๓๖. ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความฉิบหาย Carelessness Brings about the Origin of Various Damages
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในพุทธพจน์ที่กล่าวว่า รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ความไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นมูลเหตุให้หลงลืม ย่อมมีจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ไม่เข้าใจสภาวธรรมหรือสภาวะแห่งจิตของตนตามเป็นจริง ตากกำหนดแห่งธรรมดา หรือตามกฎธรรมชาติ นั่นคือ ไม่เกิดปัญญาเห็นสภาวธรรมหรือธรรมทั้งหลายตาม สามัญลักษณะ ๓ ตามกฎไตรลักษณ์ [อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา] อันเป็น ธรรมนิยาม ๓ [ธรรมฐิติ] ได้แก่ (๑) สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (๒) สังขารทั้ง เป็นทุกข์ และ (๓) ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ฉะนั้น ความไม่รู้จริงตามสภาวะที่ถูกต้องตามเป็นจริง จึงเป็นเหตุให้นึกคิดไม่ตรงกับความเป็นจริง ได้แก่ อวิชชา ๔ [ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔] และ อวิชชา ๘ [ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ไม่รู้ในกาลทั้ง ๓ไม่รู้อิทัปปัจจยตา ๑] โดยรวมหมายถึง โมหะ คือ ความหลงใหลหรือหลงลืม นั่นเอง ซึ่งแสดงนัยถึงหลักธรรม อัปปมาทะ หมายถึง ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความเจริญก้าวหน้า ตระหนักในสิ่งที่พึงทำและพึงละเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่อันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย กระทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบ และรุดหน้าเรื่อยไป เพราะฉะนั้น การพัฒนาเจริญสติและสัมปชัญญะจึงเป็นแนวทางสำคัญของผู้ปฏิบัติธรรมตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า.
๓๖. ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความฉิบหาย
คุณธรรมที่ควรพิจารณาเนืองๆ ให้เป็นอนุสติแก่ตนอยู่เสมอ คือ ความไม่ประมาทอัปปมาทะ หมายถึง ความระมัดระวัง ความไม่สะเพร่า ความเอาใจใส่ ความสนใจ ความไม่เลินเล่อ ความรอบคอบ ความไม่บุ่มบ่าม ความฉลาด ความสุขุม ภาวะทั้งหลายเหล่านี้เป็นธรรมคู่กับ มรณสติ นั่นคือ มรณธัมมตา ซึ่งเป็นภาวะที่ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เมื่อเราพิจารณาอยู่เป็นนิตย์ ก็ย่อมเกิดปัญญาเห็นธรรมได้เช่นกันว่า ตนไม่ควรประมาทต่อธรรมใดๆ เพราะเวลาชีวิตมีน้อย ก็ควรเร่งรีบตนในการสร้างบุญกุศลบารมีให้แก่ตนให้เกิดประโยชน์ในทางเจริญที่ประเสริฐ รวมทั้งแก่ผู้อื่นด้วย (กรุณาธรรม) พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะประกอบด้วยคุณธรรม ๒ ประการ ได้แก่ (๑) ปัญญา (Wisdom) คือ ความรู้ชัด หยั่งรู้ในเหตุผล พิจารณาให้เข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายจนเข้าถึงความจริง ประกอบด้วยคุณธรรม ๒ อย่าง ได้แก่ พุทธภาวะคุณสมบัติถึงความเป็นพระพุทธเจ้า และ อัตตนาถะความพึ่งตนเองได้ กับ (๒) กรุณา (Compassion) คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ ประกอบด้วยคุณธรรม ๒ อย่าง ได้แก่ พุทธกิจหน้าที่ของพระพุทธเจ้า และ โลกนาถความเป็นที่พึ่งของชาวโลกได้ ฉะนั้น บุคคลผู้ถือครองสมณเพศไว้ จึงหมายถึง ผู้มีคุณสมบัติจะเป็นพุทธเจ้าต่อไปในกาลข้างหน้า นั่นคือ การเป็นผู้รู้แจ้งโลกและชีวิตด้วยปัญญาและเหตุผลตามเป็นจริง (สติสัมปชัญญะยถาภูตญาณ) มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจถึงการบรรลุความตรัสรู้ (สัมโพธะ) ธรรมวิเศษ หรือ อธิคมธรรม ได้ อันถือเป็น โลกุตตรธรรม หมายถึง สภาวะแห่งจิตของผู้ไม่ประมาทในธรรมและชีวิต (เบญจขันธ์ขันธ์ ๕นามรูป) จึงเป็นคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเหมาะควรแก่ธรรม ที่ประกอบด้วย ๒ ส่วน ได้แก่ (๑) วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖ กับ (๒) จรณะ ๑๕ ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗ฌาน ๔ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้ถึงพร้อมด้วย (๑) วิปัสสนาพละ กับ (๒) สมถพละ นั่นเอง คำศัพท์บัญญัติด้านพระพุทธศาสนานั้น พุทธมามกะทั้งหลายต้องเจริญธรรมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในเชิงความหมายผล (อัตถปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานด้านอรรถะ) และเชิงหลักธรรมเหตุ (ธัมมปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานด้านธรรม) เมื่อเจริญธรรมภาวนามากๆ อยู่บ่อยๆ สืบเนือง บุคคลนั้น ย่อมบรรลุถึงปัญญาญาณ คือ ทิพพจักขุญาณ อันเป็นปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมด้วยพลังสมาธิและวิปัสสนาโดย (๑) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ กับ (๒) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ที่เรียกว่า ปัจจัยธรรม ข้อธรรมที่บรรยายมาข้างต้นนี้ เป็นธรรมไม่สาธารณ์แก่ปุถุชนทั่วไป เป็นเรื่องเฉพาะแก่ผู้เป็น อริยบุคคล ในพระธรรมวินัยนี้เท่านั้น นั่นคือ ประพฤติปฏิบัติสัมมาปฏิปทาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมแน่แท้แล้ว ได้บรรลุถึง อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ย่อมเกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวงอย่างอัศจรรย์ เกิดปัญญาแตกฉานด้านหลักธรรม (ทฤษฎี) คือ ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ (ธรรมฐิติญาณ) และได้ถึง ยถาภูตญาณทัสสนะ อันเป็นกำลังให้เกิดปัญญาตรัสรู้ สัมโพธิญาณ ได้ในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาตนให้กาวหน้าไพบูลย์ยิ่งขึ้นในธรรมนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน ส่วนใหญ่ก็มีเหตุมาจากความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา กลายเป็นเหตุให้เกิดความประมาท แทนที่จะสำรวจระวังด้วย ความไม่ประมาทอัปปมาทะ คนส่วนใหญ่เรียนรู้ได้จริง แต่ทำไม่ได้จริงดังที่เข้าใจไว้ ก็เลยถึงข้อสรุปว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องไม่จริง เพราะตนเจริญภาวนากรรมฐานไม่สำเร็จ ดำเนินกรรมฐานผิดทาง ไม่ใช่ทางสายกลางแห่งปัญญา มัชฌิมาปฏิปทา (The Middle Path) ที่ต้องดำเนินตาม (๑) อริยมรรค จนเกิดปัญญารู้แจ้งในญาณแห่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ (มัคคสมังคี คือ ผู้ถึงพร้อมประกอบด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘อริยอัฏฐังคิกมรรค ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากนัยแห่ง ภาวิตัตต์ หรือ ผู้พร้อมด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ = มัคคสมัคญาณ หรือ อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณญาณทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘) และ (๒) อริยสัจจ์ ๔ (จตุสัจจพุทธะ: ทุกขญาณสมุทยญาณนิโรธญาณมัคคญาณ [ปริญญาปหานะสัจจิกิริยาภาวนา]หรือ ทุกขญาณทุกขสมุทยญาณทุกขนิโรธญาณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ปัญญาเห็นสภาพแห่งทุกข์ปัญญาเห็นเหตุแห่งทุกข์ปัญญาเห็นแจ้งในนิพพานปัญญาเห็นข้อปฏิบัติที่พ้นทุกข์]) ว่าเป็นทางดำเนินอันถูกต้องที่ประเสริฐทำให้กลายเป็นอริยบุคคลได้จริง อันเป็นสัจจธรรมขั้นสูงสุดโดยปรมัตถ์เท่านั้น ผู้จะบรรลุธรรมวิเศษเหล่านี้ได้ ต้องเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยปัญญาโดยแท้จริงในความเป็นจริงนั้น ความประมาทในธรรมเป็นความผิดพลาดละเลยไม่ใส่ใจในขั้นตอนการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง เพื่อเข้าไปค้นหาความจริงสูงสุดโดยปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรมปรมัตถสัจจะ) โดยผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ทั้งฝ่าย โลกียธรรม และ โลกุตตรธรรม นั่นเอง ฉะนั้น แนวทางดำเนินปฏิบัติต้องเป็นความจริงอันประเสริฐอย่างแท้จริง ปลอดภัยด้วย เกษมธรรม จากกิเลสทั้งหลาย มีลำดับขั้นถือปฏิบัติที่ชัดเจน (ตามวิธีทางวิทยาศาสตร์) ไม่ว่าใครถือปฏิบัติตาม ก็ต้องสามารถสำเร็จบรรลุถึง อริยธรรม [อริยศีล ๑ อริยสมาธิ ๑ อริยปัญญา ๑ อริยวิมุตติ ๑] หรือ อริยมรรค [อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘อริยมัคคญาณ ๔] ได้เช่นกัน ไม่ได้ขึ้นกับ กรรมปัจจัยวิบากปัจจัย เพียงด้านเดียว คือ บุคคลนั้นสามารถสร้างกุศลกรรมด้วยกุศลวิบากใหม่ได้ เพราะเป็นเจตนาที่เป็นกุศลกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ ด้วยความเชื่อศรัทธาว่า ทำดี ย่อมได้ดีทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว หรือ กฎแห่งกรรม [กัมมผลสัทธา]กฎแห่งกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตาสัทธา] ประกอบรวมกัน (ทิพพจักขุญาณ) ถ้าความเชื่อดังกล่าวนี้ ไม่เป็นจริงดังคำสอนของพระพุทธเจ้า ความคิดเห็นดังกล่าวนี้ ก็ย่อมตกไปเป็นเรื่องความเชื่อที่คลาดเคลื่อนใน (๑) ลัทธิกรรมเก่า (๒) ลัทธิพระเป็นเจ้า (๓) ลัทธิเสี่ยงโชค ซึ่งเป็นแนวความเชื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อหลักมัชฌิมาปฏิปทา สำหรับบุคคลผู้ไม่ยอมดิ้นรนเพื่อสร้างบุญกุศลบารมีในปัจจุบัน แม้แต่ในกระบวนการคิดที่ต้องดำเนินตาม หลักอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา (๓) นำไปสู่ปัญญา แต่ในขั้นตอนศึกษาค้นคว้านั้น ก็เป็นไป ตามหลักไตรสิขา ได้แก่ อธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา ที่เรียกสามัญว่า ศีลสมาธิปัญญา ฉะนั้น ขั้นตอนการปฏิบัติด้วยสัมมาปฏิปทาในประเด็นดังกล่าวนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเกข้าใจให้ถูกต้องในการเจริญภาวนากรรมฐาน อย่าให้เกิดข้อผิดพลาดด้วยความสะเพร่าไม่ใส่ใจอย่างละเอียดด้วยความประมาท (อวิชชาโมหะ) โดยให้เกิด ยถาภูตญาณทัสสนะ ด้วยปัญญาเห็นนามรูปโดย กฎไตรลักษณ์ อย่างแท้จริง ดังนั้น ความประมาททำให้เกิดความหวั่นไหวฟุ้งซ่านไปตามกระแสของโลกธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะความละเลยในการเจริญ สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา (การมนสิการกรรมฐาน) หรือไม่หมั่นเพียร ไม่ประกอบความเพียร และอดทนในการเจริญ โพธิปักขิยธรรมอภิญญาเทสิตธรรม ทั้ง ๓๗ ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕มรรคมีองค์ ๘ ตามลำดับ หลักธรรม โพธิปักขิยธรรม ๓๗ นี้ ถือเป็นข้อธรรมปฏิบัติสำหรับพระเสขะ คือ เสขปฏิปทา แต่อย่างไรก็ตาม คุณธรรมทั้ง ๓๗ อย่าง นี้ ยังมีนัยหมายถึง มรรคภาวนา ด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า เอกายนมรรค คือ ทางอันเองที่ประเสริฐอันทำให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง อนึ่ง ธรรมใดจะวิเศษแค่ไหนก็ตามต้องสัมปยุตต์ด้วย อัปปมาทะ คือ ความไม่ประมาท ผลแห่งการปฏิบัติจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้ตามความตั้งใจไว้ เพราะฉะนั้น ความประมาทจึงมีนัยตรงกับ ความไม่มีสติสัมปชัญญะในการครองตน ปราศจาก ญาณสัมปยุตต์ คือ ไม่เกิดปัญญาหยั่งรู้ในสภาวธรรมตามเป็นจริง หรือ โยนิโสมนสิการ (วิธีอย่างถูกวิธีตามหลักวิทยาศาสตร์) ด้วย ธรรมฐิติญาณ (ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖) คือ ปัญญาหยั่งรู้ความดำรงคงตัวแห่งธรรม หรือความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา ซึ่งเป็นปัญญาญาณในวิปัสสนาที่เกิดขึ้นใน วิปัสสนาภูมิ เท่านั้น หมายถึง ธรรมที่เป็นภูมิของปัญญา (ปัญญาภูมิ) หรือ (๑) การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานที่วิปัสสนาดำเนินไป คือ การมองดูรู้เข้าใจ (สัมมสนะ มักแปลกันว่า พิจารณา) หรือรู้เท่าทันสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็น อนิจจะทุกขะอนัตตา [สามัญลักษณะ ๓] อันดำเนินไปโดยลำดับ จนเกิด ตรุณวิปัสสนา [วิปัสสนาอ่อนๆ อยู่ในขั้น อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ข้อ ๔ ในญาณ ๑๖ ยังอยู่ในอำนาจของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ อย่าง] ซึ่งเป็นพื้นของการก้าวสู่วิปัสสนาที่สูงขึ้นไป (๒) ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ตรงกับคำว่า ปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ด้วยเหตุนี้ ปัญญาญาณที่เกิดขึ้นวิปัสสนาภูมิต้องประกอบด้วย (๑) สมถพละ และ (๒) วิปัสสนาพละ รวมกัน เพราะเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมโยคาวจร ทั้งหลายนั้น จึงต้องมั่นรักษาอารมณ์แห่งกรรมฐานที่ได้เจริญถึงขั้นนั้นๆ ไว้ให้ได้ และสามารถต่อยอดกรรมฐานให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นให้สมบูรณ์ถึงไพบูลย์ด้วย เกษมธรรมแห่งพระนิพพาน ในการปฏิบัติธรรมนั้น เวลาเป็นมิติที่มีความสำคัญในการบรรลุ อริยมรรคอริยผลนิพพาน อยู่เสมออย่างต่อเนื่อง เพราะเวลาหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต ว่าจะมีชีวิตสืบเนื่องหรือหมดอายุขัยลงในกาลนั้นๆ ฉะนั้น สภาวธรรมที่แปรเปลี่ยนผันไปในทุกขณะนั้น ย่อมหมายถึงสภาวะแห่งจิตของผู้ปฏิบัติธรรมนั้นๆ อันมีกิเลส ๓ อย่าง เข้ามาเกี่ยวข้องในจิตใจ ได้แก่ วิตกกมกิเลสปริยุฏฐานกิเลสอนุสยกิเลส ผู้มีปัญญายอมดับกิเลสเหล่านี้ด้วยไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา ตามลำดับ แต่ระยะเวลาที่ใช้ในการกำจัดกิเลสนั้น ก็เป็นช่วงเวลาสั้นยาวแตกต่างกันขึ้นอยู่เจตนาและความตั้งมั่นจริงจังกับการเจริญภาวนากรรมฐาน การจะมาปฏิบัติธรรมเล่นๆ นั้น ย่อมไม่เกิดผลดีที่จะสำเร็จมรรคผลและนิพพานได้เลย การปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับแนวทางปฏิบัติธรรมนั้น จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการบรรลุธรรมวิเศษนี้ ข้อแม้ข้อแก้ตัว [มาร] ทั้งหลายนั้น จึงกลายเป็นอุปสรรคยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดความล้มเหลว ที่เรียกว่า ฉิบหายเสียคุณอันใหญ่ คือ หมดโอกาสบรรลุโลกุตตรธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น การหันหลังต่อสิ่งที่ตนรักพอใจ จึงเป็นเรื่องต้องตัดขาดได้จริงๆ มิฉะนั้น ก็หมดโอกาสบรรลุโลกุตตรธรรมในชาติปัจจุบันนี้ได้ ถ้าพิจารณาในอีกมุมหนึ่งนั้น การเป็นพุทธบริษัทอย่างแท้จริงนั้น จึงเปรียบเสมือนว่าตนได้กลายเป็นบุคคลหนีสังคม ไปอยู่ในป่าอย่างโดดเดี่ยว เพื่อค้นหาจิตวิญญาณของตนอย่างแท้จริง ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคจากสังคมและเครือญาติเพื่อพ้องทั้งหลาย เมื่อสำเร็จบรรลุถึง มรรค ผล และ นิพพาน แล้ว ค่อยย้อนกลับมาเกื้อกูลสังคมที่ตนต้องพึ่งพาอาศัยเลี้ยงชีพตนเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ความทันสมัยของสังคมด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีนั้น ก็ย่อมเป็นมูลเหตุสำคัญให้เกิด ความไม่ประมาทอัปปมาทะ ในธรรมและชีวิตได้ ทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนข้อต่อการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ตั้งเป้าหมายความสำเร็จด้อยลงจากคราวเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรม กล่าวง่ายๆ คือ เสียทรง ไม่ประสบความสำเร็จทั้งที่โอกาสอำนวยให้ดีพร้อมอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลผู้ไม่เจริญธรรมด้วย ความไม่ประมาทอัปปมาทะ นั้น ย่อมเป็นบุคคลที่มีร่างกายและจิตใจอ่อนแอต่ออำนาจของกิเลสทั้งหลาย ที่ปรากฏได้ชัดเจนนั้น ก็คงหนีไม่พ้น อุปกิเลส ๑๖ ได้แก่ อภิชฌาสมโลภะพยาบาทโกธะอุปนาหะมักขะปลาสะอิสสามัจริยะมายาสาเถยยะถัมภะสารัมภะมานะอติมานะมทะปมาทะ หรือ กิเลส ๑๐ ได้แก่ โลภะโทสะโมหะมานะวิจิกิจฉาพีนะอุทธัจจะอหิริกะอโนตตัปปะ ในบรรดากิเลสเหล่านี้ คือ สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมองหรือขุ่นมัว เข้าถึงอกุศลความดีได้ยาก จิตจึงคงสภาพอยู่ในอบายภูมิทั้ง ๔ คติ (นรกกำเนิดเดรัจฉานเปรตอสูรกาย) ได้ง่าย เพียงความประมาทอย่างเดียวอุบัติขึ้นในจิต กิเลสทั้งหลายที่เหลือก็พร้อมกลุ้มรุมจิตได้ตลอดเวลา ยิ่งอยู่ในสถานที่ อโคจร ไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนากรรมฐาน ก็ยิ่งมีแต่ความฉิบหายวิบัติเกิดขึ้นในจิตได้ง่าย ฉะนั้น ความไม่ประมาทอัปปมาทะ จึงเป็นคุณธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ ปมาทะความประมาท ผู้ที่เจริญแล้วและได้พัฒนาตนแล้ว จึงต้องสำรวมระวังอินทรีย์ด้วยความไม่ประมาทในทุกขณะจิต ย่อมหลีกหนีจาก ชาติชราพยาธิโสกะ และสังกิเลสทั้งหลาย ที่เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ธรรมเครื่องทำลายอารมณ์ของพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งเห็นจริงใน สัจจสภาวะแห่งนิพพาน แต่อย่างไรก็ตาม พระอรหันต์ย่อมรู้เท่าทันอำนาจของกิเลสทั้งหลายเป็นอย่างดี ก็เนื่องด้วยการเจริญธรรมใน ความไม่ประมาทอัปปมาทะ ในกิจของตนอันพึงประพฤติปฏิบัติสัมมาปฏิปทาตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เพียงแต่หวังว่า ท่านทั้งหลายจะไม่ประมาทในธรรม ปัญญา และชีวิต ซึ่งเหลือเวลาอันน้อยนิดให้เกิดคุณค่าอเนกประการทั้งปวง.
|