๑๐. สร้างกุศลบารมีมาเยอะกลับเสียธรรมได้ Conducting Various Wholesome Perfections but False
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในการปฏิบัติธรรมด้วยการใช้เหตุผลอย่างเข้าใจด้วยปัญญาตามคลองธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปทา] นั้น ย่อมเกิดจากความประจักษ์แจ้งในเรื่อง ความแตกต่างแห่งกรรม ทั้ง อกุศลกรรม กับ กุศลกรรม เพื่อให้เกิดความศรัทธาปสาทะแน่วแน่พระสัตถุสาสน์ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น กัมมสัทธาวิปากสัทธากัมมัสสกตาสัทธาตถาคตโพธิสัทธา โดยเฉพาะ อธิโมกขสัทธา ที่ตนปฏิบัติได้จริงด้วยจิตใจผ่องใสยินดีปราโมทย์ในอธิคมธรรมทั้งหลาย คำว่า กรรม เป็นเหตุแห่งสมุฏฐานในการจำแนกคติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่ คติ ๕: นิรยะติรัจฉานโยนิเปตติวิสัยมนุษย์เทพ ฉะนั้น พระธรรมคำสอนทั้งหลายของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นบาทฐานยิ่งยวดให้ผู้ปฎิบัติจริงอุบัติขึ้นในโลกุตตรภูมิ ได้ชื่อว่า วิสุทธิเทพ นั่นคือ พระอรหันตขีณาสพ [จตุสัจจพุทธะ] อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระสัทธรรมนี้ และอีกนัยหนึ่ง กรรมเป็นธรรมวิจิตรผู้กำหนดแดนเกิดของเจ้าของกรรมนั้นๆ ไม่ใช่พรหมลิขิตอันไม่เกี่ยวกับการกระทำของตน พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้พึ่งพาตนเองด้วยสมถะและวิปัสสนาที่ทำให้เกิดปัญญาญาณ โดยเฉพาะเกิด จตุปฏิสัมภิทาญาณ [ปฏิสัมภิทัปปัตตะ] ผู้ได้ ดวงตาเห็นธรรม เป็นอุปนิสสยปัจจัยเกื้อกูลในการตรัสรู้ถึง สัมโพธิญาณแห่งอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อันสุดรอบแห่งการปฏิบัติธรรมในพระสัทธรรมนี้ได้ กุศลกรรมด้วยโสภณจิตทั้งหลายนั้น ย่อมเป็นอธิมุตติแนวโน้มแห่งอธิบดีจิตในวิปัสสนาภูมิ อันสัมปยุตต์ด้วยจิตประภัสสรแห่งจตุตถฌานที่ไร้นิวรณูปกิเลส จึงทำให้เข้าถึงญาณในมรรค ๔ อันย่อมรู้แจ้งในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ได้ คำว่า กรรมวิบาก หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากจิตอันเป็น ธรรมชาติวิจิตร ที่ผู้เป็นเจ้าของจะเสกสรรปรุงแต่งไปในทาง อกุศลกรรม หรือ กุศลกรรม ก็ขึ้นกับมี ปัญญาเห็นธรรม ในอาณาจักรธรรมทั้งปวงด้วยการใช้เหตุผลและความเข้าใจด้วยปัญญาจริงหรือไม่ ฉะนั้น ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ คือ การหลีกออกจากวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ นั้น อันเรียกว่า มัจจุเธยยะ เพราะหมายถึง คติเป็นที่ตั้งแห่งความตาย อันหมดโอกาสในการบรรลุโลกุตตรธรรม ด้วยประการฉะนี้.
บทความที่ ๑๐ ประจำปี ๒๕๕๙ สร้างกุศลบารมีมาเยอะกลับเสียธรรมได้
ผู้ปฏิบัติธรรมที่เกิดความบกพร่องไม่มีสติสัมปชัญญะในบางครั้ง ไม่สามารถควบคุมอินทรีย์ได้ ถูกกิเลสปริยุฏฐานครอบงำจิตใจได้ เพราะคิดไม่ถึง [อโยนิโสมนสิการ] จิตสหรคตด้วยญาณวิปยุตต์ นั่นคือ ไม่มีทั้งสติ ไม่มีทั้งสัมปชัญญะ จิตจึงอยู่ในภาวะปฏิสังยุตด้วยความไม่รู้จริง ความไม่รู้แจ้ง ในสภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถพิจาณาไตร่ตรองเห็นความสัมพันธ์แห่งปัจจัยทั้งหลายที่มาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว [สหวุตติธรรมสามัคคี] ซึ่งประกอบด้วย (๑) เกิดพร้อมกัน [เอกุปปาทะ] (๒) ตั้งอยู่พร้อมกัน [เอกฐิติเอกนิสสยะ: มีที่อาศัยร่วมกันเป็นอันเดียว] และ (๓) ดับไปพร้อมกัน [เอกนิโรธะ] ทั้งในอดีตกาล อนาคตกาล และในปัจจุบันกาล [กาล ๓อัทธา ๓] นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น มีปัญญาประกอบด้วย (๑) อัตถปฏิสัมภิทา กับ (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา เรียกว่า ปัญญาในอนุปัสสนา ๗ หรือ (๑) ปุพเพนิวาสานุสติ กับ (๒) ทิพพจักขุ เรียกว่า ปัญญาในสมาธิ [สมถภาวนา] หรือ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ กับ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ เรียกว่า ปัญญาในวิปัสสนา [วิปัสสนาภาวนา] ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ปัญญาทั้งหลายที่เกิดจากการเจริญภาวนาที่ครบรอบสมบูรณ์ มีความถูกต้องและยอดเยี่ยม ตามพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกประการ ไม่ดื้อ [ทิฏฐิ] ไม่อวดดี [ตัณหา] สบประมาทผู้อื่นหรือตนเอง [มานะ] คือ เป็นผู้สามารถครอบงำอกุศลธรรมใน ปปัญจธรรม ๓ [ปปัญจะ ๓: อุปาทินนธรรมธรรมที่ถูกยึดด้วยกิเลสตัณหาและทิฏฐิ] ได้ดี นั่นคือ กิเลสเครื่องเนิ่นช้าในพื้นจิต กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมาตามที่เป็นจริงโดยไม่วิปริตหรือเป็นอื่นอีก นั่นคือ มีปัญญาเห็นธรรมตามที่เป็นจริงได้ [อนุปัสสนา ๔] ได้แก่ (๑) เห็นไม่เที่ยง ย่อมไม่เที่ยง = อนิจจานุปัสสนา (๒) เห็นเป็นทุกข์ ย่อมเป็นทุกข์ = ทุกขานุปัสสนา (๓) เห็นไม่ใช่ตัวตน ย่อมไม่ใช่ตัวตน = อนัตตานุปัสสนา และ (๔) เห็นไม่งาม ย่อมไม่งาม = อสุภภาวนาปฏิกูลมนสิการอาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วทำไมผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องหมั่นประกอบความเพียรด้วยการเจริญอนุปัสสนาอยู่เนื่องๆ เป็นนิตย์ เพราะอนุปัสสนาญาณทั้งหลายที่เกิดขึ้น คือ ปัญญาญาณ [จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง = ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุปัสสนา ๗ เป็นเครื่องมือในการสร้างปัญญาให้พอกพูนในตัวผู้ปฏิบัติธรรมเอง ที่เรียกว่า ปัญญา ๑๐ ซึ่งผู้ไม่ได้สิกขาศึกษาในพระไตรปิฎกย่อมไม่เข้าเรื่องนี้ได้อย่างถ่องแท้และถูกต้อง ในกระบวนการพัฒนาทักษะการคิดอันเกิดขึ้นในภูมิแห่งสมถะกับวิปัสสนา ในประเด็นนี้ เป็นเรื่องสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องเอาใจใส่ในการพัฒนาปัญญาภาวนาของตนให้ดีแท้ ไม่ใช่ดีแตกโดยวิปริต ซึ่งกิจของผู้ปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดในพุทธบริษัททั้งหลาย จะต้องไม่ละทิ้ง มนิสการกรรมฐาน อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะ อนุสติ ๑๐ ในข้อ ๗๑๐ หมายถึง ความระลึกถึง อารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ นั่นคือ กำหนดสติสัมปชัญญะรู้อารมณ์อะไรที่เป็นประโยชน์ อันจะเกื้อหนุนให้เจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าได้ดียิ่งขึ้น ไม่ใช่แส่หาเรื่องเดือดร้อนวิปฏิสารใส่ตัวไม่หยุดไม่สิ้น ไม่ปวิเวกและไม่สันโดษ ดังนี้
(๑) มรณสติ (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐) ระลึกถึงความตาย อันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาที่จะให้เกิดความไม่ประมาท [อัปปมาทะ] (๒) กายคตาสติ (ข้อ ๘ ในอนุสติ ๑๐) สติอันไปในกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ อันไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา [มทะ ส่วน ทมะ คือ รู้อย่างเท่าทันกิเลส] (๓) อานาปานสติ (ข้อ ๙ ในอนุสติ ๑๐) สติกำหนดลมหายใจเข้าออก [ลมอัสสาสะลมปัสสาสะ] (๔) อุปสมานุสติ (ข้อ ๑๐ ในอนุสติ ๑๐) ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือ ระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์ [สัจจภาวะแห่งนิพพาน]
ในอันดับต่อไปนี้ ให้หวนมาพิจารณาปัญญาทั้งหลายที่เกิดจากการเจริญอนุปัสสนากรรมฐาน เพื่อเป็นการยืนยันว่า เมื่อบุคคลเข้ามาปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธีตามพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น ทำให้เป็นผู้มีปัญญาฉลาดหลักแหลมด้วยคุณธรรมแห่งพหูสูตได้จริง ไม่ใช่โง่เขลาเบาปัญญาเป็นยิ่งนัก ก็ให้พิจารณาคือ เข้าใจและจำได้เจนใจและขบได้ด้วยทฤษฎี เพราะองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ ต้องนำไปใช้ในขณะศึกษาวิจัยธรรมในพระไตรปิฎกด้วยตนเอง มิฉะนั้น จะกลายเป็นชนผู้หลงทิศในขณะอ่านค้นคว้าพระไตรปิฎก ที่หลายๆ คนมักกล่าวว่าอ่านไม่รู้เรื่อง เสียเวลาส่งไลน์ ซึ่งพากันลืมไปว่า พระไตรปิฎกเป็นศูนย์รวมปัญญาของพระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ที่ถ่ายทอดสัจจธรรมไว้ให้คนรุ่นหลังได้สิกขา ดังนี้
อนุปัสสนา ๗ (๑) อนิจจานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ชวนปัญญา [ปัญญาเร็ว] ให้บริบูรณ์ (๒) ทุกขานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นสภาพแห่งทุกข์ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง นิพเพธิกปัญญา [ปัญญาทำลายกิเลส] ให้บริบูรณ์ (๓) อนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง มหาปัญญา [ปัญญามาก] ให้บริบูรณ์ (๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ติกขปัญญา [ปัญญาคมกล้า] ให้บริบูรณ์ (๕) วิราคานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในราคะ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง วิบูลปัญญา [ปัญญากว้างขวาง] ให้บริบูรณ์ (๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความดับแห่งสมุมัยโดยความเป็นเหตุเกิด ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง คัมภีรปัญญา [ปัญญาลึกซึ้ง] ให้บริบูรณ์ (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ พิจารณาความถือมั่นตั้งไว้โดยความถือผิดยึดมั่น ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง อัสสามันตปัญญา [ปัญญาไม่ใกล้] ให้บริบูรณ์
ปัญญา ๑๐ หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญอนุปัสสนา ได้แก่ (๑) ชวนปัญญา คือ ปัญญาเร็ว โดยเจริญ อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง] (๒) นิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาทำลายกิเลส โดยเจริญ ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์] (๓) มหาปัญญา คือ ปัญญามาก โดยเจริญ อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน] (๔) ติกขปัญญา คือ ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์] (๕) วิบูลปัญญา คือ ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา [ดับความกระหายวัฏฏะ] (๖) คัมภีรปัญญา คือ ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส] (๗) อัสสามันตปัญญา คือ ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน] (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ปัญญาแตกฉาน โดยเจริญ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา] (๙) ปุถุปัญญา คือ ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] (๑๐) หาสปัญญา คือ ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ]
อนึ่ง ผู้ที่บรรลุถึง ปฏิสัมภิเทา ๔ เรียกว่า ปฏิสัมภิทัปปัตตะ หมายถึง พระอรหันต์ผู้ถึงพร้อมสมบูรณ์ด้วย จตุปฏิสัมภิทาญาณ ฉะนั้น ผู้ที่จะได้ปัญญาหลากหลายมาได้นั้น ต้องออกแรงพึ่งตนเองทั้งสิ้น ต้องเริ่มต้นด้วยจิตเป็นมหากุศลจิตพอสมควร (๑) มีความเห็นถูกต้องสัมมาทิฏฐิ กับ (๒) มีความนึกคิดเข้าใจถูกต้องสัมมาสังกัปปะ แต่ก็มีผู้ปฏิบัติจำนวนมากที่มองข้ามความสำคัญนี้ไปเพราะคิดไม่ถึง [อวิชชาอสัมปชัญญะ] แทนที่จะเห็นว่า ต้องประพฤติ อนุสติ ๑๐: พุทธานุสติธัมมานุสติสังฆานุสติสีลานุสติจาคานุสติเทวตานุสติมรณสติกายคตาสติอานาปานสติอุปสมานุสติ [สัญญมะ] อยู่เป็นนิตย์ เจริญ สติปัฏฐาน ๔: กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ไม่ขาดเว้น หรือบำเพ็ญเพียร อารักขกัมมัฏฐาน ๔: พุทธานุสติภาวนามรณสติภาวนาอสุภภาวนาเมตตาภาวนา ให้ถึงพร้อมอยู่เสมอ หรือจะเป็น กรรมฐาน ๔๐: กสิณ ๑๐อสุภะ ๑๐อนุสติ ๑๐อัปปมัญญา ๔อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑จตุธาตุววัฏฐาน ๑อรูป ๔ [ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิตสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนาอุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต] ในการมนสิการกรรมฐานดังกล่าวนี้ เป็นการสร้างนิสัยให้เกิดทักษะการพัฒนาปัญญาให้พอกพูนมากยิ่งขึ้นๆ ไป ที่เรียกว่า ทมะ [SelfControl or Mastery เป็นชื่อของธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิ คือ ปัญญาวิริยะทิฏฐิ] ได้แก่ (๑) การฝึกอินทรีย์ เพราะข่มอินทรีย์ทั้งหลาย มีใจเป็นที่ ๖ ไว้ ส่วนที่เป็นวิปัสสนา มนสิการ และ การพิจารณาวัตถุนั้น (๒) การฝึกฝน (๓) การข่มใจฝึกนิสัยปรับตัว (๔) รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัยแก้ไขข้อบกพร่องปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา (๕) ความฝึกฝนปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเอง ปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี ฉะนั้น ทมะ [ภาวนา] ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ปรารถนามานะ [ความถือตัว = มทะมัวเมา] และ ความรู้นั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลที่มีจิตไม่ตั้งมั่น [ไม่เป็นสมาธิ] และมักประกอบอยู่ในกลุ่มคุณธรรมทั้ง ๔ ได้แก่ สัจจะ: ความจริงทมะ: การฝึกฝนขันติ: ความอดทนจาคะ: ความเสียสละ [ฆราวาสธรรม ๔: ธรรมสำหรับฆราวาสธรรมสำหรับการครองเรือนหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์] ดังนั้น ก็พยายามประยุกต์องค์ความรู้ให้ดีไม่ว่าจะฝ่ายฆราวาสหรือฝ่ายสมณะก็ตาม ก็ควรประพฤติตนให้ถูกหลักธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติธัมมานุธัมมปฏิปทา]
ในอันดับต่อไปนี้ ให้พิจารณาถึง กรรมแห่งกุศลธรรมกับอกุศลธรรม [กุศลกรรมอกุศลกรรม] อันหมายถึง กรรม ๒ [Deed] ดังนี้
กรรม ๒ หมายถึง การกระทำการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตามทางใจก็ตาม ซึ่งทั้งหมดนี้ จัดเป็น กามาวจรธรรม ในเบื้องต้น โดยเรียกรวมๆว่า ทุคติ หรือ สังสารทุกข์ ที่ยังอยู่ในวัฏฏะ อธิบายได้ด้วยทฤษฎี กฎแห่งกรรม [ธัมมัฏฐิติญาณกัมมัสสกตาญาณ] ได้แก่ (๑) อกุศลกรรม คือ กรรมที่เป็นอกุศลกรรมชั่วการกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะโทสะโมหะ (๒) กุศลกรรม คือ กรรมที่เป็นกุศลกรรมดีการกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะอโทสะอโมหะ
ว่าด้วย วาเสฏฐสูตรที่ ๙ [คัดลอกบางส่วน] (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 581 -582 FILE 47)
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็น ปฏิจจสมุปบาท ฉลาดใน กรรม และ วิบาก ย่อมเห็น กรรม ตามความเป็นจริงอย่างนี้
โลกย่อมเป็นไปเพราะ กรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะ กรรม สัตว์ทั้งหลายมี กรรม เป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนหมุดแห่งรถที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น [สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกระชับ เหมือนลิ่มสลักแห่งรถ ที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น]
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะ กรรม อันประเสริฐนี้ คือ ตบะสัญญมะพรหมจรรย์และทมะ [ไม่ใช่ นามโคตรชาติ] กรรม นี้ นำความเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดมาให้
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย ไตรวิชชา [วิชชา ๓: ปุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณอาสวักขยญาณ หรือ เตวิชฺโช คือ ผู้ได้วิชชา ๓] เป็นคนสงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว เป็นพราหมณ์ผู้องอาจของบัณฑิตทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งอยู่ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด วาเสฏฐะ
จบวาเสฏฐสูตรที่ ๙ ---------------------------
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎแห่งกรรมกับจิต
อธิบายคำว่า จิต (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228233 FILE 75)
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็น กุศลอกุศล [กุศลจิต ๒๑อกุศลจิต ๑๒วิปากจิต ๓๒ นับเฉพาะในฝ่ายโลกียะ] และ มหากิริยาจิต ในฝ่ายโลกียะ [กามาวจรโสภณจิต ๒๔: มหากุศลจิต ๘มหาวิบากจิต ๘มหากิริยาจิต ๘] จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติอันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต เพราะ ความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตรพึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามา ฉะนี้
บรรดาจิตเหล่านั้น จิตมีราคะ ก็อย่างหนึ่ง จิตมีโทสะ ก็อย่างหนึ่ง จิตมีโมหะ ก็อย่างหนึ่ง [อกุศลมูล ๓] จิตเป็นกามาวจร ก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นรูปาวจร ก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นอรูปปาวจร ก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นโลกุตตระ ก็อย่างหนึ่ง [ภูมิ ๔] จิตมีรูปเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตมีเสียงเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตมีรสเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตมีธรรมารมณ์เป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง
บรรดาจิตแม้ที่มีรูปเป็นอารมณ์ จิตที่มีสีเขียวเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีสีเหลือง เป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีสีแดงเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีสีขาว เป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง [วรรณกสิณ ๔: นีลกสิณปีตกสิณโลหิตกสิณโอทาตกสิณ] แม้จิตที่มีเสียงเป็นอารมณ์ จิตที่มีกลิ่นเป็นอารมณ์ จิตที่มีรสเป็นอารมณ์ จิตที่มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ จิตที่มีธรรมารมณ์เป็นอารมณ์ ก็นัยนี้แหละ
ในจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมด หีนจิต ก็อย่างหนึ่ง มัชฌิมจิต ก็อย่างหนึ่ง ปณีตจิต ก็อย่างหนึ่ง ถึงในจิตที่เป็นหีนจิต เป็นต้น จิตที่มีฉันทะเป็นอธิบดี ก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีวิริยะเป็นอธิบดี ก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีจิตตะเป็นอธิบดี ก็อย่างหนึ่ง จิตมีวิมังสาเป็นอธิบดี ก็อย่างหนึ่ง [อิทธิบาท ๔: ฉันทะวิริยะจิตตะวิมังสา] เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเหล่านี้ เป็น ธรรมวิจิตร ด้วยสามารถแห่งสัมปยุตธรรม ภูมิ อารมณ์ เป็น หีนะ [อย่างเลว] มัชฌิมะ [อย่างกลางปานกลาง] ปณีตะ [ประณีตอย่างดี] และ อธิบดี [อย่างใหญ่ยิ่งประเสริฐเลิศ] ก็บรรดาจิตเหล่านี้ เป็นจิตแต่ละดวง มิใช่จิตทั้งหลายเลย ถึงอย่างนั้น จิตนั้นก็ชื่อว่า จิต เพราะรวมอยู่ใน ความวิจิตร ทั้งหลาย บรรดาจิตเหล่านั้น จิตดวงใดดวงหนึ่ง สมควรเรียกว่า จิต เพราะเป็น ธรรมวิจิตร ชื่อว่า จิต เพราะ ความวิจิตร อย่างนี้ก่อน
ชื่อว่า จิต [Consciousness] เพราะทำให้วิจิตร อย่างไร จริงอยู่ ชื่อว่า วิจิตรอื่นยิ่งกว่าจิตรกรรม ไม่มีในโลก ธรรมดาว่าลวดลายแม้ในความวิจิตรนั้น ก็เป็นความวิจิตรคือความงดงามยิ่งนัก พวกจิตรกรเมื่อกระทำจิตรกรรมนั้นก็เกิดสัญญาอันวิจิตรว่า รูปมีอย่างต่างๆ เราควรทำอย่างนี้ ในที่นี้ ดังนี้ การทำอันวิจิตร อันสำเร็จแล้วด้วยกิจ มีการเขียน การระบายสี การทำสีให้เรืองรอง และการสลับสีเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นด้วย สัญญาอันวิจิตร รูปอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในความวิจิตรกล่าวคือลวดลาย ย่อมสำเร็จแต่จิตรกรรมนั้น การเกิดขึ้นแห่งศิสปะอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกอย่างนี้ ศิลปะทั้งหมดนั้น อันจิตเท่านั้นคิดว่า รูปนี้จงมีข้างบนรูปนี้ รูปนี้จงมีข้างล่างของรูปนี้ รูปนี้จงมีที่ข้างทั้ง ๒ ของรูปนี้แล้วจึงกระทำ จิตรกรรมนั้นอันข้างล่างให้วิจิตรแล้ว ฉันใด แม้จิตที่ทำให้สำเร็จความวิจิตร ก็ชื่อว่า จิต ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะกระทำให้วิจิตรด้วยอาการอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง จิต นั่นแหละ ชื่อว่า วิจิตรกว่าจิตรกรรมนั้น เพราะให้สำเร็จจิตรกรรมทุกชนิดตามที่คิด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ลวดลายอันวิจิตร พวกเธอเห็นแล้วหรือ พวกภิกษุกราบทูลว่า: เห็นแล้วพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแลอันจิตนั่นเองคิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตเท่านั้นวิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแล
อนึ่ง จิตที่เป็นไปภายในต่างชนิดโดย กรรมเพศสัญญาและโวหาร เป็นต้น ในคติทั้งหลาย มีเทวดา มนุษย์และ สัตว์เดรัจฉาน นี้ใด จิตแม้นั้นก็กระทำให้วิจิตรแล้วเหมือนกัน
จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม อันต่างโดยกรรมมีกายกรรม เป็นต้น ที่เป็นไปโดยนัยมี ทาน ศีล ความเบียดเบียน [กุศลกรรมบถ ๑๐: กายสุจริต ๓วจีสุจริต ๔มโนสุจริต ๓] และ ความโอ้อวด เป็นต้น [อกุศลกรรมบถ ๑๐: กายทุจริต ๓วจีทุจริต ๔มโนทุจริต ๓ หรือจิตสหรคตด้วย จิตตอุปกิเลส ๑๖: อภิชฌาวิสมโลภะพยาบาทโกธะอุปนาหะมักขะปลาสะอิสสามัจฉริยะมายาสาเถยยะถัมภะสารัมภะมานะอติมานะมทะปมาทะ] สำเร็จแล้วด้วยจิต (๑) ชื่อว่า มีความต่างกันเพราะกรรม สัณฐานแห่งอวัยวะ มีมือ เท้า ท้อง คือ และ หน้า เป็นต้น ในคติทั้งหลายนั้นๆ แตกต่างกันไปด้วย ความต่างกันแห่งกรรม นั้นแหละ (๒) ชื่อว่า ความต่างกันแห่งเพศ เมื่อสัญญาเกิดขึ้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งสัณฐานตามที่ถือเอา เพราะ ความต่างกันแห่งเพศ (๓) ชื่อว่า ความต่างกันแห่งสัญญา [สมมติสัจจะสมมติบัญญัติ โดยจิตสหรคตด้วย อคติ ๔: ฉันทาคติลำเอียงเพราะชอบ ๑โทสาคติลำเอียงเพราะชัง ๑ โมหาคติลำเอียงเพราะหลง ๑ ภยาคติลำเอียงเพราะกลัว ๑] เมื่อชนทั้งหลายร้องเรียกด้วยคำว่า หญิง หรือว่า ชาย ดังนี้ อันสมควรแก่สัญญา เพราะ ความต่างกันแห่งสัญญา (๔) ชื่อว่า ความต่างกันแห่งโวหาร แต่เพราะเหตุที่บุคคลทำกรรมอันให้เกิดอัตภาพนั้นๆ ด้วยสามารถแห่ง ความต่างกันแห่งโวหาร อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักเป็นหญิง ข้าพเจ้าจักเป็นชาย ข้าพเจ้าจักเป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้าจักเป็นพราหมณ์ ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกันแห่งกรรม เพราะ ความต่างกันแห่งโวหาร ก็ ความต่างกันแห่งกรรม นั้นๆ (๕) เมื่อจะยังภพตามที่ปรารถนาให้เกิดขึ้น ย่อมให้เกิดขึ้นด้วยคติ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกันแห่งคติ เพราะ ความต่างกันแห่งกรรม
อนึ่ง ความที่สัตว์ทั้งหลายนั้นๆ [คติ ๕: นิรยะติรัจฉานโยนิเปตติวิสัยมนุษย์เทพ] เกิดเป็นสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ ๒ เท้า เป็นต้น เกิดเป็นสัตว์สูงและต่ำ เป็นต้น ในคตินั้นๆ เกิดเป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม เป็นต้น เป็นผู้มีลาภและเสื่อมลาภ เป็นต้น [โลกธรรม ๘: มีลาภไม่มีลาภมียศไม่มียศนินทาสรรเสริญสุขทุกข์] ในอัตภาพนั้นๆ ย่อมปรากฏ เพราะ ความต่างกันแห่งกรรม [กฎแห่งกรรม] นั่นแหละ เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นไปในภายในต่างโดย กรรมเพศสัญญาและโวหาร เป็นต้น ในคติทั้งหลายอันต่างโดยความเป็น เทวดามนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน ทั้งหมด นั่นแหละ พึงทราบว่าอันจิตนั้นเองกระทำแล้ว เนื้อความนี้นั้น พึงทราบด้วยสามารถพระสูตรที่ยังมิได้ขึ้นสู่สังคีตินี้ สมจริงดังที่ท่านกล่าวว่า (๑) การกำหนดประเภทของความต่างกันของเพศที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดประเภทของความต่างกันแห่งกรรมที่มีมาก (๒) การกำหนดประเภทของความต่างกันของความต่างกันของสัญญาที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดประเภทของความต่างกันแห่งเพศที่มีมาก (๓) การกำหนดประเภทแห่งความต่างกันของโวหารที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งกำหนดประเภทแห่งความต่างกันของสัญญาที่มีมาก (๔) การกำหนดประเภทแห่งความต่างกันของกรรมที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดประเภทของความต่างกันแห่งโวหารที่มีมาก (๕) ความต่างกันแห่งคติของสัตว์ทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะอาศัย ความต่างกันแห่งกรรม สัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ [รูปาวจรภูมิ ๑๖อรูปาวจรภูมิ ๔] ความต่างกันแห่งความอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย คือ ความสูงต่ำ เลวประณีต ไปสู่สุคติและทุคติ ย่อมปรากฏเพราะอาศัย ความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในอัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย คือ ความเป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม ความเป็นผู้มีชาติดีและไม่ดี ความเป็นผู้ที่ทรวดทรงดีและไม่ดีย่อมปรากฏ เพราะอาศัย ความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในโลกธรรมของสัตว์ทั้งหลายในความมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ ย่อมปรากฏเพราะอาศัย ความต่างกันแห่งกรรม ดังนี้
แม้ข้ออื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า: (๑) เพศย่อมเป็นไปเพราะกรรม (๒) สัญญาย่อมเป็นไปเพราะเพศ (๓) สัตว์ทั้งหลายย่อมลงความต่างกัน เพราะสัญญาว่า นี้เป็นหญิงหรือเป็นชาย (๔) สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม (๕) หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม (๖) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ดุจลิ่มสลักเพลารถที่ไปอยู่ [ข้อ ๑ ๖ เป็น กัมมสัทธาวิปากสัทธากัมมัสสกตาสัทธา] (๗) บุคคลย่อมได้เกียรติ ได้การสรรเสริญก็เพราะกรรม [ทำดีย่อมได้ดี] (๘) ย่อมได้ความเสื่อมการถูกประหาร และการจองจำก็เพราะกรรม [ทำชั่วย่อมได้ชั่ว] บุคคลรู้ ความต่างกันแห่งกรรม นั้นแล้ว ไฉนเล่าจึงพูดว่า กรรมไม่มีในโลก
ดูก่อนมาณพ (๑) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน (๒) สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม (๓) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นกำเนิด (๔) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (๕) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นที่พึ่ง (๖) กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายโดยให้เลวและประณีต [กฎแห่งกรรม ๖ ประการ] บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเป็น ธรรมชาติวิจิตร เพราะความวิจิตรด้วยการกระทำดังพรรณนามา ฉะนี้
จริงอยู่ ความวิจิตร เหล่านี้แม้ทั้งหมด อัน จิต นั่นแหละกระทำแล้ว ก็ จิต เท่านั้น เป็น ธรรมชาติ วิจิตรกว่า ความวิจิตร [อัญญสมานาเจตสิก ๑๓โสภณเจตสิก ๒๕ = จิตประภัสสรจิตปราศจากนิวรณ์] อันใดที่เป็นไปภายในอัน จิต กระทำแล้วที่กล่าวแล้วนั้น เพราะความที่ จิต ไม่ได้โอกาส ไม่มีการกระทำ ความวิจิตร บางอย่าง หรือว่าเพราะ ความมีจิตบกพร่อง [วิปลาส ๔: สัญญาวิปลาสจิตตวิปลาสทิฏฐิวิปลาส ทำให้เกิดจิตวิปริตใน ๔ อาการ ได้แก่ (๑) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (๒) วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (๓) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (๔) วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม หรือจิตนั้นสหรคตด้วย ปปัญจธรรม ๓: ตัณหาทิฏฐิมานะ] ด้วยปัจจัยที่เหลือก็ไม่มีการกระทำให้วิจิตรในบางอย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์หมู่อื่นแม้สักหมู่หนึ่ง ที่วิจิตรเหมือนสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั่นแหละเป็นธรรมชาติวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล ดังนี้
จบ อธิบายคำว่า จิต ----------------------------
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมที่เจริญภาวนในขั้นจิตตภาวนากับปัญญาภาวนา [ภาวนามยปัญญา] นั้น ย่อมมีปรีชาสามารถที่จะใช้เหตุและผลหยั่งรู้ (๑) การเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ (๒) สาเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณปัจจยปริคคหญาณ [กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาญาณ] และ (๓) แนวทางในการดับทุกข์ ที่เรียกว่า อาสวักขยญาณสัมมสนญาณ ตามลำดับ ถ้ายังไม่สามารถเข้าถึงได้ ก็ให้เกิดความรู้ความเห็นที่เข้าใจอย่างถูกต้องด้วย สัทธา ๙ และ ลำดับการตรัสรู้สัมโพธิญาณ ดังนี้ (๑) กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ (๒) วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม (๓) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (๔) ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต (๕) รตนัตตยสัทธา คือ เชื่อพระรัตนตรัย [พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์] (๖) อาคมนสัทธา เชื่อมั่นใจการบำเพ็ญสั่งสมบารมีของพระโพธิสัตว์ (๗) อธิคมสัทธา เชื่อมั่นการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ของพระอริยบุคคล (๘) โอกัปปนสัทธา เชื่อหนักแน่นสนิทแน่วที่เห็นจริงในการปฏิบัติธรรมที่ก้าวหน้า (๙) ปสาทสัทธา เชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง
[ลำดับการตรัสรู้สัมโพธิญาณ] วิสุทธิ ๗ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ศีลอธิสีลสิกขา สีลวิสุทธิ สมาธิอธิจิตตสิกขา ปัญญาอธิปัญญาสิกขา จิตตวิสุทธิ [สติปัฏฐาน ๔] อนุปัสสนา ๓ [กลาปวิปัสสนา] สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา [ธรรมสามัคคีญาณสัมปยุตต์สหชาตธรรม] รูปฌาน ๔รูปฌาน ๔ อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ วิชชา ๓ [เตวิชฺโช] ญาณ ๑๖ [ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต] [ปัญญาเห็นกรรม] [ปัญญาเห็นธรรม] ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ทิฏฐิวิสุทธิ นามรูปปริจเฉทญาณทุกขสัจจ์ จุตูปปาตญาณ กังขาวิตรณวิสุทธิ ปัจจยปริคคหญาณสมุทัยสัจจ์ อาสวักขยญาณ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ สัมมสนญาณมรรคสัจจ์ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ วิปัสสนาญาณ ๙ โคตรภูญาณ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ อานันตริกสมาธิญาณ ญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคญาณผลญาณนิโรธสัจจ์ เจโตวิมุตติสมาธิ ๓ฌานวิโมกข์ ปัญญาวิมุตติวิโมกข์ ๓ญาณวิโมกข์ ญาณทัสสนะมีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ [ญาณ ๓ ในกิจในอริยสัจจ์ ๔] ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อาสวักขยญาณ ๖๔ [สัมโพธิญาณปัญญาตรัสรู้ = อินทรีย์ ๓ ในอินทรีย์ ๘โมนะ] นิพพาน ๒ [อมตธาตุ] สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ [พระเสขบุคคลจรณะ ๑๕ = ภาวิตัตต์อรหัตตผล] อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ [พระอเสขบุคคลสัมมัตตะ ๑๐อรหัตตผลวิมุตติ] ชีวิตสมสีสีบุคคล [พระอรหันตขีณาสพ]
หมายเหตุ: วิปัสสนาญาณ ๙ = อุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ โมนะ = ญาณในมรรค ๔ ย่อมรู้สัจจธรรม ๔
ภาพประกอบ ๑: ระบบโครงสร้างลำดับขั้นการปฏิบัติธรรมจากโคตรปุถุชนไปสู่โคตรอริยะ
ดังรายละเอียดในภาพประกอบ ๑ ข้างต้นนั้น ถือว่าเป็นความรู้ความเข้าใจที่เรียกว่า สุตมยญาณ ได้ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมสามารถพิจารณาจนเกิดปัญญารู้แจ้งได้ เพื่อเป็นบาทฐานที่จะก้าวหน้าในวิปัสสนาต่อไป ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา โดยมนสิการกรรมฐานจริงๆ เพื่อให้เข้าถึง ญาณในมรรค ๔ [โมนะมัคคญาณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณมรรคสมาธิญาณ] อันย่อมรู้ สัจจธรรม ๔ [อริยสัจจ์ ๔] มีปัญญาปรีชาในการทำลาย วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ คำว่า โมนะ นั้น หมายถึง ผู้เป็นมุนี คือ ผู้ประกอบด้วยญาณคือโมนะเครื่องเป็นผู้นิ่ง ให้ผู้ปฏิบัติพิจารณานัยแห่งญาณเรียกว่า โมนะ เพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่สับสนฟั่นเฟือน กับการเรียกคุณบททางบุคคลว่า มุนี ๖ [มุนี = นักปราชญ์ ๑ ผู้สละเรือนและทรัพย์สมบัติแล้ว มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย สงบเย็นไม่ทะเยอทะยานฝันใฝ่ ไม่แส่พร่านหวั่นไหว มีปัญญาเป็นกำลังและมีสติรักษาตน ๑ พระสงฆ์หรือนักบวชที่เข้าถึงธรรมและดำเนินชีวิตอันบริสุทธิ์ ๑] กับ อริยบุคคล ๗ [อริยบุคคล: บุคคลผู้ประเสริฐ] ดังนี้
ว่าด้วย โมเนยยะ ๓ อย่าง (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 260262 FILE 66)
คำว่า มุนีความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญาความรู้ทั่วความเลือกเฟ้นความเลือกเฟ้นทั่วความเลือกเฟ้นธรรมความกำหนดดีความเข้าไปกำหนดความเข้าไปกำหนดเฉพาะความเป็นบัณฑิตความเป็นผู้ฉลาดความเป็นผู้มีปัญญารักษาตนปัญญาเป็นเครื่องจำแนกปัญญาเป็นเครื่องคิดปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็นปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดินปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลสปัญญาอันนำไปรอบปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้งความรู้สึกตัวปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทงปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัดปัญญาเป็นใหญ่ปัญญาเป็นกำลังปัญญาเป็นดังศาสตราปัญญาเพียงดังปราสาทปัญญาอันสว่างปัญญาอันแจ่มแจ้งปัญญาอันรุ่งเรืองปัญญาเป็นดังแก้วความไม่หลงความเลือกเฟ้นธรรมความเห็นชอบ บุคคลระกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่า เป็นมุนี คือ ผู้ถึงญาณที่ชื่อว่าโมนะ อนึ่ง โมเนยยะ [ธรรมเครื่องทาความเป็นมุนี] มี ๓ อย่า คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑
(๑) โมเนยยธรรมทางกาย เป็นไฉน หมายถึง การละกายทุจริต ๓ อย่าง [ปาณาติบาตอทินนาทานกาเมสุมิจฉาจาร] ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ญาณมีกายเป็นอารมณ์ (๒) ความกำหนดรู้กาย (๓) มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา [ปริญญา ๓: ญาตปริญญากำหนดรู้ขั้นรู้จัก ๑ ตีรณปริญญากำหนดรู้ขั้นพิจารณา ๑ ปหานปริญญากำหนดรู้ถึงขั้นละได้] (๔) การละฉันทราคะในกาย (๕) ความดับแห่งกายสังขาร [ลมอัสสาสะลมปัสสาสะ] (๖) ความบรรลุจตุตถฌาน [จิตประภัสสร สหรคตด้วย อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ = วิชชา ๓] แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย
(๒) โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นไฉน หมายถึง การละวจีทุจริต ๔ อย่าง [มุสาวาทปิสุณาวาจาผรุสวาจาสัมผัปปลาปะ] ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ได้แก่ (๑) ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ (๒) ความกำหนดรู้วาจา (๓) มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา (๔) การละฉันทราคะในวาจา (๕) ความดับแห่งวจีสังขาร (๖) ความบรรลุทุติยฌาน [ปีติสุขเอกัคคตา] แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา
(๓) โมเนยยธรรมทางใจ เป็นไฉน หมายถึง การละมโนทุจริต ๓ อย่าง [อภิชฌาพยาบาทมิจฉาทิฏฐิ] ชื่อว่า โมเนยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ (๒) ความกำหนดรู้จิต (๓) มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา (๔) การละฉันทราคะในจิต (๕) ความดับแห่งจิตตสังขาร [สัญญาเวทนา] (๖) ความบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ [เข้านิโรธสมาบัติ โดยมีลำดับความประณีตจาก รูปฌาน ๔ กับ อรูปฌาน ๔] แต่ละอย่างๆ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ
สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:
บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนี ผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าว มุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนีเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นมุนีมี ๖ จำพวก ได้แก่ อาคารมุนี ๑ อนาคารมุนี ๑ เสขมุนี ๑ อเสขมุนี ๑ ปัจเจกมุนี ๑ มุนิมุนี ๑ ดังนี้ (๑) อาคารมุนีเป็นไฉน ชนเหล่าใดเป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพาน อันเห็นแล้วมีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่า อาคารมุนี (๒) อนาคารมุนีเป็นไฉน ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนา [ไตรสิกขา] อันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี (๓) พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า เสขมุนี [สอุปาทิเสสบุคคล = อุภโตภาควิมุตปัญญาวิมุตกายสักขีทิฏฐิปปัตตะสัทธาวิมุตธัมมานุสารีสัทธานุสารี] (๔) พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี [อนุปาทิเสสบุคคลชีวิตสมสีสีบุคคล] (๕) พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี (๖) พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี
จบ ว่าด้วย โมเนยยะ ๓ อย่าง -----------------------------
นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ที่พระไตรปิฎกต้องอ้างอิงถึงลัทธิศาสนาพราหมณ์นั้น เพราะสังคมอินเดียโบราณครั้งพุทธกาลนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาท่ามกลางประชาชนทั้งหลายนับถือลัทธิศาสนาพราหมณ์ แม้แต่พระองค์เองก็นับถือลัทธิศาสนาพราหมณ์มาก่อน เมื่อพระองค์ค้นพบและเห็นอริยสัจจธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว การประกาศพระศาสนาคือการชักนำบรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ให้หันมาศรัทธาเลื่อมใสในพระสัทธรรมนี้ โดยเฉพาะเหล่าบรรดานักบวชนอกพระพุทธศาสนา [ติตถิยะ] ทั้งหลาย ได้แก่ ชฏิลดาบสปริกพาชกเดียรถีย์อัญญเดียรถีย์ เป็นต้น ดังเช่น พระปัญจวัคคีย์ หมายถึง พระพวก ๕ คือ อัญญาโกณฑัญญะวัปปะภัททิยะมหานามอัสสชิ เป็นพระอรหันตสาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้า แต่เป็นสงครามทางความคิดที่ต้องหักล้างด้วยหลักธรรม ไม่ใช่การใช้ศัตราวุธมาประหันประหารกัน หรือใช้อาวุธเคมีหรือเชื้อโรค หรือสงคราจิตวิทยาหรือการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อปลุกระดมสาวก [Demagogue = ผู้ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียงจากการปลุกปั่นประชาชนผู้นำฝูงชน] แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้เหตุผลอันประกอบด้วยปัญญา ให้สมณพราหมณ์ทั้งหลายเปลี่ยนแปลงความคิดจากลัทธิศาสนาพราหมณ์ มานับถือและออกบวชในพระพุทธศาสนานั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายปกติธรรมดาที่จะราบรื่น เพราะความเข้าใจอย่างถูกต้องระหว่างความแตกต่างของพระพุทธศาสนากับลัทธิศาสนาพราหมณ์ มิฉะนั้น ชาวพุทธก็จะเป็นงงในข้อประพฤติปฏิบัติแห่งไตรสิกขาตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา เนื่องจากได้ขาดคุณสมบัติความเป็นผู้คงแก่เรียน [พาหุสัจจะ] คือ ความไม่รู้จริงแห่งอวิชชาครอบงำความคิดอยู่ และกลายเป็นพวกนับถือพระเจ้าหลายองค์ [Polytheism] ทั้งที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ชี้ทางให้เห็นและเข้าใจถึง ความแตกต่างของกรรม [ความเป็นที่พึ่งแห่งตนอัตตนาถะโดยปัญญาคุณ] ซึ่งทำให้จุติและปฏิสนธิในคติที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ความประสงค์ของเทพเทวดาองค์ไหน แล้วผู้ปฏิบัติธรรมจะเลือกเกิดอุบัติในคติใด ๕ อย่าง ได้แก่ คติ ๕: นิรยะติรัจฉานโยนิเปตติวิสัยมนุษย์เทพ ถ้าสร้างบุญกุศลมาก ก็อยู่ในเทวโลกแห่งกามาวจรสุคติ ๗ แต่ถ้านั่งสมาธิได้ทั้ง รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔ ก็ไปจุติและปฏิสนธิใน พรหมโลก [รูปพรหม ๑๖อรูปพรหม ๔] ตรงส่วนนี้ คือ ความแตกต่างของพระพุทธศาสนากับลัทธิศาสนาพราหมณ์ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถก้าวขึ้นสูงกว่า พรหมโลก คือ วิสุทธิเทพ [อริยบุคคล ๔] ด้วย ภาวนามยปัญญาวิปัสสนาภาวนา อย่าลืมประเด็น จิตเป็นธรรมวิจิตรธรรมชาติวิจิตร มนุษย์สามารถปรุงแต่งโดยการปล่อยวางจากการครอบงำของกิเลสทั้งหลายด้วยการสร้างกรรมดี [กุศลกรรม] ไม่ใช่คิดเห็นตามแบบคติพราหมณ์ [วรรณะ ๔: กษัตริย์พราหมณ์แพศย์ศูทร โดยพราหมณ์เจ้าพิธีเป็นผู้เริ่มกำหนดไว้ในพระเวท เพื่อให้ผู้คนสมัยนั้นเชื่อตาม แต่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะว่า จะเป็นอะไรก็อยู่ที่ กฎแห่งกรรม] ฉะนั้น ในช่วง ปัจฉิมโพธิกาล ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความกล้าหาญในการประกาศพระศาสนา จนได้สืบทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้ แล้วทำไมคนยุคสมัยใหม่จึงไม่เข้าใจความยากลำบากของพระศาสดาในครั้งกระโน้น ยังนิยมชักชวนกันเบาปัญญาโง่เขลาไม่ได้แสดงออกถึง ความเป็นพุทธะ เลย ไม่ทราบว่า ท่านติดขัดท่านขัดข้องท่านวุ่นวายอะไรหนอ หรือท่านทั้งหลายไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น ให้พิจารณาพระอธิษฐานธรรมของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
อายุสังขาราธิฏฐาน หมายถึง การตั้งพระทัยว่าจะดำรงไว้ซึ่งอายุสังขาร การที่พระพุทธเจ้าตั้งพระทัยกำหนดแน่ว่าจะดำรงพระชนม์อยู่ก่อน จนกว่าพุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกา จะเป็นผู้ ที่ได้เรียนรู้เชี่ยวชาญ แกล้วกล้า มีความเป็นพหูสูต [สุตพุทธะบุคคลที่เป็นพหูสูต] ทรงธรรม ปฏิบัติชอบ สามารถชี้แจงแสดงธรรม กำราบ ปรัปวาท ที่เกิดขึ้นจากพวกนักบวชนอกพระพุทธศาสนาทั้งหลาย ให้สงบได้โดยชอบธรรม ในระหว่างนี้แม้หากมีโรคาพาธเกิดขึ้น ก็จะทรงระงับขับไล่เสียด้วย อิทธิบาทภาวนา จะยังไม่ ดับขันธปรินิพพาน จนกว่า พรหมจริยะ [พรหมจรรย์] คือ พระศาสนานี้ จะเจริญมั่นคง เป็นประโยชน์แก่พหูชน [ประชาชนทั่วไป] เป็นปึกแผ่นแน่นหนา แพร่หลายไพบูลย์ โดยให้พิจารณาเพิ่มเติมใน ๒ คำ ดังนี้
(๑) อายุสังขาร คือ เครื่องปรุงแต่งอายุ ปัจจัยต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของสัตว์และพืชให้ดำรงอยู่และสืบต่อไปได้ มักพบในคำว่า ปลงอายุสังขาร และ ปลงพระชนมายุสังขาร
(๒) อายุสังขารโวสสัชชนะ [อายุสังขารโอสสัชชนะอายุสังขาโรสสัชชนะ] คือ การสลัดลงซึ่งปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ การปลงอายุสังขาร [ปลงอายุสังขาร] การสละวางการปรุงแต่งอายุ การเลิกความคิดที่จะดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ความตกลงปลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ อนึ่ง ในพุทธประวัติ ที่ว่าพระพุทธเจ้าทรง ปลงอายุสังขาร หรือ ปลงพระชนมายุสังขาร คือ ทรงพิจารณาเห็นว่า บริษัท ๔ มีคุณสมบัติพร้อม และพรหมจริยะ คือ พระศาสนานี้ เจริญแพร่หลายไพบูลย์ดีแล้ว จึงตกลงพระทัยว่า [อีก ๓ เดือนแต่นั้นไป] จะดับขันธปรินิพพาน
อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมพึงเข้าใจอย่างหนึ่งว่า การบรรยายธรรมส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุถึงฌานที่ ๔ คือ จตุตถฌาน [เตวิชฺโชผู้บรรลุวิชชา ๓] แล้ว เป็นเกณฑ์หลัก นั่นคือ ถ้าจะให้ได้เป็นจริง ผู้ปฏิบัติธรรมต้องประกอบด้วยวิริยารัมภะที่จะบำเพ็ญเพียรให้บรรลุได้ถึงขั้นนี้ให้ได้ ไม่ใช่เรื่องผู้ได้สมาธิหัวตอ [สมาธิขี้กลาก] แม้แต่การสร้างบุญกุศลบารมีธรรม ที่ต้องหมั่นมนสิการกรรมฐานพื้นฐาน ได้แก่ อนาปานสติสมาธิฐาน ๑๖ [สติปัฏฐาน ๔ = อนุปัสสนา ๓: อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา ] หรือ อนุปัสสนา ๗ [อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนา] ก็ต้องประพฤติปฏิบัติให้ได้จริงก่อน คือ ต้องทำได้ทั้งฝ่ายทฤษฎีและฝ่ายปฏิบัติ ต้องเสมอกันให้ได้ ไม่ใช่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้เห็นจริงในปาฏิหาริย์อย่างอัศจรรย์ใจ ตามพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า [อนุสาสนีปาฏิหาริย์] นอกเหนือจากนี้ ประเด็นที่สำคัญที่สุด ต้องมีปัญญาเห็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งอาณาจักรธรรม [สหชาตธรรม] ด้วยการพิจารณาธรรม ที่เรียกว่า กลาปวิปัสสนา ซึ่งเป็นกระบวนสร้างปัญญาความรอบรู้ที่คมชัดให้เกิดขึ้นเสมอ คือ มีปัญญาเห็นข้อธรรมย่อยที่สัมปยุตต์กันกลายเป็นองค์ประกอบในหลักธรรมเอกให้ได้ ดังเช่น ตัวอย่าง โมเญยยะ ๓ อย่าง ดังอธิบายมาแล้วข้างต้น ที่มีรากฐานเกิดจาก กุศลกรรม ๓: กายสุจริต ๓วจีสุจริต ๔มโนสุจริต ๓ ที่เข้าถึงได้ด้วยผู้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว จึงจะเรียกว่า ปราชญ์มุนี เป็นต้น ในหลักการปฏิบัติธรรมดังกล่าวนี้ เรียกว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติธัมมานุธัมมปฏิปทา หมายถึง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือ ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน โดยสามารถน้อมนำใส่ใจและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรมด้วย ไม่ใช่ภาคทฤษฎีแม่นยำ แต่ไร้ค่าเมื่อพิจารณาถึงในภาคปฏิบัติ เพราะไม่เห็นจริงตามคำสอนของพระศาสดาอะไรเลย เป็นการปฏิบัติธรรมที่ขาดสูญเสียเปล่า พอนานๆ ก็ไม่เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยตู่เอาอีกว่า เป็นเรื่องโกหก เป็นอาทิ ย่อมขึ้นชื่อว่า โทษ ๑๑ ประการ ในบุคคลผู้ด่า ผู้กล่าวขู่ พึงทราบโดยพระบาลีว่า: ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใด ผู้ด่า ผู้กล่าวขู่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย มักด่าว่าพระอริยะ ข้อที่ภิกษุนั้น ไม่พึงประสบ ความฉิบหาย ๑๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฉะนั้น บทว่า ความฉิบหาย ๑๑ อย่าง (พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 960 FILE 10) ได้แก่ (๑) ภิกษุนั้นไม่บรรลุคุณที่ไม่บรรลุ [ไม่ถือครองพระสัตถุสาสน์] (๒) เสื่อมจากคุณที่ได้บรรลุแล้ว [สำคัญผิดในอธิคมธรรมธรรมุธัจจ์ธัมมุทธัจจะ] (๓) สัทธรรมของภิกษุนั้นไม่ผ่องใส [ไม่ปราศจากนิวรณ์ปปัญจะ ๓: ตัณหา ทิฏฐิมานะ] (๔) ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีความดูหมิ่นในพระสัทธรรม [อวิชชาเรียนไม่รู้เรื่อง] (๕) เบื่อหน่ายประพฤติพรหมจรรย์ [ปรารถนาภูมิแห่งหมา] (๖) ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง [สีลวิบัติทิฏฐิวิบัติ] (๗) ลาสิกขาเวียนมาเป็นคนเลว [ต้องอาบัติปาราชิก ผิดใจกับเจ้าอาวาส] (๘) ถูกความเจ็บไข้ คือ โรคอย่างหนัก [ถูกครอบงำด้วยวิบากกรรมแห่งขันธมาร] (๙) ถึงความคลั่งเป็นบ้า [จิตฟุ้งซ่านโดยวิปริต ไม่มีสติสัมปชัญญะโดยวิปลาส] (๑๐) ย่อมหลงใหลทำกาลกิริยา [วอนหาที่ตายด้วยสำคัญว่าบรรลุคุณวิเศษแล้ว] (๑๑) เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึง อบายทุคติวินิบาตนรก [ปรโลก]
โดยสรุปแล้ว โทษ ๑๑ ประการ ย่อมอยู่ในคติ ๔ ได้แก่ (๑) อบาย คือ ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ (๒) ทุคติ คือ ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี (๓) วินิบาต คือ ภพคือภาวะแห่งชีวิตที่มีแต่ความตกต่ำเสื่อมถอยย่อยยับ และ (๔) นรก คือ เหวแห่งความทุกข์ ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ของสัตว์ผู้ทำบาป หรือจะเรียกอีกอย่างว่า เสียธรรม นั่นคือ อุตสาห์ทำดีมาเกือบตาย มาตายตอนจบ ไม่สามารถบรรลุโลกุตตรธรรมได้จริงๆ มีปัจจัย ๒ อย่าง คือ (๑) ตนเองคิดคลาดเคลื่อนผิดจากคำสอนของพระศาสดา กับ (๒) เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สัปปายะที่เกื้อหนุนการเจริสมาธิธรรมทั้งปวง ไม่คบบัณฑิตหรือสัตบุรุษเป็นกัลยาณมิตร ก็ทั้งหลายทั้งปวง คือ ตั้งใจถูก แต่คิดผิด เพราะฉะนั้น ให้ตั้งใจถูกต้อง คิดถูกต้อง ย่อมได้โอกาสบรรลุโลกุตตรธรรมอย่างแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า เสียธรรม มีนัยตรงกับ คำว่า อัปปมัญญาธรรมพรหมวิหาร ๔ [เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา] ที่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายพึงสำรวมระวังให้ดี ดังนี้
พรหมวิหาร ๔ หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐธรรมประจำใจอันประเสริฐหลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ ได้แก่ (๑) เมตตา [Friendliness] คือ ความรัก ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า (๒) กรุณา [Compassion] คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ (๓) มุทิตา [Sympathetic Joy] คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป (๔) อุเบกขา [Neutrality] คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา นั่นคือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชู ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน
อนึ่ง ข้อพึงสำรวมระวังอย่างมากสำหรับผู้ปฏิบัติ นั่นคือ ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วย เมตตากรุณา (ข้อ ๑ ในเบญจธรรม: ความรักความปรารถนาดีและความสงสารความอยากช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์) และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วย อุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้ เสียธรรม ในคำว่า พรหมวิหาร ๔ นี้ บางทีแปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรหมธรรมเครื่องอยู่อย่างพรหมธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหมธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา ๔ เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไป ในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต [อโนธิโสผรณา: แผ่ไปโดยไม่มีขีดขั้น หมายถึง เมตตาที่แผ่ไปต่อสัตว์ทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต] ฉะนั้น พรหมวิหาร มีในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุใน ๔ อย่าง [คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้เรื่องที่จะสงเคราะห์กัน: (๑) ทานการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน (๒) ปิยวาจาพูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ (๓) อัตถจริยาบำเพ็ญประโยชน์ (๔) สมานัตตตาความมีตนเสมอ] เป็นต้น นอกจากนี้ ในการที่จะเข้าใจและปฏิบัติ พรหมวิหาร ๔ ให้ถูกต้อง พึงทราบรายละเอียดบางอย่าง โดยเฉพาะสมบัติ และวิบัติ ของธรรม ๔ ประการนั้น ดังนี้
[A] ความหมายโดยวิเคราะห์ศัพท์ (๑) เมตตา = [มีน้ำใจ] เยื่อใยใฝ่ประโยชน์สุขแก่คนสัตว์ทั้งหลาย หรือน้ำใจปรารถนาประโยชน์สุข ที่เป็นไปต่อมิตร (๒) กรุณา = ทำความสะเทือนใจแก่สาธุชน เมื่อคนอื่นประสบทุกข์ หรือถ่ายถอนทำทุกข์ของผู้อื่น ให้หมดไป หรือแผ่ใจไปรับรู้ต่อคนสัตว์ทั้งหลายที่ประสบทุกข์ (๓) มุทิตา = โมทนายินดีต่อผู้ประกอบด้วยสมบัติหรือผลดีนั้นๆ (๔) อุเบกขา = คอยมองดูอยู่ โดยละความขวนขวายว่าสัตว์ทั้งหลายจงอย่าผูกเวรกัน เป็นต้น และโดยเข้าถึงความเป็นกลาง [B] ลักษณะ หน้าที่หรือกิจ [รส] ผลปรากฏ [ปัจจุปัฏฐาน] และปทัสถาน [เหตุใกล้] [๑] เมตตา = [ในสถานการณ์ที่คนอื่นอยู่เป็นปกติ] (๑) ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการเกื้อกูลแก่คนสัตว์ทั้งหลาย (๒) หน้าที่ = น้อมนำประโยชน์เข้าไปให้แก่เขา (๓) ผลปรากฏ = กำจัดความอาฆาตแค้นเคืองให้ปราศไป (๔) ปทัสถาน = เห็นภาวะที่น่าเจริญใจของคนสัตว์ทั้งหลาย [๒] กรุณา = [ในสถานการณ์ที่คนอื่นตกทุกข์เดือดร้อน] (๑) ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการปลดเปลื้องทุกข์แก่คนสัตว์ทั้งหลาย (๒) หน้าที่ = ไม่นิ่งดูดาย/ทนนิ่งอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ของคนสัตว์ทั้งหลาย (๓) ผลปรากฏ = ไม่เบียดเบียน/อวิหิงสา (๔) ปทัสถาน = เห็นภาวะไร้ที่พึ่ง/สภาพน่าอนาถของคนสัตว์ทั้งหลายที่ถูกทุกข์ครอบงำ [๓] มุทิตา = [ในสถานการณ์ที่คนอื่นมีสุขสำเร็จหรือทำอะไรก้าวไปด้วยดี] (๑) ลักษณะ = พลอยยินดี/ยินดีด้วย (๒) หน้าที่ = ไม่ริษยา/เป็นปฏิปักษ์ต่อความริษยา (๓) ผลปรากฏ = ขจัดความริษยา ความไม่ยินดีหรือความทนไม่ได้ต่อความสุขสำเร็จของผู้อื่น (๔) ปทัสถาน = เห็นสมบัติ/ความสำเร็จของคนสัตว์ทั้งหลาย [๔] อุเบกขา = [ในสถานการณ์รักษาธรรมตามความรับผิดชอบต่อกรรมที่เขาทำ] (๑) ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการเป็นกลางต่อคนสัตว์ทั้งหลาย (๒) หน้าที่ = มองเห็นความเสมอภาคกันในสัตว์ทั้งหลาย (๓) ผลปรากฏ = ระงับความขัดเคืองเสียใจและความคล้อยตามดีใจ (๔) ปทัสถาน = มองเห็นภาวะที่ทุกคนเป็นเจ้าของกรรมของตน ว่าสัตว์ทั้งหลายจักได้สุขพ้นทุกข์ ไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้ที่ถึง ตามใจชอบได้อย่างไร
[C] สมบัติ [ความสมบูรณ์หรือความสัมฤทธิ์ผล] และวิบัติ [ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิดพลาด ไม่สำเร็จผล] (๑) เมตตา: สมบัติ = สงบหายไร้ความแค้นเคืองไม่พอใจ วิบัติ = เกิดเสน่หา (๒) กรุณา: สมบัติ = สงบหายไร้วิหิงสา วิบัติ = เกิดความโศกเศร้า (๓) มุทิตา: สมบัติ = สงบหายไร้ความริษยา วิบัติ = เกิดความสนุกสนาน (๔) อุเบกขา: สมบัติ = สงบหายไม่มีความยินดียินร้าย วิบัติ = เกิดความเฉยด้วยไม่รู้ [เฉยโง่ เฉยเมย เฉยเมิน] [D] ข้าศึก คือ อกุศลซึ่งเป็นศัตรูคู่ปรับที่จะทำลายหรือทำธรรมนั้นๆ ให้เสียไป (๑) เมตตา: ข้าศึกใกล้ = ราคะ ข้าศึกไกล = พยาบาท คือความขัดเคืองไม่พอใจ (๒) กรุณา: ข้าศึกใกล้ = โทมนัส คือความโศกเศร้าเสียใจ ข้าศึกไกล = วิหิงสา (๓) มุทิตา: ข้าศึกใกล้ = โสมนัส [เช่น ดีใจว่าตนจะพลอยได้รับผลประโยชน์] ข้าศึกไกล = อรติ คือความไม่ยินดี ไม่ใยดี ริษยา (๔) อุเบกขา: ข้าศึกใกล้ = อัญญาณุเบกขา [เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย] ข้าศึกไกล = ราคะ [ความใคร่] และปฏิฆะ [ความเคือง] หรือชอบใจและขัดใจ [E] ตัวอย่างมาตรฐาน ที่แสดงความหมายของพรหมวิหารได้ชัด ซึ่งคัมภีร์ทั้งหลายมักยกขึ้นอ้าง (๑) เมื่อลูกยังเล็กเป็นเด็กเยาว์วัย แม่ เมตตา รักใคร่เอาใจใส่ ถนอมเลี้ยงให้เจริญเติบโต (๒) เมื่อลูกเจ็บไข้เกิดมีทุกข์ภัย แม่ กรุณา ห่วงใยปกปักรักษา หาทางบำบัดแก้ไข (๓) เมื่อลูกเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวสวยสง่า แม่ มุทิตา พลอยปลาบปลื้มใจ หวังให้ลูกงามสดใสอยู่นานเท่านาน (๔) เมื่อลูกรับผิดชอบกิจหน้าที่ของตนขวนขวายอยู่ด้วยดี แม่ อุเบกขา มีใจนิ่งสงบเป็นกลาง วางเฉยคอยดู
พึงทราบด้วยว่า ฉันทะ คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ [ความอยากจะทำให้ดี หรือความต้องการที่จะทำให้คนสัตว์ทั้งหลายดีงามสมบูรณ์ปราศจากโทษข้อบกพร่อง เช่น อยากให้เขาประสบประโยชน์สุข พ้นจากทุกข์เป็นต้น] เป็นจุดตั้งต้นของพรหมวิหารทั้ง ๔ นี้ การข่มระงับกิเลส [เช่น นิวรณ์] ได้ เป็นท่ามกลาง สมาธิถึงขั้นอัปปนา [คือ ภาวะจิตที่มั่นคงเรียบรื่นสงบสนิทดีที่สุด] เป็นที่จบ ของพรหมวิหารทั้ง ๔ นั้น
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องสำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ [ตาหูจมูกลิ้นกายใจ] อยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต คือ ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ อย่างน้อยๆ ก็ให้ประพฤติ อานาปานสติสมาธิ ไว้เสมอ [กำหนดสติตามพิจารณาลมอัสสาสะกับลมปัสสาสะ] เพื่อป้องกันจิตไม่ให้หวั่นไหวไปตามกระแสโลกธรรมทั้งหลาย หรือจะเขยิบขึ้นมาเป็น สติปัฏฐาน ๔ เพื่อเจริญอนุปัสสนา ๓ ที่เรียกว่า กลาปวิปัสสนา เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ในเบื้องต้นก็ได้ สำหรับจุดประสงค์ในการเจริญสมถะและวิปัสสนานั้น เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นธรรมตามที่เป็นจริง นั่นคือ ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [อาณาจักรธรรม = สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมดับไปเป็นธรรมดา] ได้แก่ (๑) เห็นการเกิดนามรูปแห่งขันธ์อันเป็นทุกขสัจจ์ (๒) เห็นเหตุแห่งทุกข์อันเป็นสมุทัยสัจจ์ (๓) เห็นภาวะที่พ้นทุกข์ด้วยไตรลักษณ์อันเป็นนิโรธสัจจ์ (๔) เห็นแนวทางในการดับทุกข์อันเป็นมรรคสัจจ์ ซึ่งหมายถึง เกิดญาณในมรรค ๔ ที่เห็นความจริงอันประเสริฐที่เกิดดับในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ [อริยสัจจ์ ๔] นั่นเอง ข้อที่พึงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง คือ การมนสิการกรรมฐาน ก็คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิที่แน่วแน่ เพื่อให้จิตนั้นปราศจากนิวรณ์ เป็นจิตบริสุทธิ์ด้วยสติบริสุทธิ์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาไตร่ตรองสภาวธรรมทั้งหลาย ด้วยการเพ่งดูลักษณะอาการของสภาวธรรมนั้น ว่าเป็นจริงตามลักษณะในไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า สามัญลักษณะ ๓: อนิจจังทุกขังอนัตตา [กลาปวิปัสสนากลาปสัมมสนะ] ซึ่งจิตที่เป็นฌานสมาธิในจตุตถฌานได้ เรียกว่า จิตประภัสสร อันสะอาด อ่อน ชื่อตรง ควรแก่งาน และปราศจากนิวรณ์ มีสติสัมปชัญญะ [สติหรือญาณทัสสนะกับญาณ] ทำให้เกิด วิชชา ๓: ปุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณอาสวักขยญาณ [ระลึกชาติได้ เห็นการจุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายปัญญาดับอาสวะ] อันเป็นปัญญาในสมาธิ และพร้อมทำให้เกิด ญาณในวิปัสสนา ๓: นามรูปปริจเฉทญาณปัจจยปริคคหญาณสัมมาสนญาณ [ญาณแยกนามรูปญาณกำหนดปัจจัยนามรูปญาณเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์] อันเป็นปัญญาในวิปัสสนา ฉะนั้น องค์ความรู้ดังกล่าวนี้ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ในส่วนเบื้องต้นของการเจริญภาวนากรรมฐาน โดยประเด็นสำคัญนั้น คือ ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจด้วยศรัทธาปสาทะในเรื่อง กรรม กับ วิบาก ทำให้เห็นเรื่อง อกุศลกรรม กับ กุศลกรรม เข้าใจอย่างลึกซึ้งกับประเด็น ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว [กัมมัสสกตาญาณ] กล่าวโดยรวม เกิดประจักษ์แจ้งใน กฎแห่งกรรม [ธัมมัฏฐิติญาณ] จิตมีแนวโน้มไปใน อัปปมัญญาธรรม อย่างถูกต้อง ไม่ใช้เมตตากรุณาในทางที่ผิดจน เสียธรรม [ช่วยสัตว์ทั้งหลายจนตนเองลำบาก เพราะไม่ใช้เหตุผลและเข้าใจในธรรมด้วยปัญญาที่มีอุบายวิธีอันแยบคายในใจ] คือ มีอาการหลงบุญอย่างงมงาย เช่น ช่วยคนชั่ว ให้มีโอกาสทำชั่วได้มากขึ้น หรือ ช่วยเหลือคนอื่นหรือสัตว์ทั้งหลายจนตนเองเดือดร้อน อย่างขาดสติสัมปชัญญะ โดยไม่รู้จักประมาณตนอันเหมาะแก่ธรรม หรือไม่รู้ไม่เข้าใจในหลักการทำบุญที่ให้ผลบุญอันประเสริฐ คือ ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งทำให้ทานที่บริจาคแล้ว เป็นทานอันยอดเยี่ยม มีผลมาก อาจเห็นผลทันตา ที่เรียกว่า สัมปทาคุณ ๔ คือ ความถึงพร้อมในการทำบุญ แล้วได้บุญกุศลจริง ไม่เสียธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนในตนในภายหลัง ได้แก่ วัตถุสัมปทาปัจจัยสัมปทาเจตนาสัมปทาคุณาติเรกสัมปทา เป็นต้น เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมในพระศาสนานี้ จึงต้องอาศัยความเพียรชอบอย่างมากและความอดทนสูง เพราะเป็นธรรมอันประเสริฐซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติถูกต้องด้วยกุศลกรรมกลายเป็นอริยบุคคลได้จริง.
|