๑๐๙. อรหันต์ผู้ไพบูลย์ด้วยอทุกขมสุขเวทนา An Arahant with neither-Pleasant-nor-Painful Feeling
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ตามนิยามของคำว่า พระอรหันต์ นั้น หมายถึง อริยบุคคลผู้ประเสริฐสูงสุดแล้ว ผู้มีกิเลสอาสวะหมดสิ้นแล้ว ผู้ละสังกิเลสทั้งหลายเพื่อพระนิพพานได้แล้ว หรือ ผู้ได้ปราศจาก ชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา แล้ว กล่าวคือ ผู้ได้ลาสงสารทุกข์ไปสู่นิพพานได้แล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องอยู่กับโลกมนุษย์ด้วยสมบัติอะไรอีกต่อไปด้วย ปัญญาคุณวิสุทธิคุณ [พุทธคุณ ๒] โดยมีคุณบทแห่งบุคคลด้วยการเจริญภาวนา ที่เรียกว่า ภาวิตัตต์ หมายถึง ผู้ถึงพร้อมด้วยตนอันได้พัฒนาแล้ว และถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว เพราะฉะนั้น ความตรัสรู้ถึงสัมโพธิญาณแห่งอรหัตตผลได้นั้น ย่อมมีอำนาจครอบงำจิตด้วย กิริยาชวนะ [ตัตรมัชฌัตตตาความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ = ตัตรมัชฌัตตุเปกขา (ข้อ ๑ ในอุเบกขา ๑๐)] ที่หมายถึง อุเบกขาอุเบกขาเวทนาอทุกขมสุขเวทนา หมายถึง ความวางเฉยเป็นกลางอย่างสมดุลสมบูรณ์สนิทในธรรมทั้งปวง โดยไม่ประกอบกรรมใดๆ อีกต่อไป ที่จิตถูกยึดครองกลุ้มรุมด้วยกิเลสแห่ง ตัณหา และ ทิฏฐิ จึงต้องประกอบด้วยคุณบทแห่งทักขิไณยบุคคลด้วย พุทธคุณ ๙ ที่ถึงพร้อมด้วยคุณชาติ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ความสำเร็จแห่งพุทธภาวะ [ความเป็นพระพุทธเจ้า = อัตตหิตสมบัติ คือ ความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน] ปัญญาคุณ และและ ความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้ กับ (๒) ความสำเร็จแห่งพุทธกิจ [หน้าที่ของพระพุทธเจ้า = ปรหิตปฏิบัติ คือ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น] กรุณาคุณ และ ความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้ ด้วยเหตุนี้ พระอรหันต์ผู้ไพบูลย์ด้วย อทุกขมสุขเวทนา จึงเป็นผู้มีปัญญาตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วย ญาณวิโมกข์ โดยอาศัย ญาณทัสสนะ ที่เรียกว่า อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [สุญญตสมาธิสุญญตวิโมกข์] เพื่อถอนอัตตาภินิเวส [อุปาทิขันธ์อุปาทานขันธ์] เพราะฉะนั้น พระอรหันตขีณาสพเจ้าสูงสุด จึงได้ชื่อว่า พระอเสขะอเสขบุคคล ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานบุคคลอนุปาทิเสส คือ ผู้ไม่เหลือเชื้อกิเลสอุปาทิใดๆ แล้ว.
บทความที่ ๑๐๙ ประจำปี ๒๕๕๙ อรหันต์ผู้ไพบูลย์ด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ในธรรมชาติของความเป็นปุถุชนธรรมดาทั่วไปนั้น มักไม่ค่อยสนใจใยดีให้การเสวยความรู้อารมณ์ใดเป็นมั่นเหมาะ ที่เป็นตัวของตัวเอง นั่นคือ มีความรู้สึกแค่ให้มันผ่านๆ ไป หลงๆ ลืมๆ ไม่รู้เรื่องจริงจัง [มุฏฐสัจจะอสัมปชัญญะ] ก็เนื่องด้วยความละเลยไม่ใส่ใจ [อวิชชา] และความไม่ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท [อัปปมาทะ] แต่อย่างไรก็ตาม เกณฑ์มาตรฐานในการจำแนวอารมณ์ความรู้สึกทั่วไปนั้น เรียกว่า เวทนา ๓ [Sensation] อันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะ (๑) อายตนะภายใน ๖ [สฬายตนะอินทรีย์ ๖; ตาหูจมูกลิ้นกายใจ] (๒) อายตนะภายนอก ๖ [พาหิรายตนะอารมณ์ ๖: รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์] และ (๓) วิญญาณ ๖ คือ ความรู้แจ้งอารมณ์ ที่ประจวบกันอย่างพอเหมาะด้วย ผัสสะ ๖ [Contact] คือ ความกระทบ ความประจวบกันแห่งอายตนะทั้ง ๑๒ ดังนี้
เวทนา ๓ หมายถึง การเสวยอารมณ์ ความรู้สึกรสของอารมณ์ ได้แก่ (๑) สุขเวทนา คือ ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม (๒) ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม (๓) อทุกขมสุขเวทนาอุเบกขาเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่
ในการเชื่อมต่อกันระหว่าง เวทนา ๖ [Feeling] กับ สัญญา ๖ [Perception] คือ ความกำหนดได้หมายรู้ ความหมายรู้อารมณ์ ความจำได้หมายรู้ ได้แก่ (๑) รูปสัญญาความหมายรู้รูป (๒) สัททสัญญาความหมายรู้ (๓) คันธสัญญาความหมายรู้ (๔) รสสัญญาความหมายรู้รส (๕) โผฏฐัพพสัญญาความหมายรู้สัมผัสทางกาย และ (๖) ธัมมสัญญาความหมายรู้อารมณ์ทางใจ และในกระบวนการคิดแบบสืบสาวถึงเหตุและผลอย่างครบถ้วนทุกมุมองศา องค์รวมแห่งกระบวนทัศน์ [Holistic Paradigm] ด้วยการทำกุศลกรรมโดยการเจริญภาวนากรรมฐานใน โยนิโสมนสิการ [จุตูปปาตญาณปัจจยปริคคหญาณ] นั้น ได้แก่
(๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท [สมุทยวาร] คือ การสืบสวนความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย โดยสาวออกไปตามลำดับจากเหตุไปหาผลข้างหน้า เช่น อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี หรือ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นต้น หรือเป็นการคิดแบบเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบกันระหว่างบรรดาสภาวธรรมในกลุ่มๆ นั้น เพื่อจัดจำแนกเป็นกลุ่มๆ หรือเป็นกฎย่อยๆ เฉพาะตน [ลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ) Uniqueness]
(๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท [นิโรธวาร] คือ การสืบสวนความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย โดยสาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุเช่น วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย หรือ สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นต้น หรือเป็นการคิดแบบเชิงสังเคราะห์เทียบเคียงกันระหว่างบรรดาสภาวธรรมในกลุ่มๆ นั้น เพื่อหาข้อสรุปเป็นหลักทฤษฎี [ลักษณะสากล (สามัญลักษณะ) Universality]
สำหรับกระบวนการคิดตาม หลักอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบด้วยข้อธรรม ๑๒ องค์ [ได้แก่ อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ตัณหาอุปาทานภพ ชาติชรามรณะ] เพื่ออนุโลมหรือปฏิโลมสภาวธรรมทั้งหลายใน ปัจจัยธรรม [บรรดาธรรมหรือสภาวธรรมที่มีอวิชชาเป็นมูลเหตุในสังสารจักรหรือภวจักร] ดังเช่น โดยจำแนกตามหลักธรรม สังเขป ๔ (ข้อ ๒ ในปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖หรือความเป็นหลักธรรมองค์ประกอบอยู่ใน ภวจักร คือ วงล้อแห่งภพอันเป็นอาการหมุนวนต่อเนื่องไปแห่งภาวะของชีวิตที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ในหลักปฏิจจสมุปบาท) เพื่อพิจารณาถึงเหตุและผล ดังนี้
สังเขป ๔สังคหะ ๔ หมายถึง ช่วง ๔ หมวด ๔ หรือ กลุ่ม ๔ ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล = ชาติชรามรณะ [พร้อมด้วย โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะ]
ฉะนั้น ในกระบวนการคิดทั้ง (๑) แบบคล้อยตามจากเหตุไปหาผล [อนุโลมเปรียบเทียบวิเคราะห์จัดกลุ่มย่อยหรือกฎเกณฑ์] และ (๒) แบบคิดย้อนจากผลกลับไปหาเหตุ [ปฏิโลมเทียบเคียงหาข้อสรุปสังเคราะห์ตั้งทฤษฎี] นั้น พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นแนวคิดและเครื่องมือในการสร้าง ปัญญาญาณ ทั้งหลายในวิปัสสนาภูมิ [ปัญญาจักขุตาปัญญา (ข้อ ๓ ในจักขุ ๕) คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรม] ที่ทรงรู้เห็นนามรูปตามเป็นจริงโดยไตรลักษณ์ [ยถาภูตญาณทัสสนะ] ดังเช่น (๑) ปัญญาเห็นธรรม [ดวงตามเห็นธรรมธรรมจักษุ] คือ ความสามารถเห็นธรรมด้วยญาณในภาวนา ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ [ทิพพจักขุญาณยถาภูตญาณ] และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรม [สัมโพธิญาณ] คือ ปรีชาหยั่งรู้ด้วย อภิญญาแห่งญาณทัสสนะ ที่บริสุทธิ์ [ญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๗ ในวิสุทธิ ๗) คือ ความรู้ทั้งหมดใน อริยสัจจ์ ๔ หรือ อริยมรรค หรือญาณในวิปัสสนา ที่เรียกว่า อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (ข้อ ๑๔ ในมหาวิปัสสนา ๑๘) คือ การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ที่ก้าวล่วง สาราทานาภินิเวสความยึดมั่นด้วยถือว่าเป็นแก่นสารความยึดมั่นด้วยถือว่าตนมีแก่นสารเป็นนิจ กับ ยถาภูตญาณทัสสนะ (ข้อ ๑๕ ในมหาวิปัสสนา ๑๘) คือ การหยั่งรู้ด้วยญาณในวิปัสสนาตามที่เป็นจริง ที่ก้าวล่วง สัมโมหาภินิเวสความยึดมั่นด้วยความหลงใหล] อนึ่ง ให้ทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับ คำว่า มหาวิปัสสนา ๑๘ นั้น ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนา (๒) ทุกขานุปัสสนา (๓) อนัตตานุปัสสนา (๔) นิพพิทานุปัสสนา (๕) วิราคานุปัสสนา (๖) นิโรธานุปัสสนา (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (๘) ขยานุปัสสนา (๙) วยานุปัสสนา (๑๐) วิปริณามานุปัสสนา (๑๑) อนิมิตตานุปัสสนา (๑๒) อัปปณิหิตานุปัสสนา (๑๓) สุญญตานุปัสสนา (๑๔) อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (๑๕) ยถาภูตญาณทัสนะ (๑๖) อาทีนวานุปัสสนา (๑๗) ปฎิสังขานุปัสสนา (๑๘) วิวัฏฏนานุปัสสนา ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการศึกษาถึงความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ ว่ามีอาการลักษณะเป็นเช่นใดนั้น ก็ให้พิจารณาตามเกณฑ์ต่อไปนี้ไว้ก่อน คำว่า อรหันต์ หมายถึง ขีณาสพ คือ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้หมดกิเลส ผู้มีจิตก็ไม่ประกอบกรรมด้วย กิริยาชวนะ และยังต้องประกอบด้วยความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ ที่เรียกว่า นิปปริยายสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงไม่มีการละและการบำเพ็ญอีก หรืออริยบุคคลผู้ประกอบด้วย พุทธคุณ ๙ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ ประการ ดังนี้ (๑) อรหํ เป็นพระอรหันต์ (๒) สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ (๓) วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (๔) สุคโต เสด็จไปดีแล้ว (๕) โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก (๖) อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า (๗) สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๘) พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว (๙) ภควา เป็นผู้มีโชค
นอกจากนี้ ให้พิจารณานิยามของ คำว่า พระอรหันต์ (พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 255256 FILE 80) ซึ่งประกอบด้วยคุณชาติ ๒๔ ประการ ดังนี้
(๑) เป็นผู้ปราศจาก ราคะโทสะโมหะ แล้ว (๒) ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว (๓) ปลงภาระแล้ว (๔) บรรลุประโยชน์ตนแล้ว (๕) มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว (๖) พ้นวิเศษเพราะรู้ชอบแล้ว (๗) มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว (๘) มีคูอันกลบแล้ว (๙) มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว (๑๐) เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลักแล้ว (๑๑) เป็นพระอริยะแล้ว (๑๒) ลดธงคือมานะแล้ว (๑๓) วางภาระแล้ว (๑๔) หมดเครื่องผูกพันแล้ว (๑๕) มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว (๑๖) ท่านกำหนดรู้ทุกข์แล้ว (๑๗) ละสมุทัยแล้ว (๑๘) ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว (๑๙) ยังมรรคให้เกิดแล้ว (๒๐) รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว (๒๑) กำหนดรู้ธรรมสิ่งที่ควรกำหนดรู้แล้ว (๒๒) ละธรรมที่ควรละแล้ว (๒๓) บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว (๒๔) ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว
ในอีกนัยหนึ่งเพิ่มเติมนั้น สำหรับบุคคลผู้อับโชควาสนาที่จะได้เห็นคุณอันใหญ่ในพระธรรมวินัยนี้ได้ ย่อมประกอบด้วยอาการลักษณะอับจาก อุดมมงคลแห่งชีวิต [มงคลอันสูงสุดมงคล ๓๘] นั่นคือ ไม่เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และยังตู่เอาอีกว่า เป็นเรื่องโกหก เป็นอาทิ ย่อมขึ้นชื่อว่า โทษ ๑๑ ประการ ในบุคคลผู้ด่า ผู้กล่าวขู่ พึงทราบโดยพระบาลีว่า: ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใด ผู้ด่า ผู้กล่าวขู่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย มักด่าว่าพระอริยะ ข้อที่ภิกษุนั้น ไม่พึงประสบ ความฉิบหาย ๑๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฉะนั้น บทว่า ความฉิบหาย ๑๑ อย่าง (พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 960 FILE 10) ได้แก่ (๑) ภิกษุนั้นไม่บรรลุคุณที่ไม่บรรลุ [ไม่ถือครองพระสัตถุสาสน์] (๒) เสื่อมจากคุณที่ได้บรรลุแล้ว [สำคัญผิดในอธิคมธรรมธรรมุธัจจ์ธัมมุทธัจจะ] (๓) สัทธรรมของภิกษุนั้นไม่ผ่องใส [ไม่ปราศจากนิวรณ์ปปัญจะ ๓: ตัณหา ทิฏฐิมานะ] (๔) ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีความดูหมิ่นในพระสัทธรรม [อวิชชาเรียนไม่รู้เรื่อง] (๕) เบื่อหน่ายประพฤติพรหมจรรย์ [ปรารถนาภูมิแห่งหมา] (๖) ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง [สีลวิบัติทิฏฐิวิบัติ] (๗) ลาสิกขาเวียนมาเป็นคนเลว [ต้องอาบัติปาราชิก ผิดใจกับเจ้าอาวาส] (๘) ถูกความเจ็บไข้ คือ โรคอย่างหนัก [ถูกครอบงำด้วยวิบากกรรมแห่งขันธมาร] (๙) ถึงความคลั่งเป็นบ้า [จิตฟุ้งซ่านโดยวิปริต ไม่มีสติสัมปชัญญะโดยวิปลาส] (๑๐) ย่อมหลงใหลทำกาลกิริยา [วอนหาที่ตายด้วยสำคัญว่าบรรลุคุณวิเศษแล้ว] (๑๑) เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึง อบายทุคติวินิบาตนรก [ปรโลก]
เมื่อพิจารณาถึง คุณสมบัติแห่งบุคคลผู้มีอาสวะสิ้นแล้วได้นั้น ต้องเริ่มที่มูลเหตุแห่งกุศลธรรมทั้งหลายด้วย ศีลบริสุทธิ์ ๑ สมาธิบริสุทธิ์ ๑ และ ปัญญาบริสุทธิ์ ๑ ตามลำดับในบทไตรสิกขาให้ได้ เพื่อหลีกหนีจาก ความฉิบหาย ๑๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้นนั้น ฉะนั้น ให้พิจารณาถึงสาระบางส่วนใน พระธรรมวินัย ที่ชำระความประพฤติกรรมให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ก่อน นั่นคือ ศีล จนก้าวถึงฝ่าย สมาธิ และฝ่าย ปัญญา ดังรายละเอียดใน วินัยเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นที่สุด [ให้พิจารณาธรรมตามเกณฑ์ใน ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ สีลขันธ์สมาธิขันธ์ปัญญาขันธ์วิมุตติขันธ์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์] ต่อไปนี้
[วินัยเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นที่สุด] (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171172 FILE 01)
ก็อีกประการหนึ่ง กุศลธรรม เหล่าใด ซึ่งมี สังวร เป็นมูล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว บุคคลผู้ทรง วินัย นั่นแล ชื่อว่า เป็นทายาทแห่งกุศลธรรม เหล่านั้น เพราะธรรมเหล่านั้น มี วินัย เป็นมูล [ข้อ ๔ข้อ ๘ เรียกว่า ธรรมสมาธิ ๕ และให้พิจารณาตามหลักอนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ ให้รู้เห็นจากเหตุสาวไปหาผลได้] สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:
(๑) วินัย [ศีลวัตร] ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สังวร [ความสำรวม] (๒) สังวร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อวิปปฏิสาร [ความไม่เดือดร้อน] (๓) อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปราโมทย์ [ความปราโมทย์] (๔) ปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปีติ [ความอิ่มใจ] (๕) ปีติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปัสสัทธิ [ความสงบ] (๖) ปัสสัทธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สุข [ความสุข] (๗) สุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สมาธิ [ความตั้งใจมั่น] (๘) สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ยถาภูตญาณทัสสนะ [ความรู้เห็นตามเป็นจริง] (๙) ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ นิพพิทา [ความเบื่อหน่าย] (๑๐) นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิราคะ [ความสำรอกกิเลสมรรคญาณ] (๑๑) วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติ [ความหลุดพ้นผลวิมุตติ] (๑๒) วิมุตติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติญาณทัสสนะ [ความรู้เห็นความหลุดพ้นผลญาณปัจจเวกขณญาณ] (๑๓) วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อนุปาทาปรินิพพาน [ความดับสนิทหาเชื้อมิได้อาสวักขยญาณ]
นอกจากนี้ ให้พิจารณา เจตนาสูตร ประกอบเพิ่มเติมให้รู้ประจักษ์ยิ่งขึ้น ดังนี้
๒. เจตนาสูตร ว่าด้วย ผู้มีศีลสมบูรณ์ไม่ต้องตั้งเจตนาให้เกิดอวิปปฏิสาร (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 46 FILE 38)
[๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า: (๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล [วินัย] ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอ อวิปปฏิสาร จงเกิดขึ้นแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ อวิปปฏิสาร เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นธรรมดา (๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสาร [ความเดือดร้อน] ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอ ปราโมทย์ จงเกิดขึ้นแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ปราโมทย์ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา (๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปราโมทย์ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอ ปีติ จงเกิดแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา (๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีใจปีติไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจง สงบ [ปัสสัทธิ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจมีปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา (๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวย ความสุข [สุข] ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา (๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความสุขไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิตของเราจง ตั้งมั่น [สมาธิ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีความสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา (๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จง เห็นตามความเป็นจริง [ยถาภูตญาณทัสสนะ] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น [อวิกเขปะไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน] รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา (๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจง เบื่อหน่าย [นิพพิทา] จง คลายกำหนัด [วิราคะ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา (๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด [นิพพิทาวิราคะ] ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่ง วิมุตติญาณทัสสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งซึ่ง วิมุตติญาณทัสสนะ นี้เป็นธรรมดา (๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น ผล [สิ่งที่เกิดจากเหตุ = วิบากผล] มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น อานิสงส์ [ผลดีที่งอกเงยแห่งบุญกุศล = อานิสงสผล] (๑๑) ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ (๑๒) สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ (๑๓) สุข มีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ (๑๔) ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ (๑๕) ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ (๑๖) ปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ (๑๗) อวิปปฎิสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ (๑๘) ศีล [วินัย] ที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อจาก เตภูมิกวัฏ [ผู้ยินดีสักกายะ = สักกายทิฏฐิ: ความเห็นว่าเป็นตัวของตน (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐) ในวาทะว่า: ย่อมข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏ [สังสารวัฏฏ์ = กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ] กล่าวคือ ชาติและมรณะเสียได้ [มีสงสารทุกข์สิ้นแล้วแห่งสังกิเลสทั้งหลาย] คือถึง พระอมตมหานิพพาน ได้] อันมิใช่ฝั่ง ไปถึงฝั่งคือ นิพพาน ด้วยประการดังนี้แล
จบ เจตนาสูตรที่ ๒ -----------------------------
ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพึงประพฤติปฏิบัติในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัย อย่างจริงจังและเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยไม่ละทิ้งธรรมไปด้วยความประมาท ที่เรียกว่า อัปปมาทะ คือ ความไม่ประมาท หรือ อัปปมาทสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท เพราะมีการครองเฝ้าระวังสำรวมกายและใจด้วย สติสัมปชัญญะ [สติปัญญาแห่งญาณทัสสนะ ที่ควรประกอบด้วยคุณชาติแห่งเสขปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉาน) = พระอรหันต์] ตามแนวทางประพฤติปฏิบัติสัมมาปฏิปทาใน มัชฌิมาปฏิทา อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยสัจจ์ ๔ และมีกระบวนการคิดพิจารณาในบรรดาสภาวธรรมแห่งนามรูปโดย อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท [ปัจจยาการ ๑๒] เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นธรรมแห่งนามรูปโดยไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยการเรียนรู้โดยกระบวนการใช้ปัญญาคุ้นคิดถึงเหตุผล ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี [ตามหลักอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท] ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (๑) การทำในใจโดยแยบคาย (๒) มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย (๓) แล้วคิดแยกแยะออกพิเคราะห์ ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีที่แก้ปัญหาได้ (๔) เพื่อให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย (๕) ให้ค้นพบสัจจธรรมตามเป็นจริงแห่งกฎธรรมชาติ [ธรรมฐิติธรรมนิยาม ๓ธัมมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ = สัมมาทิฏฐิ]
ฉะนั้น กล่าวโดยสรุป ปัญญาทั้งหลายที่เกิดในการเจริญภาวนา [จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง = ยถาภูตญาณทัสสนะ] นั้น เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ย่อมหมายถึง ปัญญาของพระอรหันต์ ไม่ใช่ปัญญาสามัญของปุถุชนทั่วไป [เดรัจฉานวิชา คือ วิชาความรู้เพื่อทำมาหากินตามคติทางโลก ซึ่งไม่ได้ช่วยการหลุดพ้นออกจากทุกข์แห่งชีวิต เป็นได้แค่ โลกียปัญญา ยังไม่ใช่ โลกียญาณ แต่อย่างใด นั่นคือ ยังเป็นความรู้แบบ อวิชชา หรือ อสัมปชัญญะ หรือทรามปัญญาตามโลกธรรมอยู่ หรือปัญญาแห่งอนริยะ และประกอบด้วยสงสารทุกข์ เพราะยังไม่ใช่ปัญญาอันประเสริฐแห่งอริยะ ที่ยังถูกยึดครองด้วยตัณหาและทิฏฐิอยู่] กล่าวคือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น คือ ปัญญาแห่งอริยปริเยเสนา อย่างแน่นอน ประการสุดท้ายนี้ เมื่อพิจารณาความหมายสำคัญแห่งพระอรหันต์ในภาพรวมนั้น ย่อมหมายถึงผู้เป็นอริยบุคคลสูงสุดแล้ว ผู้มีกิเลสอาสวะหมดสิ้นแล้ว ผู้ละสังกิเลสทั้งหลายเพื่อพระนิพพานได้แล้ว นั่นคือ ผู้ได้ปราศจาก ชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา แล้ว หรือผู้ได้ลาสงสารทุกข์ไปสู่นิพพานได้แล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องอยู่กับโลกมนุษย์ด้วยสมบัติอะไรอีกต่อไปด้วย ปัญญาคุณวิสุทธิคุณ [พุทธคุณ ๒] โดยมีคุณบทแห่งบุคคลด้วยการเจริญภาวนา [อัตตสัมปทา (ข้อ ๔ ในบุพนิมิตแห่งมรรค ๗) คือ ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว] ที่เรียกว่า ภาวิตัตต์ หมายถึง ผู้ถึงพร้อมด้วยตนอันได้พัฒนาแล้ว ซึ่งก็หมายถึง พระอรหันต์ นั่นเอง เพราะฉะนั้น ความตรัสรู้ถึงสัมโพธิญาณแห่งอรหัตตผลได้นั้น ย่อมมีอำนาจครอบงำจิตด้วย กิริยาชวนะ [ตัตรมัชฌัตตตาความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ = ตัตรมัชฌัตตุเปกขา (ข้อ ๑ ในอุเบกขา ๑๐)] ที่หมายถึง อุเบกขาอุเบกขาเวทนาอทุกขมสุขเวทนา หมายถึง ความวางเฉยเป็นกลางอย่างสมดุลสมบูรณ์สนิทในธรรมทั้งปวง โดยไม่ประกอบกรรมใดๆ อีกต่อไป ที่จิตถูกยึดครองกลุ้มรุมด้วยกิเลสแห่ง ตัณหา และ ทิฏฐิ [ปาริสุทธุเปกขา (ข้อ ๖ ในอุเบกขา ๑๐) คือ อุเบกขาอันไม่ขวนขวายโดยปราศจากโยคธรรมทั้งหลายทั้งสิ้นแล้ว] ดังเช่น ปุถุชนสามัญทั่วไปตามกระแสนิยมแห่งโลกธรรม เพราะฉะนั้น อริยบุคคลผู้ที่นับเป็นพระอรหันต์ได้นั้น จึงต้องประกอบด้วยคุณบทแห่งทักขิไณยบุคคลด้วย พุทธคุณ ๙ ที่บ่งบอกถึงการปฏิญาณตนถึงพร้อมด้วยคุณชาติ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ความสำเร็จแห่งพุทธภาวะ [ความเป็นพระพุทธเจ้า = อัตตหิตสมบัติ คือ ความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน] ปัญญาคุณ และและ ความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้ กับ (๒) ความสำเร็จแห่งพุทธกิจ [หน้าที่ของพระพุทธเจ้า = ปรหิตปฏิบัติ คือ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น] กรุณาคุณ และ ความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้ ด้วยเหตุนี้ พระอรหันต์ผู้ไพบูลย์ด้วย อทุกขมสุขเวทนา จึงเป็นผู้มีปัญญาตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วย ญาณวิโมกข์ [ญาณในวิปัสสนาทั้งหมดใน อนุปัสสนา ๗] โดยต้องอาศัย ญาณทัสสนะ ที่เรียกว่า อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ [สุญญตสมาธิสุญญตวิโมกข์] เพื่อถอนกิเลสานุสัยแห่งอัตตาภินิเวส [อุปาทิขันธ์อุปาทานขันธ์] เพราะฉะนั้น พระอรหันตขีณาสพเจ้าสูงสุดในพระธรรมวินัยนี้ จึงมีชื่อว่าเป็น พระอเสขะอเสขบุคคล ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานบุคคลอนุปาทิเสส คือ ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว โดยไม่เชื้อกิเลสอุปาทิใดๆ เหลืออีกเลย.
|