๑๐๐. ความเข้าใจจริงในภาวนากรรมฐาน The Right Understanding about Mental Development
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ความรู้แจ้งแทงตลอดในทางดำเนินของการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น เป็นการวางแผนในการปฏิบัติธรรมที่รอบคอบอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดใดๆ ให้มากที่สุด และเป็นการป้องกันการสูญเสียเวลาในการเข้าถึงความสำเร็จในการบรรลุธรรมวิเศษทั้งหลายที่ควรจะเป็น ฉะนั้น การศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้อง จึงเป็นการเพิ่มพูนความเข้าใจในธรรมทั้งหลายอย่างละเอียดประณีต ทำให้เกิดภาพรวมในการปฏิบัติธรรมที่ชัดเจนอย่างมีเป้าหมายสูงสุด ไม่ใช่ดำเนินไปอย่างไร้ทิศทางและมีข้อสงสัยกังวลเกิดขึ้นในธรรมที่ตนเองกำลังปฏิบัติอยู่ ความไม่แน่ใจหรือความวิตกกังกับงานที่ตนเองกำลังปฏิบัติอยู่ ย่อมเป็นเหตุให้มีอาการเสื่อมศรัทธาขึ้นได้ ในสิ่งที่จะเป็นคุณอันใหญ่ในอนาคต คือ การบรรลุโลกุตตรธรรมได้ แต่อุปสรรคต่างๆ ย่อมเข้ามาให้ผจญตามวาระผลแห่งกรรมที่ได้ประกอบไว้ก่อนหน้านั้นหรือในปัจจุบัน ก็ต้องรู้เห็นและเข้าใจอย่างเท่าทันสถานการณ์นั้นๆ ให้ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่หลงใหลไปกับสิ่งที่ล่อลวงใจให้ล้มเลิกในการปฏิบัติธรรม อันเป็นทางดำเนินที่ถูกต้องตามกำหนดธรรมดาแห่งธรรมชาติ และตามคำสอนของพระพุทธเจ้า [มัชฌิมาปฏิปทาอริยมรรคมีองค์ ๘] อนึ่ง สิ่งใดๆ ที่ไม่ถูกต้องเป็นไปตามหลัก กฎธรรมชาติ สิ่งนั้นทั้งหลายย่อมเป็นสิ่งที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นมา เพื่อสนองกิเลสตัณหาของตน และทำให้เกิด สังสารทุกข์แห่งภวจักร อย่างไม่จบสิ้น ยิ่งมีการตอบสนองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกิดทุกข์มากเท่านั้น ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมเป็นภาระหน้าที่ในการค้นหาหรือแสวงแนวทางในการดับทุกข์ [อริยมรรค ๔ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ที่ต้องเจริญภาวนาให้สำเร็จในกิจนั้นๆ] ไม่ใช่การแสวงหาความร่ำรวยยิ่งๆ ขึ้นไปตามคติทางโลก แต่เป็นค้นหาเส้นทางแห่งอริยมรรคเพื่อเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ให้ได้.
บทความที่ ๑๐๐ ประจำปี ๒๕๕๙ ความเข้าใจจริงในภาวนากรรมฐาน
เมื่อพิจารณาถึง จิตตสมาธิ ของผู้ปฏิบัติธรรมที่ดำเนินมาถูกต้องตามหลักธัมมานุธัมมปฏิปัตตินั้น ย่อมเป็นจิตที่ทรงพลานุภาพและนำไปใช้งานได้จริง โดยเฉพาะในขณะเผชิญปัญหาต่างๆ ทำให้คิดหาอุบายวิธีอันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนั้นๆ ประการสำคัญ เป็นการหลีกหนีจากการก่ออกุศลวิบากกรรมได้ นั่นคือ การตัดกรรม ในชาติปัจจุบันลงไปได้ เพราะรู้จักคิดรู้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นได้ดี ฉะนั้น จิตทรงสมาธิ หรือ จิตตสมาธิ นั้น มีความแตกต่างจากจิตในกระแสวิถีแห่งโลกธรรม หรือ วิถีจิต ที่เกิดดับในกระบวนการวิญญาณกิจของ ภวังคจิต กับ ตกภวังค์ ที่เป็นจิตที่ไม่ได้ประกอบด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ อนึ่ง วิถีจิต เป็นจิตที่เกิดนับไม่ถ้วนในทุกขณะจิต อันสหรคตด้วยอารมณ์ทั้ง ๖ ประการ ที่ผ่านเข้ามาทางอินทรีย์ทั้ง ๖ เช่นกัน ที่ทำให้เกิดการรู้แจ้งอารมณ์ เพราะรู้สึก เวทนา ๖ ต่ออารมณ์นั้นๆ และเข้ไปปรุงแต่งตามแรงปรารถนา สัญญา ๖ หรือตามเจตจำนงด้วย สัญเจตนา ๖ ทำให้เกิด กรรมภพ ต่างๆ [สังขาร ๓] และการลื่นไหลไปตามกระแสวิถีแห่งโลกธรรมทั้ง ๘ นั้น เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา อันเป็นเหตุให้เกิด ตัณหา ๓ตัณหา ๖ และเอาจิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสภาวธรรมนั้นๆ อีก ที่เรียกว่า อุปาทาน ๔ ผลลัพธ์ที่ตามมาแห่งวิบากกรรมนั้น ย่อมเกิด สังสารทุกข์ ด้วยบรรดา สังกิเลส ทั้งหลาย ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อุปาทานทุกข์ ในกระบวนการคิดพิจารณาสภาวะแห่งจิตที่กำลังดำเนินอยู่ในกระแสวิถีวิญญาณกิจนี้ คือ การพิจารณาถึงองค์ปัจจัยต่างๆ ที่มี การเกิดการตั้งอยู่การดับ ตามหลักอิทัปปัจจยตา หรือมิติความสัมพันธ์ของบรรดา ปัจจัยธรรม ทั้งหลาย ดังนั้น ความรู้เห็น [ญาณทัสสนะ] และรู้แจ้งรู้จริง [วิชชาอภิญญา] ในการกำหนดรู้ ทุกขสัจจ์ ได้ จึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการนำองค์ความรู้จากการฝึกฝนอบรมการเจริญสมาธิภาวนาอย่างถูกต้องมาใช้ในชีวิตจริง และเป็นประโยชน์อันสนับสนุนเกื้อกูลในการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้าสูงยิ่งๆ ขึ้นไป จนกว่าจะถึงปรมัตถประโยชน์แห่งนิพพาน อันสุดรอบแห่งชีวิตนี้ได้ จิตทรงสมาธิในขั้น จตุตถฌาน นั้น เป็นจิตที่สะอาดจากกิเลสนิวรณ์อย่างกลาง ที่เรียกว่า วุฏฐานกิเลส หมายถึง กิเลสที่กลุ้มรุมจิตใจอยู่ตลอดเวลา เพราะจิตไม่เป็น สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ในอธิจิตตสิกขา จนเกิดความรู้สึกคุ้นเคยในกิเลสนิวรณ์ทั้งหลาย เมื่อจิตมีแต่กิเลสนิวรณ์เครื่องเศร้าหมองจิตนั้น ย่อมทำให้บุคคลนั้นเข้าถึงความดีได้ยาก มีความนึกคิดมองโลกในแง่ร้าย เพราะ นิวรณ์ [อุปสรรค] ทั้งหลาย นั่นเอง จิตปราศจากนิวรณ์นี้ เรียกว่า จิตประภัสสร หมายถึง จิตที่ชำระตนให้ถึงจิตตามสภาพดั้งเดิมด้วยอำนาจครอบครองแห่งอธิจิตต์ ที่สามารถข่มระงับกิเลสนิวรณ์ได้ในขณะที่ทรง สัมมาสมาธิกุศลรูปาวจรฌานจิต อยู่นั้น อันไม่ใช่ภาวะที่จิตเป็นสมาธิสามัญทั่วๆ ไปในชีวิตปกติ เช่น ในขณะเรียนหรืออ่านหนังสือ เดิน ยืน นั่ง นอน ทำ คิด เป็นต้น จิตประภัสสร นี้ ยังไม่ถือเป็นจิตที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริงจากกิเลสอย่างละเอียดที่หมักดองอยู่ในพื้นจิตตสันดาน [จิตไร้สำนึก] ที่เรียกว่า อนุสยกิเลส เช่น อนุสัย ๗สังโยชน์ ๑๐อาสวะ ๔ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปปัญจธรรม ๓ ที่ปิดกั้นปัญญาให้ไม่รู้ปัญหาทุกข์ง่ายๆ ไม่ออก ไม่รู้ตามสภาวะที่เป็นจริงตามกำหนดธรรมดาได้จริง ได้แก่ ตัณหาทิฏฐิมานะ ที่จิตของปุถุชนแพ้ทางอยู่ตลอด หรือผสมปนเปกับ อนุสัย ๗ [สังโยชน์ ๗] ยิ่งเพิ่มกำลังจิตให้รุนแรงในอารมณ์ยิ่งขึ้น ได้แก่ กามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะอวิชชา เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมมาอย่างถูกวิธีตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมมีจิตรู้เท่าทัน [สติสัมปชัญญะญาณทัสสนะ] กับเหตุปัจจัยอันเกิดสภาพแห่งทุกข์ [ทุกขตาทุกขสัจจ์ปุพเพนิวาสานุสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ = ทิฏฐิวิสุทธิ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗) หมายถึง ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง อันเป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด] และรู้เท่าทันกับอุบายวิธีในการดับทุกข์นั้นๆ ที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ คือ เกิดปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริงตามหลักปฏิจจสมุปบาท [ธัมมฐิติญาณสัมมาทัสสนะ] ดังนั้น ในการพัฒนาจิตไปสู่จิตปราศจากกิเลสนิวรณ์ [นิวรณ์: กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอรติอวิชชาอกุศลธรรมทั้งหลาย] ได้นั้น เพื่อเป็นการเข้าไปรู้เห็นจิตตามสภาพที่เป็นจริงดั้งเดิม ที่เรียกว่า ฐิติภูตฐิติภูตะฐิติภูตัง นั่นคือ จิตตามสภาพดั้งเดิม ปฐมวิญญาณ ที่ไม่ถูกกลุ้มรุมด้วย ปริยุฏฐานกิเลส [นั่นคือ จิตที่สะอาดบริสุทธิ์แต่ยังไม่บริสุทธิ์จาก อนุสยกิเลสกิเลสานุสัย ซึ่งต้องชำระให้หมดจดได้ด้วย อธิปัญญาสิกขา เท่านั้น] ซึ่งตรงกับ คำว่า จิตประภัสสร หมายถึง จิตเดิมแท้ที่ยังว่างอยู่ ยังไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง ยังไม่ถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส ไม่ถูกหุ้มห่อด้วยผลของกิเลส คือ ความดี ความชั่ว เป็นต้น เหมือนอย่างเพชร มันมีรัศมีในตัวมันเอง มันเรืองแสงของมันได้ เหมือนอย่างจิตเดิมแท้ประภัสสร แต่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ มันจึงเปลี่ยนแปลงได้ มันจึงต้องมีการอบรมจนเป็นประภัสสรที่ถาวร ชนิดที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น กุศลวิบากจิตที่เกิดจากเจริญฌานจิตนั้น ทำให้เกิด จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง ได้จริง เพระฉะนั้น จิตตัวต้นทางแห่งรากเหง้าของอวิชชาจึงมาจาก ฐิติภูต หรือดวงจิตแห่งอาตมัน [พื้นจิตตสันดานจิตไร้สำนึก: Unconscious Mind] ที่สะสม กรรมวิบากตามกิเลส ที่เรียกว่า ไตรวัฏฏะวัฏฏะ ๓ หรือ สังสารทุกข์แห่งภวจักร คือ สภาพแห่งทุกข์ที่เกิดดับ หมุนเวียน เวียนว่าย ตายเกิด อย่างไม่สิ้นสุด หลายภพหลายชาติ [รู้เห็นด้วย: ทิพพจักขุญาณ] ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ คือ วงจรชีวิต" [The Cycle of Life] ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องของทุกชีวิต [ชีวิตสันตติในสังสางจักร] ไม่เกี่ยวข้องว่าจะนับถือศาสนาใด หรือมีความเชื่อ ความศรัทธา ความเลื่อมใน ในลัทธิใดๆ คำว่า ทุกข์ทุกขตา นี้ ย่อมเป็น กฎธรรมชาติ [Natural Law] นั่นคือ ตถตาDependent Origination: สัจจธรรมแห่งชีวิตที่แน่นอน เป็นความจริงที่ประเสริฐสูงสุด เป็นความจริงแห่งอริยะ ที่เรียกว่า ทุกขอริยสัจจ์ [The Universality of Suffering] ส่วนรากเหง้าแห่งทุกข์ คือ อวิชชาIgnorance ก็ถือเป็น สมุทัยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ [The Universality of the Cause of Suffering] หรือทั้ง ทุกข์ กับ สมุทัย นั้น หมายถึง ความจริงอันสูงสุดโดยปรมัตถ์ และรากเหง้าอันเป็นที่สุดแห่งอวิชชา นั่นคือ ฐิติภูตฐิติภูตะฐิติภูตัง ที่ทำหน้าที่เป็น เหตุปัจจัย ของความไม่รู้จริง หรือความหลงใหลขาดสติสัมปชัญญะ [อโยนิโสมนสิการ] เมื่อรากเหง้าแห่งอวิชชาถูกระงับกิเลสอย่างกลางลงไปได้ คือ นิวรณูปกิเลส ทั้งหลาย ขั้นต่อไปยังต้องอาศัย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ [มัคคญาณ] เป็นกุศลธรรมเครื่องทำลายดับ สังโยชน์อวิชชา ขั้นกิเลสอย่างละเอียดขึ้นไปอีก คือ ดับด้วย (๑) วิชชาในสมาธิ กับ (๒) ญาณในวิปัสสนาภาวนามยปัญญา นั่นคือ อภิญญาญาณเครื่องดับ อวิชชา ด้วยสมาธิและปัญญา [ปัญญาในสมาธิญาณทัสสนะวิชชา กับ ปัญญาในวิปัสสนายถาภูตญาณยถาภูตญาณทัสสนะธัมมฐิติญาณ] ด้วยการทำกุศลกรรมโดย โยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาไตร่ตรองปัญหาแห่งทุกข์ให้ครบถ้วน ในทุกขั้นตอน ทุกแง่มุม ของสภาพแห่งทุกข์นั้นๆ และเหตุปัจจัยแห่งทุกข์นั้นๆ เพื่อให้เห็นสภาพแห่งความจริงของความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง ซึ่งกระบวนการคิดแห่งธรรมดังกล่าวนี้ เรียกว่า อริยสัจจธรรม: อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ [The Universality of Absolute Truths] อันถือเป็นความจริงสูงสุดที่แน่นอนตามกำหนดธรรมดา คือ กฎธรรมชาติ [Natural Law] หรือ ธรรมนิยาม ๓ [สามัญลักษณะแห่งไตรลักษณ์สัมมสนญาณ (สัมมสนะ = พิจารณาคิดไตร่ตรอง ให้รู้เห็นตามเป็นจริง: อนิจจังทุกขังอนัตตา)] หมายถึง คำอธิบายสภาวธรรมแห่งสัจจธรรม [ธรรมฐิติตถตา] โดยเกิดบรรลุธรรมถึง ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ หมายถึง ปัญญาเห็นธรรมทั้งปวงในอาณาจักรแห่งธรรมทั้งหมด [ธรรมจักร: กุศลธรรมอกุศลธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม] แล้วต้องเกิดปัญญาเห็นนามรูปแห่งขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์ โดยเริ่มจาก สังขตธรรม จนไปสู่ อสังขตธรรม [นิพพาน] ด้วยปัญญารู้ชัดแห่งสัญญา [อนุปัสสนาอภิญญา] ใน อนัตตตาสุญญตา จนเกิดปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธะ] ด้วยความรู้แจ้งแทงตลอดถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน อันเป็นสภาวะแห่งบรมธรรมในพระธรรมวินัยนี้ นอกจากนี้ ข้อพึงสังเกตในการปฏิบัติธรรมนั้น คือ กระบวนการคิดในการแก้ปัญหาเชิงวิจัย ในการวินิจฉัย การตรวจสอบ การค้นหา เกี่ยวกับสาเหตุของสภาพแห่งทุกข์ ปัญหา อุปสรรค หรือ สิ่งกีดขวางในชีวิตให้ไม่สงบสุข [วิปฏิสารความเดือดร้อน] โดยให้ไตร่ตรองถึง วิถีชีวิตแห่งจิตวิญญาณ ทั้งกระบวนชีวิต ที่เรียกว่า ชีวิตสันตติแห่งสังสารจักร ซึ่งต้องเป็นไปตามอริยสัจจธรรม [อริยสัจจ์ ๔] ไม่ใช่เป็นไปตามความนึกคิดของใครคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้กำหนดได้ดังใจนึก คือ ความเป็นบ้าตามกระแสโลกนิยม ที่ทางธรรมเรียกว่า โลกธรรม ๘ อันเป็นกระบวนวิถีชีวิตใน วัฏฏสงสารแห่งปุถุชน ผู้ไม่ได้ศึกษาธรรมตามคำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าบุคคลผู้กำหนดจิตให้อยู่เหนืออำนาจความใคร่ปรารถนาและความไม่ใคร่ปรารถนาในโลกธรรมได้ บุคคลนั้น ย่อมได้ชื่อว่า มีจิตหรือมีอารมณ์แห่งอรหันต์ อยู่เหนือสภาพแห่งทุกข์ ได้แก่ ชาติชราพยาธิมรณะ และ สังกิเลส ทั้งหลาย ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส อันเป็นภาวกำหนดแห่งธรรมดาในวัฏฏะทั้ง ๓ คือ กิเลสกรรมวิบาก ซึ่งมีเจตนาจำนงจากพื้นจิตตสันดานแห่งอนุสยกิเลส ดังเช่น อนุสัย ๗ [สังโยชน์ ๗] ได้แก่ กามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะอวิชชา โดยจะต้องอาศัยอำนาจแงปัญญาในวิปัสสนาในการดับกิเลสอย่างละเอียดดังกล่าวนี้เท่านั้น นั่นคือ มัคคญาณ หรือปัญญารู้แจ้งใน ทุกขนิโรธรมมินีปฏิปทาอริยสัจจ์ [มรรค ๔] รวมทั้ง ปัญญาในการดังอาสะทั้งหลายได้ คือ ความตรัสรู้ด้วยความรู้แจ้งแทงตลอดโดยอธิคมธรรม นั่นคือ อาสวักขยญาณ [มีอาการ ๖๔] อันเป็นอินทรีย์ที่แกกล้าเพื่อการบรรลุบรมธรรมนี้ เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน [อรหัตตผลวิมุตติ] หรือ สัมมาวิมุตติ แห่งพระอเสขปฏิปทาที่สุดรอบเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น หลักการใหญ่ คือ อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ ส่วนข้อประพฤติปฏิบัติอันยิ่งนั้น คือ ไตรสิกขาสิกขา ๓ ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา [อนุปุพพสิกขาศึกษาและปฏิบัติตามลำดับนั้น] ในกระบวนการคิดพิจารณาที่มนสิการกรรมฐาน คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นคือ (๑) เริ่มด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา และ (๓) นำไปสู่ปัญญา ซึ่งเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ดังนั้น หลักปฏิบัติธรรมอันเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเจริญภาวนาอยู่อย่างสืบเนื่องเป็นนิตย์ คือ อภิญญาเทสิธรรม หมายถึง ปัญญารู้แจ้งแทงตลอดแห่งความตรัสรู้ ที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ และส่วนปัญญาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในภูมิแห่งวิปัสสนานั้น ได้แก่ วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ: ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ รวมทั้งธรรมอันเป็นผลจากปัจจัยธรรม ได้แก่ กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติธรรมจึงมี ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ภาคทฤษฎี กับ (๒) ภาคปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีความถึงพร้อมอย่างสมบูรณ์ นั่นคือ ทิฏฐิสัมปทา ที่เป็น สัมมาทิฏฐิ และสามารถพัฒนาไปสู่ ทิฏฐิวิสุทธิ จนถึง ญาณทัสสนวิสุทธิ [ความรู้ในอริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔] กระบวนการคิดพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายนั้น ต้องเกิดขึ้นในกำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา อันหมายถึง เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ [วิมุตติ ๒] ที่มาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันใน อริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น อันเป็นสภาวะที่ถูกต้องและดีเยี่ยม หรือ ภูมิแห่งอริยะ นั่นคือ โลกุตตรภูมิ เพราะฉะนั้น ฐานกำลังอันสำคัญเพื่อให้เกิดปัญญาตรัสรู้ [อาสวักขยญาณสัมโพธิญาณ] จึงเป็นความเข้าใจอย่างถูกต้องในขณะมนสิการกรรมฐาน นั่นคือ อารมณ์แห่งกรรมฐาน ที่เกิดขึ้นทุกขณะจิตระหว่า อินทรีย์ ๖ กับ อารมณ์ ๖ โดยเกิดปัญญาเห็นธรรมในนามรูปแห่งขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า สัมมสนะสัมมาสนญาณ [ความประกอบความเพียรด้วยการเจริญ อนุปัสสนา ๗ อันเป็นฐานสำคัญแห่งปัญญาญาณที่เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาแตกฉานในธรรมทั้งหลาย ๔ ประการ ที่เรียกว่า จุตปฏิสัมภิทาญาณ หรือ ปฏิสัมภิทา ๔ ซึ่งจะต่อยอดทำให้เกิด ปุถุปัญญา และ หาสปัญญา แห่งพระอรหันต์] ฉะนั้น การเข้าถึงการบรรลุอธิคมปฏิเวธในอริยสัจจธรรมในพระธรรมวินัยนี้ จึงเป็นเรื่องของ (๑) สมาธิแห่งอธิจิตตสิกขาพระสุตตันตปิฎก กับ (๒) ปัญญาแห่งอธิปัญญาสิกขาพระอภิธรรมปิฎก โดยมีหลักประพฤติปฏิบัติสัมมาปฏิปทาอันยิ่งแห่งทศบารมีที่มาจาก (๓) ศีลแห่งอธิสีลสิกขา อันเป็นรากฐานสำคัญยิ่งแห่งพระวินัยปริยัติทั้งปวง สิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ จึงมาจาก (๑) ปรโตโฆสะ กับ โยนิโสมนสิการ คือ ความประกอบความเพียรในการค้นคว้าธรรมและหมั่นตริตรึกกับไตร่ตรองด้วยการจำแนกแจกธรรมได้ จนสามารถบรรลุถึง ดวงตาเห็นธรรม คือ การเห็นอันเยี่ยมในอาณาจักรแห่งธรรมทั้งปวง [ทัสสนานุตตริยะ] จนถึงปัญญาเห็นธรรมในระดับบรมธรรม [พระนิพพาน] ว่ามีสภาพเป็นเช่นใด ที่จะเข้าไปถึงได้ ที่เรียกว่า สัจจภาวะแห่งนิพพาน แล้วต้องรู้ด้วยว่า วิธีการจะปฏิบัติให้ถึง โลกุตตรธรรม นั้น คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกว่า ปฏิปทานุตตรยะ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัตินี้ จะนำไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายกับทุกข์ทั้งปวง คือ ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ เรียกว่า วิมุตตานุตตริยะ ฉะนั้น ฐานปัญญาอันยิ่งดังกล่าวนี้ เกิดจาก จตุปฏิสัมภิทาญาณ คือ ปัญญาแตกฉานในอริยธรรมและอริยมรรคทั้งหลาย ซึ่งต่อยอดปัญญาเป็น (๑) ปุถุปัญญา อันเป็นปัญญาที่พึ่งตนเองได้ ความเป็นอัตตนาถะ อย่างอิสระ และ (๒) หาสปัญญา อันเป็นปัญญาที่สหรคตด้วย กรุณาธรรม ด้วยร่าเริงใจปราศจากกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้ด้วย นั่นคือ ความเป็นโลกนาถ กล่าวคือ คุณธรรมเหล่านี้ต่างเป็นคุณสมบัติแห่งโพธิสมภารเพื่อความตรัสรู้สัมโพธิญาณ นั่นอง ประการสุดท้ายนี้ ในการปฏิบัติธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเลือกสถานที่ที่เป็นชัยภูมิแห่ง สัปปายะ อันเป็นสภาแวดล้อมอันเหมาะควรแก่อริยธรรม ไม่ใช่สถานที่อโคจร ทุกสิงทุกอย่างต้อมีความเหมาะสมเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน ไม่ใช่มีแต่ความขัดแย้ง ไม่เป็นสิริมงคล เป็นสมบัติไม่ใช่วิบัติแห่งธรรม แต่อย่างไรก็ตาม สภาพจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีอิทธิพลเหนือสิ่งอื่นใดทั้งปวง ถ้าใจไม่เป็นประธานเป็นอธิบดีแห่งวิปัสสนา เป็นคุณชาติแห่งสมถะแล้ว วิบกกรรรมที่เกิดขึ้นย่อมอยู่ห่างไกลจากการบรรลุธรรมอย่างแน่นอน เมื่อใจเป็นใหญ่ เป็นอิสระ ไม่เป็นทางกิเลส เป็นจิตปราศจากนิวรณ์ ย่อมมีความรู้เห็นแห่ง ญาณทัสสนะ ที่สหรคตด้วยความรอบรู้แห่ง สัมปชัญญะ คือ มีปัญญารู้และเห็นว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่ใช่ประโยชน์ นอกจากนี้ ในการรักษาอารมณ์แห่งกรรมฐานให้เจริญพอกพูนมากขึ้นด้วยอริยมรรคอันยิ่ง คือ ไม่อับจนปัญญาด้วย อโยนิโสมนสิการ [อวิชชาคิดไม่ออก] พร้อมทั้ง อย่าลืมกรรฐานสำคัญที่ต้องดำเนินตลอดทุกขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม คือ การเจริญ อานาปานสติสมาธิ ที่มั่นคงแห่งจิตอันทำให้รู้เห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง จนเกิดการเห็นแจ้งในอาณาจักแห่งธรรมด้วย ญาณในวิปัสสนา ทั้งหลาย นั่นคือ เห็นกายสังขารทั้งปวง เห็นเวทนาแห่งวจีกรรมทั้งปวง เห็นจิตแห่งมโนกรรมทั้งปวง และเห็นธรรมแห่งอริยสัจจธรรมทั้งปวง ด้วยปัญญาและเหตุผลว่า ทั้งหลายทั้งปวงนั้น สักว่า กายเวทนาจิตธรรม ไม่ใช่ตัวตนที่จะต้องไปยึดมั่นถือมั่นให้จิตมัวหมองขุ่นมัว ไม่เป็นอิสระเบิกบานใจ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ คือ อกุศลนิวรณ์ ธรรมเครื่องเศร้าหมองที่ครอบงำปัญญาให้ออกจากความจริง อันเป็นอริยสัจจธรรมในพระธรรมวินัยนี้ ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นการบำเพ็ญภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา แล้วนำไปต่อยอดปัญญา ให้ยิ่งไพบูลย์สมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้นไป จนก้าวไปสู่ โลกุตตรธรรม ที่สุดเขตแดนแห่งปัญญาที่ บรมธรรมอมตธาตุ ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน อันเป็นอารมณ์ของอรหันต์อย่างแท้จริง ด้วยประการฉะนี้.
|