๑๑. พระพุทธศาสนายึดมั่นในเอกเทวนิยม The Belief of Buddhism in Monotheism
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่เกื้อหนุนความตรัสรู้สัมโพธิญาณ คือ ความศรัทธาเลื่อมใสในการบรรลุพระบรมธรรมแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า [ตถาคนโพธิสัทธา] ถ้าไม่เลื่อมใสปสาทะในพระสัตถุสาสน์ของพระองค์ ก็คงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาเรียกตนเองว่า พุทธมามกะ แต่ถ้าจะมามั่วสุมในอาณาจักรธรรมแห่งพระพุทธศาสนานั้น ก็ยิ่งแสดงถึงสิ่งที่น่าอับอายในความเป็นมนุษย์ เพราะเป็นการหลอกลวงผู้คนให้เดินผิดทางจากหลักมัชฌิมาปฏิทา [เริ่มด้วยปัญญาดำเนินด้วยปัญญานำไปสู่ปัญญา] ฉะนั้น การรู้เขารู้เรานั้น จึงเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาวพุทธศาสนิกชน รู้ว่านี้ใช่ทาง สิ่งนั้นไม่ใช่ทาง อันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง การปฏิบัติธรรมของอภัพบุคคลผู้ปฏิบัติผิดไร้ค่าแห่งอริยมรรค แล้วยังนำความเสียหายมาสู่พระธรรมวินัยนี้ จึงเป็นเรื่องน่าอับอายต่อสาธารณชน และเป็นผู้เสร้างความเสียหายด้วยจิตวิญญาณแก่สังคม เพราะนำสิ่งที่ผิดๆ ถ่ายทอดไปสู่สังคม โดยเฉพาะสังคมไทยที่ได้ชื่อว่า สังคมชาวพุทธ อะไรเป็นพุทธะ อะไรคือสิ่งนอกพุทธะ อันเป็นสิ่งไม่น่าประพฤติปฏิบัติตามอกุศลวิถีเช่นนั้น แต่สาธุชนทั้งหลายยังตอบไม่ได้ กลับย่อมสิ่งที่ผิดๆ อย่างไม่ละอายใจต่อพระรัตนตรัย อะไรเป็นจุดเสื่อมในวิกฤตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่คนส่วนใหญ่มักคิดว่า ไม่ใช่หน้าที่ที่ตนต้องไปรับผิดชอบอะไรเลย แต่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายมีหน้าที่สืบทอดพระศาสนาอย่างถูกหลักธรรมตามคำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ให้พวกเดียรถีย์เข้ามาปิดเบือนพระสัทธรรมนี้ ไม่ใช่ใช้ข้ออ้างเข้ามาบวชเพื่อหนีความทุกข์ยากปากหมอง แล้วลาสิกขาไปแต่งงาน ลืมข้าวก้นบาตรอย่างแนบสนิท อะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าคนรุ่นเก่าไม่รักษามรดกทางวัฒนธรรมนี้ไว้อย่างแยบคาย ความสูญเสียต้นทุนทางปัญญาของสังคมในยุคนี้ ก็นับเป็นเรื่องน่าเสียดาย แทบจะใช้คำว่า ปฏิวัติ ปฏิรูป ปฏิสังขรณ์ ไม่ทันการเพราะมันเป็นยุคกิเลสสัมปยุตต์พลังแบบโลกาภิวัตน์ตามยุคสมัย กิเลสตัณหาใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกับเหยื่อได้ทั่วโลกได้เร็วเท่ากับความเร็วของกระแสไฟฟ้า สังคมทั้งระบบยังตื่นตัวไม่ทันสภาวการณ์เช่นนี้ได้.
บทความที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๙ พระพุทธศาสนายึดมั่นในเอกเทวนิยม
ในความหวั่นไหวไปตามสังขตธรรมแห่งวัฏฏอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์นั้น เพราะเกิดจากความไม่รู้จริงใน กฎธรรมชาติ สิ่งที่เหนืออำนาจแห่งธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถอธิบายได้ ย่อมนึกคิดไปเองว่า ต้องมีผู้มีอำนาจเหนือความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ จึงยกให้เป็น เทพพระเจ้าผู้สร้างโลก แต่ในชีวิตจริงก็หาหลักฐานอะไรไม่ได้ ถ้ามีสิ่งอัศจรรย์หลายๆ อย่าง ก็มีทวยเทพหลายๆ องค์ แตกออกเป็นกรมหรือแผนกไป เหมือนระบบบริหารราชการแผ่นดินแห่งเทพเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ต้องเริ่มต้นเข้าใจภูมิหลังของการเกิดพระศาสนานี้อย่างแจ่มชัด ว่ามีสมุฏฐานเหตุปัจจัยเป็นมาอย่างไรก็แน่ การปฏิบัติธรรมด้วยความเข้าใจผิดๆ แบบส่งเดชลูกพระบาทนั้น คงใช้ไม่ได้กับแนวทางปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิทา [ไตรสิกขาอริยมรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔] เพราะพระพุทธศาสนานั้น เป็นสายแห่งปัญญา ไม่ใช่สายแห่งไสยาศาสตร์ หรืออิทธฤทธิ์ปาฏิหาริย์เพื่อใช้ในการแสวงหาลาภสักการะ เพื่อทำให้ผู้คนเกิดความโง่เขลาเบาปัญญา ให้เชื่อในเรื่องอภินิหารของเทพพระเจ้าผู้ตั้งว่าสูงสุดในธรรมชาติ การกำหนดค่าของคนอย่างผิดๆ ที่มองคนไม่เป็นคนในสังคมครั้งสมัยพุทธกาลนั้น โดยกำหนดให้คนเชื่อตามคัมภีร์ที่เขียนขึ้นเองของพราหมณ์เจ้าพิธี เพื่อให้สังคมปฏิบัติตามอย่าไม่มีเหตุผล [วรรณะ ๔: กษัตริย์พราหมณ์แพศย์ศูทร ฉะนั้น พราหมณ์ เป็นวรรณะที่ประเสริฐ เลิศ สูงสุด อันให้วัดหรือตัดสินความเลิศประเสริฐนั้น (๑) โดยชาติ คือ กำเนิด (๒) โดยโคตร คือ สายตระกูล ซึ่งผูกพันกับ อาวาหะวิวาหะ คือ การแต่งงาน ที่อ้างออกมาว่า ท่านคู่ควรกับเรา หรือ ท่านไม่คู่ควรกับเรา ซึ่งตรงกันข้ามกับคติทางพระพุทธศาสนา ซึ่งให้วัดหรือตัดสินคนด้วย กรรม คือ การกระทำความประพฤติ โดยถือว่า สิ่งที่ทำให้เลิศให้ประเสริฐ คือ วิชชาจรณะ] ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เป็นจริงตาม กฎธรรมชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาปัญญาที่มีสมุฏฐานมาจากการเจริญสมถะกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกว่า ปัญญาในสมาธิ [ญาณทัสสนะ] กับ ปัญญาในวิปัสสนา [ญาณ] นั่นคือ ปัญญาที่เกิดจากความรู้ความเห็นด้วยสมาธิด้วยญาณหยั่งรู้ในวิปัสสนา ไม่ใช่การทดลองหาความรู้ในห้องทดลองแบบการศึกษาค้นคว้าวิจัยเช่นวิธีแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในความเป็นจริงก็มีรากฐานมาจากพุทธศาสตร์นั่นเอง ในการสร้างทฤษฎีในศาสตร์สมัยใหม่ เพราะพุทธศาสนาจึงปฏิเสธในการเชื่อเทพพระเจ้าหลายองค์ แต่ในทางกลับกันให้เชื่อความสามารถแห่งตนที่จะเป็น วิสุทธิเทพ โดยมีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้อภิภูสูงสุดเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น [เอกเทวนิยม] โดยมีพระอริยสาวกทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพเป็นผู้สืบทอดพระศาสนาจนมาถึงปัจจุบันนี้ การเข้าถึงหลักธรรมคำสอนที่เป็นแก่นพระสัทธรรมนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อไม่ประพฤติออกนอกลู่นอกทาง ไปผนวกกับแนวคิดกับลัทธินอกพระพุทธศาสนาทั้งหลาย [ติตถายตนะ] อันเปิดให้เหล่าเดียรถีย์เข้ามาหาลาภสักการะและหลอกให้หลงทิศทางในการปฏิบัติธรรม ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องศึกษาค้นคว้าให้เข้าใจหลักปฏิบัติที่ถูกต้องตามคลองธรรม เพื่อให้สามารถเจริญภาวนาในอริยธรรม [อริยศีลอริยสมาธิอริยปัญญาอริยวิมุตติ] และอริยมรรค [อริยมรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔มรรคญาณ ๔] ได้อย่างถูกต้อง ในอันดับแรกนั้น ให้ศึกษาเปรียบเทียบพระพุทธศาสนากับลัทธิพราหมณ์ เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน ในข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมถภาวนา มีความคล้ายคลึงกันในการแสวงหาความรู้ ที่พระบรมศาสดาได้ต่อยอดปัญญาขึ้นสูงไปกว่านั้น จนสามารถกำหนดคุณบทแห่งบุคคลที่สูงกว่า พรหมโลก ที่เรียกว่า วิสุทธิเทพแห่งโลกุตตรภูมิ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาพประกอบ ๑: การเปรียบเทียบพระพุทธศาสนากับพราหมณลัทธิ
ในอันต่อไปนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพึงพิจารณานัยแห่งการเจริญจิตตภาวนาเพื่อให้บรรลุใน อนุปุพพวิหาร ๙อนุปุพพนิโรธ ๙ อันเป็นทักษะการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ซึ่งในทางลัทธิพราหมณ์นั้น บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์ ด้วยกรรมอันประเสริฐ [พรหมจริยา] นี้ คือ ตบะพรหมจรรย์สัญญมะทมะ [ตบะความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส พรหมจรรย์การครองชีวิตประเสริฐโดยความประพฤติเว้นเมถุน สัญญมะความสำรวม ทมะความฝึกตน] ซึ่งใน กรรม ๔ อย่างนี้ [ไม่ใช่กำหนดค่าคนโดยชาติและตระกูล] ย่อมถือเป็น ความต่างแห่งกรรม อันสูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทำให้ผู้ประพฤติถึงพร้อมด้วย วิชชา ๓ ย่อมระงับกิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 414 FILE 21) ในความเป็นจริงนั้น คำว่า ฌานสมาบัติ เป็นวิธีการฝึกอบรมจิตให้เป็นสมาธิ [จิตตภาวนา] ให้เกิดความสงบหรือความสงัดแห่งวิเวก [ในทางพุทธศาสนาด้วยอภิญญาเทสิตธรรมหรือเอกายนมรรค นั่นคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗] โดยมีอาการ ๓ อย่าง [วิเวก ๓] ได้แก่ (๑) กายวิเวก คือ อยู่ในที่สงัด ได้แก่ อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี (๒) จิตตวิเวก คือ จิตสงบ ความสงัดใจ ได้แก่ ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย เป็นต้น หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุ (๑) รูปฌาน ๔ [เตวิชฺโชผู้ได้วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ] (๒) อริยมรรค ๔ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วย ขเย ญานํ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค อันทำให้กิเลสสิ้นไป ญาณของผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค และ (๓) อริยผล ๔ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วย อนุปฺป เท ญาณํ ได้แก่ ญาณในอริยผล อันเป็นผลที่ยังไม่เกิดโดยปฏิสนธิ หรือที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสที่มรรคนั้นๆ ฆ่าได้แล้ว ญาณของผู้พรั่งพร้อมด้วยผล (๓) อุปธิวิเวก คือ หมดกิเลสความสงัดอุปธิ ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่า อุปธิ โดยตั้งจิตอธิษฐานมั่นหมายเอาพระนิพพาน
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
[๓๕๕] อนุปุพพวิหาร ๙ (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 252253 FILE 16)
(๑) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ (๒) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึง ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น [การเข้าสมาธิที่มีจุดหมายเป็นหนึ่ง] เพราะ วิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ (๓) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ ปีติ ปราศจากไป เข้าถึง ตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญว่า: ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ (๔) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์และสุข เพราะละทุกข์และสุข ลำดับโสมนัสโทมนัสในกาลก่อน มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ [สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔] อยู่ (๕) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วง รูปสัญญา ได้โดยประการทั้งปวง [ความกำหนดในรูปธรรม อันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน] หมด เพราะ ปฏิฆสัญญา ดับไป [ความกำหนดในปฏิฆะ = อรติโทสะ] หมด เพราะไม่ใส่ใจซึ่ง นานัตตสัญญา [ความกำหนดมีอาการต่างๆ กัน] หมด [แล้วถืออากาศเป็นอารมณ์] เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ (๖) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงซึ่ง อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ (๗) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ (๘) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่ (๙) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่
จบ อนุปุพพวิหาร ๙ --------------------------
[๓๕๖] อนุปุพพนิโรธ ๙ (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 253-254 FILE 16)
(๑) กามสัญญา ของท่านผู้เข้า ปฐมฌาน ย่อมดับไป (๒) วิตกวิจาร ของท่านผู้เข้า ทุติยฌาน ย่อมดับไป (๓) ปีติ ของท่านผู้เข้า ตติยฌาน ย่อมดับไป (๔) ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะ ของท่านผู้เข้า จตุตถฌาน ย่อมดับไป (๕) รูปสัญญา ของท่านผู้เข้า อากาสานัญจายตนะ ย่อมดับไป (๖) อากาสานัญจายตนสัญญา ของท่านผู้เข้า วิญญาณัญจายตนะ ย่อมดับไป (๗) วิญญาณัญจายตนสัญญา ของท่านผู้เข้า อากิญจัญญายตนะ ย่อมดับไป (๘) อากิญจัญญายตนสัญญา ของท่านผู้เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ย่อมดับไป (๙) สัญญาและเวทนา ของท่านผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมดับไป
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๙ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่ตลอดกาลนานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จบ อนุปุพพนิโรธ ๙ ---------------------
ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้อภิภู ทรงชี้แนะให้มนุษย์เห็นศักยภาพของตน ทั้งพลังทางจิตและพลังทางปัญญา ที่จะตัดขาดจากภูมิทั้ง ๓ แห่งวัฏฏะ ให้เจริญไพบูลย์ไปสู่โลกุตตรภูมิด้วย ความเป็นอริยบุคคล ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ [อริยมรรค ๔] จนบรรลุด้วย อริยผล ๔ แห่งสัมมญาณ และตรัสรู้ด้วยรู้แจ้งแทงตลอดในสัมมาวิมุตติถึง อรหัตตผลวิมุตติ ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคล [จตุสัจจพุทธะ] ในการบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณนั้น ย่อมเป็นไปตามความเชื่อ ความสัทธาปสาทะใน กฎแห่งกรรม ด้วยเกิดปัญญาเห็นธรรมใน กัมมัสสกตาญาณ [ธัมมัฏฐิติญาณโดยปฏิจจสมุปบาท] จึงเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงด้วยการเจริญ กลาปสัมมสนญาณ ไปสู่ โลกุตตรธรรม ๙ ได้ด้วยโยคเกษมธรรมและอภิญญาเทสิตธรรม [โพธิปักขิยธรรม ๓๗] ด้วยเหตุนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้อภิภู ทรงชี้แนะให้พึ่งตนเองด้วยปัญญา ไม่ให้เชื่ออย่างงมงายในสิ่งที่ไร้เหตุผลอธิบายไม่ได้ด้วยการพิสูจน์เชิงปฏิบัติ เช่น ความเชื่อใน (๑) ลัทธินอกพระพุทธศาสนา ๓ [ปุพเพกตเหตุวาทลัทธิกรรมเก่า ๑ อิสสรนิมมานเหตุวาทลัทธิพระเป็นเจ้า ๑ อเหตุอปัจจัยวาทลัทธิเสี่ยงโชค ๑] (๒) ที่สุด ๒ อย่างอันตา ๒ [กามสุขัลลิกานุโยคการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข ๑ อัตตกิลมถานุโยคการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง ๑] และ (๓) ทิฏฐิในตน [สัสสตทิฏฐิความเห็นว่าเที่ยง ๑ อุจเฉททิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญ ๑ อกิริยทิฏฐิความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๑อเหตุกทิฏฐิความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๑ นัตถิกทิฏฐิความเห็นว่าไม่มี ๑] ด้วยเหตุนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาถึงกระบวนการวิวัฒน์ปัญญาในแนวทางพุทธตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใน ๓ ประการ ได้แก่ (๒) พุทธศาสนา (๒) พุทธปรัชญา (๓) พุทธศาสตร์ ดังนี้
ภาพประกอบ ๒: ความเป็นสากลแห่งพุทธะในการวิวัฒน์ปัญญาของมวลมนุษยชาติ
ดังนั้น ตามคติทางพระพุทธศาสนานั้น มนุษย์มีสิทธิ์เท่าเทียมกันทุกผู้ทุกนาม คือ จะเลือกเป็นปุถุชนสามัญที่มีวิถีชีวิตเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะแห่งสังสารจักร [ภูมิ ๓: กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ หรือ เทวดามนุษย์นิรยะติรัจฉานโยนิเปตติวิสัยอสุรกาย] หรือจะเลือกประพฤติพรมจรรย์ข้ามจากโคตรปุถุชนไปสู่โคตรอริยะ ที่เรียกว่า โลกุตตรภูมิ นั่นคือ ความเป็นอริยบุคคล ใน ๔ ประเภทได้แก่ (๑) โสดาบัน (๒) สกทาคามี (๓) อนาคามี และ (๔) อรหันต์ จนวิวัฒน์ปัญญาไปสู่ ความเป็นพุทธภาวะ นั่นคือ ย่อมเข้าถึงได้ซึ่ง คุณบทแห่งบุคคลผู้เป็นพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า อนุพุทธะจตุสัจจพุทธะพระอรหันตขีณาสพ หรือย่อมได้รับคุณสมบัติเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยญาณใน กรรม ๓: กายสุจริต ๓วจีสุจริต ๔มโนสุจริต ๓ [โมเนยยธรรม ๓] ที่เรียกว่า ปราชญ์มุนี เป็นมุนีมี ๖ จำพวก (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 260262 FILE 66) ยกเว้นใน ข้อ (๖) ได้แก่ อาคารมุนี ๑ อนาคารมุนี ๑ เสขมุนี ๑ อเสขมุนี ๑ ปัจเจกมุนี ๑ มุนิมุนี ๑ ดังนี้ (๑) อาคารมุนีเป็นไฉน ชนเหล่าใดเป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพาน อันเห็นแล้วมีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่า อาคารมุนี (๒) อนาคารมุนีเป็นไฉน ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนา [ไตรสิกขา] อันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี (๓) พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า เสขมุนี [สอุปาทิเสสบุคคล = อุภโตภาควิมุตปัญญาวิมุตกายสักขีทิฏฐิปปัตตะสัทธาวิมุตธัมมานุสารีสัทธานุสารี] (๔) พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี [อนุปาทิเสสบุคคลชีวิตสมสีสีบุคคล] (๕) พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี (๖) พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี ตามนัยดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระสัตถุสาสน์ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมจุติปฏิสนธิในคติแห่งเทวโลก ที่เรียกว่า วิสุทธิเทพ ได้ อันผิดหรือขัดแย้งกับคติทางลัทธิพราหมณ์ ที่มีชั้นวรรณะใน ๔ ประเภท ในขณะที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ ถ้าเกิดตายดับสังขารไป ก็เหลือ อัตตาอาตมัน ที่เรียกว่า เจตภูต ก็ยังต้องเป็นไปตามชั้นวรรณะทั้ง ๔ อย่าง เช่นเดิม [วรรณะ ๔: กษัตริย์พราหมณ์แพศย์ศูทร ฉะนั้น พราหมณ์ เป็นวรรณะที่ประเสริฐ เลิศ สูงสุด อันให้วัดหรือตัดสินความเลิศประเสริฐนั้น (๑) โดยชาติ คือ กำเนิด (๒) โดยโคตร คือ สายตระกูล ซึ่งผูกพันกับ อาวาหะวิวาหะ คือ การแต่งงาน ที่อ้างออกมาว่า ท่านคู่ควรกับเรา หรือ ท่านไม่คู่ควรกับเรา ซึ่งตรงกันข้ามกับคติทางพระพุทธศาสนา ซึ่งให้วัดหรือตัดสินคนด้วย กรรม คือ การกระทำความประพฤติ โดยถือว่า สิ่งที่ทำให้เลิศให้ประเสริฐ คือ วิชชาจรณะ] อันเป็นปฏิปักษ์กับหลักมัชฌิมาปฏิทา ที่เน้นเรื่อง ความต่างแห่งกรรม อันเป็น กรรมปัจจัย (ข้อ ๑๓ ใน ปัจจัย ๒๔: ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง) เกิดจากปัญญาเห็น ขันธ์ ๕ ในอดีตชาติ ด้วยการระลึกชาติได้ โดย ปุพเพนิวาสนุสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) [เกิดปัญญาเห็นธรรมด้วย นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดแยกรูปกับนาม] ทำให้จิตผ่องใสด้วย อธิโมกขสัทธา นั่นคือ กัมมสัทธา เชื่อในเรื่อง กฎแห่งกรรม คือ เชื่อด้วยเหตุผลในการกระทำตามกุศลเจตนาของตน และ วิปากปัจจัย (ข้อ ๑๔ ใน ปัจจัย ๒๔: ปัจจัยโดยเป็นวิบาก) ทำให้จิตผ่องใสด้วย อธิโมกขสัทธา นั่นคือ วิปากสัทธา คือ เชื่อด้วยเหตุผลในผลแห่งวิบากกรรมที่ตนทำลงไป คำว่า ด้วยเหตุผล [ทำกุศลกรรมเจริญในโยนิโสมนสิการด้วย (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท ในฝ่ายสมุทยวาร และ (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ในฝ่ายนิโรธวาร] ก็คือ ญาณหยั่งรู้ด้วยหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเกิดจากปัญญาเห็นภาวะจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมของตนเอง และที่จะเป็นไปในกาลทั้ง ๓ โดย จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ [กัมมัสสกตาญาณ] (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) [หรือเกิดปัญญาเห็นธรรมด้วย ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยแห่งทุกข์] ซึ่งปัจจัยทั้ง ๒ กับญาณหยั่งรู้ทั้ง ๒ ย่อมทำหน้าที่กำหนดคุณค่าใน ความเป็นมนุษย์ กับ ความเป็นวิสุทธิเทพ ซึ่งสามารถเป็นไปได้ด้วยการทำกุศลกรรม ที่ประกอบด้วย (๑) สมถพละ กับ (๒) วิปัสสนาพละ ซึ่งทำให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ในการทำลายกิเลสอาสวะทั้งหลายโดย อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) อันเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิด สัมมาสนญาณ [กลาปสัมมสนะ คือ พิจารณาธรรมทั้งหลายจัดเป็นกลุ่มตามลักษณะแห่งสามัญลักษณะ] (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) หมายถึง ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ หรือ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของ อนิจจตาไม่เที่ยง ๑ ทุกขตาเป็นทุกข์ ๑ อนัตตตามิใช่ตัวตน จากนั้น คือ กระบวนการทุบขันธ์ ๕ [วุฏฐานคามินีปฏิปทามหาวิปัสสนา ๑๘] จนถึงญาณข้ามโคตรจาก ความเป็นปุถุชน ไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล [อริยมรรค ๔อริยผล ๔] แล้วตรัสรู้ถึง สัมโพธิญาณ [นิพพาน ๒] โดยเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน [วิสุทธิเทพ] ทั้งหมดนี้ เป็นขั้นตอนในกระบวนการคิดในการปฏิบัติธรรมที่ถูกหลักธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปทา] ในการขัดเกลาธรรมเครื่องกิเลสทั้งหลายในพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลายไม่ควรมองข้ามความสำคัญในประเด็นนี้ไป คือ จักต้องรู้แจ้งแจ่มชัดลึกซึ้งเข้ากระดูกดำให้ได้ นั่นเอง ให้พิจารณารายละเอียดในคำว่า วรรณะ ๔ ดังนี้
หมายเหตุ: ความเข้าใจที่ประกอบกับการใช้เหตุและผลด้วยปัญญานั้น เป็นปัจจัยสำคัญให้เข้าถึง กระแสแห่งสัมมาทิฏฐิ [ความรู้แจ้งในกุศลมูลกับอกุศลมูล กฎแห่งกรรม กัมมัสสกตาปัญญา อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ อริยสัจจ์ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ และไตรลักษณ์] เพื่อให้เกิดการดำเนินความนึกคิดแห่งกระบวนทัศน์ที่ถูกต้องและดำเนินชีวิตถูกต้องตามคลองธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติธัมมานุธัมมปฏิปทา] ฉะนั้น ปัจจัยทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ [ทางเกิดแห่งแนวความคิดที่ถูกต้องต้นทางของปัญญาและความดีงามทั้งปวง] นั้น มีคุณธรรม ๒ ประการ ในเบื้องต้น ได้แก่ (๑) ปรโตโฆสะ หมายถึง เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียน หาความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร ดังวาทะคติพจน์ว่า อายครูไม่รู้วิชา อายเทวดาไม่ได้ไปสวรรค์กับ (๒) โยนิโสมนสิการ หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
วรรณะ ๔ หรือ วัณณะ ๔ [Castes] หมายถึง ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์ คือ กษัตริย์พราหมณ์แพศย์ศูทร ในความเชื่อดังกล่าวขัดแย้งกับเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนา ที่ถือคุณค่าความเป็นคนที่ วิชชาและจรณะ ดังนี้
(๑) กษัตริย์ ชื่อวรรณะที่ ๑ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ชนชั้นปกครอง หรือ นักรบ นั่นคือ จัดอยู่ใน อุภโตสุชาต เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา เป็นคุณสมบัติที่กษัตริย์บางวงศ์ถือเป็นสำคัญมาก
(๒) พราหมณ์ ชื่อวรรณะที่ ๒ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ฉะนั้น พราหมณ์เป็นวรรณะนักบวชและเป็นเจ้าพิธี ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด เกิดจากปากพระพรหม นั่นคือ จัดอยู่ใน อุภโตสุชาต เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา เป็นคุณสมบัติที่พวกพราหมณ์ถือเป็นสำคัญมากได้แก่ (๑) พราหมณดาบส ดาบสที่มีชาติตระกูล เป็นพราหมณ์ ออกมาบำเพ็ญพรตถือเพศเป็นดาบส มีบันทึกในอรรถกถาว่า ครั้งอดีตสมัยพระเจ้าโอกกากราช ในดินแดนแถบทักขิณาบถ อันเป็นทักษิณชนบท มีพวกพราหมณดาบสอยู่มาก (๒) พราหมณมหาสาล พราหมณ์ผู้มั่งคั่ง (๓) พราหมณคหบดี พราหมณ์และคหบดี คือ ประดาพราหมณ์ และชนผู้เป็นเจ้าบ้านครองเรือนทั้งหลายอื่น ที่นอกจากกษัตริย์และพราหมณ์นั้น เฉพาะอย่างยิ่งคือพวกแพศย์
(๓) แพศย์ คนวรรณะที่ ๓ ใน ๔ วรรณะ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พวกชาวนา และ พ่อค้า
(๔) ศูทร ชื่อวรรณะที่ ๔ ในวรรณะ ๔ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ จัดเป็นชนชั้นต่ำ ได้แก่ พวกทาส และ กรรมกร หรือคนในกลุ่มต่อไปนี้ (๑) ชาติสุททะ พวกสุททะ คนพวกวรรณะศูทร เป็นคนชั้นต่ำในชมพูทวีป (๒) ชาติปุกกุสะ พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอกไม้ตามสถานที่บูชา (๓) จัณฑาล ลูกต่างวรรณะ เช่น บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ มีลูกออกมา เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนต่ำทรามถูกเหยียดหยามที่สุดในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์
ในแนวคิดตาม หลักมัชฌิมาปฏิปทา [เริ่มด้วยปัญญาดำเนินด้วยปัญญานำไปสู่ปัญญา] นั้น ส่งเสริมให้บุคคลมีปัญญาเห็นธรรมทั้งปวงโดยเน้นการศึกษาค้นคว้าใน หลักไตรสิกขา [อริยมรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔] ได้แก่ (๑) อธิสีลสิกขา หมายถึง พระวินัยปิฎกทั้งปวง (๒) อธิจิตตสิกขา หมายถึง พระสุตตันตปิฎกทั้งปวง และ (๓) อธิปัญญาสิกขา หมายถึง พระอภิธรรมปิฎกทั้งปวง โดยจำแนกจัดกลุ่มธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม ออกเป็นธรรม ๒ ประการ รวม ๓๑ ภูมิแห่ง ๓ ภูมิแรกใน ๔ ภูมิ [กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิโลกุตตรภูมิ] ได้แก่ (๑) อุปาทินนธรรม กับ (๒) อนุปาทินนธรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
(๑) อุปาทินนธรรม หมายถึง ธรรมที่ถูกยึด ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิเข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก และรูปที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด ซึ่งเป็น ภูมิแห่งวัฏฏะ ๓ ที่เรียกว่า ทุคติ
(๑.๑) กามาวจรภูมิ (ข้อ ๑ ในภูมิ ๔ และ กามาวจรจิต ๕๔ โดยภูมิประเภท) คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม ระดับจิตใจที่ยังปรารภกามเป็นอารมณ์ คือยังเกี่ยวข้องกับกามคุณ ระดับจิตใจของสัตว์ในกามภพทั้ง ๑๑ ชั้น ภูมิทั้ง ๑๑ ใน ๒ หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ ๑๑ ๑. อบายภูมิ ๔ (ข้อ ๑ ในภูมิ ๔ภูมิ ๓๑) คือ ภูมิที่ปราศจากความเจริญ ๑) นิรยะ [นรก] ๒) ติรัจฉานโยนิ [กำเนิดดิรัจฉาน] ๓) ปิตติวิสัย [แดนเปรต] ๔) อสุรกาย [พวกอสูร] ๒. กามสุคติภูมิ ๗ (ข้อ ๒ ในภูมิ ๔ภูมิ ๓๑) คือ กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม ๑) มนุษย์ [ชาวมนุษย์] ๒) จาตุมหาราชิกา [สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช ๔ ปกครอง] ๓) ดาวดึงส์ [แดนแห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสักกะเป็นใหญ่] ๔) ยามา [แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์] ๕) ดุสิต [แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน] ๖) นิมมานรดี [แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต] ๗) ปรนิมมิตวสวัตดี [แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้]
[หมายเหตุ: ในอันดับถัดไป คือ สมาธิภาวนา เพื่อกำจัดนิวรณ์ด้วย ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘ ได้แก่ เนกขัมมะอัพยาบาทอวิเขกปะอาโลกสัญญาธรรมววัตถานญาณ [ฌาน]ปราโมทย์กุศลธรรมทั้งปวง คำว่า กุศลธรรมทั้งปวง ได้แก่ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔มหาวิปัสสนา ๑๘โลกุตตรธรรม ๙ และ โพธิปักขิยธรรม ๓๗]
(๑.๒) รูปาวจรภูมิ (ข้อ ๒ ในภูมิ ๔ และ รูปาวจรจิต ๑๕ โดยภูมิประเภท) คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป ระดับจิตใจที่ปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์ ระดับจิตใจของท่านผู้ได้ฌานหรือผู้อยู่ในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้น ๓. รูปาวจรภูมิ ๑๖ (ข้อ ๓ ในภูมิ ๔ภูมิ ๓๑) คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป ชั้นรูปพรหม [A] ปฐมฌานภูมิ ๓ [ระดับปฐมฌาน = วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา] ๑) พรหมปาริสัชชา [พวกบริษัทบริวารมหาพรหม] ๒) พรหมปุโรหิตา [พวกปุโรหิตมหาพรหม] ๓) มหาพรหมา [พวกท้าวมหาพรหม] [B] ทุติยฌานภูมิ ๓ [ระดับทุติยฌาน = ปีติสุขเอกัคคตา] ๔) ปริตตาภา [พวกมีรัศมีน้อย] ๕) อัปปมาณาภา [พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้] ๖) อาภัสสรา [พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป] [C] ตติยฌานภูมิ ๓ [ระดับตติยฌาน = สุขเอกัคคตา] ๗) ปริตตสุภา [พวกมีลำรัศมีงามน้อย] ๘) อัปปมาณสุภา [พวกมีลำรัศมีงามประมาณมิได้] ๙) สุภกิณหา [พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า] [D] จตุตถฌานภูมิ ๓๗ [ระดับจตุตถฌาน = อุเบกขาเอกัคคตา] ๑๐) เวหัปผลา [พวกมีผลไพบูลย์] ๑๑) อสัญญีสัตว์ [พวกสัตว์ไม่มีสัญญา] (*) สุทธาวาส ๕ [พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี] ดังนี้ ๑๒) อวิหา [เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็วผู้คงอยู่นาน] ๑๓) อตัปปา [เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร] ๑๔) สุทัสสา [เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา] ๑๕) สุทัสสี [เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด] ๑๖) อกนิฏฐา [เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใครผู้สูงสุด]
(๑.๓) อรูปาวจรภูมิ (ข้อ ๓ ในภูมิ ๔ และ อรูปาวจรจิต ๑๒ โดยภูมิประเภท) คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป ระดับจิตใจที่ปรารภอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ระดับจิตใจของท่านผู้ได้อรูปฌาน หรือผู้อยู่ในอรูปภพทั้ง ๔ ชั้น
๔. อรูปาวจรภูมิ ๔ (ข้อ ๔ ในภูมิ ๔ภูมิ ๓๑) คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป ชั้นอรูปพรหม ๑) อากาสานัญจายตนภูมิ [ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด] ๒) วิญญาณัญจายตนภูมิ [ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด] ๓) อากิญจัญญายตนภูมิ [ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร] ๔) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ [ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่]
[หมายเหตุ: กิจในสมาธิภาวนาในส่วนนี้ถัดไป คือ ญาณทัสนนะ (ปัญญาในสมาธิ) ที่เกิดขึ้นใน อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖วิปัสสนาญาณ ๙ หรือ วิปัสสนาญาณ ๑๐ (ปัญญาในวิปัสสนา)]
(๒) อนุปาทินนธรรม หมายถึง ธรรมที่ไม่ถูกยึด ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และโลกุตตรธรรมทั้งหมด
(๒.๑) โลกุตตรภูมิ (ข้อ ๔ ในภูมิ ๔ และโลกุตตรจิต ๘ โดยภูมิประเภท) คือ ชั้นที่พ้นจากโลก ระดับแห่งโลกุตตรธรรม ระดับจิตใจของพระอริยเจ้าอันพ้นแล้วจากโลกียภูมิ ๓ ข้างต้น ข้อนี้ในบาลีที่มา เรียกว่า อปริยาปันนภูมิ คือ ขั้นที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ ระดับที่ไม่ถูกจำกัด
โลกุตตรธรรม ๙ คือ ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก สภาวะพ้นโลก (รวมกับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ = โลกุตตรธรรม ๔๖ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ [สติสัมปชัญญะ]สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘) ๑) มัคคญาณมรรค ๔อริยมรรค ๔ หมายถึง ญาณในอริยมรรค ปัญญาสูงสุดที่กำจัดกิเลสเป็นเหตุให้บรรลุความเป็น อริยบุคคล ชั้นหนึ่งๆ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค หรือ โสตาปัตติมัคคญาณสกทาคามิมัคคญาณอนาคามิมัคคญาณอรหัตตมัคคญาณ ๒) ผลญาณผล ๔อริยผล ๔สามัญผล ๔ หมายถึง ญาณในอริยผล ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจาก มัคคญาณ และเป็น ผลแห่งมัคคญาณ นั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้วได้ ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ ได้แก่ โสดาปัตติผลสกทาคามิผลอนาคามิผลอรหัตตผล หรือ โสดาบันโสดาปัตติผลญาณ ๑ สกทาคามีสกทาคามิผลญาณ ๑ อนาคามีอนาคามิผลญาณ ๑ อรหันต์อรหัตตผลญาณ ๑ ๓) นิพพาน ๑ [อสังขตธาตุ] ได้แก่ สอุปาทิเสสนิพพานอนุปาทิเสสนิพพาน
(๒.๒) นิพพาน ๒ คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพานนิพพานยังมีอุปาทิเหลือ หรือ กิเลสปรินิพพานดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคลพระเสขะ (๒) อนุปาทิเสสนิพพานนิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ หรือ ขันธปรินิพพานดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือวิวัฏฏะ ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคลพระอเสขะ [สัมมาวิมุตติ = สัมมัตตะ ๑๐]
ฉะนั้น ตามหลักปฏิบัติธรรมตามพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ธรรม ๘ อย่าง ดังพระพุทธองค์ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้แก่ (๑) วิราคะความคลายกำหนัด (๒) วิสังโยคความหมดเครื่องผูกรัด (๓) อปจยะความไม่พอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตาความมักน้อย (๕) สันตุฏฐีความสันโดษ (๖) ปวิเวกความสงัด (๗) วิริยารัมภะการประกอบความเพียร (๘) สุภรตาความเลี้ยงง่าย กับ ธรรม ๗ อย่าง ดังพระพุทธองค์ตรัสแก่พระอุบาลี ได้แก่ (๑) เอกันตนิพพิทาความหน่ายสิ้นเชิง (๒) วิราคะความคลายกำหนัด (๓) นิโรธความดับ (๔) อุปสมะความสงบ (๕) อภิญญาความรู้ยิ่งรู้ชัด (๖) สัมโพธะความตรัสรู้ (๗) นิพพานความสิ้นกิเลสและทุกข์แล้ว นั้น เรื่องความเงียบสงบ [อุปสมะ] ความสงัด [วิเวก] ย่อมเป็นธรรมที่ทำให้เป็นสมาธิ เป็นการช่วยปิดกั้นอินทรีย์ทั้ง ๖ สำรวมระวังไม่ต้องไปรับรู้กับอารมณ์ภายนอกทั้ง ๖ ที่จะเข้ามาครอบงำจิตใจ ฉะนั้น ความสันโดษ [สันตุฏฐี] จึงตัวสนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ที่ช่วยทำให้คลายความกำหนัด และความเบื่อหน่าย จนเห็นการเกิดและความดับของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม [อภิญญาความรู้ยิ่งรู้ชัด] อันเป็นบาทฐานสำคัญให้เกิดปัญญาในการตรัสรู้ [สัมโพธะ] จนสามารถเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้เป็นประการสุดท้าย ทั้งหมดนี้ย่อมเกิดจากความศรัทธาเลื่อมใสด้วยความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง [อธิโมกข์] และฉันทะด้วยความยินดียิ่ง [อาราโม หรือ นิกันติความติดใจพอใจ] ที่เป็นเหตุปัจจัยให้ ความปราโมทย์อิ่มใจปลาบปลื้ม [ปีติ] ความสงบเย็นกายใจ [ปัสสัทธิ] ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง [สุข] ความเพียรที่พอดี [ปัคคาหะ] ประการสำคัญมีจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ [เอกัคคตา] สติชัด [อุปัฏฐาน] ด้วยความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิท [อุเบกขา] แห่งทุติยฌานจนถึงจตุตถฌาน เมื่อเกิดปัญญาในสมาธิและวิปัสสนา ย่อมเกิดความตื่นตัวด้วยแสงสว่างเต็มไปทั้งตัว [โอภาส] พร้อมด้วยความรู้ที่คมชัด [ญาณ] ในขณะนั้น จิตแห่งสติสัมปชัญญะ [จิตตัววิปัสสนา] ย่อมเป็น ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ และปัญญาที่เกิดขึ้นในวิปัสสนา คือ ญาณ ทั้งปัญญาในสมาธิ [วิชชา ๓อภิญญา ๖] กับปัญญาในวิปัสสนา [ญาณ ๑๖] เรียกรวมว่า จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง ฉะนั้น ปัญญาทั้ง ๒ นี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญ [ฌานปัจจัยมรรคปัจจัย] ที่เป็นยอดปรารถนาของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนของการตรัสรู้ [Enlightenment] นั้น คือ ความรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวง [ปฏิเวธ] ที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม [The Eye of Truths = ปัญญาจักขุ คือ ตาปัญญา ซึ่งประกอบด้วยปัญญาคุณยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรมได้ หรือ โมนะ คือ ญาณในมรรค ๔ นั่นคือ เห็นความเกิดแห่งสมุทัยธรรม เห็นความดับแห่งนิโรธธรรม] นั่นคือ อาณาจักรธรรมธรรมจักร ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม แล้วให้ธรรมทั้งหลายดังกล่าวนี้ มาประชุมลงใน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่เรียกว่า อภิญญาเทสิตธรรม [เอกายนมรรค] หมายถึง ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ [สติสัมปชัญญะ]สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗ [ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้] มรรคมีองค์ ๘ ในหลักธรรมทั้ง ๗ อย่างนี้ ต้องเป็น ธรรมสามัคคี [สหชาตธรรม] โดยแต่ละหลักธรรมไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน [ปัจจัตตลักษณะลักษณะเฉพาะตนUniqueness พิจารณาในเชิงวิเคราะห์การอนุมานDeduction หรือ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสมุทยวาร] คำว่า ธรรมสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย ดังเช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น [ลักษณะสากลUniversality หรือ สามัญลักษณะThe Common Characteristics พิจารณาในเชิงสังเคราะห์การอุปมานInduction หรือ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร] ในวิธีพิจารณาธรรมดังกล่าวนี้ มีความเป็นสากลในกระบวนการแสวงหาความรู้ในทั้ง ๓ ด้าน นั่นคือ พุทธศาสนาพุทธปรัชญาพุทธศาสตร์ [ศาสนาปรัชญาวิทยาศาสตร์ คือ ศาสตร์ทั้ง ๓ เป็นอย่างเดียวกัน ธรรมชาติเดียวกัน โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งในแนวคิดApproach นี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการมนสิการกรรมฐาน รวมทั้งในการศึกษาทางคติโลกจนถึงระดับปริญญาเอก] สำหรับปรากฏการณ์นี้ ถือเป็นการวิวัฒน์ปัญญาแห่งมวลมนุษยชาตทั้งระบบที่มีความสมบูรณ์บริบูรณ์ที่สุด ฉะนั้น เพื่อให้เห็นอาการลักษณะจิตที่สหรคตด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ กับ วิเวก ๕ และสัมปยุตตธรรมที่เหลือทั้งหมด [วิเวก ๕วิราคะ ๕นิโรธ ๕โวสัคคะ ๕] ให้นึกถึงข้อปฏิบัติใน อนุปัสสนา ๗ ที่เป็นกระบวนสร้างปัญญาในวิปัสสนา ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนา (๒) ทุกขานุปัสสนา (๓) อนัตตานุปัสสนา (๔) นิพพิทานุปัสสนา (๕) วิราคานุปัสสนา (๖) นิโรธานุปัสสนา (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ตามลำดับ [สงบสงัดด้วยจตุตถฌานคลายกำหนัดด้วยอริยมรรคดับด้วยอริยผลสลัดคืนสักว่าเห็นเป็นเช่นนั้น] อีกนัยหนึ่ง พึงสังวรระวังว่าการมนสิการกรรมฐานทั้งหลายนั้น มีกระบวนการกำหดสติสัมปชัญญะพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายที่คล้ายคลึงกัน ขั้นตอนต่างๆ จะบรรจบครบครันพร้อมเพรียงกันใน ธรรมสามัคคี [สหชาตธรรม] คือ เกิดภาวะอันถูกต้องด้วย ญาณสัมปยุตต์ ครั้งใหญ่ในการตรัสรู้สัมโพธิญาณ ให้พิจารณาใน วิเวกกถา ดังนี้
ว่าด้วย วิเวกกถา (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 780785 FILE 69)
[A] การเจริญภาวนาในอริยมรรคมีองค์ ๘
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดินจึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญทำให้มากซึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน ย่อมเจริญ สัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน ย่อมเจริญ สัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พีชคามและภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแลอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
[พีชคาม หมายถึง พืช ๕ อย่าง คือ พืชจากราก ๑ พืชจากต้น ๑ พืชจากยอด ๑ พืชจากข้อ ๑ พืชจากพืช ๑ รวมพืชชื่อว่า พีชคาม ชื่อว่า ภูตคาม คือ ความปรากฏแห่งหน่อเขียวสมบูรณ์แล้ว นั่นคือ บ้านของภูตคือเทวดา]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญทำให้มากซึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย [ศีลสมาธิปัญญา] ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) เจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๒) เจริญ สัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๓) เจริญ สัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๔) เจริญ สัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๕) เจริญ สัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๖) เจริญ สัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๗) เจริญ สัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๘) เจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน
(๑) สัมมาทิฏฐิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ (๒) สัมมาสังกัปปะ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ (๓) สัมมาวาจา มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ (๔) สัมมากัมมันตะ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ (๕) สัมมาอาชีวะ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ (๖) สัมมาวายามะ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ (๗) สัมมาสติ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ (๘) สัมมาสมาธิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒
หมายเหตุ: บทว่า ฉนฺทชาโต โหติ คือ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ ย่อมเป็นผู้เกิดความพอใจในธรรมในส่วนเบื้องต้น บทว่า สทฺธาธิมุตฺโต คือ เป็นผู้น้อมไปด้วยศรัทธาในส่วนเบื้องต้น บทว่า จิตฺตํ จสฺส สฺวาธิฏฺฐิตํ คือ มีจิตตั้งมั่นด้วยดี นั่นคือ จิตของพระโยคาวจรนั้นตั้งมั่นด้วยดี และมั่นคงด้วยดีในส่วนเบื้องต้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ ฉันทะ ๑ สัทธา ๑ จิต ๑ ชื่อว่า เป็นที่อาศัย [นิสสยะ = นิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย] เพราะเป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งวิเวกอันเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น แล้ววิวัฏฏ์ ๓ รอบกับธรรม ๔ คือ วิเวก ๕ วิราคะ ๕ นิโรธ ๕ โวสสัคคะ ๕ เท่ากับ ๑๒ คือ นิสัย ๑๒ โวสสัคคะ [ความสละ] มี ๒ อย่าง คือ (๑) ปริจจาคโวสสัคคะ [ปล่อยด้วยการสละ] คือ การละกิเลสด้วยตทังคะในขณะแห่งวิปัสสนา ด้วยสมุจเฉทในขณะแห่งมรรค และ (๒) ปักขันทนโวสสัคคะ [ปล่อยด้วยการแล่นไป] คือ การแล่นไปสู่นิพพานด้วยความน้อมไปสู่นิพพานนั้นในขณะแห่งวิปัสสนา ด้วยการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรค
สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ และ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น สัมมาทิฏฐิ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
สัมมาสังกัปปะมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสังกัปปะมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้
สัมมาสังกัปปะมีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสังกัปปะมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาสังกัปปะมีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสังกัปปะมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาสังกัปปะมีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสังกัปปะมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ และ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น สัมมาสังกัปปะ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
สัมมาวาจามีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวาจามีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้
สัมมาวาจามีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวาจามีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาวาจามีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวาจามีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาวาจามีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวาจามีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ และ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น สัมมาวาจา มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
สัมมากัมมันตะมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมากัมมันตะมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้
สัมมากัมมันตะมีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมากัมมันตะมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้
สัมมากัมมันตะมีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมากัมมันตะมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมากัมมันตะมีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมากัมมันตะมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ และ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น สัมมากัมมันตะ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
สัมมาอาชีวะมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาอาชีวะมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้
สัมมาอาชีวะมีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาอาชีวะมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาอาชีวะมีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาอาชีวะมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาอาชีวะมีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาอาชีวะมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ และ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น สัมมาอาชีวะ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
สัมมาวายามะมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวายามะมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้
สัมมาวายามะมีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวายามะมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาวายามะมีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวายามะมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาวายามะมีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาวายามะมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น สัมมาวายามะ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
สัมมาสติมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสติมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้
สัมมาสติมีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสติมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาสติมีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสติมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาสติมีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสติมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ นี้
ฉะนั้น สัมมาสติ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะตทังควิราคะสมุจเฉทวิราคะปฏิปัสสัทธิวิราคะนิสสรณวิราคะ วิกขัมภนวิราคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิราคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิราคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิราคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธตทังคนิโรธสมุจเฉทนิโรธปฏิปัสสัทธินิโรธนิสสรณนิโรธ วิกขัมภนนิโรธ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคนิโรธ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทนิโรธ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณนิโรธ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ โวสัคคะ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะตทังคโวสัคคะสมุจเฉทโวสัคคะปฏิปัสสัทธิโวสัคคะนิสสรณโวสัคคะ วิกขัมภนโวสัคคะ ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังคโวสัคคะ ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
ฉะนั้น สัมมาสมาธิ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้
[B] การเจริญภาวนาในอินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใดอย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดินจึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญทำให้มากซึ่ง โพชฌงค์ ๗ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเจริญ ทำให้มากซึ่ง โพชฌงค์ ๗ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญทำให้มากซึ่ง พละ ๕ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเจริญ ทำให้มากซึ่ง พละ ๕ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญทำให้มากซึ่ง อินทรีย์ ๕ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเจริญ ทำให้มากซึ่ง อินทรีย์ ๕ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
[C] การเจริญภาวนาโพธิปักขิยธรรมโดยอินทรีย์ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ด้วยประการฉะนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน แลอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่ง อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญทำให้มากซึ่ง อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) เจริญ สัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๒) เจริญ วิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๓) เจริญ สตินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๔) เจริญ สมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๕) เจริญ ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน
(๑) สัทธินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๒) วิริยินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๓) สตินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๔) สมาธินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๕) ปัญญินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สัทธินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
วิริยินทรีย์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ วิริยินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน วิริยินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
สตินทรีย์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สตินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สตินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
สมาธินทรีย์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สมาธินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สมาธินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน ปัญญินทรีย์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
[D] การเจริญภาวนาโพธิปักขิยธรรมโดยพละ ๕
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ด้วยประการฉะนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน แลอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่ง พละ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญทำให้มากซึ่ง พละ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) เจริญ สัทธาพละ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๒) เจริญ วิริยพละ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๓) เจริญ สติพละ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๔) เจริญ สมาธิพละ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๕) เจริญ ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน
(๑) สัทธาพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๒) วิริยพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๓) สติพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๔) สมาธิพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๕) ปัญญาพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒
สัทธาพละมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สัทธาพละมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สัทธาพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
วิริยพละมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ วิริยพละมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน วิริยพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
สติพละมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สติพละมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สติพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
สมาธิพละมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สมาธิพละมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สมาธิพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
ปัญญาพละมีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ ปัญญาพละมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน ปัญญาพละ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
[E] การเจริญภาวนาโพธิปักขิยธรรมโดยโพชฌงค์ ๗
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้น ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ด้วยประการฉะนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน แลอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่ง โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญทำให้มากซึ่ง โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) เจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๒) เจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๓) เจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๔) เจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๕) เจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๖) เจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน (๗) เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในความสละ เพื่อพระนิพพาน
(๑) สติสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๒) ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๓) วิริยสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๔) ปีติสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๕) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๖) สมาธิสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ (๗) อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒
สติสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สติสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สติสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
วิริยสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ วิริยสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน วิริยสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
ปีติสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ ปีติสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน ปีติสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
สมาธิสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน สมาธิสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวกตทังควิเวกสมุจเฉทวิเวกปฏิปัสสัทธิวิเวกนิสสรณวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในการดับข่มนิวรณ์ของผู้เจริญถึงปฐมฌานขึ้นไป ๑ ตทังควิเวก ในการดับละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ โดยผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ในการดับดัดออกกิเลสโดยผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ในการดับสงบระงับกิเลสขณะโลกุตตรผล ๑ นิสสรณวิเวก ในการดับสลัดออกกิเลสเป็นนิโรธแห่งอรหัตตผลวิมุตติ คือ นิพพาน ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฉะนั้น ในทำนองเดียวกัน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีวิเวก ๕มีวิราคะ ๕มีนิโรธ ๕มีความสละ ๕มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ด้วย
จบ ว่าด้วย วิเวกกถา ----------
เพราะฉะนั้น กระบวนการปฏิบัติธรรมทั้งหมดตามพระสัตถุสาสน์ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นขั้นตอนการฝึกตนให้เป็น วิสุทธิเทพ [อนุพุทธะ] แห่งเทวโลก พระพุทธศาสนาจึงไม่แต่งตั้งใครเป็นเทพพระเจ้าหลายองค์ตามแนวเชื่อแบบพาหุเทวนิยม [Polytheism] คือ มีความเคารพบูชาเทพหลายพระองค์ อย่างเช่น ลัทธิศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูปฏิบัติกันตั้งแต่สมัยพุทธกาล หรือความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่แม้จะเป็นชาวพุทธ [ชาวพุทธเทียมหรือของปลอมเลียนแบบ ทฤษฎีหมาหลายเจ้า หรือ ทฤษฎีนอกหลายหัว ไม่ใช่สองหัว ทำให้ยมบาลในแต่ลัทธิศาสนามาทะเลาะกัน เพื่อเก็บดวงวิญญาณชั่วไปลงโทษ คล้ายมูลนิธิเก็บศพที่ชอบทะเลาะกันตามท้องถนนที่มีคนตาย เพื่อลาภสักการะ นั่นเอง] เช่น การไปกราบไหว้เทพฮินดูในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ หรือการรับขันธ์ในตำหนักร่างทรง ไม่ใช่ตำเบาๆ เพราะความงมงาย ความไม่รู้จริง เล่นเอาประเทศเจ้าของเทพงมไปตามๆ กัน ต้องมาทำวิจัยเป็นกรณีศึกษา คนเหล่านี้เลยไม่ได้ดีอะไรในการพัฒนาคุณภาพด้านจิตใจ ก็แสดงผลทางสังคม คือ ชนผู้หลงทิศ (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20 -22 FILE 76) ดังนี้
สภาวะที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เห็นตามความไม่เป็นจริง ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ [ความเห็นไปข้างทิฏฐิ] เพราะอรรถว่า ความเห็นนี้เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเป็นสภาวะหยั่งลงภายใน ทิฏฐิ ๖๒ [ทิฏฺฐีวิสูกานิอติสารทิฏฐิทิฏฺฐิวินิจฺฉโย = การตกลงใจด้วยทิฏฐิ] เนื้อความแห่งทิฏฐิแม้นี้ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐิคหณะ [ป่าชัฏคือทิฏฐิ] เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงไปโดยยาก เหมือนชัฏหญ้า ชัฏป่า ชัฏภูเขา ทิฏฐิ นั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐิกันดาร [กันดารคือทิฏฐิ] ด้วยอรรถว่า น่าระแวงและมีภัยเฉพาะหน้า เหมือนกันดารโจร กันดารสัตว์ร้าย กันดารทราย กันดารน้ำ กันดารทุพภิกขภัย ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกายิกะ [ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ] ด้วยอรรถว่าขัดแย้งและทวนกันสัมมาทิฏฐิ จริงอยู่ ความเห็นผิดเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวนสัมมาทิฏฐิไป ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิปผันทิตะ [ความผันแปรแห่งทิฏฐิ] เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูปแห่งทิฏฐิ เพราะบางคราวก็ถือเอา ความเที่ยง บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ เพราะว่าคนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือ บางคราวก็คล้อยตามความเที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ ทิฏฐิ นั่นแหละ ชื่อว่า สัญโญชน์ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์ ที่ชื่อว่า คาหะ [ความยึดถือ] เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์ร้ายมีจระเข้เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่น ฉะนั้น ที่ชื่อว่า ปติฏฐวาหะ [ความตั้งมั่น] เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดยความเป็นไปอย่างมีกำลัง ที่ชื่อว่า อภินิเวสะ [ความยึดมั่น] เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยง เป็นต้น ที่ชื่อว่า ปรามาสะ [ความถือผิด] เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่งความเที่ยง เป็นต้น ที่ชื่อว่า กุมมัคคะ [ทางชั่ว] เพราะอรรถว่า เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบายทั้งหลายที่บัณฑิตเกลียด ที่ชื่อว่า มิจฉาปถะ [ทางผิด] เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ [ภาวะที่ผิด] เพราะเป็นสภาพผิดเหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้น ดังนี้ ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่า ทางนี้เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น ชื่อว่า ทางผิด เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่า มิจฉัตตะ เพราะมีสภาพผิด ที่ชื่อว่า ติตถะ [ลัทธิเป็นดังท่า] เพราะเป็นที่ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการหมุนไปมาในที่นั้นนั้นแหละ ติตถะ [คือลัทธิ] นั้นด้วย เป็น อายตนะ [บ่อเกิด] แห่งความฉิบหายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ [ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศลัทธิเดียรถีย์] อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นอายตนะด้วยความหมายเป็นส่วนสัญชาติ และด้วยความหมายว่าเป็นที่อาศัยของพวกเดียรถีย์บ้าง ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ [การถือโดยวิปลาส] เพราะอรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่าเป็นการถือสภาวะโดยตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาดเคลื่อน
ว่าด้วย เรื่องทิฏฐิ ๖๒ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1152 -1153FILE 68)
ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเวยยากรณภาษิต ในพรหมชาลสูตร มีดังนี้ (๑) สัสสตวาทะวาทะว่าเที่ยง ๔ (๒) เอกัจจสัสสตวาทะวาทะว่าเที่ยง ๔ (๓) อนัตานันติกวาทะวาทะว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔ (๔) อมราวิกเขปิกวาทะวาทะปฏิเสธสิ้นเชิง ๔ (๕) อธิจจสมุปปันนิกวาทะวาทะที่เชื่อถือไม่ได้ ๒ (๖) สัญญีวาทะวาทะมีสัญญา ๑๖ (๗) อสัญญีวาทะวาทะไม่มีสัญญา ๘ (๘) เนวสัญญี-นาสัญญีวาทะวาทะว่ามีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ (๙) อุจเฉทวาทะวาทะว่าสูญ ๗ (๑๐) ทิฏฐธรรมนิพพานวาทะวาทะว่านิพพานมีในปัจจุบัน ๕
ส่วนความพิสดารในนิทเทสนี้พึงทราบนัยดังกล่าวแล้วใน พรหมชาลสูตร นั่นแหละ
[รายละเอียด ทิฏฐิ ๖๒ ใน ๑. พรหมชาลสูตร เรื่องทิฏฐิ ๖๒ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156 FILE 11]
ดังนั้น พวกลุ่มลัทธินกหลายหัว นั้น คงใช้การไม่ได้ดีในการปฏิบัติธรรมมากเท่าไหร่หรอก เพราะมันจะมีอาการมัวฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในระหว่างเจริญภาวนากรรมฐาน เพราะมีนิสัยชอบรับคำสั่งจากเบื้องบน คือ จะต้องมีเทพหรือพระอินทร์ [โดยมีวาทะว่าได้หูทิพย์] มาสั่งการให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น อาการหลงภพหลงภูมิ [ธัมมุทธัจจะธรรมุธัจจ์] นี้ มีสมุฏฐานมาจากการฝึกฝนกรรมฐานมาผิดขั้นตอน เพราะมีความศรัทธาอย่างแรกกล้าในลัทธิเทพตามความเชื่อพวก ติตถายตนะ [ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศลัทธิเดียรถีย์] นั่นคือ อิสสรนิมมานเหตุวาทอิศวรกรณวาทอิศวรนิรมิตวาท [Theistic Determinism] ลัทธิพระเป็นเจ้า คือ พวกที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่ได้ประสบ จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่ [พรหมลิขิต] เมื่อเวลาผ่านไปนานยิ่งขึ้น ความเชื่อสัทธาปสาทะโดยอธิโมกข์ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ นั่น ย่อมฝังลึกยู่ในจิตใต้สำนึกและจิตไร้สำนึก [พื้นจิตตสันดาน] เมื่อเจริญภาวนาอันเป็นไปกึ่งในหลายความเชื่อความคิด จิตย่อมหวั่นไหวไปด้วยสันดานเดิมที่ฝังอยู่ลึกในจิตใจ เมื่อประสบกับบรรยากาศหรืออารมณ์อันเหมาะสม จิตดวงนั้นย่อมผุดโผล่แสดงฤทธิ์ออกมา เช่น เหมือนความฝันที่เราควบคุมบทฝันนั้นไม่ได้ อย่างเดียวกัน จิตใต้สำนึกมันแสดงบทบาทหน้าที่ของมันตามสัญญาเดิม มันไม่ยอมรับความจริงโดยกำหนดแห่งธรรมดา ที่เรียกว่า กฎธรรมชาติ [Natural Law = ธรรมฐิติธรรมนิยาม] ก็กล่าวโดยย่อม ไม่เกิดปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ [กลาปสัมมสนะ] ไม่เห็นนามรูปแห่งขันธ์ ๕ ที่เป็นไปตามกฎ อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา [ปัจจัยสร้างปัญญาให้รู้เท่าทันกิเลสทั้งหลาย] และในสรรพสิ่งทั้งหลาย ที่เรียกว่า สังขตธรรม นั่นเอง เมื่อพิจารณาในภูมิแห่งจิตตภาวนา มันไม่มีอะไรเป็นตัวตนที่แท้จริง ที่มนุษย์รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ และมโนทวารที่ ๖ นั้น คือ ภาพลวงตาโลกแห่งมายา [วัฏฏสงสาร] เหล่าปุถุชนทั่วไปย่อมไม่เชื่อในเรื่องนี้ และไม่ยอมลงมือลงไม้ที่จะพิสูจน์ด้วยตนเอง ทั้งที่ประเทศไทยมีพระอริยเจ้ามากมายที่จะเป็นกัลยาณมิตรคู่คิดคู่ธรรมให้อย่างเต็มที่ก็ตาม แต่ก็ชักชวนพากันไปเป็นลูกศิษย์ลูกหาแห่งอวิชชาค่อนประเทศเขตแดน ข้อพึงสังเกต คือ พวกเทพชอบกินกระบาลพวกโง่ๆ ซึมๆ เชื่องๆ ฉลาดกับโง่พอปานกัน บอกให้เดินหน้า พวกนี้จะถอนหลัง บอกให้ถอนหลัง พวกนี้จะเดินหน้า ชอบคิดขัดแย้ง ติดนิสัยมีลูกพี่แบบลัทธิอุปถัมภ์ [Patronalism หรือ Paternalism = ลัทธิปกครองแบบบิดาปกครองบุตร] มีเทพหรือฤษีเป็นลูกพี่มาสั่งและยอมทำตาม อย่างเช่น สมัยเด็กๆ ไปวัดบ่อยๆ เห็นภาพนรกตามข้างฝาศาลาบ่อย ก็มักจะจดจำเป็นภาพฝากใจในอดีต พอมานั่งสมาธิจิตอันเป็นสงบ จิตเกิดประหวัดถึงเรื่องราวเก่าๆ คือ ล้างป่าช้าเก่าในพื้นจิต ก็นำภาพนิมิตในความทรงจำเหล่านี้ มาต่อเติมเสริมแต่ง กลายเป็นเรื่องเป็นราวไป แทนที่จะคิดว่า จิตตัวเองมันหลอกตัวเอง กลับไปเชื่อว่าเป็นจริงตามอำนาจแห่งวิปัสสนูปกิเลส [วิปัสสนูปกิเลส ๑๐: (๑) โอภาสแสงสว่าง (๒) ปีติความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว (๓) ญาณความรู้ที่คมชัด (๔) ปัสสัทธิความสงบเย็นกายใจ (๕) สุขความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๖) อธิโมกข์ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง (๗) ปัคคาหะความเพียรที่พอดี (๘) อุปัฏฐานสติชัดบริสุทธิ์ (๙) อุเบกขาความวางจิตเป็นกลางที่ลงตัวสนิทไม่ลำเอียง (๑๐) นิกันติความติดใจพอใจในภูมิเช่นนั้น ประการสำคัญพวกทวงหนี้ในระบบและนอกระบบเข้าไปไม่ถึงเพราะมันบาปหนา] ในขั้นตอนที่กล่าวถึงนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องผ่านเข้ามาตามขั้นตอนของสมถะและวิปัสสนาที่ถูกต้อง ถึงจะผ่านเข้าวิปัสสนูปกิเลส คือ วิชชา ๓ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (๒) จุตูปปาตญาณ (๓) อาสวักขยญาณ กับ ญาณ ๑๖ ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ (๓) สัมมาสนญาณ แล้วเข้าไปที่ (๔) อุทยัพพยานุปัสสนา คือ เข้าไปถึง ทางสามแพ่ง [ไม่ใช่สามแยกบางโพแน่นอน] ที่เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗) คือ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย [นามรูปแห่งขันธ์ ๕] อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมี วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง [คือ มีอาสวักขยญาณดำเนินด้วยสัมมสนญาณถูกต้อง] เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถี คือ วิปัสสนาญาณ ๙ [อุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ] นั้นต่อไป นั่นคือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗) คือ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ [คล้อยตามอริยสัจจ์ ๔ เห็น ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค หรือญาณในอริยมรรค ๔] อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิด โคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่งความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ ๙ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมนิยมเป็นบ้าหรือเสียสติกันที่ตรงไหน นั่นคือ ช่วงระหว่าง สัมมสนญาณ กับ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ โดยไม่สามารถกำหนดรู้สภาวธรรมตามเป็นจริงโดยพิจารณากลาป [ไม่เจริญอนุปัสสนา ๗ ได้จริง หรืออนุปัสสนา ๓ เป็นพื้นฐาน โดยไม่เกิดปัญญาเห็นธรรม นั่นเอง] ในช่วงนี้ เป็นช่วงจุดอ่อนเปิดโอกาสให้กิเลสโจมตีจิตได้อย่างเป็นทางการ เพราะตรงกับจริต [โลภะโทสะโมหะ] ของผู้ปฏิบัติธรรมที่อ่อนหัตถ์อ่อนซ่อมมนสิการกรรมฐาน [สติปัฏฐาน ๔] แทนที่จะเชื่อในพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว [เอกเทวนิยม] ก็เลยเหมาเข่งแบบตลาดสี่มุมเมือง [พาหุเทวนิยม] คือ อัญเชิญเทพทั้งหลายแห่งลัทธิฮินดูสนธิกำลังด้วย พระอินทร์และยมบาลทั้ง ๔ ทิศ เล่นดู ชาวบ้านเรียกว่า กรรมฐานแตกตบะแตก สภาวะเช่นนี้ ก็คงไม่แตกต่างจาก เขื่อนแตก คิดเอาเองก็แล้วกันว่าวุ่นวายขนาดไหนในภาวะจิตดังกล่าว [อุทธัจจะความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส] ยิ่งจิตสหรคตด้วยว่า ผัวเมียมีชู้เป็นต้นทุนเก่าอยู่แล้ว ก็ถึงขั้นถอดจิตไปดูว่ามันอยู่กับชู้อย่างไร ก็ยิ่งไปกันใหญ่ คือ สแกนกรรมตัวเองหนักไปใหญ่ ไม่เกิดปัญญาเห็นธรรม คือ เป็นขั้น ฆนสัญญา ปิดบัง อนัตตสัญญา [ไม่สามารถเจริญอนัตตานุปัสสนาได้จริง] วงสมาธิวงสวิงแตกละเอียดอย่างแน่นอน ก็ตัวใครตัวมัน [ไม่น่าใช่ธรรมแตกหรือบรรลุธรรม หรือตบะแตกหลุดโลกหลุดจักรวาล คือ บาตรแตกกลิ้งลงเนินภูน้อยหรือภูธรรม หรือภูสำนักปฏิบัติธรรมไหนก็ตาม อย่างนี้พอวิ่งตามเก็บกลับใหม่ได้] ก็นึกภาพเอาเองก็แล้วกัน [ฤษีมานิตก็คงเอือมระอาเหมือนกัน เล่นเอามรรคมีองค์ ๘ กระจายไม่เป็นทิศเป็นทาง ดู บทกวีแห่งพุทธธรรม ๒ บทความประจำปี ๒๕๕๙] เรื่องปฏิบัติธรรมนั้น จะว่าสนุกก็สนุก จะว่าน่าเบื่อหน่ายก็น่าเบื่อหน่าย อยู่ที่ว่าใครจะมีสติสัมปชัญญะตามทันกิเลสอวิชชาแค่นั่นเอง คนไหนอยู่ใกล้พ่อแม่ครูอาจารย์ และเชื่อฟังคำสอนของพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มีโอกาสบรรลุธรรมวิเศษนี้ได้ ไม่ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า [นั่นคือ ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ข้อ ๑ ในปฏิปทา ๔] จนเกินไป เพราะเอาประสบการณ์อันน่าอัศจรรย์ของท่านมาเป็นแนวทางปฏิบัติให้หลุดพ้นจากวัฏฏะ อย่าตอบแทนด้วยการเนรคุณครูอาจารย์ก็แล้วกัน ถือเป็นกรรมหนักทางอกุศลกรรม [ครุกรรม] ก็อย่าลืม ทำจิตให้เป็นจิตตสมาธิด้วย ธรรมสมาธิ ๕ ให้จิตร่าเริงยินดี มีปราโมทย์ในธรรมวิเศษความปราโมทย์ด้วยจิตผ่องใสในการปฏิบัติธรรมโดยเอกเทวนิยมในพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีปัสสัทธิความสงบเย็นกายใจ โดยมนสิการกรรมฐานตามเป็นจริงด้วยจิตสหรคตด้วยอธิโมกข์ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่งเป็นกำลังแห่งพละ มีปีติความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว มีสุขความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง มีเอกัคคตาสมาธิอันแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียวในอารมณ์แห่งกรรมฐาน นั่นคือ จิตประภัสสร คือ จิตปราศจากนิวรณ์ด้วย (๑) เนกขัมมะ เข้าครอบงำระงับ กามฉันทะ (๒) อัพยาบาท ครอบงำออกจาก พยาบาท (๓) อาโลกสัญญา เข้าครอบงำระงับ ถีนมิทธะ (๔) อวิกเขปะ เข้าครอบงำระงับ อุทธัจจะ (๕) ธรรมววัตถาน เข้าครอบงำระงับ วิจิกิจฉา (๖) ฌานญาณ เข้าครอบงำระงับอวิชชา (๗) ปราโมทย์ เข้าครอบงำระงับ อรติ และ (๘) กุศลกรรมทั้งปวง เข้าครอบงำระงับ อกุศลกรรมทั้งปวง
ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เป็นนิตย์ อย่าให้ขาดสติสัมปชัญญะในทุกขณะจิต คือ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ ไม่ให้จิตที่เป็นสัญเจตนา [เจตนา ๖] แสดงฤทธิ์ออกมาทาง อกุสลกรรมบถ ทั้ง ๑๐ อย่าง [กายทุจริต ๓วจีทุจริต ๔มโนทุจริต ๓] โดยเชื่อมโยงเป็น กุศลกรรมบถ ๑๐ [กายสุจริต ๓วจีสุจริต ๔มโนสุจริต ๓] ให้เข้าถึง สมถะกับวิปัสสนา ให้ได้ ลบล้าง มิจฉาทิฏฐิ และ กิเลสตัณหา ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิแห่งสมถภาวนาหรือภูมิแห่งวิปัสสนาภาวนาก็ตาม หลีกหนีจากความเชื่อในอำนาจของเทพเทวดา เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจตนศักยภาพของตนเอง ภาวะในการพึ่งตนเอง [ความเป็นอัตตนาถะ] เพราะถ้าตนเองสามารถทำกิจหน้าที่ในการเจริญภาวนาได้สำเร็จ ในที่สุดก็จะเกิดอานิสงส์โดยปรมัตถ์ คือ คุณสมบัติในความเป็นพระพุทธเจ้า ถึงจะแสงอย่างสาหัสขนาดไหน ก็เป็นเส้นทางเดินไม่ผิดพลาด แม้จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในกี่ชาติก็ตาม ก็ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า ให้มีโอกาสเกิดในดินแดนที่เป็นพระพุทธศาสนาเท่านั้น ก็แล้วกัน จะได้ไม่ไปเกิดผิดที่ผิดทาง จิตเป็นธรรมชาติที่วิจิตร จิตเป็นตัวกำหนด ความต่างแห่งกรรม ในปัจจุบัน [ปัจจุปันนัทธา] และอนาคต [อนาคตัทธา] ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีคิดใน หลักปฏิจจสมุปบาท ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นให้ได้ด้วยวิธีคิดที่ถูกหลักธรรม ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ เพราะฉะนั้น กฎแห่งกรรม จึงเป็น กฎธรรมชาติ ที่เป็นจริง คนคิดจะเป็นหมาหรือเป็นเทวดา ก็ขึ้นอยู่กับจิตที่เป็นอธิษฐานบารมี ไม่ใช่เรื่องงมงาย แต่ทำอย่างไร บุคคลนั้นจะมีฤทธิ์ได้ด้วยจิตอันเป็นธรรมชาติวิจิตรนี้ได้ ดังนี้
อธิบายปฏิจจสมุปบาท (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124 -126 FILE 17)
ถามว่า: ก็ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร
ตอบว่า; ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า (๑) นนฺทิ [ความเพลิดเพลินความยินดี] นี้เป็นสังเขปที่ ๑ (๒) ทุกข์ เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า ทุกฺขสฺส (๓) ภพ เป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ (๔) ชาติ ชรา และ มรณะ เป็นสังเขปที่ ๔ พึงทราบ สังเขป ๔ ด้วยคำเพียงเท่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้ [บทว่า สังเขป] อธิบายว่า ได้แก่ ส่วนทั้งหลาย (๑) ระหว่าง ตัณหา กับ ทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ (๒) ระหว่าง ทุกข์ กับ ภพ เป็นสนธิที่ ๒ (๓) ระหว่าง ภพ กับ ชาติ เป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบ สนธิ ๓ ระหว่าง สังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น (๑) นันทิ เป็น อตีตัทธา [กาลที่เป็นอดีต] (๒) ชาติ ชรา และมรณะ เป็น อนาคตัทธา [กาลที่เป็นอนาคต] (๓) ทุกข์และภพ เป็น ปัจจุปันนัทธา [กาลที่เป็นปัจจุบัน] พึงทราบ อัทธา ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้แล
อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดา อาการ ๕ ด้วยคำว่า นันทิ แล้ว ตัณหา จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ ตัณหา นั้น จะยังไม่มา [อาการ ๔ คือ] อวิชชาสังขารอุปาทานและภพ ก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็น ปัจจัย [ปัจจัยธรรม] อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติชราและมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า: ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน
ใน กรรมภพ ซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้ คือ (๑) โมหะความหลง ได้แก่ อวิชชา (๒) การประมวลมา [สั่งสมอายูหนา] ได้แก่ สังขาร (๓) ความใคร่ ได้แก่ ตัณหา (๔) การเข้าไปยึดถือ ได้แก่ อุปาทาน (๕) เจตนา ได้แก่ ภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะ กรรมภพ ซึ่งเป็นภพแรก
ในปัจจุปันนัทธา มีธรรม ๕ ประการนี้ คือ (๑) ปฏิสนธิ คือ วิญญาณ (๒) สิ่งที่ก้าวลง คือ นามรูป (๓) ปสาทรูป คือ อายตนะ [สฬายตนะ] (๔) อาการที่ถูกต้อง คือ ผัสสะ (๕) อาการที่เสวยอารมณ์ คือ เวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ในเพราะ อุปปัตติภพ ในปัจจุปันนัทธา
แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมีธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ (๑) โมหะ คืออวิชชา (๒) การประมวลมา คือ สังขาร (๓) ความใคร่ คือ ตัณหา (๔) การเข้าไปยึดถือ คือ อุปาทาน (๕) เจตนา คือ กรรมภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา
ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้ คือ (๑) ปฏิสนธิ คือ วิญญาณ (๒) สิ่งที่ก้าวลง [เกิดขึ้น] คือ นามรูป (๓) ปสาทรูป คือ อายตนะ (๔) อาการที่ถูกต้อง คือ ผัสสะ (๕) อาการที่เสวยอารมณ์ คือ เวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้แล้วในปัจจุปันนัทธา
ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา พึงทราบ อาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะ ดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล
ดังนั้น ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมี [ปฏิจจสมุปปันนธรรมปัจจัยธรรม] สังเขป ๔ มี สนธิ ๓ มี อัทธา ๓ และ มี อาการ ๒๐ [รวมทั้ง วัฏฏะ ๓ และ มูล ๒] แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ [ความเพลิดเพลิน ความยินดี] เป็น รากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการดังพรรณนามา ฉะนี้
จบ อธิบายปฏิจจสมุปบาท ----------------------------
ฉะนั้น ความรู้ความเข้าใจอย่างดีใน ปฏิจจสมุปบาท พร้อมด้วย ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้ง ๖ อย่าง และพร้อมด้วย (๑) กฎแห่งกรรม กับ (๒) กัมมัสสกตาปัญญา นั้น ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจถึง จิตอันเป็นธรรมชาติวิจิตร นั่นคือ เจตนาแหงอภิสังขาร ๓ ที่จะปรุงแต่งกรรมทั้งหลายให้เกิด ภพชาติชรามรณะ และสังกิเลสทั้งหลาย [โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส] ธรรมทั้งปวงนั้น ก็คือ กรรมจิตเจตนา จะทำดีหรือชั่วก็อยู่ที่ตัวเองเป็นผู้เลือกกระทำกรรมทั้งหลาย [กรรม ๓: กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม กรรม ๒: อกุศลกรรมอกุศลกรรม หรือ ทุจริต ๓สุจริต ๓] อย่าไปหลงเชื่อในพาหุเทวนิยม ให้เชื่อในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว [เอกเทวนิยม] ให้เชื่อศรัทธาปสาทะด้วยอธิโมกข์ในพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระองค์ แล้วน้อมนำใส่ใจไปปฏิบัติตามให้รู้แจ้งเห็นจริง [ปฏิเวธสัมโพธะ] ไม่ต้องห่วงว่าเรียนธรรมมากจะเสียสติเป็นบ้า ด้วยมีจิตหวั่นไหวฟั่นเฟือนสับสน ไม่พูดไม่จา [มูควัตรแห่งลัทธิเดียรถีย์ไม่พูดคุยกันกับหมู่คณะ คือ ท่านมีองค์แห่งร่างทรงแล้ว] อนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไม่ชี้แนะให้ถือในผีสางเทวดาตามคติดั้งเดิมของขนบธรรมเนียมที่นับถือกันผิดๆ อันจะเป็นระเบิดเวลาดักสกัดความก้าวหน้าในการเจริญภาวนากรรมฐาน ให้ล้มสลายกลางคั่น แค่ไปถึง อุทยัพพยานุปัสสนา ก็ตกลงภูมิแห่งอวิชชาและโมหะ แทนที่จะดับกิเลสทั้งหลาย กลับถูกกิเลสมันหลอกให้หลงทิศหลงทางไปใน ทิฏฐิแห่งตน [มิจฉาทิฏฐิวิปลาส ๔ อันเป็นความเห็นที่ตรงข้ามกับ กลาปสัมมสนะ คือ ธัมมุทธัจจะ แห่งวิปัสสนูปกิเลสใน ๑๐ ประการ] อันเป็นอินทรีย์หรืออธิบดีใน ภูมิแห่งอมรรค [มิจฉามรรคอุบาทว์มรรค] ซึ่งควรเป็น อริยมรรค มากกว่า ฉะนั้น ในการลงมือปฏิบัติธรรมในแต่ละครั้งนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องหาข้อสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเจริญสมาธิและปัญญา ให้เกิดผลลัพธ์ที่แจ่มชัดเป็นทฤษฎีที่สามารถยืนยันกับหลักธรรมคำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้ เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึง คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์ ไม่ใช่เรื่องงมงายทำให้หลงใหลเสียสติไป ด้วยเหตุนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้อภิภูแห่งพรหมจรรย์นี้ ย่อมถือฐานะเด็ดขาดแห่งเอกเทวนิยม ไม่สาธารณ์แก่พระอริยสาวกทั้งหลาย คือ พระผู้เป็นเจ้าที่บริสุทธิ์เป็นเลิศแห่งปัญญาคุณและกรุณาคุณเหนือเทวโลก พรหมโลก และ มนุษยโลก สุดท้ายนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายสำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ ประการ ให้ดำเนินไปด้วย ไตรสิกขา อย่างแท้จริง ด้วยความหมดจดบริสุทธิ์แห่งวิสุทธิทั้ง ๗ ประการ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนด้วยปัญญาและกรุณา อันเป็นที่สุดรอบแห่งพระธรรมวินัยนี้.
|