๒๕. การให้คุณค่าสภาวธรรมตามเป็นจริง The Fair Value Based on a Real Situation
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การเจริญภาวนาหรือการมนสิการกรรมฐานในพระพุทธศาสนานั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อให้เกิดความรู้เห็นประจักษ์แจ้งตามเป็นจริงของ ธรรมสภาวธรรมปรมัตถสัจจะ จนสามารถหาข้อสรุปในเชิงทฤษฎีได้จริง คือ การเกิด (๑) ปัญญาเห็นธรรม และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรม โดยข้อความหลุดพ้นโดยไตรลักษณ์ ด้วยพลังกำลังของ (๑) ฝ่ายสมถภาวนา กับ (๒) ฝ่ายวิปัสสนาภาวนา ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ (สมาธิสมถะฌานทัสสนะ) กับ ยถาภูตญาณทัสสนะ (ปัญญาวิปัสสนาญาณสัมมสนะ) กล่าวโดยย่อ นั่นคือ จิตที่สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย จิตปราศจากนิวรณ์ ทำให้เกิด ญาณทัสสนะ ตามมา ที่เกิดจาก สติสัมปชัญญะ (สติคือทัสสนะ และ สัมปชัญญะคือญาณ นั่นคือ จิตตัวผู้วิปัสสนา) ที่แรงกล้าให้เกิดปัญญาเห็นธรรมได้ ที่เรียกว่า วิชชา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ และ อภิญญา คือ ความรู้ยิ่ง ส่งผลให้เกิด ญาณ คือ ความรู้ชัด ความหยั่งรู้ ในวิปัสสนาภูมิ ที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ (รวมทั้ง ญาณ ๑๖โสฬสญาณ) หมายถึง ปัญญาหยั่งรู้ในวิปัสสนา องค์ความรู้ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ซึ่งเป็นการต่อยอดความรอบรู้จากปัญญา ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) สุตมยปัญญาปรโตโฆสะ กับ (๒) จินตามยปัญญาโยนิโสมนสิการ ฉะนั้น ภาวนามยปัญญา จึงเป็นปัญญาที่เหนือกว่าปัญญาใดๆ ตามคติโลก (เดรัจฉานวิชาจากอนุบาลถึงปริญญาเอก) เพราะเป็นการหยั่งรู้และการหยั่งเห็นที่เกิดจากจิตตสมาธิ (จตุตถฌาน) กับวิปัสสนาญาณ (ญาณทัสสนวิสุทธิมัคคญาณ) นั่นคือ ทั้งสมาธิและปัญญารวมกันพิจารณาสภาวธรรมจนรู้เห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์อย่างเท่าเทียมกัน นั่นคือ (๑) สมาธิ ๓: สุญญตสมาธิอนิมิตตสมาธิอัปปณิหิตสมาธิ กับ (๒) วิโมกข์ ๓: สุญญตวิโมกข์อนิมิตตวิโมกข์อัปปณิหิตวิโมกข์ นั่นเอง.
บทความที่ ๒๕ ประจำปี ๒๕๕๙ การให้คุณค่าสภาวธรรมตามเป็นจริง
พระอริยเจ้าทั้งหลายนั้น ย่อมหมั่นเพียรรักษาอารมณ์แห่งกรรมฐาน ให้เกิดความมั่นคงเที่ยงแท้และดำรงอยู่ในความสงบสุข (อุปสมะ) ปราศจากกิเลสทั้งหลาย (นิโรธะอาสวักขยะ) เพื่อให้จิตประกอบด้วยปัญญาที่เห็นธรรมตามเป็นจริง (ธรรมฐิติญาณ) และให้เกิดปัญญาตรัสรู้ธรรมตามสภาวะต่างๆ (สัมโพธิญาณ) ที่จิตไปกระทบกับอารมณ์ต่างๆ ที่แวะเยือนเข้ามาในจิตใจหรือจิตวิญญาณในทุกขณะจิต การเข้าถึงความจริง (สัจจธรรม) กับความรู้แจ้งความรู้วิเศษ (วิชชา) นั้น ยอมทำให้เกิดภาวการณ์ตรัสรู้ได้ เพราะจิตให้คุณค่าตามความเป็นจริงโดยปรมัตถ์ (สัมมาทัสสนะ) คำว่า ความจริงสัจจธรรม นั้น ประกอบด้วย (๑) สมมติสัจจะสังขตธรรมโลกียธรรม กับ (๒) ปรมัตถสัจจะอสังขตธรรมโลกุตตรธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเข้าใจอย่างถูกต้องทั้ง ๒ ประการ นั้นเป็นอย่างอี ถ้าพูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง และจะไปพูดภาษาธรรมรู้เรื่องได้อย่างไร สมการง่ายๆ เช่นนี้ สำคัญเป็นอย่างยิ่งนัก อย่าประมาทไปมองข้ามความสำคัญของการใช้เหตุผลง่ายๆ (โยนิโสมนสิการ) พื้นฐานดังกล่าวนี้ แต่วิธีคิดพิจารณาความจริงเช่นนี้ (มนสิการกรรมฐาน) กลับกลายเป็นพื้นฐานอย่างยิ่งยวดในกระบวนการพัฒนาความคิดในขั้นสูง ผู้ด้อยปัญญาที่ขาดทักษะการพัฒนาวิธีคิดภายในตน (จินตามยปัญญา) จึงให้ความสำคัญของคุณค่าที่ผิดไป (ทิฏฐิมิจฉาทิฏฐิ) เห็นเหตุปัจจัยของสภาวธรรมภายนอกสำคัญกว่าภายใน คือ จิตของตนจิตตามสภาพ (จิตวิญญาณ) ฉะนั้น ระบบให้คุณค่าจึงผิดพลาดจากความเป็นจริงตาม กฎธรรมชาติ เพราะจิตแห่งกิเลสของตน (มโนสัญเจตนา) ทำหน้าที่เข้าไปปรุงแต่งด้วยความไม่รู้จริงแห่งอวิชชาโมหะ (อริยสัจจ์ ๔อัทธา ๓อิทัปปัจจยตา ๑) นั่นคือ อวิชชา ๔อวิชชา ๘ หรือไม่เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ (สัมมสนญาณ) แม้จะเจริญภาวนาอยู่ก็ตาม เพราะเริ่มต้นจากสิ่งที่ผิด (ทุจริต ๓มโนทุจริต ๓วิปลาส ๔: สัญญาวิปลาสจิตตวิปลาสทิฏฐิวิปลาส แล้วตามด้วยอาการอีก ๔ อย่าง) ได้แก่ (๑) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (๒) วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (๓) วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (๔) วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม และยังทำให้เกิดความลำเอียงไม่ใช่ฐานะตามมา นั่นคือ อคติ ๔ ตามมา ได้แก่ (๑) ฉันทาคติลำเอียงเพราะชอบ (๒) โทสาคติลำเอียงเพราะชัง (๓) โมหาคติลำเอียงเพราะหลง พลาดผิดเพราะเขลา (๔) ภยาคติลำเอียงเพราะกลัว ซึ่งประกอบด้วย อกุศล ๓ (โลภะโทสะโมหะ) ฉะนั้น จิตภาพที่ดำรงอยู่จึงประกอบด้วย อุปกิเลส ๑๖ เต็มอัตราศึก หมายถึง ธรรมเครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก (๑. อภิชฌาวิสมโลภะคิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร ๒. พยาบาทคิดร้ายเขา ๓. โกธะความโกรธ ๔. อุปนาหะความผูก ๕. มักขะความลบหลู่คุณท่าน ๖. ปลาสะความตีเสมอ ๗. อิสสาความริษยา ๘. มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๙. มายามารยา ๑๐. สาเถยยะความโอ้อวดหลอกเขา ๑๑. ถัมภะความหัวดื้อ ๑๒. สารัมภะความแข่งดี ๑๓. มานะความถือตัว ๑๔. อติมานะความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา ๑๕. มทะความมัวเมา ๑๖. ปมาทะความประมาทเลินเล่อ อาจเรียกว่า ธรรมเครื่องประกอบของคนชั่ว ก็ได้) นั่นคือ ถึงพร้อมความชั่วได้ทุกขณะจิตเช่นกัน ถึงคิดดีได้ ก็มีแต่ความชั่วเข้าครอบงำ ดูเหมือนว่า ตนกำลังทำความดี แต่ที่ไหนกลับกลายเป็นความชั่วไปหมดโดยไม่รู้ตัวอย่างเท่าทัน (พื้นจิตตสันดาน) คือ ไม่ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ (ปัญญาและเหตุผล) ในการใช้ปัญญาและเหตุผลอย่างถูกวิธี (โยนิโสมนสิการ) ในการใช้ปัญญาและเหตุผลอย่างถูกวิธีนั้น มีคุณค่าเหมาะสมทั้งทางโลกกับทางธรรม เพราะตั้งอยู่กับความเป็นจริงว่า จะเลือกทำตามหรือปฏิเสธข้อเท็จจริงนั้น คำว่า ทำตามข้อเท็จจริง คือ มีปัญญาเห็นธรรมโดยชอบธรรมตามกฎธรรมชาติ (อริยมรรค) ส่วนคำว่า ปฏิเสธข้อเท็จจริง คือ จิตประกอบด้วย อวิชชา อยู่ใต้การบังคับของกิเลสทั้งหลาย ไม่มีเหตุผล ไม่มีปัญญา ไม่รู้สึกตัวว่าผิดหรือถูก จึงหาประโยชน์อันควรไม่ได้เลย จึงพบแต่ความวินาศ ความเดือดร้อน ความฉิบหาย อยู่ตลอดเวลา เพราะจิตด้วยคุณภาพเป็นตัวชักนำให้ดำเนินไป คือ ตกอยู่ในกระแสโลกธรรมแบบสุกๆ ดิบๆ สลับกันไป ไม่ได้ดีสักอย่างเดียว ผู้คิดดีจึงควรอยู่รวมกับผู้คิดดีๆ อยู่เป็นกลุ่มเป็นสังคมเดียวกันด้วย กรุณาคุณ เพราะมีปัญญา นั่นคือ กัลยาณมิตตตา หมายถึง การคบหาผู้เป็นกัลยาณมิตรหรือมิตรแท้ด้วยการคิดเป็น (โยนิโสมนสิการ) จึงทำให้ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท (อัปปมาทะ) ฉะนั้น ธรรม ๓ อย่าง เป็นยอดธรรมที่สำคัญมาก ที่ทำให้เห็นอาณาจักรแห่งธรรมได้ ได้แก่ (๑) กัลยาณมิตตตา (๒) โยนิโสมนสิการ (๓) อัปปมาทะ ถ้าจัดเรียงลำดับให้ดีแล้ว ก็คือ ไตรสิกขาสิกขา ๓ นั่นเอง (๑) ศีลอธิสีลสิกขา (๒) สมาธิอธิจิตตสมาธิ และ (๓) ปัญญาอธิปัญญาสิกขา หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งดำเนินไปตาม หลักมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นแก่นธรรมอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา ดังนั้น คนส่วนใหญ่คิดเอาเองว่าตนเข้าใจดีมาก แต่กลับไม่มีปัญญาอะไรแสดงผลจริงในชีวิตได้ จึงล้มเหลวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะทำไม่จริง จึงให้คุณค่าผิดๆ ตามกระแสสังคมที่วิบัติกันเป็นคณะทั้งสังคม ประการสำคัญ มักคิดว่า ตนเองทำดีทำถูกต้องหมดทุกอย่าง อีกต่างหาก คุณค่าทางคติโลกหรือโลกียะนั้น ไม่มีอะไรถูกต้องที่สุด เพราะไม่ใช่ความจริงโดยปรมัตถ์ (ปรมัตถสัจจะ) มันเป็นเรื่องมนุษย์พากันปรุงแต่งขึ้นเพื่อมาหลอกกันให้งมงายไปตามๆ กัน (โมหะอวิชชา) ทำให้จิตขาดสติสัมปชัญญะ (ประมาทปมาทะ) ไม่สามารถเปิดรับความดีได้ ไม่ยอมรับบุญกุศลใหม่ๆ ให้เข้ามาในชีวิต มีแต่ความเศร้าหมอง ความขุ่นมัว ความเป็นอกุศลจิตตลอดเวลา ที่หนักๆ มากขึ้น ก็นิยมประมาทพระรัตนตรัย เพราะไม่มีปัญญาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) หรือไม่มีปัญญาเห็นสภาวธรรม (ปรมัตถสัจจะ) ไม่เข้าใจถึง (๑) การถือศีลทำความดี (๒) เจริญทำสมาธิทำจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ และ (๓) เจริญปัญญาพิจารณาธรรมตามเป็นจริง เมื่อปัญญาไม่งอดงามโดยธรรม แล้วจะเห็นหนทางในการดับทุกข์ได้อย่างไรกัน ก็คงมีแต่ทุกข์มากยิ่งขึ้น ทับถมกองทับกันสะสมมากยิ่งขึ้นไป (พอกพูนด้วยกิเลส) สิ่งที่ยิ่งร้ายกว่านั้น คือ มักเห็นการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งไร้ค่า หาประโยชน์ไม่ได้แบบพวกจิตมีแต่อกุศล (ราคะโทสะโมหะ) วันเวลาผ่านๆ ไป ก็คิดได้แค่นี้ ไม่ได้ดีกว่านี้ แล้วจะหาความเจริญได้อย่างไร ไปเห็นวิบากอานิสงส์ผลบุญของผู้อื่นเกิดขึ้น ก็ว่าตนรู้เหมือนกันแต่ขอยังไม่ทำเท่านั้นเอง ให้คอยดูก็แล้วกัน ไม่รู้จะคอยดูจนถึงชาติไหน ตรงประเด็นนี้ ก็ตัวใครตัวมันก็แล้วกัน คือ ปล่อยตามยถากรรมของแต่ละคน ให้พิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับจิตของตนอย่างถูกต้องด้วยเหตุผล อย่างถูกวิธีด้วยอุบายวิธีที่ประกอบด้วยปัญญา ด้วยความฉลาดที่ประเสริฐแห่งอริยมรรค ก็ให้พิจารณาจิตของตนเองให้เป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน (เจริญภาวนามนสิการกรรมฐาน) ได้แก่ (๑) พิจารณากาย (ลมหายใจเข้าออก) เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยสรุปว่า กายสักว่ากาย ไม่ใช่ตัวตนอนัตตานุปัสสนา (๒) พิจารณาความรู้สึก (เวทนา) เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยสรุปว่า เวทนาสักว่าเวทนา ไม่ใช่ตัวตนอนัตตานุปัสสนา (๓) พิจารณาจิต (อารมณ์ของสภาวะแห่งจิต) เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยสรุปว่า จิตสักว่าจิต ไม่ใช่ตัวตนอนัตตานุปัสสนา และ (๔) พิจารณาธรรม (เหตุการณ์แห่งสภาวธรรมที่เกิดขึ้นเรื่องราว) เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยสรุปว่า ธรรมสักว่าธรรม ไม่ใช่ตัวตนอนัตตานุปัสสนา โดยรวมเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง รู้แล้วก็ยังไม่ทำ มันก็ไม่เกิดอานิสงส์บารมีประโยชน์แต่ประการใด ก็เป็นพวกลิงฟังธรรมกันไปแค่นั้นเอง พวกลิงฟังธรรมก็มีแต่จิตเป็นอกุศลมูล ได้แก่ โลภะโทสะโมหะ หรือพวกจิตวกวนประกอบด้วยกิเลสยืดเยื้อพิสดาร ได้แก่ ตัณหาทิฏฐิมานะ (ปปัจจธรรม ๓) กล่าวโดยสรุป ก็ตกอยู่ในวังวนของวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสกรรมวิบาก ที่สหรคตด้วยสังกิเลสทั้งหลาย ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปยาส ที่เรียกว่า กามาวจรภูมิ ๑๑ เพราะจิตยังไม่เป็นสมาธิยังไม่ได้ฌาน นั่นเอง เพราะไม่คิดจะเจริญสมาธิภาวนาใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่มนุษย์ทุกคนสามารถกำหนดได้ทุกขณะลมหายใจเข้าออก แต่ก็หายใจทิ้งไปเปล่าๆ ไม่เห็นคุณค่าแม้แต่ตัวตนของตนเอง เหตุทั้งหมดนี้ คือ ความประมาทปมาทะ (ความหลงงมงายเลินเลอะ) เนื่องด้วย ความไม่รู้จริงในอริยมรรค (อวิชชา ๔อวิชชา ๘) นั่นคือ อริยสัจจ์ ๔อัทธา ๓อิทัปปัจจยตา ๑ ตามลำดับ ทำให้ไม่เกิดปัญญาเห็นสภาวธรรม (นามรูป) แห่งไตรลักษณ์ (สัมมสนญาณสัมมาทัสสนะธรรมฐิติ) ได้แก่ อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา ดังนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัญญาไม่เห็นไตรลักษณ์ทำให้ปัญญาด้านเหตุผลมืดบอดดับสนิท คิดอะไรไม่ออก เลยไปยึดเอา ตัณหาทิฏฐิมานะ มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ยึดเอาความคิดของตนเองเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ขัดแย้งกับความจริงตาม กฎธรรมชาติ (ธรรมนิยาม ๓) ปฏิเสธผลานิสงส์แห่งพระรัตนตรัยอย่างสิ้นเชิง สุดท้ายก็ลงที่ผลประโยชน์แห่งตนเป็นหลัก ซึ่งไม่แตกต่างจากพวกสัตว์เดรัจฉานที่หากินเลี้ยงชีวิตในแต่ละวัน คนที่เป็นคนแต่มีจิตใจเป็นสัตว์นั้น เป็นเรื่องที่น่ากลัว ไม่ควรคบหาเป็นกัลยาณมิตร เพราะจะทำให้ภพภูมิของชีวิตตกต่ำและมัวหมอง ไม่เปิดใจรับความดีหรือกุศลมูลได้ พวกจิตเสียเหล่านี้ ไม่สามารถทำงานที่ยิ่งใหญ่สำเร็จได้ มักคิดว่าทำชั่วย่อมได้เงินมากกว่า ไม่เชื่อว่ามีคนดีที่มีเมตตาจริง ปฏิเสธความดีและกุศลกรรม ไม่เชื่อความดี ส่งผลดีแก่ผู้ทำดีได้ คิดว่ามีเงินมากๆ ก็ค่อยมีความดี เพราะคนส่วนใหญ่ยอมรับเงิน คือ สังคมก็ชั่ว ตนเองก็ใฝ่ต่ำ ไม่แสวงหาสิ่งที่ประเสริฐเติมแต่งชีวิตของตนให้งดงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นไป เป็นพวกบัณฑิตตกต่ำแล้วใฝ่ชั่ว เพราะไร้สติปัญญาแห่งพุทธะ ฉะนั้น ความเสื่อมศรัทธาในพระรัตนตรัยทำให้เห็นสภาวธรรมไม่ตรงตามความจริง ใฝ่ชั่วมากกว่าใฝ่ดี แม้จะเจอสิ่งดีๆ ก็ไม่สามารถปรับตัวอยู่กับความดีเหล่านั้นได้ เพราะกิเลสปิดกั้นความดีเหล่านั้นไม่ให้มีโอกาสเข้าถึงได้เลย คิดและพิจารณาให้ดี มันเกิดขึ้นได้จริงในชีวิตเราทุกวัน ถ้าจิตไม่ได้ยกระดับคุณค่าอย่างถูกต้อง (สัมมัตตะ ๑๐อเสขธรรม) มีปัญญาก็ใช้อย่างผิดๆ ไม่ชอบธรรม (มิจฉัตตะ ๑๐) ความวิบัติยอมเกิดขึ้นในชีวิต สุดท้ายก็ลงโทษสังคมและวาสนาของตนเอง ดูถูกลาภแห่งตน (ไม่สันโดษ) ไม่มีความพอใจกับฐานะแห่งชีวิตที่เป็นอยู่ เดือดร้อนกายและใจ ไม่เป็นสุข มีแต่ ไฟราคะไฟโทสะไฟโมหะ (อัคคิ ๓: กิเลสที่เปรียบเหมือนไฟ เพราะเผาลนจิตใจให้เร่าร้อนและแส่พร่านไป) สุมเผาจิตใจให้อ่อนแรง หมดกำลังใจต่อสู้กับปัญหาต่างๆ อย่างถูกต้อง มีแต่คิดว่าทำชั่วย่อมได้ดีสมประโยชน์แห่งตน แม้จะเรียนสูงก็ไร้ค่า เป็นคนไร้ค่า อายหมาเปล่าๆ เพราะหมาอาจมีคุณธรรมสูงกว่าคน สัตว์เดรัจฉานไม่ค่อยคิดชั่วกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะคนที่มีพระคุณต่อมัน คนบางคนชอบเนรคุณผู้มีพระคุณต่อตน ที่ให้ที่อยู่ อาหาร และยา จนถึงความสะดวกต่างๆ และคนพวกนี้จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างไร มีโอกาสโกงก็ฉ้อโกงวันยังค่ำเพราะคิดทำชั่วได้ดี นั่นเอง ดังนั้น เรื่องการให้คุณค่าเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นประเด็นการใช้ปัญญาขั้นสูงของผู้เป็นสัตบุรุษ การใช้เหตุผลจึงเป็นเรื่องสัตว์ที่ประเสริฐ ที่จิตต้องประกอบด้วยฌานสมาธิด้วยสติสัมปชัญญะทำหน้าที่พิจารณาสภาวธรรมหรือเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต นั่นคือ มี กายภาวนาสีลภาวนาจิตตภาวนาและปัญญาภาวนา (ภาวนา ๔) ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงไม่ควรมองข้ามการเจริญภาวนาอันเป็นกิจสำคัญของชีวิต จนถึงช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตก็ต้องอยู่ในภาวนากรรมฐาน ตอนจะขาดใจตายเงินก็ช่วยอะไรไม่ได้หรอก จิตที่ประเสริฐประกอบด้วยปัญญาเท่านั้น จะเป็นสิ่งที่เหลืออยู่กับตัวตนที่แท้จริงของเรา อย่าไปหลงศรัทธาพวกนักบวชจอมปลอมในพระศาสนา ที่พยายามยึดวัตถุเป็นสรณะแทนพระรัตนตรัย เพราะสุดท้ายของการตรัสรู้ คือ อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึง การเห็นความว่างเปล่าตามเป็นจริง ความไม่มีอะไรต้องไปยึดมั่นถือมั่นอีกเลย เองนี้เป็นเรื่องพูดง่ายทำได้ยากมาก ต้องอาศัยปัญญาอันยิ่งถึงจะเข้าถึงได้จริง ปัญญาหางอึ่ง ปัญญาเดรัจฉาน (วิชาทางโลกเดรัจฉานวิชา คือ วิชาที่ไม่สามารถดับทุกข์แห่งชีวิตได้จริง) ไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้หรอก อยู่ใน ภูมิแห่งสังสารทุกข์ (ทุคติ) ต่อไปเรื่อยๆ พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ได้เดือดร้อนอะไรด้วยหรอก เพราะมันเป็นเรื่องกรรมของสัตวโลก (โลกของหมู่สัตว์) ที่ต้องเป็นไปตาม กฎแห่งกรรม และ กฎกัมมัสสกตา (กรรมของสัตว์) ฉะนั้น ผู้ที่จะเห็นธรรมในข้อนี้ ต้องประกอบด้วยเหตุผลแห่งปัญญาเท่านั้น มีจิตที่ขัดเกลาหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายในทุกขณะจิต (อุปกิเลส ๑๖) มันไม่มีเวลาใดที่กิเลสจะว่างที่จะไม่แวะมาโจมตีจิตของมนุษย์เลย พระพุทธเจ้าจึงให้พวกเราสำรวมอินทรีย์ทั้งหลายทุกขณะจิต (สังวร ๕: ปาฏิโมกขสังวรสติสังวรญาณสังวรขันติสังวรวิริยสังวร) เพื่อคุม สติสัมปชัญญะ ให้มั่นคงตามเป็นจริง (สติปัฏฐาน ๔) หรือกล่าวโดยนัยรวมแล้วนั้น ก็ให้พวกเราทั้งหลายเจริญ โพธิปักขิยธรรม ๓๗อภิญญาเทสิตธรรม ๓๗ (รวมกับ โลกุตตรธรรม ๙: มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ เรียกว่า โลกุตตรธรรม ๔๖) ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง เพื่อการเข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรค เพราะฉะนั้น การเข้าถึงแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จึงเป็นข้อคิดข้อปฏิบัติที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติธรรมในพระธรรมวินัยนี้.
|