๙๙. ความถึงพร้อมเชิงทฤษฎีในพระพุทธศาสนา The Perfections of Theory in Buddhism
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2015 ความสำคัญของบทความ
หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำแนกแจกธรรมทั้งหลายไว้ดีแล้ว เป็นทั้งหลักการและทฤษฎีที่อริยสาวกทั้งหลาย ได้ถือปฏิบัติด้วย ธัมมานุธัมมปฏิปทา จนบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณเป็นพระอรหันตขีณาสพไปแล้วมากมายหลายท่าน ฉะนั้น หลักธรรมคำสอนของพระตถาคตทั้งหลายนั้น สามารถพิสูจน์หรือยืนยันด้วยการปฏิบัติและปฏิเวธได้ว่า มีความเป็นจริงแห่งความตรัสรู้ เพราะอุดมด้วยคุณประโยชน์แห่งปัญญาครบบริบูรณ์ด้วย ๑๑ ประการ ได้แก่ (๑) ความเรียบง่ายSimplicity (๒) ความเป็นสากลUniversality (๓) ความสมมาตรSymmetry (๔) ความเที่ยงตรงValidity (๕) ความน่าเชื่อถือReliability (๖) ความยืดหยุ่นFlexibility (๗) ความหมุนเวียนRecursiveness (๘) ความสามารถพยากรณ์Predictability (๙) ความตรวจสอบตนเองSelfFalsification (๑๐) ความอยู่เหนือกาลเวลาTime Perpetuity และ (๑๑) ความจริงสูงสุดโดยปรมัตถ์Absolute Truth มนุษย์จะคิดอะไรในโลกนี้หรือโลกหน้าก็ตาม พระธรรมของพระศาสดานั้น ก็สามารถอธิบาย ภาวะจิตของมนุษย์ผู้นั้นได้อย่างละเอียดหมดจดไม่มีที่ตำหนิได้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกเส้นทางสายกลางแห่งปัญญา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้หลุดพ้นจากโลกแห่งวัฏสงสาร พระองค์ปฏิเสธธรรมทั้งหลายที่ยุ่งเกี่ยวกับโลกียภูมิ อันเป็นทางเสื่อมโดยกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งสังขารทั้งหลาย จะไปนึกคิดไตร่ตรองอะไรก็คิดไม่ออก สิ้นคิดสิ้นอุบายวิธีที่จะพ้นจากทุกข์ แนวคิดเชิงพุทธปรัชญานี้ ได้เกิดขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตกหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะมีปัญญามาก พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา [พระปัญญาธิกพุทธเจ้า] ไม่ใช่ร้องเพลาอ้อนวอนเทพเทวดาให้ช่วย แต่เน้นให้ทำเองคิดเองอย่างถูกวิธี ด้วยจิตเป็นสมาธิแห่งญาณทัสสนะ [อัปปมาทะ] อันเป็นจิตปราศจากนิวรณ์ [สมถะ = อาตาปี สัมปชาโน สติมา] และรู้เห็นรู้แจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาหยั่งรู้ [โยนิโสมนสิการ] ที่เป็นปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง [วิปัสสนา = ยถา ปชานํ] เมื่อผู้เจริญภาวนากรรมฐานให้มากอย่างชาญฉลาด [โกศล ๓อนุตตริยะ ๓สัมมัตตะ ๑๐] นั้น ย่อมเกิดปัญญาแตกฉานโดยปริยาย ที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทา ๔ และย่อมกลายเป็นผู้รู้แจ้งโลก ชื่อว่า โลกวิทู (ข้อ ๕ ในพุทธคุณ ๙) หมายถึง พระตถาคตทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลายทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ ฉะนั้น พระธรรมทั้งหลายของพระองค์ จึงเป็น ทฤษฎีต้นแบบ [Prototype Theory] อันเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีในศาสตร์สมัยใหม่ทั้งหลายโดยประจักษ์ชัด เพียงแต่ศึกษาให้ดีๆ มีของดีให้รู้เห็นเท่านั้นเอง.
บทความที่ ๙๙ ประจำปี ๒๕๕๘ ความถึงพร้อมเชิงทฤษฎีในพระพุทธศาสนา
คุณสมบัติอันเป็นเลิศของพระธรรมในพระพุทธศาสนานั้น ย่อมอยู่เหนือข้อจำกัดทางทฤษฎีฝ่ายโลกียธรรม เพราะเป็น การอธิบายถึงข้อสรุป [Generalizations: การหาข้อสรุปหลักการ] ถึง สภาวธรรม อันเป็น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ [Natural Phenomena = สรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาล] ทั้งหมดได้จริง เพราะฉะนั้น หลักธรรม [พระอภิธรรมไตรปิฎก] จึงสามารถอธิบายสภาวธรรมทั้งหลายได้ตามเป็นจริง ไม่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของมนุษย์ เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ที่เรียกว่า ปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths = วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์Pure Science] โดยยึดเอา ธรรมชาติเป็นครู ที่นับรวมจากสภาวะที่เป็นจริงตาม กฎธรรมชาติ [Natural Law] นั่นคือ การศึกษาวิจัย การค้นคว้า การแสวงหาความรู้ ที่เกิดจากแหล่งความรู้ภายในตนเอง ได้แก่ ร่างกายกับจิตใจ [Body and Mind = Life Science คือ วิทยาศาสตร์ชีวิตหรือจิตวิญญาณ] โดยต้องสุ่มเก็บข้อมูลด้วยตนเอง จากร่างกายและจิตใจของตนเอง อันถือเป็นงานภาคสนามหรือห้องทดลองทางการวิจัยธรรม [ธัมมวิจยะ] แล้วเฝ้าสังเกตการณ์ให้ประจักษ์ [Empiricalism = ประจักษ์นิยม] หรือรู้เห็นแจ้งด้วยตนเอง [Realism = สัจจนิยม] ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้านั้น คือ สมาธิConcentration หมายถึง ภาวะจิตที่ตั้งมั่นแน่วนอนในอารมณ์เดียว ที่เรียกว่า เอกัคคตาแห่งสมาธิ [จิตตสมาธิ] อันเกิดจากการบำเพ็ญเพียรตบะหรือการเจริญฌานสมาบัติ ที่เรียกว่า รูปฌาน ๔ หรือที่เรียกว่า สมถะสมถภาวนาสมถกรรมฐานสมาธิภาวนาจิตตภาวนา [ภาษาชาวบ้าน คือ นั่งสมาธิ] เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้ฌานแล้ว ก็ก้าวสู่บาทวิถีแห่งวิปัสสนาภูมิ ที่เรียกว่า วิปัสสนาวิปัสสนาภาวนาวิปัสสนากัมมัฏฐานปัญญาภาวนา [ภาษาชาวบ้าน คือ เล็งญาณ] ตามความเป็นจริงนั้น ต่างก็เรียกว่า ฌาน ๒ (Meditation) ดังนี้
ฌาน ๒ หมายถึง การเพ่งเพื่อสืบหาความจริงด้วยสมาธิ การเพ่งพินิจตรวจสอบค้นหาสภาวธรรมด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ได้แก่ (๑) อารัมมณูปนิชฌาน คือ การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ ด้วยการเลือกอารมณ์แห่งกรรมฐาน ๔๐ อย่าง เป็นเครื่องมือในการฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิ แต่ที่ควรฝึกในเบื้องต้น คือ อานาปานสติกรรมฐานอานาปานสติสมาธิ คือ กำหนดสติตามพิจารณาลักษณะของ ลมหายใจเข้าอัสสาสะ กับ ลมหายใจออกปัสสาสะ (๒) ลักขณูปนิชฌาน คือ การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และ ผล โดยจำแนก ดังนี้ วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจนามรูปแห่งสังขารโดยไตรลักษณ์ มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และ อัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และ เพราะเห็นลักษณะอันเป็น สัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นนี้ ให้ทำความเข้าใจที่ถูกต้องและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เกี่ยวกับ คุณสมบัติแห่งพระธรรม ของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตนเป็นเอกเทศในเชิงทฤษฎี ๑๑ ประการ ดังนี้
ธรรมคุณ ๖ หมายถึง คุณของพระธรรม ได้แก่ (๑) สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง = มีความหมายกว้างรวมทั้ง ปริยัติธรรม (๒) สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้ = มุ่งให้เป็น คุณของโลกุตตรธรรม หรือ คุณบทอันเป็นสัจจภาวะแห่งพระนิพพาน (๓) อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล = มุ่งให้เป็น คุณของโลกุตตรธรรม หรือ คุณบทอันเป็นสัจจภาวะแห่งพระนิพพาน (๔) เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง = มุ่งให้เป็น คุณของโลกุตตรธรรม หรือ คุณบทอันเป็นสัจจภาวะแห่งพระนิพพาน (๕) โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา คือ ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน = มุ่งให้เป็น คุณของโลกุตตรธรรม หรือ คุณบทอันเป็นสัจจภาวะแห่งพระนิพพาน (๖) ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ [ติ] อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญูชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง = มุ่งให้เป็น คุณของโลกุตตรธรรม หรือ คุณบทอันเป็นสัจจภาวะแห่งพระนิพพาน
ลักษณะเฉพาะตนเชิงทฤษฎี ๑๑ ประการ (๑) ความเรียบง่ายSimplicity (๒) ความเป็นสากลUniversality (๓) ความสมมาตรSymmetry (๔) ความเที่ยงตรงValidity (๕) ความน่าเชื่อถือReliability (๖) ความยืดหยุ่นFlexibility (๗) ความหมุนเวียนRecursiveness (๘) ความสามารถพยากรณ์Predictability (๙) ความตรวจสอบตนเองSelfFalsification (๑๐) ความอยู่เหนือกาลเวลาTime Perpetuity (๑๑) ความจริงสูงสุดโดยปรมัตถ์Absolute Truth
(๑) ความเรียบง่ายSimplicity หลักธรรมไม่มีลักษณะเขียนเป็นสูตรที่ซับซ้อน เรียบเรียงเป็นหลักธรรมคล้ายรายการคำศัพท์ในพจนานุกรม โดยแยกเป็นหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกัน หรือแตกต่างกันออกไป โดยจัดหมวดหมู่เป็นแก่นแท้พระศาสนา ๓ หมวด [สัทธรรม ๓] ได้แก่ (๑) ปริยัตติสัทธรรม คือ สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ (๒) ปฏิปัตติสัทธรรม (สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (๓) ปฏิเวธสัทธรรม คือ สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และ นิพพาน
หรืออาจจำแนกเห็นกองหรือหมวด ที่เรียกว่า ธรรมขันธ์ ๕ หมายถึง ประมวลธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหัวข้อใหญ่ ได้แก่ (๑) สีลขันธ์ คือ กองศีล หมวดศีล ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น อปจายนมัยเวยยาวัจจมัยปาติโมกขสังวรกายสุจริตสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ เป็นต้น (๒) สมาธิขันธ์ คือ กองสมาธิหมวดสมาธิ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ฉันทะวิริยะจิตตะสัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ เป็นต้น (๓) ปัญญาขันธ์ คือ กองปัญญา หมวดปัญญา ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ธัมมวิจยะวิมังสาปฏิสัมภิทาสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เป็นต้น (๔) วิมุตติขันธ์ คือ กองวิมุตติ หมวดวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ปหานวิราคะวิโมกข์วิสุทธิสันตินิโรธนิพพาน เป็นต้น (๕) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คือ กองวิมุตติญาณทัสสนะ หมวดธรรมเกี่ยวกับการรู้การเห็นในวิมุตติ ประมวลธรรมทั้งหลาย เช่น ผลญาณปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น
(๒) ความเป็นสากลUniversality ในพระธรรมหมวดปฏิปัตติสัทธรรมนั้น เป็นการเน้น สากลลักษณะ ของหลักธรรมเชิงทฤษฎี เช่น ความเป็นหลักการตามธรรมชาติ กฎธรรมชาติ [Natural Law] ที่อธิบายความจริงสภาวธรรมทั้งหลายได้ ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปัจจัย ๒๔กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาสามัญลักษณะโดยไตรลักษณ์ [อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา] ธรรมนิยาม ๓สังขตลักษณะ ๓อสังขตลักษณะ ๓ปรมัตถธรรม ๔ เป็นต้น หลักธรรมที่จัดเป็นหมวดหมู่สามารถอธิบายปรากฏการณ์หรือสภาวธรรมได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่จัดเป็นทั้ง โลกียธรรม และ โลกุตตรธรรม และยังสามารถอธิบายมิติความสัมพันธ์ได้อย่างไม่จำกัดขอบเขต ดังเช่น
ธรรมนิยาม ๓ หมายถึง กำหนดแห่งธรรมดา ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา กฎธรรม ชาติ ได้แก่ (๑) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา คือ สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง (๒) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา คือ สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ (๓) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือ ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน
สังขตลักษณะ ๓ หมายถึง ลักษณะแห่งสังขตธรรม คือ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ได้แก่ (๑) อุปฺปาโท ปญฺญายติ คือ ความเกิดขึ้น ปรากฏ (๒) วโย ปญฺญายติ คือ ความดับสลาย ปรากฏ (๓) ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ คือ เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อสังขตลักษณะ ๓ หมายถึง ลักษณะแห่งอสังขตธรรม ได้แก่ (๑) น อุปฺปาโท ปญฺญายติ คือ ไม่ปรากฏความเกิด (๒) น วโย ปญฺญายติ คือ ไม่ปรากฏความสลาย (๓) น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ คือ เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปร
ปรมัตถธรรม ๔ หมายถึง สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ได้แก่ (๑) จิต คือ สภาพที่คิด ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ (๒) เจตสิก คือ สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต (๓) รูป คือ สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ (๔) นิพพาน คือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหา
(๓) ความสมมาตรSymmetry ความเกี่ยวเนื่องกันของธรรมทั้งหลาย [สภาวธรรม] ทำให้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา สามารถอธิบายปรากฏการณ์แห่งชีวิตได้อย่างสมบูรณ์บริบูรณ์ หรือได้อย่างครอบคลุมทุกประเด็นของรูปแบบการดำเนินชีวิตที่อยู่ในสังคม เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมทั้ง ๑๐ ประการ นี้ ย่อมบรรลุสัมโพธิญาณได้จริง หรือมิฉะนั้น ก็เป็นคนดีของสังคม เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม ดังนี้
I. ธรรมที่เป็นหลักใหญ่ใจความ 1. ธรรมที่เป็นหลักทั่วไป (หรือมีขอบเขตครอบคลุม) 2. ธรรมที่เป็นหลักการสำคัญ (จัดโดยสงเคราะห์ในอริยสัจจ์ ๔) ก. ปริญไญยธรรม ข. ปหาตัพพธรรม ค. สัจฉิกาตัพพธรรม ง. ภาเวตัพพธรรม II. ธรรมสำหรับทุกคน 1. ธรรมเพื่อเป็นคุณสมบัติของสัปปุริสชน (หรือธรรมเพื่อเสริมความเป็นมนุษย์) 2. ธรรมเพื่อดำเนินชีวิตให้งอกงามบรรลุประโยชน์สุข 3. ธรรมเพื่อพิจารณาเตือนสติมิให้ประมาท III. ธรรมเพื่อความดีงามแห่งสังคม 1. ธรรมเพื่อส่งเสริมชีวิตที่ดีร่วมกัน 2. ธรรมเพื่อปกครอง คือจัดและคุ้มครองชีวิตที่ดีร่วมกัน IV. ธรรมสำหรับคฤหัสถ์หรือผู้ครองเรือน 1. ธรรมเพื่อชีวิตครอบครัว 2. ธรรมเพื่อความสัมพันธ์ในสังคม 3. ธรรมเพื่อความอยู่ดีทางเศรษฐกิจ 4. ธรรมที่คฤหัสถ์พึงหลีกเว้น V. ธรรมสำหรับอุบาสก คือ ผู้ใกล้ชิดศาสนา 1. ธรรมที่พึงมี พึงปฏิบัติ 2. ธรรมที่พึงหลีกเว้น 3. ธรรมที่พึงทราบเพื่อเสริมการปฏิบัติ VI. ธรรมสำหรับภิกษุสงฆ์ 1. ธรรมเพื่อความดีงามในฐานเป็นภิกษุ 2. ธรรมเพื่อความดีงามในฐานเป็นสมาชิกแห่งสงฆ์ 3. ธรรมเพื่อความดีงาม ความสำเร็จในฐานเป็นผู้สั่งสอน VII. สภาวธรรม: ธรรมดาและธรรมชาติ 1. ธรรมดา หรือ กฎธรรมชาติ 2. สภาวะอันพึงรู้ตามที่เป็น 3. สภาวะเนื่องด้วยระดับชีวิตจิตใจของสัตว์ 4. สภาวะอันเป็นโทษ อกุศลธรรมอันพึงละ VIII. ปฏิปัตติธรรม 1. หลัก วิธีการ ข้อปฏิบัติ อุปกรณ์ และคุณสมบัติ ที่เกื้อหนุนการปฏิบัติ 2. ผลสำเร็จของการปฏิบัติธรรมและเครื่องกำหนดผลในการปฏิบัติ 3. บุคคลผู้บรรลุผลแห่งการปฏิบัติ IX. พระพุทธศาสนา 1. หลักศาสนา 2. ศาสนคุณ 3. ความเชื่อและการปฏิบัตินอกหลักพุทธศาสนา X. พิเศษ: ธรรมเกี่ยวกับการศึกษา
(๔) ความเที่ยงตรงValidity หลักธรรมในแต่ละหมวด มีมาตรฐานแห่งการปฏิบัติที่แน่นอน ไม่มีการอ่อนข้อ หรืออนุโลมตามใจผู้ปฏิบัติธรรม ถ้าประพฤติปฏิบัติตามข้อธรรมนั้นๆ ไม่ได้ ย่อมไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง นั่นคือ ไม่สามารถเป็น อริยบุคคล ๔ ได้ คือ โสดาบันสกทาคามีอนาคามีอรหันต์ ตามลำดับ ฉะนั้น ความเที่ยงตรงก็คือความถูกต้องหรือภาวะอันถูกต้องในการปฏิบัติตามแนวทางดำเนินเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง เช่น สัมมัตตะ ๑๐วิสุทธิ ๗ ดังนี้
สัมมัตตะ ๑๐ หมายถึง สภาวะที่ถูกต้องสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ เห็นไตรลักษณ์ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือ เห็นปฏิจจสมุปบาท (๒) สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมะ อพยาบาท อวิหิงสา (๓) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ (๔) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ (๕) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ (๖) สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน ๔ หรือ สัมมัปปธาน ๔ (๗) สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ (๘) สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ (๙) สัมมาญาณ คือ รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ และ ปัจจเวกขณญาณทั้ง ๑๙ ประเภท (๑๐) สัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ
วิสุทธิ ๗ หมายถึง ความหมดจด ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน ได้แก่ (๑) สีลวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งศีล นั่นคือ รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ วิสุทธิมัคค์ว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ (๒)จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต นั่นคือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา วิสุทธิมัคค์ว่า ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอุปจาร (๓) ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั่นคือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริงเป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] (๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ นั่นคือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ และจัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ (๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง นั่นคือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย [ไตรลักษณ์สามัญลักษณะ ได้แก่ อนิจจังทุกขัง อนัตตา] อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือวิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมี วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณ นั้นต่อไป ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์ (๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน นั่นคือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิด โคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่ง ความเป็นปุถุชน กับ ความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ ๙ [กระบวนการทุบขันธ์ ๕] (๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ นั่นคือ ความรู้ใน อริยมรรค ๔มรรคญาณ [ปัญญาอริยะโลกุตตรปัญญา] อันเกิดถัดจาก โคตรภูญาณ เป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจาก มรรคญาณ นั้นๆ ความเป็นอริยบุคคล ย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
(๕) ความน่าเชื่อถือReliability ปฏิเวธสัทธรรม คือ หลักธรรมที่แสดงผลลัพธ์แห่งการปฏิบัติ ที่เรียกว่า อธิคมธรรม [อุตตริมนุสสธรรม] นั่นคือ ถ้าบุคคลใดปฏิบัติตามแล้วย่อมสามารถสำเร็จตามเป้าหมายแห่งโลกุตตรธรรม [มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] หรือพระสัตถุสาสน์อันเป็นคำสอนของพระศาสดา คือ พระนิพพาน ได้อย่างแน่นอน ดังเช่น หลักธรรมต่อไปนี้ อนุตตริยะ ๓อนุตตริยะ ๖อริยบุคคล ๔อรหันต์ ๕จรณะ ๑๕วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖ ดังนี้
อนุตตริยะ ๓ หมายถึง ภาวะอันยอดเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ คือ การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ ปัญญาอันเห็นธรรม หรืออย่างสูงสุดคือเห็นนิพพาน (๒) ปฏิปทานุตตริยะ คือ การปฏิบัติอันเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้ว กล่าวให้ง่ายหมายเอามรรคมีองค์ ๘ (๓) วิมุตตานุตตริยะ คือ การพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง หรือนิพพาน
อนุตตริยะ ๖ หมายถึง ภาวะอันยอดเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แก่ (๑) ทัสสนานุตตริยะ คือ การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวก รวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ (๒) สวนานุตตริยะ คือ การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และตถาคตสาวก (๓) ลาภานุตตริยะ คือ การได้อันเยี่ยม ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคตและตถาคตสาวก หรือการได้อริยทรัพย์ (๔) สิกขานุตตริยะ คือ การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิตต์ และอธิปัญญา (๕) ปาริจริยานุตตริยะ คือ การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคต และตถาคตสาวก (๖) อนุสสตานุตตริยะ คือ การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก
ศรัทธา ๔ หมายถึง ความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ได้แก่ (๑) กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ (๒) วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม (๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (๔) ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
สัทธา ๔ หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ความเลื่อมใส ซาบซึ้ง ชื่นใจ สนิทใจ เชื่อมั่นมีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไป ตามไปรับคุณความดีในบุคคลหรือสิ่ง นั้นๆ ความมั่นใจในความจริง ความดีสิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ได้แก่ (๑) อาคมนสัทธา [อาคมนียสัทธาอาคมสัทธา] คือ ความเชื่อความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี เช่น บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมีของพระอุคฆฏิตัญญูโพธิสัตว์ ผู้สร้างสมบารมีปัญญามาก เรียกว่า พระปัญญาธิกพุทธเจ้า นั่นคือ พระพุทธเจ้าศรีศากยมุนีโคตม องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภัทรกัปปัจจุบัน (๒) อธิคมสัทธา [อธิคมนสัทธา] คือ ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ (๓) โอกัปปนสัทธา [โอกัปปนียสัทธาอธิโมกข์อธิโมกขสัทธา] คือ ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่วเมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง (๔) ปสาทสัทธา คือ ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง
อริยบุคคล ๔ หมายถึง บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้บรรลุธรรมพิเศษตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป ผู้เป็นอารยะในความหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ (๑) โสดาบัน คือ ผู้ถึงกระแส ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว (๒) สกทาคามี คือ ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว (๓) อนาคามี คือ ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว (๔) อรหันต์ คือ ผู้ควรผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
อรหันต์ ๕ หมายถึง ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านผู้สมควรรับทักษิณาและการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ได้แก่ (๑) ปัญญาวิมุต คือ ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา (๒) อุภโตภาควิมุต คือ ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อน แล้วได้ปัญญาวิมุตติ (๓) เตวิชชะ คือ ผู้ได้วิชชา ๓ (๔) ฉฬภิญญะ คือ ผู้ได้อภิญญา ๖ (๕) ปฏิสัมภิทัปปัตตะ คือ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔
จรณะ ๑๕ [เสขปฏิปทา] หมายถึง ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา [วิชชา ๓วิชชา ๘] ได้แก่ สีลสัมปทา ๑ อปัณณกปฏิปทา ๓ สัทธรรม ๗ ฌาน ๔ ดังนี้
(๑) สีลสัมปทาแห่งสังวร ๕ หมายถึง ความสำรวมความระวังปิดกั้นบาปอกุศล [สังวรศีล: ศีลคือสังวรความสำรวมเป็นศีล] ได้แก่ (๑) ปาฏิโมกขสังวร คือ สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาฏิโมกข์ (๒) สติสังวร คือ สำรวมด้วยสติ นั่นคือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลธรรมเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น = อินทรียสังวร (๓) ญาณสังวร คือ สำรวมด้วยญาณ นั่นคือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่ = ปัจจัยปัจจเวกขณ์ (๔) ขันติสังวร คือ สำรวมด้วยขันติ นั่นคือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ (๕) วิริยสังวร คือ สำรวมด้วยความเพียร นั่นคือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิ = อาชีวปาริสุทธิ
(๒) อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ (๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ นั่นคือ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๒) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค นั่นคือ รู้จักพิจารณารับประทานอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (๓) ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน นั่นคือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
(๓) สัทธรรม ๗ หมายถึง ธรรมที่ดีธรรมที่แท้ธรรมของคนดีธรรมของสัตบุรุษ ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ มีความเชื่อประกอบด้วยเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) หิริ คือ มีความละอายต่อบาป (๓) โอตตัปปะ คือ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป (๔) พาหุสัจจะ คือ มีความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก (๕) วิริยารัมภะ คือ มีความเพียรอันปรารภแล้ว (๖) สติ คือ มีสติมั่นคง ความระลึกได้ ความสำนึกพร้อมอยู่ (๗) ปัญญา คือ มีความรอบรู้ เข้าใจชัดในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และ รู้ที่จะจัดการ
(๔) ฌาน ๔รูปฌาน ๔ [อารัมมณูปนิชฌาน] หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ (๑) ปฐมฌานฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌานฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌานฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌานฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา
วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ (๓) อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือ ความตรัสรู้
วิชชา ๘ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) วิปัสสนาญาณ คือ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือ นามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน (๒) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ (๓) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๔) ทิพพโสต คือ หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ (๘) อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
อภิญญา ๖ หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด ได้แก่ (๑) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
(๖) ความยืดหยุ่นFlexibility หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการนำไปใช้ในชีวิตจริงและในการปฏิบัติธรรม คือ การเจริญภาวนากรรมฐาน [สมถะวิปัสสนา] โดยอาศัยระดับชั้นของปัญญาผู้ปฏิบัติธรรมเป็นเกณฑ์ในการแบ่งคุณบทแห่งบุคคล เช่น อริยบุคคล ๔ [โสดาบันสกทาคามีอนาคามีอรหันต์] หรือ อรหันต์ ๕ [ปัญญาวิมุตอุภโตภาควิมุตเตวิชชะฉฬภิญญะปฏิสัมภิทัปปัตตะ] แต่หลักธรรมไม่ใช่มีดใช้ตัดคอคน ผู้ล้มเหลวในการปฏิบัติธรรม แต่ให้มีชีวิตไปตามระดับภูมิปัญญาเท่าที่มี ให้มีเมตตาธรรม คือ ปล่อยไปตามกรรมของใครของมัน [ยถากรรม] ฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจัดประเภทบุคคลออกเป็น ๔ จำพวก บุคคล ๔ ได้แก่ (๑) อุคฆฏิตัญญู คือ ผู้ที่พอยกหัวข้อก็รู้ ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง (๒) วิปจิตัญญู คือ ผู้รู้ต่อเมื่อขยายความ ผู้รู้เข้าใจได้ ต่อเมื่อท่านอธิบายความพิสดารออกไป (๓) เนยยะ คือ ผู้ที่พอจะแนะนำได้ ผู้ที่พอจะค่อยชี้แจงแนะนำให้เข้าใจได้ ด้วยวิธีการฝึกสอนอบรมต่อไป (๔) ปทปรมะ คือ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ผู้อับปัญญา สอนให้รู้ได้แต่เพียงตัวบทคือพยัญชนะ หรือถ้อยคำ ไม่อาจเข้าใจอรรถคือความหมาย ดังเช่นหลักธรรม ปฏิสัมภิทา ๔โกศล ๓ ดังนี้
ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ได้แก่ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึง ผลผลวิบาก ในกาลทั้ง ๓ = กำหนดรู้ทุกขสัจจ์ หรือ ปริญญาในกิจแห่งทุกข์ (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ คือ เหตุสาเหตุเหตุปัจจัย ในกาลทั้ง ๓ = กำหนดรู้สมุทัยสัจจ์ หรือ ปหานะในกิจแห่งสมุทัย (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ปรีชาแจ้งในภาษา รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติและภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ = กำหนดรู้นิโรธสัจจ์ หรือ สัจฉิกิริยาในกิจแห่งนิโรธ (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ = กำหนดรู้มรรคสัจจ์ หรือ ภาวนาในกิจแห่งมรรค
โกศล ๓ หมายถึง ความฉลาดความเชี่ยวชาญ = ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ได้แก่ (๑) อายโกศล คือ ความฉลาดในความเจริญ รอบรู้ทางเจริญและเหตุของความเจริญ (๒) อปายโกศล คือ ความฉลาดในความเสื่อม รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม (๓) อุปายโกศล คือ ความฉลาดในอุบาย รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
(๗) ความหมุนเวียนRecursiveness หลักธรรมในพระพุทธศาสนา อธิบายภาพรวมของวิถีชีวิตที่สืบเนื่องหมุนเวียนใน วัฏสงสารสังสาระสังสารวัฏ [สังสารทุกข์ = ทุกข์แล้วทุกข์อีกไม่ยอมเลิกเพราะความไม่รู้แห่งอวิชชา] หรือ ภวจักร ที่เรียกว่า ชีวิตสันตติ อันเป็นไปตาม กฎแห่งกรรม และ กัมมัสสกตา [โดยอาศัยปัญญาในจุตูปปาตญาณหรือทิพพจักขุญาณ ที่เกิดขึ้นในภูมิแห่งสมถะและวิปัสสนา] แนวคิดในพระพุทธศาสนาที่เป็นมุมมองเรื่องชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ที่มี การเกิด ๑ การตั้งอยู่ ๑ การดับไป ๑ ที่เป็นธรรมดาตามกฎธรรมชาติ ไม่ใช่ความเชื่อที่ขาดเหตุผลและไม่ประกอบด้วยปัญญาแต่ประการใด เพราะภาวะเกิดดับนี้ (๑) มีอาการหมุนเวียน [เป็นวงเวียนเวลาชีวิต = Circular Time-Line of Life] คือ เกิดขึ้นซ้ำๆ กันReoccurrences จนกว่าจะตาย และ (๒) มีอาการนั้นๆ เกิดสืบเนื่องต่อกันไป [เป็นเส้นตรงเวลาชีวิต = Linear Time-Line of Life] คือ มีความแปรปรวน Derivation มีความเปลี่ยนแปลง [วิปริณามวิปริณามทุกขตา ] Change หรือ ประกอบด้วยการปริวัฏฏ์ภายใน Transformation เช่น อุปัตติภพชราพยาธิมรณะและสังกิเลส [กิเลสเครื่องเศร้าหมองในจิตใจ] เป็นต้น หลักธรรมแสดงบทเป็นทฤษฎีบรรยายหรือพรรณนาสภาวธรรมแห่งชีวิตได้อย่างละเอียดประณีต ได้แก่ วัฏฏะ ๓ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นต้น ดังนี้
วัฏฏะ ๓ไตรวัฏฏ์ หมายถึง องค์ประกอบที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของ ภวจักรสังสารจักร ได้แก่ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ประกอบด้วย อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ประกอบด้วย สังขารและกรรมภพ (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพชาติชรามรณะ และตามด้วย โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท [ฝ่ายสมุทัยวาร] กำหนดรู้สาเหตุ [สมุทัยสัจจ์กรรมปัจจัย เมื่อเกิด อวิชชา ตามลำดับ]: (๑) อดีต ๒ = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน ๘ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต ๒ = ชาติชรามรณะ กำหนดรู้ผลวิบาก [นิสสันท์วิปากปัจจัย จึงเกิดทุกข์]: โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส [สังกิเลส] = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
(๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท [ฝ่ายนิโรธวาร] กำหนดดับสาเหตุ [นิโรธสัจจ์กรรมปัจจัย เมื่อสำรอกดับ อวิชชา ตามลำดับ]: (๑) อดีต ๒ = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน ๘ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต ๒ = ชาติชรามรณะ กำหนดรู้ผลวิบาก [นิสสันท์วิปากปัจจัย จึงดับทุกข์]: โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส [สังกิเลส] = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
(๘) ความสามารถพยากรณ์Predictability ญาณ ๓ หมายถึง ความหยั่งรู้ ปรีชาหยั่งรู้ อันเกี่ยวกับกาลทั้ง ๓ ได้แก่ (๑) อตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๒) อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต รู้อนาคตและหยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ (๓) ปัจจุปปันนังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน รู้ปัจจุบันโดยกำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่
วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ (๓) อาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือ ความตรัสรู้
วิชชา ๘ หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) วิปัสสนาญาณ คือ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือ นามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน (๒) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ (๓) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๔) ทิพพโสต คือ หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ (๘) อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
อภิญญา ๖ หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด ได้แก่ (๑) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
(๙) ความตรวจสอบตนเองSelfFalsification
ปัจจเวกขณญาณ [ปัจจเวกขณญาณทั้ง ๑๙ ประเภท] หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ (๑) สำรวจรู้มรรค (๒) สำรวจรู้ผล (๓) กิเลสที่ละแล้ว (๔) กิเลสที่เหลืออยู่ และ (๕) นิพพาน (ให้เปรีบเทียบกับ นิโรธ ๕) เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะเกิด ญาณทัสสนะ ๑๙ ประเภท หรือ ปัจจเวกขณวิถี ๑๙ ประการ โดยใช้ปัญญาหยั่งรู้และญาณทัสสนะทบทวนใน มรรควิถี ๔อริยมรรค ๔มรรค ๔มรรคญาณ ๔ กับ สามัญผล ๔ผล ๔ผลญาณ ๔ เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบ ได้แก่
(๑๐) ความอยู่เหนือกาลเวลาTime Perpetuity อกาลิโก [Timelessness] หมายถึง ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล ในความเป็นจริงหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความรู้อันประเสริฐสูงสุดแห่งมวลมนุษยชาติที่วิวัฒน์ขึ้นมา [เช่น อริยสัจจ์ ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘] ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องมาพิสูจน์ เช่น ทฤษฎีในศาสตร์สาขาต่างๆ ที่ต้องทำการวิจัยศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อยืนยันหรือรับรองทฤษฎีนั้นๆ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เพื่อให้รู้เห็นจริงตามคำสอนของพระองค์ โดยไม่จำกัดเวลา ปฏิบัติเมื่อใด ก็พบความจริงเมื่อนั้น ที่เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึง ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์ พระองค์ทรงไม่สรรเสริญปาฏิหาริย์ใน ๒ อย่าง ไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นจากสังสารทุกข์ได้ คือ (๑) อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ และ (๒) อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์คือการทายใจ รอบรู้กระบวนของจิต จนสามารถกำหนดอาการที่หมายเล็กน้อย แล้วบอกสภาพจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้องเป็นอัศจรรย์
(๑๑) ความจริงสูงสุดโดยปรมัตถ์Absolute Truth ความจริงสูงสุดโดยปรมัตถ์ [ปรมัตถสัจจะ Absolute Truths] นั้น เป็นภาวะที่ถูกต้องดีเยี่ยม ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องแสวงหาองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ ด้วยการเจริญภาวนากรรมฐาน [มนสิกการกรรมฐาน] ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา อันเป็นภาวะประเสริฐด้วยข้อประพฤติปฏิบัติที่อยู่ใน อริยภูมิ หรือ โลกุตตรภูมิ ซึ่งไม่ใช่คติใน โลกียธรรม คือ ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่เป็นสาสวะทั้งหมด โดยรวมแล้ว เรียกว่า ดิรัจฉานวิชา คือ วิชาความรู้ที่ใช้ประกอบอาชีพตามปกติในสังคม ไม่ได้ช่วยให้ผู้ถือครอบพ้นกิเลสและทุกข์ทั้งหลายได้จริง ซึ่งจะรวมเอาวิชาทางไสยาศาสตร์ คาถาอาคม เวทมนต์ ไว้ด้วย ปรมัตถ์ ดังกล่าวนี้ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗โลกุตตรธรรม ๙ปรมัตถธรรม ๔ปรมัตถสัจจะ ดังนี้
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ [อภิญญาเทสิตธรรม] หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค หรือ เอกายนมรรค หมายถึง ทางอันเอก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้
(๑) สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ที่ตั้งของสติการตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ซึ่งทำให้ลุถึง อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [ยถา ปชานํ] นั่นคือ ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ในความหมายรวมๆ ฉะนั้น การเจริญธรรม มหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นด่านแรกแห่งการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า อริยมรรค ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา โดยจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง นั่นคือ (๑) อานาปานสติ กำหนดลักษณะลมหายใจเข้าออก อัสสาสะปัสสาสะ ควรใช้เจริญฌานในขั้นแรก (๒) อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (๓) สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (๔) ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (๕) ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ และ (๖) นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็น สุขก็ดีทุกข์ก็ดีเฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส [มีเครื่องล่อวัตถุ] และเป็นนิรามิส [เป็นอิสระ] ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่ มีราคะไม่มีราคะมีโทสะไม่มีโทสะมีโมหะไม่มีโมหะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นั่นคือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒โพชฌงค์ ๗อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ
(๒) สัมมัปปธาน ๔ปธาน ๔ หมายถึง ความเพียรความเพียรชอบ ความเพียรใหญ่ ได้แก่ (๑) สังวรปธาน คือ เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น นั่นคือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น [ให้พิจารณาถึง อินทรียสังวร กับ สติสังวร] (๒)ปหานปธาน คือ เพียรละหรือเพียรกำจัด นั่นคือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (๓) ภาวนาปธาน คือ เพียรเจริญเพียรก่อให้เกิด นั่นคือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น (๔) อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษา นั่นคือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ [ให้พิจารณาถึง อารักขกัมมัฏฐาน เพื่อความไม่ประมาท]
(๓) อิทธิบาท ๔ หมายถึง คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ซึ่งต้องเป็นองค์ประกอบภายในตน ที่เรียกว่า พลังความคิดขวัญกำลังใจแรงดลบันดาลใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ ความเป็นเลิศ ความถึงพร้อมสมบูรณ์ในทุกด้าน ได้แก่ (๑) ฉันทะ คือ ความพอใจ นั่นคือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป = พอใจศรัทธาเลื่อมใส (๒)วิริยะ คือ ความเพียร นั่นคือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย = ขยันอดทนบากบั่น (๓) จิตตะ คือ ความคิดมุ่งไป นั่นคือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ = มุ่งมั่น (๔) วิมังสา คือ ความไตร่ตรองทดลอง นั่นคือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น = คิดวิเคราะห์แยกแยะหาผลปรับปรุงแก้ไข
(๔) อินทรีย์ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธินทรีย์ คือ ความเชื่อ ย่อมระงับปิดกั้นความไร้ศรัทธาอสัทธา (๒)วิริยะวิริยินทรีย์ คือ ความเพียร ย่อมระงับปิดกั้นความเกียจคร้านโกสัชชะ (๓) สติสตินทรีย์ คือ ความระลึกได้ ย่อมระงับปิดกั้นความประมาทปมาทะ (๔) สมาธิสมาธินทรีย์ คือ ความตั้งจิตมั่น ย่อมระงับปิดกั้นความฟุ้งซ่านอุทธัจจะ (๕) ปัญญาปัญญินทรีย์ คือ ความรู้ทั่วชัด ย่อมระงับปิดกั้นความหลงลืมสติโมหะ หรือ อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ไม่เห็น ขัดข้องเพราะ อวิชชาความหลงอกุศลมูล หรือ มุฏฐสัจจะ คือ การอยู่อย่างขาดสติไม่มีสติระลึกตามไปไม่ได้ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้นึกไม่ออกจำไม่ได้ฟั่นเฟือนหลงลืมหลงเลือนหลงใหลไปหลงพร้อม คือ สมฺโมหวิหาโร แปลว่า อยู่ด้วยความหลง [ตั้งนโมไม่ทัน]
(๕) พละ ๕ หมายถึง ธรรมที่เป็นกำลัง [ขวัญพลังใจแรงบันดาลจิตที่ตั้งมั่น เลื่อมใส ศรัทธา = อธิโมกข์] ให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามแต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้ [ดูปฏิปักษ์ธรรมเช่นเดียวกับ อินทรีย์ ๕] ได้แก่ (๑) สัทธาสัทธาพละ คือ ความเชื่อ นั่นคือ เลื่อมใส ศรัทธา เชื่อมั่นในอริยมรรค ระงับอสัทธา (๒)วิริยะวิริยพละ คือ ความเพียร นั่นคือ เพียรชอบในการละชั่วทำดี ระงับโกสัชชะ (๓) สติสติพละ คือ ความระลึกได้ นั่นคือ ไม่หลงลืม เลื่อนลอย ระงับปมาทะ (๔) สมาธิสมาธิพละ คือ ความตั้งจิตมั่น นั่นคือ ไม่ฟุ้งซ่านสัดส่าย ระงับอุทธัจจะ (๕) ปัญญาปัญญาพละ คือ ความรู้ทั่วชัด นั่นคือ โยนิโสมนสิการ ฉลาดคิดถูกวิธี ระงับโมหะ
(๖) โพชฌงค์ ๗ หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้องค์ธรรมตรัสรู้ ได้แก่ (๑) สติ คือ ความระลึกได้สำนึกพร้อมอยู่ใจอยู่กับกิจจิตอยู่กับเรื่อง ย่อมทำให้เกิด อุปัฏฐาน นั่นคือ สติชัด ประกอบด้วย สัมปชัญญะ ๔ (๒)ธัมมวิจยะ คือ ความเฟ้นธรรมความสอดส่องสืบค้นธรรมสามารถจำแนกแจกธรรมได้ ทำให้เกิด ญาณ นั่นคือ ความรู้ที่คมชัด (๓) วิริยะ คือ ความเพียรบากบั่นเพื่อทำดีละชั่ว ทำให้เกิด ปัคคาหะ นั่นคือ ความเพียรที่พอดี ที่ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ คือ ชาคริยานุโยค หรือ หมั่นประกอบกุศลธรรม คือ กุสลธัมมานุโยค (๔) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำในใจ ทำให้เกิด อธิโมกข์ นั่นคือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสท่วมล้นอย่างยิ่ง (๕) ปัสสัทธิ คือ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจความอิ่มใจปลาบปลื้ม ทำให้เกิด สุข (ปราโมทย์) นั่นคือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๖) สมาธิ คือ ความมีใจตั้งมั่นจิตสงบแน่วแน่ในอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้เกิด จตุตถฌานอัปปนาสมาธิ นั่นคือ สมาธิที่แน่วแน่ หรือ เอกัคคตา คือ ความมีอารมณ์เป็นอันเดียวตามระดับขั้นฌานทั้ง ๔ จนเป็นสมาธิในวิปัสสนา (๗) อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลางที่ลงตัวสนิทเพราะเห็นตามเป็นจริง ทำให้เกิด ตัตรมัชฌัตตตาตัตรมัชฌัตตุเปกขา นั่นคือ ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ ที่ผ่านเข้ามา ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
(๗) มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ทางมีองค์แปดประการ อันประเสริฐ เปรียบเทียบกับ จริยา ๘ คือ ความประพฤติ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือ เห็นปฏิจจสมุปบาท = ทัสสนจริยา การเห็นแจ้ง (๒)สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ =อภิโรปนจริยา มีกระบวนทัศน์ (๓) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔= ปริคคหจริยา สำรวมวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ = สมุฏฐานจริยา สร้างสรรค์ (๕) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ ประกอบสัมมาชีพ = โวทานจริยา ความบริสุทธิ์ (๖) สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ = ปัคคหจริยา หมั่นพากเพียร (๗) สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ = อุปัฏฐานจริยา สติชัดแก่กล้า (๘) สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ = อวิกเขปจริยา จิตสงบตั้งมั่นสนิท
โลกุตตรธรรม ๙ หมายถึง ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก สภาวะพ้นโลก ได้แก่ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง โลกุตตรภูมิ คือ ชั้นที่พ้นจากโลก ระดับแห่งโลกุตตรธรรม ระดับจิตใจของพระอริยเจ้าอันพ้นแล้วจากโลกียภูมิ ๓ ข้างต้น [กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ] ข้อนี้ในบาลีที่มาเรียกว่า อปริยาปันนภูมิ คือ ขั้นที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ ระดับที่ไม่ถูกจำกัด ดังนี้
อริยมรรค ๔ หมายถึง ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด ได้แก่ (๑) โสดาปัตติมรรค คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส และย่อมกำจัด กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสทิฏฐานุสัยวิจิกิจฉานุสัย) ได้ (๒) สกทาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง และย่อมกำจัด กิเลสหยาบๆ (กามราคสังโยชน์ปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบกามราคานุสัยปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ) ได้ (๓) อนาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ และย่อมกำจัด กิเลสละเอียด (กามราคสังโยชน์ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียดกามราคานุสัยปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด) ได้ (๔) อรหัตมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา และย่อมกำจัด กิเลสทั้งหลาย (รูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชามานานุสัยภวราคานุสัยอวิชชานุสัย) ได้หมด
อริยผล ๔สามัญญผล ๔ หมายถึง ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ ที่เรียกว่า สัมมาญาณ ดังนี้ (๑) โสดาปัตติผล คือ ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย (๒) สกทาคามิผล คือ ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย (๓) อนาคามิผล คือ ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย (๔) อรหัตตผล คือ ผลคือความเป็นพระอรหันต์ ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
นิพพาน ๒ หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ โดยดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ นั่นคือ กิเลสปรินิพพาน ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ ท่านผู้บรรลุอธิคมธรรมนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ (๒) อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ โดยดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ นั่นคือ ขันธปรินิพพาน ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว ท่านผู้บรรลุอธิคมธรรมนี้ เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ
ปรมัตถธรรม ๔ หมายถึง สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ได้แก่ (๑) จิต [จิต ๘๙] คือ สภาพที่คิด ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ (๒) เจตสิก [เจตสิก ๕๒] คือ สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต (๓) รูป [รูป ๒๘] คือ สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ (๔) นิพพาน [นิพพาน ๒] คือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหา
ปรมัตถสัจจะ หมายถึง ความจริงโดยปรมัตถ์ ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูปนามเวทนาจิตเจตสิก เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ องค์ความรู้ที่รวมถึง วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ [ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] และ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม: อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตา] ที่ใช้เป็นเกณฑ์ทำความเข้าใจในการเจริญภาวนากรรมฐาน ซึ่งหมายถึงธรรมทั้งหลายในหมวด ปฏิปัตติสัทธรรม [พระอภิธรรมไตรปิฎก] นั่นคือ ไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านี้ จะสัมปยุตต์กับ สัญญา ๑๐ ดังนี้
สัญญา ๑๐ หมายถึง ความกำหนดหมายสิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจหรือแนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน ได้แก่ (๑) อนิจจสัญญา คือ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (๒) อนัตตสัญญา คือ กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง (๓) อสุภสัญญา คือ กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย (๔) อาทีนวสัญญา คือ กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ (๕) ปหานสัญญา คือ กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม (๖) วิราคสัญญา คือ กำหนดหมายวิราคะ คือ อริยมรรค ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต (๗) นิโรธสัญญา คือ กำหนดหมายนิโรธ คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต (๘) สัพพโลเก อนภิรตสัญญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (๙) สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (๑๐) อานาปานัสสติ คือ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น จึงมีฐานะที่ถึงพร้อมด้วยความเป็นหลักทฤษฎีที่สมบูรณ์ ทั้งในทางคติโลกและทางคติธรรม แต่ที่มีความเหนือชั้นกว่าทฤษฎีทางโลกียะนั้น คือ ประกอบด้วย โลกียสัมมาทิฏฐิ และ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ อันมีข้อประพฤติปฏิปทาดำเนินชีวิตอยู่ในธรรมด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ และข้อทฤษฎีสุดท้ายที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทางแสดงธรรม คือ ปัจฉิมโอวาท หมายถึง คำสอนครั้งสุดท้าย ที่เรียกว่า ปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า:
วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ แปลว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง [ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น] ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด
ด้วยอรรถแห่งคำว่า อัปปมาทะ [Earnestness] หมายถึง ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความเจริญก้าวหน้า ตระหนักในสิ่งที่พึงทำและพึงละเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่อันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย กระทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบ และรุดหน้าเรื่อยไป หลักธรรมในทฤษฎีข้อนี้ (๑) เป็น องค์ประกอบภายใน ที่สามารถฝึกฝนได้ และ (๒) เป็น ฝ่ายสมาธิ [ส่วน โยนิโสมนสิการ (๑) เป็น องค์ประกอบภายใน ที่สามารถฝึกฝนได้ และ (๒) เป็น ฝ่ายปัญญา] นอกจากนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงสรรเสริญ อัปปมาทะ ในคุณลักษณะอื่นๆ อีก ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น
ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัษฎางคิกมรรค ก็คือ ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อารยอัษฎางคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย
รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น
ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ [ประโยชน์ปัจจุบันประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น] และสัมปรายิกัตถะ [ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจหรือคุณธรรม] ก็คือความไม่ประมาท
สังขาร [สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น] ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด
ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม
ฉะนั้น บุคคลผู้มีโอกาสดีที่ได้พบเห็นพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ศึกษาค้นคว้า ฟังเทศน์ฟังธรรม สนทนาธรรม กับผู้รู้ ผู้ทรงศีลทรงธรรม สัตบุรุษ พระอริยสงฆ์ ย่อมเป็นบุคคลที่มีโอกาสจะได้บรรลุคุณอันใหญ่แห่งโลกุตตรธรรม เหลือเพียงธรรมที่เป็นองค์ประกอบภายในอย่างเดียว ได้แก่ วิริยะขันติกรุณาปัญญา [โพธิสมภาร = คุณความดีทั้งหลายเฉพาะอย่างยิ่ง ประดาบารมีที่เป็นส่วนประกอบอันรวมกันให้สำเร็จโพธิ คือ ความตรัสรู้ หรือหมายถึง ทศบารมี คือ บารมีปฏิปทาอันยิ่ง ที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่ (๑) ทาน คือ การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์ (๒) ศีล คือ ความประพฤติถูกต้องสุจริต (๓) เนกขัมมะ คือ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ การออกบวช (๔) ปัญญา คือ ความรอบรู้เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหาและดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ (๕) วิริยะ คือ ความเพียรแกล้วกล้าบากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ (๖) ขันติ คือ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส (๗) สัจจะ คือ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง (๘) อธิษฐาน คือ ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ (๙) เมตตา คือ ความรักความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข และ (๑๐) อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ] เท่านั้น ว่าจะหมั่นเพียรหรือปรารภประกอบความเพียรจริงจังแค่ไหน ทุกอย่างมันอยู่ที่ใจ มีใจเป็นประธาน ถ้าใจไม่ได้ อะไรทุกอย่างมันก็ล้มเหลวไปหมดในชีวิต คือ เสียชาติเกิดมาเป็นคนเปล่าๆ ไม่มีอะไรมันง่ายที่เกิดขึ้นมาเป็นคน การปฏิบัติธรรมเริ่มที่ตนทุกอย่าง แม้จะอยู่ใกล้กับพระอริยสงฆ์ ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติจริง มันก็เป็นช่วงเวลาที่ไร้ค่า ไม่เกิดคุณชาติอะไรเลยสักนิด ทุกคนจึงควรเลือกใช้โอกาสชีวิตของตนให้เป็นประโยชน์เป็นคุณให้ดีที่สุด แล้วอย่าคิดอยากไปเกิดเป็นหมา เพราะไม่มีหมาที่ไหนบรรลุธรรมได้จริง มีแต่ผู้มีชาติเป็นมนุษย์เท่านั้น อย่าประมาท! ด้วยประการฉะนี้.
|