๑๐๒. ลมหายใจแห่งพระโสดาบัน The Breaths of Stream Enterer
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ผู้บรรลุธรรมวิเศษในเบื้องต้นของพระพุทธศาสนานั้น เรียกว่า โสดาบัน โดยจำแนกออกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) โสดาปัตติมรรคโสตาปัตติมัคคญาณ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วย อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (ข้อ ๒๐ ในอินทรีย์ ๒๒) ซึ่งเป็นอินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังมิได้รู้ กับ (๒) โสดาปัตติผลโสตาปัตติผลญาณ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วย อัญญินทรีย์ (ข้อ ๒๑ ในอินทรีย์ ๒๒) อันเป็นอินทรีย์แห่งอัญญาหรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง เหตุปัจจัยประการแรกในการเข้าถึงอินทรีย์ดังกล่าวนี้ได้ สืบเนื่องจากการเข้าถึงความสงบแห่งจิตเป็นสำคัญ ที่ทำให้เกิดอำนาจแห่งจิตตสมาธิ ในการเข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรคได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องได้ ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ หมายถึง การได้ปัญญาเห็นธรรมทั้ง (๑) ทุกขสัจจ์ คือ สภาพแห่งทุกข์ และ (๒) สมุทัยสัจจ์ คือ เหตุแห่งทุกข์ พร้อมด้วยปรีชาสามารถระงับกิเลสอย่างละเอียดได้ในบางส่วน ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส และสามารถเสวยผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานได้ในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเป็นพระโสดาบันได้นั้น จึงจำเป็นต้องได้รูปฌานขั้นที่ ๔ อย่างสมบูรณ์ คือ จิตประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ นั่นคือ จัดเป็นจิตตสมาธิในระดับ อัปปนาสมาธิ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร [จิตตามสภาพดั้งเดิม] อันเกิดจากการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานใน อานาปาสติสมาธิ ในความเป็นจริงนั้น จตุตถฌานจิตตสมาธิในขั้นนี้ ย่อมทำให้ได้ วิชชา ๓ อันเป็นผลกุศลวิบากแห่งการปฏิบัติธรรม สามารถเข้าถึงปัญญาเห็นธรรมใน (๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ นั่นคือ เห็นสภาพแห่งทุกข์ กับ (๒) จุตูปปาตญาณปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม นั่นคือ เห็นสาเหตุแห่งทุกข์ ฉะนั้น ในการบรรลุธรรมวิเศษดังกล่าวนี้ได้นั้น ย่อมเกิดจาก สัมมาทิฏฐิ เป็นประการสำคัญ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจรู้เห็นอย่างผิดๆ ก็ย่อมสภาวธรรมในภาวนากรรมฐานอย่างผิดๆ เช่นกัน.
บทความที่ ๑๐๒ ประจำปี ๒๕๕๙ ลมหายใจแห่งพระโสดาบัน
มนุษย์ทุกคนมีลมหายใจเข้าออกถึงมีชีวิตอยู่ได้ ในทางธรรมนั้น ลมหายใจเข้าลมอัสสาสะ กับ ลมหายใจออกลมปัสสาสะ เรียกว่า กองลมทั้งปวงกายสังขาร ซึ่งหมายถึง พฤติกรรมที่เป็น กายกรรม อย่างหนึ่ง แต่ถ้าพิจารณาตามหลักธรรมให้ดีแล้ว กายกรรม นี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ วจีกรรม [วิตกวิจาร] และ มโนกรรม [สัญญาเวทนา] ฉะนั้น ถ้าจิตเป็น อกุศลธรรม ลักษณะของลมหายใจจะหยาบรุนแรง เช่น ราคะโทสะโมหะ [อกุศลมูล ๓] แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าจิตเป็น กุศลธรรม ลักษณะของลมหายใจจะละเอียดนุ่มเบา เช่น อโลภะอโทสะอโมหะ [กุศลมูล ๓] แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจิตเป็น อาเนญชา หรือ รูปาวจรฌานจิต ที่นับตั้งแต่ ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌาน จนถึง จตุตถฌาน ซึ่งเป็น รูปราคะ (ข้อ ๕ ในสังโยชน์ ๑๐) รวมถึง อรูปฌาน ๔ ได้แก่ (๑) อากาสานัญจายตนะ คือ ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๒) วิญญาณัญจายตนะ คือ ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๓) อากิญจัญญายตนะ คือ ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ และ (๔) เนวสัญญานาสัญญาญายตนะ คือ ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ [จตุตถฌาน กับ อรูปฌาน ๔ เรียกว่า อาเนญชา] ลักษณะของลมหายใจในขั้นนี้ จะละเอียดประณีตยิ่งขึ้น จนรู้สึกว่าไม่มีลมหายใจปรากฏอยู่ เหลือเพียงแต่ เจตสิก กับ จิต เท่านั้น เพราะผู้ปฏิบัติธรรมสามารถดับ กายสังขาร กับ วจีสังขาร ได้แล้ว และดับ ปีติ กับ สุข แห่งความรู้สึกใน เวทนา ได้ คงเหลือแต่ เอกัคคตาแห่งสมาธิ กับ อุเบกขา เท่านั้น ที่เป็นเหตุปัจจัยทำให้จิตปราศจาก นิวรณ์ เรียกว่า จิตประภัสสร [จตุตถฌาน] อันเป็นจิตที่สะอาด อ่อนนวล ชื่อตรง ควรแก่งาน อันเป็นบาทวิถีในสมถะ [อรูปฌาน ๔] และวิปัสสนา [ญาณ ๑๖มหาวิปัสสนา ๑๘] ต่อไป แต่ผู้มีบุญหนักนั้น ก็สามารถเจริญอรุปฌานกรรมฐานได้ ซึ่งถือเป็น อรูปราคะ (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐) ดังนั้น ในขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมข้ามโคตรจาก ปุถุชน ไปเป็น อริยบุคคล ด้วย โคตรภูญาณ นั้น มัคคญาณ จะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสสังโยชน์ทั้ง ๑๐ อย่าง ให้หมดไป รวมทั้ง ฌานสมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔ นั่นคือ รูปราคะอรูปราคะ จนรวมถึง มานสังโยชน์อุทธัจจสังโยชน์อวิชชาสังโยชน์ แต่ยังเหลือ อวิชชาสวะ (ข้อ ๔ ในอาสวะ ๔) ซึ่งจะถูกกำจัดโดย อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) เท่านั้น ซึ่งรวมทั้ง กามาสวะภวาสวะทิฉฐาสวะ โดยรวม นั่นคือ อาสวะ ๔ [กามภพทิฏฐิอวิชชา] แต่อย่าลืมว่า ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็เริ่มนับตั้งแต่ลมหายใจเข้าออก ๑ กลายเป็นสมาธิฌาน ๑ และกลายเป็นวิปัสสนาญาณ ๑ ตามลำดับ ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมอาจเกิดความฟุ้งซ่านสำคัญตนผิดในธรรม ว่าตนได้บรรลุคุณวิเศษแล้ว ทั้งที่เป็นผู้หลงทิศในสมถะกับวิปัสสนา อันเกิดจาก มิจฉาทิฏฐิ [การได้สัมผัสกับ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ได้แก่ โอภาสญาณปีติปัสสัทธิสุขอธิโมกข์ปัคคาหะอุปัฏฐานอุเบกขานิกันติ] ที่มองข้ามไป [ปมาทะ] เพราะไม่เกิดปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ [สัมมสนญาณ ซึ่งเกิดขึ้นต่อจาก ทิพพจักขุญาณ หรือ ดวงตาเห็นธรรม] ได้ อนึ่ง สมาธิ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการปฏิบัติธรรม นั่นคือ อานาปาสติสมาธิ ไม่ว่าจะอยู่นอกสมาธิหรือในสมาธิก็ตาม คำว่า นอกสมาธิ คือ สมาธิสามัญขณิกสมาธิ ส่วน คำว่า สมาธิในสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นแน่วแน่สนิทอย่างจงใจฝึกฝน [รูปฌาน ๔] ให้เกิดขึ้น สมาธิในระดับฌานขั้นที่ ๔ นี้ เป็นบ่อเกิดของความรู้แจ้ง ความรู้ชัด ความรู้ยิ่ง นั่นคือ วิชชา ๓วิชชา ๘ และ อภิญญา ๖ อันจะเป็นปัญญาความรู้สำคัญในการเจริญวิปัสสนา ที่ทำให้เกิด (๑) ญาณในวิปัสสนา ๓ (๒) วิปัสสนาญาณ ๙ (๓) โคตรภูญาณ (๔) มรรคญาณ ๔ (๕) ผลญาณ ๔ (๖) ปัจจเวกขณญาณ มีอาการ ๑๙ [เทียบเคียงกับ: อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔ ในวิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖] และ (๗) นิพพาน ๒ คำว่า ญาณในวิปัสสนา (ข้อ ๑ ในวิชชา ๘) ในที่นี้ ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ และ (๓) สัมมสนญาณ ในขั้นตอนดังกล่าวนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องจำแนกแยกธรรมได้ถูกต้องตามลำดับ มิฉะนั้น จะฟั่นเฟือนสับสน เป็นงงงวยโดยใช่เหตุ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ มักจะหลงทิศหลงทางในธรรมช่วงได้ ปฐมฌานทุติยฌาน และก้าวสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา ด้วยความไม่พร้อมโดย สัมมาทิฏฐิ [อริยสัจจ์ ๔กาล ๓ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ไตรลักษณ์] เพราะจิตยังไม่ปราศจากนิวรณ์อย่างแท้จริง ยังเป็นสมาธิที่ยังไม่สะอาดบริสุทธิ์จริง มิจฉาสมาธิ หรือจะพูดให้ละเอียดยิ่งขึ้น คือ ยังเข้าไม่ถึง อธิจิตต์ [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] คือ มี ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา ไม่ครบหลักสูตร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงมีความผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ไม่ใช่ความจริงที่ใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้กำหนดไว้ ก็ให้ถือ กฎธรรมชาติธรรมนิยาม ๓ เป็นสำคัญ อันเป็นความถูกต้องสูงสุดโดยปรมัตถ์ [ปรมัตถสัจจะพระอภิธรรมปิฎกทั้งปวง] ฉะนั้น ความไม่รู้เพราะความไม่อยากรู้จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ขัดขวางความสำเร็จในการบรรลุธรรมถึง ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ เพราะความไม่ชอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่เรียกว่า ผู้คงแก่เรียน [พาหุสัจจะ] ความด้อยปัญญาจึงเป็นอันตรายต่อความตรัสรู้ [สัมโพธะ] อย่างแท้จริง และประการสำคัญพระพุทธศาสนามีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับ ปัญญา ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม คือ (๑) ความมีสติสัมปชัญญะ (๒) ด้วยความไม่ประมาท ในทุกขณะลมหายใจแห่งชีวิต การตั้งสมาธิกำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกให้เป็นเครื่องระลึกของ สติ [สัมมสนะพิจารณาโดยไตรลักษณ์ = สัมมสนญาณ] และเครื่องเรียนรู้ของ สัมปชัญญะ จึงเป็นพฤติกรรมที่ละเว้นมองข้ามไปไม่ได้เด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่นอกหรือในการเจริญภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินชีวิตตามปกติประจำวัน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องรักษาอารมณ์แห่งกรรมฐาน [ปรมัตถสัจจะ] คือ สมาธิ ไว้ให้ได้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องกันในการปฏิบัติธรรมอย่างถูกขั้นตอน ฉะนั้น สมาธิ จึงเป็นจิตอันทรงพลัง ประกอบด้วยความเพียรใหญ่และสติปัญญา ที่เรียกว่า อธิจิต อันเป็นจิตปราศจากนิวรณ์ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมก็ต้องฝึกฝนให้ได้จิตดวงนี้ อันเป็นนิมิตแห่งความสำเร็จในการบรรลุธรรมวิเศษในพระศาสนานี้ แต่ในความเป็นจริงนั้น เส้นทางที่จะบรรลุธรรมนั้น มี ๓ แนวทาง โดยดำเนินตาม ไตรสิกขา แต่ก็ความดำเนินปฏิบัติตามลำดับให้ถูกต้อง ที่เรียกว่า อนุปุพพสิกขา ได้แก่ (๑) ศีลอธิสีลสิกขา (๒) สมาธิอธิจิตตสิกขา (๓) ปัญญาอธิปัญญาสิกขา แต่กระบวนการคิดที่เป็นหลักใหญ่ใจความนั้น คือ ลำดับการคิดตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ อธิปัญญาสิกขาอธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขา นั่นคือ ต้องประกอบด้วยปัญญา ได้แก่ (๑) เริ่มด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา (๓) นำไปสู่ปัญญา ซึ่งเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพื่อให้เข้าถึง อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ นั่นเอง ฉะนั้น ลำดับการศึกษาฝึกอบรมจิตใจและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่นึกอยากทำอะไรก็ทำตามอารมณ์พอใจ เพราะเหตุและผลในขั้นตอนต่างๆ ต้องหวังผลสำเร็จก่อนเริ่มงานชิ้นอื่นต่อไป เช่น เสาตั้งยังไม่เสร็จ แต่จะทำหลังคาก่อน ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย แต่ถ้าจะผลิตส่วนประกอบแต่ละองค์ประกอบของบ้านไว้ก่อน แล้วนำมาประกอบเป็นตัวบ้านนั้น ย่อมทำได้ตามระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เช่น การผลิตเครื่องบิน รถยนต์ บ้านสำเร็จรูป เป็นต้น แต่ระเบียบวิธีขั้นตอนการปฏิบัติงานนั้น ต้องประกอบด้วยเหตุและผลเชิงตรรกะ ไม่ใช่จะทำแบบมั่วๆ ไร้ระเบียบขั้นตอนไม่ได้อย่างเด็ดขาด อย่างเช่น การวางแผนการดำเนินขั้นตอนวิจัย ที่ต้องมีการมองเห็นภาพรวมแห่งความสำเร็จของงานอย่างชัดเจน [สัจฉิกิริยาทำให้รู้แจ้งชัดเจน] ที่เรียกว่า ระเบียบวิธีวิจัย [Research Methodology] ในทางปฏิบัติธรรมอันเป็นฝ่ายนามธรรมด้านจิตวิญญาณนั้น ก็ยิ่งมีความต้องการขั้นตอนการปฏิบัติธรรมที่ละเอียดประณีตย่องกว่านั้น เพราะเป็น เรื่องจิตตามพิจารณาจิต ไม่มีห้องทดลองวิจัยในการทดลอง มีแต่สถานที่สงบวิเวกสัปปายะในการเจริญภาวนาเท่านั้น อันเป็นห้องทดลองแห่งชีวิตจริงๆ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการตรวจผลงานที่สำเร็จ เพราะตอนมาเกิดนั้น ไม่ได้พกเครื่องไม้เครื่องมืออะไรมาด้วย เป็นจิตล้วนๆ ที่สิงอยู่ในร่างเด็กทารก แล้วคลอดออกมาจากท้องแม่ อย่าลืมไม่มีอะไรพ่วงห้อยติดตามมานอกจากจิต เมื่อแรกเกิดนั้น ก็มากันด้วยมือเปล่า ตอนตายก็กลับไปมือเปล่า สมบัติทางโลกนำติดตัวไปไม่ได้แม้แต่ชิ้นเดียว มีแต่บุญบาปที่เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพจิตว่าอยู่ในทุคติภูมิ ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะท่านได้ละพ้นจากโลกธรรมทั้งปวงได้แล้ว จิตย่อมสะอาดไม่มี อุปาทิขันธ์ ๕ เหลืออยู่ เพราะมี ญาณทัสสนะ เป็นปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริง [อธิปัญญาธรรมวิปัสสนายถาภูตญาณ] ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ จึงมีสิทธิ์ฐานะที่จะเข้าถึง การดับขันธปรินิพพาน โดยปัญญาญาณ อนุปาทิเสสนิพพาน ได้ในชาตินี้ ผู้เป็นพุทธศานิกชนทุกคนก็มีสิทธิ์เป็นพระอรหันต์กันได้ทุกคน ถ้ามีความตั้งใจอยากจะทำ เพียงแค่ว่าจะเอาดีทางธรรมหรือไม่ แต่ไม่ใช่ขายสมบัติยกให้วัด [หลงบุญ] แลกกับการได้สวรรค์ [หลงสวรรค์] อย่างนั้นคิดผิดๆ เพราะไม่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล จะทำให้ตนเดือดร้อนกายใจตามมา เพราะไม่มีที่จะอยู่จะนอนอันควรในกรณีไปทะเลาะกับคนในวัดผู้ทุศีล แต่ถ้ารวยมากก็ทำเป็นมูลนิธิเพื่อศาสนาดีกว่า นำเงินไปให้พระถือเงินจะเป็นบาปเปล่าๆ เพราะ เงิน คือ โคตรพ่อโคตรแม่ของกิเลสตัณหา แล้วจะได้บุญกันตรงไหน คนทุกคนยังไม่ใช่พระอรหันต์ เมื่อเห็นเงิน ย่อมเกิด ปปัญจธรรม ๓ คือ ตัณหาทิฏฐิมานะ หรือมี อนุสัย ๗ เกิดขึ้นเต็มรูปแบบ คือ กามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะอวิชชา พวกนรชลผู้เขลา [คนโง่] ส่วนใหญ่ ย่อมคิดไม่ทันในเรื่องนี้ นึกว่าตนเองชนะกิเลสไปแล้ว ยิ่งจิตเป็นสมาธิแบบปูๆ ปลาๆ ลูกอ๊อด ด้วยแล้ว ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เห็นผิดเป็นชอบ ไม่มีปัญญา บุญบารมีเสื่อม เป็นขี้กลากในธรรมหรือสัทธรรม ผู้ชักชวนสมณะให้งมงายในเงินโภคทรัพย์ทางโลกจึงบาปหนา ไม่ใช่บุญหนักศักดิ์ใหญ่ กลับเป็นหัวหน้ากิเลสไป ก็ลองคิดเล่นๆ ก็แล้วกัน การตรัสรู้สัมโพธิญาณได้นั้น ต้องกำจัด ปปัญจธรรม ๓ และ อนุสัย ๗ อยู่แล้ว แต่ผู้ที่จะไปเอาดีทางโน้นนั้น จะอาลัยอาวรณ์อยู่กับทรัพย์ทางโลกียะทำไม มันเป็นแค่วัตถุโลกๆ ทางข้างหน้ามันอยู่เหนือโลกมนุษย์ เบาสงบสันติ แล้วจะไม่สลัดทิ้งอีกหรือ ที่มีวาทะกล่าวเช่นนี้ ไม่ใช่บอกให้พากันไปเผาวัดทิ้ง ให้ใช้ปัญญาหน่อย เพราะบอกว่า ไม่ให้เกิด ศรัทธาฉันทะ จนเป็น ราคะ ความศรัทธาก็ให้เกิดขึ้นเพื่อการทำดี [กุสลธัมมานุโยค] เลื่อมใสใน กฎแห่งกรรม [กัมมผลสัทธา] และเรื่องกรรมของสัตว์ที่เป็นไปตามอำนาจกรรมของตน [กัมมัสสกตาสัทธา] อาคมนสัทธา คือ ความเชื่อ ความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารม อธิคมสัทธา คือ ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ โอกัปปนสัทธา คือ ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่วเมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง หรือ ความเชื่อศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าในปรีชาตรัสรู้ของพระองค์ [ตถาคตโพธิสัทธา] เป็นต้น แบบนี้ไม่ดีกว่าหรือ แต่อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาถึงประเด็นลมหายใจ คือ สมาธิอานาปานสติสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นมีลมหายใจเป็นเครื่องระลึก สติสัมปชัญญะ ก็แก่กล้าคมชัด มีความเพียรในการทำดีหนักแน่น มีจิตร่าเริงผ่องใสในธรรมที่ตนปฏิบัติ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้หมองมัว ธรรมสมาธิ มีองค์ ๕ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ ชีวิตทางโลกก็ไม่งง ชีวิตทางธรรมก็สดใส เนื่องด้วย อานิสงส์จาก อานาปานสติสมาธิ ที่มนสิการ นั่นเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว ทำนอนไหนก็ได้ อย่าไปตั้งท่าให้มากความในการปฏิบัติธรรม ทำมันเดี๋ยวนี้ได้เลย อย่าไปติดอยู่กับการนุ่งผ้าสีนั้นสีนี้ว่าบริสุทธิ์ มันเป็นเรื่องแบบโลกๆ ที่สมมติกันขึ้นมาเอง เพราะเป็นบ้า ไม่มี สติสัมปชัญญะ ที่แท้จริง เลยตกเป็นเครื่องมือพวกคิดชั่วๆ ไปตามกระแสนิยม ระวังข้อนี้เป็นกิเลสสังโยชน์ข้อ ๓ คือ สีลัพพตปรามาส หมายถึง การถือศีลพรตหรือศีลแบะวัตรอันคิดว่าจะทำให้ตนบริสุทธิ์ แค่เป็นเพียงระเบียบที่คนมาอยู่รวมกันมาก มันมากเรื่อง สาระสำคัญของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ (๑) ไม่ทำชั่วทั้งปวง (๒) ทำแต่ความดี (๓) ทำจิตให้เบิกบานปราศจากนิวรณ์ และ (๔) อย่าประมาท ตามนัยธรรม ๔ ประการนี้ ก็คือ ศีลและวัตรที่เป็นปฏิปทาอันยิ่ง เพราะเป็นพุทธวาทะครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ไม่เรื่องมาพูดคุยกันเล่น แล้วปฏิบัติไม่ได้ในชีวิต นิยามธรรมทั้ง ๔ ประการ นี้ ก็คือ พระไตรปิฎก นั่นเอง แต่สาระสำคัญ คือ มีเพียรแค่นี้ แล้วก็ยังทำกันไม่ได้ ประเด็นสำคัญเริ่มที่รับศีล คือ สมาทานศีล ๕ ว่า จะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตามกำหนดระยะเวลาที่ตั้งใจไว้ให้ได้ และทำจิตให้เป็นสมาธิด้วยลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้ว่ามีลมหายใจไหลผ่านจมูกเข้าไปไม่คิดในเรื่องอื่นๆ หายใจออกก็รู้ว่ามีลมหายใจไหลออกไปทางรูจมูก ไม่ใช่รูอื่นๆ ในร่างกาย แล้วก็อย่าไปคิดเรื่องอื่นๆ การไม่คิดเรื่องอื่นๆ นี้ เพราะจิตเป็นสมาธิ ไม่ก่อกรรมเวรอะไรเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากของเดิมที่ทำไว้ คือ ความชั่ว มีแต่ทำกุศลความดีเพิ่มเติม เมื่อจิตสงบเย็นลงเป็นสมาธิ แล้วค่อยน้อมนำจิตนั้นไปพิจารณาจิตในกระแสวิถีที่กำลังคิดอะไรอยู่ ว่าอย่าคิดชั่วจะทำชั่วอะไรอีกเลย พอแล้วๆ พอแล้วๆ ให้จิตเกิด เมตตากรุณา ต่อสัตว์ทั้งหลายมากกว่า คือ แผ่ไมตรีจิตออกไปไม่มีขอบเขต หน้าตามก็สดใส จิตก็ผ่องใส ไม่เกิดความทุกข์กายและใจ กุศลบารมีก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ได้เกิดกับใครหรอก แต่กับตนเอง ผู้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้น ก็ให้เข้าใจกันว่า เป็นลมหายใจ จริงๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ใช่ลมออกหูหรือลมผายตด ลมแรกนั้น เกิดขึ้นเพราะไม่มีกินจนเกิดลมออกรูหูเพราะกิเลสต้องการคำข้าวมาก ส่วนลมหลังนั้น เกิดจากกินมากอย่าเมามัน จนไส้เน่าขึ้นอืดเหมือนเป็นลมออกทางรูทวารหนักหรือทางปาก ก็เกิดจากกิเลสเหมือนกัน เพราะกินไม่รู้จักกำลังของตนเอง หรืออยู่ในทำนองที่ว่า คนเลี้ยงให้กินไม่รู้กำลังแขก แขกก็แดกไม่รู้กำลังของตนเอง ต่างคนต่างหวังผลประโยชน์ที่ซ่อนไว้เบื้องหลัง สรุปเกิดจากความประมาทของตนเองทั้งนั้น เพราะไม่เข้าใจหลักแนวคิดการกินโดยรู้จักพอประมาณตามสมบัติผู้ดี โภชเนมัตตัญญุตา ก็อย่าลืมหายใจแบบผู้เจริญแล้วเขาทำกัน คือ (๑) ลมหายใจแห่งฌานสมาบัติ ซึ่งเป็นลมหายใจในสมถะ และ (๒) ลมหายในวิปัสสนา อย่าหายใจทิ้งไปวันๆ อย่าไร้ค่า เพราะอกุศลมูลปริยุฏฐานด้วย ราคะโทสะโมหะ แปลว่า โลภเกินกำหนดได้ ๑ คิดร้ายคนอื่นเสียไม่มี ๑ หลงเพราะไม่มีสติสัมปชัญญะ ๑ สภาวะดังกล่าวนี้ คือ ความไม่ใช่คน ลมหายใจจึงมีลักษณะเหมือนวัวควายหายใจสีเสียงดังเพราะมุทะลุใช้แต่แรงกาย ไม่ได้ใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองเรื่องต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ อยากเป็นวัวควายหรือคน ก็เลือกกันเอาเอง หรือเป็นผู้ยินดีปราโมทย์ในการผายลม ชื่นชมยินดีในกระแสลมนั้น ก็ตามใจ แทนที่จะสนใจมาใส่ใจ ลมหายใจเข้าอัสสาสะ และ ลมหายใจออกปัสสาสะ กำหนดสติระลำไว้ ไม่หลงลืมให้มีอาการละเอียดอ่อนประณีตในฌานสมาบัติ คือ ปัสสัทธิความสงบเย็นกายใจ [เจตสิกจิต = วิญญาณ] มีความปราโมทย์ในปัสสัทธินั้น เพราะมี ธรรมปีติความดื่มด่ำในธรรมที่ปฏิบัติ เมื่อไม่เดือดร้อนอยู่เป็นสุข ย่อมมีความสุขราบรื่น น่าภิรมย์ ในธรรมทั้งหลายอย่างอิ่มเอิบใจ จิตย่อมได้รับอานิสงส์ในคุณธรรมดังกล่าวนี้ เกิดเป็น จิตตสมาธิ ในรูปฌานทั้ง ๔ โดยปริยาย จะเข้าฌานเมื่อไหร่ก็ได้ จะออกฌานเมื่อไหร่ก็ได้ รู้ตัวทั่วถ้วนตามจิตปรารถนา [วสีความชำนาญคล่องแคล้วในฌานสมาบัติ] การฝึกตนเองทำให้เกิดทักษะความคล่องแคล่วชำนาญ และน้อมนำทักษะแห่งฌานสมาบัตินี้ ไปก่อประโยชน์ในวิปัสสนาต่อไป เพราะสมาธิทำให้ สติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ไปด้วย เมื่อวิปัสสนาในกรรมฐาน ปัญญาหยั่งรู้ย่อมสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สิ่งนี้จึงเรียกว่า หายใจแบบผู้เจริญแล้ว [ลมหายใจของพระอรหันต์พระเสข] การทำความดีควรเลือกเอาของที่ดีที่สุเป็นเกณฑ์กำหนดเป้าหมายของการกระทำ ไม่ใช่เอาของต่ำช้ามาเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบให้กำลังใจตนเอง ก็ให้มี สติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันตามความเป็นจริงก็แล้วกัน คือ หายใจเข้า อัสสาสะ และ หายใจออกปัสสาสะ อย่างมีสมาธิ ย่อมเกิดอานิสงส์ความสงบในชีวิต.
|