๑๗. แนวทางข้อประพฤติด้วยปรมัตถปฏิปทา Practical Approaches to the Absolute Path of ProgressBy Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 201๖
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การดำเนินชีวิตตาม หลักมัชฌิมาปฏิปทา นั้น ผู้ประพฤติปฏิบัติตามย่อมได้ชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ดังพระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประพฤติปฏิบัติสำเร็จมาแล้ว นั่นคือ การแสวงหา การเสาะหา การค้นหา ซึ่ง ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ (๑) ศีลขันธ์ใหญ่ (๒) สมาธิขันธ์ใหญ่ (๓) ปัญญาขันธ์ใหญ่ (๔) วิมุตติขันธ์ใหญ่ (๕) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ อันเป็นปรมัตถปฏิปทาที่ชักนำไปสู่ นิพพาน อันได้ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง โดยการรู้แจ้งแห่งโพธิใน อริยสัจจ์ ๔ [เพื่อรู้ นิพพาน] คำว่า อริยสัจจ์ ๔ นี้ เป็นชื่อของ อริยมรรค โดยมีสมุฏฐานมาจาก วิปัสสามรรค นั่นคือ การทำปัญญาให้เป็นญาณแห่ง โมนะ คือ ปัญญาญาณเป็นเครื่องทำอาสวะให้สิ้นไป [ปัญญาพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา เรียกว่า มันตา] ผู้ประกอบด้วย โมนะ [ปัญญาในพระอรหัตผล ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือ ไตรสิกขา หรือเพราะประกอบด้วย มรรคญาณ] นั้น ชื่อว่า มุนี เพราะฉะนั้น ปัญญา [ญาณ] จึงเป็นเรื่องใหญ่ในการปฏิบัติธรรม ด้วยนัยว่า: (๑) ความรู้ทั่วความรู้ชัดความเลือกเฟ้นความค้นคว้า (๒) ความสอดส่องธรรมความกำหนดดีความเข้าไปกำหนดความเข้าไปกำหนดเฉพาะ (๓) ความเป็นบัณฑิตความเป็นผู้ฉลาดความเป็นผู้ละเอียด (๔) ความแจ่มแจ้งความคิดความพิจารณา (๕) ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินปัญญาอันทำลายกิเลสปัญญาอันนำไปรอบความเห็นแจ้งความรู้ทั่วพร้อมปัญญาดังปฏักปัญญาเป็นใหญ่ปัญญาเป็นกำลังปัญญาดังศาสตราปัญญาดังปราสาทปัญญาเป็นแสงสว่างปัญญาเป็นรัศมีปัญญารุ่งเรืองปัญญาดังรัตนะ (๖)ความไม่หลงความเลือกเฟ้นธรรมสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาทั้งหลายให้ได้ เพื่อความตรัสรู้ธรรมแห่งสัมโพธิญาณ ให้สมกับว่า เป็นผู้รู้แจ้งโลก ให้ได้จริงๆ.
บทความที่ ๑๗ ประจำปี ๒๕๕๙ แนวทางข้อประพฤติด้วยปรมัตถปฏิปทา
การแสวงหาความจริงของมนุษย์นั้น กระทำได้หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับว่า วิธีการไหนจะแสดงผลให้คำตอบตรงกับโจทย์ปัญหาที่ตั้งไว้ได้ใกล้เคียงในการแก้ปัญหาได้มากที่สุด สำหรับทางพระพุทธศาสนานั้น กระบวนการคิดในการแก้ปัญหา ที่เรียกว่า ทุกข์ทุกขตา นั้น ผู้ปฏิบัติธรรม คือ ผู้ต้องการดับทุกข์ทั้งหลายนั้น ไม่ได้เขียนเค้าโครงงานวิจัยเพื่อดับทุกข์เพื่อไปยื่นต่อพระเถระผู้ใหญ่แต่ประการใด ซึ่งแตกต่างจากการเขียนเค้าโครงงานวิจัย [Research Proposal] เพื่อเสนอขอทุนสนับสนุนงานศึกษาวิจัย ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมกับการศึกษาวิจัยนั้น จึงเป็นกระบวนการค้นคว้าความจริงไปใน ๒ ทิศทาง อันเป็นเป้าหมายสูงสุด นั่นคือ (๑) ฝ่ายโลกุตตระ ซึ่งเป็นเรื่องจิตวิญญาณ คือ ความรู้เห็น กับความหยั่งรู้ และ (๒) ฝ่ายโลกียะ ซึ่งเป็นเรื่องสสารวัตถุ ที่ยอมรับว่าเป็นจริงแค่เพียงการสัมผัสได้ด้วยระบบประสาททั้ง ๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ในทางธรรมเรียกว่า กามคุณ ๕ เป็นที่มาแห่งทุกข์ เป็นปฏิปักษ์กับความนึกคิดทางกุศลในการเสียสละความสุขส่วนตัวกับการออกบวชเพื่อระงับความอยากแห่งตัณหา [เนกขัมมวิตก] แต่เมื่อกล่าวถึงเฉพาะส่วนผู้ประสบความสำเร็จในทั้ง ๒ ฝั่งนั้น (๑) พระอรหันต์ [ปราชญ์มุนีพหูสูต] ผู้ประกอบด้วยวิชชากับจรณะ [ความรู้คู่คุณธรรม] กับ (๒) ดุษฎีบัณฑิต ผู้ประกอบด้วยความรู้ที่เรียกว่า เดรัจฉานวิชา อันไม่ใช่ปัญญาแห่งความหลุดพ้นจากวัฏฏะ ถึงแม้จะเรียกตำแหน่งสรรเสริญว่า ปราชญ์เมธี ก็ตาม แต่เป็นกระบวนการสร้างวิมานบนโลกขณะมีชีวิตอยู่ [ความรู้คู่กับเงินและอำนาจ] โดยการใช้ความรู้เอาเปรียบผู้อื่น เช่น เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือ ประชาชนผู้เสียภาษีให้รัฐ [ข้าราชการชั่วนักการเมืองเนรคุณประชาชนบริษัทชั่ว เป็นต้น] ความแตกต่างระหว่างบุคคล ๒ จำพวก นี้ อยู่ตรงที่เรื่อง ศีลธรรม [ปรมัตถสัจจะ] อันเป็นข้อประพฤติปฏิบัติแห่งอริยศีลที่ประเสริฐ อันเป็นจริงตามธรรมชาติ ไม่ใช่มนุษย์คิดขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาลาภสักการะ [กุศลกรรมบถ ๑๐: กายสุจริต ๓วจีสุจริต ๔มโนสุจริต ๓] กับ จริยธรรมจรรยาบรรณ [สมมติสัจจะ] อันเป็นค่านิยมของสังคมนั้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นความนึกคิดจากผู้มีอำนาจและเงินเป็นหลัก [อกุศลกรรมบถ ๑๐: กายทุจริต ๓วจีทุจริต ๔มโนทุจริต ๓] เพื่อปล้นสะดมคนอื่นกินอย่างถูกกฎหมาย คือ ทำชั่วได้โดยมีกฎหมายยอมรับ เรื่องนี้ถ้าไม่เชื่อว่าเป็นจริง ลองย่องไปดูทุกข์ของนักประดิษฐ์ก็แล้วกัน ไปจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรไว้ อย่านึกว่าปลอดภัย เดี๋ยวมีโจรมาปล้นสะดมความคิดไปจนได้ แค่เอาไปเพิ่มนอตหรือตะปูผีสักตัวสองตัว ก็จดทะเบียนลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรเป็นของตนเองได้ ถ้าเป็นพวกนายทุนมันก็ยิ่งหนักหน้าขึ้นไปอีก ขอส่วนแบ่งสูงถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ สงสัยจะเอาเงินไปเตรียมงานเผาศพผู้บังเกิดกล้ากระมัง ไอ้คนคิด ก็คิดเกือบตาย ได้แค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะบ้านเราไม่มีผู้จิตเป็นสาธารณกุศล ตั้งกองทุนเพื่อนักคิดค้นประดิษฐ์เป็นการเป็นงานจริงๆ คนรุ่นหลังจึงลำบากเช่นทุกวันนี้ การคืนทุนให้สังคมนั้น มันเป็นจิตสำนึกของผู้เจริญแล้ว ไม่ใช่ยิ่งรวย ก็ยิ่งต้องรวยขึ้นไปอีก คนรวยบ้านเมืองเรา ไม่รู้จักคำว่า กองทุน [Funds] กับคำว่า มูลนิธิ [Foundations] รู้จักเพียงร้านสะดวกซื้อ [Convenient Stores] เพราะฉะนั้น สังคมที่คนมีโอกาสไม่เท่าเทียมกัน จึงผิดศีลธรรมในความเป็นคนผู้มีมนุษยธรรม [ศีล ๕ธรรม ๕พรหมวิหาร ๔ เป็นต้น] ดัชนีบ่งบอกความเจริญทางวัฒนธรรมนั้น ให้พิจารณาจากค่าจ้างมือปืนในสังคมนั้นๆ บางแห่งแค่เลี้ยงส้มตำครกเดียว หรือให้บุหรี่ม้วนเดียว ก็ดับชีวิตคนอื่นได้ [ชีวิตคนราคาถูกกว่าหมา] มันเป็นหน้าที่ของคนทุกคนในสังคมที่จะต้องให้ความร่วมมือกัน ส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ไม่ใช่หน้าที่ของสถาบันการศึกษา เพราะครูเป็นหนี้สินพ้นตัว อย่าเอาชีวิตลูกหลานไปให้คนอื่นรับผิดชอบมากเกินไป ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันรักษาค่านิยมที่ดีในสังคม
ในสังคมที่ศิวิไลซ์ดีพร้อมแล้ว คนส่วนใหญ่มีการศึกษาถูกต้องตามเป็นจริง ไม่ใช่ให้พวกครูโรคจิตมาสอน ครูมีความคิดไม่สมประกอบกับเจ้าของสถาบันการศึกษาที่คิดผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงโดยวิปริตวิปลาสไป ครูผู้มีความรู้ดี นักบวชผู้ไม่ทุศีล นักปราชญ์ผู้สุขุม ย่อมเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญในสังคม ที่จะคอยชี้แนะเส้นทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องให้คนรุ่นหลัง เพราะไม่แฝงด้วยผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังการกระทำ สังคมบ้านเราครูเป็นหนี้ล้มละลายมีเปอร์เซ็นต์สูง ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน [ก็จำนวนหนี้ประมาณ ๕ แสนล้านบาท] เพราะอยากรวยจึงเป็นหนี้กันอย่างสนุกสนาน วัดก็มีแต่ผู้บวชคิดออกนอก [อยากไปต่างประเทศกับคิดออกนอกรีต] มิฉะนั้น จัดผ้าป่าสามัคคีตลอดปี นักปราชญ์ก็มีแต่ปราชญ์ขี้กลาก เรื่องนี้ทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบกันในสังคม ไม่ใช่ปล่อยมันไปตามบุญตามกรรม [ยถากรรม] มีผู้รู้ท่านหนึ่งมีวาทะว่า คนไทยไม่รู้จัก ๒ คำ คือ พอ กับ รอ จึงพากันไม่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นสุข [ดร.พงศ์ศักดิ์ ละไมพิศ ผู้คิดค้นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ในเซลล์ ที่ให้พลังงานชีวิต เพื่อระงับการใช้ยาเคมีที่ให้ผล ๒ อย่าง คือ ได้อย่างเสียอย่าง เช่น เบาหวานหาย ตับดีแต่เป็นโรคไต โรคความดันต่อ เป็นต้น บรรยายเรื่อง ไมโทคอนเดรีย Mitochondria คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง. ๒๕๕๘ สอบถามรายละเอียดที่ คุณพิชญา เข็ดกลัด 080-1899-461 หรือ 084-1632-148] ถ้าอยากทำบุญในวาระสำคัญใช้อาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ในเซลล์ของ ดร.พงศ์ศักดิ์ ละไมพิศ ถวายพระกัมมัฏฐานจะดีมาก เพราะท่านส่วนใหญ่สุขภาพไม่ค่อยดี เพราะฉันอาหารไม่ครบหมวดหมู่ ผู้ทำหน้าที่สืบพระศาสนาอย่างแท้จริง เพราะเรียนจริงทำจริงให้เห็นผลด้วยตนเอง ผู้เขียนก็ได้ซื้อถวายเป็นบางรูป เพราะทุนจำกัด และก็กินเองมาระยะหนึ่ง ให้ผลดีมากกับสุขภาพ จะได้มีเวลายืดไปอีกในการปฏิบัติธรรม ของเมืองนอกก็มีเหมือนกัน แต่แพงเกินไป ปัญญาในเรื่องนี้ เป็นปัญญาเรื่อง กลาปกลาปะ [หมอใหญ่ชีวกโกมารภัจจ์กล่าวไว้ด้วย] ที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มค้นพบความจริงในศตวรรษนี้เอง แนวโน้มการรักษาโรคในประเทศอังกฤษ เริ่มใช้วิธีการแพทย์ทางเลือกเพื่อเข้ารักษาตัวจุลินทรีย์ ที่เรียกว่า ไมโทคอนเดรีย [Mitochondria] ในประเทศไทยรู้สึกจะมีศูนย์ศึกษาเรื่องนี้อยู่ เคยเห็นออกรายการทีวี ที่รักษาคนป่วยผู้ชายเป็นมะเร็งผิวหนัง แต่ใช้เป็นชนิดน้ำรักษา ก็มีอาการดีขึ้น ผู้ปฏิบัติธรรมที่ป่วยเป็นโรคกรรมทั้งหลาย รักษาอย่างไรก็ไม่หายดีขึ้น ก็ลองมาศึกษาเรื่องนี้ดู ไม่บาป แต่เป็นสุคติในโลกนี้ มิฉะนั้น ก็หาเวลาปฏิบัติธรรมได้ยาก เพราะสังขารเป็นมารอุปสรรคปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงความดีหรือคุณธรรมได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น บรรดาจุลินทรีย์ที่อยู่ในเซลล์ของเรา เป็นสิ่งมีชีวิตรับรู้อารมณ์ของคนได้ด้วยจิตสัมผัส ที่เรียกว่า กระแสจิต จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นแหล่งผลิตพลังงานชีวิตในตัวมนุษย์ จนถึงการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรม [DNA] ถ้าจะเรียกว่า เจ้ากรรมนายเวรเทวดาประจำองค์ ก็ไม่น่าผิด กล่าวโดยสรุป ชีวิตของเราไม่ได้อยู่อย่างโดยเดียว แต่เราอยู่รวมกับสิ่งมีชีวิตตัวเล็กเต็มไปหมดในร่ายกายของเราทุกส่วน ท่านทั้งหลายต้องเลือกที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นมิตรหรือเป็นปฏิปักษ์กับเทวดาประจำองค์ของตน ก็ต้องเลือกเอง เพราะฉะนั้น ก็อย่าลืมแผ่เมตตาให้กับเทวดาประจำองค์ท่านเอง [ตนเอง ๑] ทุกคืนก็แล้วกัน รวมทั้งแผ่เมตตาให้ คนที่เรารัก ๑ คนที่กลางๆ ทั่วไป ๑ และ คนศัตรูคู่เวร ๑ ถ้าเรื่องนี้ไม่มีจริง คงไม่กล่าวถึงเรื่องการแผ่เมตตาใน อัปปมัญญาธรรม ไว้หรอก ทำดีๆ อาจได้สมาธิมาโดยไม่ลำบากนัก เพราะเทวดาทั้งหลายเห็นดีพร้อมด้วยกับคนทำความดี ตัวเราเองต้องดูแลตัวเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นมาคิดดูแลแทนตน อันเป็นเรื่องไร้ความรับผิดชอบในหน้าที่แห่งตน อันถือเป็นเรื่อง กายภาวนา นั่นเอง
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายต้องมีความสมบูรณ์ถึงพร้อมด้วย ภาวนา ๔ ได้แก่ (๑) กายภาวนา (๒) สีลภาวนา (๓) จิตตภาวนา และ (๔) ปัญญาภาวนา จึงจะสามารถพัฒนาตนให้เจริญก้าวหน้าถึง พระอรหันต์ ได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าเป็นคนมีอาการ ๓ วันดี ๔ วันไข้ ก็คงไม่ต้องไปไหนลงโลงอย่างเดียวในไม่ช้า เสียชาติมาเกิดเปล่าๆ ทำความดีไม่ทันการ ซึ่งเป็นคุณอันใหญ่ [โลกุตตรธรรม] ยิ่งถ้าคบกับเพื่อนพวกหมาๆ ด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ มีชีวิตที่ไร้ค่าสูญเปล่า มีแต่ชักชวนไปในทางอกุศล ในการปฏิบัติธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องอธิษฐานธรรมไว้ที่ พระนิพพาน เป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต จะไปถึงหรือไม่ถึงนั้น ค่อยว่ากันอีกทีหนึ่ง ทำตนให้เห็นเส้นทางเดินเข้าสู่กระแสนิพพานให้ชัดเจน มีทั้งลายแทงและเข็มทิศ พร้อมด้วยปัญญาเป็นอาวุธ อย่าเข้าไปในแดนสนธยานี้ ด้วยมือเปล่าและความน่าสมเพช เพราะการต่อสู้กับกิเลสนั้น มันยกทัพมาเป็นชุดๆ เป็นคณะๆ ไม่ใช่มาทีละตัวสองตัว อาวุธปัญญาไม่คมจริง ย่อมตัดขาดเส้นใยกับโลกสังขาร [วัฏฏะ] นี้ได้ยาก เพราะการต่อสู้กันนั้น ต้องต่อสู้ตามลำพังคนเดียว จิตใจต้องหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน [ปัญญาสัมปชัญญะ] เบาเหมือนปุยเมฆ [สมาถะสติ] มีความคล่องตัวใน สมาธิ [ฌาน] กับใน วิปัสสนา [ญาณ] เพราะฉะนั้น ต้องเป็นคนที่ไร้ปราณีกับกิเลสทั้งปวง ไม่สันโดษกับกุศลธรรม ไม่เห็นแก่นอน ประความเพียรด้วยความตื่นเสมอ [ชาคริยานุโยค] และ มี อินทรียสังวร กับ ไม่เห็นแก่กิน [โภชเนมัตตัญญุตา] ที่รียกว่า อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ทางดำเนินที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด เพราะฉะนั้น ในการบรรยายครั้งนี้ จะเป็นการชี้แนะถึงข้อประพฤติปฏิบัติใน ๓ ทิศทาง ได้แก่ (๑) อาวุธแห่งปัญญา นั่นคือ วิปัสสนาภูมิ ๖ [ปัญญาภูมิ] (๒) แผนที่ลายแทง นั่นคือ ปรมัตถปฏิปทา ๓ ที่จะนำไปสู่พระนิพพานให้ได้ และ (๓) เข็มทิศ นั่นคือ ขวัญกำลังใจ ที่จะสู้ให้ถึงผลสำเร็จแห่งการปฏิบัติธรรม ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องสร้างขึ้นเอาเอง ฉะนั้น ของกายสิทธิ์ ทั้ง ๓ อย่างนี้ มีจริงในตัวของผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่า ใครจะมีความคิดแยบคายด้วยอุบายวิธีที่จะนำเอาศักยภาพภายในตนเองออกมาได้มากแค่ไหน ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ก็มีใจของตนเองเป็นประธาน นั่นเอง ขอเพียงอย่างเดียว ให้คิดจริง ๑ ให้ทำจริง ๑ ดังคำชี้แนะดังต่อไปนี้
ว่าด้วย วิปัสสนาภูมิ ๖
วิปัสสนาภูมิ [ปัญญาภูมิ] หมายถึง ธรรมที่เป็นภูมิแห่งความรู้ชัดแจ้งของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ [ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ] ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง [ญาณในวิปัสสนา = ยถาภูตญาณ] ได้แก่ (๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘ (๔) อินทรีย์ ๒๒ (๕) อริยสัจจ์ ๔ (๖) ปฏิจจสมุปบาท และ (๗) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ รวมทั้ง (๘) กฎแห่งกรรม ในบรรดาธรรมแห่งวิปัสสนาภูมิเหล่านี้ จะต้องผุดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องเป็น สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ = อธิปัญญา [ความคิดโดยชอบความนึกคิดโดยชอบ ย่อมเป็นอริยสัจจ์หรือความจริงอันประเสริฐสุดแห่งกฎธรรมชาติที่เป็นสากลในธรรมทั้งปวง = ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม = ธรรมจักร ซึ่งได้ ดวงตาเห็นธรรมแห่งธรรมจักษุ หรือ เกิด อารมณ์แห่งธัมมปีติ ในความเป็นผู้ดื่มด่ำอิ่มเอิบในธรรม โดยเห็นธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาว่า: สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหลายย่อมดับไปเป็นธรรมดา คือ เกิดปัญญาเห็นธรรมโดย ปัจจยาการ หรือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า ธัมมัฏฐิติ คือ เกิดปัญญาเห็นธรรมตามที่เป็นจริงอันเป็นสากลหรืออันประเสริฐสูงสุดแห่งอริยะ นั่นคือ ปรมัตถสัจจะ แห่ง สังขตลักษณะ กับ อสังขตลักษณะ (เรียกว่า ธรรมฐิติ) หรือ ปัญญารอบรู้ชัดเจนใน ธรรมนิยาม ๓ โดยไตรลักษณ์ นั่นคือ การพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายโดยกลาป] ฉะนั้น ถ้าจิตไม่สัมปยุตต์ด้วยองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ วิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น ก็ถึงคราวล้มสลายแห่งวิบัติได้เสมอเพราะจนปัญญา ไม่ใช่มั่งมีปัญญาอันไพบูลย์ยิ่ง อันประเสริฐยอดเยี่ยมจริง [อริยะUniversality คือ มีความเป็นสากล] อย่างไรก็ตาม ให้นับจาก ภูมิธรรมที่ ๑ ถึง ๔ เป็นปัญญาหยั่งรู้ในการจำแนกแยก ธรรม ๒ [นามรูป] ได้แก่ (๑) รูปธรรม กับ (๒) นามธรรม โดยแยกเป็น (๑) ปัญญาในสมาธิ คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) ส่วน (๒) ปัญญาในวิปัสสนา คือ นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)
[A] ภูมิที่ ๑ ขันธ์ ๕ (๑) รูปขันธ์ มีหน้าที่แตกดับ (๒) เวทนาขันธ์ มีหน้าที่เสวยอารมณ์ (๓) สัญญาขันธ์ มีหน้าที่จำอารมณ์ (๔) สังขารขันธ์ มีหน้าที่ปรุงแต่งจิตหรือปรุงแต่งอารมณ์ (๕) วิญญาณขันธ์ มีหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์
ปรมัตถธรรม ๔ [จิตเจตสิกรูปนิพพาน] ย่อมสงเคราะห์ลงใน ขันธ์ ๕ แห่งปรมัตถธรรม [อภิธรรม] (๑) เอา รูปปรมัตถ์ ๒๘ [มหาภูตรูป ๔อุปาทายรูป ๒๔] เป็น รูปขันธ์ (๒) เอา เวทนาเจตสิก ๑ เป็น เวทนาขันธ์ (๓) เอา สัญญาเจตสิก ๑ เป็น สัญญาขันธ์ (๔) เอา สังขารเจตสิก ที่เหลือ ๕๐ [อภิสังขาร ๓: บุญบาปอาเนญชา] เป็น สังขารขันธ์ (๕) เอา จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง เป็น วิญญาณขันธ์ (๖) เอา นิพพาน ๑ เป็น ขันธ์วิมุตติ [วิมุตติขันธขันธวินิมุต: สอุปาทิเสสนิพพานอนุปาทิเสสนิพพาน] คือ พ้นจากขันธ์ ๕ [วิวัฏฏะ]
แสดง ขันธ์ ๕ เป็น ธรรม ๒: รูปธรรมนามธรรม [นามรูป] = รูป + เจตสิก + จิต คือ ขันธ์ ๕ (๑) รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม คือ รูปธรรม ๑ (๒) เวทนาขันธ์ เป็น นามธรรมเจตสิก คือ นามธรรมเจตสิก (๓) สัญญาขันธ์ เป็น นามธรรมเจตสิก คือ นามธรรมเจตสิก (๔) สังขารขันธ์ เป็น นามธรรมเจตสิก คือ นามธรรมเจตสิก (๕) วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรมเจตสิก คือ นามธรรมจิต ๑
เมื่อ (๑) รวม นามธรรมเจตสิก ๓ กับ นามธรรมจิต ๑ เป็น นามธรรมขันธ์ ๔ [นามขันธ์ ๔นามนามกาย] กับ รูปธรรม ๑ เป็น รูปธรรม [รูปขันธ์ ๑รูปรูปกาย] ซึ่งรวมกันทั้งหมดโดยเรียกย่อขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปธรรมนามธรรม [นามรูป: รูปกายนามกาย] นั่นเอง
[B] ภูมิที่ ๒ อายตนะ ๑๒ หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้
(๑) อายตนะ ๑๒ เป็น รูปธรรมนามธรรม [อารมณ์ ๖อินทรีย์ ๖] (๒) ตากับสี เป็น รูปธรรม และ เห็น เป็น นามธรรม (๓) หูกับเสียง เป็น รูปธรรม และ ได้ยิน เป็น นามธรรม (๔) จมูกกับกลิ่น เป็น รูปธรรม และ รู้กลิ่น เป็น นามธรรม (๕) ลิ้นกับรส เป็น รูปธรรม และ รู้รส เป็น นามธรรม (๖) อิริยาบถกับหัวใจ เป็น รูปธรรม และ ผู้สั่งหรือผู้รู้ เป็น นามธรรม
ในคำที่แสดงอาการว่า เห็นได้ยินรู้กลิ่นรู้รสผู้รู้ หมายถึง วิญญาณแห่งอินทรีย์ทั้ง ๖ ที่แจ้งในการเสวยอารมณ์ทั้ง ๖ ให้พิจารณาจำแนกธรรมเป็น การเกิดดับแห่งตัณหา ที่เรียกว่า ปิยรูปสาตรูป ๑๐ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖วิญญาณ ๖สัมผัส ๖เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖ตัณหา ๖วิตก ๖ โดยให้เปรียบเทียบกับปัจจัยธรรมทั้งหลายในหลักปฏิจจสมุปบาททั้ง ๑๒ องค์
[C] ภูมิที่ ๓ ธาตุ ๑๘ ๑. ธาตุรับ [อินทรีย์ ๖] (๑) จักขุธาตุ คือ ตา เป็นรูป (๒) โสตธาตุ คือ หู เป็นรูป (๓) ฆานธาตุ คือ จมูก เป็นรูป (๔) ชิวหาธาตุ คือ ลิ้น เป็นรูป (๕) กายธาตุ คือ กาย เป็นรูป (๖) มโนธาตุ คือ ใจ เป็นนาม
๒. ธาตุกระทบ [อารมณ์ ๖] (๗) รูปธาตุ คือ สี เป็นรูป (๘) สัททธาตุ คือ เสียง เป็นรูป (๙) คันธธาตุ คือ กลิ่น เป็นรูป (๑๐) รสธาตุ คือ รส เป็นรูป (๑๑) โผฏฐัพพพธาตุ คือ เครื่องสัมผัสกาย เป็นรูป (๑๒) ธรรมธาตุ คือ อารมณ์ทางใจ เป็นทั้งรูปทั้งนาม
๓. ธาตุที่รับรู้ [วิญญาณ ๖] (๑๓) จักขุวิญญาณธาตุ คือ เห็นสี เป็นนาม (๑๔) โสตวิญญาณธาตุ คือ ได้ยินเสียง เป็นนาม (๑๕) ฆานวิญญาณธาตุ คือ รู้กลิ่น เป็นนาม (๑๖) ชิวหาวิญญาณธาตุ คือ รู้รส เป็นนาม (๑๗) กายวิญญาณธาตุ คือ รู้สึกสัมผัสทางกาย เป็นนาม (๑๘) มโนวิญญาณธาตุ คือ รู้สึกนึกคิด เป็นนาม
ธาตุที่เป็นรูปโดยเฉพาะมี ๑๐ ธาตุ ที่เป็นนามโดยเฉพาะมี ๗ ที่เป็นได้ทั้งรูปทั้งนามมี ๑ เมื่อรวมธาตุทั้ง ๑๘ แล้ว ก็ ได้แก่ รูปธาตุ กับ นามธาตุ หรือ รูปธรรมนามธรรม [นามรูป] นั่นเอง
[D] ภูมิที่ ๔ อินทรีย์ ความเป็นใหญ่ มี ๒๒ องค์ธรรม คือ (๑) จักขุนทรีย์ คือ ตา เป็นรูป (๒) โสตินทรีย์ คือ หู เป็นรูป (๓) ฆานินทรีย์ คือ จมูก เป็นรูป (๔) ชิวหินทรีย์ คือ ลิ้น เป็นรูป (๕) กายินทรีย์ คือ กาย เป็นรูป (๖) อิตถินทรีย์ คือ หญิง เป็นรูป (๗) ปุริสินทรีย์ คือ ชาย เป็นรูป (๘) ชิวิตินทรีย์ คือ ชีวิต เป็นทั้งรูปทั้งนาม (๙) มนินทรีย์ คือ ใจ เป็นนาม (๑๐) สุขินทรีย์ คือ สุข เป็นนาม (๑๑) ทุกขินทรีย์ คือ ทุกข์ เป็นนาม (๑๒) โสมนัสสินทรีย์ คือ ดีใจ เป็นนาม (๑๓) โทมนัสสินทรีย์ คือ เสียใจ เป็นนาม (๑๔) อุเปกขินทรีย์ คือ เฉยๆ เป็นนาม (๑๕) สัทธินทรีย์ คือ ความเชื่อ เป็นนาม (๑๖) วิริยินทรีย์ คือ ความเพียร เป็นนาม (๑๗) สตินทรีย์ คือ ระลึกได้ เป็นนาม (๑๘) สมาธินทรีย์ คือ สมาธิ เป็นนาม (๑๙) ปัญญินทรีย์ คือ ความรู้ เป็นนาม (๒๐) อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ คือ รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ เป็นนาม (๒๑) อัญญินทรีย์ คือ รู้สิ่งที่รู้แล้ว เป็นนาม (๒๒) อัญญาตาวินทรีย์ คือ รู้จบแล้ว เป็นนาม
อินทรีย์ ๕ (๑) สัททินทรีย์ ความเชื่อ ศรัทธาเจตสิก (๒) วิริยินทรีย์ ความเพียร วิริยะเจตสิก (๓) สตินทรีย์ ความระลึกได้ สติเจตสิก (๔) สมาธินทรีย์ ความตั้งใจมั่น สมาธิเจตสิก (๕) ปัญญินทรีย์ ความรอบรู้ ปัญญาเจตสิก
อนึ่ง อินทรีย์ทั้ง ๒๒ นี้ ก็จัดเป็น รูปธรรม ๗ จัดเป็น นามธรรม ๑๔ เหล่านี้ เป็นได้ทั้ง รูปธรรมนามธรรม ๑ [อายตนะ ๑๒] ฉะนั้น รูปธรรมนามธรรม [นามรูปแห่งขันธ์ ๕] เหล่านี้ ที่มาเป็น อารมณ์ของวิปัสสนา (อารมณ์แห่งกรรมฐาน) เพราะเป็นธรรมที่ยืนให้พิสูจน์อยู่ทุกขณะ แต่อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ในวิปัสสนาภูมิ (๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘ และ (๔) อินทรีย์ ๒๒ ดังกล่าวนี้ เกี่ยวข้องกับนัยแห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [ทุกข์ทุกขสัจจ์ทุกขอริยสัจจ์] หรือที่เรียกว่า ทุกขตา ๓ หมายถึง ความเป็นทุกข์ภาวะแห่งทุกข์สภาพทุกข์ความเป็นสภาพที่ทนได้ยากหรือคงอยู่ในภาวะเดิมไม่ได้ ได้แก่ (๑) ทุกขทุกขตา คือ สภาพทุกข์คือทุกข์ หรือความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ ได้แก่ ทุกขเวทนาทางกายก็ตาม ใจก็ตาม ซึ่งเป็นทุกข์อย่างที่เข้าใจสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ (๒) วิปริณามทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงแปรไปเป็นอย่างอื่น (๓) สังขารทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร ได้แก่ตัวสภาวะของสังขาร คือ สิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ และให้เกิดทุกข์แก่ผู้ยึดถือด้วยอุปาทาน
เพราะฉะนั้น ธรรมใน ๔ กลุ่ม [วิปัสสนาภูมิ ๔: (๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘ และ (๔) อินทรีย์ ๒๒] นี้ คือ นามรูปแห่งขันธ์ ๕ ที่ยังปฏิสังยุตด้วย กิเลส [อกุศลธรรมทั้งปวง] ซึ่งหมายถึง สังขตธรรม อันจิตมนุษย์ปรุงแต่งขึ้น เพราะอยู่ใต้อำนาจการควบคุมโดย ตัณหาทิฏฐิมานะ [ปปัญจะ ๓: กิเลสเครื่องเนิ่นช้า กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา นั่นคือ อวิชชา หรือ โมหะ] ฉะนั้น สภาวธรรมที่เกิดจากเจตนาในการปรุงแต่งกรรมทั้ง ๓ ได้แก่ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑ นั้น จึงมีรากเหง้ามาจาก อกุศลมูล ๓: โลภะโทสะโมหะ [ทุกฺขมูลํ คือ รากเหง้าแห่งทุกข์ เพราะเป็น มูลแห่งวัฏทุกข์ หรือ อวิชชา ซึ่งประกอบด้วย ธรรม ๒ ได้แก่ (๑) มุฏฐสัจจะ คือ ไม่มีสติระลึกตามไปไม่ได้ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้นึกไม่ออกจำไม่ได้ ฟั่นเฟือน หลงลืม กับ (๒) อสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ความไม่รู้โดยสมควรความไม่รู้ตามความเป็นจริงความไม่แทงตลอดความไม่ถือเอาให้ถูกต้องความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบความไม่พินิจความไม่พิจารณาความไม่กระทำให้ประจักษ์ความทรามปัญญาความโง่เขลาความไม่รู้ชัดความหลงความลุ่มหลงความหลงใหลอวิชชาโอฆะคืออวิชชาโยคะคืออวิชชาอนุสัยคืออวิชชาปริยุฏฐานคืออวิชชาลิ่มคืออวิชชาอกุศลมูลคือโมหะ] องค์ความรู้ดังกล่าวทั้งหมดนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะเกิดปัญญารู้แจ้งได้ดีในการเจริญวิปัสสนาด้วย ปัจจยปริคคหญาณ [ธัมมัฏฐิติญาณธรรมฐิติ] (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี [ทิพพจักขุญาณ] ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี [ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖: อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒] เป็นต้น และในขณะจิตเป็นสมาธิด้วย จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น การเชื่อมต่อกันระหว่าง (๑) วิปัสสนาภูมิ ๔ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ กับ (๒) วิปัสสนาภูมิ ๓ ได้แก่ อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ซึ่งในอันดับต่อไป จึงจะเป็นปัญญา ๒ อย่าง ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ (๑) อาสวักขยญาณ (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓) คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะความตรัสรู้ กับ (๒) สัมมสนญาณ (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖) คือ ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ ภาจะจิตในสมาธิและวิปัสสนาเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น เรียกว่า ธรรมสามัคคี หรือ ญาณสัมปยุตต์ ที่มีความเข้าใจถูกต้องแห่งธรรมทั้งหลายที่มาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันในเวลาพร้อมเพรียงกัน [สหชาตธรรมสหวุฒิ] ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ จะเป็นปัญญาหยั่งรู้ (๑) ในฝ่ายสมาธิ คือ ยถาภูตญาณทัสสนะ และ (๒) ในฝ่ายวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณ ๙มหาวิปัสสนา ๑๘ [วุฏฐานคามินีปฏิปทา] ซึ่งจะเป็นบาทฐานสำคัญในความตรัสรู้ซึ่งอริยสัจจธรรมทั้งปวง [อริยสัจจ์ ๔ = อาสวักขยญาณสัมโพธะสัมโพธิญาณ] ด้วย ปัญญาเห็นธรรม [ธรรมจักษุ] โดยหลักปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง ฉะนั้น การพิจารณาเห็นเรื่อง นามรูปแห่งตัณหา [ความเกิดดับแห่งนามรูปโดยหลักปฏิจจสมุปบาทกับไตรลักษณ์อันเป็น สัมปยุตตธรรม ในภูมิวิปัสสนา] ที่ทำให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ [อุปาทิ] อันนำมาซึ่ง ความเป็นทุกข์ทุกขตา [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] ที่เรียกว่า ปิยรูปสาตรูป ๑๐ ดังนี้
ปิยรูปสาตรูป ๑๐ หมายถึง สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา หรือมุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา ซึ่งทำให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ] เพราะความไม่รู้แจ้งแห่ง อวิชชา ที่เรียกว่า วัฏฏะ ๓ [ปฏิจจสมุปปันนธรรม] หมายถึง วงจร ๓ ส่วนประกอบแห่งองค์ ๑๒ อย่าง ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ นั่นคือ (๑) กิเลสวัฏฏ์: อวิชชาตัณหาอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์: สังขารภพ และ (๓) วิปากวัฏฏ์: วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาชาติชรามรณะ และพร้อมด้วยอกุศลวิบากผลที่ตามมา นั่นคือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ดังนี้ (๑) อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ จักขุโสตะฆานะชิวหากายใจ (๒) อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ (๓) วิญญาณ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณโสตวิญญาณฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณกายวิญญาณมโนวิญญาณ (๔) สัมผัส ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสโสตสัมผัสฆานสัมผัสชิวหาสัมผัสกายสัมผัสมโนสัมผัส (๕) เวทนา ๖ ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนาโสตสัมผัสสชาเวทนาฆานสัมผัสสชาเวทนาชิวหาสัมผัสสชาเวทนากายสัมผัสสชาเวทนามโนสัมผัสสชาเวทนา (๖) สัญญา ๖ ได้แก่ รูปสัญญาสัททสัญญาคันธสัญญารสสัญญาโผฏฐัพพสัญญาธรรมสัญญา (๗) สัญเจตนา ๖ ได้แก่ รูปสัญเจตนาสัททสัญเจตนาคันธสัญเจตนารสสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนาธรรมสัญเจตนา (๘) ตัณหา ๖ ได้แก่ รูปตัณหาสัททตัณหาคันธตัณหารสตัณหาโผฏฐัพพตัณหาธรรมตัณหา (๙) วิตก ๖ ได้แก่ รูปวิตกสัททวิตกคันธวิตกรสวิตกโผฏฐัพพวิตกธัมมวิตก (๑๐) วิจาร ๖ ได้แก่ รูปวิจารสัททวิจารคันธวิจารรสวิจารโผฏฐัพพวิจารธัมมวิจาร
แต่อย่างไรก็ตาม ในการบรรยายธรรมด้วยภาษาเขียนนี้ อาจเกิดอุปสรรคแก่ผู้ไม่ชอบทักษะการอ่าน ซึ่งมีความแตกต่างจากทักษะการฟัง แต่ในทักษะการอ่านนั้น ผู้อ่านมีเวลาเพียงพอในการทำความเข้าใจในระดับลึกซึ้งกว้างไกลได้ เพราะผู้อ่านเป็นฝ่ายควบคุมจังหวะการอ่านเอาเอง ไม่เหมือนการฟัง ผู้ควบคุมจังหวะความเร็วหรือความช้า ขึ้นอยู่กับผู้พูดเป็นสำคัญ ที่จะประสานกับผู้ฟังอย่างไร อนึ่ง ในสังคมที่พัฒนาแล้ว พลเมืองผู้เรียนรู้จะมียอดการอ่านเอกสารต่างๆ สูง ต่างกับบางสังคมที่ยังมีสถิติคนอ่านหนังสือไม่ออกและแถมอยู่ในเมืองหลวงด้วยที่เป็นตัวเลขสูง คือ โง่เบาปัญญาไปตามบรรพบุรุษ [โง่โดยสายพันธุ์ แม้จะกินสารไอโอดินจากเกลือแกงมาก ก็ยังช่วยอะไรไม่ได้ เพราะอิทธิพลทางครอบครัว ต้องการรักษาความเงาประจำตระกูลและเผ่าพันธุ์] เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนานั้น จึงเป็นการวิวัฒน์ปัญญาขั้นสูงสุดแห่งมวลมนุษยชาติ ไม่ใช่ของคนเผ่าใดเผ่าหนึ่งที่เป็นเจ้าของผูกขาด พระอรหันต์อุบัติขึ้นได้บนโลกใบนี้ โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้มีมาตุภูมิเฉพาะภาคใดภาคหนึ่ง นั่นคือ พระอรหันต์อุบัติเกิดขึ้นได้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมประเทศที่พัฒนาแล้ว มีภพภูมิที่สมบูรณ์ในการเกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรม มากกว่าสังคมที่มีคนจนทุกข์ยากปากหมองเกลื่อนสังคม มักบอกว่า ไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม เพราะไม่มีอะไรจะกินทั้งบ้าน [คติพจน์รถเมล์สาย 3746 มีวาทะว่า: คนขึ้นรถคันนี้ รวยๆ กันทุกคน รวยก็เป็นก็คน จนก็เป็นก็หมา สรุป: คนจนคือหมา คนรวยคือเทวดา ฉะนั้น จึงแปลว่า: จะรวยด้วยอะไรคนในสังคมนี้ไม่สนใจ เพราะสังคมบูชาเงิน ฉะนั้น จึงได้ดีกันทั้งสังคมเช่นทุกวันนี้ ท่านทั้งหลายไม่รู้สึกอายบ้างหรือ ที่มีพี่น้องร่วมชาติอดอยากและยากจน ยังหน้าด้านอยู่ได้หรือ นี่คือ คำถามระดับปรมัตถ์เชี่ยวน่ะ] อีกนัยหนึ่ง พระพุทธศาสนาย่อมไปเจริญในถิ่นที่ควรเจริญ ที่มีคนมีปัญญาอยู่เยอะๆ มารวมกัน ไม่ใช่สังคมปัญญาอ่อน เป็นพวกลิงได้พลอย มีของดีอยู่คู่กับบ้านเมือง ยังไม่รู้จักใช้ของดี กับไปใช้ อวิชชาไสยาศาสตร์ แทน ไปรบกวนเหล่าบรรดาทวยเทพกันวุ่นวาย เป็นที่น่าอับอายสังคมที่เขาเจริญแล้ว ไม่ยอมเข้าใจเรื่อง ปัญญาเป็นหลัก [อัตตหิตสมบัติ คือ ความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน] เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า อันเกี่ยวเนื่องกับ ความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้ คนชาวพุทธทั้งหลายจึงควรเป็นคนพึ่งพาตนเองในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะบุคคลผู้มีความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน หรือความตรึกปลอดจากกาม ที่เรียกว่า เนกขัมมวิตก แปลว่า ออกบวชถือเพศเป็นสมณะ ก็ให้เจริญปัญญาจริงๆ พึ่งปัญญาตนเองจริงๆ ทำจริงด้วยใจทั้งปวง คือ พิจารณาดูรู้เห็นเพ่งในใจของตนเอง ไม่ใช่ใจของคนอื่น สังคมที่อุดมด้วยคนชั่ว จะพัฒนาอย่างไร มันก็พัฒนาได้ยาก เพราะคนส่วนใหญ่มันเห็นแก่ตน ไม่มีศาสนา เป็นพวกนอกรีตพระศาสนาเป็นที่สุด ประการสำคัญ พวกคนเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมของท่านผู้มีความเจริญแล้วเช่นกัน เพราะถือเป็นกรรมร่วมระดับเผ่าพันธุ์ ยกเว้น จะหนีไปอยู่ในภูมิที่เจริญแล้ว ก็อยู่ที่นี้ แล้วยกประคองจิตให้สูงขึ้นด้วยการปฏิบัติธรรม แล้วบอกให้คนรอบข้างรู้ด้วย ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์อยู่คนเดียว ผีบ้ารอบข้างมันไม่เข้าใจ พากันนึกคิดว่าท่านเป็นบ้าไปเสียอีก เรื่องนี้ก็เป็นข้อเตือนใจ เพราะท่านขาด กรุณาธรรม นั่นเอง ฉะนั้น ปัญญากรุณา เป็นมหาโพธิสมภารเครื่องแห่งความตรัสรู้อริยสัจจธรรมในพระธรรมวินัยนี้ สรุป ผู้ปฏิบัติธรรมต้องพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายโดยรอบด้าน ที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้องกับตนเสมอ ไม่ใช่คิดถึงแต่ประโยชน์ตนเองเท่านั้น
[E] ภูมิที่ ๕ อริยสัจจ์ ๔ (๑) ทุกขสัจจ์ องค์ธรรม ได้แก่ รูป ๒๘ จิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ คือ รูปนาม เว้นโลภะ ๑ ทุกข์จริงๆ (๒) สมุทัยสัจจ์ องค์ธรรม ได้แก่ โลภะ เจตสิก ๑ เหตุให้เกิดทุกข์จริงๆ (๓) นิโรธสัจจ์ องค์ธรรม ได้แก่ นิพพาน ดับทุกข์จริงๆ (๔) มัคคสัจจ์ องค์ธรรม ได้แก่ มรรค ๘ ได้ถึงความดับทุกข์จริงๆ
พระโยคาวจร ที่ต้องการรู้ธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง ต้องทำหน้าที่แห่งกิจในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ได้แก่ (๑) รู้ทุกข์ [ปริญญา] (๒) ละสมุทัย [ปหานะ] (๓) ทำนิโรธให้แจ้ง [สัจจิกิริยา] และ (๔) เจริญมรรค [ภาวนา] จนกว่าจะถึงที่สุด ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
อริยสัจจ์ ๔ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยเจ้าผู้พ้นแล้วจากโลกียภูมิ ๓ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยบุคคล ประกอบด้วยองค์ธรรมต่อไปนี้ (๑) ทุกข์ คือ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (๒)ทุกขสมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา โดยย่อว่า ตัณหาเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ (๓) ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือ นิพพาน โดยย่อว่า นิพพานเกิดจากการหลุดพ้นกองทุกข์ทั้งหลาย (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือ มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง โดยย่อว่า หนทางแห่งการดับทุกข์เกิดจากมัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงใน ไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ไตรสิกขา (สิกขา ๓) หมายถึง ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ได้แก่ (๑) อธิปัญญาสิกขา คือ ความรู้ความเข้าใจ และความคิดที่ถูกต้อง [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] (๒)อธิศีลสิกขา คือ การควบคุมพฤติกรรม [สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ] (๓) อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกฝนจิตหรือสมาธิภาวนา [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ]
กิจในอริยสัจจ์ ๔ คือ ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นใน อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจจ์หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ (๑) ปริญญา คือ การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ โดยการกำหนดขอบเขตของปัญหาแห่งทุกข์ให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง (๒) ปหานะ คือ การละ เป็นกิจในโดยการกำจัด ทำให้หมดสิ้นไป หรือแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา (๓) สัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ โดยทำให้แจ้ง เข้าถึง บรรลุถึงภาวะที่ปราศจากปัญหาหรือบรรลุจุดหมายที่ต้องการ (๔) ภาวนา คือ การเจริญ เป็นกิจในมรรค โดยควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ด้วยการลงมือแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ในขณะนั้น
ในการมนสิการกรรมฐานนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมก้าวถึง ปัจจเวกขณญาณ นั้น คือ ญาณทบทวนถึง กิจในอริยสัจจ์ ๔ ซึ่งจะสัมพันธ์กับ ญาณ ๓ คือ ความหยั่งรู้ เมื่อเกิดเป็น สัมปยุตตธรรม กันและกัน เรียกว่า ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ อันถือเป็นขั้นตอนใน ความตรัสรู้ ส่วนหนึ่ง ได้แก่ (๑) สัจจญาณ คือ หยั่งรู้สัจจะ นั่นคือ ความหยั่งรู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒) กิจจญาณ คือ หยั่งรู้กิจ นั่นคือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ (๓) กตญาณ คือ หยั่งรู้การอันทำแล้ว นั่นคือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำเสร็จแล้ว
[F] ภูมิที่ ๖ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (๑) อวิชชา คือ โมหะนาม (๒) สังขาร คือ นาม ได้แก่ สังขาร ๓ หรือสังขาร ๖ องค์ ธรรมปรมัตถ์ ได้แก่ เจตนา ๒๙ ในอกุศล ๑๒ มหากุศล ๘ มหัคคะตะกุศล ๙ (๓) วิญญาณ คือ วิญญาณจิต เป็นนาม (๔) นามรูป คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ นามและรูป (๕) สฬายตนะ คือ อายตนะ ๖ เป็นรูปธรรมนามธรรม (๖) ผัสสะ คือ ผัสสะเจตสิก เป็นนาม (๗) เวทนา คือ เวทนาเจตสิก เป็นนาม (๘) ตัณหา คือ โลภะเจตสิก เป็นนาม (๙) อุปทาน คือ โลภะเจตสิก เป็นนาม (๑๐) ภพ คือ เจตนาเจตสิก เป็นนาม (๑๑) ชาติ คือ วิปากปฏิสนธิ เป็นรูปนาม [เกิด] (๑๒) ชรามรณะ คือ อาการของรูปนาม [แก่ตาย]
ปฏิจจสมุปบาท ย่อมเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
วิธีตั้งสติกำหนดปัจจุบันธรรมของรูปนาม (๑) ทางตา ขณะเห็นตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า สีเป็นรูปเห็นเป็นนาม (๒) ทางหู ขณะได้ยินเสียงตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า เสียงเป็นรูปได้ยินเป็นนาม (๓) ทางจมูก ขณะรู้กลิ่นตั้งสติไว้ที่จมูก กำหนดว่า กลิ่นเป็นรูปรู้เป็นนาม (๔) ทางลิ้น ขณะรู้รสตั้งสติไว้ที่ลิ้น กำหนดว่า รสเป็นรูปรู้เป็นนาม (๕) ทางกาย ขณะที่รู้สึกสัมผัสเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตั้งสติไว้ที่กาย กำหนดว่า เย็นเป็นรูปรูปเป็นนาม ร้อนเป็นรูปรู้เป็นนาม อ่อนเป็นรูปรู้เป็นนาม แข็งเป็นรูปรู้เป็นนาม (๖) ทางใจ ขณะนึกคิดตั้งสติไว้ที่ใจ กำหนดว่า หัวใจเป็นรูปนึกคิดเป็นนาม ยืนเป็นรูป รู้เป็นนาม ก้าวเป็นรูปรู้เป็นนาม นั่งเป็นรูปรู้เป็นนาม เคลื่อนเป็นรูปรู้เป็นนาม ปวดเป็นรูปรู้เป็นนาม หัวใจเป็นรูปเสียดเป็นนาม หัวใจเป็นรูปความดีใจเสียใจหรือทุกข์ใจ ด้วยประการต่างๆ เหล่านี้ เป็นเพราะเวทนาขันธ์ และโทสะจิต ซึ่งเป็นนามธรรมทั้งนั้น จึงเป็นนามธรรม
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ หมายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น ดังนี้
อนุโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายสมุทัย (๑) เพราะ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ปัจจัยธรรม จึงมี (๒) เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (๓) เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (๔) เพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (๕) เพราะ นามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (๖) เพราะ สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (๗) เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี (๘) เพราะ เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี (๙) เพราะ ตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (๑๐) เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี (๑๑) เพราะ ภพ เป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (๑๒) เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายนิโรธ (๑) เพราะ อวิชชา สำรอกดับไปไม่เหลือ (๒) เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ (๓) เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ (๔) เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ (๕) เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ (๖) เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ (๗) เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ (๘) เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ (๙) เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ (๑๐) เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ (๑๑) เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ (๑๒) เพราะ ชาติ ดับ ชรามรณะ จึงดับ ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
สำหรับ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ถือเป็นฝ่ายสมุทัย คือ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท เพียงแต่นำองค์ประกอบปัจจัยทั้ง ๑๒ อย่าง มาจำแนกแจกตามหลักธรรมย่อย ปัจจัยธรรม ส่วนเรื่อง กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ นั้น อยู่ใน วัฏฏะ ๓ไตรวัฏฏ์ ดังนี้
๑. อัทธา ๓ (Periods) อัทธา ๓ หมายถึง กาลเวลาทั้ง ๓ ช่วง ได้แก่ (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต = ชาติชรา มรณะ (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส)
๒. สังเขป ๔ (Sections) สังเขป ๔ (สังคหะ ๔) หมายถึง ช่วงองค์ประกอบปัจจัยสืบเนื่องกันด้วยเหตุและผลเป็นระยะ ๔ หมวด หรือแยกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล = ชาติชรามรณะ (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส)
๓. สนธิ ๓ (Connections) สนธิ ๓ หมายถึง ขั้วต่อ ระหว่างสังเขป หรือช่วงทั้ง ๔ ได้แก่ (๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล (๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ (๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
๔. วัฏฏะ ๓ (Cycles) วัฏฏะ ๓ (ไตรวัฏฏ์) หมายถึง การวน วงเวียน องค์ประกอบปัจจัยใหญ่ที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของ ภวจักร หรือ สังสารจักร ดังนี้ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ได้แก่ อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ได้แก่ สังขารและกรรมภพ (อภิสังขาร ๓ หรือ เจตนา) (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ได้แก่ วิญญาณนามรูปสฬายตนะ ผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติขึ้น ชาติชรามรณะความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ
๕. อาการ ๒๐ (Modes) อาการ ๒๐ หมายถึง องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (Causes) และส่วนผล (Effects) ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา
หมายเหตุ: อาการ ๒๐ คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็มในทุกช่วงของ สังเขป ๔
๖. มูล ๒ (Roots) มูล ๒ หมายถึง กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่ (๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน (๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต
ในอันดับต่อไป ให้พิจารณาในเรื่อง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา ตามบทสวดมนต์ ดังนี้
กฎแห่งกรรม (The Law of Volitional Actions) กฎข้อที่ ๑ กัมมัสสะโกมมะหิ (เรามีกรรมเป็นของๆ ตน) กฎข้อที่ ๒ กัมมะทายาโท (เราเป็นผู้รับผลของกรรม) กฎข้อที่ ๓ กัมมะโยนิ (เรามีกรรมเป็นกำเนิด) กฎข้อที่ ๔ กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์) กฎข้อที่ ๕ กัมมะปะฏิสะระโณ (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย) กฎข้อที่ ๖ ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราจักทำกรรมอันใดไว้) กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา (ดีหรือชั่วก็ตาม) ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ)
กฎแห่งกรรม มี ๖ ประการ อันเป็นปัญญาฝ่ายสมาธิ [จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ ข้อ ๒ ในวิชชา ๓ อันเป็นปัญญาเห็น กฎแห่งกรรม กับ กฎกรรมของสัตว์กัมมัสสกตา] ได้แก่ (๑) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน (๒) สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม (๓) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นกำเนิด (๔) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (๕) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นที่พึ่ง (๖) กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายโดยให้เลวและประณีต
นอกจากนี้ ยังหลักธรรม ปัจจัย ๒๔ ที่มีลักษณะกระบวนการคิดคล้ายคลึงกับ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ซึ่งเป็นการอธิบายลักษณะความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ปัจจัย ๒๔ [อยู่ในบทสวดพระอภิธรรม ข้อนี้มีประโยชน์สำหรับนักวิจัยในการอภิปรายผลการ วิจัย เพราะเป็นการแยกความสัมพันธ์ออกเป็น ๒๔ ประการ และเป็น มหาปัฏฐาน แห่งพุทธปัญญา] หมายถึง ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไข ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง และย่อมเห็นผลแห่งอกุศลวิบากที่ตามมา คือ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เช่นกัน ได้แก่ (๑) เหตุปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเหตุ (๒) อารัมมณปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ (๓) อธิปติปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าใหญ่ (๔) อนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง (๕) สมนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที (๖) สหชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดร่วมกัน (๗) อัญญมัญญปัจจัย คือ ปัจจัยโดยอาศัยซึ่งกันและกัน (๘) นิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย (๙) อุปนิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า (๑๐) ปุเรชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดก่อน (๑๑) ปัจฉาชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดทีหลัง (๑๒) อาเสวนปัจจัย คือ ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน (๑๓) กรรมปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง (๑๔) วิปากปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นวิบาก (๑๕) อาหารปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง (๑๖) อินทรียปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าการ (๑๗) ฌานปัจจัย คือ ปัจจัยโดยภาวะจิตที่เป็นฌาน (๑๘) มรรคปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นมรรค (๑๙) สัมปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยประกอบกัน (๒๐) วิปปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน (๒๑) อัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องมีอยู่ (๒๒) นัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่มีอยู่ (๒๓) วิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องปราศไป (๒๔) อวิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่ปราศไป
หมายเหตุ: การกำหนดนั้นต้องกำหนดให้เป็น อารมณ์เดียว [อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ = จตุตถฌาน] นั่นคือ อย่าให้เป็นอารมณ์คู่ จึงจะสามารถรู้แจ้งใน สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม ได้ คือ ต้องการรู้แจ้งรูปนามตรงที่กำหนดอยู่ว่า รูปนามตรง นั้นเอง ไม่ใช่ไปรู้รูปนามที่ไหน ตัวอย่าง ก้าวเป็นรูปรู้เป็นนาม ก็พิจารณา ก้าวเป็นรูป นั้น สภาวะขณะกำลังก้าวเป็นอย่างไร รู้เป็นนาม ขณะกำลังก้าวไปนั้นมีความรู้ พร้อมอยู่ด้วยให้ดูสภาวความรู้ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เมื่อพิจารณาตรงที่เป็นปัจจุบันนี้ ทำบ่อยๆ เข้าก็จะรู้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรมได้เด่นชัดมากขึ้น ย่อมตรงต่อคำที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา [ดวงตาเห็นธรรม = ธรรมจักร] ไม่ว่า อารมณ์ ๖: ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ ก็ตาม บำเพ็ญเพียรประกอบด้วย ศีลสมาธิปัญญา [ไตรสิกขา] แก่กล้าแล้ว ก็จะสามารถทำลาย ความโลภความโกรธความหลง [อกุศลมูล ๓] คือ ความไม่รู้ เป็นต้น ให้ออกไปจาก ขันธสันดาน [พื้นจิต] ด้วยความไม่ประมาท ทำให้สตินทรีย์ไม่หวั่นไหว จนไม่เผลออยู่ทุกเมื่อในที่ทุกสถาน [มีสติสัมปชัญญะ นั่นคือ อธิจิตต์ที่สหรคตด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] ก็จะพ้นจาก อกุศลธรรม เหล่านี้ได้
โดยหลักทั่วไปอันเป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ประเสริฐสูงสุดเป็นสากลแห่งอริยสัจจ์ทั้งหลายนั้น (๑) สมถะ ทำให้เกิด ปัญญาในสมาธิ ได้แก่ วิชชา ๓อภิญญา ๖ (๒) วิปัสสนา ทำให้เกิด ปัญญาในวิปัสสนา ได้แก่ อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖ พละกำลังในฌานทั้ง ๒ นี้ ได้แก่ (๑) สมถพละเจโตวิมุตติ = อารัมมณูปนิชฌาน คือ การเพ่งอารมณ์แห่งกรรมฐาน กับ (๒) วิปัสสนาพละปัญญาวิมุตติ = ลักขณูปนิชฌาน คือ การเพ่งลักษณะไตรลักษณ์ ที่เรียกว่า สามัญลักษณะ อันเป็นข้อแห่งความหลุดพ้น โดยเกิดปัญญาเห็นธรรม ที่เรียกว่า ธรรมฐิติธรรมนิยาม นั่นคือ (๑) สุญญตะอนัตตตา คือ ความว่างความไม่ใช่ตัวตน (๒) อนิมิตตะอนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง และ (๓) อัปปณิหิตะทุกขตา คือ ความแปรปรวนความทุกข์ ฉะนั้น สมถะกับวิปัสสนาต่างก็มีวัตถุประสงค์พึงหลุดพ้นด้วยการตรัสรู้ใน อริยสัจจธรรม [อริยสัจจ์ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐเป็นสากลแห่งกฎธรรมชาติ ที่จะอธิบาย ปรากฏการณ์ทั้งหลายแห่งสรรพสิ่ง ได้ครบถ้วน นั่นคือ สภาวธรรม ไม่ว่าจะเป็น สังขตธรรม หรือ อสังขตธรรม ก็ตาม] มิฉะนั้น ผู้ปฏิบัติก็ต้องถึงคราว ฉิบหายเสียคุณอันใหญ่ ที่จะมีโอกาสบรรลุถึง โลกุตตรธรรม ได้ ปัญญาทั้งหลายที่มาประชุมสัมปยุตต์กันครั้งใหญ่ในคราวเดียวกัน [ญาณสัมปยุตต์ นั่นคือ โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ ญาณวิปปยุตต์ นั่นคือ อโยนิโสมนสิการ] จึงกลายเป็น ฌานปัจจัย กับ มรรคปัจจัย ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมผู้นั้น เกิด (๑) ทัสสนานุตตริยะ คือ การเห็นอันเยี่ยม นั่นคือ การเห็นนิพพานด้วย ปัญญาเห็นธรรม [ธัมมัฏฐิติญาณ] (๒) ปฏิปทานุตตริยะ คือ ข้อปฏิบัติอันเยี่ยม นั่นคือ การเจริญมรรคปฏิปทาด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ [อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณญาณทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘] และ (๓) วิมุตตานุตตริยะ คือ ความหลุดพ้นอันเยี่ยม นั่นคือ อรหัตตผลวิมุตติสัมมาวิมุตติ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญญาในวิปัสสนานั้น หมายเอา ญาณ ๑๖โสฬสญาณ แห่งการตรัสรู้ อริยสัจจ์ ๔ เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอนของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
การเข้าถึงวิปัสสนาภูมิแห่งจตุอริสัจจธรรม [อริยสัจจ์ ๔] ด้วย โสฬสญาณ ทั้ง ๑๐ ขั้นตอน ได้แก่ (๑) นามรูปปริจเฉทญาณ (๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘ (๔) อินทรีย์ ๒๒ (๒) ปัจจยปริคคหญาณ (๑) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (๒) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ (๓) กฎแห่งกรรม (๓) สัมมสนญาณ (๑) ไตรลักษณ์ (๒) กลาปสัมมสนะ [ญาณอยู่ระหว่างสัมมสนญาณกับอุทยัพพยญาณ] (๔) วิปัสสนาญาณ ๙ [วุฏฐานคามินีปฏิปทาการทุบขันธ์ ๕] (๑) อุทยัพพยญาณ (๒) ภังคญาณ (๓) ภยญาณ (๔) อาทีนวญาณ (๕) นิพพิทาญาณ (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ (๗) ปฏิสังขาญาณ (๘) สังขารุเปกขาญาณ (๙) อนุโลมญาณ (๕) โคตรภูญาณ (๖) มรรคญาณ [ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ = โลกุตตรญาณ] (๑) โสดาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค (๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค (๗ ผลญาณ [สัมมาญาณวิมุตติญาณทุกขนิโรธญาณ = โลกุตตรญาณ] (๑) โสดาปัตติผล (๒) สกทาคามิผล (๓) อนาคามิผล (๔) อรหัตตผล (๘) ปัจจเวกขณญาณ [ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ = โลกิยญาณ] (๑) ญาณทัสสนะ ๑๙ (๒) ญาณทัสสนะ มีอาการ ๑๒ (๙) อาสวักขยญาณ [โลกุตตรญาณ] (๑) อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔ (๑๐) พระนิพพาน [บรมธรรม = โลกุตตรญาณ] (๑) สอุปาทิเสสนิพพาน (๒) อนุปาทิเสสนิพพาน [อรหัตตผลวิมุตติสัมมาวิมุตติ]
ฉะนั้น เมื่อนำหลักธรรม ญาณ ๑๖โสฬสญาณ ไปประยุกต์ใช้กับหลักธรรมอื่นๆ เพื่อความตรัสรู้สัมโพธิญาณให้ได้นั้น พอสรุปได้ ๓ แนวทาง ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น ปัญญารอบรู้ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นและดับไปพร้อมๆ กันในภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้แก่ [A] แนวทางปฏิบัติตามธรรมสมาธิ [B] แนวทางปฏิบัติตามสมธรรม [C] แนวทางปฏิบัติตามวิสุทธิมรรค
[A] แนวทางปฏิบัติตามธรรมสมาธิ
[วินัยเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นที่สุด] (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171172 FILE 01)
ก็อีกประการหนึ่ง กุศลธรรม เหล่าใด ซึ่งมี สังวร เป็นมูล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว บุคคลผู้ทรง วินัย นั่นแล ชื่อว่า เป็นทายาทแห่งกุศลธรรม เหล่านั้น เพราะธรรมเหล่านั้น มี วินัย เป็นมูล [ข้อ ๔ข้อ ๘ เรียกว่า ธรรมสมาธิ ๕]สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:
(๑) วินัย [ศีลวัตร] ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สังวร [ความสำรวม] (๒) สังวร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อวิปปฏิสาร [ความไม่เดือดร้อน] (๓) อวิปปฏิสาร ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปราโมทย์ [ความปราโมทย์] (๔) ปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปีติ [ความอิ่มใจ] (๕) ปีติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ปัสสัทธิ [ความสงบ] (๖) ปัสสัทธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สุข [ความสุข] (๗) สุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ สมาธิ [ความตั้งใจมั่น] (๘) สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ยถาภูตญาณทัสสนะ [ความรู้เห็นตามเป็นจริง] (๙) ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ นิพพิทา [ความเบื่อหน่าย] (๑๐) นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิราคะ [ความสำรอกกิเลสมรรคญาณ] (๑๑) วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติ [ความหลุดพ้นผลวิมุตติ] (๑๒) วิมุตติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติญาณทัสสนะ [ความรู้เห็นความหลุดพ้นผลญาณปัจจเวกขณญาณ] (๑๓) วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ อนุปาทาปรินิพพาน [ความดับสนิทหาเชื้อมิได้อาสวักขยญาณ]
อย่างไรก็ตาม ก็ให้เกิดปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ [ปฏิภาณปฏิสัมภิทา] ด้วย เพื่อให้เข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งในเรื่องแหล่งกำเนิดแห่งธรรมทั้งปวงดียิ่งขึ้น ให้พิจารณาถึงแนวทางในการศึกษาค้นคว้าวิจัยธรรมทั้งหลายในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า ไตรสิกขาสิกขา ๓ [ศีลสมาธิปัญญา: อธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา] ที่สัมปยุตต์ด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ [อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือ อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณญาณทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘] ดังนี้
[๑] อธิสีลสิกขาปัญญาในศีล: สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๑) วินัย คือ พุทธบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่ และกำกับความประพฤติ (๒) สังวร คือ ความสำรวม การระวังปิดกั้นบาปอกุศล (๓) อวิปปฏิสาร คือ ความไม่เก้อเขิน ความไม่ร้อนใจ ย่อมไม่มีแก่ผู้ทุศีล มีแก่ผู้มีศีลสมบูรณ์ * ให้พิจารณาสมาทานประพฤติได้ด้วย ศีล ๕เบญจศีล = เบญจธรรม [เมตตาและกรุณาสัมมาอาชีวะกามสังวรสัจจะสติสัมปชัญญะ] [๒] อธิจิตตสิกขาปัญญาในสมาธิ: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [สมาธิภาวนา ๔: ทิฏฐธัมมสุขวิหารสติสัมปชัญญะญาณทัสสนะอาสวักขยญาณ] (๔) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส (๕) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ (๖) ปัสสัทธิ คือ ความสงบผ่อนคลายรื่นสบาย (๗) สุข คือ ความรื่นใจไร้ความข้องขัด (๘) สมาธิ คือ ความสงบตั้งมั่นสนิทของจิตใจ (๙) ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง = วิปัสสนาอย่างอ่อนตรุณวิปัสสนา [ญาณ ๔: สังขารปริจเฉทญาณกังขาวิตรณญาณสัมมสนญาณมัคคามัคคญาณ] * ให้พิจารณาทำสมาธิให้ถึงจตุตถฌาน [ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘รูปฌาน ๔ (จิตปราศจากนิวรณ์)อรูปฌาน ๔] ปฏิสังยุตด้วย วิชชา ๓อภิญญา ๖ = สมธรรม [๓] อธิปัญญาสิกขาปัญญาในวิปัสสนา: สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ (๑๐) นิพพิทา คือ ความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง = วิปัสสนามีกำลังพลววิปัสสนา [ญาณ ๔: ภยตูปัฏฐานญาณอาทีนวญาณมุญจิตุกัมยตาญาณสังขารุเปกขาญาณ] (๑๑) วิราคะ คือ ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ [วัฏฏูปัจเฉท] = มรรค (๑๒) วิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ = อรหัตตผล [อรหัตตผลวิมุตติ] (๑๓) วิมุตติญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย = ปัจจเวกขณญาณ [ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ มีคุณ ๑๙ ประการอาสวักขยญาณมีอาการ ๖๔] (๑๔) อนุปาทาปรินิพพาน คือ การดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ [อนุปาทิเสสนิพพาน] * ให้พิจารณาสภาวธรรมในมนสิการกรรมฐานด้วย มหาวิปัสสนา ๑๘อริยมรรค ๔ = สมธรรม
[B] แนวทางปฏิบัติตามสมธรรม
[๗๒๕] คำว่า สมธรรม [ธรรมสงบธรรม ๓๗ ประการ] ความว่า: (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 802 FILE ๖9)
[I] ฝ่ายสมถพละ [ปัญญาในสมาธิอารัมมณูปนิชฌาน] [๑] ในอันดับ ข้อ ๑๗ คือ ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘ [ปริตตะกามาวจร] (๑) เพราะท่านละ กามฉันทะ ได้แล้ว เนกขัมมะ จึงเป็น สมณธรรม [Monastic Observances] (๒) เพราะท่านละ พยาบาท ได้แล้ว อัพยาบาท จึงเป็นสมธรรม (๓) เมื่อท่านละ ถีนมิทธะ ได้แล้ว อาโลกสัญญา จึงเป็นสมธรรม (๔) เพราะท่านละ อุทธัจจะ ได้แล้ว อวิกเขปะ จึงเป็นสมธรรม (๕) เพราะท่านละ วิจิกิจฉาได้แล้ว ธรรมววัตถาน จึงเป็นสมธรรม (๖) เพราะท่านละ อวิชชา ได้แล้ว ญาณ [ฌาน] จึงเป็นสมธรรม (๗) เพราะท่านละ อรติ ได้แล้ว ปราโมทย์ จึงเป็นสมธรรม
หมายเหตุ: นับจากขั้นนี้ไป เรียกว่า กุศลธรรมทั้งปวง = (๑) มหัคคตะ [คั่นระหว่าง กามาวจร กับ โลกุตตระ] และ (๒) อัปปมาณะ
[๒] ในอันดับ ข้อ ๘๑๑ คือ รูปฌาน ๔ [มหัคคตะรูปาวจร] (๘) เพราะท่านละ นิวรณ์ ได้แล้ว ปฐมฌาน [วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๙) เพราะท่านละ วิตกวิจาร ได้แล้ว ทุติยฌาน [ปีติสุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๑๐) เพราะท่านละ ปีติ ได้แล้ว ตติยฌาน [สุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๑๑) เพราะท่านละ สุข ได้แล้ว จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา = จิตประภัสสร] จึงเป็นสมธรรม
[๓] ในอันดับ ข้อ ๑๒๑๕ คือ อรูปฌาน ๔ [มหัคคตะอรูปาวจร] (๑๒) เพราะท่านละ รูปสัญญาปฏิฆสัญญานานัตตสัญญา ได้แล้ว อากาสานัญจายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๓) เพราะท่านละ อากาสานัญจายตนสัญญา ได้แล้ว วิญญาณัญจายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๔) เพราะท่านละ วิญญาณัญจายตนสัญญา ได้แล้ว อากิญจัญญายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๕) เพราะท่านละ อากิญจัญญายตนสัญญา ได้แล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม
[II] ฝ่ายวิปัสสนาพละ [ปัญญาในวิปัสสนาลักขณูปนิชฌาน]
[๔] ในอันดับ ข้อ ๑๖๓๓ คือ มหาวิปัสสนา ๑๘ [คั่นระหว่าง มหัคคตะอัปปมาณะ] (๑๖) เพราะท่านละ นิจจสัญญา ได้แล้ว อนิจจานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๗) เพราะท่านละ สุขสัญญา ได้แล้ว ทุกขานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๘) เพราะท่านละ อัตตสัญญา ได้แล้ว อนัตตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๙) เพราะท่านละ นันทิสัญญา [ความเพลิดเพลิน] ได้แล้ว นิพพิทานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๐) เพราะท่านละ ราคสัญญา ได้แล้ว วิราคานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๑) เพราะท่านละ สมุทยสัญญา ได้แล้ว นิโรธานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๒) เพราะท่านละ อาทานสัญญา [ความสำคัญโดยความถือมั่น] ได้แล้ว ปฏินิสสัคคานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๓) เพราะท่านละ ฆนสัญญา [สำคัญว่าเป็นก้อน] ได้แล้ว ขยานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๔) เพราะท่านละ อายูหนา [การประมวลมา] ได้แล้ว วยานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๕) เพราะท่านละ ธุวสัญญา [สำคัญว่ายั่งยืน] ได้แล้ว วิปริณามานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๖) เพราะท่านละ นิมิตตสัญญา ได้แล้ว อนิมิตตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๗) เพราะท่านละ ปณิธิสัญญา [การตั้งมั่นแห่งกิเลส] ได้แล้ว อัปปณิหิตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๘) เพราะท่านละ อภินิเวส [ยึดมั่นอัตตาภินิเวส] ได้แล้ว สุญญตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๙) เพราะท่านละ สาราทานาภินิเวสะ [ยึดมั่นด้วยยึดถือว่าเป็นสาระ] ได้แล้ว อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา จึงเป็นสมธรรม [การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง] (๓๐) เพราะท่านละ สัมโมหาภินิเวส [ยึดมั่นด้วยความลุ่มหลง] ได้แล้ว ยถาภูตญาณทัสนะ จึงเป็นสมธรรม (๓๑) เพราะท่านละ อาลยาภินิเวส [ยึดมั่นในอาลัย] ได้แล้ว อาทีนวานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๓๒) เพราะท่านละ อัปปฏิสังขา [ไม่พิจารณา] ได้แล้ว ปฏิสังขานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๓๓) เพราะท่านละ สังโยคาภินิเวสะ [ยึดมั่นในการประกอบกิเลส] ได้แล้ว วิวัฏฏนานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม
[๕] ในอันดับ ข้อ ๓๔๓๗ คือ อริยมรรค ๔ [โมนะ = ญาณในอริยมรรค ๔ หรือ อัปปมาณะโลกุตตระ] (๓๔) เพราะท่านละ กิเลสอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ได้แล้ว โสดาปัตติมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๕) เพราะท่านละ กิเลสอย่างหยาบ ได้แล้ว สกทาคามิมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๖) เพราะท่านละ กิเลสอย่างละเอียด ได้แล้ว อนาคามิมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๗) เพราะท่านละ กิเลสทั้งปวง ได้เด็ดขาดแล้ว อรหัตตมรรค จึงเป็นสมธรรม
[C] แนวทางปฏิบัติตามวิสุทธิมรรค
วิสุทธิ ๗ หมายถึง ความหมดจดความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย นั่นคือ นิพพาน กล่าวอีกนัยหนึ่ง วิสุทธิ ๗ หมายถึง ขั้นตอนการชำระ ศีลสมาธิปัญญา แห่งไตรลิกขา ให้หมดจดจากกิเลสทั้งปวง อันได้แก่ (๑) วีติกกมกิเลส (๒) ปริยุฏฐานกิเลส และ (๓) อนุสยกิเลส ในทุกขั้นตอนของการกำจัดกิเลสทั้งหลายนั้น อาศัยจิตที่ปราศจากนิวรณ์ [จิตประภัสสร: ไม่สหรคตด้วย กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง = สติ] กับปัญญาที่บริสุทธิ์ [อุเบกขาแห่งตัตรมัชฌัตตตา: ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ เพราะมีปัญญารู้รอบด้วยญาณในวิปัสสนาทั้งหลาย = สัมปชัญญะ] ดังนี้
[๑] ฝ่ายอธิสีลสิกขา (ธรรมวินัยปิฎกทั้งปวง = สุตมยญาณ) (๑) สีลวิสุทธิ ปาริสุทธิศีล ๔ [ปาฏิโมกขสังวรศีลอินทรียสังวรศีลอาชีวปาริสุทธิศีลปัจจัยสันนิสิตศีล (ปัจจัยปัจจเวกขณ์พิจารณาปัจจัย ๔)] ศีล ๕ [สมาทานศีล] อีกนัยหนึ่ง สีลวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งศีล นั่นคือ รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ วิสุทธิมัคค์ว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔
[๒] ฝ่ายอธิจิตตสิกขา (สุตตันตปิฎกทั้งปวง = สุตมยญาณ) โดยรวมเป็น ภาวนามยปัญญา (๒) จิตตวิสุทธิ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔ [สมาบัติ ๘ฌานสมาบัติ] สัญญาเวทยิตนิโรธ [นิโรธสมาบัติ] วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖ญาณ ๓ [อตีตังสญาณอนาคตังสญาณปัจจุปปันนังสญาณ ในอัทธา ๓ หรือกาลทั้ง ๓ อย่าง] อีกนัยหนึ่ง จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต นั่นคือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา วิสุทธิมัคค์ว่า ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอุปจาร
[๓] ฝ่ายอธิปัญญาสิกขา (อภิธรรมปิฎกทั้งปวง = สุตมยญาณ) โดยรวมเป็น ภาวนามยปัญญา (๓) ทิฏฐิวิสุทธิ ปุพเพนิวาสานุสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ [ทุกขญาณ] อีกนัยหนึ่ง ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั่นคือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริงเป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์ [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] (๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ จุตูปปาตญาณ [ทิพพจักขุญาณ] ปัจจยปริคคหญาณธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณ [สมุทยญาณทุกขสมุทยญาณ] อีกนัยหนึ่ง กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ นั่นคือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ และ จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ (๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ สัมมาทัสสนะอุทยัพพยญาณ อีกนัยหนึ่ง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง นั่นคือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย [ไตรลักษณ์สามัญลักษณะ ได้แก่ อนิจจังทุกขัง อนัตตา] อันเรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือวิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมี วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณ นั้นต่อไป ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์ (๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ วิปัสสนาญาณ ๙: อุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณนิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ พร้อมสัมปยุตต์ด้วย โคตรภูญาณ อีกนัยหนึ่ง ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน นั่นคือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึง สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิด โคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่ง ความเป็นปุถุชน กับ ความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ ๙ [กระบวนการทุบขันธ์ ๕] (๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคญาณ [ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ] พร้อมสัมปยุตต์ด้วย ผลญาณ [นิโรธญาณ]ปัจจเวกขณญาณอาสวักขยญาณ [อานันตริกสมาธิญาณ] นิพพาน [ทุกขนิโรธญาณ] หลังจากนั้น ย่อมเกิด จตุปฏิสัมภิทาญาณปฏิสัมภิทา ๔ [ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ข้อ ๑ ในอรหันต์ ๕)] ได้แก่ อรรถปฏิสัมภิทาญาณธรรมปฏิสัมภิทาญาณนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ฉะนั้น สัจจภาวะแห่งความเป็นพุทธะ [จตุสัจจพุทธะพระอรหันตขีณาสพ] ย่อมถึงความไพบูลย์ด้วยโลกุตตรธรรมทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ นั่นคือ ความรู้ใน อริยมรรค ๔มรรคญาณ [ปัญญาอริยะโลกุตตรปัญญา] อันเกิดถัดจาก โคตรภูญาณ เป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจาก มรรคญาณ นั้นๆ ความเป็นอริยบุคคล ย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ตามรายละเอียดเนื้อหาสาระที่บรรยายมาข้างต้นนั้น ก็ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรม มีเข้าถึง ธัมมปีติ คือ เกิดความอิ่มเอิบดื่มด่ำในธรรมทั้งปวงอย่างลึกซึ้งกว้าวไกลด้วย ธรรมสามัคคี ที่มาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวใน อริยมรรคมีองค์ ๘ [ซึ่งประกอบด้วยปัญญาคู่ต่อไปนี้: ปัจจัตตลักษณะสามัญลักษณะ: UniquenessUniversality หรือ อนุโลมปฏิโลม: DeductionInduction หรือ วิเคราะห์สังเคราะห์: AnalysisSynthesis] ก็อย่าเกิด ปัญญาหางอึ่ง [หรือเพียง เดรัจฉานวิชา อย่างเดียว แค่เอาตัวรอดได้เปรียบเหนือคนอื่น คือ อิ่มอยู่คนเดียว นั้น มันไม่อร่อย เพราะไม่รู้จักคำว่า จาคะ คือ เสียสละด้วยการแบ่งปันทั้งทรัพย์สินและปัญญา] อันหมายถึง อสัมปชัญญะ [ไม่มีปัญญาแห่งโยนิโสมนสิการในการไตร่ตรองแห่งวิจารเจตสิก] กับ มุฏฐสัจจะ [ไม่มีสติความระลึกได้ที่จะมีความนึกคิดแห่งวิตกเจตสิก] นั่นคือ อวิชชาโมหะ แต่ให้เกิดปัญญาเข้าถึง ปรมัตถสัจจะ อย่างแท้จริง ให้ทบทวนแนวทางประพฤติปฏิบัติอันเป็น สัมมาปฏิปทาอันยิ่ง เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสวัฏฏะ [โลกธรรม ๘] ไปสู่ภพภูมิแห่งวิวัฏฏะ [บรมธรรมแห่งพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น] ด้วยหลักวิปัสสนากัมมัฏฐานใน ๓ ประการ ดังนี้ [A] แนวทางปฏิบัติตามธรรมสมาธิ [B] แนวทางปฏิบัติตามสมธรรม [C] แนวทางปฏิบัติตามวิสุทธิมรรค
ฉะนั้น การเห็นประโยชน์ส่วนตนก่อนนั้น คือ (๑) ปัญญาอัตตนาถะ [อัตตหิตสมบัติ คือ ความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน] กับ (๒) กรุณาโลกนาถ [ปรหิตปฏิบัติ คือ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น] ในปัจจัยทั้ง ๒ ประการ นี้ คือ พุทธคุณ ๒ หรือเรียกว่า มหาโพธิสมภาร อันเป็นคุณสมบัติที่เกื้อกูลความเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประพฤติปฏิบัติมาดีแล้ว [ญายธรรม] นอกจากนี้ ก็อย่าลืมว่า พระไตรปิฎก คือ หลักธรรมคำสอน พระสัตถุสาสน์ พุทธวาทะ [อริยสาวกวาทะ] พระศาสนา พระสัทธรรม พระธรรมวินัย หรือ การประพฤติพรหมจรรย์ [พรหมจริยา] อันเป็น (๑) หลักพระศาสนา [พระพุทธศาสนา: The Religion of Buddhism] และเป็น (๒) หลักปรัชญา [พุทธปรัชญา: The Philosophy of Buddhism] ในเวลาเดียวกัน และในส่วนที่เป็น โลกียะ [ภาวะแบบโลกๆ] ที่เรียกว่า (๓) วิทยาศาสตร์ นั้น คือ พุทธศาสตร์ [The Science of Buddhism] อันเป็นต้นแบบแห่งความเชื่อ ความศรัทธา ความเลื่อมใส ภูมิหลังแห่งทฤษฎี ที่มีคุณูประการยิ่งในศาสตร์สมัยใหม่ ที่พระศาสดาทรงค้นพบและเห็นตามเป็นจริงมาเกือบ ๒,๖๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว...นิ สิ่งที่เป็นหลักธรรมคำสอนอันเป็นแก่นแท้ของพระศาสนานั้น ชาวพุทธต้องเข้าใจให้ลึกซึ้งและกว้างไกลแห่งความเป็นสากลด้วยกฎธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ใช่รู้แบบงูๆ ปลาๆ ให้เสียชาติเกิดเปล่าๆ ในทางกลับกัน มนุษย์คนไทยที่ว่าตนนับถือพระพุทธศาสนา ลองคิดหวนกลับจากความสำคัญผิดในตนว่าเป็น ผู้รู้มาก [จบปริญญาเอก] แล้วไตร่ตรองถึงพุทธปรัชญากับพระพุทธศาสนาใหม่ เอาให้แจ่มแจ้งแดงแจ๋ คิดแบบผู้ศิวิไลซ์อันพึงเป็น ไม่ใช่พวกสถุลต่ำทรามปัญญาคิดกัน ว่า บุคคลที่เป็นนักศาสนา นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ คนแรกของโลกนั้น คือใครกันแน่ โดยพิจารณาเอาเกณฑ์เวลาเป็นหลัก อย่าไปยึดแบบพวกฝรั่งขี้กลากคิดกัน ที่มีความคิดลำเอียงเชิงชาติพรรณอยู่แล้ว [อย่าใช้ส้นตีนคิด] เช่น วัตถุโบราณบ้านเชียงที่จังหวัดอุดรธานี เป็นอารยธรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก มากกว่าอารยธรรมของชาวอิยิปต์ [Egypt] แต่นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งไม่ยอมรับเฉยๆ เพราะมันเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกใหม่ไปเลย เป็นต้น ก็อย่าไปเถียงให้เสียขี้ฟันเปล่าๆ เพราะไปชนะเขาแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรต่อ หมดปัญญา มีแต่พวกขุดของเก่าไปขายกันในตลาดพระเครื่องเท่านั้น ถ้าไปคิดมาก เดี๋ยวก็มีพวกมาบอกว่า เดี๋ยวโลกจะแตกแล้วไม่เกิด ๑๐๐ ปี หลุดดำจะมากินโลกไปด้วย [พอกับข่าวลือเรื่อง วันสิ้นสุดโลกDoomsday เมื่อปี 1999 จะมีดาวเคราะห์มาเรียงกัน ๑๐ ดวง มีพระอาทิตย์ขึ้น ๒ ดวง ประเทศไทยมามากกว่านั้น เป็นแสนๆ ดวง คือ คนหัวล้านมากขึ้น เป็นที่สะท้อนแสงแดด ทำให้โลกร้อนก็ได้ เราลืมคิดไปเรื่องนี้ แต่จริงๆ มีแต่เรื่องนักเรียนขี้แตกกับตดแตกเพราะอาหารเป็นพิษ อย่างนี้แหละ โลกแตกจริงๆ ไม่เชื่อก็ลองดู อาหารเป็นพิษ เพราะอาหารการกินของคนไทยสกปรกมีสารพิษเจือปนมาก เลือกกินเอาเอง สุขภาพคนไทยอ่อนแอ โดยเฉพาะสมองมีอาการเริ่มอ่อนตั้งแต่เด็กแรกเกิด คงจะมาเลือกเกิดเป็นคนโง่ อะไรทำนองนั้น] สำหรับเรื่องการคิดนอกกรอบนั้น สังคมไทยยังไม่ค่อยยอมรับ เพราะชินคุ้นเคยกับความคิดแบบเก่า ล้าสมัย พอตนเองแก่ลง ก็คิดสมประโยชน์กับแนวความคิดนั้นๆ รักษาผลประโยชน์ให้ตนมากที่สุด กดหัวพวกคนรุ่นใหม่ให้โง่ หลงในอบายมุขเข้าไว้ แทนที่จะช่วยกันส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้มีปัญญาไพบูลย์เช่นแนวคิดในแบบพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง มิฉะนั้น จะโง่กันแบบซ้ำซ้อนเป็นนิตยกาล คนดีถ้ามีจริง ก็ออกมาแสดงฤทธิ์ได้แล้ว หดหัวเป็นลูกเต่าอยู่ทำไม ออกมาช่วยสังคมในทางตรงหรือทางอ้อมกันดีกว่า อย่างน้อยก็เป็นผู้รู้ ผู้เป็นปราชญ์ ชี้แนะแนวทางดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คนละไม้คนละมือ อย่าไปรอให้นกกระสาบินลงมาช่วยเลย ให้พึงตนเองดีที่สุด หลักดำเนินชีวิตตามคำสอนพระพุทธเจ้านั้น เป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ง่าย ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันในทุกสายอาชีพ ไม่ใช่พูดตรัสไว้ให้แก่ผู้เป็นสมณเพศเพียงอย่างเดียว ไปอ่าน เมื่อรู้เข้าใจถูกต้องแล้ว ก็นำมาปฏิบัติให้เห็นจริง โดยเฉพาะ การทำอานาปานสติสมาธิ จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานให้ดีขึ้น เพราะไม่โง่เขลาเบาปัญญา มัวแต่ส่งไลน์หาโคตรเหง้าอะไรก็ไม่รู้ อย่าไปส่งจิตออกข้างนอกให้หมาตื่น ไก่ตื่น กันเลย มองดูจิตของตนเอง มันเป็นอย่างไร พร้อมด้วยนึกตรองถึงขณะหายใจเข้ากับหายใจออก แล้วจิตมันเป็นอย่างไง อย่าไปคิดเรื่องอื่น แล้วนำเทคนิคนี้ ไปใช้กับการทำงาน การประกอบอาชีพอย่างจริงจัง ไม่คิดเรื่องอื่น คิดเฉพาะเรื่องที่อยู่ข้างหน้าตน มองให้เห็นประโยชน์จากอดีต ไปถึงอนาคต และปัจจุบัน มันเป็นอย่างไร จะทำอย่างไร แล้วหายใจเข้า กับหายใจออก อย่าลืมลมหายใจของตนเองนั้นแหละ ตัวการสร้างฤทธิ์ปัญญาให้แก่ตนเอง ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ดีพอ ก็จะกลายร่างจาก (๑) หมากลายเป็นคน [อบายภูมิ] (๒) จากคนกลายเป็นมนุษย์ [กามาวจรภูมิ] (๓) จากมนุษย์กลายเป็นพรหม [รูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ] (๔) จากพรหมกลายเป็นเทพเทวดา [โลกุตตรภูมิอปริยาปันนภูมิ (ขั้นที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ ระดับที่ไม่ถูกจำกัด)] ได้จริงๆ แต่จะทำตนจากหมากลายเป็นเทพเทวดาเลยนั้น ย่อมเป็นได้ยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย ต้องค่อยๆ ประพฤติปฏิบัติสะสมบารมีไปเรื่อยๆ ใจร้อนไม่ได้มรรคผลอย่างแน่นอน แต่ถ้าชอบอยู่กับหมา [คนชั่วมหาโจร] คิดว่าหมามันซื่อสัตย์กว่าคน ก็เชิญตามสบายตามอัทธายาศรัย แล้วมาบอกว่าปฏิบัติธรรม มันเสียเวลาเปล่าๆ เพราะไม่ผ่านข้อมีสติสัมปชัญญะ เพราะอยู่ด้วยความประมาทธรรม แทนที่จะเป็น อัปปมาทะ คือ ความไม่ประมาท ก็อย่าฝันถึงธรรมขั้นสูงอีกเลย นั่นเอง ในความเป็นจริง เขาพากันเป็นพระพุทธเจ้ากันเงียบๆ เขาทำกันแบบนี้ ตามที่กล่าวมาข้างต้น เขาทำกันมาเกือบ ๒,๖๐๐ ปี ผ่านมาแล้ว ไม่ใช่พึ่งจะทำกันเมื่อวานนี้ จนรวบรวมเป็นหนังสือ ตำรา คัมภีร์ ที่เรียกว่า พระไตรปิฎก แล้วยังโง่ไม่รู้อีกหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในชีวิต ไม่ใช่เรื่องมาพูดคุยกันเล่น ฆ่าเวลารอดูพระอาทิตย์ตกดิน แล้วเข้าคอกนอนแข่งกับวัวกับควายหรือเป็ดไก่ ลองศึกษาอ่านพระไตรปิฎกดูให้เข้าใจ แล้วจะเห็นอะไรดีๆ อีกเยอะเลย ดีกว่าไปกล่าวนินทาสรรเสริญกรรมดีกรรมชั่วของคนอื่น แล้วด่าลูกหลานให้คนชั่วในกลุ่มฟัง เดี๋ยวพระอาทิตย์ก็ตกดินอีก หมดไปอีกวัน ยังไม่คิดอะไรได้ เดี๋ยวก็ถึงเวลามฤตยู ได้แก่ แก่ชรา เจ็บป่วยพยาธิ ตายห่ามรณะ พร้อมด้วยสังกิเลสทั้งหลาย [โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส] ก่อนเวลาอันควร ตายแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลย ตายแบบไม่มีสติสัมปชัญญะ อยู่ไปก็รกโลกเปล่าๆ เป็นตัวอย่างไม่ดีให้คนรุ่นหลัง เรื่องดีๆ มีให้ทำ ก็ไม่ยอมทำ เป็นบ้ากับเรื่องชาวบ้านโง่ๆ รอบบ้านเปล่าๆ แทนที่จะค้นหาพระอริยสงฆ์ นึกตรองถึงข้อประพฤติปฏิบัติจริยาอันงามแห่งโลกุตตรภูมิของท่าน ที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ แปลว่า ให้พากันปฏิบัติธรรม เดี๋ยวมันตายก่อนเวลาอันควร จะพากันนอนเฝ้าบ้านเฝ้าเรือนสมบัติอะไรกัน ไม่ใช่หมา [อ้างอิงตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกครั้ง หมานี้สำคัญมาก อย่าไปนึกเป็นมันเชียวน่ะ หมาที่เป็นสุนัขนั้น มันน่ารักพอสมควร แต่หมาอยู่ในคนนั้น ชาวบ้านเขาเรียกว่า สันดานหมา แปลว่า มีมิจฉาทิฏฐิในพื้นจิต มีความต้องการธรรมแห่งความหลุดพ้นมากเป็นพิเศษ] ให้เวลาดูใจตนเองดีกว่า อย่าไปเพ่งหมาอีกเลย [คบคนชั่วเป็นมิตร] ท่านผู้เจริญแล้ว เพ่งพิจารณาจิตของตน ดูให้เห็นความแจ้ง ความสว่าง ความสงบ ที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง นั่นคือ หันมาพูดคุย คิดไตร่ตรองถึงเรื่อง พระนิพพาน [นั่นคือ กถาวัตถุ ๑๐: ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ๑๐ วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์] ดีกว่ากันเยอะเลย ด้วยประการฉะนี้.
|