิสัย เพื่อจะครองโลกไว้เพียงผู้เดียว แต่เป็นปัญญาอันประเสริฐที่จะหลีกหนีออกจากโลกวิสัยไปสู่ภาวะที่อยู่เหนือโลก ที่เรียกว่า โลกุตตระโลกุตตรภูมิโลกุตตรธรรมโลกุตตรจิต ส่วนบุคคลผู้บรรลุโลกุตตรธรรมได้นั้น เรียกว่า อริยบุคคล ๔: โสดาบันสกทาคามีอนาคามีอรหันต์ โดยมุ่งหมายเอา พระอรหันต์ เป็นขั้นบรรลุความตรัสรู้สูงสุด ไม่ใช่เพียงแต่ความเป็นปราชญ์เท่านั้น
ในวิธีการแสวงหาความรู้อย่างเจาะลึกดิ่งด่ำที่สุดในศาสตร์นั้นๆ ย่อมแสดงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของบุคคลนั้น ที่เป็นไปตามความสนใจเฉพาะตน อย่างเช่นการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา การพัฒนาทักษรการคิดขั้นพื้นฐานและการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงนั้น จึงเป็นทักษะที่สำคัญที่จะนำบุคคลนั้นพัฒนาปัญญาไปถึงขั้นปัญญาแตกฉาน อาจจะเป็นความรอบรู้ในทุกด้าน คือ เวลาพูดคุยสนทนาด้วยในประเด็นอะไร ก็พอจะเข้าใจพูดรู้เรื่องรู้ภาษาได้ ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาเฉพาะของตนนั้น จะมีความเป็นเลิศในศาสตร์ด้านนั้นๆ เป็นพิเศษ และสามารถอธิบายองค์ความรู้ด้วยภาษาง่ายๆ ได้ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย อันเป็นคุณลักษณะที่เป็นสากล คือ ลักษณะสากล [Universality] ดังเช่น หลักการPrinciple ทฤษฎีTheory กฎLaw เป็นต้น พร้อมด้วยข้อยกเว้นในเกณฑ์เหล่านั้น ที่เป็น ลักษณะเฉพาะ [Uniqueness] ในความจริงทั้งหลายที่เกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ [Natural Phenomena] ย่อมไม่มีอะไรที่มีความสมบูรณ์แบบ เสถียรมั่นคงไม่แปรเปลี่ยน ปรากฏการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่งขึ้นด้วยสภาวะอื่นๆ ที่มาประชุมรวมกัน ที่เกิดขึ้นและดับไปพร้อมกัน เพราะฉะนั้น ในการอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆ ในทางทฤษฎี จึงเป็นหลักการที่ง่อนแง่น ไม่มั่นคงเป็นอมตะตลอดไป เพราะประกอบด้วยปัจจัยที่แปรเปลี่ยนด้านเวลาและสถานที่ จึงเกิดความไม่เที่ยงของปรากฏการณ์นั้นๆ ฉะนั้น จึงเป็นความจริงที่เป็นไปตามสมมติบัญญัติทางโลก ที่เรียกว่า สมมติสัจจะ คือ ความจริงที่เป็นไปตามเจตนาของมนุษย์ที่ปรุงแต่งขึ้นร่วมกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับความจริงสูงสุดโดยปรมัตถ์ทางพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า ปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ คือ ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูปนามเวทนาจิตเจตสิก เป็นต้น หรือ ปรมัตถธรรม ๔ ดังนี้
ปรมัตถธรรม ๔ หมายถึง สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ได้แก่ (๑) จิต คือ สภาพที่คิด ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ (๒) เจตสิก คือ สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต (๓) รูป คือ สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ (๔) นิพพาน คือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหา
ฉะนั้น องค์ความรู้ที่แท้จริงในการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า พระสัทธรรม นั้น จึงเป็นความหมายของคำตาม ปรมัตถธรรม ๔ [รูป ๒๘จิต ๘๙เจตสิก ๕๒นิพพาน ๒ = พระอภิธรรม] นั่นคือ ขันธ์ ๕: รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ที่ปราศจากกิเลสตัณหาและทุกข์ทั้งปวง ไม่ประกอบด้วย วัฏฏะ ๓ [กิเลสกรรมวิบาก] และ นิพพาน ๒: สอุปาทิเสสนิพพานอนุปาทิเสสนิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย วิวัฏฏะ คือ ภาวะที่ปราศจากขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเอง ในการปฏิบัติธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงจำเป็นต้องศึกษาพระธรรมอย่างละเอียดและลึกซึ้งจริงจัง [จำให้ได้หมดอย่างแม่นยำและถูกต้อง] รวมทั้ง เกิดภาวะปัญญาแตกฉาน ที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทา ๔ [ซึ่งเกิดจากความหมั่นเพียรเนืองๆ ในการมนสิการกรรมฐานด้วย อนุปัสสนา ๗ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา ซึ่งทำให้เกิดปัญญา ๑๐ ประการ ได้แก่ ชวนปัญญานิพเพธิกปัญญามหาปัญญาติกขปัญญาวิบูลปัญญาคัมภีรปัญญาอัสสามันตปัญญาปฏิสัมภิทา ๔ปุถุปัญญาหาสปัญญา] ดังนี้
ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ได้แก่ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล นั่นคือ กำหนดทุกขสัจจ์ได้ ย่อมเกิดจากองค์ความรู้ใน วิปัสสนาภูมิ ในส่วนที่เกี่ยวกับ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] ซึ่งเทียบเท่าปัญญารู้แจ้งใน ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓ เพราะบรรลุจตุตถฌานได้) กับ นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ นั่นคือ กำหนดสมุทัยสัจจ์ได้ ย่อมเกิดจากองค์ความรู้ใน วิปัสสนาภูมิ ในส่วนที่เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม: อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตา ซึ่งเทียบเท่าปัญญารู้แจ้งใน จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓ เพราะบรรลุจตุตถฌานได้) กับ ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖: ธัมมัฏฐิติญาณ คือ ปัญญารู้เห็นในปัจจยาการ) คือ ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้นรวมทั้ง กัมมัสสกตาญาณ คือ ความรู้แจ้งถึงภาวะที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ปรีชาแจ้งในภาษา รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ [ภาษาบาลีสันสกฤต] และภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ นั่นคือ มีความเจนใจด้วยภาษาที่สามารถอธิบายได้แจ่มแจ้ง (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้า สร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ [ความคิดริเริ่ม] ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ [ความคิดสร้างสรรค์] เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ [ความคิดประยุกต์ดัดแปลง]
นอกจากนี้ ในการศึกษาวิจัยธรรมในพระพุทธศาสนานั้น ผู้ปฏิบัติธรรมยังต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งถึง ความหมายของคำว่า ธรรม [Dhamma] ซึ่งหมายรวมถึง สภาวธรรมปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] อันเป็นความหมายสูงสุดโดยนัยแห่ง อรรถบัญญัติ [Terms] ซึ่งความหมายทั้งหมดนี้ จะประมวลรวมลงที่ คำว่า ขันธ์ ๕ ที่เป็นทั้ง สังขตธรรม และ อสังขตธรรม [นิพพาน] ดังนี้
(๑) สภาพที่ทรงไว้ [States] ธรรมดาธรรมชาติสภาวธรรมสัจจธรรมความจริง (๒) เหตุ [Conditions] ต้นเหตุปัจจัยองค์ประกอบ (๓) สิ่ง [Things] ปรากฏการณ์ธรรมารมณ์สิ่งที่ใจคิดความนึกคิด (๔) คุณธรรม [Virtues] ความดีความถูกต้องความประพฤติชอบ (๕) วิทยาการ [Knowledge] เทคโนโลยีหลักการทฤษฎีกฎระเบียบแบบแผนธรรมเนียมหน้าที่ (๖) ความชอบ [Righteousness] ความถูกต้องความยุติธรรม (๗) พระธรรม [Doctrines] พระสัตถุสาสน์พระอนุสาสนีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรมในพุทธศาสนานั้น จึงเรียกว่า อันธปุถุชนพาลปุถุชน คือ ชนผู้หลงทิศไม่ได้ศึกษาพระธรรม หรือ อัสสุตวาปุถุชน คือ ชนผู้ไร้การศึกษาพระธรรม ถึงแม้จะมีการศึกษาดีทางโลกจนถึงขั้นปริญญาเอกก็ตาม ก็ยังเรียกว่า ชนผู้ไร้การศึกษาพระธรรม เช่นเดิม ประการสำคัญ วิชาความรู้หรือองค์ความรู้ที่ศึกษาค้นคว้าเรียนมา แถมยังเรียกว่า ดิรัจฉานวิชา หมายถึง วิชาที่ใช้ทำมาหากินเลี้ยงชีพทั้งสุจริตและทุจริต เพื่อพอกพูนกิเลส ไม่ใช่ วิชชา ที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง จนสามารถเข้าถึง กระแสแห่งพระนิพพาน ได้ นั่นคือ ความรู้ทางโลกียวิสัยนั้น ยิ่งเรียนมาก ก็ยิ่งเกิดความรู้สึกใฝ่ต่ำไปทาง อกุศลวิตก ๓ น้อยคนมากที่จะเกิดความนึกคิดในทางตรงกันข้าม [พระพุทธศาสนาไม่ได้ต่อต้านการศึกษาทางโลก เพียงแต่ให้เน้นความมีคุณธรรมเพิ่มเข้าไปให้มากกว่านี้ เพื่อประโยชน์ทั้งของตนและผู้อื่นในเชิงสร้างสรรค์] ดังนี้
อกุศลวิตก ๓ หมายถึง ความตรึกที่เป็นอกุศลความนึกคิดที่ไม่ดี ได้แก่ (๑) กามวิตก คือ ความนึกคิดในทางแส่หาหรือพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยาก (๒) พยาบาทวิตก คือ ความนึกคิดที่ประกอบด้วยความขัดเคืองเพ่งมองในแง่ร้าย (๓) วิหิงสาวิตก คือ ความนึกคิดในทางทำลาย ทำร้ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
ฉะนั้น การจัดการเรียนการศึกษาทางโลก จึงต้องเน้นภาวะจิตที่สวนทางกับ อกุศลวิตก ๓ ข้างต้นนี้ อย่างจริงจัง ไม่ใช่ยุยงส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดชั่วๆ แบบไม่ตั้งใจ เช่น รักสถานบันการศึกษาแบบโง่ๆ สิ้นคิด ไม่สร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคม หรือแม้แต่นิดกับตนเอง ถ้ารู้ว่ามีความคิดชั่วๆ เกิดขึ้นในจิตใจได้ทัน ก็เลิกมันไป หันมาดูว่า ผู้มีอารยธรรมสูง เขาทำกันอย่างไร และนำความดีของเขามาดัดแปลงประยุกต์ใช้กับตน อย่างเช่น ความนึกคิดใน กุศลวิตก ๓ ดังนี้
กุศลวิตก ๓ หมายถึง ความตรึกที่เป็นกุศลความนึกคิดที่ดีงาม ได้แก่ (๑) เนกขัมมวิตก คือ ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน (๒) อพยาบาทวิตก คือ ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย (๓) อวิหิงสาวิตก คือ ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณา ไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย
ในการศึกษาพระพุทธศาสนานั้น มุ่งเน้นคุณภาพสาธุชนผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย อันจะได้พัฒนาตนดีแล้ว [อัตตสัมปทาภาวิตัตต์] และถึงพร้อมด้วย ความตรึกที่เป็นกุศลความนึกคิดที่ดีงาม [จรณะ ๑๕ = สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗ฌาน ๔] ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เกิด สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ [วิชชา ๓วิชชา ๘] ปัญญาที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ ก็น่าจะเพียงพอในการหาเลี้ยงชีพตน ที่เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ได้เป็นอย่างดี ถ้าเป็นสมณะถือมั่นใน อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบ อเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ หรือชอบทำ วิปฏิสาร ให้เกิดขึ้น หรือสร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้น เช่น ปล่อยของขลังเครื่องชุดใหญ่วัตถุบูชา [ครอบงำได้ทุกลัทธินอกพระพุทธศาสนา ไม่เกรงใจพระบวชใหม่] เท่าที่จะคิดได้ โดยไม่เกรงใจพระธรรมหรือพระประธานในโบสถ์เลยสักนิด [ไม่มนสิการกรรมฐานที่ถูกวิธี ไปทุ่มเทใส่ใจฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่อัศจรรย์ใจ ไม่เกรงใจหน้าโยมคนไหนทั้งนั้น คือ แปลว่า หน้ามึนหน้าด้าน] เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงไม่เหมาะกับคนที่จริตไปทาง โมหจริต คือ ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม เงื่องงง งมงาย โดยมีพิเศษอัศจรรย์ใน ความไม่มีสติปัญญา [อโยนิโสมนสิการ] ที่จะสามารถไตร่ตรองสิ่งที่ถูกหรือผิดได้อย่างมีเหตุผล คือ หมดสิทธิ์ใน ปฏิสัมภิทา ๔ เพราะฉะนั้น ความยากง่ายในการปฏิบัติธรรมนั้น ก็ขึ้นกับอุปนิสัยใจคอ [อธิมุติ = อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น] ของนักปฏิบัติธรรมคนนั้นๆ ถ้าคนสันดานเสียใช้ไม่ได้ ย่อมเข้าถึงพระธรรมของพระศาสดาได้ยาก เพราะถึงได้ฟังธรรมก็เหมือนสีซอให้ควายฟัง [ดอกบัวในโคลนตรม] ซึ่งเรียกว่า ปทปรมะ (ข้อ ๔ ในบุคคล ๔) หมายถึง ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ผู้อับปัญญา ก็สอนให้รู้ได้แต่เพียงตัวบท คือ พยัญชนะหรือถ้อยคำ ท่านก็ไม่อาจเข้าใจอรรถคือ ความหมายได้ ไม่เข้าใจความตั้งใจจริงจะให้เข้าใจว่าอะไร [น่าจะเป็นความผิดผู้บรรยายธรรม เพราะทำให้ท่านขุ่นมัวไม่รู้จักเกรงใจท่าน หรือไม่รู้ที่ต่ำที่สูงในภูมิปัญญาของท่านก็ได้ อันตรายในเผยแพร่พระศาสนา] ฉะนั้น ให้ทำความเข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติธรรม จะได้รู้จักอาการต่างๆ ในขณะศึกษาพระธรรมดีขึ้น
ปฏิปทา ๔ หมายถึง แนวปฏิบัติทางดำเนินการปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมาย คือ ความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ ได้แก่ (๑) ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา [ปฏิปทาทราม] คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ แรงกล้า ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นอยู่เนืองๆ หรือ เจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น อีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อน จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค ล่าช้า พระจักขุบาลอาจเป็นตัวอย่างในข้อนี้ได้ (๒) ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา [ปฏิปทาทราม] คือ ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ แรงกล้า ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นอยู่เนืองๆ หรือ เจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น แต่มีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค เร็วไว บาลียกพระมหาโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง (๓) สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา [ปฏิปทาทราม] คือ ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นเนืองนิตย์ หรือ เจริญสมาธิได้ ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต แต่มีอินทรีย์อ่อน จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค ล่าช้า (๔) สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา [ปฏิปทาประณีต] คือ ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นเนืองนิตย์ หรือ เจริญสมาธิได้ ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค เร็วไว บาลียกพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมพึงเข้าใจว่า การบรรลุโลกุตตรมรรค [อริยมรรค] นั้น ไม่ใช่จะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับชาวบ้านทั่วไป เศรษฐี ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ นักวิชาการ นักปราชญ์ แต่เป็นเรื่องเฉพาะผู้มีความตั้งมั่นในพระรัตนครัยเป็นสรณะที่พึ่งของชีวิต พวกลัทธินอกพระพุทธศาสนาทั้งหลายนั้น จะมาบรรลุได้เหมือนกันนั้น ย่อมเป็นเรื่องยาก ถึงจะมีฤทธิ์เทียบเคียงได้ ก็ไม่ใช่ สัมมามรรค [สัมมัตตะ ๑๐ = ภาวะอันถูกต้อง] แต่เป็น มิจฉามรรค [มิจฉัตตะ ๑๐ = ภาวะอันผิด] เช่น แส่ใฝ่ไปในทางอกุศล เวทมนต์ ไสยาศาสตร์ มนต์ดำ เป็นต้น พวกอำนาจมืดแห่งเวทมนต์ไม่สามารถมาทำลายผู้บำเพ็ญบุญบารมีได้ แม้จะนำดวงชะตาวันเดือนปีเกิด ไปทำพิธีหักล้างให้จัญไร ก็ทำลายชีวิตผู้มีบุญไม่ได้ และต้องมีบุญจริงๆ ด้วย แม้คนชั่วหนีตายแกล้งมาทำบุญสะเดาเคราะห์ ก็ยังได้รับการคุ้มครองชะตาได้ชั่วคราว เข้าทำนองว่า คนดีหรือคนชั่วถูกผีหลอก ถ้าวิ่งเข้าบริเวณโบสถ์ ผีหลอกไม่ได้ ก็นอนรอให้เช้าก่อน ค่อยออกจากเขตพุทธสีมานี้ ที่เหลือก็ยกให้เป็นเรื่องตาม ยถากรรม ขณะยังไม่ตายก็แล้วกัน แต่ถ้าเริ่มปฏิบัติธรรมให้เป็น ปฏิบัติบูชา ทั้ง ๒ ฝ่าย ก็ยิ่งมีแต่เรื่อง อุดมสิริมงคล [มงคล ๓๘] ไม่ต้องอาศัยหมอผีช่วยสะเดาะเคราะห์ให้ ทำเองได้ทุกวันเวลาสถานที่ ไม่ผิดระเบียบกรมสรรพสามิต เพราะ นี่คือ นั่งสมาธิ ไม่ใช่ท่าน นั่งแดกเหล้า ในเวลาและสถานที่ต้องห้าม ผู้นั่งสมาธิหรือไปปฏิบัติธรรมมาแล้ว ไม่ต้องเป่าตรวจเหล้า ตรวจเยี่ยวยาบ้า แถวหน้าวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้น จึงไม่มีด่านตรวจของตำรวจมาจับคนที่นั่งสมาธิบรรลุฌานขั้น ๔ แล้วเกิดเรื่องไม่ควร คือ คุมสติไม่อยู่ ขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกำหนด หรือมีข่าวว่าเณรบวชใหม่บรรลุธรรม เดินย่องขึ้นไปตีกลองเพลตอนตี ๒ ประกาศให้ชาวโลกรับรู้ว่า มหากุศลแห่งองค์ธรรมเกิดอุบัติบนโลกแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง ให้อยู่กันโดยไม่เบียดเบียนกัน อย่าดื้อ พวกคนโง่ [เณรคิดมากไม่แน่ในธรรมของตนเอง] เป็นต้น ผู้ปฏิบัติธรรมถูกต้องถูกวิธีดีพร้อมแล้วนั้น ย่อมไม่เกิดเรื่องเช่นว่านี้ ซึ่งเป็นการกล่าวถึงที่ไม่จริง ฝ่ายคัดค้านถอนคำพูดนี้ได้เลย [อย่าดื้อเหมือนในสภาโจ๊กอายเด็ก] ฉะนั้น ในระหว่างที่บำเพ็ญภาวนากรรมฐานนั้น ถ้าไม่เกิดปัญญารอบรู้ด้วย สติสัมปชัญญะ ย่อมหลงทางได้เช่นกัน เป็นไปได้มากเหมือนกัน ถึงขั้นพากันหลุดโลกมนุษย์ไปสู่โลกนรกอเวจีไปเลย [เปรียบเสมือน: เกิดจัดงานอาวาหะวิวาหะเลี้ยงโต๊ะแชร์ คือ การแต่งงานกันระหว่างสัตว์นรกกับอสุรกาย] กลายเป็น อรติ: ความขัดเคืองไม่ยินดีในธรรมที่ตนได้ปฏิบัติ เพราะปฏิบัติยาก ทั้งรู้ผลได้ช้า ไม่ทันใจ เกิดอวิชชาปิดบังปัญญาว่า เป็นเรื่องไม่จริง ทั้งที่ก็ยังไม่ได้สมาธิสักนิดเลย แถมเห็นคนอื่นได้ดิบได้ดีหมั่นไส้หาเรื่องเอาไม้ไปแย่เอวหรือขว้างโยนก้อนหินใส่หลังคากุฏิอีกต่างหาก กลัวเสียใจที่เขาบรรลุธรรม ในความเป็นจริง ถ้าเป็นคนมีกำลังเป็นสมาธิ อรติ ย่อมดับระงับด้วยสามารพแห่ง ปราโมทย์ คือ ความบันเทิงใจความปลื้มใจความชื่นบานใจร่าเริงสดใส มิฉะนั้น ก็ให้เอาเวลามาสวดมนต์เย็น [พระปริตรสร้างกำแพงแก้วป้องกันอกุศลธรรม] จะได้ช่วยให้จิตของผู้สวดและผู้ฟังเจริญกุศล เช่น ศรัทธาปสาทะปีติปราโมทย์และความสุข ตลอดจนตั้งมั่นเป็น สมาธิ รวมทั้งเตรียมจิตให้พร้อมที่จะก้าวสู่ภูมิธรรมที่สูงขึ้นไป คือ เป็นกุศลภาวนาเป็นจิตตภาวนา ได้จริง ซึ่งเรียกว่า ธรรมสมาธิ ๕ ดังนี้
ธรรมสมาธิ ๕ หมายถึง ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจใน การปฏิบัติธรรมถูกต้อง [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] กำจัดความข้องใจสงสัย [วิจิกิจฉา] เสียได้ เมื่อเกิด ธรรมสมาธิ คือ ความมั่นสนิทในธรรม ก็จะเกิด จิตตสมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต ได้แก่ (๑) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส (๒) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ (๓) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย (๔) สุข คือ ความรื่นใจไร้ความข้องขัด (๕) สมาธิ คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย
ฉะนั้น คุณชาติความดีในการปฏิบัติสมาธิภาวนาทั้ง ๕ ประการ นี้ ย่อมเป็นรางวัลตอบแทนผู้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักธรรม ธัมมานุธัมมปฏิปทา และจะกลายเป็นปทัฏฐานสำคัญยิ่งในการบำเพ็ญเพียรสมถภาวนา ที่เรียกว่า ฌาน ๔รูปฌาน ๔ ดังนี้
ฌาน ๔รูปฌาน ๔ [อารัมมณูปนิชฌาน] หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ (๑) ปฐมฌานฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌานฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌานฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌานฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา
องค์ฌาน [ฌานงฺค] หมายถึง องค์ประกอบของฌานองค์ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเข้าเป็นฌานขั้นหนึ่งๆ ได้แก่ (๑) วิตก คือ ความตรึกอารมณ์ (๒) วิจาร คือ ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ (๓) ปีติ คือ ความปลาบปลื้มในอารมณ์ความอิ่มใจ (๔) สุข คือ ความสบายใจความแช่มชื่นใจ (๕) อุเบกขา คือ ความมีจิตเรียบสมดุลเป็นกลาง (๖) เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว
สำหรับขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม ก็ควรเริ่มต้นที่ข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า ภาวนา ๔ ไม่ต้องไปรับขันธ์หรือเข้าพิธีครอบครูอะไรทั้งสิ้น ตั้งใจให้มั่นคงว่าจะทำจริงๆ ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใดๆ ดังนี้
ภาวนา ๔ หมายถึง การเจริญการทำให้เป็นให้มีขึ้นการฝึกอบรมการพัฒนา ได้แก่ (๑) กายภาวนา คือ การเจริญกาย พัฒนากาย การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้ง ๕ ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ หรือ การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (๒) สีลภาวนา คือ การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน (๓) จิตตภาวนา คือ การเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น (๔) ปัญญาภาวนา คือ การเจริญปัญญา พัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา
เพราะฉะนั้น ในข้อ (๑) กายภาวนา [อปัณณกปฏิปทา ๓] กับ ข้อ (๒) สีลภาวนา [สีลสัมปทา ๑สัทธรรม ๗] รวมกันหมายถึง กุศลภาวนา อันกลายเป็นบาทฐานนำไปสู่การพัฒนาตนใน ข้อ (๓) จิตตภาวนา [ฌาน ๔] และ (๔) ปัญญาภาวนา [วิชชา ๓วิชชา ๘] ตามลำดับต่อไป อนึ่ง กายภาวนาสีลภาวนาจิตตภาวนา คือ จรณะ ๑๕ หมายถึง ข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งให้บรรลุถึง วิชชา และส่วน ปัญญาภาวนา คือ วิชชา หมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ รวมความแล้ว คือ แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องให้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจารณะ ซึ่งจะเป็นเกณฑ์บ่งบอกถึงคุณค่าและคุณภาพของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง นั่นคือ (๑) มีความรู้ดี และ (๒) มีความประพฤติดี ให้พิจารณารายละเอียดตามหลักธรรมย่อย ดังนี้
อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ (๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ นั่นคือ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๒) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค นั่นคือ รู้จักพิจารณารับประทานอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (๓) ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน นั่นคือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
สีลสัมปทาแห่งสังวร ๕ หมายถึง ความสำรวมความระวังปิดกั้นบาปอกุศล [สังวรศีล: ศีลคือสังวรความสำรวมเป็นศีล] ได้แก่ (๑) ปาฏิโมกขสังวร คือ สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาฏิโมกข์ (๒) สติสังวร คือ สำรวมด้วยสติ นั่นคือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลธรรมเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น = อินทรียสังวร (๓) ญาณสังวร คือ สำรวมด้วยญาณ นั่นคือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่ = ปัจจัยปัจจเวกขณ์ (๔) ขันติสังวร คือ สำรวมด้วยขันติ นั่นคือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ (๕) วิริยสังวร คือ สำรวมด้วยความเพียร นั่นคือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิ = อาชีวปาริสุทธิ
อนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ยิ่งในเรื่อง สีลสัมปทา ก็ควรพิจารณาธรรมในข้อเรื่อง สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ ประกอบด้วย ดังนี้
สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้าธรรมเป็นเหตุให้สมหมายหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นสูงขึ้นไป [ถ้าเพิ่มคุณธรรม ๓ ได้แก่ หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำความชั่ว ๑ โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว ๑ พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ๑ รวมแล้ว เรียกว่า อริยทรัพย์ ๗] ได้แก่ (๑) สัทธาสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) สีลสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม (๓) จาคสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (๔) ปัญญาสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ
สัทธรรม ๗ หมายถึง ธรรมที่ดีธรรมที่แท้ธรรมของคนดีธรรมของสัตบุรุษ ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ มีความเชื่อประกอบด้วยเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) หิริ คือ มีความละอายต่อบาป (๓) โอตตัปปะ คือ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป (๔) พาหุสัจจะ คือ มีความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก (๕) วิริยารัมภะ คือ มีความเพียรอันปรารภแล้ว (๖) สติ คือ มีสติมั่นคง ความระลึกได้ ความสำนึกพร้อมอยู่ (๗) ปัญญา คือ มีความรอบรู้ เข้าใจชัดในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และ รู้ที่จะจัดการ
ฌาน ๔รูปฌาน ๔ [อารัมมณูปนิชฌาน] หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ (๑) ปฐมฌานฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌานฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌานฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌานฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา
ฉะนั้น คุณชาติความดีแห่งการประพฤติปฏิบัติด้วย จรณะ ๑๕ รวมทั้งสัมปยุตตธรรม นั่นคือ สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ และ อริยทรัพย์ ๗ นั้น ย่อมกลายเป็นธรรมเครื่องรับรองความเป็นคนดี ที่พร้อมจะปฏิบัติธรรมให้ก้าวต่อไป นอกจากนี้ ปัญญาที่เกิดในสมาธินี้ จะเป็นส่วนสำคัญนำไปสู่กูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานให้ดียิ่งขึ้น [ญาณในวิปัสสนาวิปัสสนาญาณ] เมื่อปฏิบัติมาถูกทาง มีความพยายามดี สติดี สมาธิดี ย่อมทำให้เกิดการคิดที่ถูกวิธีประกอบด้วยปัจจยาการ [ธัมมัฏฐิติญาณ] ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ โดยประกอบด้วยธรรมข้ออื่นๆ ที่อยู่ในระดับเดียวกันในภาวะจะเป็นคนดี ซึ่งจะเป็น บุคคลผู้จะเข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรค ในกาลข้างหน้าอันใกล้นี้ได้ ดังนี้ (๑) อัปปมาทะ คือ ความไม่ประมาท (๒) วิริยารัมภะ คือ การปรารภความเพียรทำความเพียรมุ่งมั่น (๓) อัปปิจฉตา คือ ความมักน้อย, ไม่เห็นแก่ได้ (๔) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ (๕) สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวสำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา (๖) กุสลธัมมานุโยค คือ การหมั่นประกอบกุศลธรรม (๗) สีลสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล (๘) ฉันทสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ (๙) อัตตสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว (๑๐) ทิฏฐิสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ (๑๑) อัปปมาทสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะ (๑๒) โยนิโสมนสิการสัมปทา คือ ความถึงพร้อมแห่งโยนิโสมนสิการ
เมื่อบุคคลนั้นมีโอกาสดีเป็นมงคลชีวิตที่สามารถบรรลุ ฌานสมาบัติแห่งรูปฌาน ได้ นั้น นั่นคือ การเข้าถึงฌานในขั้น จตุตถฌานฌานที่ ๔ [อุเบกขาเอกัคคตา] ฉะนั้น มหาผลานิสงส์ย่อมเกิดขึ้นด้วยโดยปริยาย ไม่ต้องมีข้อสงสัยในธรรมที่ได้ปฏิบัติมาอย่างถูกต้องถูกทาง [มัชฌิมาปฏิทาเอกายนมรรค: โพธิปักขิยธรรม ๓๗] ที่เรียกว่า จตุตถฌาน ๑๓ ประเภท ซึ่งเกิดจากข้อประพฤติปฏิบัติที่ทำได้ยาก และยังรู้ผลได้ช้า [ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา] เพราะโดยสมมติฐานแล้ว ผู้มาเจอพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีพื้นฐานชีวิตที่เต็มไปด้วย ราคะโทสะโมหะ ที่แรงกล้า อันเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ โดยไม่รู้ตัว ไม่มีสติสัมปชัญญะที่ถูกต้อง: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ จึงทำให้บรรลุถึง จตุตถฌาน ได้ช้า หรือไม่มีโอกาสบรรลุฌานสมาบัตินี้ได้เลยก็ได้ บางคนได้แค่ ปฐมฌานทุติยฌาน ก็หลงทิศหลงทางไปเป็น หมอดูเทวดา หรือ หมอยายมบาล ถ้าอาการหนักหน่อยก็เป็น ร่างทรงชมรมคนมีองค์ [เทพตามคติฮินดูผสมกับลัทธิผีแบบอีสาน นิยมแต่ตัวคล้ายคนอินเดีย แล้วมองคนอื่นด้วยสายตาเย่อหยิ่งอีกต่างหาก คล้ายกับว่าไม่อยากคบพวกคนทั่วไป เป็นชาวแมงเทพสวรรค์ไปแล้ว จะใช้ยาฆ่าแมลงพ่นไล่ ไม่แสดงอาการ] ที่มีเกลื่อนบ้านเมืองแทบจะมีทุกซอย แต่ผู้ปฏิบัติธรรมมาถูกทางเป็นอย่างดี ย่อมค่อยๆ พัฒนาตนและจิตใจขึ้นถึง จตุตถฌาน ๑๓ ประเภท ได้ ถึงจะไม่ครบทุกข้อก็ตาม ซึ่งต้องอาศัยความเพียรและใช้เวลานานแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
จตุตถฌานมี ๑๓ ประเภท (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432433 FILE 78) ดังนี้ (๑) จตุตถฌาน อันเป็น บาทแห่งฌานทั้งปวง (๒) จตุตถฌาน อันเป็น อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ (๓) จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพโสตญาณ (๔) จตุตถฌาน อันเป็น เจโตปริยญาณ (๕) จตุตถฌาน อันเป็น ปุพเพนิวาสญาณ (๖) จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพจักขุญาณ (๗) จตุตถฌาน อันเป็น ยถากัมมูปคตญาณ (๘) จตุตถฌาน อันเป็น อนาคตังสญาณ (๙) จตุตถฌาน อันเป็น อากาสานัญจายตนฌาน (๑๐) จตุตถฌาน อันเป็น วิญญาณัญจายตนฌาน (๑๑) จตุตถฌาน อันเป็น อากิญจัญญายตนฌาน (๑๒) จตุตถฌาน อันเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (๑๓) จตุตถฌาน อันเป็น โลกุตตรจตุตถฌาน
เพราะฉะนั้น จตุตถฌานฌานที่ ๔ [อุเบกขาเอกัคคตา] จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้มุ่งหวังอย่างจริงจัง เพื่อให้เข้าถึง ปฏิเวธสัทธรรมแห่งโลกุตตรธรรม [อริยมรรค ๔อริยผล ๔นิพพาน ๑อาสวักขยญาณ] ขั้นตอนทั้งหมดของการปฏิบัติธรรม จึงเป็นขั้นตอนขัดเกลากิเลส ที่เรียกว่า สัลเลขธรรม หมายถึง ข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องโดยชอบ สัมมาปฏิปทาธัมมานุธัมมปฏิปทา [กุศลภาวนาจิตตภาวนา] นั่นคือ การปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตามคำสอนของพระศาสดา [สัตถุสาสน์อนุสาสนี] อนึ่ง สัลเลขธรรมสัลเลขปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๕ ประการ คือ (๑) ความมักน้อย (๒) ความสันโดษ (๓) ความขัดเกลากิเลส (๔) ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย และ (๕) การปรารภความเพียร ดังพุทธโอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง เป็นของทารุณ เผ็ดร้อน หยาบร้าย เป็นอันตรายต่อการบรรลุโยคเกษมธรรม อันยอดเยี่ยม หรือมีจรณะหรือสัมมาปฏิปทา (ธัมมานุธัมมปฏิปทา) ตามพระอนุสาสนีของพระศาสดา (พระสัตถุสาสน์) ได้ถูกต้องยิ่ง เป็น เครื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง สะดวกแก่การเปิดเผยจิต (ออกจากกิเลส) ซึ่งเป็นไปอย่างไพบูลย์พร้อม (๑) เพื่อ นิพพิทาโดยส่วนเดียว คือ ความหน่ายสิ้นเชิง (๒) เพื่อ วิราคะ คือ การสำรอกกิเลส (๓) เพื่อ นิโรธะ คือ การดับกิเลส (๔) เพื่อ อุปสมะ คือ การสงบระงับกิเลส (๕) เพื่อ อภิญญา คือ ปัญญาอันยิ่ง (๖) เพื่อ สัมโพธะ คือ การตรัสสู้ และ (๗) เพื่อ พระนิพพาน คือ ความดับสนิทแห่งกิเลส (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233 FILE 17) ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗ หมายถึง ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือ คำสอนของพระศาสดา ได้แก่ (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง ไม่หลงใหลเคลิบเคลิ้ม (๒) วิราคะ ๕ คือ ความคลายกำหนัด ไม่ยึดติดรัดตัว เป็นอิสระ ได้แก่ (๑) วิกขัมภนวิราคะสำรอกออกได้ด้วยข่มไว้ (๒) ตทังควิราคะสำรอกออกได้ด้วยองค์นั้นๆ (๓) สมุจเฉทวิราคะสำรอกออกได้ด้วยตัดขาด (๔) ปฏิปัสสัทธิวิราคะสำรอกออกได้ด้วยสงบระงับ (๕) นิสสรณวิราคะสำรอกออกได้ด้วยสลัดออกได้ (๓) นิโรธ ๕ คือ ความดับ หมดกิเลสหมดทุกข์ ได้แก่ (๑) วิกขัมภนนิโรธดับด้วยข่มไว้ (๒) ตทังคนิโรธดับด้วยองค์นั้นๆ (๓) สมุจเฉทนิโรธดับด้วยตัดขาด (๔) ปฏิปัสสัทธินิโรธดับด้วยสงบระงับ (๕) นิสสรณนิโรธดับด้วยสลัดออกได้ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบระงับกิเลสทั้งหลาย วิเวก ๓ ได้แก่ กายวิเวกความสงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี ๑ จิตตวิเวกความสงัดใจ ได้แก่ ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย เป็นต้น หมายเอา จิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และ อริยมรรค อริยผล ๑ อุปธิวิเวกความสงัดอุปธิจากสังขารทั้งปวง ได้แก่ ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่า อุปธิ หมายเอา พระนิพพาน ๑ จนรวมถึง วิเวก ๕ ได้แก่ (๑) วิกขัมภนวิเวกสงัดด้วยข่มไว้ (๒) ตทังควิเวกสงัดด้วยองค์นั้นๆ (๓) สมุจเฉทวิเวกสงัดด้วยตัดขาด (๔) ปฏิปัสสัทธิวิเวกสงัดด้วยสงบระงับ (๕) นิสสรณวิเวกสงัดด้วยสลัดออกได้ (๕) อภิญญา ๖ คือ ความรู้ยิ่ง ความรู้ชัด ได้แก่ อิทธิวิธาทิพพโสตเจโตปริยญาณปุพเพนิวาสานุสสติทิพพจักขุอาสวักขยญาณ (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ และ อาสวักขยญาณ (๗) นิพพาน ๒ คือ ความปราศจากกิเลสอาสวะและทุกข์ทั้งปวงแล้ว ได้แก่ สอุปาทิเสสนิพพาน ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ๑
ฉะนั้น เมื่อพิจารณา จตุตถฌานมี ๑๓ ประเภท ในรายละเอียดเพิ่มเติมอีก ดังนี้
หมวดอนุปุพพนิโรธ (๑) บาทแห่งฌานทั้งปวง คือ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔ และ นิโรธสมาบัติ หมวดอภิญญา (๒) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๓) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๔) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๕) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๖) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ หมวดญาณ (๗) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๘) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ หมวดอรูปฌาน (๙) อากาสานัญจายตนฌาน คือ มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ (๑๐) วิญญาณัญจายตนฌาน คือ มนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (๑๑) อากิญจัญญายตนฌาน คือ มนสิการว่า ภาวะไม่มีอะไรเลย (๑๒) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือ มนสิการว่า ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หมวดโลกุตตระ (๑๓) โลกุตตรจตุตถฌาน คือ จิตน้อมถึง เจโตวิมุตติ [สุญญตสมาธิอนิมิตตสมาธิอัปปณิหิตสมาธิ]
เพราะฉะนั้น ภาวะจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น คือ จิตประภัสสร ในภูมิแห่งจตุตถฌานกุศลจิต พลังอำนาจแห่งศักยภาพทางจิต [สมถพละสมถนิมิต] ที่สำคัญยิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ที่สามารถเรียกว่า ปัญญาในสมาธิ คือ (๑) หมวดอภิญญา คือ ความรู้ยิ่งยวดความรู้เห็นแจ้งยิ่ง กับ (๒) หมวดญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ปัญญาหยั่งรู้ เมื่อรวมกัน หมายถึง ญาณทัสสนะ เมื่อนำไปประกอบกับ วิปัสสนาญาณ ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างถูกต้อง [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] คือ สัมปยุตต์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗: สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายหรือเกื้อกูลแห่งความตรัสรู้ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค กับ วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ: ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตากฎแห่งกรรมของสัตว์ คือ ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่ทำให้รู้ ให้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาที่เห็นแจ้งตามเป็นจริง เพราะฉะนั้น ญาณทัสสนะ ที่สัมปยุตต์ด้วย วิปัสสนาญาณ [อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖ วิปัสสนาญาณ ๙ (วุฏฐานคามินีปฏิปทา)] ย่อมทำให้เกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ (ข้อ ๑๕ ในมหาวิปัสสนา ๑๘) หมายถึง ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง เพราะหมดสิ้นข้อสงสัย (เห็นสมุทัยสัจจ์) ซึ่งทำให้เกิด ยถาภูตญาณธรรมฐิติญาณสัมมาทัสสนะ (ปรีชาหยั่งรู้สรรพสิ่งตามที่เป็นจริงความตั้งแน่นอนแห่งกำหนดธรรมดาความปลูกฝังในสัมมาทิฏฐิ) ในขณะเจริญธรรม วิสุทธิ ๗ ในข้อ ๔ นั่นคือ กังขาวิตรณวิสุทธิ ได้แก่ ภยตูปัฏฐานญาณ (ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ปรีชาญาณอันคำนึงเห็นโทษของสังขารทั้งหลาย นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๕ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ปรีชาญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย อันเป็นไปแล้วว่า สภยา สงฺขารา หมายถึง สังขารทั้งหลายน่ากลัว เพราะเห็นความดับแล้วๆ เล่าๆ อยู่เรื่อยไป ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหรือ อุปนิสสยปัจจัย ที่เกื้อกูลให้เกิด มุญจิตุกัมยตาญาณ (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙) คือ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสียจากสังขารทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม ก็อย่าลืมว่า จตุตถฌาน ที่ถูกต้องโดยชอบนั้น ต้องสหรคตด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า อธิจิตจิตอันยิ่งจิตที่ประเสริฐเป็นประภัสสร ประการสำคัญ คือ ประกอบด้วย ปัญญาในสมาธิ [มีสติสัมปชัญญะ = อภิญญา ๕ คือ ความรู้ยิ่งยวดความรู้ชัด และ ญาณ ๒ คือ ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้] ดังนี้
หมวดอภิญญา ๕ (๑) อิทธิวิธิอิทธิวิธญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสตทิพพโสตญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติปุพเพนิวาสญาณ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุทิพพจักขุญาณ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ หมวดญาณ ๒ (๑) ยถากัมมูปคตญาณอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๒) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้
ในบรรดาองค์ความรู้ทั้งหมดนี้นี้ รวมกันเป็นเอกภาพหนึ่งเดียว ไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน ทำให้เกิด การรู้เห็นด้วยการหยั่งรู้ [ญาณทัสสนะ] ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสำคัญทำให้เกิด วิปัสสนาญาณ (ข้อ ๑ วิชชา ๘) หมายถึง ญาณในวิปัสสนา [ญาณ ๑๖โสฬสญาณ] หรือ ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร นั่นคือ นามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน [วิปัสสนาญาณ ๙วุฏฐานคามินีปฏิปทา = การทุบขันธ์ ๕ คือ ข้อปฏิบัติอันเยี่ยมที่จะระงับสังขารเพื่อให้ถึงอริยมรรคให้ได้เป็นที่สุด] ฉะนั้น ความเข้าใจที่ถูกต้องในขั้นตอนนี้ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้ามีความสำคัญผิดในธรรม จนทำให้เกิดอาการฟุ้งซ่าน ว่าได้บรรลุถึง อธิคมธรรม [อุตตริมนุสสธรรม: ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์ ธรรมวิเศษคุณวิเศษคุณพิเศษธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่งธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌานวิโมกข์สมาบัติมรรคผล] นี้แล้ว ย่อมกลายอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ที่จะขัดขว้างความก้าวหน้าในวิปัสสนากัมมัฏฐานขั้นสูงต่อไป เพราะฉะนั้น อภิญญา ๕ กับ ญาณ ๒ ดังกล่าวนั้น ไม่ได้แปลว่าบุคคลนั้นได้ข้ามโคตรจากปุถุชน [บุคคล ๔: อุคฆฏิตัญญูผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน ๑ วิปจิตัญญูผู้รู้เข้าใจได้ ๑ เนยยะผู้ที่พอจะแนะนำได้ ๑ ปทปรมะผู้อับปัญญา ๑] ไปเป็น อริยบุคคล ๔: โสดาบันสกทาคามีอนาคามีอรหันต์ แต่เป็นเพียง ฌายีบุคคล [ฤษีดาบสเดียรถีย์ปาริพาชกหมอผีหมออาคมคาถาหมอเวทมนต์อลัชชีติตถิยปักกันตกะ (ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์อย่างไม่เกรงใจคณะสงฆ์ในวัดเดียวกัน อย่างนี้ก็ทำได้ ถือเป็นมนุษย์วิบัติ)] คือ ผู้มีฌานนักบำเพ็ญฌาน ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น ผู้วิเศษ ไม่ใช่ อริยบุคคล ในความหมายของพระพุทธศาสนาแต่ประการใด และไม่ได้เรียกว่า สมถยานิก (ข้อ ๒ ในอรหันต์ ๒ = อุภโตภาควิมุต) หมายถึง ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ ฌานสมาบัติ แล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหัต แต่ในทางกลับกัน ท่านผู้เรียกว่า สุกขวิปัสสก (ข้อ ๑ ในอรหันต์ ๒) หมายถึง ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง คือ ท่านผู้มิได้ฌาน สำเร็จอรหันต์ด้วยเจริญแต่วิปัสสนาล้วนๆ นั่นคือ อาศัยเพียง อุปจารสมาธิ: สมาธิจวนจะแน่วแน่สมาธิจวนเจียน เจริญวิปัสสนาไปจนถึงที่สุด แต่เมื่อจะสำเร็จอรหันต์นั้น ก็เป็นผู้ได้ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน โดยปริยาย อรหันต์ประเภทนี้ เรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนายานิกสุทธวิปัสสนายานิก คือ ผู้มีวิปัสสนาล้วนๆ เป็นยาน เพราะฉะนั้น ความเข้าใจที่ถูกต้องดังกล่าวนี้ จะช่วยเป็นสามัญสำนึกคอยเตือนสติไม่ให้หลงผิดในระหว่างเจริญภาวนากรรมฐานในแต่ละขั้น ให้ปลอดภัยจากอกุศลธรรมทั้งปวง รวมทั้ง วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมมาอย่างถูกวิธีตามคำสอนของพระศาสดา ต้องเข้าถึงรู้แจ้งด้วยปัญญาอย่างแน่นอน ได้แก่ (๑) โอภาส คือ แสงสว่าง (๒) ญาณ คือ ความหยั่งรู้ความรู้ที่คมชัด (๓) ปีติ คือ ความอิ่มใจความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว (๔) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ (๕) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๖) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง (๗) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๘) อุปัฏฐาน คือ สติแก่กล้าสติชัด (๙) อุเบกขา คือ ความมีจิตเป็นกลาง (๑๐) นิกันติ คือ ความพอใจติดใจ
เพราะฉะนั้น ความนิยมชมชอบจากที่ไม่เคยประสบกับสภาวะอันเยี่ยมนี้มาก่อนในชีวิต จึงทำให้หลงทาง [โมหะ] พอใจ [ฉันทะ] ติดใจ [ราคะ] จนกลายเป็นราคะอย่างแรง คือ พลวราคะสิเนหะ จนกลายเป็นความงมงายไม่ประกอบด้วยเหตุผล คือ ถูกสมาคมกิเลสแห่งชาติหลอกลวงเข้าเสียแล้ว ไม่เดินหน้า ไม่ถอยหลัง จอดตายสนิทติดบ่วงมารแห่งกิเลส ณ ที่ตรงนั้นแหละ ให้ถอนจิตน้อยๆ ออกจากตรงนั้นซะ อย่าไปเสียดาย [ผู้บรรยายเคยเตือนหลายคนแล้วไม่เชื่อ แล้วไม่เจริญก้าวหน้าในวิปัสสนาอีกต่อไป หัวดื้อทะนงตัว] แล้วไปปรึกษาพระอริยเจ้าจริงๆ จะได้พ้นทุกข์ระกำนี้ได้ เพราะเป็นคนไทยด้วยกันนะ ที่เตือนเรื่องนี้ ตามความเป็นจริง ธรรมที่ปรากฏขึ้นนี้ เพราะคุณชาติความดีอันเป็นอธิการในวิปัสสนาและสมถะ ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายประการใด เพียงแต่ว่า: อย่าไปหลงให้เสียเวลา สภาวธรรมดังกล่าวนี้ ควรนำมาใช้เป็นธรรมเครื่องสนับสนุนความตรัสรู้หรืออริยมรรคดีกว่า ยังจัดเป็นโลกียญาณที่ยังมีเกิดและมีดับเป็นธรรมดา ไม่ใช่สิ่งวิเศษอัศจรรย์ใจเลย ลืมซะ! แล้วจะเป็นคนดีต่อไป
ในอีกประการหนึ่ง จะเห็นว่า อภิญญา ๕ญาณ ๒ ประกอบด้วย วิชชา ๓: ปุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณ [ทิพพจักขุญาณ] ซึ่งเป็นปัญญาในวิปัสสนาตัวสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดปัญญาในโสฬสญาณ คือ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] กับ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ อันเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ ที่ประกอบด้วยปัญญาเห็นธรรมใน ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ที่แยกแนวทางคิดอย่างถูกวิธีด้วยอุบายวิธีที่แยบคาย ๒ ประการ [โยนิโสมนสิการ] ได้แก่ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ การคิดหาเหตุที่ทำให้เกิดผลวิบากตามมา จาก อวิชชา ไปหา โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ซึ่งเป็นแนวคิด [Approach] ของฝ่ายสมุทัยวาท และ (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ การคิดการดับเหตุที่ทำให้เกิดผลวิบากตามมา จาก อวิชชา ไปหา โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เมื่อ ดับอวิชชาได้ ก็ย่อม ดับทุกข์ได้ เช่นกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของฝ่ายนิโรธวาท ซึ่งทำให้แจ้งถึงภาวะปราศจากทุกข์ทั้งปวง นั่นคือ สัจฉิกิริยา แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดทั้ง ๒ ประการ ดังกล่าวนี้ ก็เกิดจากปัญญาที่รู้เห็นธรรมตามความจริงว่า: สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ตามอรรถในธรรม [ธรรมฐิติยถาภูตธรรมสัมมาทัสสนะ] ดังกล่าวนี้ ทำให้สิ้นความสงสัยในการปฏิบัติธรรมว่าใช่ทางหรือไม่ใช่ทางได้ ซึ่งเป็น องค์ความรู้แห่งภูมิธรรม [ธรรมนิยาม ๓] ที่กำลังเกิดจากการทำ โยนิโสมนสิการ ในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ต่อยอดองค์ความรู้มาจาก การเจริญสมถภาวนา ที่ได้บรรลุถึง จตุตถฌานฌานที่ ๔ [อุเบกขาเอกัคคตา] เป็นอย่างดีพร้อมแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น ฌายีบุคคลผู้ได้ฌานที่ ๔ ดีแล้ว จึงมีความถึงพร้อมด้วย ปัญญาในสมาธิ ที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิด ปัญญาในวิปัสสนา เทียบคู่กัน และเป็นเอกภาพเดียวกัน โดยธรรมทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ล่วงละเมิดซึ่งกันและกัน ดังนั้น ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสสนานั้น จะต้องเริ่มจากภาวะของผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ แรงกล้า ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นอยู่เนืองๆ ไปสู่ภาวะของผู้ปฏิบัติที่มี ราคะโทสะโมหะ ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวย ทุกข์โทมนัส เนื่องจาก ราคะโทสะโมหะ นั้นเนืองนิตย์ ได้แก่ (๑) ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญาปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า (๒) ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญาปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว (๓) สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญาปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า และ (๔) สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญาปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว ตามลำดับ ดังเช่น เจริญสมาธิได้ ฌาน ๔ อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุ โลกุตตรมรรค เร็วไว แต่ก็นึกไว้ก่อนว่าเริ่มต้นจาก ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญาปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ไว้ก่อน จะได้ตั้งหลักปฏิบัติได้ถูกทางไม่ไปอ่อนข้อให้กับพวกกิเลสทั้งหลายที่จะมาขัดขว้างการเข้าถึง กระแสแห่งอริยมรรค ในการปฏิบัติธรรมตน
ประการสุดท้ายนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านพึงสังวรระวังในข้อประพฤติปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้อย่างถ่องแท้ ไม่เกิดอาการหวั่นไหวหรือฟุ้งซ่านในคุณความดีของสัมมาปฏิปทา ตามคำสอนของพระศาสดา ก็พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ อันเป็นแก่นแท้ของพระศาสนา จะได้ไม่หลงผิดให้เสียเวลาเปล่าๆ ซึ่งถือเป็น ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส [สัลเลขธรรม] ได้แก่ (๑) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด (๒) วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด (๓) อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตา คือ ความมักน้อย (๕) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ (๖) ปวิเวก คือ ความสงัด (๗) วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร (๘) สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย
หรืออีกหมวดหนึ่ง ที่ถือเป็น ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส [สัลเลขธรรม] ได้แก่ (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง (๒) วิราคะ คือ ความไม่ติดพันเป็นอิสระ (๓) นิโรธ คือ ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบ (๕) อภิญญา คือ ความรู้ชัดยิ่ง (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน คือ ภาวะปราศจากทุกข์แล้ว
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไปตกอยู่ในภพภูมิใดในสถานที่ปฏิบัติธรรม ถ้าภาวะที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามคุณธรรมในเบื้องต้นที่กล่าวมานั้น ก็ไม่ใช่ปฏิปทาที่ต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา คือ มีความเป็นผิดพระธรรมวินัยอย่างแน่นอน และย่อมไม่ใช่ทางไปสู่ กระแสแห่งอริยมรรค และ กระแสแห่งพระนิพพาน ที่เรียกว่า เป็น ทางอันเอกแห่งมัชฌิมาปฏิปทา อย่างแน่นอน ก็ให้ งดละเลิก เสียดีกว่า.
|