๑๓. นามรูปแห่งเบญจขันธ์
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การปฏิบัติธรรมที่เริ่มต้นอย่างผิดขั้นตอนด้วยความไม่รู้จริง [อวิชชา] หรือความหลงงมงาย [โมหะ] นั้น ย่อมกลายเป็นความหายนะแห่งชีวิตในชาตินี้ได้ พระธรรมคำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นเรื่องการบริหารจัดการจิตโดยตรง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้สึกนึกคิดในการปล่อยวางความยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งสังขตธรรมในวัฏฏะ โดยนำชีวิตดำเนินไปสู่ พระนิพพานอันเป็นสันติบท [วิวัฏฏะ] กล่าวโดยย่อ คือ บุคคลนั้น ต้องเกิด ดวงตาเห็นธรรม ด้วยปัญญาที่เห็นธรรมตามเป็นจริง ด้วยปัญญาที่ว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมดับไปเป็นธรรมดา เมื่อประคองจิตยกขึ้นสู่ภูมิแห่งอริยบุคคลได้แล้ว ปัญญาที่รู้คมชัดด้วยอภิญญาย่อมเกิดขึ้น ที่จะชักนำไปสู่ ปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธะ] ที่ประกอบด้วย (๑) ปัจจเวกขณญาณ ด้วย ญาณทัสสะอันปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ กับ (๒) อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔ [อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์อัญญินทรีย์อัญญาตาวินทรีย์] เมื่อเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในอาณาจักรธรรม [ธรรมจักร] ดีพร้อมแล้ว จึงเป็นการเข้าถึง สัจจภาวะแห่งพระนิพพาน ได้ โดยแยกออกเป็น ๒ อาการ ได้แก่ (๑) สอุปาทิเสสนิพพาน คือ พระอรหันต์ยังมีชีวิตอยู่ กับ (๒) อนุปาทิเสสนิพพาน คือ พระอรหันต์ผู้ดับขันธปรินิพพาน [ชีวิตสมสีสีบุคคลพระอเสขะ] ฉะนั้น องค์ความรู้ที่เข้าใจได้อย่างถูกต้องตาม กฎธรรมชาติ จึงเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนในการบรรลุอธิคมธรรมในพระศาสนานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ปัญญาในโจทย์ใหญ่ คือ ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ จะเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ หรือขอลาจากวงเวียนชีวิตนี้ ก็อยู่ที่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ ถ้าชอบถือขันธ์ ก็อยู่ในวัฏฏะต่อไป ถ้าวางขันธ์ทิ้งไป ก็อยู่ในวิวัฏฏะ [นิพพาน] เป็นอมตธาตุ ซึ่งสิ้นแล้วแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอีก นั่นคือ ไม่มีเกิดกับดับอีก ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจึงเป็นการกำหนดสติตามพิจารณาตัวตน [นามรูปแห่งขันธ์ ๕] ให้รู้อย่างเท่าทัน และให้เห็นจริงตามอริยสัจจธรรม [อริยสัจจ์ ๔] ถ้าจะว่าง่ายก็ง่าย ถ้าจะว่ายากก็ยากอยู่ที่ปัญญาของแต่ละบุคคล.
บทความที่ ๑๓ ประจำปี ๒๕๕๙ นามรูปแห่งเบญจขันธ์
องค์ประกอบสำคัญที่รวมกันเป็นหน่วยรวมชีวิตของมนุษย์นั้น จะประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น กรรมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ เป็นต้น ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า สังขตธรรมแห่งวัฏฏะ [สังสารทุกข์แห่งภวจักร] แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจเป็นเช่นนี้ เพราะความไม่รู้จริงในหลักธรรมคำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีชื่อว่า อันธปุถุชนพาลปุถุชน คือ ผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรมของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างถูกต้อง หรือ บุคคลที่เรียกว่า อัสสุตวาปุถุชน คือ ชนผู้ไร้การศึกษาพระธรรม หรือจะเรียกว่า ชนผู้หลงทิศ ก็ไม่ผิด ก็น่าจะได้เช่นกัน นั่นคือ บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ อันประกอบด้วยอกุศลธรรมเหล่านี้ (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2021 FILE 76) ได้แก่ (๑) ทิฏฐิวิสูกายิกะ [ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ] ความเห็นผิดเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวน สัมมาทิฏฐิ ไป (๒) ทิฏฐิวิปผันทิตะ [ความผันแปรแห่งทิฏฐิ] เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูปแห่งทิฏฐิ เพราะบางคราวก็ถือเอา ความเที่ยง [สัสสตทิฏฐิ] บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ [อุจเฉททิฏฐิ] เพราะว่า คนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือ บางคราวก็คล้อยตามความเที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ (๓) ทิฏฐิ นั่นแหละ ชื่อว่า สัญโญชน์ [สังโยชน์] ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์ [ทิฏฐิสังโยชน์] (๔) คาหะ [ความยึดถือ] เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์ร้ายมีจระเข้ เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่น ฉะนั้น (๕) ปติฏฐวาหะ [ความตั้งมั่น] เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดยความเป็นไปอย่างมีกำลัง (๖) อภินิเวสะ [ความยึดมั่น] เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยง เป็นต้น (๗) ปรามาสะ [ความถือผิด] เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่งความเที่ยง เป็นต้น (๘) กุมมัคคะ [ทางชั่ว] เพราะอรรถว่า เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบายทั้งหลายที่บัณฑิตเกลียด (๙) มิจฉาปถะ [ทางผิด] เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง (๑๐) มิจฉัตตะ [ภาวะที่ผิด] เพราะเป็นสภาพผิดเหมือนกัน
เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า: ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้น ดังนี้ ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่า: ทางนี้เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น ดังชื่อว่า ทางผิด เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่า มิจฉัตตะ เพราะมี สภาพผิด ที่ชื่อว่า ติตถะ [ลัทธิเป็นดังท่า] เพราะ เป็นที่ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการหมุนไปมาในที่นั้น ติตถะ [คือลัทธิ] นั้นด้วย เป็น อายตนะ [บ่อเกิด] แห่งความฉิบหาย ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ [ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ] อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะอรรถว่า เป็น อายตนะ ด้วยความหมายว่า เป็นส่วนสัญชาติ และด้วยความหมายว่า เป็นที่อาศัย
ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ก็มีมูลฐานมาจาก อวิชชา ที่สัมปยุตต์ด้วย กิเลสมูล ๓: โมหะโทสะโมหะ เพราะความไม่รู้จริง มนุษย์ส่วนใหญ่จึงเป็นผู้มีกิเลสตัณหาหนาด้วยความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้งหลายอย่างไม่มีสติสัมปชัญญะ [พวกขวัญหายถึงจะทำพิธีสู่ขวัญให้ ขวัญก็ยังไม่ยอมกลับเข้าร่าง ชาวบ้านเรียกว่า ขวัญหน้ามึน ไม่กลัวหมอธรรม ตรงกันข้ามกับ พวกขวัญเสีย คือ ตกใจกลัว ขวัญหนีไปชั่วคราว ไม่ต้องจัดพิธีสู่ขวัญให้ เช่น ตกใจที่พวกผู้แทนมาเยี่ยม จะนำความเดือดร้อนมาให้ ตกใจครูมาเยี่ยมที่บ้าน เป็นต้น] ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [ทุกขสัจจ์] หรือยึดมันในความมีตัวตนอยากเป็นใหญ่ ตัวกูของกู [อัตตาอัตตนิยะ: เมื่อมีอัตตา ก็ย่อมมีอัตตนิยะ เมื่อมีอัตตนิยะ ก็ย่อมมีอัตตา] ยิ่งพวกที่คิดผยองว่าตนเองฉลาดกว่าผู้อื่น [อวมานะ] นั้น ก็ยิ่งมืดมนจนปัญญาปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากผู้รู้ในอันควรเป็นไป คือ ไม่เป็นความจริงด้วย สัมมาทิฏฐิ หรือเป็นผู้ไม่ถือด้วย ทิฏฐิสัมปทา ก็เรียกง่ายๆ ตามภาษาชาวบ้านว่า มิจฉาทิฏฐิ อันเป็นความคิดเข้าป่าเข้าดงบักอี่ไป พวกหัวอ่อนจมปรักอยู่กลับความเห็นผิดๆ นี้ มักเป็นพวกที่เรียนสูงๆ แต่ลืมใช้ความคิดของตนเอง และชอบดูถูกคนอื่นว่าโง่ด้อยกว่าตน มีนิสัยเนรคุณผู้มีพระคุณได้ง่าย อกตัญญูชน [พวกลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอนรวมถึงพวกครูไม่สั่งสอนด้วย หรือจะถึงกระทรวงด้วยก็ได้] แทนที่จะเป็น กตัญญูกตเวที หมายถึง ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น อุปนิสัยใจคอเช่นนี้ มีอยู่ใน พื้นจิตตสันดาน ที่เป็นตัวผลักดันให้สร้างกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มโนกรรม [ทุจริต ๓มิจฉาทิฏฐิ] ภาษาทางธรรมนั้น หมายถึง บุคคลผู้ไม่เจริญกุศลกรรมใน โยนิโสมนสิการ หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย โดยนัยหมายถึง การคิดด้วยหลักปฏิจจสมุปบาทที่เกิดปัญญาเห็นจริงในกาลทั้ง ๓ ถ้าสมองไม่ทำงานตามเกณฑ์นี้ ย่อมเรียกว่า โง่บริสุทธิ์ คือ เป็นความเขลาที่ครบวงจรหาสิ่งมาเปรียบเทียบไม่ได้ ในทางแก้ไขให้กินยา ๔ เม็ด ช่วยได้ ที่มีชื่อว่า อริยสัจจ์ ๔ ทำให้เห็นทุกข์แห่ง ขันธ์ ๕ ที่ยึดมั่น ทั้งการเกิดทุกข์ การดับเหตุแห่งทุกข์ สภาพปราศจากทุกข์ แนวทางดับทุกข์ ทั้งหมดเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับ นามรูปแห่งขันธ์ ๕ รวมทั้ง ปัญญาขันธ์วิมุตติขันธ์และญาณทัสสนวิมุตติขันธ์ ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
ในอันดับต่อไปนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาธรรมทั้งหลายเกี่ยวกับ ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ ดังนี้
ขันธ์ ๕ เบญจขันธ์ [The Five Groups of Existence] หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เป็นต้น ส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ (๑) รูปขันธ์ [Corporeality Group] คือ กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ นั่นคือ ธรรม ๔ ได้แก่ รูป ๒๑รูป ๒๘มหาภูต ๔อุปาทายรูป ๒๔ (๒) เวทนาขันธ์ [Feeling Group] คือ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ นั่นคือ ธรรม ๔ ได้แก่ เวทนา ๒เวทนา ๓เวทนา ๕เวทนา ๖ (๓) สัญญาขันธ์ [Perception Group] คือ กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆ ได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว ดำ ดี ชั่ว บ้าน พืช สัตว์ มนุษย์ เทพ เป็นต้น นั่นคือ ธรรม ๑ ได้แก่ สัญญา ๖ (๔) สังขารขันธ์ [Mental-Formation Group] คือ กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต นั่นคือ ธรรม ๔ ได้แก่ สังขาร ๓ (๑) สังขาร ๓ (๒) อภิสังขาร ๓เจตนา ๖ (๕) วิญญาณขันธ์ [Consciousness Group] คือ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น นั่นคือ ธรรม ๑ ได้แก่ วิญญาณ ๖
กล่าวโดยสรุป ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ ย่อลงมาเป็น ธรรม ๒ คือ สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ ได้แก่ (๑) รูปรูปธรรม นั่นคือ รูปขันธ์ ๑ [รูป] กับ (๒) นามนามธรรม นั่นคือ นามขันธ์ ๔ [เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ] อีกนัยหนึ่ง ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ ยังแยกเป็น ธรรม ๒ ข้อที่พึงพิจารณา คือ (๑) รูปเจตสิกจิต = ขันธ์ ๕ ที่สหรคตด้วย ตัณหาทิฏฐิ คือ มีกรรมและวิบาก ซึ่งเป็นฝ่ายโลกียธรรม ที่เรียกว่า สังขตธรรม ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง (๒) รูปเจตสิกจิต = ขันธ์ ๕ ที่ไม่สหรคตด้วย ตัณหาทิฏฐิ คือ ไม่มีกรรมและวิบาก รวมกับ นิพพาน เป็นฝ่ายโลกุตตรธรรม [ปรมัตถธรรม ๔: จิตเจตสิกรูปนิพพาน] และเฉพาะ นิพพาน เท่านั้น เรียกว่า อสังขตธรรมวิวัฏฏะอมตธรรม อนึ่ง ถ้าผู้ปฏิบัติหมั่นประกอบมนสิการกรรมฐานบ่อยๆ ก็จะเห็นความจริงในธรรมทั้งหลาย [ธรรมจักรธรรมทั้งปวงสหชาตธรรม: ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม] เพราะฉะนั้น โอกาสของผู้ศึกษาธรรมย่อมมีถึง ความตรัสรู้ [Enlightenment] ได้ในชาตินี้ ซึ่งมีปัจจัยสำคัญเกื้อหนุนแห่ง โพธิสมภาร ใน ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ปัญญา คือ ภาวะแห่งพุทธิ ที่ต้องพึ่งพาตนเอง ไม่ใช่คนอื่น กับ (๒) กรุณา คือ ภารกิจในความเป็นพุทธะ ที่เห็นประโยชน์แห่งตนและผู้อื่น ให้เห็นธรรมเช่นอริยบุคคลทั้งหลายสรรเสริญ ดังนี้
ธรรม ๒ [Phenomena] คือ สภาวะสิ่งปรากฏการณ์ ได้แก่ (๑) อุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ถูกยึด ธรรมที่ กรรม อันสัมปยุตด้วย ตัณหา และ ทิฏฐิ เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก และ รูป ที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด หรือ อุปาทินนกสังขาร (ข้อ ๑ ในสังขาร ๒ คือ สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย) คือ สังขารที่ กรรม ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม (๒) อนุปาทินนธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูกยึด ธรรมที่ กรรม อันสัมปยุตด้วย ตัณหา และ ทิฏฐิ ไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ส่วนนอกนี้ รูป ที่มิใช่เกิดแต่กรรม และโลกุตตรธรรมทั้งหมด หรือ อนุปาทินนกสังขาร (ข้อ ๒ ในสังขาร ๒) คือ สังขารที่ กรรม ไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรม ทั้งหมด เว้นแต่ อสังขตธาตุ คือ นิพพาน
นอกจากนี้ ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ ยังจัดเข้าใน ปรมัตถธรรม ๔Ultimate Realities [โดยผู้ปฏิบัติธรรมต้องใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานแห่งอภิธรรมในการตีความ นิมิต ๕ ในภาวนาภูมิ [สมถะกับวิปัสสนา] ได้แก่ รูปนิมิตเวทนานิมิตสัญญานิมิตสังขารนิมิตวิญญาณนิมิต] ดังนี้
ปรมัตถธรรม ๔ [Ultimate Realities] หมายถึง สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด หรืออีกนัยหนึ่ง มีนัยตรงกับ ปรมัตถสัจจะ [Ultimate Truth] หมายถึง ความจริงโดยปรมัตถ์ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคนความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูปนามเวทนาจิตเจตสิก เป็นต้นได้แก่ (๑) จิต [Consciousness] คือ สภาพที่คิด ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ ซึ่งประกอบด้วย วิญญาณขันธ์ (๒) เจตสิก [Mental Factors] คือ สภาวะที่ประกอบกับจิต คุณสมบัติและอาการของจิต ซึ่งประกอบด้วย เวทนาขันธ์สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ (๓) รูป [Corporeality] คือ สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ ซึ่งประกอบด้วย รูปขันธ์ (๔) นิพพาน [Nirvana] คือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจากตัณหา ซึ่งจัดเป็น วิมุตติขันธ์ ที่เรียกว่า ขันธวินิมุต [วิวัฏฏะ] คือ พ้นจากขันธ์ ๕ ทั้งปวง
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังค์ ภาคที่ ๑ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๑. ขันธวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ [A] ว่าด้วย รูปขันธ์ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 2-4 FILE 77)
[๒] ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ [Corporeality Group] เป็นไฉน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ (๑) รูปอดีต (๒) รูปอนาคต (๓) รูปปัจจุบัน (๔) รูปภายในรูปภายนอก (๕) รูปหยาบ (๖) รูปละเอียด (๗) รูปทราม (๘) รูปประณีต (๙) รูปไกล (๑๐) รูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์
[๓] ในรูปขันธ์นั้น (๑) รูปอดีต เป็นไฉน รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ ที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปอดีต
(๒) รูปอนาคต เป็นไฉน รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ ที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปอนาคต
(๓) รูปปัจจุบัน เป็นไฉน รูปใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ ที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปปัจจุบัน
[๔] (๔) รูปภายใน เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้น ๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ ที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปภายใน
(๕) รูปภายนอก เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ ที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปภายนอก
[๕] (๖) รูปหยาบ เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่า รูปหยาบ
(๗) รูปละเอียด เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปละเอียด
[๖] (๘) รูปทราม เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่าตำหนิ ไม่น่ายกย่อง ทราม รู้กันว่าทราม สมมติกันว่าทราม ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปทราม
(๗) รูปประณีต เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่น่าตำหนิ น่ายกย่อง ประณีต รู้กันว่าประณีต สมมติกันว่าประณีต น่าปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปประณีต
หรือพึงทราบรูปทรามรูปประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๗] (๘) รูปไกล เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ในที่ไม่ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใช่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปไกล
(๙) รูปใกล้ เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ใกล้เคียง ในที่ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปใกล้
หรือพึงทราบรูปไกลรูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[B] ว่าด้วย เวทนาขันธ์ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 57 FILE 77)
[๘] เวทนาขันธ์ [Feeling Group] เป็นไฉน เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ (๑) เวทนาอดีต (๒) เวทนาอนาคต (๓) เวทนาปัจจุบัน (๔) เวทนาภายใน (๕) เวทนาภายนอก (๖) เวทนาหยาบเวทนาละเอียด (๗) เวทนาทรามเวทนาประณีต (๘) เวทนาไกล (๙) เวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
[๙] ในเวทนาขันธ์นั้น (๑) เวทนาอดีต เป็นไฉน เวทนาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาอดีต
(๒) เวทนาอนาคต เป็นไฉน เวทนาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาอนาคต
(๓) เวทนาปัจจุบัน เป็นไฉน เวทนาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาปัจจุบัน
[๑๐] (๔) เวทนาภายใน เป็นไฉน เวทนาใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาภายใน
(๕) เวทนาภายนอก เป็นไฉน เวทนาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาภายนอก
[๑๑] (๖) เวทนาหยาบเวทนาละเอียด เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด
หรือพึงทราบเวทนาหยาบเวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๑๒] (๗) เวทนาทรามเวทนาประณีต เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาประณีต กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาทราม เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาทราม เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาประณีต
หรือพึงทราบเวทนาทรามเวทนาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๑๓] (๘) เวทนาไกล เป็นไฉน อกุศลเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอกุศลเวทนา กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาไกล
(๙) เวทนาใกล้ เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาใกล้
หรือพึงทราบเวทนาไกลเวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[C] ว่าด้วย สัญญาขันธ์ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 811 FILE 77)
[๑๔] สัญญาขันธ์ [Perception] เป็นไฉน สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ (๑) สัญญาอดีต (๒) สัญญอนาคต (๓) สัญญาปัจจุบัน (๔) สัญญาภายใน (๕) สัญญาภายนอก (๖) สัญญาหยาบสัญญาละเอียด (๗) สัญญาทรามสัญญาประณีต (๘) สัญญาไกล (๙) สัญญาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ [กองสัญญาส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆ ได้ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖: ตาหูจมูกลิ้นโผฏฐัพพะธรรมารมณ์]
[๑๕] ในสัญญาขันธ์นั้น (๑) สัญญาอดีต เป็นไฉน สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาอดีต
(๒) สัญญาอนาคต เป็นไฉน สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญาโสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาอนาคต
(๓) สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้วที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญาโสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาปัจจุบัน
[๑๖] (๔) สัญญาภายใน เป็นไฉน สัญญาใดของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตนเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญาโสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาภายใน
(๕) สัญญาภายนอก เป็นไฉน สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญาโสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่า สัญญาภายนอก
[๑๗] (๖) สัญญาหยาบสัญญาละเอียด เป็นไฉน สัญญาอันเกิดแต่ ปฏิฆสัมผัส [คือ สัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร] เป็นสัญญาหยาบ สัญญาอันเกิดแต่ อธิวจนสัมผัส [คือ สัญญาเกิดแต่มโนทวาร] เป็นสัญญาละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด หรือพึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๑๘] (๗) สัญญาทรามสัญญาประณีต เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๑๙] (๘) สัญญาไกล เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกเวทนาและอทุกขสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแสะทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาไกล
(๙) สัญญาใกล้ เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับกุศลสัญญา อัพยกตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาใกล้ หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[D] ว่าด้วย สังขารขันธ์ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 1215 FILE 77)
[๒๐] สังขารขันธ์ [Mental-Formation Group] เป็นไฉน สังขารเหล่าหนึ่ง คือ (๑) สังขารอดีต (๒) สังขารอนาคต (๓) สังขารปัจจุบัน (๔) สังขารภายใน (๕) สังขารภายนอก (๖) สังขารหยาบสังขารละเอียด (๗) สังขารทรามสังขารประณีต (๘) สังขารไกล (๙) สังขารใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
[๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น (๑) สังขารอดีต เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้วถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารอดีต
(๒) สังขารอนาคต เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารอนาคต
(๓) สังขารปัจจุบัน เป็นไฉน สังขารเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารปัจจุบัน
[๒๒] (๔) สังขารภายใน เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารภายใน
(๕) สังขารภายนอก เป็นไฉน สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตนเฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่า สังขารภายนอก [๒๓] (๖) สังขารหยาบสังขารละเอียด เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารละเอียด กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ อัพยากตสังขารเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด
หรือพึงทราบสังขารหยาบสังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๒๔] (๗) สังขารทรามสังขารประณีต เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารทราม กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารประณีต กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารทราม อัพยากตสังขารเป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารทราม สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารทราม สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารประณีต
หรือพึงทราบสังขารทรามสังขารประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๒๕] (๘) สังขารไกล เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร อกุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอกุศลสังขาร กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอัพยากตสังขาร สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สังขารไกล
(๙) สังขารใกล้ เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารใกล้กับอัพยากตสังขาร สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สังขารใกล้
หรือพึงทราบสังขารไกลสังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[E] วิญญาณขันธ์ (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 1519 FILE 77)
[๒๖] วิญญาณขันธ์ [Consciousness Group] เป็นไฉน วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ (๑) วิญญาณอดีต (๒) วิญญาณอนาคต (๓) วิญญาณปัจจุบัน (๔) วิญญาณภายใน (๕) วิญาณภายนอก (๖) วิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด (๗) วิญญาณทรามวิญญาณประณีต (๘) วิญญาณไกล (๙) วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น (๑) วิญญาณอดีต เป็นไฉน วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณอดีต
(๒) วิญญาณอนาคต เป็นไฉน วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณอนาคต
(๓) วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณปัจจุบัน
[๒๘] (๔) วิญญาณภายใน เป็นไฉน วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณภายใน
(๕) วิญญาณภายนอก เป็นไฉน วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณภายนอก
[๒๙] (๖) วิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด
หรือพึงทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๓๐] (๗) วิญญาณทรามวิญญาณประณีต เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณประณีต กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณทราม วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ ประณีต วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณประณีต
หรือพึงทราบวิญญาณทรามวิญญาณประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
[๓๑] (๘) วิญญาณไกล เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณอกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า วิญญาณไกล
(๙) วิญญาณใกล้ เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า วิญญาณใกล้
หรือพึงทราบวิญญาณไกลวิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
สุตตันตภาชนีย์ จบ --------------------------
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการลักษณะของนามรูปแห่งขันธ์ ๕ นั้น ซึ่งจะจำแนกออกเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่ (๑) สมมติสัจจะสังขตธรรมแห่งวัฏฏะโลกียธรรม = ขันธ์ ๕ แห่งอุปาทินนธรรม ซึ่งจะเป็นสภาวธรรมแห่งวิถีจิต [วัฏฏะ ๓] กับ (๒) ปรมัตถสัจจะปรมัตถธรรม ๔โลกุตตรธรรม ๙ = ขันธ์ ๕ แห่งอนุปาทินนธรรม ซึ่งจะเป็นสภาวธรรมแห่งอภิธรรม ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดธรรมทั้งปวง [ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม] ฉะนั้น ในขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมเจริญภาวนากรรมฐาน [มนสิการกรรมฐาน] นั้น แต่อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่อง นามรูปแห่งขันธ์ ๕วัฏฏะ ๓ นั้น โดยให้พิจารณาตามเกณฑ์ด้านพระพุทธศาสนา ก็ให้คิดตามแนว อริยสัจจ์ ๔ [ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค] ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมต้องไตร่ตรองด้วยอุบายวิธีที่แยบคายไว้ในใจอย่างถูกวิธี [โยนิโสมนสิการมรรคสัจจ์] หลักอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ อย่าง อันประเสริฐนี้ เป็นกระบวนการคิดในเชิงการแก้ไขปรับปรุงปัญหาในการดับทุกข์ [นิโรธสัจจ์] ดังนี้
ทุกขอริยสัจจ์
(๑) ทุกข์ทุกขสัจจ์ทุกขอริยสัจจ์ หมายถึง การกำหนดรู้ การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน สืบสวนวินิจฉัย [Diagnosis] ในทุกขสัจจ์แห่งขันธ์ ๕ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] อย่างครอบคลุมประเด็นปัญญา โดยการตั้งสมุฏฐาน [ข้อสมมติฐาน: Hypotheses] เกี่ยวกับเพื่อพิจารณาหาทางในดับระงับเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดสภาพแห่งทุกข์ในปัญหานั้นๆ ที่เรียกว่า ปริญญา ๓ [Full Knowledge: วินิจฉัย ๓: รู้จักพิจารณาระงับ] (ข้อ ๑ ในกิจในอริยสัจจ์ ๔) หมายถึง การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา ดังนี้
ปริญญา ๓ หมายถึง การกำหนดรู้การทำความรู้จักการทำความเข้าใจโดยครบถ้วน ได้แก่ (๑) ญาตปริญญา [Full Knowledge as Knowledge] คือ กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว กำหนดรู้ขั้นรู้จัก [ขันธ์ ๕ และสัมปยุตตธรรม เช่น ปิยรูปสาตรูป ๑๐ (สมุฏฐานเกิดดับแห่งตัณหา: อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖วิญญาณ ๖สัมผัส ๖เวทนา ๖สัญญา ๖]สัญเจตนา ๖ตัณหา ๖วิตก ๖วิจาร ๖) ใน ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรามรณะ) และ ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย = ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาทปัจจัยธรรมทั้งหลาย (อัทธา๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ และ กฎแห่งกรรม: กัมมผลสัทธากัมมัสสกตาปัญญา: กัมมัสสกตาสัทธา) ที่เรียกว่า วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ หมายถึง ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณปัญญาจักขุ หรือ จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง ที่เกิดใน ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ (๑) ปัญญาในสมาธิญาณทัสสนะ (สติสัมปชัญญะแห่งการรู้เห็น) กับ (๒) ปัญญาในวิปัสสนาญาณ (ปัญญารู้รอบแห่งการหยั่งรู้)] หรือกำหนดรู้ตาม สภาวลักษณะ คือ ทำความรู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นโดยตรง พอให้ชื่อว่าได้เป็นอันรู้จักสิ่งนั้นแล้ว เช่นรู้ว่า นี้คือ เวทนา: เวทนานี้คือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้ เป็นต้น [เปรียบเทียบกับ: ปุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณ หรือ ทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๑๒ ในวิชชา ๓) กับ นามรูปปริจเฉทญาณปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๑๒ ในญาณ ๑๖) พร้อมด้วย ทิฏฐิวิสุทธิกังขาวิตรณวิสุทธิ (ข้อ ๓๔ ในวิสุทธิ ๗)]
(๒) ตีรณปริญญา [Full Knowledge as Investigating] กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา, กำหนดรู้ขั้นพิจารณา, กำหนดรู้โดย สามัญลักษณะ [อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา] คือ ทำความรู้จักสิ่งนั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของหรือสภาวะที่ (๑) ไม่เที่ยง (๒) เป็นทุกข์ (๓) เป็นอนัตตา ที่เรียกว่า กลาปวิปัสสนากลาปสัมมสนะ คือ การพิจารณาจัดข้อธรรมย่อยให้เป็นกลุ่มธรรมตามอาการลักษณะโดยไตรลักษณ์ เช่นว่า เวทนา: เวทนานี้ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ดังนี้ เป็นต้น [เปรียบเทียบกับ: อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓: สัมโพธิญาณปัญญาดับกิเลสอาสวะทั้งหลายหรือธรรมเครื่องที่เป็นสาสวะทั้งหลาย จนถึง ปัญญาตรัสรู้ = โลกุตตรธรรม ๙: มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑) กับ สัมมสนญาณอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๓๔ ในญาณ ๑๖) รวมถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗)]
(๓) ปหานปริญญา [Full Knowledge as Abandoning] กำหนดรู้ด้วยการละ, กำหนดรู้ถึงขั้นละได้, กำหนดรู้โดย การตัดทาง [หลีกออกจากละระงับสัญญาอันเป็นเหตุ = ปหาน ๕: (๑) วิกขัมภนปหานะละด้วยข่มไว้โดยฌาน (๒) ตทังคปหานะละด้วยองค์นั้นๆ โดยธรรมตรงข้าม (๓) สมุจเฉทปหานะละด้วยตัดขาดโดยมรรค ๔ (๔) ปฏิปัสสัทธิปหานะละด้วยสงบระงับโดยผล ๔ (๕) นิสสรณปหานะละด้วยสลัดออกได้อาสวักขยญาณ ๖๔] มิให้ฉันทราคะเกิดมีในสิ่งนั้น คือรู้ว่าสิ่งนั้นเป็น อนิจจังทุกขังอนัตตา แล้ว ก็ให้ ละนิจจสัญญาละสุขสัญญาละอัตตสัญญา ตามลำดับ ในสิ่งนั้นเสียได้ ดังนี้ [เปรียบเทียบกับ: วิปัสสนาญาณ ๙ ตั้งแต่ ข้อ ๒๙ ได้แก่ (อุทยัพพยญาณ) ภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ รวมถึง ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗) อนึ่ง ปหานปริญญา ก็อยู่ในขั้นของ อาสวักขยญาณ เช่นกัน อันเป็นปัญญาทำลายกิเลสทั้งหลาย หรือธรรมปฏิสังยุตด้วยสาสวะทั้งหลาย จนกว่าจะถึง โลกุตตรธรรม ๙: มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑]
นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็น ทุกขอริยสัจจ์ นี้ ก็เปรียบเสมือนผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุปัญญาแตกฉานในหัวข้อง อัตถปฏิสัมภิทา (ข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔) คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล
ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์
(๒) สมุทัยสมุทัยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ หมายถึง การกำหนดรู้ในการพิจารณาถึง เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓: กามตัณหาภวตัณหาวิภวตัณหา อนึ่ง ในอริยสัจจธรรมข้อนี้ เป็นประเด็นการใช้เหตุและผลในการพิจารณาถึง ปัจจัยธรรม ทั้งหลาย อันเป็นสมุฎฐานใน อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับ หลักปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒: อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรามรณะ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖: อัทธา๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ และ ปัจจัยธรรม ๒: กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตา] ข้อพึงระวัง: คือ เมื่อรู้เข้าใจได้ดีแล้ว แต่ยังไม่ลงมือในภาคปฏิบัติ เพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่เป็นสัจจธรรมตามพระสัตถุสาสน์คำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจะมีจิตฟั่นเฟือน สับสนในธรรมทั้งปวง [ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม] นั่นคือ มีอาการสับสนอลหม่านดุจครั้นกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒ หรือคราวฝ่ายสัมพันธมิตรเอาระเบิดถล่มสถานีรถไฟบางกอกน้อยในสงครามมหาบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่คนที่เข้าใจนัยของคำว่า อลหม่าน ได้ดีที่สุด คือ คนละแวกแถวๆ ราชประสงค์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร มักโดน (ไม่ใช่ Drones คือ อากาศยานไร้คนขับ) ของดีกันบ่อย [ให้พิจารณาตามกฎแห่งกรรมเข้าไว้ คือ ไม่รถแก๊สระเบิด ก็เผาเมืองยามกลียุค ถ้ากุเวรหมายถึงท้าวเวสสุวัณประจำทิศอุดรไม่ใช่ขอนแก่นหรือหนองบัวลำภู หรือ มิฉะนั้น ก็โดนวางระเบิด อันมาจาก พยาบาทอรติโทสะ ที่สุดๆ คือ โมหะแห่งอวิชชา อาจจะดูหนังยุทธจักรมากไปหน่อย ที่มีสำนวนยุทธจักรว่า แค้นนี้ ๑๐ ปี ก็ไม่สายเกินไป เป็นหนังสอนให้เด็กคุ้นเคยกับการฆ่าศัตรูโดยไม่ต้องมีเมตตาธรรมมาค้ำจุนจิตใจ แปลกคนก็ชอบดูกัน เหตุการณ์เหล่านี้ ก็ให้พิจารณาด้วยหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน ก็อย่าทำเป็นเก่งกันมากนัก ปวดหัวเปล่าๆ สรุปคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ คำว่า เมตตาธรรม เพียงแต่เคยไม่ได้ยิน ไม่เคยนำมาปฏิบัติในชีวิตจริง สูญขาดสูญเปล่า เท่านั้นเอง] อนึ่ง เมื่อกล่าวถึง คำว่า ปฏิจจสมุปบาท [Dependent Genesis] นั้น ก็ให้ถือปฏิบัติถึง ธรรม ๒ ได้แก่ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท หรือ การใช้เหตุผลเชิงนิรนัย [Deductive Reasoning] คือ การคิดในเชิงวิเคราะห์สืบสาวจากเหตุไปหาผล แล้วหาข้อสรุปจัดเป็นหมวดหมู่ ให้เห็น กฎย่อย: Distinctive Law [ปัจจัตตลักษณะลักษณะเฉพาะตน: Uniqueness] กับ (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท หรือ การใช้เหตุผลเชิงอุปนัย [Inductive Reasoning] คือ การคิดในเชิงสังเคราะห์จากข้อสรุปย่อยหรือกฎย่อยหลายๆ กฎมารวมกันเป็น กฎหลัก หรือ กฎทั่วไป: General Law [สหชาตธรรมลักษณสามัญลักษณะความเป็นสากล: Universality] ในขั้นตอนการคิดนั้น ต้องประกอบด้วยทักษะการคิดอย่างน้อย ๕ ประการ ได้แก่ (๑) การเปรียบเทียบ: Comparison (๒) การเทียบเคียง: Analogy (๓) การสมมาตร: Symmetry (๔) การพยากรณ์: Predictability และ (๕) การตรวจสอบตนเองได้: Self-Falsification มิฉะนั้น จะให้เกิดความประณีตละเอียดยิ่งขึ้น เรียกว่า ทักษะการคิดขั้นสูง [โยนิโสมนสิการในภูมิแห่งวิปัสสนกรรมฐาน] ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ทักษะการคิดขั้นสูง [วิธีทางวิทยาศาสตร์]
[A] ทักษะการคิดซับซ้อน [วิชชา ๓ปริญญา ๓ระเบียบวิธีวิจัย = หลักปฏิจจสมุปบาท]
[B] ทักษะลักษณะการคิด [อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘วิปัสสนาญาณ ๙ = วุฏฐานคามินีปฏิปทา]
[C] ทักษะกระบวนการคิด [อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ = อริยมรรค ๔อริยผล ๔]
[D] ทักษะควบคุมและประเมินการคิดของตนเอง [ปัจจเวกขณญาณ]
ข้อสังเกต: ใน การหาข้อสรุปทั่วไป [Generalizations] นั้น ถ้ากระบวนการคิดนั้น บกพร่องมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงหรือ สัจจธรรมที่ประเสริฐ [อริยสัจจธรรมกฎธรรมชาติ] ข้อสรุปเชิงทฤษฎีเหล่านั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ผิดหรือภาวะที่ผิด เป็น ทิฏฐิมิจฉาทิฏฐิ [วิปลาส ๔ อคติ ๔] = อวิชชา ความไม่รู้แจ้ง [Ignorance] ความไม่รู้จริง [Nescience] ฉะนั้น ปัญญาความรอบเหล่านั้น ยังวิวัฒน์ไม่ถือสุดรอบหรือสุดขอบเขตแดนความรู้ ที่เรียกว่า พรหมแดนไพบูลย์แห่งปัญญา [ธรรมสามัคคีใน ๓ ศาสตร์: ศาสนาปรัชญาวิทยาศาสตร์] อนึ่ง พระพุทธศาสตร์เป็นต้นแบบแห่งปัญญาที่ครอบงำองค์ความรู้ทั้งหมดของมวลมนุษยชาติได้ เพียงศาสนาเดียวในโลก ซึ่งประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาคิดกัน ในระดับ ตำหนักร่างทรง สำนักปฏิบัติธรรม วัด หมู่บ้าน ตำบล หรือ อำเภอ แต่เป็นเรื่องระดับโลกหรือสากลจักรวาล
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะก้าวมาถึงขั้นนี้ได้นั้น ต้องสามารถระงับนิวรณ์ให้ได้ด้วยรูปฌานก่อน คือ จิตสะอาดปราศจากนิวรณ์ [จิตประภัสสร = จตุตถฌาน: อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ] สมาธิที่บริสุทธิ์ย่อมทำให้สติบริสุทธิ์และสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นความรู้คมชัดยิ่งยวดแห่งอภิญญา [วิชชา ๓: ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ] ในประเด็นนี้ เป็นเรื่อง ความต่างแห่งกรรมในบุคคล [กัมมัสสกตา: บุญทำกรรมแต่ง = วาสนา] ในบางคนแค่ทำจิตให้เป็นสมาธิจอจ่อเพ่งพินิจในเรื่องงานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังทำได้ยาก ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสิบปีจนถึงหลายภพหลายชาติก็ได้ นั่นคือ สามารถแสวงหา สัปปายะ ๗ ได้ ดังนี้
สัปปายะ ๗ [Beneficial Conditions] หมายถึง สิ่งที่เหมาะกัน อันเกื้อหนุนในการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย ได้แก่ (๑) อาวาสสัปปายะเสนาสนสัปปายะ คือ ที่อยู่อันเหมาะ เช่น ปลอดภัย ไม่พลุกพล่านจอแจ (๒) โคจรสัปปายะ คือ แหล่งอาหารอำนวย ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป (๓) ภัสสสัปปายะธัมมัสสวนสัปปายะ คือ การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐ และพูดแต่พอประมาณ ข่าวสารและสื่อสารที่เอื้อปัญญา (๔) ปุคคลสัปปายะ คือ บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น ไม่มีคนร้าย แต่มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ (๕) โภชนสัปปายะอาหารสัปปายะ คือ อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก (๖) อุตุสัปปายะ คือ ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะ ไม่ใช่หนาวหรือร้อนอย่างสุดโต่งที่ขั้วโลกหรือทะเลทราย เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น (๗) อิริยาปถสัปปายะ คือ อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี มีอิริยาบถสมดุล
ดังนั้น ในการบรรยายธรรมจึงหมายถึงบุคคลผู้ได้ฌานสมาบัติแล้ว [อาเนญชาแห่งจตุตถฌาน] จนถึงความเป็นอริยบุคคลหรือพระอรหันต์แล้ว จะได้ไม่เข้าใจผิด เพราะฉะนั้น ในข้อ (๒) สมุทัยสมุทัยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ นี้ ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมเป็นผู้ได้ วิชชา ๓ [เตวิชฺโช] และกำลังมนสิการกรรมฐานโดยโสฬสญาณ [ญาณ ๑๖] อยู่ จึงเกิดปัญญา ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ปัญญาในสมาธิ เรียกว่า จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) และ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) แต่กระบวนการชำระไตรสิกขาให้บริสุทธินั้น เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ (ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗) หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ [อัทธา ๓: อตีตัทธาอนาคตัทธาปัจจุปันนัทธา หรือ ญาณ ๓: อตีตังสญาณอนาคตังสญาณปัจจุปปันนังสญาณ] อีกนัยหนึ่ง ข้อนี้จะตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ ซึ่งจัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ นั่นคือ ปหานะ (ข้อ ๒ ในกิจในอริยสัจจ์ ๔) หมายถึง การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่ การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา แต่อย่างไรก็ตาม ในข้อนี้ จะเกี่ยวข้องกับ หลักปฏิจจสมุปบาท และบรรดา ปัจจัยธรรมปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ดังนี้
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หมายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น ดังนี้
อนุโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายสมุทัย (๑) เพราะ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ปัจจัยธรรม จึงมี (๒) เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (๓) เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (๔) เพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (๕) เพราะ นามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (๖) เพราะ สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (๗) เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี (๘) เพราะ เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี (๙) เพราะ ตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (๑๐) เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี (๑๑) เพราะ ภพ เป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (๑๒) เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายนิโรธ (๑) เพราะ อวิชชา สำรอกดับไปไม่เหลือ (๒) เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ (๓) เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ (๔) เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ (๕) เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ (๖) เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ (๗) เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ (๘) เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ (๙) เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ (๑๐) เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ (๑๑) เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ (๑๒) เพราะ ชาติ ดับ ชรามรณะ จึงดับ ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
สำหรับ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ถือเป็นฝ่ายสมุทัย คือ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท เพียงแต่นำองค์ประกอบปัจจัยทั้ง ๑๒ อย่าง มาจำแนกแจกตามหลักธรรมย่อย ปัจจัยธรรม ส่วนเรื่อง กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ นั้น อยู่ใน วัฏฏะ ๓ไตรวัฏฏ์ ดังนี้
[A] อัทธา ๓ หมายถึง กาลเวลาทั้ง ๓ ช่วง ได้แก่ (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต = ชาติชรา มรณะ [โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส]
[B] สังเขป ๔ [สังคหะ ๔] หมายถึง ช่วงองค์ประกอบปัจจัยสืบเนื่องกันด้วยเหตุและผลเป็นระยะ ๔ หมวด หรือแยกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล = ชาติชรามรณะ [โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส]
[C] สนธิ ๓ หมายถึง ขั้วต่อ ระหว่างสังเขป หรือช่วงทั้ง ๔ ได้แก่ (๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล (๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ (๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
[D] วัฏฏะ ๓ [ไตรวัฏฏ์] หมายถึง การวน วงเวียน องค์ประกอบปัจจัยใหญ่ที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของ ภวจักร หรือ สังสารจักร ดังนี้ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ได้แก่ อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ได้แก่ สังขารและกรรมภพ (อภิสังขาร ๓ หรือ เจตนา) (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ได้แก่ วิญญาณนามรูปสฬายตนะ ผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติขึ้น ชาติชรามรณะความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ
[E] อาการ ๒๐ หมายถึง องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ [Causes] และส่วนผล [Effects] ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา
หมายเหตุ: อาการ ๒๐ คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็มในทุกช่วงของ สังเขป ๔
[F] มูล ๒ หมายถึง กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่ (๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน (๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต
อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมควรมีพื้นฐานเข้าใจถึง ความหมายที่ลึกซึ้งของคำว่า อวิชชา ๔ กับ อวิชชา ๘ [A: อวิชชามีลักษณะ ๒๕ ประการ] และ ตัณหา ๓ กับ ตัณหา ๖ [B: ปิยรูปสาตรูป ๑๐] เพิ่มเติม เพราะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ทั้งปวง ที่ทำให้จิตใจแปรปรวนไปตามอารมณ์ทั้ง ๖ [อารมณ์ ๖: รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์] ที่ผ่านเข้ามาทางอินทรีย์ทั้ง ๖ [อินทรีย์ ๖: ตาหูจมูกลิ้นกายใจ] จนรวมถึงปัจจัยอะไรที่อกุศลธรรมดังกล่าวนี้ต้องยึดเป็นที่พึ่งพาอาศัยให้เกิดขึ้นใน อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ที่เรียกว่า อาหารปัจจัย นั่นคือ C: อาหาร ๔ ที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงทั้งรูปธรรมกับนามธรรม [นามรูปแห่งขันธ์ ๕] ดังรายละเอียดต่อไปนี้
[A] อวิชชามีลักษณะ ๒๕ ประการ [องค์แห่งอวิชชา] ได้แก่ (๑) อัญญาณ คือ ความไม่หยั่งรู้ด้วยญาณ [ญาณปรีชาหยั่งรู้] (๒) อทัสสนะ คือ ความไม่เห็นด้วยญาณทัสสนะ [ทัสสนะความเห็น] (๓) อนภิสมัย คือ ความไม่ตรัสรู้ [อภิสมัยความตรัสรู้] (๔) อนนุโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้ตาม [อนุโพธะความตรัสรู้ตาม] (๕) อสัมโพธะ คือ ความไม่ตรัสรู้พร้อม [สัมโพธะความตรัสรู้พร้อม] (๖) อัปปฏิเวธะ คือ การไม่แทงตลอด [ปฏิเวธะการแทงตลอด] (๗) อสังคาหณา คือ ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง [สังคาหณาความถือเอาถูกต้อง] (๘) อปริโยคาหณา คือ ความไม่หยั่งโดยรอบคอบ [ปริโยคาหณาความหยั่งโดยรอบคอบ] (๙) อสมเปกขนา คือ ความไม่พินิจ [สมเปกขนาความพินิจ] (๑๐) อปัจจเวกขณา คือ ความไม่พิจารณา [ปัจจเวกขณาความพิจารณาทบทวน] (๑๑) อัปปัจจักขกรรม คือ ความไม่รู้ในกรรมของตน [กัมมผลสัทธากฎแห่งกรรม] (๑๒) ทุมมิชฌะ คือ ความทรามปัญญา [สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ อธิปัญญาปัญญาอันยิ่ง] (๑๓) พาลยะ คือ ความโง่เขลา [วิสารทะฉลาดชำนาญ ปฏิภาณความคิดทันการ] (๑๔) อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ทั่วพร้อม [สัมปชัญญะความรู้ทั่วพร้อม] (๑๕) โมหะ คือ ความหลง [ปัญญา ความรอบรู้ความรู้ชัด = ญาณ] (๑๖) ปโมหะ คือ ความลุ่มหลง [อวิกเขปะความไม่ฟุ้งซ่าน เอกัคคตาจิตตสมาธิ] (๑๗) สัมโมหะ คือ ความหลงใหล [อสัมโมหสัมปชัญญะรู้ชัดว่าไม่หลง] (๑๘) อวิชชา คือ รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ [วิชชาความรู้แจ้ง อภิญญาความรู้ยิ่งยวด] (๑๙) อวิชโชฆะ คือ โอฆะคืออวิชชาให้จมลงในวัฏฏะ [วิวฏะความพ้นจากวัฏฏะ = วิวัฏฏะ] (๒๐) อวิชชาโยคะ คือ โยคะคืออวิชชาให้ประกอบไว้ในวัฏฏะ [วิราคะความไม่ติดพันเป็นอิสระ] (๒๑) อวิชชานุสัย คือ อนุสัยคืออวิชชาด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ [นิโรธความดับกิเลสและทุกข์] (๒๒) อวิชชาปริยุฏฐาน คือ การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา [อุปสมะความสงบ สมถะการสงบระงับจิต] (๒๓) อวิชชาลังคี คือ กลอนเหล็กหรือลิ่มคืออวิชชา [วิสังโยคความหมดเครื่องผูกรัด] (๒๔) โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย [อพยาบาทความไม่ขัดเคืองมีเมตตา] (๒๕) โลภะ คือ ความอยากได้ [อปจยะความไม่พอกพูนกิเลส]
[B] ปิยรูปสาตรูป ๑๐ หมายถึง สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา หรือมุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา ซึ่งทำให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ] เพราะความไม่รู้แจ้งแห่ง อวิชชา ที่เรียกว่า วัฏฏะ ๓ [ปฏิจจสมุปปันนธรรม] หมายถึง วงจร ๓ ส่วนประกอบแห่งองค์ ๑๒ อย่าง ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ นั่นคือ (๑) กิเลสวัฏฏ์: อวิชชาตัณหาอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์: สังขารภพ และ (๓) วิปากวัฏฏ์: วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาชาติชรามรณะ และพร้อมด้วยอกุศลวิบากผลที่ตามมา นั่นคือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ดังนี้ (๑) อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ จักขุโสตะฆานะชิวหากายใจ (๒) อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ (๓) วิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณโสตวิญญาณฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณกายวิญญาณมโนวิญญาณ (๔) สัมผัส ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสโสตสัมผัสฆานสัมผัสชิวหาสัมผัสกายสัมผัสมโนสัมผัส (๕) เวทนา ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนาโสตสัมผัสสชาเวทนาฆานสัมผัสสชาเวทนาชิวหาสัมผัสสชาเวทนากายสัมผัสสชาเวทนามโนสัมผัสสชาเวทนา (๖) สัญญา ๖ ได้แก่ รูปสัญญาสัททสัญญาคันธสัญญารสสัญญาโผฏฐัพพสัญญาธรรมสัญญา (๗) สัญเจตนา ๖ ได้แก่ รูปสัญเจตนาสัททสัญเจตนาคันธสัญเจตนารสสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนาธรรมสัญเจตนา (๘) ตัณหา ๖ ได้แก่ รูปตัณหาสัททตัณหาคันธตัณหารสตัณหาโผฏฐัพพตัณหาธรรมตัณหา (๙) วิตก ๖ ได้แก่ รูปวิตกสัททวิตกคันธวิตกรสวิตกโผฏฐัพพวิตกธัมมวิตก (๑๐) วิจาร ๖ ได้แก่ รูปวิจารสัททวิจารคันธวิจารรสวิจารโผฏฐัพพวิจารธัมมวิจาร
ในการเห็นความจริงใน สภาพแห่งทุกข์ [นามรูปปริจเฉทญาณ] กับ เหตุแห่งทุกข์ [ปัจจยปริคคหญาณ] ได้นั้น ปัญญาเห็นธรรมใน องค์ประกอบ ๑๒ ประการ ในปฏิจจสมุปบาทเพียงเท่านั้น [ธัมมัฏฐิติญาณ] ยังไม่เพียงพอ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยระหว่างองค์ธรรมย่อยเหล่านั้นด้วย คือ สภาวธรรมที่ทำให้เกิดและดับในตัณหา ที่เรียกว่า ปิยรูปสาตรูป ๑๐ นี้ด้วยเสมอ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมทบทวนพิจารณาหลายๆ รอบ [โยนิโสมนสิการ] จนเจนใจและขบได้ด้วยทฤษฎีอย่างแตกฉาน [ธัมมปฏิสัมภิทา] เมื่อมนสิการกรรมฐานอยู่อย่างสม่ำเสมออยู่เนืองๆ ย่อมเกิด แสงสว่างแห่งปัญญา [อาโลกสัญญา] ไม่ตอนกลางหรือกลางคืนก็ตาม เพราะเกิดปัญญาเห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริง [ยถาภูตญาณธรรมฐิติ] ตามกำหนดธรรมดา [สัมมาสนะ] ตามกฎธรรมชาติ [ธรรมนิยาม] ความจริงอันสูงสุดโดยปรมัตถ์อันเป็นสากล [อริยสัจจ์ ๔] นอกจากนี้ คนที่ยังเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาทั้งหลายนั้น ยิ่งต้องรีบเร่งทำการศึกษาให้เกิดปัญญาแตกฉานในธรรมให้เร็วที่สุด จะได้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและวงศ์ตระกูล ซึ่งดีกว่าจะชักชวนกันไปเที่ยวแดกหล้า ตอนกลางค่ำกลางคืน [คุณพระช่วยนึกว่าไปนั่งสมาธิ] แล้วพาไปอ้วกเลี้ยงหมาตามถนน แต่อย่าคิดว่าที่ไปกินไปเที่ยวเพื่อพิจารณาธรรมใน อาหาร ๔ ก็แล้วกัน มันเป็นความคิดไม่งาม ถ้าอยากปฏิบัติธรรมดีๆ ก็อย่าไปคบหากับพวกอโคจรเช่นนั้นดีกว่า แบบนี้บัณฑิตทั้งหลายท่านสรรเสริญมากกว่า พ่อแม่ได้ยินก็ดีใจเป็นกุศลต่อวงศ์ตระกูลมากกว่า เจริญธรรมต่อดีกว่า
[C] อาหาร ๔ หมายถึง สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเครื่องค้ำจุนชีวิตสิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ อนึ่ง ขันธ์ ๕ จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัย อาหารปัจจัย เป็นพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ (๑) กวฬิงการาหาร คือ อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่อกำหนดรู้ กวฬิงการาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ราคะ [ความกำหนัดติดใจ] ที่เกิดจาก เบญจกามคุณได้ด้วย (๒) ผัสสาหาร คือ อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และ วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา [การรับรู้ความรู้สึก] พร้อมทั้ง เจตสิก [เวทนาสัญญาสังขาร คือ อาการลักษณะย่อยของ จิตวิญญาณ] ทั้งหลาย ที่จะเกิดตามมา เมื่อกำหนดรู้ ผัสสาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ เวทนา ๓ ได้ด้วย (๓) มโนสัญเจตนาหาร คือ อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่า กรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่ง ภพ [กรรมภพ] คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย [อุปัตติภพ] เมื่อกำหนดรู้ มโนสัญเจตนาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ตัณหา ๓ ได้ด้วย (๔) วิญญาณาหาร คือ อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป เมื่อกำหนดรู้ วิญญาณาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ นามรูปแห่งขันธ์ ๕ ได้ด้วย
ฉะนั้น องค์ประกอบปัจจัยสำคัญแห่งขันธ์ ๕ นั้น จึงต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนโดยพื้นฐาน เพื่อให้เกิดปัญญาที่รอบรู้คมชัด [สุตมยปัญญา] นั่นคือ อวิชชา ตัณหา อาหาร [รูปกับนาม] เมื่อพิจารณาสภาวธรรมโดยหลักปฏิจจสมุปบาทที่มีองค์ประกอบ ๑๒ ประการ พร้อมด้วยสังกิเลสทั้งหลาย ด้วยเหตุผลที่ว่า จะได้กำหนดรายละเอียดที่ฝังลึกลงไปในกระบวนการอีกขั้นหนึ่ง เห็นที่ตั้งแห่งธรรมที่ถูกต้องอย่างแท้จริง [ธัมมัฏฐิติ] ผู้มีโอกาสได้ศึกษา [ไตรสิกขา] พระไตรปิฎกอย่างถูกต้อง จึงถือว่าโชคดีแห่งวาสนา เมื่อเรียนรู้เข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ก็อย่าลืมถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ ให้แก่คนรอบข้าง เอามาตั้งเป็นหัวข้อสนทนากัน อย่าไปพูดคุยเรื่องที่ไร้สาระ ไม่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตในบั้นปลายนี้ คนแต่ละคนมีอายุขัยสั้นยาวต่างกัน แต่การอยู่อย่างมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์นี้ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ของสัตบุรุษ ไม่ใช่อยู่อย่างหมาหรือแมวไปวันๆ อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ปฏิบัติธรรมให้ทบทวนหัวข้อ อธิบายปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นสัมปยุตตธรรมกับปัจจัยธรรมทั้งหลาย เพื่อให้เห็นภาพรวมที่เป็นระบบโครงสร้างองค์รวม ใน ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี้
อธิบายปฏิจจสมุปบาท (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124 -126 FILE 17)
ถามว่า: ก็ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร
ตอบว่า; ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า (๑) นนฺทิ [ความเพลิดเพลินความยินดี] นี้เป็นสังเขปที่ ๑ (๒) ทุกข์ เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า ทุกฺขสฺส (๓) ภพ เป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ (๔) ชาติ ชรา และ มรณะ เป็นสังเขปที่ ๔ พึงทราบ สังเขป ๔ ด้วยคำเพียงเท่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้ [บทว่า สังเขป] อธิบายว่า ได้แก่ ส่วนทั้งหลาย (๑) ระหว่าง ตัณหา กับ ทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ (๒) ระหว่าง ทุกข์ กับ ภพ เป็นสนธิที่ ๒ (๓) ระหว่าง ภพ กับ ชาติ เป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบ สนธิ ๓ ระหว่าง สังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น (๑) นันทิ เป็น อตีตัทธา [กาลที่เป็นอดีต] (๒) ชาติ ชรา และมรณะ เป็น อนาคตัทธา [กาลที่เป็นอนาคต] (๓) ทุกข์และภพ เป็น ปัจจุปันนัทธา [กาลที่เป็นปัจจุบัน] พึงทราบ อัทธา ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้แล
อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดา อาการ ๕ ด้วยคำว่า นันทิ แล้ว ตัณหา จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ ตัณหา นั้น จะยังไม่มา [อาการ ๔ คือ] อวิชชาสังขารอุปาทานและภพ ก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็น ปัจจัย [ปัจจัยธรรม] อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติชราและมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า: ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน
ใน กรรมภพ ซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้ คือ (๑) โมหะความหลง ได้แก่ อวิชชา (๒) การประมวลมา [สั่งสมอายูหนา] ได้แก่ สังขาร (๓) ความใคร่ ได้แก่ ตัณหา (๔) การเข้าไปยึดถือ ได้แก่ อุปาทาน (๕) เจตนา ได้แก่ ภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะ กรรมภพ ซึ่งเป็นภพแรก
ในปัจจุปันนัทธา มีธรรม ๕ ประการนี้ คือ (๑) ปฏิสนธิ คือ วิญญาณ (๒) สิ่งที่ก้าวลง คือ นามรูป (๓) ปสาทรูป คือ อายตนะ [สฬายตนะ] (๔) อาการที่ถูกต้อง คือ ผัสสะ (๕) อาการที่เสวยอารมณ์ คือ เวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ในเพราะ อุปปัตติภพ ในปัจจุปันนัทธา
แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมีธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ (๑) โมหะ คืออวิชชา (๒) การประมวลมา คือ สังขาร (๓) ความใคร่ คือ ตัณหา (๔) การเข้าไปยึดถือ คือ อุปาทาน (๕) เจตนา คือ กรรมภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา
ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้ คือ (๑) ปฏิสนธิ คือ วิญญาณ (๒) สิ่งที่ก้าวลง [เกิดขึ้น] คือ นามรูป (๓) ปสาทรูป คือ อายตนะ (๔) อาการที่ถูกต้อง คือ ผัสสะ (๕) อาการที่เสวยอารมณ์ คือ เวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้แล้วในปัจจุปันนัทธา
ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา พึงทราบ อาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะ ดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล
ดังนั้น ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมี [ปฏิจจสมุปปันนธรรมปัจจัยธรรม] สังเขป ๔ มี สนธิ ๓ มี อัทธา ๓ และ มี อาการ ๒๐ [รวมทั้ง วัฏฏะ ๓ และ มูล ๒] แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ [ความเพลิดเพลิน ความยินดี] เป็น รากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการดังพรรณนามา ฉะนี้
จบ อธิบายปฏิจจสมุปบาท ----------------------------
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตามนัยแห่งคำว่า ดวงตาเห็นธรรม ด้วยวาทะแห่งปัญญาที่เห็นธรรมทั้งปวงตามที่เป็นจริงว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมดับไปเป็นธรรมดา จึงให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาแนวคิดใน ๓ ประการ ได้แก่ (๑) ภาวะแห่งความเกิดวัฏฏะ (๒) ภาวะแห่งความดับวัฏฏะ และ (๓) โลกียธรรม ดังนี้
[A] ภาวะแห่งความเกิดวัฏฏะ [กิเลสกรรมวิบาก = อัตตสัญญา] = สมุทัยสัจจ์ อินทรีย์ ๖: ตาหูจมูกลิ้นกายใจ อารมณ์ ๖: รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์
การเกิดอวิชชา [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร [กรรมภพ] (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณ [วิญญาณ ๖]นามรูปสฬายตนะ [อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖]ผัสสะ [สัมผัส ๖]เวทนา [เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖]ตัณหา [ตัณหา ๖วิตก ๖วิจาร ๖]อุปาทานภพ [อุปปัตติภพ] (๓) อนาคต = ชาติชรา มรณะ [สังกิเลส: โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สังสารทุกข์ทุคติ]
วัฏฏะ ๓ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ได้แก่ อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ได้แก่ สังขารและกรรมภพ [อภิสังขาร ๓ หรือ เจตนา ๖] (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ได้แก่ วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏ ที่เรียกว่า อุปปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติขึ้น ชาติชรามรณะความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ
[B] ภาวะแห่งความดับวัฏฏะ [วิวัฏฏะนิพพานอมตธาตุ = อนัตตสัญญา (สุญญตะ)] = นิโรธสัจจ์ อินทรีย์ ๖: ตาหูจมูกลิ้นกายใจ [อุเบกขาสัมโพชฌงค์] อารมณ์ ๖: รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ [อุเบกขาสัมโพชฌงค์]
การดับอวิชชา [อาสวักขยญาณดับอาสวะ ๔: กามาสวะภวาสวะทิฏฐาสวะอวิชชาสวะ] (๑) อดีต [ต้นเหตุ] = (๑) อวิชชา (๒) สังขาร [กรรมภพ] (๒) ปัจจุบัน [ผลวิบากกับเหตุ] = (๓) วิญญาณ [วิญญาณ ๖ =วิญญาณาหาร] (๔) นามรูป (๕) สฬายตนะ [อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖] (๖) ผัสสะ [สัมผัส ๖ = ผัสสาหาร] (๗) เวทนา [เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖= มโนสัญเจตนาหาร](๘) ตัณหา [ตัณหา ๖วิตก ๖วิจาร ๖ = กวฬิงการาหาร (ราคะกามคุณ ๕)] (๙) อุปาทาน (๑๐) ภพ [อุปปัตติภพ] (๓) อนาคต [ปลายเหตุ] = (๑๑) ชาติ (๑๒) ชรา-มรณะ [สังกิเลส: โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สังสารทุกข์ทุคติ]
ดังนี้ ให้ถึงปัญญาหยั่งรู้ที่ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน [ธรรมนิยาม ๓อนุปัสสนา ๓ [สติปัฏฐาน ๔]อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘วิปัสสนาญาณ ๑๐สัญญา ๑๐]
วัฏฏะ ๓ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ได้แก่ อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ได้แก่ สังขารและกรรมภพ [อภิสังขาร ๓ หรือ เจตนา ๖] (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ได้แก่ วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏ ที่เรียกว่า อุปปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติขึ้น ชาติชรามรณะความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ
[C] โลกียธรรมMundane States [สังขตธรรมสอุปาทินนธรรมอุปาทินนธรรมอุปาทินนกสังขาร: สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม] คือ ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ ขันธ์ ๕ ที่เป็นสาสวะทั้งหมด นั่นคือ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ ที่สัมปยุตต์ด้วย ปิยรูปสาตรูป ๑๐ หมายถึง สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา หรือมุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา ซึ่งทำให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ] เพราะความไม่รู้แจ้งแห่ง อวิชชา ที่เรียกว่า วัฏฏะ ๓ [ปฏิจจสมุปปันนธรรม] หมายถึง วงจร ๓ ส่วนประกอบแห่งองค์ ๑๒ อย่าง ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ นั่นคือ (๑) กิเลสวัฏฏ์: อวิชชาตัณหาอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์: สังขารภพ และ (๓) วิปากวัฏฏ์: วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาชาติชรามรณะ และพร้อมด้วยอกุศลวิบากผลที่ตามมา นั่นคือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ดังนี้ (๑) อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ จักขุโสตะฆานะชิวหากายใจ (๒) อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ (๓) วิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณโสตวิญญาณฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณกายวิญญาณมโนวิญญาณ (๔) สัมผัส ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสโสตสัมผัสฆานสัมผัสชิวหาสัมผัสกายสัมผัสมโนสัมผัส (๕) เวทนา ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนาโสตสัมผัสสชาเวทนาฆานสัมผัสสชาเวทนาชิวหาสัมผัสสชาเวทนากายสัมผัสสชาเวทนามโนสัมผัสสชาเวทนา (๖) สัญญา ๖ ได้แก่ รูปสัญญาสัททสัญญาคันธสัญญารสสัญญาโผฏฐัพพสัญญาธรรมสัญญา (๗) สัญเจตนา ๖ ได้แก่ รูปสัญเจตนาสัททสัญเจตนาคันธสัญเจตนารสสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนาธรรมสัญเจตนา (๘) ตัณหา ๖ ได้แก่ รูปตัณหาสัททตัณหาคันธตัณหารสตัณหาโผฏฐัพพตัณหาธรรมตัณหา (๙) วิตก ๖ ได้แก่ รูปวิตกสัททวิตกคันธวิตกรสวิตกโผฏฐัพพวิตกธัมมวิตก (๑๐) วิจาร ๖ ได้แก่ รูปวิจารสัททวิจารคันธวิจารรสวิจารโผฏฐัพพวิจารธัมมวิจาร
ในอันดับต่อไปนี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรม พึงพิจารณาแนวคิดความศรัทธาปสาทะในพระศาสนาเกี่ยวกับเรื่อง กรรมวิบาก ที่คนส่วนใหญ่ผู้ไม่รู้จริง ชนผู้หลงทิศ มักสบประมาทในเรื่องนี้ กลายเป็นเรื่องตลกขำขัน จนเป็นเหตุแห่งความฉิบหายของชีวิต แล้วตายอย่างไร้ค่า ไม่มีเสบียงปัญญาติดตัวไป มีแต่ปัญญาหางอึ่งเท่านั้น คือ จิตไม่เคลื่อนไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้นแห่งอริยทรัพย์ทั้ง ๗ ประการ [อริยทรัพย์ ๗: ศรัทธาศีลหิริโอตตัปปะพาหุสัจจะจาคะปัญญา เปรียบเทียบกับ สัทธรรม ๗: ศรัทธาหิริโอตตัปปะพหูสูต วิริยารัมภะสติปัญญา (ข้อ ๓ ในจรณะ ๑๕)] และประการสำคัญอยากทำบุญปฏิบัติบูชา ในบางครั้งยังโชคร้าย ไม่พบไม่เจอพระอริยเจ้าอย่างแท้จริง ก็มีเช่นกัน ก็ให้แสวงหาสัจจธรรมที่แท้จริง อย่าท้อถอยให้จำไว้เสมอว่า ตนเป็นที่พึ่งแหงตน ศึกษาเอาเองบ้าง อย่าไปรอเหมือนลูกนกรอพ่อแม้หาเหยื่อมาป้อน มีตีนมีมือหนึ่งมันสมอง ทำได้อย่างแน่นอน อย่ามัวแต่นอนให้มากเท่านั้นเอง ให้พิจารณาเรื่อง (๑) กฎแห่งกรรม กับ (๒) กัมมัสสกตา ดังนี้
ในอันดับต่อไป ให้พิจารณาในเรื่อง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา ตามบทสวดมนต์ ดังนี้
กฎแห่งกรรม [The Law of Volitional Actions] กฎข้อที่ ๑ กัมมัสสะโกมมะหิ (เรามีกรรมเป็นของๆ ตน) กฎข้อที่ ๒ กัมมะทายาโท (เราเป็นผู้รับผลของกรรม) กฎข้อที่ ๓ กัมมะโยนิ (เรามีกรรมเป็นกำเนิด) กฎข้อที่ ๔ กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์) กฎข้อที่ ๕ กัมมะปะฏิสะระโณ (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย) กฎข้อที่ ๖ ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราจักทำกรรมอันใดไว้) กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา (ดีหรือชั่วก็ตาม) ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ)
กล่าวโดยสรุป กฎแห่งกรรม มี ๖ ประการ ที่เกี่ยวข้องกับ ความต่างกันแห่งกรรม (พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228233 FILE 75) ดังนี้
แม้ข้ออื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า: (๑) เพศย่อมเป็นไปเพราะกรรม (๒) สัญญาย่อมเป็นไปเพราะเพศ (๓) สัตว์ทั้งหลายย่อมลงความต่างกัน เพราะสัญญาว่า นี้เป็นหญิงหรือเป็นชาย (๔) สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม (๕) หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม (๖) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ดุจลิ่มสลักเพลารถที่ไปอยู่ [ข้อ ๑ ๖ เป็น กัมมสัทธาวิปากสัทธากัมมัสสกตาสัทธา] (๗) บุคคลย่อมได้เกียรติ ได้การสรรเสริญก็เพราะกรรม [ทำดีย่อมได้ดี] (๘) ย่อมได้ความเสื่อมการถูกประหาร และการจองจำก็เพราะกรรม [ทำชั่วย่อมได้ชั่ว] บุคคลรู้ ความต่างกันแห่งกรรม นั้นแล้ว ไฉนเล่าจึงพูดว่า กรรมไม่มีในโลก
กฎแห่งกรรม มี ๖ ประการ ได้แก่ (๑) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน (๒) สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม (๓) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นกำเนิด (๔) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (๕) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นที่พึ่ง (๖) กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายโดยให้เลวและประณีต
เพราะฉะนั้น ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง กรรมวิบาก ในประเด็นนี้ ไม่ใช่เรื่องจะมาพูดกันเล่นๆ ฆ่าเวลาให้หมดสิ้นไปวันหนึ่งๆ เพราะทั้งหมดเกิดจากปัญญาเห็นธรรมโดย จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ กับ ปัจจยปริคคหญาณ [ปฏิจจสมุปบาทปัจจยาการ = ธัมมัฏฐิติญาณ] โดยให้พิจาณาถึงมิติความสัมพันธ์แห่งปัจจัยทั้งหลายที่ต้องพึงพากันและกันในการเกิดและดับพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูง ไม่ใช่ปัญญาหางอึ่ง ที่จะใช้ใน การขบคิดเชิงทฤษฎี [ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา = ทิฏฐสัมปทา] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิจัยในศาสตร์สาขาต่างๆ ต้องเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี เพื่อจะอธิบายสภาวการณ์แห่งตัวแปรทางสถิติ [Statistic Variables] ทั้งหลายอย่างถูกต้อง แล้วอย่าพากันสบประมาทพระธรรมในพระพุทธศาสนาอีกเลย แน่จริงเข้ามาศึกษาให้มันแตกฉานดู เพราะเป็นเรื่องนามธรรมขั้นสูง ที่ครอบงำจนถึงรูปธรรมทั้งหลายที่เป็นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน อนึ่ง ปัจจัย ๒๔ [มหาปัฏฐานมหาปกรณ์คัมภีร์ปัฏฐาน = คัมภีร์ใหญ่ ฉบับเล่ม ๔๐๔๕ จำนวน ๖ เล่ม คนที่อยากเสริมมงคลชีวิตอ่านคัมภีร์นี้ ขนาดงานสวดอภิธรรมยังใช้สวดให้ผู้เป็นสิริมงคลไปปรโลก] นั้น ซึ่งมีลักษณะกระบวนการคิดคล้ายคลึงกับ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ซึ่งเป็นการอธิบายลักษณะมิติความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ปัจจัย ๒๔ หมายถึง ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไข ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง และย่อมเห็นผลแห่งอกุศลวิบากที่ตามมา คือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เช่นกัน ได้แก่ (๑) เหตุปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเหตุ (๒) อารัมมณปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ (๓) อธิปติปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าใหญ่ (๔) อนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง (๕) สมนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที (๖) สหชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดร่วมกัน (๗) อัญญมัญญปัจจัย คือ ปัจจัยโดยอาศัยซึ่งกันและกัน (๘) นิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย (๙) อุปนิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า (๑๐) ปุเรชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดก่อน (๑๑) ปัจฉาชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดทีหลัง (๑๒) อาเสวนปัจจัย คือ ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน (๑๓) กรรมปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง (๑๔) วิปากปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นวิบาก (๑๕) อาหารปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง (๑๖) อินทรียปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าการ (๑๗) ฌานปัจจัย คือ ปัจจัยโดยภาวะจิตที่เป็นฌาน (๑๘) มรรคปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นมรรค (๑๙) สัมปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยประกอบกัน (๒๐) วิปปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน (๒๑) อัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องมีอยู่ (๒๒) นัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่มีอยู่ (๒๓) วิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องปราศไป (๒๔) อวิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่ปราศไป
นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็น ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ นี้ ก็เปรียบเสมือนผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุปัญญาแตกฉานในหัวข้อง ธัมมปฏิสัมภิทา (ข้อ ๒ ในปฏิสัมภิทา ๔) คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การเกิดปัญญาเห็นธรรม เห็นอาณาจักรธรรม นั่นคือ ย่อมได้ ดวงตาเห็นธรรม [ทิพพจักขุญาณกังขาวิตรณญาณธัมมัฏฐิติญาณ = หลักปฏิจจสมุปบาท] ก็ให้พึงพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญในการเจริญภาวนา คือ (๑) ฌานปัจจัย [สมถะ] กับ (๒) มรรคปัจจัย [วิปัสสนา] ดังนี้
ทุกขนิโรธอริยสัจจ์
(๓) นิโรธนิโรธสัจจ์ทุกขนิโรธทุกขนิโรธอริยสัจจ์ หมายถึง ความดับทุกข์ นั่นคือ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือ นิพพาน ซึ่งตรงกับ คำว่า สัจฉิกิริยา (ข้อ ๓ ในกิจในอริยสัจจ์ ๔) หมายถึง การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่ การเข้าถึงภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ ที่เรียกว่า จตุสัจจปฏิเวธ คือ การแทงตลอดอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ประการ ได้แก่ (๑) อริยผล ๔ [วิมุตติญาณทัสสนขันธ์] (๒) ปัจจเวกขณญาณ [ญาณทัสสนะ ๑๙ มีอาการ ๑๒ = วิมุตติญาณทัสสนขันธ์] (๓) อาสวักขยญาณ [มีอาการ ๖๔ = วิมุตติญาณทัสสนขันธ์] และ (๔) นิพพาน ๒ [วิมุตติขันธ์] ดังนี้
[A] อริยผล ๔สามัญญผล ๔ หรือ ผลญาณ หมายถึง ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ ที่เรียกว่า สัมมาญาณ นั่นคือ ญาณในอริยผล นั่นคือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ = โลกุตตรผล [ผล ๔ผลสมังคีผลญาณแห่งมรรค ๘] ได้แก่ โสดาปัตติผลสกทาคามิผลอนาคามิผลอรหัตตผล = โลกุตตรญาณ ดังนี้ (๑) โสดาปัตติผล คือ ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย (๒) สกทาคามิผล คือ ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย (๓) อนาคามิผล คือ ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย (๔) อรหัตตผล คือ ผลคือความเป็นพระอรหันต์ ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย
[B] ปัจจเวกขณญาณ [โลกียญาณ] คือ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะมีปริวัฏฏ์ ๓ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ หรือ มีอาการ ๑๙ ประการ นั่นคือ (๑) สำรวจรู้มรรค (๒) สำรวจรู้ผล (๓) สำรวจรู้กิเลสที่ละแล้ว (๔) สำรวจรู้กิเลสที่เหลืออยู่ และ (๕) สำรวจรู้นิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งสุดท้ายทำให้เกิด อาสวักขยญาณ [โลกุตตรญาณ] = ปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธะสัมโพธิญาณนิพพาน ๒] อันมีอาการ ๖๔ แห่งอินทรีย์ ดังรายละเอียดข้างล่างนี้
(๑) อินทรีย์ ๓ ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑ (๒) อินทรีย์ ๘ ประการ ได้แก่ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์
๑ มนินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ (๑) สัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร (๒) วิริยินทรีย์ มีการประคองไว้เป็นบริวาร (๓) สตินทรีย์ มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร (๔) สมาธินทรีย์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร (๕) ปัญญินทรีย์ มีความเห็นเป็นบริวาร (๖) มนินทรีย์ มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร (๗) โสมนัสสินทรีย์ มีความยินดีเป็นบริวาร และ (๘) ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี
[C] การตรัสรู้สัมโพธะ คือ อาสวักขยญาณ ฉะนั้น มรรค ๔ = อาสวักขยญาณ มีอาการ ๓๒ กับ ผล ๔ = อาสวักขยญาณ มีอาการ ๓๒ รวมจำนวนอินทรีย์ทั้งหมดเป็น มีอาการ ๖๔ = โลกุตตรญาณ
[D] นิพพาน ๒ หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้วภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ ได้แก่ = โลกุตตรญาณ ดังนี้
(๑) สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ โดยดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ นั่นคือ กิเลสปรินิพพาน ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่ [บุคคลผู้ยังต้องเจริญ เสขปฏิปทาจรณะ ๑๕ นั่นคือ ทางดำเนินของพระเสขะ ข้อปฏิบัติของพระเสขะ ได้แก่ สีลสัมปทา ๑ อปัณณกปฏิปทา ๓ สัทธรรม ๗ และ ฌาน ๔] ท่านผู้บรรลุอธิคมธรรมนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ [พระอรหันต์ผู้ปราศจาก โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา แต่ยังรักษาชีวิตินทรีย์อยู่ เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เหลือ นั่นคือ สัญญาและเวทนา อันเป็นจิตตสังขารที่เหลืออยู่ ไม่ส่งผลแห่งกรรมซึ่งเป็นกิริยาจิตแห่งพระอรหันต์ผู้นั้น] หรือได้ชื่อว่า เสขบุคคล หมายถึง บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้อยู่ใน เสขภูมิ คือ ภูมิของพระเสขะ ระดับจิตใจและคุณธรรมของพระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา ที่เรียกว่า เสขปฏิปทาจรณะ ๑๕ ดังกล่าวนั้น เพื่อก้าวสู่ภูมิแห่งพระอเสขะ อันเป็นการดับจิตดวงสุดท้ายแห่งพระนิพพาน ซึ่งก็เริ่มในธรรม ๕ อย่าง ได้แก่ (๑) มัคคญาณอรหัตตมรรค (๒) ผลญาณอรหัตตผล (๓) ปัจจเวกขณญาณ [เฉพาะ อรหัตตมรรคอรหัตตผล] (๔) อาสวักขยญาณ [เฉพาะ อัญญินทรีย์อัญญาปัญญาอันรู้ทั่วถึงอรหัตตมัคคญาณ กับ อัญญาตาวินทรีย์อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้วแห่งปัญญาของพระอรหันต์อรหัตตผลญาณ] (๕) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุชีวิสมสีสี [ชีวิดสะมะสีสี] อย่างไรก็ตาม พระอรหันต์อาจเจริญสมาบัติ ๘ [ฌานสมาบัติ] เพื่อต่อยอดฌานจิตตสมาธิให้เป็นความละเอียดประณีตตามลำดับ ที่เรียกว่า อนุปุพพวิหาร ๙ อนุปุพพ นิโรธ ๙ [นิโรสมาบัติ] = โลกียญาณ ดังนี้
(๑) รูปฌาน ๔ หมายถึง จิตที่เป็นไปในรูปภูมิ โดยจำแนกเป็นปัญจกฌาน ได้แก่ (๑) ปฐมฌานกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌานกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย วิจารปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌานกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย ปีติสุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌานกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย สุขเอกัคคตา (๕) ปัญจมฌานกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขาเอกัคคตา
(๒) อรูปฌาน ๔ หมายถึง จิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ ได้แก่ (๑) อรูปาวจรกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน (๒) อรูปาวจรกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน (๓) อรูปาวจรกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน (๔) อรูปาวจรกุศลจิตวิบากจิตกิริยาจิต ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
(๓) สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ หมายถึง การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และดับเวทนาการเสวยอารมณ์ โดยผู้เข้านิโรธสมาบัตินี้ ก็คือ การดับสังขาร ๓ [สภาพปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม] = โลกุตตญาณได้แก่ (๑) วจีสังขารวิตกกับวิจาร [ความตรึกกับความตรอง] (๒) กายสังขารลมหายใจอัสสาสะกับลมหายใจปัสสาสะ (๓) จิตตสังขารสัญญากับเวทนา ย่อมดับไปตามลำดับ
(๒) อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ โดยดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ นั่นคือ ขันธปรินิพพาน ซึ่งเป็นนิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว ท่านผู้บรรลุอธิคมธรรมนี้ เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ สำหรับ จิตดวงสุดท้าย [สติญาณทัสสนะ = ปัญญาในสมาธิ กับ สัมปชัญญะญาณในวิปัสสนา = ปัญญาในวิปัสสนา ซึ่งหมายถึง อานันตริกสมาธิญาณ นั่นคือ ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน] ซึ่งจะดับไปเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ [อันเป็นขั้นตอน ที่เรียกว่า การดับขันธปรินิพพาน คือ ดับสัญญาและเวทนาจิตตสังขาร (มโนสังขาร) ที่ประกอบด้วย ชีวิตินทรีย์ปวัตตสีสะกับ อวิชชาสวะกิเลสสีสะ= ที่เรียกว่า ชีวิตสมสีสี อันเป็น อรหัตตผลวิมุตติสัมมาวิมุตติ (ข้อ ๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐)] ซึ่งเรียกว่า ปรินิพพานจิตจริมกจิตจริมกวิญญาณ [วิมุตตานุตตริยะการพ้นอันเยี่ยม (ข้อ ๓ ในอนุตตริยะ ๓)]
หมายเหตุ: ในขั้นตอนนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมที่เกิดปัญญาเห็นธรรมอย่างแท้จริง ประจักษ์แจ่มแจ้งคมชัดยิ่ง คือ การเห็นนิพพาน [ทัสสนานุตตริยะการเห็นอันเยี่ยม (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓] แต่ถ้ายังไม่แม่นยำในธรรมทั้งหลาย ก็ให้ทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ จนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า แต่อย่าลดความพยายามก็แล้วกัน เพราะขั้นตอนการปฏิบัติธรรมในพระศาสนานี้ เป็นเรื่อง ปฏิปทา ที่เรียกว่า ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ข้อ ๑ ในปฏิปทา ๔) หมายถึง ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เพราะคนส่วนใหญ่มีกิเลสชนิดหนาเป็นพื้นฐาน จึงต้องใช้เวลามากหน่อยเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ยังมีคำที่เป็นไวพจน์กับ คำว่า นิพพาน มีอยู่ ๒๖ คำ ที่อธิบายถึงสัจจภาวะแห่งนิพพานได้ ดังนี้
ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน (พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 356357 FILE 77)
ความจริง พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระนิพพานนั้น มีชื่อเรียกแทนพระนิพพานเป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งชื่อที่เป็นปฏิปักษ์แห่งสังขตธรรมทั้งหมด ได้แก่ (๑) อเสสวิราโค คือ คลายกำหนัดโดยไม่มีเหลือ (๒) อเสสนิโรโธ คือ ดับโดยไม่มีเหลือ (๓) จาโค คือ ความสละ (๔) ปฏินิสฺสคฺโค คือ ความสละคืน (๕) มุตฺติ คือ ความหลุดพ้น (๖) อนาลโย คือ ความไม่อาลัย (๗) ราคกฺขโย คือ ความสิ้นราคะ (๘) โทสกฺขโย คือ ความสิ้นโทสะ (๙) โมหกฺขโย คือ ความสิ้นโมหะ (๑๐) ตณฺหกฺขโย คือ ความสิ้นตัณหา (๑๑) อนุปฺปาโท คือ ความไม่เกิด (๑๒) อปฺปวตฺตํ คือ ความไม่เป็นไป (๑๓) อนิมิตฺตํ คือ ความไม่เป็นไป (๑๔) อปฺปณิหิตํ คือ ความไม่มีที่ตั้ง (๑๕) อนายูหนํ คือ ความไม่มีกรรมเป็นเหตุปฏิสนธิ (๑๖) อปฺปฏิสนฺธิ คือ ความไม่สืบต่อ (๑๗) อนุปปตฺติ คือ ความไม่อุบัติ (๑๘) อคติ คือ ความไม่มีคติ (๑๙) อชาตํ คือ ความไม่เกิด (๒๐) อชรํ คือ ความไม่แก่ (๒๑) อพฺยาธิ คือ ความไม่เจ็บ (๒๒) อมตํ คือ ความไม่ตาย (๒๓) อโสกํ คือ ความไม่โศก (๒๔) อปริเทวํ คือ ความไม่ร้องไห้คร่ำครวญ (๒๕) อนุปายาสํ คือ ความไม่เหือดแห้งใจ (๒๖) อสงฺกิลิฏฺฐํ คือ ความไม่เศร้าหมอง
นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็น ผลญาณทุกขนิโรธอริยสัจจ์ นี้ ก็เปรียบเสมือนผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุปัญญาแตกฉานในหัวข้อง อัตถปฏิสัมภิทา (ข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔) คือ ปัญญารอบรู้ในผลที่เป็นความหมายแห่งการปฏิบัติธรรม กับ นิรุตติปฏิสัมภิทา (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔) คือ ปัญญารอบรู้ในภาษาทั้งฝ่าย สมมติสัจจะ กับ ปรมัตถสัจจะ นั่นคือ มีความรู้ความเข้าใจที่สามารถถ่ายทอดเป็นภาษาได้อย่างดีและชำนาญ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์
(๔) มรรคมรรคสัจจ์ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ หมายถึง ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งตรงกับ ภาวนา ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง ส่วน อริยอัฏฐังคิกมรรคมรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงใน ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา และ คำว่า ภาวนา (ข้อ ๔ ในกิจในอริยสัจจ์ ๔) หมายถึง การเจริญ หรือการบำเพ็ญเพียรฝีกตน [ทมะ] เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่ การลงมือแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ใน อริยมรรค ยังรวมเอากระบวนการชำระไตรสิขาให้บริสุทธิ์ใน วิสุทธิ ๗ ใน ข้อ ๕ข้อ ๖ข้อ ๗ ดังนี้
(๑) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗) หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป [กลาปสัมมสนะ] จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา ถือเป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมี วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ เกิดขึ้น กำหนดได้ว่า อุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแล เป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถี คือ วิปัสสนาญาณ นั้นต่อไป ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์
(๒) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗) หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิด โคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่ง ความเป็นปุถุชน กับ ความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ ๙ ได้แก่ อุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ หรือจะเป็นการเจริญ มหาวิปัสสนา ๑๘ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนานิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนาขยานุปัสสนาวยานุปัสสนาวิปริณามานุปัสสนาอนิมิตตานุปัสสนาอัปปณิหิตานุปัสสนาสุญญตานุปัสสนาอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสนะอาทีนวานุปัสสนาปฎิสังขานุปัสสนาวิวัฏฏนานุปัสสนา ตามลำดับ
(๓) ญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๗ ในวิสุทธิ ๗) หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ใน อริยมรรค ๔ [มรรค ๔] หรือ มรรคญาณ อันเกิดถัดจาก โคตรภูญาณ เป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจาก มรรคญาณ นั้นๆ ความเป็นอริยบุคคล ย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ฉะนั้น เพื่อให้เห็นรายละเอียดใน อริยมรรค ๔ ในรายละเอียดเฉพาะมรรคในแต่ละขั้น ที่จะต่อยอดก้าวไปสู่ อริยผล ๔ [ผลญาณ] คือ ผลแต่ละขั้น ดังนี้
อริยมรรค ๔ หรือ มัคคญาณ หมายถึง ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด นั่นคือ ญาณในอริยมรรค นั่นคือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จ ภาวะอริยบุคคล แต่ละขั้น ซึ่งทำให้เห็น อริยสัจจ์ ๔ ทั้งหมด = โลกุตตรมรรค [มรรค ๔มัคสมังคีมัคคญาณแห่งมรรค ๘] ได้แก่ โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค = โลกุตตรญาณ ดังนี้ (๑) โสดาปัตติมรรค คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส และย่อมกำจัด กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสทิฏฐานุสัยวิจิกิจฉานุสัย) ได้ (๒) สกทาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง และย่อมกำจัด กิเลสหยาบๆ (กามราคสังโยชน์ปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบกามราคานุสัยปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ) ได้ (๓) อนาคามิมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะ และย่อมกำจัด กิเลสละเอียด (กามราคสังโยชน์ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียดกามราคานุสัยปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด) ได้ (๔) อรหัตมรรค คือ มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ได้แก่ สักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามราคะปฏิฆะรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา และย่อมกำจัด กิเลสทั้งหลาย (รูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชามานานุสัยภวราคานุสัยอวิชชานุสัย) ได้หมด
ในอันดับต่อไป ให้ผู้ปฏิบัติธรรมย้อนกลับไปทบทวนในหัวข้อ (๓) นิโรธนิโรธสัจจ์ทุกขนิโรธทุกขนิโรธอริยสัจจ์ อีกครั้ง นอกจากนี้ ในส่วนที่เป็น มรรคญาณมัคคญาณ นี้ ก็เปรียบเสมือนผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุปัญญาแตกฉานในหัวข้อง ธัมมปฏิสัมภิทา (ข้อ ๒ ในปฏิสัมภิทา ๔) คือ ปัญญารอบรู้ในหลักธรรมทั้งหลาย กับ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔) คือ มีปัญญารอบรู้ใน (๑) ความคิดริเริ่ม (๒) ความคิดสร้างสรรค์ (๓) ความคิดประยุกต์ดัดแปลง
กล่าวโดยสรุป ตามแนวคิดที่ถือหลักธรรม มัชฌิมาปฏิปทา [ทางสายกลางแห่งปัญญา] ที่เน้นการศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรม ไตรสิกขา [ศีลสมาธิปัญญา] ที่สัมปยุตต์ด้วย อริยอัฏฐังคิกมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเน้นแนวทางปฏิบัติใน ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา (๓) นำไปสู่ปัญญา ที่เป็นสัจจธรรมอันประเสริฐ ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดเรียกว่า ปัญญาเห็นธรรมดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [อาณาจักรธรรม = ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปัจจัย ๒๔] ในประเด็นนี้ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญในแก่นสัทธรรมนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่พากันไปยึดมั่นแต่ในฝ่ายรูปธรรมแห่งสสารวัตถุ [วัตถุนิยมวิทยาศาสตร์] โดยมีอคติลำเอียงกลัวภัยจะมาถึงตัวของนักวิทยาศาสตร์ยุโรปยุคมืดที่ศาสนจักรเป็นใหญ่ [ศตวรรษที่ ๑๔๑๕ ] เลยปฏิเสธเรื่องจิตวิญญาณ [Spirituality] ทั้งที่ความเป็นจริงมนุษย์ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ (๑) ร่างกาย [Body] ซึ่งเป็นฝ่ายรูปธรรม = ศีลอธิสีลสิกขา (๒) จิตใจจิตวิญญาณ [Mind] ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม = สมาธิอธิจิตตสิกขา และ (๓) ปัญญา [Wisdom] ซึ่งเป็นฝ่ายที่เป็น กฎธรรมชาติ ในความเป็นสากล = ปัญญาอธิปัญญาสิกขา ถ้าองค์ประกอบทั้ง ๓ ส่วน นี้ ไม่เป็นเอกภาพเดียวกัน มนุษย์คนนั้นก็ไม่มีความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ได้ [สัตบุรุษอริยบุคคล ๔] ฉะนั้น ตามนัยดังกล่าวนี้ จึงหมายความว่า การศึกษาโลกจะเลิศล้ำขนาดไหน ก็อยู่ใน สังสารวัฏ [สังสาระ] แค่นั้น หรือ สงสารทุกข์ หมายถึง ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ทุกข์ที่ประสบในภาวะแห่งการว่ายวนอยู่ในกระแสแห่งกิเลส กรรม และวิบาก หรือเรียกว่า สงสารสาคร คือ ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด ในการปฏิเสธองค์ความรู้ใหม่จากผู้รู้คนอื่น จึงเป็นคุณสมบัติของผู้มีอคติลำเอียดด้วยทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิแห่งตน จนเสียโอกาสในการพัฒนาปัญญาให้ก้าวอย่างถูกต้อง ลองพิจารณาให้ดี ทำไมเราจึงนิยามสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็น ๒ อย่าง คือ (๑) รูปธรรม [Concrete] คือ ร่างกายBody กับ (๒) นามธรรม [Abstract] คือ จิตใจMind ในเรื่องนี้ ไม่แน่ใจหมีแพนด้าน่าจะเข้าใจได้ดีกว่าคน ทำไมคนพูดไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้น พวกที่เรียนมากๆ จึงไม่ค่อยมีความคิด ต่างจากผู้คิดค้นมากๆ หรือนักประดิษฐ์ เพราะมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ประยุกต์ดัดแปลง ที่เกิดขึ้นภายในตนเองเป็นหลัก ไม่ได้รอความคิดของคนอื่น อันเป็นความรู้สึกที่เคยชินหรือคุ้นเคยกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง นั่นคือ ไม่ชอบ ความเปลี่ยนแปลง [Changes] ซึ่งเป็นหลักธรรมที่เรียกว่า กฎอนิจจัง [Impermanence Law = อัทธา ๓: อตีตัทธาอนาคตัทธาปัจจุปันนัทธา] แต่ในทางเป็นจริงนั้น ในสังคมคนส่วนใหญ่ต่างพากันคิดว่า: ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง [ทุกสิ่งทุกอย่างเที่ยง] แม้แต่ความรักที่มีต่อกัน ทุกคนก็ยังเหมาว่า: มั่นคง ไม่แปรเปลี่ยน [ความจริงนั้น ชื่อว่า วิปริณามทุกขตา หมายถึง ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงแปรไปเป็นอย่างอื่น] ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า ชรา [Decay] คือ ความคร่ำคร่า ย่อมมี ๒ อาการลักษณะ ได้แก่ (๑) ปากฎชรา หมายถึง ชราในรูปธรรม ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงภาวะมีการหัก เป็นต้นในอวัยวะมีฟัน เป็นต้น หรือเรียกว่า สวีจิชรา [ชรามีร่องรอย] และ (๒) ปฏิจฉันชรา หมายถึง ชราในอรูปธรรม เพราะไม่แสดงพิการเช่นนั้น หรือเรียกว่า อวีจิชรา [ชราไม่มีร่องรอย] ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาถึงการสร้างปัญญาในการศึกษาทั้งทางโลกกับทางธรรม ที่มีความสมดุลกันอย่างลงตัว ดังนี้
ปัญญาที่เกิดในการศึกษาทางโลกกับทางธรรม
(๑) ปัญญาทางโลก (๑) เรียนรู้ค้นคว้า = สุตมยปัญญา (๒) คิดไตร่ตรองค้นพบ = จินตามยปัญญาโยนิโสมนสิการทฤษฎีหลักการระเบียบวิธีวิจัย เรียกว่า ปัญญาสามัญ
(๒) ปัญญาทางธรรม (๑) เรียนรู้ธัมมวิจยะ = สุตมยปัญญา [สุตมยญาณ] (๒) รู้เห็น [ญาณทัสสนะสติกับสัมปชัญญะ]หยั่งรู้ [ญาณ: จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง] = ปัญญาในสมาธิปัญญาในวิปัสสนา (๓) คิดไตร่ตรองค้นพบ = จินตามยปัญญาโยนิโสมนสิการวิสุทธิ ๗อริยสัจจ์ ๔ [จินตามยญาณทิพพจักขุญาณวิปัสสนาภูมิ (ปัญญาภูมิ)] เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
กระบวนการคิดที่เกิดขึ้นได้ทั้งในทางโลกและทางธรรม [สัมปยุตตธรรมสหชาตธรรมญาณสัมปยุตต์]
[A] กระบวนการคิดฝ่ายโลกียญาณ
(๑) นามรูปปริจเฉทญาณ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ = วิบากทุกขสัจจ์] สภาวธรรมอันเป็นที่เกิดและดับแห่งตัณหา: ปิยรูป สาตรูป ๑๐ = อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖วิญญาณ ๖สัมผัส ๖เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖ตัณหา ๖วิตก ๖ (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร [กรรมภพ] (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณ [วิญญาณ ๖]นามรูปสฬายตนะ [อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖]ผัสสะ [สัมผัส ๖]เวทนา [เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖]ตัณหา [ตัณหา ๖วิตก ๖วิจาร ๖]อุปาทานภพ [อุปปัตติภพ] (๓) อนาคต = ชาติชรา มรณะ [สังกิเลส: โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สังสารทุกข์ทุคติ]
(๒) ปัจจยปริคคหญาณ [เหตุแห่งทุกข์ = สมุทัยสัจจ์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒]
วิธีคิดแบบอนุโลมปฏิจจสมุปบาท [หาสาเหตุ] กับ วิธีคิดแบบปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท [ดับสาเหตุ] (๑) อดีต [ต้นเหตุ] = (๑) อวิชชา (๒) สังขาร [กรรมภพ] (๒) ปัจจุบัน [ผลวิบากกับเหตุ] = (๓) วิญญาณ [วิญญาณ ๖] (๔) นามรูป (๕) สฬายตนะ [อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖] (๖) ผัสสะ [สัมผัส ๖] (๗) เวทนา [เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖](๘) ตัณหา [ตัณหา ๖วิตก ๖วิจาร ๖] (๙) อุปาทาน (๑๐) ภพ [อุปปัตติภพ] (๓) อนาคต [ปลายเหตุ] = (๑๑) ชาติ (๑๒) ชรา-มรณะ [สังกิเลส: โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สังสารทุกข์ทุคติ]
(๓) สัมมสนญาณ [ไตรลักษณ์ = วุฏฐานคามินีปฏิปทาวิปัสสนาญาณ ๑๐ กับ อนุปุพพปฏิปทา: มหาวิปัสสนา ๑๘การจำแนกอารมณ์ ๓๘โพธิปักขิยธรรม ๓๗] วิปัสสนาญาณ ๑๐: สัมมสนญาณอุทยัพพยานุปัสสนาญาณภังคานุปัสสนาญาณภยตูปัฏฐานญาณอาทีนวานุปัสสนาญาณนิพพิทานุปัสสนาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขานุปัสสนาญาณสังขารุเปกขาญาณสัจจานุโลมิกญาณ [อนุโลมญาณ] มหาวิปัสสนา ๑๘: อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนาวิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนาปฏินิสสัคคานุปัสสนาขยานุปัสสนาวยานุปัสสนาวิปริณามานุปัสสนาอนิมิตตานุปัสสนาอัปปณิหิตานุปัสสนาสุญญตานุปัสสนาอธิปัญญาธรรมวิปัสสนายถาภูตญาณทัสนะอาทีนวานุปัสสนาปฎิสังขานุปัสสนาวิวัฏฏนานุปัสสนา การจำแนกอารมณ์ ๓๘: จิตมีราคะ ๘จิตปราศจากราคะ ๘จิตมีโทสะ ๒จิตปราศจากโทสะ ๒จิตมีโมหะ ๒จิตปราศจากโมหะ ๒จิตหดหู่ ๑จิตฟุ้งซ่าน ๑จิตเป็นมหัคคตะ ๒จิตไม่เป็นอมหัคคตะ ๑สอุตฺตรํ ๑อนุตฺตรํ ๒สุมาหิตํ ๒อสมาหิตํ ๑วิมุตฺตํ ๒อวิมุตฺตํ ๑ โพธิปักขิยธรรม ๓๗: สติปัฏฐาน ๔ [สติสัมปชัญญะ]สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘
หมายเหตุ: เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมแจ่มแจ้งชัดในแนวทางประพฤติปฏิบัติในการดับทุกข์ ซึ่งหมายถึง การเจริญภาวนาทั้งฝ่ายสมถะกับฝ่ายวิปัสสนาอย่างจริงจัง คือ เข้าใจในทุกขั้นตอนแห่งการปฏิบัติธรรม นั่นคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ [ปฏิปทานุตตริยะการปฏิบัติอันเยี่ยม (ข้อ ๒ ในอนุตตริยะ ๓)]
อนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงอรรถะใน คำว่า ลักษณะสากลความเป็นสากล [Universality] นั้น ย่อมตรงกับ คำว่า สามัญลักษณะแห่งไตรลักษณ์ [The Common Characteristics of the Three Characteristics of Existence] ทั้ง ๓ ประการ [The Basic Facts of Existence III] หมายถึง ธรรมที่เป็นสังขตะคือสังขารทั้งปวงเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ [ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็น อสังขตะวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คือ อนัตตตา อย่างเดียวไม่มีลักษณะ ๒ อย่าง ได้แก่ อนิจจตาทุกขตา] หรือลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็น กฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม ดังนี้ (๑) อนิจจตาอนิจจลักษณะ = Impermanence คือ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ ความเป็นของไม่เที่ยง ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่ (๑) เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี (๒) เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ (๓) เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ (๔) แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว (๒) ทุกขตาทุกขลักษณะ = MiserySuffering คือ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์ ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์ ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ได้แก่ (๑) ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา (๒) ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (๓) เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ (๔) แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข (๓) อนัตตตาอนัตตลักษณะ = Not-Self, Non-Ego, Egolessness, Impersonality คือ ลักษณะที่เป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตนโดยอรรถต่างๆ ได้แก่ (๑) เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ [ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย] (๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง (๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ (๔) เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน [ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัวแต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ] (๕) โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
[B] กระบวนการคิดฝ่ายโลกุตตรญาณ (๔) มรรคญาณอริยมรรค ๔ [โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค] (๕) ผลญาณอริยผล ๔ [โสดาปัตติผลสกทาคามิผลอนาคามิผลอรหัตตผล] (๗) ปัจจเวกขณญาณ [ญาณทัสสนะมีอาการ ๑๙] (๘) อาสวักขยญาณ [อินทรีย์มีอาการ ๖๔] (๙) นิพพาน ๒ [สอุปาทิเสสนิพพานอนุปาทิเสสนิพพาน (อรหัตตผลวิมุตติ)]
ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบสำคัญของมนุษย์ คือ ขันธ์ ๕ กับ ปัญญา ที่ปรับอยู่ในหลักธรรม ไตรสิกขา ได้แก่ (๑) ศีล: ร่างกาย = Morality (๒) สมาธิ: จิตใจกับฌาน = Concentration (๓) ปัญญา: ญาณ = Wisdom ถ้าธรรมนี้อธิบายความจริงในความเป็นมนุษย์ไม่ได้ ก็แสดงว่าธรรมทั้งหลายในพระศาสนานี้ เป็นสิ่งที่ผิดหรือภาวะที่ผิด อันไม่ถูกต้องตาม กฎธรรมชาติ [Natural Law] นั่นคือ (๑) อริยสัจจ์ ๔ (๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (๓) ไตรลักษณ์ และ (๔) ธรรมนิยาม ๓ เป็นต้น และประการสำคัญ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใน ปัญญา ๓ [สุตมยปัญญาจินตามยปัญญาภาวนามยปัญญา] ดังกล่าวนั้น ไม่สามารถสัมปยุตต์กับองค์ความในศาสตร์สาชาปรัชญากับวิทยาศาสตร์ได้ ที่เรียกว่า (๑) พุทธศาสนา (๒) พุทธปรัชญา (๓) พุทธศาสตร์ ฉะนั้น ถ้าเป็นสิ่งที่ผิดไม่ถูกต้อง ผู้เป็นอริยบุคคลทั้งหลายนั้น ย่อมพูดไม่รู้เรื่องกับชาวมนุษย์โลกนี้ได้ เหมือนพวกที่เรียนจบปริญญาเอก [The Doctor of Philosophy] พูดจาไม่รู้เรื่องกับชาวบ้าน ไม่แน่ใจว่ารู้จริงๆ หรือไม่รู้อะไรเลย [จบมาแบบไม่รู้เรื่องอะไร แถมท้ายพวกคนโง่ๆ ยังไปงมงายกับเศษกระดาษรับรองกันอีก ศัพท์บัญญัติเรียกว่า ดอกเตอร์ขี้กลาก: The Doctor of Nescience ถ้าเป็นของจริงนั้น เขาเรียกว่า ผู้รู้Scholar ไม่ใช่ขี้กลาก] เพราะฉะนั้น สังคมที่มีคนด้อยคุณภาพมากๆ ย่อมทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมทำได้ยาก เพราะคนเหล่านี้ ทำอะไรไม่จริง มีชีวิตที่ไม่จริง หลอกตัวเองและผู้อยู่รอบข้าง มิฉะนั้น ก็ปล่อยชีวิตไปวันๆ เหมือนแมงวันตอมขี้ ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์ ที่เป็นศาสตร์ประยุกต์ มีอายุสั้นไปไม่ได้ไกล ต่างจากพระพุทธศาสนา ที่เป็นเรื่องจริงของชีวิต ตั้งแต่มาเกิดจนตาย เพราะตอนตายถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่ คงไม่มีใครพูดว่า x = y + z แล้วขาดใจตาย ลองคิดเอาก็แล้ว ถ้าจะพากันตายจะพูดอะไรเป็นคำสุดท้ายบนโลกนี้ ถ้าจะพูดว่า อรหันต์ แล้ว ก็รู้แล้วยังว่าแปลว่าอะไร ต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นพระอรหันต์ เพราะตอนไม่ตายก็ไม่คิดจะค้นหาแนวทางการไปเป็นพระอรหันต์เลย มีแต่คิดทำเรื่องชั่วๆ กันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหมดนี้ แปลว่า เพราะไม่รู้จริง: อวิชชา [และไม่คิดจะรู้ด้วยอีกต่างหากคิดว่าตนเองฉลาดกว่าคนอื่น อติมานะ (ข้อ ๑๔ ในอุปกิเลส ๑๖) คือ ดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเหนือกว่ายิ่งกว่าเขา ถ้าอาการหนัก เรียกว่า อวมานะ คือ การดูถูกเหยียดหยาม การลบหลู่ แทนที่จะเป็น สัมมานะ คือ ความนับถือ การยกย่อง การให้เกียรติ ทั้งหมดนี้แปลว่า อย่าคิดชั่วทำชั่ว นั่นเอง]
ประการสุดท้ายนี้ หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติธรรมที่พึงรู้อย่างยิ่ง คือ (๑) การรู้ภูมิหลังของการเกิดขันธ์ ๕ กับปัญญา ซึ่งเป็นเรื่อง อัตตสัญญา [ตัวกูของกู = อัตตาอัตตริยะ] และ (๒) การรู้วิธีดับขันธ์ ๕ กับปัญญา ซึ่งเป็นเรื่อง อนัตตสัญญา [อนัตตาสุญญตา = ไม่มี กิเลสสีสะแห่งอวิชชา กับ ไม่มี ปวัตตสีสะแห่งชีวิตินทรีย์ คือ การดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ที่เรียกว่า ชีวิตสมสีสี] เรื่องที่กล่าวถึงนี้ เป็นเรื่องที่ควรรู้อย่างยิ่งในบรรดาผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย หรือชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง แค่เรื่อง ขันธ์ ๕ นี้ พวกเราก็ยังรู้ไม่ลึกซึ้ง พากันอยู่แบบหลงใหลไปในทางเสื่อม ไม่เข้าใจวิธีแก้ทางในฝ่ายเจริญ คนทำชั่วนั้นถามว่าอยู่ได้ไหม แต่อยู่แบบเผาไหม้รุมร้อนด้วยความชั่วที่มันทำกันไว้ คนทำดีก็อยู่แบบดีๆ ที่ตนทำไว้เช่นกัน แต่จะให้ดีกว่านั้น ต้องตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ไม่มีอะไรบนโลกนี้ จะดีไปกว่านี้อีกแล้ว อย่างน้อยก็ เห็นตายก่อนตาย หรือ เห็นนิพพานก่อนนิพพาน ถ้าจะตายจากโลกนี้ไป ก็ตายมีเสบียง ทุนปัญญา ติดตัวไปด้วย ไม่ใช่ตายแบบโง่ๆ หรือสิ้นคิด โดยไม่มี ทุนปัญญาสะสม [Accrued Intellectual Capital = อริยทรัพย์] ติดตัวไปภพหน้าอีก ในภาวะแห่งความตายนั้น มนุษย์ย่อมทิ้งร่างกายนี้ให้เน่าเปื่อยไปเป็นธาตุทั้ง ๔ แต่ธาตุที่เหลืออยู่ ได้แก่ (๑) มโนธาตุ [จิตใจดวงจิตตามสภาพอุปนิสัยใจคอสติสัมปชัญญะ] กับ (๒) วิญญาณธาตุ [สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ดวงวิญญาณธาตุรู้ปัญญา] รวมกันแล้วหมายถึง มโนวิญญาณ นั่นเอง กล่าวโดยย่อ ร่างกายมนุษย์เลือกได้ตามกรรมกับวิบากที่เป็นไป แต่สิ่งที่เหลืออยู่ในสังสารวัฏฏ์ คือ มโน [มโนธรรมหรือกิเลส] วิญญาณ [สติกับสัมปชัญญะ] แต่อย่างไรก็ตาม พระตถาคตอรหัตตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงชี้แนะให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติเจริญภาวนา เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายโดยปราศจากวัฏฏะ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์อีกต่อไป ก็อยู่ที่ว่าใครจะตั้งใจทำได้หรือไม่ได้เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ผู้ได้พบกับพระธรรมคำสอนของพระองค์แล้ว ถือเป็นผู้มีโชคมีโอกาสดีที่จะศึกษาและปฏิบัติให้เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพานได้ จึงไม่ควรใช้ชีวิตด้วยความประมาท มองข้ามความสำคัญของอริยสัจจธรรมที่พระองค์ทรงเห็นหรือค้นพบ และมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย.
|