๓๐. ปาณาติบาตปรปักษ์ธรรมของเมตตาและกรุณา The Destruction of Life versus Loving-Kindness and Compassion
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
บุคคลผู้ประกอบความเพียรด้วยการเจริญมนสิการกรรมฐานอย่างสืบเนืองเป็นนิตย์ได้นั้น ย่อมพิจารณาไตร่ตรองเห็นผลแห่งการกระทำ (กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา) อย่างมีสติสัมปชัญญะ (สติปัฏฐาน ๔) ปัญญาญาณ หรือ ภาวนามยปัญญา ที่เกิดจากการเจริญภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น ทำให้เกิด ปัญญาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) ตามที่เป็นจริง อันเป็นสัจจธรรมตาม กฎธรรมชาติ หรือ กำหนดแห่งธรรมดาธรรมฐิติยถาภูตธรรมสัมมาทัสสนะ จนเกิด ปัญญาตรัสรู้ธรรม (สัมมาสัมโพธิญาณ) อันเป็น ปัญญาญาณ (ญาณทัสสนะญาณทัสสนวิสุทธิ) ที่พิจารณารู้เห็นนามรูปตามสามัญลักษณะโดยไตรลักษณ์ (อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา) ในบรรดาบาปธรรมทั้งหลายนั้น ก็คือ อกุศลธรรม ที่เป็นกิเลสทั้งหลาย ที่ทำให้จิตใจโหดเหี้ยมไร้เมตตาธรรม กล้าทำชั่วคิดบาปได้ การเจริญเมตตาภาวนาได้จริงนั้น ย่อมดับจิตที่กลุ้มรุมด้วย ปาณาติบาติ ให้ลดน้อยลงได้จนไม่เหลือเศษกรรมในการคิดทำร้ายชีวิตอื่นได้ ทั้ง เมตตาธรรม กับ กรุณาธรรม นั้น ทำให้บุคคลเกิดความนึกคิดในมุมคิดที่มองโลกในแง่ดี ทำให้เกิดความคิดไหวพริบปฏิภาณสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) ความคิดริเริ่ม (๒) ความคิดสร้างสรรค์ และ (๓) ความคิดประยุกต์ดัดแปลง เกิดภาวะที่เรียกว่า ความรู้คู่กับคุณธรรม อันเป็นคุณสมบัติสำคัญของความเป็นมนุษย์ ที่เป็นบุคคล (๑) ผู้รอบรู้ทางเจริญและเหตุแห่งความเจริญ (๒) ผู้รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุแห่งความเสื่อม และ (๓) ผู้รอบรู้อุบายทางแก้ไขปัญหาหรือทุกข์นั้นๆ พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้บรรลุความสำเร็จในกิจงานดังกล่าวนั้นได้จริง ฉะนั้น ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมจึงอาศัยคุณธรรมทั้งปัญญาและกรุณาในการบรรลุความตรัสรู้ในธรรมทั้งหลายอย่างอริยบุคคลที่พึงเป็นไปได้จริง.
บทความที่ ๓๐ ประจำปี ๒๕๕๙ ปาณาติบาตปรปักษ์ธรรมของเมตตาและกรุณา
ในการศึกษาและการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนานั้น การพิจารณาธรรมคู่ที่เป็นปรปักษ์กันนั้น ก็เป็นแนวทางกระบวนการคิดอีกวิธีหนึ่ง ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องหมั่นเพียรนำมาประยุกต์ใช้ ดังเช่น กุศลธรรมอกุศลธรรม หรือ สุจริตทุจริต หรือ วัฏฏะวิวัฏฏะ หรือ โลกียะโลกุตตระ เป็นต้น ในความเป็นจริงนั้น ก็คือ การไตร่ตรองพิจารณาเชิงเทียบเคียงแบบคู่ขนานหรือแบบสะท้อนกับ (Analogy with Parallel or Mirror) นั่นเอง อีกนัยหนึ่ง คือ ในการพิจารณาสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้จักการคาดดาสภาวธรรมบางอย่างต้องเกิดขึ้น (Contextual Anticipation) อย่างเช่น สัมปยุตตปัจจัยวิปปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยประกอบกันปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน หรือ อัตถิปัจจัยนัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยมีอยู่ปัจจัยโดยไม่มีอยู่ หรือ วิคตปัจจัยอวิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยปราศไปปัจจัยโดยไม่ปราศไป เป็นต้น กระบวนการคิดดังกล่าวนี้ คือ การคิดแบบเชิงเหตุผลที่สภาวธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้นหรือดับไปต้องมีความสัมพันธ์กับสภาวธรรมอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เป็นอิสระโดยเดี่ยวอยู่ตามลำพังเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น ในการพิจารณาสภาวธรรมนั้น ให้คำนึงถึงความสัมพันธ์เชิงองค์รวม (Holism) ซึ่งแนวคิดนี้ กลายเป็ฯทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต และระบบการสื่อสารคมนาคม ที่เรียกว่า เครือข่ายNetwork หรือการจัดกลุ่มแบบเชิงสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ รวมกันเป็นหน่วยความคิดหนึ่งๆ เพราะฉะนั้น การพิจารณาสภาวธรรมหรือปรากฏการณ์ (Phenomena) ซึ่งหมายถึงการคิดอย่างละเอียดทั่วถ้วนทั้งกระบวนปัญหาและเป็นระบบระเบียบถูกวิธี ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการAnalytic Thinking (จินตามยปัญญา) เมื่อนำไปใช้ในวิปัสสนาภูมินั้น ปัญญาความรู้ที่เกิดขึ้นจาก ญาณทัสสนะ ที่หยั่งรู้เห็นตามเป็นจริง (ยถาภูตญาณทัสสนะในมหาวิปัสสนา) ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ส่วนปัญญาความรู้ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย นั้น ทำให้เกิด สุตมยปัญญา ฉะนั้น สุตมยปัญญา กับ จินตามยปัญญา รวมกัน กลายเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญภาวนากรรมฐาน เป็นสมุฏฐานให้เกิดปัญญาแตกฉานโดยปฏิภาณไหวพริบ ที่เรียกว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ซึ่งประกอบด้วย (๑) ความคิดริเริ่ม (๒) ความคิดสร้างสรรค์ และ (๓) ความคิดประยุกต์ดัดแปลง ปัญญาในระดับนี้ ย่อมเป็นปัญญาของพระอรหันต์ ไม่ใช่ปัญญาของปุถุชนธรรมดา อย่างไรก็ตาม ปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง (ธรรมจักษุ) จึงต้องพิจารณาเห็น (๑) กุศลธรรม คือ สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ (๒) อกุศลธรรม คือ สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล และ (๓) อัพยากตธรรม คือ สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ฉะนั้น การพิจารณาเห็น อัพยากตธรรม ได้นั้น ย่อมเป็นความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ที่ต่อยอดองค์ความรู้ที่เหนือปกติขึ้นไปหรือข้ามโลกียธรรม ปัญญาที่เกิดในส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากในการวิวัฒน์ปัญญา (Intellectual Revolution) ในการเจริญภาวนากรรมฐาน ซึ่งต้องใช้เวลาในกากรพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะทั้งกายและใจอย่างแท้จริง และมีจุดมุ่งหมายในการบรรลุวิชชาเพื่อรู้แจ้งเห็นจริงใน อมตธรรมแห่งพระนิพพาน ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง ดังรายละเอียดเนื้อหาที่บรรยายมาข้างต้นนั้น ใช่ว่าองค์ความรู้เหล่านั้น จะเกิดขึ้นได้ง่ายกับทุกคน เพราะเป็นปัญญาญาณระดับพระอรหันต์ อันเป็นประโยชน์เบื้องปลายของการปฏิบัติธรรมในพระธรรมวินัยนี้ แต่ว่าผู้คงแก่เรียน (วิญญูชน) ทั้งหลาย ก็สามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยหาข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเอง เพื่อจะได้ประยุกต์ดัดแปลงเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในอันดับต่อไปนี้ ให้หวนกลับมาพิจารณาถึง คำว่า ปาณาติบาต หมายถึง การปลงชีวิต การฆ่า การประทุษร้ายกัน การทำชีวิตให้ตกล่วง เป็นเรื่องการกระทำทางกาย (ข้อ ๑ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐) ส่วนคำว่า เมตตาและกรุณา (ข้อ ๑ ในเบญจธรรมหรือธรรม ๕) หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ เป็นคุณธรรมคู่กับ ปาณาติปาตา เวรมณี (ข้อ ๑ ในเบญจศีลหรือศีล ๕) หมายถึง เว้นจากการปลงชีวิต เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน นอกจากนี้ คำว่า เมตตาและกรุณา ยังปรากฏร่วมอยู่ในหลักธรรม พรหมวิหาร ๔ หรือ อัปปมัญญาธรรม ด้วย นั่นคือ (๑) เมตตา (ข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔) คือ ความรัก ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า (๒) กรุณา (ข้อ ๒ ในพรหมวิหาร ๔) คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ อย่างไรก็ตาม เตตาธรรมเป็นธรรมค้ำจุนโลก คือ สัตว์ทั้งหลายมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข เมื่อธรรมนี้แพร่กระจายเข้าสู่จิตใจมนุษย์สัตว์ทั้งหลายดีแล้ว ความสงบสุขและสันติสุขย่อมเกิดทั่วหล้า การขัดแย้งผลประโยชน์ด้วยการทำสงครามก็จะลดน้อยลง การทำร้ายฆ่าหมายชีวิตก็ลดน้อยลง จนไม่เกิดความคิดที่จะเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตาม ในโลกความเป็นจริงนั้น การหาเลี้ยงชีพกันในสังคมสมัยใหม่นั้น ต่างพากันอยู่ภายใต้แรงกดดันสูงในการเข่งขันกันเขิงธุรกิจ เพื่อแสวงหาผลกำไรตอบแทนอย่างไม่รับผิดชอบต่อสังคม เพราะกฎหมายเอาผิดไม่ได้ แทนที่จะมีเมตตาและกรุณาต่อคู่แข่งกับลูกค้าของตน ในอีกแง่หนึ่งนั้น ผู้คนสมัยใหม่ไม่เชื่อและศรัทธาในศาสนา (ศีลธรรมและจริยธรรม) โดยเฉพาะพฤติกรรมของพวกสมณะนักบวชบางคนบางกลุ่ม ที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างหน้าด้านๆ (พวกเดียรถีย์และอลัชชี) ไม่มีหิริโอตตัปปะ (ความละอายใจต่อการทำความชั่วและความเกรงกลัวต่อความชั่ว) ในการประกอบอาชีพทุจริตใดๆ ทั้งสิ้น แล้วอะไรคือมูลเหตุของการประกอบกรรมชั่วทั้งหลายนั้น คำตอบก็คือ อกุศลมูล ๓ ได้แก่ โลภะโทสะโมหะ บางคนเข้าใจดี แต่ก็ไม่รู้เรื่อง จะเอามาใช้กับการดำเนินชีวิตสุจริตได้อย่างไร ไปๆ มาๆ เป็นงง ทำชั่วต่ออีก ชนิดหนักกว่าเดิมไปอีกหลายเท่าตัว ก็เพราะตัวโง่จิตอันเป็น อวิชชา นั่นเอง ไม่ว่าธรรมนั้น จะเป็น เมตตา หรือ กรุณา ก็ไม่อยากเชื่อในกรรมดี เพราะมีปัจจัยภายนอกเข้ามาผสมโรงเข้าไปอีก คือ อยู่ในสังคมวิบัติ (คติวิบัติ) ปละสมัยนิยมชั่ว (กาลวิบัติ) อยู่ในช่วงสมัยสังคมส่งเสริมคนชั่วให้ได้ดี ยอมรับการทำชั่วเป็นเรื่องทั้งสังคมตามกระแสนิยม ต้องหาเวลาว่างทำชั่วให้ได้ในแต่ละวัน นอกจากนี้ ยังจะเห็นได้ว่า อกุศลมูลเป็นกิเลสอย่างละเอียดที่ฝังตัวอยู่ในพื้นจิตสันดานของมนุษย์ คอยจังหวะอันเหมาะเพื่อแสดงอกุศลกรรมต่างๆ เมื่อมองดูหน้าตาภายนอกเหมืนกับว่าเป็นคนดี แต่จิตกลับแสดงออกตรงกันข้ามกับหน้าตาบุคลิกภาพของคนๆ นั้น ฉะนั้น เมตตาและกรุณาจึงไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ในจิตใจของคนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะคนที่มีความระแวงสงสัยในการทำความดี ส่วนใหญ่มักคิดถึงประโยชน์มาก่อนเป็นอันดับแรก คือ ความเห็นแก่ได้อย่างไม่มีเหตุผล (อภิชฌาอภิชฌาวิสมโลภะ) ด้วยเหตุนี้ ความอยากได้อยากมีที่กลายเป็นความทะยานอยาก (ตัณหา) นั้น จึงกลายเป็นเหตุปัจจัยให้คิดร้ายต่อกันด้วยความริษยาหมั่นไส้ในความโชคดีของผู้อื่น (ปฏิฆะโทสะ) ไม่เกิดยินดีในความดีของผู้อื่น (มุทิตา) มีแต่ความขัดเคืองใจ (อรติ) ไม่สามารถระงับความหงุดหงิดขัดเคืองแห่งโทสะหรือปฏิฆะได้ หรือจิตนั้นสังยุตต์ด้วย อนุสัย ๗ ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ได้แก่ กามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะอวิชชา กิเลสเหล่านี้จะเข้าขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงคุณธรรมความดี ไม่เกิด สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปปะ นั่นคือ การชอบติดพอใจกับการคิดชั่วทำชั่วว่าเป็นการทำความดี ฉะนั้น บุคคลจะมีจิตเป็นเมตตาธรรม (เมตตาจิต) ด้วยปรารถนาอยากให้เป็นสุข และมี่จิตเป็นกรุณาธรรม (กรุณาจิต) ด้วยปรารถนาอยากให้พ้นทุกข์ จึงไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ในหมู่ปุถุชนทั่วไป เพราะความทุกข์ยาก หรือความอดอยาก หรือความถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม เป็นต้น คนส่วนใหญ่ในสังคมจึงมีความเบี่ยงเบนด้วยจิตเป็นปาณาติบาตมากกว่า และภพภูมิคุณภาพของชีวิตหรือระดับจิตนั้น ก็มักตกอยู่คติของอบายภูมิทั้ง ๔ อย่าง คือ ภูมิที่ปราศจากความเจริญ ได้แก่ นิรยะนรก ๑ ติรัจฉานโยนิกำเนิดดิรัจฉาน ๑ ปิตติวิสัยแดนเปรต ๑ อสุรกายพวกอสูร ๑ ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ในการชักนำมาสู่การปฏิบัติธรรมตามเส้นทางแห่งอริยมรรค ถ้าเข้าไปชักชวนผิดคนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน การประกาศพระศาสนาจึงต้องรู้จักประมาณสถานที่ ถูกเวลาสถานที่ด้วย และถูกบุคคลและกลุ่มบุคคล ถ้าไม่ใช้ปัญญาประกอบด้วยเหตุผล ให้เมตตาและกรุณาผิดที่ผิดทางและผิดเวลา ย่อมทำให้บุคคลนั้น เสียธรรม กลับไปเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นคิดชั่วทำชั่วสะดวกสบายยิ่งขึ้น คือ ให้ความเมตตากับความกรุณามากเกินไป ไม่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล (อโยนิโสมนสิการ) กลายเป็นเรื่องลำเอียงอคติแทน ได้แก่ ฉันทาคติลำเอียงเพราะชอบ ๑ โทสาคติลำเอียงเพราะชัง ๑ โมหาคติลำเอียงเพราะหลง พลาดผิดเพราะเขลา ๑ ภยาคติลำเอียงเพราะกลัว ๑ กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ เข้ากลุ่มรุมจิตใจของตนจำทำให้ไม่มี สติสัมปชัญญะ (ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท) เพราะไม่รู้แจ้งโลกและชีวิตตามเป็นจริงอย่างเพียงพอ จึงเกิด อาการเสียธรรม เช่น หลงงมงายในการทำบุญ ยึดมั่นในศีลพรต อย่างไม่มีสติสัมปชัญญะ ว่าเป็นแนวทางให้หลุดพ้นหรือศักดิ์สิทธิ์ อินทรียไม่แก่กล้าเพียงพอ แต่เข้าไปอยู่กับคนชั่ว กลับลืมสติไปเห็นความชั่วกลายเป็นความดี โดยคิดว่าจะทำให้คนชั่วกลับใจได้ มากลายเป็นดี แต่กลับถูกความชั่วนั้น กินกระบาลตนเอง เป็นต้น ยกตัวอย่าง การระวังบรรดาเกจิอาจารย์ดังๆ มักมีบาปห่อบำรุงด้วยด้วยกลุ่มคนชั่วหรือพวกมิจฉาชีพ จะเสียธรรม เพราะคิดผิดว่าใกล้เกจิอาจารย์ทั้งหลาย มักจะมีแต่คนดีเท่านั้นที่อยู่ล้อมรอบใกล้ชิด ก็อย่างไปเข้าใจว่าเป็นกรรมของตน แต่ทุกคนก็มีสิทธิ์เลือกคบได้เฉพาะกัลยาณมิตรจะดีกว่า ทั้งหลายทั้งปวง ก็อยู่ที่การตัดสินใจที่ใฝ่ดีเท่านั้น เมื่อกล่าวถึง เมตตาธรรม ในอีกนัยหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับความเจริญเมตตาภาวนานั้น จะเห็นได้ว่า วิธีการนี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำจิตให้เข้าสู่ฌานจิตแห่งสมาธิ (เอกัคคตาแห่งสมาธิ) นั่นคือ จิตนั้นประกอบด้วย เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา ที่เรียกว่า อัปปมัญญา ๔ หรือ อัปปมัญญาธรรม (พรหมวิหารธรรม) จิตดวงสุดท้าย คือ อุเบกขาจิต อันเป็นองค์ฌานในฌานขั้น จตุตถฌาน คือ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ เพราะฉะนั้น การแผ่เมตตาจนจิตสงบปัสสัทธิด้วยปีติ แล้วเกิดสุข ในขั้นปฐมฌานทุติยฌานและตติยฌาน ซึ่งจิตเป็น เอกัคคตาแห่งสมาธิ ตลอด จนก้าวถึง จตุตถฌาน สหรคตด้วย อุเบกขาแห่งอัปปมัญญาธรรม เนื่องด้วยการแผ่เมตตาแก่มนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ทำให้จิตลด อภิญชาพยาบาทมิจฉาทิฏฐิ ที่เรียกว่า มโนทุจริต ๓ อนึ่ง เมื่อจิตพื้นฐานเป็น มโนทุจริต ๓ แล้ว ย่อมเป็นเหตุให้เกิด กายทุจริต ๓ และ วจีทุจริต ๔ ได้แก่ (๑) ปาณาติบาตอทินาทานกาเมสุมิจฉาจาร และ (๒) มุสาวาทปิสุณาวาจาผรุสวาจาสัมผัปลาปะ ผู้ที่เจริญเมตตาภาวนาสืบเนื่องอยู่เป็นนิตย์ ย่อมเกิดจิตใจงดงามเป็นกุศลฌานจิต ที่เป็นระดับจิตสมบูรณ์ใน รูปาวจรภูมิ ได้จริงอีกทางหนึ่ง นอกจากการเจริญจตุสติปัฏฐานกัมมัฏฐาน (สติปัฏฐาน ๔) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมควรผึกอปรมกรรมฐานทั้ง ๒ แนวทาง ได้แก่ (๑) เมตตาภาวนา กับ (๒) จตุสติปัฏฐานกัมมัฏฐาน เพราะแนวทางปฏิบัติทั้ง ๒ อย่าง นั้น ต่างก็เป็นประโยชน์ในการชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายได้เช่นกัน จนเกิดปัญญาเห็นธรรม คือ สภาพแห่งทุกข์ (ทุกขสัจจ์) กับเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัยสัจจ์) ที่ทำให้เข้าใจประจักษ์แจ้งในเรื่อง (๑) กฎแห่งกรรม และ (๒) กฎแห่งกรรมของสัตว์กัมมัสสกตาญาณ จึงอยากคิดดี ทำดี เห็นภัยอันตรายของการคิดชั่วทำชั่ว อันจะนำชีวิตสืบเนื่องใน สังสารวัฏฏ์ ไม่สิ้นสุด จึงเล็งเห็นประโยชน์อันใหญ่หลวงในคุณธรรมอันประเสริฐของสัตบุรุษ ที่เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ หรือ อัปปมัญญา ๔ โดยเฉพาะข้อธรรม เมตตาธรรม นั่นเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ประเด็นข้อธรรม ปาณาติบาต กับ เมตตาและกรุณา นี้ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาสภาวธรรมทั้ง ๒ อย่าง ให้ละเอียดลึกซึ้ง เกิดความคิดริเริ่ม ความสร้างสรรค์ และความคิดประยุกต์ดัดแปลง นั่นคือ รู้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนในการเจริญภาวนากรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติก็ตาม การหมั่นเพียรพิจารณาสภาวธรรม หรืออารมณ์แห่งกรรมฐานอย่างสืบเนืองเป็นนิตย์ (มนสิการอนุปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ อนุปัสสนา ๗ สติปัฏฐาน ๔ อนุสติ ๑๐ เป็นต้น) ทำให้มาก ทำให้จริง จนบริบูรณ์และไพบูลย์ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความสำเร็จแห่งมรรคผลนิพพานได้ ผู้ที่เกียจคร้านไม่ประกอบความตื่น (ชาคาริยานุโยค) ในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ย่อมเสียโอกาสที่จะเห็น โลกุตตรธรรม (คุณอันใหญ่) ได้ เพราะไม่สามารถนึกคิดไตร่ตรองสภาวธรรมประด้วยปัญญาและเหตุผล (โยนิโสมนสิการ) และย่อมไม่สามารถเข้าถึง ภาวนามยปัญญา อันเป็นปัญญาญาณในวิปัสสนา ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.
|