๓๘. กาลขณะแห่งสภาวธรรม A Period of Time Based on Phenomena
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
เมื่อพิจารณาไตร่ตรองความเป็นไปในชีวิตของตนให้ดีแล้ว จะเห็นว่า ชีวิต [Life] ต้องดำเนินไปโดยขึ้นตรงกับ กาลเวลา [Time] เพราะฉะนั้น เรื่องราวต่างๆ ของชีวิตจึงเป็นเหตุการณ์ช่วงหนึ่งที่อุบัติและดับไปในช่วงห้วงแห่งระยะเวลา ที่ประกอบด้วยกาลทั้ง ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) อดีตกาล (๒) ปัจจุบันกาล และ (๓) อนาคตกาล โดยมนุษย์มีวิถีชีวิตอยู่กับระยะเวลาที่เป็นศูนย์ที่รับวิบากกรรมจากอดีตมาปัจจุบันและปัจจุบันก็สร้างกรรมให้ไปรับวิบากกรรมในอนาคต ซึ่งจะเกิด กรรม ๓ [กายกรรม ๓วจีกรรม ๔มโนกรรม ๓] ที่เวียนว่ายตายเกิดไปตามกระแสโลกไม่สิ้นสุด [ชีวิตสันตติ] ที่เรียกว่า สังสารทุกข์ทุคติ ตามนัยของ คำว่า เหตุการณ์เรื่องราวประวัติ เกี่ยวกับชีวิตนั้น คือ ห้วงกรรมและวิบาก ที่ปรากฏใน ๓ ลักษณะ ตามระยะกาลเวลาทั้ง ๓ ช่วง [ขณะ ๓] ได้แก่ (๑) อาการเกิดขึ้นอุปาทิขณะ (๒) อาการตั้งอยู่ฐิติขณะ และ (๓) อาการดับเสื่อมไปภังคขณะ หรือเปรียบเทียบกับกาลเวลาใน อัทธา ๓ ได้แก่ (๑) อดีตอัทธาอดีตกาล (๒) อนาคตอัทธาอนาคตกาล และ (๓) ปัจจุบันนัทธาปัจจุบันกาล [ให้เวลาในปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง] เพราะฉะนั้น เหตุการณ์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนั้น เรียกว่า กรรมภพ ที่ประกอบด้วยอาการ ๓ อย่าง ตามแนวคิดในหลักธรรม วัฏฏะ ๓ [ข้อ ๔ ในปฏิจจสมุปปันนธรรมภวจักร] ได้แก่ กิเลสวัฏฏ์กรรมวัฏฏ์วิปบาวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น กรรม ๓ [กายวาจาใจ] จึงมีนัยตรงตาม กับคำว่า ขันธ์ ๕เบญจขันธ์ ที่ประกอบด้วย (๑) อายตนะ ๑๒ (๒) ธาตุ ๑๘ และ (๓) อินทรีย์ ๒๒ สำหรับเหตุการณ์หรือสภาวธรรมใดๆ ที่ปรากฏขึ้นและดับไป คือ อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้เห็นเข้าใจอย่างถูกต้อง [สัมมาทิฏฐิ] ตามหลักธรรม (๑) อริยสัจจ์ ๔ กับ (๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ส่วนในขั้นตอนการหลุดพ้น [วิมุตติ ๒: เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ หรือ สมาธิ ๓วิโมกข์ ๓] นั้น ต้องพิจารณาตามลักษณะแห่งความหลุดพ้นโดย (๓) ไตรลักษณ์สามัญลักษณะ ๓ ฉะนั้น ปัญญาญาณทั้งหมดนี้ ย่อมมีบาทฐานวิวัฒน์มาจากองค์ความรู้ในวิปัสสนาภูมิเป็นสำคัญ.
บทความที่ ๓๘ ประจำปี ๒๕๕๙ กาลขณะแห่งสภาวธรรม
ความเปลี่ยนแปลง [Changeวิปริณาม] ๑ ความไม่เที่ยง [Impermanenceอนิจจตา] ๑ ความวิวัฒน์พัฒนา [Revolutionปริวัฏฏะสันตติ] ๑ ที่เกิดขึ้นคู่เคียงกับ สภาวธรรม (Phenomena) ทั้งหลายอันเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาตินั้น ได้กลายเป็นตัวดัชนีบ่งบอกถึงประวัติความเป็นมาแห่งธรรมหรือสภาวธรรมนั้นๆ ซึ่งหมายถึง ความจริงสัจจธรรมสภาวธรรมปรมัตถสัจจะ ที่เกี่ยวข้องกับ สรรพสิ่งทั้งหลายตถตา [Realities] ในจักรวาล ที่เรียกสามัญว่า ธรรมชาติ [Nature] หรือจะนิยามว่า ธาตุตามธรรมชาติ [Natural Elementsธาตุ ๑๘ แห่งเบญจขันธ์] ฉะนั้น ความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้น จะคงสภาพแตกต่างไปจากความไม่รู้จริงของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย (อวิชชาIgnorance) ที่ไม่มีปัญญาเห็นธรรมตามที่เป็นจริงหรือตามกำหนดแห่งธรรมดา [Nescience] เพราะจิตวิญญาณถูกครอบงำด้วย กิเลสอวิชชา พื้นจิตไม่สะอาดบริสุทธิ์เพียงพอ จึงไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงความจริง นั่นคือ ความหลงทิศทางในเรื่องที่จะเป็นไปตามกิเลส และหลงกาลเวลาในเหตุการณ์นั้นอย่างไม่สัมพันธ์กันด้วยเหตุปัจจัยทั้งหลาย ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งเหตุและผล (ปัจจัยธรรมโดยพิจารณาตาม หลักปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาตาปฏิจจสมุปปันนธรรม = ตถตา) ที่สัมพันธ์กันจากต้นเหตุไปถึงปลายเหตุ โดยแสดงผลวิบากตามลำดับ ตามกาลขณะ หรือกาลเวลาที่แปรเปลี่ยนไป [ปริวรรตTransformation] จนกลายเป็นประวัติเรื่องราวของเหตุการณ์หนึ่งๆ อันหมายถึง เรื่องราวของ ความนึกคิด [Thoughts] หรือสภาวะสิ่งที่คิดอันเป็น ความรู้ [Knowledge] และ ปัญญา [Wisdom] ซึ่งในความเป็นจริง ก็คือ จิตวิญญาณ [Spirituality] ที่สร้าง มโนภาพ (ความนึกคิดจินตนาการ) ขึ้นมาในเส้นเวลาที่ไม่คงที่จำนวนหลากหลาย ฉะนั้น ความจำในเรื่องราวแห่งสัญญา จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดของคุณสมบัติอันแสดงถึง พลังของสมอง (ความจำMemory) ที่สามารถประมวลผลอยู่ในปัจจุบันกาล [ปัจจุปปันนังสญาณญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน หยั่งรู้ปัจจุบันกำหนดได้ถึงองค์ประกอบและ เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่] โดยความเป็นผู้รู้ (พหูสูต) นั้น ต้องมีศักยภาพทางสมองที่ย้อนหลังกลับไปสู่อดีตกาลได้ยาวไกลที่สุด [อดีอตีตังสญาณญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต ความหยั่งรู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้] และหยั่งรู้ถึงอนาคตกาลได้ไกลที่สุดเช่นกัน [อนาคตังสญาณญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต หยั่งรู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้] เรื่องราวในอดีตกาลกับอนาคตกาลนั้น ทำให้มนุษย์เกดการประมวลผลหน่วยความคิดทั้งหลายที่อยู่ความทรงจำ (สัญญาขันธ์) จนเกิดเป็นปัญญาต่างๆ จากความรู้ทั้งหมด กลายเป็นพฤติกรรม คำพูด และความนึกคิด (สังขารขันธ์พื้นจิตตสันดาน) ที่แสดงผลในปัจจุบัน ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์โดยตรงจาก พื้นจิตตสันดาน [อุปนิสัยอัธยาศัย] ของบุคคลนั้น จะคิดดีหรือชั่วก็มาจากตอนนี้ทั้งนั้น บุคคลผู้พัฒนาตนอย่างถูกต้องด้วยการเจริญภาวนาใน กายศีลจิตปัญญา (ไตรสิกขา: ศีลสมาธิปัญญา) ที่เรียกว่า ภาวิตัตต์ ย่อมกลายเป็นผู้รู้จริงในธรรมทั้งหลาย รู้เห็น กายกรรม ๓วจีกรรม ๔มโนกรรม ๓ [กรรม ๓ = กุศลกรรมบถ ๑๐อกุศลกรรมบถ ๑๐] อันแท้จริง ทั้งของตนและผู้อื่นอย่างมีเหตุผล นั่นคือ เมื่อรู้เข้าใจสภาวจิตของตนเองได้ ก็ย่อมรู้สาวจิตของผู้อื่นได้เช่นกัน โดยธรรมที่เกิดอุบัติขึ้นนั้น ก็จะเป็นทั้งฝ่าย โลกียธรรม กับ โลกุตตรธรรม แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายนั้น ย่อมเป็นผู้มีจิตมั่นอยู่ใน โลกุตตรภูมิ [กิริยาจิต = เป็นเพียงสภาวะแห่งจิตไม่ก่อกรรมและวิบาก เพราะปราศจากกิเลสทั้งหลายดีแล้ว] แม้ว่าร่างกายจะดำรงอยู่ใน โลกียภูมิ ก็ตาม แต่จิตนั้นยังคงเจริญงอกงามด้วย อริยธรรม [อริยศีลอริยสมาธิอริยปัญญาอริยวิมุตติ] และ อริยมรรค [อริยสัจจ์ ๔อริยมรรค์มีองค์อริมรรคญาณ ๔] อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิริยาจิต ของพระอรหันต์ที่ไม่แสดงผลใน วัฏฏะ ๓ [กิเลสกรรมวิบาก] คือ ไม่มีกิเลสครอบงำ จิต [Consciousness] ให้แสดงกรรมและผลวิบากในกาลเวลาใดๆ ที่กำลังดำเนินชีวิตอยู่ จนกว่าจะดับจิตปรินิพพาน [ชีวิตสมสีสี] จิตของพระอรหันต์จึงเป็นจิตที่ได้รับการชำระกิเลสทั้งหลายดีแล้ว เป็นสภาวจิตที่สะอาดบริสุทธิ์อันเกิดจากการบำเพ็ญเพียร ฌานจิต ทั้งหลาย ที่เรียกว่า จิตประภัสสร เพราะประกอบด้วย อธิจิตต์ กับ อธิปัญญา สมบูรณ์อย่างไพบูลย์แล้ว จึงมี อธิศีล อย่างดีพร้อมโดยปริยายในการดำรงชีวิตอย่างประเสริฐด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยหลักธรรม มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง อริยบุคคลเช่นนี้ จึงได้ชื่อว่า พุทธะ [Buddha] ซึ่งไม่สาธารณ์แก่ปุถุชนทั่วไป ที่ใครๆ ก็จะเป็นได้ตามใจนึกเอาเอง ตามนัยของคำว่า พระอรหันต์ นั้น ใช่ว่าใครๆ จะนั่งหันหน้าหันหลังแล้ว จะได้ลุล่วงถึงเป็นได้ง่ายๆ การประมวลผลแห่งไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา อยู่ตลอดเวลานั้น ทำให้เกิดพลังชีวิตในทางประเสริฐ มีแต่ความดีงามด้วย ปัญญาคุณ และ กรุณาคุณ ฉะนั้น ปัญญา คือ ประโยชน์แห่งตน กรุณา เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประมาทปัญญา ทั้งหลายนั้น ย่อมมองข้าม มหากุศลจิต ดังกล่าวนี้ไป และมักคิดว่าตนเองฉลาดด้วย กิเลสทิฏฐิมานะ ที่กลุ้มรุ่มจิตใจตนเองอย่างไม่รู้สึกตัว หรือไม่มีสติสัมปชัญญะ คือ ไม่รู้ดีไม่รู้ชั่ว [อโยนิโสมนสิการ] นั่นเอง ยึดมั่นถือเอาความเห็นของตนว่าถูกต้องเป็นใหญ่เป็นจริง แต่ก็ไม่จริง ไม่เกิด ดวงตามเห็นธรรมธรรมจักษุ [ปัญญาโสดาบัน] ที่ดำเนินตามกระแสแห่งอริยมรรค ก็หลอกชาวบ้านได้ เอาเข้ากลุ่มประเภท ชนผู้หลงทิศ ได้ แล้วยังสำคัญตนผิดไปไกลยิ่งขึ้น เลยหลักกิโลเมตรของเส้นทางที่จะเดินไปเสียอีก คือ ผิดทาง ไม่ใช่ทางแห่งอริยมรรคและอริยธรรม ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านต่างสรรเสริญ ที่มีอาการหนักมากๆ ก็คือ เป็นผู้ปราศจาก พาหุสัจจะแห่งอริยทรัพย์ [ผู้คงแก่เรียนแห่งพหูสูต] มักทำตนเป็น แก้วน้ำที่เต็มแล้ว ไม่สามารถรับคุณความดีได้อีก ปิดกั้นโอกาสของตนเอง เพราะอำนาจแห่ง กิเลสทิฏฐิมานะ ที่ครอบงำพื้นจิตอยู่ลึกๆ นั่นเอง [ปปัญญจธรรม ๓: กิเลสเครื่องเนิ่นช้า กิเลสที่เป็นตัวการทําให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทําให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง หรือทําให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา] ฉะนั้น คำว่า ดวงตาเห็นธรรมปัญญาเห็นธรรมธรรมจักษุ นั้น จึงมีความหมายอีอย่างหนึ่ง คือ การเห็นเหตุและผลเกิดสืบเนื่องกันในกาลทั้ง ๓ อย่าง หรือการเข้าถึงภาวะแห่ง ทิพพจักขุญาณ โดยเห็นเหตุปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลาย ที่เกิดดับเป็นกระบวนการเดียวกัน ที่สภาวธรรมเดียวหรือหลายๆ สภาวธรรม มารวมกันแบบองค์รวม เป็นเครือข่ายเดียวกัน ต่อเนื่องกันไปไม่สิ้นสุด อดีตปัจจุบันอนาคต [อัทธา ๓ ได้แก่ (๑) อดีตอัทธาอดีตกาล (๒) อนาคตอัทธาอนาคตกาล และ (๓) ปัจจุบันนัทธาปัจจุบันกาล] แต่จิตของพระอริยเจ้านั้น ย่อมเป็นอดีตกับอนาคตกลายมาเป็นปัจจุบัน เพราะตัวปัญหาอุปสรรคที่ต้องแก้ไข คือ ปัจจุบันธรรม ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของจิตอย่างแท้จริง อดีตแก้ไขไม่ได้ แต่อนาคตแก้ไขได้ ทำใหม่ได้ โดยทำปัจจุบันให้ดีที่สุด เพราะเป็นเหตุที่จะส่งผลไปในอนาคตต่อไป องค์ความรู้ดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องธรรมใน ศาสนาปรัชญาวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางพุทธะ ไม่ใช่เรื่องที่มาพูดถึงอย่างงมงายที่เข้าใจกันอย่างผิดๆ เพราะเห็นพิธีกรรมทางศาสนามีมากเหลือเกิน จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการเข้าถึงแก่นแท้ของพระสัทธรรม และเป็นศรัทธาเลื่อมใสที่ไม่ประกอบด้วย ปัญญา ปราศจากขั้นตอนของการใช้ เหตุผล อย่างถูกวิธี (อโยนิโสมนสิการอวิชชาโมหะ) นั่นคือ ศรัทธาและฉันทะ ที่ไม่เห็นแนวทางที่แท้จริงแห่งอริยมรรค ไม่ประพฤติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างถึงแก่นแท้และจริงจัง จึงมีความคิดฟุ้งซ่าน กระวนกระวายใจ เดือดร้อน อยู่ไม่เป็นสุขด้วยสังกิเลสทั้งหลาย [โสกะปริทเวะทุกข์โทมนัสอุปยาส] ที่เรียกว่า สังสารทุกข์ (ทุกข์ไม่เข็ดไม่จำ) คำว่า ปัญญาเห็นธรรม ที่ว่านี้ ต้องผุดอุบัติเกิดขึ้นในจิตตลอดเวลา (สติสัมปชัญญะ) อันเป็นจิตตสมาธิประกอบด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [อธิจิตตสิกขา] ไม่ใช่มีจิตนี้ เฉพาะตอนวางท่านั่งสมาธิหลังไหว้พระเสร็จแล้ว ฉะนั้น ต้องเจริญสมาธิภาวนาให้อุดมไพบูลย์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำการสิ่งใดก็ตาม นั่นคือ เกาะติดอยู่กับกายสังขารแห่ง ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เพื่อให้เกิดสมาธิญาณ [วิชชาญาณ] นั่นเอง ในขณะที่จิตเป็นสมาธิแห่งฌาน [เอกัคคตาแห่งสมาธิ] นั้น จิตย่อมย้อนกลับไปพิจารณาตัวตนที่แท้จริงในอดีตชาติก่อน [ปุพเพนิวาสานุสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ] และอยากรู้อนาคตว่าจะเป็นอย่างไรหรือพยากรณ์อนาคต [จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณปัจจยปริคคหญาณ] โดยมีฐานของจิตอยู่ในปัจจุบันขณะ เจริญสมาธิภาวนาโดยต้องนำความทั้ง ๒ ด้าน นั้น มาประกอบกันนให้เห็นธรรมหรือ นามรูป แห่งไตรลักษณ์ [สามัญลักษณะ ๓: อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา] ด้วยปัญญาอย่างมีเหตุผลและถูกวิธีโดยธรรม (โยนิโสมนสิการ) องค์ความรู้นี้ เรียกว่า สัมมสนญาณ คือ ปัญญาเห็นธรรมทั้งปวงโดยไตรลักษณ์ จะต้องเห็นธรรมด้วยจิต ที่เรียกว่า สติสัมปชัญญะ [สติปัญญาปัญญาภูมิวิปัสสนาภูมิ] ที่ทรงสมาธอยู่เป็นสำคัญ ทำจิตให้เพ่งอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างสงบราบรื่น ไม่หวั่นไหว หรือฟุ้งซ่านในธรรมนั่นๆ สมาธิที่สะอาด ย่อมมีฐานมาจากการพยายามละชั่วและทำดี มีสติสัมปชัญญะ เท่านั้น เมื่อจิตเริ่มเป็น จิตประภัสสร สว่างไสวและบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลอย่างกลางที่กลุ้มรุ่มจิตใจ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาในการดับทุกข์ได้ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติต้องเข้าให้ถึงจุดนี้ให้ได้ ไม่ใช่การใช้ฤทธิ์เดชในด้านอื่นๆ เพื่อโอ้อวดคนอื่นอันหาประโยชน์ไม่ได้ เมื่อโลกกับธรรมชาติไม่เที่ยง ฤทธิ์เดชก็ย่อมไม่เที่ยง มีทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้สวยงาม ตามที่ทุกคนคิดไว้ อารมณ์แห่งการยึดครองยึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ทำให้ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนที่แท้จริง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านกาลเวลาที่ผันแปรตลอดเวลา นั่นเอง การเปลี่ยนแปลงนั้น ก็ขึ้นกับ เวลา โดยนับตั้งแต่ วินาทีนาทีชั่วโมงวันสัปดาห์ปักษ์เดือนปีศตวรรษกัป เป็นต้น ผู้มีอายุยืนจึงจะสามารรถหาข้อสรุปของความเปลี่ยนแปลได้ถูกต้องตาม ระยะกาลเวลา ก็ให้พิจารณาข้อเทจจริงระหว่างความเปลี่ยนแปลงกับ กาลเวลา ว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยพิจารณาถึง ปัจจยาการ ๑๒ ที่ว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้นและดับไป ค้นหาคำตอบในธรรมนี้ให้ได้ ทั้งในและนอกสมาธิภาวนา จนกว่าจะทำให้เกิด ปัญญาเห็นธรรมโดยไตรลักษณ์ ก่อนจะวิปัสสนาธรรมทั้งปวงต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการคิดของมนุษย์นั้น การคิดิจารณาสภาวธรรมที่ถูกต้องตามเป็นจริงนั้น ต้องกำหนดจิตไว้ที่ ปัจจุบันธรรม เป็นหลัก โดยไม่ฟุ้งซ่าน สัดส่ายไปตามกระแสแห่งโลกธรรมทั้งหลาย ใจต้องเที่ยงยุติธรรม ต้องมี ปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริงหรือกฎธรรมชาติ [ยถาภูตญาณธรรมฐิติญาณสัมมาทัสสนะธรรมนิยาม ๓] ไม่ใช่ปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยของกิเลส ตัณหาทิฏฐิมานะ ที่สะสมอยู่ในพื้นจิตตสันดาน คนเป็นบ้าพูดไม่รู้เรื่องเพราะเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้ ประกอบกับจิตไม่เป็นสมาธิ ไม่สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ทั้งหลาย [นิวรณ์ ๕อวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งหลาย] คือ ต้องกำหนดจิตให้เป็น ฌานจิต นั่นคือ รูปฌาน ๔ และรวมด้วย อรูปฌาน ๔ [สมาบัติ ๘] ก่อนยกจิตสู่ระดับ วิปัสสนาภูมิ ด้วย ญาณทัสสนะ [ปัญญาหยั่งรู้หยั่งเห็น = Knowledge and Insight] สำหรับบางคนมีแนวคิดว่า สมาธิที่เป็น จิตประภัสสร นั้น ไม่จำเป็น เพราะเป็นเรื่องที่ยาก แต่สำหรับพระอริยเจ้านั้น เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับชีวิตที่ครองเพศสมณะ ไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้าบุคคลนั้นจะตั้งใจมั่นทำจริง ทุกสิ่งทุกอย่างมันขึ้นอยู่ที่ใจ โดยมีใจเป็นประธานใหญ่ จิตใจจิตวิญญาณ ที่ขาดระเบียบ ตกเป็นทาสของกิเลสทั้งหลายเพราะอวิชชาความไม่รู้จริงนั้น ย่อมประสบแต่อุปสรรคกับความล้มเหลวในชีวิตตลอดเวลา คือ ตกเป็นทุกข์ [โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส] ที่เรียกว่า สังสารทุกข์ ไม่สามารถชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ได้จากกิเลสและอุปกิเลสได้จริง จิตจึงขุ่นมัวและเศร้าหมอง ปิดกั้นโอกาสที่จะเข้าถึงความดีได้ จะทำอะไรก็ยุ่งยากไปหมด ไม่มีขวัญกำลังใจจากปัญญาของตนเองที่จะต่อสู้เหล่ามารอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามาขัดขวางตลอดเวลา กลายเป็น คนยอมแพ้ชีวิต จะเดินหน้าหรือถอยหลังก็มีแต่ปัญญาไม่สิ้นสุด ไม่พบความสุขความเจริญได้ [ความสุขทางธรรม] ปราศจากปัญญาอันยิ่งเป็นแกนนำแห่งศรัทธาในชีวิต ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คนพวกนี้มักแสดงอาการในลักษณะ อวดดีหลบลู่คุณถือตน เมื่อมี กัลยาณมิตร ชี้แนะสั่งสอน จึงมักไม่ได้ดี ดังนั้น ปัญญาที่สำคัญจึงเกิดจาก สมถพละสมถภาวนา กับ วิปัสสนาพละวิปัสสนาภาวนา นั่นคือ อธิจิตตสิกขา กับ อธิปัญญาสิกขา ที่ต้องทำให้เจริญไพบูลย์สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป พวกไม่รักดี พวกใฝ่ต่ำก็อย่าไปสนใจให้มากนัก ซึ่งมักเป็นเหตุให้เสียธรรมมากกว่า เป็นธุระที่ไม่ใช่ต้องไปรับผิดชอบ เพราะทำให้เสียเวลาชีวิตไปย่างไม่คุ้ม โดยไม่รู้จักประมาณตนเปล่าๆ อย่าไปทำกรรมร่วมกับคนพวกนี้ให้มาก เพราะเข้ามกินบุญของเราแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ตนเองและผู้อื่นอย่างจริงจัง เมื่อผู้เจริญภาวนาอย่างถูกต้องนั้น ย่อมเกิดธรรมคู่ทั้งฝ่ายสมาถะและฝ่ายวิปัสสนา ๓ คู่ ที่ทำให้เกิด ปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย [ธรรมจักร] หรือ อริยสัจจ์ ๔ ได้ ดังนี้ (๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ = อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (๒) จุตูปปาตญาณ [ทิพพจักขุญาณ] ปัจจยปริคคหญาณ = ปฏิจจสมุปบาท (๓) อาสวักขยญาณสัมมสนญาณ = ไตรลักษณ์
ในญาณหยั่งรู้ทั้ง ๓ คู่ ข้างต้นนี้ เกิดขึ้นในการกำหนด สติสัมปชัญญะ ตามพิจารณาสภาวธรรมใน ๓ กาล [วิปัสสนากรรมฐานหรือมนสิการกรรมฐาน] ได้แก่ (๑) อดีตกาล (๒) อนาคตกาล และ (๓) ปัจจุบันกาล เพราะฉะนั้น ปัจจุบันจึงเป็นกรรมที่มีประวัติจากอดีต ว่าตนเองจะทำอะไรให้เกิดขึ้นในอนาคตจากปัจจุบัน [พิจารณาตามหลักปฏิจจสมุปปันนธรรมหรือสังสารจักร] ให้ทำความเข้าใจอย่างถูกต้องในกาลทั้ง ๓ [อัทธา ๓] ดังกล่าวนี้อย่างละเอียด มีปัญญาประกอบด้วยเหตุผล พลังแห่งฤทธิ์ในกาลทั้ง ๓ นั้น คือ อำนาจแห่งการพยากรณ์ในปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ [สภาวธรรม] ที่บุคคลหนึ่งๆ จะสามารถทำนายเหตุการณ์ได้มากน้อยตามเป็นจริงแห่งความบริสุทธิ์ของสัญญา [ความทรงจำที่สั่งสมไว้] ฉะนั้น กาลทั้ง ๓ อย่าง จึงเกี่ยวข้องกับหลักธรรม ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔ (๒) อัทธา ๓ญาณ ๓ และ (๓) อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ซึ่งหมายถึง อริยมรรค นั่นเอง แต่ตรงกันข้ามกับ อวิชชา ๔ กับ อวิชชา ๘ โดยหลักการปฏิบัติธรรมแล้ว หมายถึง การชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จากเหล่า อวิชชาโมหะ ทั้งหลาย เพื่อความตรัสรู้ถึง สัมโพธิญาณ [อาสวักขยญาณ] ที่อาศัยอำนาจฝ่ายสมถะและวิปัสสนาร่วมกัน เพราะฉะนั้น กาลทั้ง ๓ จึงเกี่ยวข้องกับ คำว่า ชีวิต ตั้งแต่อดีตจนถึงอนาคต และระบุถึงปัจจุบันที่บุคคลจะตัดสินใจเลือกสร้างกรรมทั้ง ๓ อย่าง [กายวาจาใจ] ให้ดำเนินต่อไปอย่างเป็นเงื่อนไขในอนาคตที่ไม่สิ้นสุด (สังสารจักรวัฏฏะ ๓: กิเลสกรรมวิบาก) โดยบวกกับระยะเวลาของอายุขัยเข้าไปเป็น เกิดแก่เจ็บตาย [ก็เป็นทุกข์] หมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด ที่เรียกว่า ชาติ ที่ต่อเนื่องจาก อุปปัตติภพ ที่ก่อกรรมต่างๆ เอาไว้ [สังขารแห่งกรรมภพ] บุคคลที่จะสามารถตัดวงจรแห่งวัฏฏะได้นั้น ต้องประกอบด้วย (๑) ปัญญาเห็นธรรม และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ ที่เรียกว่า สัมโพธิญาณอาสวักขยญาณ อันเป็นเหตุให้บรรลุถึง พระอรหันต์ เท่านั้น อารมณ์แห่งพระอรหันต์ทำให้หลุดพ้นจากสังกิเลสทั้งหลาย ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส อันเป็นสภาวะปราศจากทุกข์ หลุดพ้นจากสังสารทุกข์ไปแล้วเท่านั้น ที่มี อวิชชา เป็นมูลเหตุแรกทำให้เกิดทุกข์ ทำให้จิตเศร้าหมอง ไม่สามารถสร้างหรือรับความดีได้ ประการสำคัญ การปฏิบัติธรรมไม่ได้วัดกันที่วัตถุหรือโภคทรัพย์ แต่วัดกันที่ ความบริสุทธิ์แห่งไตรสิกขา คือ ศีลสมาธิปัญญา [วิสุทธิ ๗] ไม่ใช่ขายบ้านขายทรัพย์สินนำเงินมาถวายวัดอย่างโง่ๆ หรืองมงาย แล้วเดือดร้อน โดยคิดว่าตนจะได้ไปอยู่สรวงสวรรค์ชั้นฟ้าสาบยกว่าที่มีชีวิตอยู่ขณะปัจจุบัน หรือทำบุญเอาหน้าอย่าง หลงบุญ แล้วก่อเหตุให้ตนต้องเดือดร้อน เพราะไม่ใช้ปัญญา นั่นเอง ให้พิจารณาสภาวธรรมแห่งกาลทั้ง ๓ อย่าง ด้วยความละเอียด และประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล เพื่อให้จิตสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายอย่างแท้จริง ให้เกิด ปัญญา อย่างแท้จริง อย่าให้ อวิชชา ความไม่รู้จริง เข้ามาครอบงำปัญญาจนไม่เป็นธรรมที่ถูกต้องเท่านั้นเอง.
|