๒๖. ทุกข์ทั้งปวงดับได้ด้วยจิตสะอาดบริสุทธิ์ The Cessation of Suffering with the Purity of Mind
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น คือ กระบวนการดับทุกข์ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายใจให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวงในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่กระบวนการพอกพูนกิเลสไว้ในชีวิตแต่ประการใด โดยประพฤติปฏิบัติด้วยความเหมาะสมไม่สุดเอียงจนเกิดเป็นทุกข์ซับซ้อนขึ้นอย่างไม่รู้ตัวหรืออย่างขาดสติสัมปชัญญะ คือ การไม่ใช้ปัญญาและเหตุผลให้เห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง ตามสภาวะอันผิดดังกล่าวนี้ ย่อมกลับกลายเป็นธรรมอันผิดจากหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรืออริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นเส้นทางแห่งปัญญาอันประเสริฐที่นำไปสู่ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการค้นหาความจริงหรือสัจจธรรมแห่งอริยะ ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ เพื่อการดับทุกข์ทั้งปวง นั่นเอง หลักในการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้านั้น มุ่งเน้นอยู่กับ ไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง องค์ความรู้ทั้งหมดนี้ นำไปสู่การค้นหาความจริงตามกฎธรรมชาติ ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ ในการปฏิบัติธรรมใดๆ ที่มีความเบี่ยงเบนออกจากหลักการหรือพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นพระสัทธรรมปลอม เป็นปฏิปักษ์ต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง ไม่เป็นจริงทั้งวิธีคิดและการปฏิบัติ เพราะกระบวนการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งหมดนั้น เน้นขั้นตอนแห่งการชำระพระไตรสิกขาให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง ที่กลุ้มเร้าจิตใจของมนุษย์ทุกขณะจิตอันเรียกว่า โลกธรรม ๘ นั้นเอง บุคคลผู้ถูกโลกธรรมเล่นงานเกาะกินใจทุกชั่วยามนั้น ย่อมเป็นทุกข์ ไม่พบความเจริญแห่งชีวิต ธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถลบล้างกิเลสทั้งหลายออกจากจิตใจของมนุษย์ได้จริง.
บทความที่ ๒๖ ประจำปี ๒๕๕๙ ทุกข์ทั้งปวงดับได้ด้วยจิตสะอาดบริสุทธิ์
ความทุกข์ทรมานทั้งปวงนั้น เป็นสิ่งหรือสภาพที่ทุกคนไม่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นในชีวิต แต่ก็เป็นสภาพที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเผชิญอย่างแน่นอนไม่มากก็น้อย เพียงแต่ว่าใครจะสามารถกำจัดได้อย่างถูกวิธีด้วยปัญญาและเหตุผลได้มากกว่ากัน ความทุกข์จำแนกออกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) กายิกทุกข์ (Physical Suffering) คือ ทุกข์ทางกาย และ (๒) เจตสิกทุกข์ (Mental Suffering) คือ ทุกข์ทางใจแห่งโทมนัส ฉะนั้น ความทุกข์ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ตนไม่สิ้นสุดได้ (สังสารทุกข์) มูลเหตุแห่งทุกข์นั้น เกิดจากความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา ได้แก่ (๑) ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ (๒) ไม่รู้เหตุผลแห่งกาลทั้ง ๓ อย่าง (๓) ไม่รู้อิทัปปัจจยตาปัจจยาการ และรวมทั้ง ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ที่เป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่นใน อุปาทานขันธ์ ที่ทำให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ทำให้เกิดวงจรชีวิต (ภวจักร) ด้วย ชาติชราพยาธิโสกะและสังกิเลสทั้งหลาย ตามธรรมดา (คือ ดำเนินไปตามกฎธรรมชาติแห่งสังขตธรรม) อนึ่ง วงจรชีวิตแห่งภวจักรนี้ ก็มีพระอรหันต์เท่านั้น ที่สามารถหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง ที่เรียกว่า อารมณ์ของพระอรหันต์ แต่ในความเป็นจริงนั้น การอุบัติขึ้นของพระอรหันต์อุปมาได้กับ การเอาปลายนิ้วแตะลงบนพื้นทราย จำนวนเม็ดทรายที่ติดมากับปลายนิ้วขึ้นมาเท่านั้น คือ จำนวนพระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง ที่เรียกว่า อมตธรรมแห่งพระนิพพาน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาถึงข้อธรรมที่ประพฤติปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น (วิมุตติ) นั้น ก็ควรถือมั่นปฏิบัติธรรมโดย ไตรสิกขา ได้แก่ อธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา ที่ถือทางดำเนินปฏิบัติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐทำให้เกิดปัญญาหลุดพ้นจากทุกข์ นั่นคือ (๑) เริ่มนำด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา (๓) นำไปสู่ปัญญาอันยิ่ง คำว่า ปัญญา คือ ความรอบรู้ด้วย ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ (วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ) โดยเป็นสมุฏฐานให้เกิดปัญญาตรัสรู้ (สัมโพธิญาณ) โดยปัญญาเห็นนามรูปตาม ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา ที่สามารถทุกบทำลาย ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ คือ การกำจัด อุปาทาน ๔ ในขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ ได้แก่ กามุปาทานทิฏฐุปาทานสีลัพพตุปาทานอัตตวาทุปาทาน ในบรรดาปัญญาญาณทั้งหลายนี้ เกิดจาก สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา อันเป็นปัญญาหยั่งรู้ (ญาณ) ด้วย ญาณทัสสนะ (สติสัมปชัญญะ) ที่พิจารณาไตร่ตรองสภาวธรรมแห่งกรรมฐานตามเป็นจริง ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ จนเกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวงด้วย วิปัสสนาภูมิวิปัสสนาปัญญา หรือการได้บรรลุถึงหมดจดบริสุทธิ์แห่งญาณทัสสนะ นั่นคือ ญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๗ ในวิสุทธิ ๗) ที่ทำให้เข้าถึง โลกุตตรธรรม ๙ ได้แก่ อริยมรรค ๔อริยผล ๔นิพพาน ๑ ตามลำดับ ในทางพระพุทธศาสนานั้น ความทุกข์เกิดจากมูลเหตุ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) อวิชชา คือ มูลเหตุในอดีต กับ (๒) ตัณหา คือ มูลเหตุในปัจจุบัน ซึ่งทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ โดยพิจารณาตาม อนุโลมปฏิจจสมุปบาท (พิจารณาจากเหตุไปหาผล) อย่างกว้างๆ ดังนี้ (๑) แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ (๒) แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ (๓) แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ (๔) ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ (๕) ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ และ (๖) มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ ฉะนั้น ทุกข์ทั้งหมดดังกล่าวนี้ เกิดจากความยึดมั่น ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ (๑) รูปรูปูปาทานขันธ์ (๒) เวทนาเวทนูปาทานขันธ์ (๓) สัญญาสัญญูปาทานขันธ์ (๔) สังขารสังขารูปาทานขันธ์ และ (๕) วิญญาณวิญญาณูปาทานขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น นั่นเอง คำว่า อุปาทานขันธ์ (อุปาทิอุปาทาน) ถือเป็นสภาพที่ปรุงแต่ด้วยเหตุปัจจัย ที่มีเจตนาสัมปยุตต์ด้วยจิตที่ถูกกลุ้มรุมด้วยกิเลสทั้งหลายแห่งโลกธรรมทั้ง ๘ อย่าง ได้แก่ มียศเสื่อมยศ มีลาภเสื่อมลาภ มีสรรเสริญมีนินทา มีสุขมีทุกข์ ที่เกิดหมุนเวียนสลับกันไปใน ภวจักร หรือ สังสารจักร เรียกสามัญว่า วัฏฏะ ๓ ประกอบด้วยวงจร กิเลสกรรมวิบาก (ข้อ ๔ ในปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖) คำว่า อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่น (ข้อ ๙ ในปฏิจจสมุปบาท ๑๒) ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะเกิดปัญญาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) แห่งเหตุปัจจัย (ปัจจัยธรรม) ได้นั้น เมื่อเจริญภาวนาด้วย สมถพละ (จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) กับ วิปัสสนาพละ (ปัจจยปริคคหญาญ ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) หรือด้วย กังขาวิตรณวิสุทธิ (ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗) ในลำดับของการเกิด ญาณทัสสนะ ดังกล่าวนี้ได้นั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องบรรลุฌานจิตแห่งรูปญาณ ๔ มาก่อน ในขั้นที่จิตสะอาดบริสุทธิ์มากที่สุด คือ จตุตถฌาน ที่มีองค์ฌานประกอบด้วย (๑) อุเบกขา กับ (๒) เอกัคคตาแห่งสมาธิ หลังจากนั้น ก็จะสามารถบรรลุธรรมวิเศษได้ คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) หมายถึง ความรู้ที่สามารถระลึกชาติได้ ซึ่งจะเกิดคู่กับญาณในวิปัสสนา คือ นามรูปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖) อันเป็นความรู้ที่สามารถแยกรูปแยกนามได้ในอดีตที่ผ่านมาก จนเปิดเป็นปัญญาเห็นสภาพทุกข์แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งหลายได้เอง อนึ่ง สำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาปริยัติธรรมมาก่อน ก็สามารถเกิด ปัญญาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) ได้ด้วยตนเองในการเจริญภาวนากรรมฐาน แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากมากยิ่งที่จะบรรลุรู้แจ้งเห็นจริง (ปฏิเวธ) ในวิปัสสนาภูมิได้ (ปฏิบัติลำบากยาก และรู้ผลได้ช้า ที่เรียกว่า ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา คือ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า) แต่ถ้าเป็นผู้ได้ศึกษาปริยัติธรรมมาอย่างดีจนเกิด สุตมยญาณ ได้ เพราะเรียนมากรู้มากโดยชอบธรรม (โลกียสัมมาทิฏฐิ) เมื่อเจริญภาวนาวิปัสสนาก็จะรู้แจ้งแทงตลอดในธรรม (ปรมัตถสัจจะ) ได้ง่ายยิ่งขึ้น คือ เกิดความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะสุข จะทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ก็ตาม ความรู้สึกเวทนาดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากฝ่ายร่างกายกับจิตวิญญาณ ที่เรียกว่า นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ในการฝึกกรรมฐาน คือ (๑) เครื่องระลึกของสติ และ (๒) เครื่องเรียนรู้ของสัมปชัญญะ อาการเหล่านี้รวมกัน เรียกว่า สติสัมปชัญญะ (สติปัญญา) สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้รอบ อะไรดีหรือไม่ดี อย่างมีเหตุผล ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องหมั่นเพียรในการฝึกอบสติให้มั่นคงตั้งมั่น ไม่ให้เกิดฟุ้งซ่านหรือหวั่นไหว แต่ให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ในอารมณ์หนึ่งเดียว เพื่อให้เกิดปัญญารอบรู้คมชัดหรือหยั่งรู้ (ญาณ) ได้ตามสภาพที่เป็นจริง (ยถาภูตญาณ) เมื่อสัมปชัญญะแก่กล้ากลายเป็นปัญญาหยั่งรู้แห่งญาณทัสสนะ จิตจึงต้องวางเฉยเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ ด้วย อุเบกขาจิต ไม่ไปยึดมั่นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดดังกล่าวนั้น (มีเจตนาเข้าไปปรุงแต่งตามอำนาจครอบงำแห่งกิเลสทั้งหลาย) เพราะเกิดปัญญาเห็นธรรมในนามรูปตามสามัญลักษณะโดยไตรลักษณ์ ว่าสภาวธรรมนั้นๆ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และเป็นสิ่งปฏิกูลไม่สวยงาม (ปฏิกูลมนสิการ) นั่นคือ ไม่เกิดความนึกคิดวิปลาสคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะฉะนั้น การเจริภาวนาด้วย สติปัฏฐาน ๔ จึงมีบทบาทสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทุกระดับ กล่าวคือ เมื่อเห็นกายเวทนาจิตธรรม (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑) ดีแล้ว ก็พิจารณาให้ถึงข้อสรุปที่ว่า สิ่งเหล่านี้ สภาวธรรมเหล่านี้ ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวตนแห่งอนัตตตา เท่านั้นเอง ไม่ใช่ที่พึ่งสรณะที่ยึดมั่นต่อไป จิตแห่งสติสัมปชัญญะจึงจะเป็นอิสระ ไม่ผูกติดยึดเหนี่ยวอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นด้วยการวางเฉยแห่งอุเบกขา เพราะเกิดสติแก่กล้า (อุปัฏฐาน) และสัมปัชัญญะรอบรู้คมชัด (ญาณ) รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่เลื่อนใหลไปตามสิ่งลวงตาลวงใจนั้นอีกต่อไป และรู้แจ้งเห็นจริงว่า การยึดมั่นในอารมณ์เหล่านั้น คือ สาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์) เกิดปัญญาเห็นธรรมโดย ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ (อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรม และ กฎแห่งกรรมของสัตว์) พร้อมปัญญาเห็นธรรมโดยไตรลักษณ์ ฉะนั้น (๑) สมถพละทำให้บรรลุวิชชา (ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ) คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ กับ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ และ (๒) วิปัสสนาพละทำให้บรรลุญาณในวิปัสสนา (ปัญญาหยั่งรู้) คือ นามรูปปริจเฉทญาณ กับ ปัจจยปริคคหญาณ พร้อมด้วย (๓) ปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ คือ สัมมสนญาณกลาปสัมมสนญาณ ตามลำดับ ฉะนั้น จิตที่พัฒนาด้วยสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนานั้น (๑) สติ กลายเป็น อุปัฏฐาน คือ สติคมชัด และ (๒) สัมปชัญญะ กลายเป็น ญาณ คือ ความรู้คมชัด ในขณะเดียวกัน จิตก็ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ ใน จตุตถฌาน ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ และในขณะเดียวกัน สติสัมปชัญญะ ย่อมมีสามารถในการดับเวทนาความรู้สึกและความแจ้งในอารมณ์นั้นๆ ได้ ด้วยปัญญาและเหตุผล และสามารถทำลายความยึดมั่นแห่งอุปาทานขันธ์ได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อ สติ มีความแก่กล้าคมชัด (อุปัฏฐาน) สัมปชัญญะ ก็เกิดเป็น ปัญญาญาณ และ ปัญญาหยั่งรู้นั้น เป็นความรู้รอบมีเหตุมีผล รู้แจ้งแทงตลอดในการพิจารณาสภาวธรรมด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ มีพละกำลังถึงความตรัสรู้สัมโพธิญาณได้ในที่สุด เพราะได้เริ่มจาก (๑) ศีลบริสุทธิ์ (๒) จิตบริสุทธิ์ และ (๓) ปัญญาบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า วิสุทธิ ๗ (อริยมรรคมีองค์ ๘) นั่นเอง อันเป็นแนวปฏิบัติให้ถึงวิชชา เห็นแจ้งในอริยสัจจ์ ๔ ปฏิเวธในโลกุตตรธรรม (มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑) นั่นคือ อมตธรรมแห่งพระนิพพาน ในที่สุด ฉะนั้น คำว่า จิตบริสุทธิ์จิตตวิสุทธิ หมายถึง สภาวะแห่งจิตที่เจริญพัฒนาด้วยการบำเพ็ญฌานสมาบัติ จนเกิดความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่น ความไม่ใช่ตัวตนแห่งอนัตตตา เป็นต้น แล้ววางเฉยในอารมณ์ต่างๆ ด้วยจิตเป็นอุเบกขา เพราะเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงด้วยสามารถแทงตลอดได้ด้วยเหตุและผลแห่งปัญญาญาณทั้งในสมถะและวิปัสสนา (เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ) ซึ่งหมายความว่า จิตอันเป็น จิตประภัสสร ในขั้น จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ อย่าง ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ นั่นเอง สภาพแห่งความทุกข์จึงไม่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมในขณะนั้นๆ โดย สติสัมปชัญญะ (จิตตัวผู้วิปัสสนา) นั้น สามารถหาข้อสรุป (ธรรมฐิติ) ได้ว่า (๑) สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (๒) สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ (๓) ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ที่เรียกว่า ธรรมนิยาม ๓ อันเป็น กฎธรรมชาติ ถ้าบุคคลนั้นมีศักยภาพบรรลุธรรมวิเศษ ได้แก่ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ ย่อมเรียกว่า พระอรหันตขีณาสพ นั่นคือ ผู้ปราศจาก โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา และเป็นผู้รู้แจ้งโลกและชีวิตตามเป็นจริง อยู่ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง ในอีกประเด็นหนึ่ง จะเห็นว่าการปฏิบัติธรรมดูเหมือนจะเป็นแนวปฏิบัติที่ง่ายไม่ลำบากอะไรเลย และน่าจะบรรลุธรรมวิเศษนี้ได้ง่ายด้วย แต่ในความเป็นจริงนั้น กลับเป็นเรื่องตรงกันข้าอย่างสิ้นเชิง เพราะภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติต่างก็มีความยากซับซ้อนเป็นเอกเทศกัน แต่ต้องมาประชุมรวมกันเป็นเอกภาพเดียวกัน นั่นคือ มีความต่างในความเหมือนกันเพื่อเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน หรือ บรมธรรมในพระธรรมวินัยนี้ (พระนิพพาน) ซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วยจิตที่บริสุทธิ์และปัญญาที่บริสุทธิ์ จึงจะรู้แจ้งเห็นจริงใน อมตธาตุนิพพานธาตุ นี้ได้ ส่วน การทุบขันธ์ ๕ นั้น ก็คือ ธาตุ ๑๘ อันเป็นธาตุธรรมชาติเช่นเดียวกัน ฉะนั้น คำว่า ทุกข์ ก็คือ คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นธาตุในขันธ์ ๕ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมจำแนกแจกธรรมได้ชัดเจนด้วยปัญญาเห็นธรรมไตรลักษณ์ (สัมมสนญาณกลาปสัมมสนญาณ) ย่อมมีจิตและปัญญาหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวงได้ดีพร้อมสมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเที่ยงตรงในธรรมทั้งปวง (ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ) คือ ดำเนินชีวิตปราศจากทุกข์ใดๆ ตามคลองธรรมอันเป็นสำสอนของพระพุทธเจ้า และเมื่อจิตวิญญาณเจริญอย่างประเสริฐเป็น อริยบุคคล นั้น ย่อมเกิดธรรมเอก ๓ อย่าง ร่วมกันขึ้น ได้แก่ (๑) กัลยาณมิตตตาความมีกัลยาณมิตร คือ มีผู้แนะนำ สั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อนที่คบหาและบุคคลผู้แวดล้อมที่ดี (๒) โยนิโสมนสิการการใช้ความคิดถูกวิธี คือ การทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย แยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธี ให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย และ (๓) อัปปมาทะความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ คุณธรรมเหล่านี้ คือ คุณสมบัติอันยอดเยี่ยมของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกอริยสาวิกาของพระตถาคตในพระธรรมวินัยนี้.
|