๓๔. ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมเลือกความสงัดและความสงบ The Practice Chooses the States of Seclusion and Calmness
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการบรรลุธรรมวิเศษในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ให้พิจารณาถึง เวลา กับ สถานที่ ซึ่งมีความสำคัญหรืออิทธิพลต่อผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ความสงัดปวิเวก และ ความสงบอุปสมะ จึงเป็นเรื่องสภาพแวดล้อมอันเป็นมงคลหรือผลดีต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมให้ยิ่งยวดยิ่งขึ้นไป อันเป็นสภาพที่เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้ (สัมโพธะ) ได้ไม่ยากนัก ธรรมย่อมไม่เจริญในสถานที่ อโคจร (บุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ มี ๖ คือ หญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวเทื้อ ภิกษุณี บัณเฑาะก์(กะเทย) และร้านสุรา) อันไม่ควรที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะไปอยู่อาศัยในการทำกรรมใดทั้งสิ้น ยิ่งอยู่กับคนหมู่มาก ก็ยิ่งมากเรื่อง ทำให้จิตไม่เป็นสมาธิอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถเห็นความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้นจากเดิม แต่กลับไปสู่ฐานะความเป็นปุถุชนสามัญเช่นเดิม ไม่สามารถรักษาศีลไว้ได้ และย่อมเกิดความประมาทขึ้นได้เสมอ เพราะไม่สำรวมระวังอินทรีย์ทั้งหลาย (ตาหูจมูกลิ้นกายใจ กับ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ คือ ความสัมพันธ์กันระหว่าง อินทรีย์ ๖ กับ อารมณ์ ๖ ที่เรียกว่า อายตนะ ๑๒) ฉะนั้น ระบบการทำงานของสมองมนุษย์ในขณะประมวลผลองค์ความรู้ต่างๆ นั้น ย่อมต้องการความเงียบสงบ ในการตีความย่อยองค์ความรู้ต่างๆ ให้กลายเป็นปัญญาในการหยั่งรู้และหยั่งเห็น (ญาณทัสสนะ) เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ เกิดความฟุ้งซ่าน สำคัญผิดในธรรมหรือสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นในวิปัสสนา เปิดโอกาสให้ อวิชชา เข้าครอบงำปัญญาได้ ย่อมหนีไม่พ้นจาก โลกธรรม ๘สังขตธรรม (โลกียธรรม) คือ จิตวกวนอยู่ใน วัฏฏะ ๓ (กิเลสกรรมวิบาก) ไม่สามารถหนีหลุดพ้นจาก อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็ย่อมไม่สามารถเข้า สัจจภาวะแห่งนิพพาน (วิวัฏฏะขันธวินิมุต) หรือ อมตธรรมบรมธรรม (นิพพานอสังขตธรรม) ได้เช่นกัน.
บทความที่ ๓๔ ประจำปี ๒๕๕๙ ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมเลือกความสงัดและความสงบ
เมื่อได้เลือกทางเดินชีวิตเป็นนักปฏิบัติธรรม (Mediator) แล้ว ความสงัดจากคนหมู่มาก คือ ปวิเวก และความสงบ คือ อุปสมะ (นิพพาน) โดยระงับโทษข้อขัดแย้งมัวหมองวุ่นวาย อันเกิดจากกิเลสทั้งหลาย แล้วทำจิตใจให้สงบได้ อาการลักษณะดังกล่าวนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ปฏิบัติธรรม (โยคาวจร) เพราะความวุ่นวายด้วยหมู่คนและด้วยการพอกพูนกิเลสนั้น ทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ ฟุ้งซ่าน สัดส่าย หวั่นไหว ไปตามกระแสแห่งโลกธรรมทั้งหลาย ตามฉบับของปุถุชนชาวโลก ดำรงอยู่ในทุคติแห่งสังสารวัฏฏ์ ในการถือประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น มีเป้าหมายในการยกระดับจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสธรรมเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ด้วยการทำจิตให้เป็นสมาธิอย่างเป็นสุข คือ การบำเพ็ญฌานสมาบัติด้วย (๑) รูปฌาน ๔ และ (๒) อรูปฌาน ๔ จนถึง การเข้านิโรธสมาบัติ ได้ตามลำดับ แต่ในทางปฏิบัตินั้น จิตเริ่มปราศจากนิวรณ์ได้นั้น ย่อมอยู่ในรูปฌานแต่ละระดับ ระดับที่ดีที่สุด คือ จตุตถฌาน ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) อุเบกขา กับ (๒) เอกัคคตาแห่งสมาธิ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร เมื่อจิตสรหคตด้วย จตุตถฌานกุศลจิต แล้ว อันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม จรณะ ๑๕ (เสขปฏิปทา) หมายถึง แนวทางประพฤติปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงวิชชา ได้แก่ (๑) สีลสัมปทา ๑ (๒) อปัณณกปฏิปทา ๓ (๓) สัทธรรม ๗ และ (๔) ฌาน ๔ กล่าวโดยรวม คือ ศีลอินทรียสังวรโภชเนมัตตัญญุตาชาคาริยานุโยคศรัทธาหิริโอตตัปปะพหูสูตวิริยารัมภะสติปัญญาปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน สำหรับคุณธรรม ๑๕ ประการ ดังกล่าวนี้ เรียกว่า เสขปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล เพื่อให้บรรลุธรรมวิเศษ นั่นคือ วิชชา ๓ (วิชชา ๘อภิญญา ๖) หมายถึง ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ และความรู้ยิ่งยวด คำว่า ปวิเวก กับ อุปสมะ นั้น ไม่ได้หมายความว่า การเป็นหนีสังคมไปอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือการต่อต้านสังคม เพียงแต่หาเวลาและสถานที่เพื่อฝึกปฏิบัติธรรมเป็นส่วนตัว ในระหว่างการฝึกปฏิบัติธรรม เมื่อบรรลุความรู้วิเศษแห่งวิชชาแล้ว ย่อมก้าวเดินสู่วิปัสสนาภูมิได้ในเวลาเดียวกัน นั่นคือ ญาณในวิปัสสนา (ญาณ ๑๖โสฬสญาณ) แต่จะมีความก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ให้บรรลุอรหัตตผลให้ได้ (พระอเสขะ) ฉะนั้น คำว่า ปวิเวก จึงประกอบด้วย วิเวก ๓ หมายถึง ความสงัด ความปลีกออก ได้แก่ (๑) กายวิเวก คือ อยู่ในที่สงัด ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียว (๒) จิตตวิเวก คือ ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และอริยมรรค อริยผล และ (๓) อุปธิวิเวก คือ ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลส ขันธ์ อภิสังขาร หมายเอาพระนิพพาน ดังนั้น การสงบกายและใจเพื่อไม่ให้เกิดกรรมภพ (กายวาจาใจ) และอุปัตติภพ (ภูมิ ๓๑) จึงเป็นประเด็นสำคัญในการปฏิบัติธรรมด้วยการพิจารณากำหนดรู้สภาวธรรม (โยนิโสมนสิการ) คือ เจริญธรรมด้วยปัญญาและเหตุผล (ทิพพจักขุญาณ) เช่น คำว่า เหตุผล หมายถึง ปัญญากำหนดรู้สาเหตุของสภาพแห่งทุกข์ (ทุกขตา ๓ ได้แก่ ๑. ทุกขทุกขตา คือ สภาพทุกข์คือทุกข์ หรือความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ ๒. วิปริณามทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ๓. สังขารทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร) นั้นๆ ไม่ใช่เรื่องอื่น หรือเรื่องประกอบอาชีพทำให้รวยกว่าคนอื่นๆ ไม่ใช่เรื่องนั่งสมาธิแล้วรวยกันทุกคน เพราะจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมเพื่อหมายเอาพระนิพพานเท่านั้น และ คำว่า รวย นั้น ย่อมหมายถึง การเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น (อภิชฌาพยาบาทวิหิงสา) ไม่ว่าบุคคลนั้นจะครองตนเป็นฆราวาสหรือสมณะก็ตาม ฉะนั้น ความเข้าอย่างถูกต้องและลึกซึ้งตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ (๑) วิราคะวิสังโยคอปจยะอัปปิจฉตาสันตุฏฐีปวิเวกวิริยารัมภะสุภรตา และ (๒) เอกันตนิพพิทาวิราคะนิโรธอุปสมะอภิญญาสัมโพธะนิพพาน ถ้าบุคคลปฏิบัติผิดจากธรรมใน ๒ กลุ่ม นี้ ถือว่าอยู่ในสภาวะไม่ถูกต้อง ย่อมเกิด (๑) วิปลาส ๔ และ (๒) อคติ ๔ ขึ้นอย่างแน่นอน ต้องปรับอาการและจิตใจใหม่ให้เข้ากับกระแสแห่งอริยมรรค มิฉะนั้น ก็จะได้ชื่อว่า ผู้ประมาท หรือ ชนผู้หลงทิศ อนึ่ง ความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง (สัมมทิฏฐิ) นั่นคือ คิดถูกทำถูก ไม่ใช่คิดเหมาเองทำเองอย่างผิดๆ เพราะจิตสหรคตด้วย อกุศลมูล ๓ อย่างรุนแรง ได้แก่ โลภะโทสะโมหะ (ราคะโทสะโมหะ หรือ ราคะปฏิฆะอวิชชา) จนไม่เกิด ปัญญาเห็นธรรม ทั้งปวงตามสภาพที่ถูกต้องและเป็นจริง (ไตรลักษณ์) ซึ่งดูอาการเหมือนจะเข้าใจถูกต้องแต่เข้าใจอย่างผิดๆ ดำเนินชีวิตดำรงในทางที่ผิด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงตามธรรมดา คือ อริยมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔มัคคญาณ ๔) ไม่ใช่ทางสายกลางแห่งปัญญา มัชฌิมาปฏิปทา บุคคลผู้หลงทิศหลงทางนั้น ถ้าไม่แก้ไขให้ถูกต้อง ก็ยิ่งผิดอย่างรุนแรง เพราะเป็น มิจฉาทิฏฐิ ไม่ฟังพระฟังเจ้าด้วยกัน เป็น วิบัติ ๔ ได้เช่นกัน ได้แก่ ศีลวิบัติอาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติอาชีววิบัติ ฉะนั้น การหมั่นตรวจสอบพฤติกรรมและความคิดของตนเองอย่างสืบเนื่อง อยู่บ่อยๆ ว่า ถูกต้องหรือผิดไป จึงเป็นเรื่องการปรับปรุงแก้ไขธรรมของตนเองให้ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสอบในภาวนากรรมฐาน (สมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา) เพราะจิตอยู่ในอาการสงบระงับจากนิวรณ์ได้ดีกว่าจิตตามสภาพปกติ ที่เจือปนกิเลสมากมาย เพราะความประมาทในธรรมและปัญญา ด้วยเหตุนี้ ความสงัดปวิเวก กับ ความสงบอุปสมะ นั้น จึงเป็นรากฐานสำคัญในการชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย เพื่อเป็นฐานให้เกิด ปัญญาญาณในวิปัสสนา สามารถพิจารณากำหนดรู้สภาวธรรมได้ตามเป็นจริงด้วย อำนาจสมาธิในวิปัสสนา (ญาณทัสสนะสติสัมปชัญญะ) อันเป็นแนวทางประพฤติพรหมจรรย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.
|