๔. กระบวนการสร้างปัญญาในสมาธิภาวนา Thinking Process in Concentration Development
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
จิตที่เป็นรูปฌานสมาธิในขั้นต่างๆ นั้น เริ่มเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ คือ ธรรมเครื่องปิดกั้นปัญญาที่ไม่มีสติและสัมปชัญญะ ย่อมไม่สามารถเข้าถึงกุศลธรรมหรือความดีได้ ซึ่งจะคู่กับญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ได้แก่ (๑) เนกขัมมะ เป็นเครื่องตัด กามฉันทะ ได้ขาดดี (๒) อัพยาบาท เป็นเครื่องตัด พยาบาท ได้ขาดดี (๓) อาโลกสัญญา เป็นเครื่องตัด ถีนมิทธะ ได้ขาดดี (๔) อวิกเขปะ เป็นเครื่องตัด อุทธัจจะ ได้ขาดดี (๕) ธรรมววัตถาน เป็นเครื่องตัด วิจิกิจฉา ได้ขาดดี (๖) ญาณ เป็นเครื่องตัด อวิชชา ได้ขาดดี (๗) ปราโมทย์ เป็นเครื่องตัด อรติ ได้ขาดดี (๘) กุศลธรรมทั้งปวง เป็นเครื่องตัด อกุศลธรรมทั้งปวง ได้ขาดดี ดังเช่น ปฐมฌาน เป็นเครื่องตัด นิวรณ์ ได้ขาดดี เป็นต้น คำว่า กุศลธรรมทั้งปวง นั่นคือ (๑) รูปฌาน ๔ (๒) อรูปฌาน ๔ (๓) มหาวิปัสสนา ๑๘ และ (๔) อริยมรรค ๔ ฉะนั้น เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ [จิตประภัสสรแห่งจตุตถฌานอธิจิต: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] ย่อมเป็นจิตสะอาดมีความเที่ยงตรง อ่อนนวล ควรแก่งาน และ [ญาณทัสสนะจตุตถฌาน = วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖] ใช้เป็น จิตตัววิปัสสนาปัญญาในสมาธิ ได้ ที่คู่กับ ปัญญาในวิปัสสนา ได้แก่ ญาณในวิปัสสนาทั้งหลาย [ญาณ ๑๖โสฬสญาณ] รวมทั้ง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ [อภิญญาเทสิตธรรม]อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖วิปัสสนาญาณ ๙ [วุฏฐานคามินีปฏิปทา] กล่าวโดยย่อ กระบวนการสร้างปัญญาในการเจริญสมาธิภาวนา [ภาวนากรรมฐาน] นั้น ประกอบด้วย ปัญญา ๒ ได้แก่ (๑) ปัญญาในสมาธิ คือ อธิจิตตสิกขา: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] และ(๒) ปัญญาในวิปัสสนา คือ อธิปัญญาสิกขา: สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ดังนั้น กิจอันพึงทำเป็นอย่างยิ่งในการเจริญภาวนาเพื่อให้เกิด ยถาภูตญาณทัสนนะยถาภูตญาณ คือ การเจริญ อนุปัสสนา ๗ พร้อมด้วย สติปัฏฐาน ๔ โดยมุ่งเน้นสมาธิใน อานาปานสติสมาธิ หรือด้วย อนุปัสสนา ๓ [อนิจจานุปัสสนาทุกขตานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา] ก่อน ในสติทั้ง ๔ ฐานก็ได้ โดยให้ฝึกอยู่ตลอดเวลาของลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพื่อพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายนั้น.
บทความที่ ๔ ประจำปี ๒๕๕๙ กระบวนการสร้างปัญญาในสมาธิภาวนา
ในความเป็นมนุษย์นั้น ไม่ใช่มีกิจกรรมเพียงการตอบสนองความต้องการแห่ง กามสุขและกามคุณ [กิเลสกามวัตถุกาม] เท่านั้น แต่มนุษย์จะต้องใช้ศักยภาพทางสมอง ในการคิด พยากรณ์ คาดคะเน คำนวณ ประมวลผล และ นำเสนอ ความนึกคิดในใจนั้นออกมาทาง กรรม ๓ หมายถึง การกระทำ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตาม [สุจริต ๓] ชั่วก็ตาม [ทุจริต ๓] ได้แก่ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑ ฉะนั้น คนที่คิดอะไรไม่ได้ นึกอะไรไม่ได้ ฟั่นเฟือน หลงลืม ไม่รู้ไม่เห็น จึงเป็นคนที่เสียเปรียบในสังคมเสมอ ผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนั้น จึงต้องหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ด้วยการเจริญสมถภาวนาหรือสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากนิวรณ์ [กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง] คือ จิตตสมาธิที่สหรคตด้วยธรรมสมาธิ ๕ คำว่า จิตตสมาธิ คือ จิตที่ประกอบด้วย ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ คำที่สำคัญอีกคำหนึ่ง คือ สมาธิเอกัคคตา หมายถึง จิตนั้นต้องมีความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์แห่งกรรมฐานเพียงหนึ่งเดียวอย่างแน่วแน่ ซึ่งต้องประกอบด้วย ธรรมที่อุปการะแก่สมาธิอยู่ ๘ อย่าง [ธรรม ๓๗ ประการสมณธรรมและสมธรรม] ที่ทำลายนิวรณ์ ได้แก่ (๑) เนกขัมมะ เป็นเครื่องตัด กามฉันทะ ได้ขาดดี (๒) อัพยาบาท เป็นเครื่องตัด พยาบาท ได้ขาดดี (๓) อาโลกสัญญา เป็นเครื่องตัด ถีนมิทธะ ได้ขาดดี (๔) อวิกเขปะ เป็นเครื่องตัด อุทธัจจะ ได้ขาดดี (๕) ธรรมววัตถาน เป็นเครื่องตัด วิจิกิจฉา ได้ขาดดี (๖) ญาณ เป็นเครื่องตัด อวิชชา ได้ขาดดี (๗) ปราโมทย์ เป็นเครื่องตัด อรติ ได้ขาดดี (๘) กุศลธรรมทั้งปวง เป็นเครื่องตัด อกุศลธรรมทั้งปวง ได้ขาดดี ดังเช่น ปฐมฌาน เป็นเครื่องตัด นิวรณ์ ได้ขาดดีในขั้นแรกแห่งรูปฌานทั้ง ๔ นั่นเอง เป็นต้น คำว่า กุศลธรรมทั้งปวง นั่นคือ (๑) รูปฌาน ๔ (๒) อรูปฌาน ๔ (๓) มหาวิปัสสนา ๑๘ และ (๔) อริยมรรค ๔ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
[๗๒๕] คำว่า สมธรรม [ธรรมสงบ] ความว่า:
ฝ่ายสมถพละ [ปัญญาในสมาธิ] [๑] ในอันดับ ข้อ ๑๗ คือ ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘ (๑) เพราะท่านละ กามฉันทะ ได้แล้ว เนกขัมมะ จึงเป็น สมณธรรม (๒) เพราะท่านละ พยาบาท ได้แล้ว อัพยาบาท จึงเป็นสมธรรม (๓) เมื่อท่านละ ถีนมิทธะ ได้แล้ว อาโลกสัญญา จึงเป็นสมธรรม (๔) เพราะท่านละ อุทธัจจะ ได้แล้ว อวิกเขปะ จึงเป็นสมธรรม (๕) เพราะท่านละ วิจิกิจฉาได้แล้ว ธรรมววัตถาน จึงเป็นสมธรรม (๖) เพราะท่านละ อวิชชา ได้แล้ว ฌาน [ญาณ] จึงเป็นสมธรรม (๗) เพราะท่านละ อรติ ได้แล้ว ปราโมทย์ จึงเป็นสมธรรม
[๒] ในอันดับ ข้อ ๘๑๑ คือ รูปฌาน ๔ (๘) เพราะท่านละ นิวรณ์ ได้แล้ว ปฐมฌาน [วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๙) เพราะท่านละ วิตกวิจาร ได้แล้ว ทุติยฌาน [ปีติสุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๑๐) เพราะท่านละ ปีติ ได้แล้ว ตติยฌาน [สุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๑๑) เพราะท่านละ สุข ได้แล้ว จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา = จิตประภัสสร] จึงเป็นสมธรรม
[๓] ในอันดับ ข้อ ๑๒๑๕ คือ อรูปฌาน ๔ (๑๒) เพราะท่านละ รูปสัญญาปฏิฆสัญญานานัตตสัญญา ได้แล้ว อากาสานัญจายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๓) เพราะท่านละ อากาสานัญจายตนสัญญา ได้แล้ว วิญญาณัญจายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๔) เพราะท่านละ วิญญาณัญจายตนสัญญา ได้แล้ว อากิญจัญญายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๕) เพราะท่านละ อากิญจัญญายตนสัญญา ได้แล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม
ฝ่ายวิปัสสนาพละ [ปัญญาในวิปัสสนา] [๔] ในอันดับ ข้อ ๑๖๓๓ คือ มหาวิปัสสนา ๑๘ (๑๖) เพราะท่านละ นิจจสัญญา ได้แล้ว อนิจจานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๗) เพราะท่านละ สุขสัญญา ได้แล้ว ทุกขานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๘) เพราะท่านละ อัตตสัญญา ได้แล้ว อนัตตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๙) เพราะท่านละ นันทิสัญญา [ความเพลิดเพลิน] ได้แล้ว นิพพิทานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๐) เพราะท่านละ ราคสัญญา ได้แล้ว วิราคานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๑) เพราะท่านละ สมุทยสัญญา ได้แล้ว นิโรธานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๒) เพราะท่านละ อาทานสัญญา [ความสำคัญโดยความถือมั่น] ได้แล้ว ปฏินิสสัคคานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๓) เพราะท่านละ ฆนสัญญา [สำคัญว่าเป็นก้อน] ได้แล้ว ขยานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๔) เพราะท่านละ อายูหนา [การประมวลมา] ได้แล้ว วยานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๕) เพราะท่านละ ธุวสัญญา [สำคัญว่ายั่งยืน] ได้แล้ว วิปริณามานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๖) เพราะท่านละ นิมิตตสัญญา ได้แล้ว อนิมิตตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๗) เพราะท่านละ ปณิธิสัญญา [การตั้งมั่นแห่งกิเลส] ได้แล้ว อัปปณิหิตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๘) เพราะท่านละ อภินิเวส [ยึดมั่นอัตตาภินิเวส] ได้แล้ว สุญญตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๙) เพราะท่านละ สาราทานาภินิเวสะ [ยึดมั่นด้วยยึดถือว่าเป็นสาระ] ได้แล้ว อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา จึงเป็นสมธรรม [การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง] (๓๐) เพราะท่านละ สัมโมหาภินิเวส [ยึดมั่นด้วยความลุ่มหลง] ได้แล้ว ยถาภูตญาณทัสนะ จึงเป็นสมธรรม (๓๑) เพราะท่านละ อาลยาภินิเวส [ยึดมั่นในอาลัย] ได้แล้ว อาทีนวานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๓๒) เพราะท่านละ อัปปฏิสังขา [ไม่พิจารณา] ได้แล้ว ปฏิสังขานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๓๓) เพราะท่านละ สังโยคาภินิเวสะ [ยึดมั่นในการประกอบกิเลส] ได้แล้ว วิวัฏฏนานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม
[๕] ในอันดับ ข้อ ๑๒๑๕ คือ อริยมรรค ๔ (๓๔) เพราะท่านละ กิเลสอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ได้แล้ว โสดาปัตติมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๕) เพราะท่านละ กิเลสอย่างหยาบ ได้แล้ว สกทาคามิมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๖) เพราะท่านละ กิเลสอย่างละเอียด ได้แล้ว อนาคามิมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๗) เพราะท่านละ กิเลสทั้งปวง ได้เด็ดขาดแล้ว อรหัตตมรรค จึงเป็นสมธรรม
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 802 FILE 69)
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทำความเข้าใจความหมายใน คำว่า สมาธิภาวนาสมถภาวนา อย่างถูกต้องในฐานะเป็นพุทธมามกะ เพื่อจะไม่ได้เดินผิดทาง ซึ่งต้องบำเพ็ญเพียรสมถกรรมฐานด้วย ธรรม ๓๗ ประการ ดังกล่าวข้างต้น อ่านทบทวนหลายๆ รอบ จนจำขึ้นเจนใจให้ได้ว่า ธรรมอะไรกำจัดดับธรรมอะไร เอาให้แม่นยำถูกต้อง และต้องขบได้ด้วยทฤษฎี ทั้งหมดนี้ เรียกว่า สมณธรรมสมธรรม หมายถึง ธรรมเครื่องปลีกตัวออกจาก กามกิเลสและวัตถุกิเลส [กาม ๒: กามสุขกามคุณ] และ ธรรมเครื่องแห่งความสงบ [วิเวก ๓: กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี ๑ จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และ อนุสัย เป็นต้น หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุ รูปฌาน ๔ รวมทั้ง อรูปฌาน ๔ ด้วย และ อริยมรรค ๔ อริยผล ๔ เป็นสำคัญ ๑ อุปธิวิเวก ความสงัดอุปธิ ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่า อุปธิ หมายเอา พระนิพพาน เป็นสำคัญ ๑] ดังคำนิยามใน คำว่า จิตตภาวนา ดังนี้
จิตตภาวนา หมายถึง การเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น กล่าวโดยย่อ อธิจิตตสิกขา คือ สิกขาคือจิตอันยิ่ง อธิจิตอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิ เป็นต้น อย่างสูง [กุศลจิตทั้งหลายจนถึงสมาบัติ ๘ เป็นจิต ฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นอธิจิต แต่สมาบัติ ๘ นั้นแหละ ถ้าปฏิบัติด้วยความเข้าใจ มุ่งให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิจิต] หรือจิตที่ประกอบด้วย (๑) สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔ (๒) สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔ และ (๓) สัมมาสมาธิฌาน ๔
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องสามารถอธิบายขั้นตอนต่างๆ ในการเจริญสมถภาวนาได้อย่างถูกต้อง เพื่อกำหนดเป็นแนวทางของตนได้อย่างถูกต้อง ที่เรียกว่า ธัมมานุธัมมปฏิปทา หมายถึง การปฏิบัติธรรมถูกหลักธรรม และ อันวัตถปฏิปทา หมายถึง ปฏิปทาที่เป็นไปตามความมุ่งหมาย นั่นคือ ไม่สับสนฟั่นเฟือนหรือหวั่นไหว [สัมมาสติ] ดังนั้น ธรรมทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์นั้น ได้แก่ (๑) เนกขัมมะ (๒) อัพยาบาท (๓) อาโลกสัญญา (๔) อวิกเขปะ (๕) ธรรมววัตถาน (๖) ญาณ (๗) ปราโมทย์ และ (๘) กุศลธรรมทั้งปวง นั่นคือ (๑) รูปฌาน ๔ (๒) อรูปฌาน ๔ (๓) มหาวิปัสสนา ๑๘ และ (๔) อริยมรรค ๔ [ย่อมสหรคตด้วย อริยผล ๔ โดยอัตโนมัติ] โดยจะต้องมุ่งมั่นในการเจริญธรรมทั้งหลายเหล่านี้ อย่างจริงจัง ให้จุดหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์ ที่เรียกว่า สัจจภาวะแห่งพระนิพพาน ฉะนั้น การปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่า ภาวนา ๒ หมายถึง การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้นการทำให้เกิดขึ้นการเจริญการบำเพ็ญการพัฒนาการฝึกอบรมการเจริญพัฒนา กล่าวโดยย่อ เรียกว่า สมณธรรมสมธรรม หรือ ธรรม ๓๗ ประการ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ (๑) สมถภาวนา [ญาณทัสสนะ = ปัญญาในสมาธิ: Tranquility Development] หมายถึง ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ ที่เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน หมายถึง การเพ่งพินิจอารมณ์ด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ได้แก่ ธรรมสมาธิ ๕ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘และสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ (๒) วิปัสสนาภาวนา [ญาณในวิปัสสนา = ปัญญาในวิปัสสนา: Insight Development] หมายถึง ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง ที่เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน หมายถึง การเพ่งพินิจสามัญลักษณะแหงไตรลักษณ์ด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ได้แก่ อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖ นั่นคือ (๑) วิปัสสนา [ญาณในวิปัสสนา] คือ พินิจสังขารโดยไตรลักษณ์ (๒) อริยมรรค ๔ คือ ภาวนายังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ และ (๓) อริยผล ๔ คือ เพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็น สุญญตะอนิมิตตะอัปปณิหิตะ และ เกิดปัญญาเห็นลักษณะอันเป็น สัจจภาวะของนิพพาน
ดังนั้น ให้ผู้ปฏิบัติธรรมลำดับแยกแยะจำแนกภาวนาธรรมทั้งหลายให้ชัดเจน โดยเฉพาะ คำว่า ภาวนา ๒ [Mental Development] กับ คำว่า ฌาน ๒ [Meditation] ไม่ได้มีความหมายแตกต่างกัน ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมมีอาการ ดังนี้ (๑) สติฟั่นเฟือนอยู่อย่างขาดสติไม่มีสติระลึกตามไปไม่ได้ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้นึกไม่ออกจำไม่ได้ฟั่นเฟือนหลงลืมหลงเลือนหลงใหลไปหลงพร้อม ที่เรียกว่า มุฏฐสัจจะ และ (๒) ความไม่รู้ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ความไม่รู้โดยสมควรความไม่รู้ตามความเป็นจริงความไม่แทงตลอดความไม่ถือเอาให้ถูกต้องความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบความไม่พินิจความไม่พิจารณาความไม่กระทำให้ประจักษ์ความทรามปัญญาความโง่เขลาความไม่รู้ชัดความหลงความลุ่มหลงความหลงใหลอวิชชาโอฆะคืออวิชชาโยคะคืออวิชชาอนุสัยคืออวิชชาปริยุฏฐานคืออวิชชาลิ่มคืออวิชชาอกุศลมูลคือโมหะ ที่เรียกว่า อสัมปชัญญะ ฉะนั้น ย่อมไม่สามารถเจริญภาวนาได้ เพราะไม่สมประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สติสัมปชัญญะ (๑) สติ หมายถึง สติ: ความตามระลึกความหวนระลึก สติ: กิริยาที่ระลึกความทรงจำความไม่เลื่อนลอยความไม่ลืม สติ: สตินทรีย์สติพละสัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ คำว่า สติพลํ ก็คือ สตินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความไม่มีสติ คำว่า สมาธิพลํ ก็คือ สมาธิ นั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความฟุ้งซ่าน คำว่า สมถะ คือ สมาธิ และ คำว่า วิปัสสนา คือ ปัญญา (๒) สัมปชัญญะ หมายถึง ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัดความวิจัยความเลือกสรรความวิจัยธรรมความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนดความเข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาดภาวะที่รู้ละเอียดความรู้แจ่มแจ้งความค้นคิดความใคร่ครวญปัญญาเหมือนแผ่นดินปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทางความเห็นแจ้งความรู้ชัดปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตราปัญญาเหมือนปราสาทความสว่างคือปัญญาแสงสว่างคือปัญญาปัญญาเหมือนประทีปปัญญาเหมือนดวงแก้วความไม่หลง ความวิจัยธรรมสัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ฉะนั้น สัมปชัญญะ คือ ญาณ [ความรู้] (๓) สัมปชัญญะ ๔ [Awareness] (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒ อีกข้อ ๑ คือ สติ) หมายถึง ความรู้ตัวทั่วพร้อมความรู้ตระหนักความรู้ชัดเข้าใจชัดซึ่งสิ่งที่นึกได้ มักมาคู่กับ สติ [Mindfulness หมายถึง ความระลึกจำได้ โดยจำแนกออกเป็นคำไวพจน์ ดังนี้ (๑) สติ: ความตามระลึกความหวนระลึก (๒) สติ: กิริยาที่ระลึกความทรงจำความไม่เลื่อนลอยความไม่ลืม (๓) สติ: สตินทรีย์สติพละสัมมาสติ] ได้แก่ (๑) สาตถกสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย (๒) สัปปายสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน (๓) โคจรสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน และ (๔) อสัมโมหสัมปชัญญะ คือ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน ส่วนคำว่า สติสัมปชัญญะ [Temperance] หมายถึง ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ นั่นคือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท
ด้วยเหตุนี้ สติสัมปชัญญะ จึงหมายถึง ระลึกได้รอบรู้ [สติปัญญา] ฉะนั้น เป้าหมายสำคัญในการเจริญภาวนาจึงมุ่งมาที่ สติสัมปชัญญะ เป็นสำคัญ นั่นคือ ญาณทัสสนะแห่งสมาธิ หมายถึง ความรู้ความเห็น [รู้เห็น] ด้วยญาณหรือปัญญาหยั่งรู้ด้วยการเจริญวิปัสสนา [สติปัฏฐาน ๔อนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖] เพราะฉะนั้น ธรรมคู่ระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา จึงมีอำนาจเท่าเทียมกัน [เป็นอย่างเดียวกันสหชาตธรรมธรรมสามัคคี] และส่งเสริมซึ่งกันและกัน ต่างไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน ดังนั้น กระบวนการเกิดปัญญาต้องประกอบด้วย (๑) ปัญญาในสมาธิจิตที่เป็นสมาธิสติสัมปชัญญะ นั่นคือ ญาณทัสสนะยถภูตญาณทัสสนะ กับ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา นั่นคือ จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง [ยถาภูตญาณ] แต่ในกลไกกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่าง ปัญญาในสมาธิ กับ ปัญญาในวิปัสสนา นั้น เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ดังนี้
โยนิโสมนสิการ [Analytical Thinking] หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย แยกแยะออกพิเคราะห์ ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีที่แยบคายในใจ ให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒] ดังนี้
(๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท คือ เป็นไปตาม คล้อยตาม ตามลำดับ สาวออกไปตามลำดับจากเหตุไปหาผลข้างหน้า ดังรายละเอียดต่อไปนี้
อนุโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายสมุทัยวาร [Direct Dependent Origination] (๑) เพราะ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ปัจจัยธรรม จึงมี (๒) เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (๓) เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (๔) เพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (๕) เพราะ นามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (๖) เพราะ สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (๗) เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี (๘) เพราะ เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี (๙) เพราะ ตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (๑๐) เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี (๑๑) เพราะ ภพ เป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (๑๒) เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
หมายเหตุ: การเริ่มต้นปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าพิจารณาไม่เห็นทุกข์ [นามรูปปริจเฉทญาณอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์] และสาเหตุแห่งทุกข์ [ปัจจยปริคคหญาณปฏิจจสมุปบาท ๑๒] นั้นได้ ก็ไม่ประโยชน์อันใดที่ต้องไปค้นหาไขว้คว้าเอาปัญญาต่างๆ จากความรู้อื่นๆ [สัจจธรรมความจริง] นั่นคือ (๑) เห็นขันธ์ ๕ มีทุกข์ [วัฏฏะ] กับ (๒) เห็นขันธ์ ๕ ปราศจากทุกข์ [วิวัฏฏะ]
นอกจากนี้ ยังรวมถึง ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย และพร้อมด้วย กฎแห่งกรรม และ กฎกรรมของสัตว์ [กัมมัสสกตา] ซึ่งทำให้เกิด ดาวตาเห็นธรรม [ธรรมจักษุ] เช่นกัน ดังนี้
อัทธา ๓ หมายถึง กาลเวลาทั้ง ๓ ช่วง ธรรมในข้อนี้ ทำให้เห็น ขณะ ๓ ในกาลทั้ง ๓ คือ อุปาทขณะฐิติขณะภังคขณะ หรือ ญาณ ๓: อตีตังสญาณอนาคตังสญาณปัจจุปปันนังสญาณ ได้แก่ (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต = ชาติชรา มรณะ (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส)
สังเขป ๔ (สังคหะ ๔) หมายถึง ช่วงองค์ประกอบปัจจัยสืบเนื่องกันด้วยเหตุและผลเป็นระยะ ๔ หมวด หรือแยกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบันผล = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล = ชาติชรามรณะ (โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส)
สนธิ ๓ หมายถึง ขั้วต่อ ระหว่างสังเขป หรือช่วงทั้ง ๔ ได้แก่ (๑) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล (๒) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ (๓) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล
วัฏฏะ ๓ (ไตรวัฏฏ์) หมายถึง การวน วงเวียน องค์ประกอบปัจจัยใหญ่ที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันของ ภวจักร หรือ สังสารจักร องค์ความรู้ในข้อนี้ ใช้อธิบายสภาวธรรมระหว่าง สังขตธรรม [โลกธรรม] กับ อสังขตธรรม [นิพพาน] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระธรรมวินัยตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัลเลขธรรมธุตธรรม คือ ธรรมอันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสทั้งหลาย ได้แก่ (๑) กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรกิเลส ได้แก่ อวิชชาตัณหาและอุปาทาน (๒) กรรมวัฏฏ์ คือ วงจรกรรม ได้แก่ สังขารและกรรมภพ (อภิสังขาร ๓ หรือ เจตนา) (๓) วิปากวัฏฏ์ คือ วงจรวิบาก ได้แก่ วิญญาณนามรูปสฬายตนะ ผัสสะเวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติขึ้น ชาติชรามรณะความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ
อาการ ๒๐ หมายถึง องค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ (Causes) และส่วนผล (Effects) ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๒) ปัจจุบันผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา (๓) ปัจจุบันเหตุ ๕ = อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานภพ (๔) อนาคตผล ๕ = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนา
หมายเหตุ: อาการ ๒๐ คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็มในทุกช่วงของ สังเขป ๔
มูล ๒ หมายถึง กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่ (๑) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน (๒) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต
ในอันดับต่อไป ให้พิจารณาในเรื่อง กฎแห่งกรรมกัมมัสสกตาปัญญา ตามบทสวดมนต์ ปัญญาในส่วนนี้ เกิดขึ้นพร้อม จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ วิชชา ๓) และ ปัจจยปริคคหญาณธัมมัฏฐิติญาณ [กังขาวิตรณญาณกังขาวิตรณวิสุทธิ] (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖ และ ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗) อนึ่ง กฎแห่งกรรม ถือเป็น กฎธรรมชาติ เพราะมีเหตุผลตามเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องงมงาย เช่น การกระทำย่อมมีผลตามมาในทุกกรณี เป็นต้น ดังนี้
กฎแห่งกรรม (The Law of Volitional Actions) กฎข้อที่ ๑ กัมมัสสะโกมมะหิ (เรามีกรรมเป็นของๆ ตน) กฎข้อที่ ๒ กัมมะทายาโท (เราเป็นผู้รับผลของกรรม) กฎข้อที่ ๓ กัมมะโยนิ (เรามีกรรมเป็นกำเนิด) กฎข้อที่ ๔ กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์) กฎข้อที่ ๕ กัมมะปะฏิสะระโณ (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย) กฎข้อที่ ๖ ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราจักทำกรรมอันใดไว้) กัลละยาณัง วา ปาปะกัง วา (ดีหรือชั่วก็ตาม) ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ)
นอกจากนี้ ยังหลักธรรม ปัจจัย ๒๔ ที่มีลักษณะกระบวนการคิดคล้ายคลึงกับ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ซึ่งเป็นการอธิบายลักษณะความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดดับในสภาวธรรมต่าง เป็นกระบวนการคิดขั้นสูง [การวิจัยฝ่ายวิทยาศาสตร์] ด้วย ดังนี้
ปัจจัย ๒๔ หมายถึง ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไข ให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ (๑) เหตุปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเหตุ (๒) อารัมมณปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ (๓) อธิปติปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าใหญ่ (๔) อนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง (๕) สมนันตรปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที (๖) สหชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดร่วมกัน (๗) อัญญมัญญปัจจัย คือ ปัจจัยโดยอาศัยซึ่งกันและกัน (๘) นิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย (๙) อุปนิสสยปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า (๑๐) ปุเรชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดก่อน (๑๑) ปัจฉาชาตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเกิดทีหลัง (๑๒) อาเสวนปัจจัย คือ ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน (๑๓) กรรมปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง (๑๔) วิปากปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นวิบาก (๑๕) อาหารปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง (๑๖) อินทรียปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นเจ้าการ (๑๗) ฌานปัจจัย คือ ปัจจัยโดยภาวะจิตที่เป็นฌาน (๑๘) มรรคปัจจัย คือ ปัจจัยโดยเป็นมรรค (๑๙) สัมปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยประกอบกัน (๒๐) วิปปยุตตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน (๒๑) อัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องมีอยู่ (๒๒) นัตถิปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่มีอยู่ (๒๓) วิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องปราศไป (๒๔) อวิคตปัจจัย คือ ปัจจัยโดยต้องไม่ปราศไป
(๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ ทวนลำดับ ย้อนจากปลายมาหาต้น สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท = ฝ่ายนิโรธวาร [Reverse Dependent Origination] (๑) เพราะ อวิชชา สำรอกดับไปไม่เหลือ (๒) เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ (๓) เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ (๔) เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ (๕) เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ (๖) เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ (๗) เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ (๘) เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ (๙) เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ (๑๐) เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ (๑๑) เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ (๑๒) เพราะ ชาติ ดับ ชรามรณะ จึงดับ ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ดังนั้น ในกระบวนการคิดที่สำคัญนั้นแบ่งลักษณะออกเป็น ๓ ฝ่าย อันเป็นส่วนประกอบในการพัฒนาปัญญาในวิปัสสนาภูมิ ได้แก่ [A] ฝ่ายพระพุทธศาสนาThe Religion of Buddhism (๑) ปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา [Dependent Origination] คือ ปัญญาหยั่งรู้ความจริงด้วยเหตุและผล [B] ฝ่ายพุทธปรัชญาThe Philosophy of Buddhism (๒) อนุโลม [Deduction] (๒) ปฏิโลม [Induction] ตามหลักตรรกวิทยา [Logic] คือ การหาความจริงโดยพิจารณาตามหลักเหตุผลเชิงตรรกวิทยา และ [C] ฝ่ายพุทธศาสตร์The Science of Buddhism (๓) วิธีทางวิทยาศาสตร์ [Scientific Methods] คือ ขั้นตอนการพรรณนาปรากฏการณ์ตามข้อมูลที่เป็นจริง [Empiricalism and Descriptivism = Discovery Procedures] หรือ ระเบียบวิธีวิจัย [Research Methodology = (๑) อริยสัจจ์ ๔: ทุกขอริยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ (๒) กิจในอริยสัจจ์ ๔: ปริญญาปหานะสัจฉิกิริยาภาวนา] หรือ การสังเกตการณ์ในภูมิแห่งวิปัสสนาตามสภาวะที่เป็นปรากฏจริง ประการสำคัญ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ทฤษฎีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในศาสตร์สมัยใหม่สาขาต่างๆ ดังนี้
(๑) อนุโลมอนุโลมปฏิจจสมุปบาท [Deductive Methodวิธีการนิรนัย-อนุมาน] หมายถึง การสรุปแบบอนุมาน เป็นการใช้เหตุผลจากทฤษฎี หลักการ ไปลงข้อสรุป โดยมีแหล่งความรู้มาจาก ผู้รู้การหยั่งรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีประสบการณ์เหตุผล เทียบเคียงได้กับ การวิเคราะห์ [Analysis] โดยมีลำดับ ได้แก่ ข้อเท็จจริงใหญ่ข้อเท็จจริงย่อยข้อสรุป [กฎย่อย]
ภาพประกอบ ๑: ลำดับขั้นในวิธีอนุมาน
(๒) ปฏิโลมปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท [Inductive Methodวิธีการอุปนัย-อุปมาน] หมายถึง การสรุปจากความจริงย่อย เป็นประโยคอ้าง เพื่อลงข้อสรุปเป็นความจริงใหม่ ถ้าประโยคอ้างเป็นจริง ข้อสรุปนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นจริง เทียบเคียงได้กับ การสังเคราะห์ [Synthesis] โดยมีลำดับ ได้แก่ ข้อเท็จจริงย่อยข้อเท็จจริงใหญ่ข้อสรุป [ทฤษฎีหลัก]
ภาพประกอบ ๒: ลำดับขั้นในวิธีอุปมาน
(๒.๑) วิธีการอุปมานแบบสมบูรณ์ [Perfect Inductive Method] เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆจากทุกหน่วยของกลุ่มประชากร [การหาค่าพารามิเตอร์ของประชากรที่ต้องการศึกษาทั้งหมด เรียกว่า ค่าพารามิเตอร์Parameter] จึงสรุปไปสู่ส่วนใหญ่ เช่น ต้องการทราบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองนั้นนับถือผีเทวดาอะไร ก็ต้องมาถามจากผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นว่าทุกคนนับถือผีเทวดาอะไร แล้วจึงนำมาสรุปรวมว่า ผู้ที่อาศัยในเมืองนั้นนับถือศาสนาอะไรบ้าง ภาพประกอบ ๓: ลำดับขั้นในวิธีอุปมานแบบสมบูรณ์
(๒.๒) วิธีการอุปมานแบบไม่สมบูรณ์ [Imperfect Inductive Method] เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆจากบางส่วนของกลุ่มประชากร [สุ่มตัวอย่างบางส่วน ที่เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมด เรียกว่า ค่าสถิติStatistic] แล้วสรุปรวมไปสู่ส่วนใหญ่ ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆจากทุกๆหน่วยของกลุ่มประชากร จึงใช้วิธีรวบรวมข้อเท็จจริงย่อยๆจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร ภาพประกอบ ๔: ลำดับขั้นในวิธีอุปมานแบบสมบูรณ์
(๓) แนวคิดในทางวิทยาศาสตร์ [Scientific Approach] ตามลักษณะแนวคิดนี้ เกิดจากการรวบรวมหลักฐานอันจัดเป็นชุดข้อมูลหนึ่งๆ ตามระยะเวลาและสถานที่ และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล [A Collection of Data] ดังกล่าวนั้น เพื่อสังเคราะห์หาข้อสรุปพื้นฐานในชั้นตอนพิสูจน์ข้อสมมติฐาน [Proving Hypothesis] และยืนยันทฤษฎี [Asserting Theory] ที่สร้างขึ้นใหม่หรือทฤษฎีที่มีมาก่อนหน้านั้น ข้อสมมติฐานที่ผ่านการทดสอบแล้ว จึงเรียกว่า ทฤษฎี [Accepted Theory] ที่ถูกต้อง ขั้นตอนทั้งหมดดังกล่าวนี้ ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ระเบียบวิธีวิจัย [Research Methodology] ซึ่งทุกขั้นตอนของการวิจัยจึงเป็นเรื่องการใช้เหตุผลเชิงตรรกวิทยาเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า วิธีใช้เหตุผลเชิงอนุมาน [Deductive Reasoning] กับ วิธีใช้เหตุผลอุปมาน [Inductive Reasoning] หลักการในการวิจัยจึงมีขั้นตอน คือ (๑) หลักฐาน (๒) กระบวนการคิด และ (๓) ขั้นตอนการทำวิจัย ทั้งหมดรวมกัน เรียกว่า กระบวนการค้นพบความจริง [Discovery Procedures] ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (๑) หลักฐาน [Confidence] หมายถึง การกำหนดขอบเขตข้อมูล [Data] ที่แยกออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ (๑) ประชากรPopulation คือ ค่าพารามิเตอร์Parameter กับ (๒) กลุ่มตัวอย่างSample คือ ค่าสถิติStatistic ส่วนใหญ่มักศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มเป็นตัวแทนข้อมูลของประชากร ข้อที่น่าสนใจมาก คือ ทฤษฎีการสุ่มตัวอย่าง (เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย: ชูศรี วงศ์รัตนะ. ๒๕๕๓.) ๑.๑ การแจกแจงของกลุ่มตัวอย่าง [Sampling Distribution] คือ การแจกแจงความน่าจะเป็นของค่าสถิติต่างๆ ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างหลายๆ กลุ่ม ที่สุ่มจากกลุ่มประชากรเดียวกัน โดยที่แต่ละกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเท่ากัน และความเบี่ยงเบนมาตรฐานของการแจกแจงกลุ่มตัวอย่างของค่าสถิติใดๆ เรียกว่า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าสถิติ นั้น ๑.๒ การแจกแจงของค่าเฉลี่ย [Sampling Distribution of the Mean
= ๑.๓ การแจกแจงของผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ย [Sampling Distribution of the Difference of Mean] คือ ถ้ากลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระจากกันมีขนาดต่างกัน ถูกสุ่มจากประชากร ๒ กลุ่ม ที่มีค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานคนละชุด ตามลำดับแล้ว การแจกแจงของผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ย จะมีการแจกแจงปกติ ๑.๔ การแจกแจงแบบที [tDistribution] คือ การเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างทีละคู่ เมื่อกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒ กลุ่ม ที่มีขนาดเล็กกว่าจำนวน ๓๐ ตัวอย่าง โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษาภายในกลุ่มต้องเป็นอิสระจากกัน ความแปรปรวนของกลุ่มประชากรทั้ง ๒ กลุ่มจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ๑.๕ การแจกแจงแบบไคสแควร์ [c2Distribution] คือ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง ว่ามีความสัมพันธ์ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มต้องเป็นอิสระจากกัน ค่าที่สังเกตได้ค่าหนึ่งๆ จะจัดให้อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพียงกลุ่มเดียว และกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีขนาดใหญ่พอ ที่จะให้ความถี่ที่คาดหวังในแต่ละช่องไม่น้อยกว่า ๑๐ ๑.๖ การแจกแจงแบบเอฟ [FDistribution หรือ Analysis of Variance] คือ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง ที่มีมากกว่า ๒ กลุ่มขึ้นไป โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มต้องเลือกมาโดยการสุ่มจากกลุ่มประชากร ที่มีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มต้องเป็นอิสระจากกัน กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มได้มาจากกลุ่มประชากรที่มีความแปรปรวนเท่ากัน และข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์นั้น ต้องอยู่ในมาตราอันตรภาคหรืออัตราส่วน
ในขั้นตอนการคิดดังกล่าวข้างต้นทั้ง ๓ ลักษณะ นั้น เป็นเรื่องจำเป็นในการปฏิบัติธรรม คือ การเจริญภาวนากรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ๒ วิธีแรกนั้นเกิดใน (๑) กระบวนการคิดในทางพระพุทธศาสนา กับ (๒) กระบวนการคิดในทางปรัชญาตรรกวิทยา และเป็นพื้นฐานใน (๓) กระบวนการคิดในทางวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางพระพุทธศาสนานั้น นอกจากจะยึดกระบวนการคิดตามหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นเกณฑ์สำคัญในการเจริญภาวนากรรมฐานแล้ว ยังต้องพิจารณาถึง ยถาภูตญาณ อันเป็นปัญญาเห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง ที่เรียกว่า ปัญญาเห็นธรรม ซึ่งหมายถึง ปัญญาหยั่งรู้: จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง [Insights] ที่ต้องรวมกับ จิตตสมาธิเอกัคคตาแห่งสมาธิหรือวิเวก [รูปฌาน ๔ คือ ปฐมฌานข่มระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ] ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ [Knowledge and Vision] คือ รู้เห็นด้วยญาณในภูมิแห่งวิปัสสนา ให้พิจารณากระบวนการคิดในการเจริญภาวนากรรมฐาน ดังนี้
ภาพประกอบ ๕: กระบวนการคิดในการเจริญภาวนากรรมฐาน
จากภาพประกอบ ๕ ดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า กระบวนการสร้างปัญญาในการเจริญสมาธิภาวนาและวิปัสสนาภาวนานั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจริญธรรม โยนิโสมนสิการ [ปัญญาภาวนา] ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องผ่านขั้นตอนการพัฒนาตนจาก กายภาวนาสีลภาวนา รวมทั้ง จิตตภาวนา มาแล้วเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ออกนอกกรอบความคิดว่า ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘ หรือ ปิยรูปสาตรูป ๑๐ หมายถึง สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา ได้แก่ อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖วิญญาณ ๖สัมผัส ๖เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖ตัณหา ๖วิตก ๖ รวมทั้ง อาหาร ๔ ดังนี้
อาหาร ๔ หมายถึง สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเครื่องค้ำจุนชีวิตสิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ ได้แก่ (๑) กวฬิงการาหาร คือ อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่อกำหนดรู้ กวฬิงการาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ราคะ [ความกำหนัดติดใจ] ที่เกิดจาก เบญจกามคุณได้ด้วย (๒) ผัสสาหาร คือ อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และ วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา [การรับรู้ความรู้สึก] พร้อมทั้ง เจตสิก [เวทนาสัญญาสังขาร คือ อาการลักษณะย่อยของ จิตวิญญาณ] ทั้งหลาย ที่จะเกิดตามมา เมื่อกำหนดรู้ ผัสสาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ เวทนา ๓ ได้ด้วย (๓) มโนสัญเจตนาหาร คือ อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่า กรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่ง ภพ [กรรมภพ] คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย [อุปัตติภพ] เมื่อกำหนดรู้ มโนสัญเจตนาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ตัณหา ๓ ได้ด้วย (๔) วิญญาณาหาร คือ อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป เมื่อกำหนดรู้ วิญญาณาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ นามรูปแห่งขันธ์ ๕ ได้ด้วย
ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมไม่เข้าใจธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่รู้จักธรรมชาติของ นามรูแห่งขันธ์ ๕ ได้ นั่นคือ ยังไม่รู้จัก คำว่า ทุกข์ [ทุกขตา ๓] เป็นอย่างดี ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังนี้
ทุกขตา ๓ หมายถึง ความเป็นทุกข์ภาวะแห่งทุกข์สภาพทุกข์ความเป็นสภาพที่ทนได้ยากหรือคงอยู่ในภาวะเดิมไม่ได้ [เมื่อเห็นทุกข์ได้ ย่อมเห็นธรรมทั้งปวงได้เช่นกัน] ได้แก่ (๑) ทุกขทุกขตา คือ สภาพทุกข์คือทุกข์ ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ ได้แก่ ทุกขเวทนาทางกายก็ตาม ใจก็ตาม ซึ่งเป็นทุกข์อย่างที่เข้าใจสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ (๒) วิปริณามทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงแปรไปเป็นอย่างอื่น (๓) สังขารทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร ได้แก่ ตัวสภาวะของสังขาร คือ สิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ และให้เกิดทุกข์แก่ผู้ยึดถือด้วยอุปาทาน
ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรมเจริญภาวนากรรมฐานนั้น ให้ใช้ สติสัมปชัญญะ [สมาธิ] ตามพิจารณารู้เห็นใน อาหาร ๔ อันกลายเป็นสมุฏฐานให้เกิด ขันธ์ ๕ และ ขันธ์ ๕ นั้น ก็อันกลายเป็นสมุฏฐานให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ จากนั้น ก็วิปัสสนาหรือมนสิการกรรมฐานในอารมณ์นั้นๆ ให้เห็นสภาวธรรมที่แท้จริงเกี่ยวกับ นามรูปโดยไตรลักษณ์ โดยตั้งมั่นด้วย สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ด้วยปัญญาที่เรียกว่า สัญญา ๑๐ เพื่อให้หลุดพ้นจากบรรดาทุกข์ทั้งหลายดังกล่าวนั้น ดังนี้
สัญญา ๑๐ หมายถึง แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน อันเป็นแนวคิด การทุบขันธ์ ๕ อีกทางหนึ่ง [วุฏฐานคามินีปฏิปทา] ได้แก่ (๑) อนิจฺจสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (๒) อนตฺตสญฺญา คือ กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง (๓) อสุภสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย (๔) อาทีนวสญฺญา คือ กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ (๕) ปหานสญฺญา คือ กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย (๖) วิราคสญฺญา คือ กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๗) นิโรธสญฺญา คือ กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๘) สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (๙) สพฺพสงฺขาเรสุ อนิฏฺฐสญฺญา คือ กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (๑๐) อานาปานสติ คือ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก [ถ้าเป็นพระเสข ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ต้องมีชีวิตอยู่ จึงให้พิจารณาลมหายใจในฝ่ายกายสังขาร]
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรมอย่างธรรมทั้งหลายที่เหลืออยู่ ซึ่งต้องเป็น สัมปยุตตธรรม ในการเกิดดับขึ้นพร้อมกันแห่งธรรมทั้งปวง ต้องประกอบด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗อภิญญาเทสิตธรรม ด้วย มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถเข้าถึงความจริงในขั้นตอน ความตรัสรู้สัมโพธะ [อริยมรรค ๔อริยผล ๔ปัจจเวกขณญาณอาสวักขยญาณ] และ นิพพาน ๒ [สอุปาธิเสสนิพพานอนุปาธิเสสนิพพาน] ที่เรียกว่า พระอรหันตขีณาสพจตุสัจจพุทธะ ได้ และในระหว่างที่เจริญภาวนาอยู่นั้น จะต้องแอบดูใจตัวเองด้วยว่า มันเป็นอยู่อย่างไร จะต้องให้ใจมันมีอะไร ไม่มีอะไร เพื่อให้ไม่มีอะไรเลย คือ อนัตตตาสุญญตา [ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา = ดวงตาเห็นธรรม: สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหลายย่อมดับไปเป็นธรรมดา โดยพิจารณาด้วย อนุโลมปฏิโลม แห่งปฏิจจสมุปบาท ก่อนเกิดปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์] ซึ่งหมายถึง ความไม่ใช่ตัวตนความว่างเปล่า ที่เกิดขึ้นในใจ [จิตวิญญาณ] นั่นคือ สมถะและวิปัสสนามีอาการ ๑๘ กับ สภาวธรรมแห่งสมถะกับวิปัสสนา ๒๘ ดังนี้
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ [อภิญญาเทสิตธรรม] หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ (สติสัมปชัญญะ) สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ แต่ถ้านับตัวสภาวธรรมแท้ๆ ตัดจำนวนที่ซ้ำออกไป มี ๑๔ คือ สติวิริยะฉันทะจิตตะปัญญาสัทธาสมาธิปีติปัสสัทธิอุเบกขาสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ [ให้พิจารณาเปรียบเทียบกับ กองเจตสิก หรือ เจตสิก ๕๒] ดังนี้ (๑) สติ คือ ความระลึกได้ (๒) วิริยะ คือ ความเพียร (๓) ฉันทะ คือ ความพอใจ (๔) จิตตะ คือ ความคิดมุ่งไป (๕) ปัญญา คือ ความรู้ทั่วชัด (๖) สัทธา คือ ความเชื่อ (๗) สมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นแน่วแน่ (๘) ปีติ คือ ความอิ่มใจและดื่มด่ำในใจ (๙) ปัสสัทธิ คือ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (๑๐) อุเบกขา คือ ความเป็นกลางในอารมณ์ (๑๑) สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ (๑๒) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ (๑๓) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ (๑๔) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ
ในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ นั้น เป็นธรรมที่ต้องเจริญตั้งแต่ต้นถึงตอนจบ ในการบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนากรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปฏิปทาอันยิ่งที่ต้องดำเนินด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อไปสู่ อริยมรรค ๔ และ อริยผล ๔ นั่นคือ ความตรัสรู้สัมโพธะอาสวักขยญาณ จนถึง นิพพาน ฉะนั้น ให้พิจารณาถึง กองเจตสิก [เวทนาสัญญาสังขาร = จิตวิญญาณ] ทั้ง ๑๔ ดวง ว่าจะต้องเกิดขึ้นในจิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแน่นอน ซึ่งจะไปสัมปยุตต์กับ สมถะและวิปัสสนามีอาการ ๑๘ เมื่อตัดจิตดวงที่ซ้ำกันออกไปแล้ว จะเป็น สภาวธรรมแห่งสมถะกับวิปัสสนา ๒๘ นั่นคือ สภาวธรรมดังกล่าวนี้ เรียกว่า สัมปยุตตธรรม [สหชาตธรรม] โดยธรรมหลักขององค์ธรรมย่อยทั้ง ๒๘ ดวง นั้น ไม่ละเมิดกันและกัน แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องเข้าใจว่า ธรรมหรือสภาวธรรมแห่งดวงจิตเหล่านั้น ไม่ใช่ตัวตน [อนัตตา] หรือ ความว่างเปล่า [สุญญตา] ประเด็นข้อคิดนี้ ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งระหว่างความแตกต่างในธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย ได้แก่ สังขตธรรม [วัฏฏะ] กับ อสังขตธรรม [วิวัฏฏะ] ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สมถะและวิปัสสนามีอาการ ๑๘ (๑) เนกขัมมะ [สมณธรรม] คือ ความปลอดจากความโลภ (๒) อัพยาบาท คือ ความไม่คิดร้าย (๓) อาโลกสัญญา คือ ความกำหนดหมายสว่างด้วยปัญญา [สติกับสัมปชัญญะ] (๔) อวิกเขปะ คือ ความไม่หวั่นไหว (๕) ธรรมววัตถาน คือ การกำหนดธรรม (๖) ญาณ คือ ความรู้ที่คมชัด [ฌานสงบวิเวก ย่อมละอวิชชาได้ เช่นกัน] (๗) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจความร่าเริงสดใส (๘) กุศลธรรมทั้งปวง [รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔อริยมรรค ๔] คือ ภาวะที่เจริญรุ่งเรือง (๙) ปีติ คือ ความอิ่มใจความปลื้มใจ (๑๐) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจความผ่อนคลายรื่นสบาย (๑๑) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๑๒) สมาธิ [เอกัคคตา] คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย (๑๓) โอภาส คือ แสงสว่างไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ อันโชติช่วงและไพบูลย์ (๑๔) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง (๑๕) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๑๖) อุปัฏฐาน คือ สติแก่กล้าสติชัด (๑๗) อุเบกขา คือ ความมีจิตเป็นกลาง (๑๘) นิกันติ คือ ความพอใจติดใจ
ฉะนั้น องค์ธรรมทั้ง ๑๘ ดวง ดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงสภาวธรรมอันเป็นอาการลักษณะของจิตที่เป็น (๑) สมาธิ [ญาณทัสสนะรู้เห็น] และ (๒) ปัญญา [ญาณเห็นหยั่งรู้] ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ปฏิบัติธรรมที่ประพฤติปฏิบัติตนมาถูกต้องตามหลักธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปทาธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] หรือตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น [พระสัตถุสาสน์] นั่นคือ ไตรสิกขาอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่อย่าลืมว่า คุณธรรมเหล่านนี้ที่เกิดขึ้นนั้น เพราะความเชื่อมั่น ศรัทธา เลื่อมใส และ ฉันทะ อย่างแรงกล้า [ศรัทธา ๔: (๑) กัมมสัทธาวิปากสัทธากัมมัสสกตาสัทธาตถาคตโพธิสัทธา (๒) อาคมนสัทธาอธิคมสัทธาโอกัปปนสัทธาปสาทสัทธา] ฉะนั้น องค์ธรรมเหล่านี้ จึงเป็นเพียงเครื่องมือที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องได้รับ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปยึดมั่น หรือสำคัญผิดในธรรมว่า ตนได้บรรลุอธิคมธรรมหรือโลกุตตรธรรมแล้ว เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน [ธรรมุธัจจ์ธัมมุทธัจจะวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ = อวิชชาโมหะ] เนื่องด้วยยังไม่ประกอบด้วยปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์อย่างแท้จริง ให้พิจารณาสัมปยุตตธรรมทั้งหลายในสมถะกับวิปัสสนาเพิ่มเติม ดังนี้
สภาวธรรมแห่งสมถะกับวิปัสสนา ๒๘ (๑) เนกขัมมะ [สมณธรรม] คือ ความปลอดจากความโลภ (๒) อัพยาบาท คือ ความไม่คิดร้าย (๓) อาโลกสัญญา คือ ความกำหนดหมายสว่างด้วยปัญญา [สติกับสัมปชัญญะ] (๔) อวิกเขปะ คือ ความไม่หวั่นไหว (๕) ธรรมววัตถาน คือ การกำหนดธรรม (๖) ญาณ คือ ความรู้ที่คมชัด [ฌานสงบวิเวก ย่อมละอวิชชาได้ เช่นกัน] (๗) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจความร่าเริงสดใส (๘) กุศลธรรมทั้งปวง [รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔อริยมรรค ๔] คือ ภาวะที่เจริญรุ่งเรือง (๙) ปีติ คือ ความอิ่มใจความปลื้มใจ (๑๐) ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจความผ่อนคลายรื่นสบาย (๑๑) สุข คือ ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๑๒) สมาธิ [เอกัคคตา] คือ ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย (๑๓) โอภาส คือ แสงสว่างไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ อันโชติช่วงและไพบูลย์ (๑๔) สัทธา คือ ความเชื่อ (๑๕) จิตตะ คือ ความคิดมุ่งไป (๑๖) อธิโมกข์ คือ ศรัทธาแรงกล้าที่ทำให้ใจผ่องใสอย่างยิ่ง (๑๗) วิริยะคือ ความเพียร (๑๘) ปัคคาหะ คือ ความเพียรที่พอดี (๑๙) สติ คือ ความระลึกได้ (๒๐) อุปัฏฐาน คือ สติแก่กล้าสติชัด (๒๑) ปัญญา คือ ความรู้ทั่วชัด (๒๒) อุเบกขา คือ ความมีจิตเป็นกลาง (๒๓) ฉันทะ คือ ความพอใจ (๒๔) นิกันติ คือ ความพอใจติดใจ (๒๕) สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ (๒๖) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ (๒๗) สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ (๒๘) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ
สำหรับลำดับการตรัสรู้สมโพธิญาณนั้น ให้พิจารณาตามหลัก ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗ [พระสัตถุสาสน์ภาษิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า] ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องหาข้อสรุปใน หลักธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม โดยวิธีการคิดที่ประจักษ์ลึกๆ แล้ว นั้น คือ (๑) อนุโลมปฏิจจสมุปบาท (๒) ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท (๓) ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (๔) ทักษะการคิดขั้นสูง ทั้งหมดนี้ ก็เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงใน สังขตธรรม [สภาวธรรมอารมณ์แห่งกรรมฐาน = วัฏฏะ ๓: กิเลสกรรมวิบาก นั่นคือ อุปาทานขันธ์อุปาทิ] ทั้งหมด ฉะนั้น จึงต้องคิดพิจารณาให้รู้เห็น [สติกับปัญญาสติสัมปชัญญะ] อย่างเท่าทันจิตใจของตน [ปิดกั้นอวิชชา] ควบคุมให้อยู่ในอารมณ์แห่งกรรมฐานด้วย สัญญา ๑๐ ดังรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปนี้
ภาษิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ ประการ [ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๗] ในขั้นตอนดังกล่าวนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องเจริญสมาธิภาวนา [สมถภาวนา] ก้าวถึงขั้น จตุตถฌาน [วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖] นั่นคือ เกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง [ธรรมจักร] ได้ ที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักขุ แล้วก้าวสู่ภูมิแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วย มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖ โดยสัมปยุตต์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗อภิญญาเทสิตธรรม คือ ธรรมเครื่องใฝ่หาความตรัสรู้และอริยมรรค ดังนี้ (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง (๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด (๓) นิโรธ คือ ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบ (๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว
ในอันดับต่อไป ให้พิจารณาลงในรายละเอียด ดังนี้
(๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิง [อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ = สังขตธรรมทั้งปวง] นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านขั้นตอนของการเจริญฌานสมาบัติ [สมาบัติ ๘: รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔] โดยหมายเอา จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ = จิตประภัสสร] ที่สัมปยุตต์ด้วย มหาวิปัสสนา ๑๘ หรือ การกำหนดทุกขสัจจ์ การกำหนดสมุทัยสัจจ์ และ การกำหนดมรรคสัจจ์ [วิปัสสนาญาณ ๙วิปัสสนาญาณ ๑๐]
(๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านถึงขั้นตอน มัคคญาณมรรค ๔อริยมรรค ๔ หมายถึง ญาณในอริยมรรค ปัญญาสูงสุดที่กำจัดกิเลสเป็นเหตุให้บรรลุความเป็น อริยบุคคล ชั้นหนึ่งๆ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรคอนาคามิมรรคอรหัตตมรรค หรือ โสตาปัตติมัคคญาณสกทาคามิมัคคญาณอนาคามิมัคคญาณอรหัตตมัคคญาณ นั่นคือ โลกุตตรญาณ
(๓) นิโรธ คือ ความดับหมดกิเลสหมดทุกข์ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านถึงขั้นตอน ผลญาณผล ๔อริยผล ๔สามัญผล ๔ หมายถึง ญาณในอริยผล ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจาก มัคคญาณ และเป็น ผลแห่งมัคคญาณ นั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้วได้ ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ ได้แก่ โสดาปัตติผลสกทาคามิผลอนาคามิผลอรหัตตผล หรือ โสดาบันโสดาปัตติผลญาณ ๑ สกทาคามีสกทาคามิผลญาณ ๑ อนาคามีอนาคามิผลญาณ ๑ อรหันต์อรหัตตผลญาณ ๑ นั่นคือ โลกุตตรญาณ
(๔) อุปสมะ คือ ความสงบ ระงับโทษข้อขัดข้องมัวหมองวุ่นวายอันเกิดจากกิเลสทั้งหลายแล้วทำจิตใจให้สงบได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านถึงขั้นตอน วิเวก ๓ คือ ความสงัดความปลีกออก ได้แก่ (๑) กายวิเวก คือ ความสงัดกาย ได้แก่ อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี (๒) จิตตวิเวก คือ ความสงัดใจ ได้แก่ ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย เป็นต้น หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และ อริยมรรค อริยผล (๓) อุปธิวิเวก คือ ความสงัดอุปธิ ได้แก่ ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่า อุปธิ หมายเอา พระนิพพาน
(๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านถึงขั้นตอนได้ธรรม ๒ ดังนี้ ฝ่ายแรก เรียกว่า วิชชา ๓วิชชา ๘ หมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) วิปัสสนาญาณ คือ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่เป็นวิปัสสนา นั่นคือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน (๒) มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ นั่นคือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้หรือแปลงร่างใหม่ได้ (๓) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ นิรมิตกายหลายคน ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น (๔) ทิพพโสต คือ หูทิพย์ ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา (๕) เจโตปริยญาณ คือ ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ ญาณที่ให้ทายใจรู้ใจความนึกคิดคนอื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ระลึกชาติได้ ปัญญารู้ทั้งอดีตและอนาคต (๗) ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ จักษุทิพย์ [จุตูปปาตญาณ] คือ ดูอะไรเห็นได้หมด (๘) อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ = โลกุตตรญาณ และฝ่ายหลัง เรียกว่า อภิญญา ๖ หมายถึง ความรู้ยิ่งยวด ได้แก่ (๑) อิทธิวิธาอิทธิวิธิ คือ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ (๒) ทิพพโสต คือ ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ คือ ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ คือ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
(๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านถึงขั้นตอนได้ ปัจจเวกขณญาณ [ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏะ ๓ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ = มีคุณ ๑๙ ประการแห่งญาณทัสสนะ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงระหว่าง ญาณ ๓: สัจจญาณกิจจญาณกตญาณ กับ อริยสัจจ์ ๔: ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค กับ กิจในอริยสัจจ์ ๔: ปริญญาปหานะสัจฉิกิริยาภาวนา = มีอาการ ๑๒] และ อาสวักขยญาณ [มีอาการ ๖๔ สัมปยุตต์ด้วย อริยมรรค ๔อริยผล ๔นิพพาน ๒]
(๗) นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้วสภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้วภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติธรรมผ่านถึงขั้นตอนได้บรรลุถึง นิพพาน ๒ ดังนี้
(๑) การดับกิเลสปรินิพพาน คือ ยังเหลือ สัญญาเวทนา ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน [พระอรหันต์ผู้ยังดำรงชีวิตอยู่ โดยมีจิตไม่ก่อกรรมและวิบาก คือ กิริยาจิต] เรียกว่า สอุปาทิเสสบุคคลพระเสขะ นั่นคือ ยังต้องเจริญภาวนาใน เสขปฏิปทา ต่อไปอีก ที่เรียกว่า จรณะ ๑๕ หมายถึง เครื่องดำเนิน ปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗และฌาน ๔ หรือ ให้ถือประพฤติปฏิบัติตามสัมมาปฏิปทาใน ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘หลักกำหนดธรรมวินัย ๘ ดังนี้ (๑) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ หรือเสริมความติดใคร่ (๒) วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์ (๓) อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส (๔) อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่ (๕) สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ (๖) ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่ (๗) วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน (๘) สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก
(๒) การดับขันธปรินิพพาน คือ การดับอุปาทิทั้งหมดแห่งขันธ์ ๕ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์ ปวัตตสีสะ กับ อวิชชาสวะกิเลสสีสะ อันเป็น สัญญาเวทนา [จริมกจิต = จิตดวงสุดท้าย ซึ่งจะดับไปเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ] ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน [ชีวิตสมสีสีบุคคล คือ ผู้ดับอาสวะทั้งหมดแล้ว พร้อมด้วยการละสังขารทั้งปวงหรือเสียชีวิต นั่นคือ การปลงอายุสังขาร] เรียกว่า อนุปาทิเสสบุคคลพระอเสขะ [อรหัตตผลวิมุตติ เท่ากับ สัมมาวิมุตติ ข้อ ๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐ อันเป็น อเสขปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘สัมมาญาณ ๑สัมมาวิมุตติ ๑ ในบรรดาธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นในขณะดับขันธปรินิพพานเท่านั้น] อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาคำบรรยายการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระมหามุนี ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ผู้ไม่มีตัณหาเป็นเครื่องทำใจให้หวั่นไหว ทรงทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ คือ เสด็จออกจากจตุตถฌานแล้ว จึงจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดกลั้นเวทนาด้วยพระหฤทัยอันเบิกบาน ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นดวงประทีปของชาวโลกพร้อมเทวโลกเสด็จดับขันธปรินิพพาน ความพ้นพิเศษแห่งพระหฤทัยได้มีขึ้นแล้ว บัดนี้ ธรรมเหล่านี้อันมีสัมผัสเป็นที่ ๕ ของพระมหามุนี ได้สิ้นสุดลงแล้ว ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว จิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่นจักไม่มีอีกต่อไป (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 166 FILE 53)
อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อพึงสังเกตประการหนึ่ง คือ คำว่า อภิญญา คือ ความรู้คมชัดความรู้ยิ่งยวด ที่ประกอบด้วย (๑) วิชชา ๓วิชชา ๘ กับ (๒) อภิญญา ๖ นั้น จนรวมถึง ญาณในวิปัสสนา ทั้งหลายด้วย ก็ใช่ว่า ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนพึงบรรลุคุณวิเศษดังกล่าวนี้ได้ครบทุกองค์ธรรม บางคนแค่ ปฐมฌานทุติยฌาน ก็บรรลุได้ยาก อาจใช้เวลาทั้งชีวิตก็ได้ หรือไม่งั้นก็ผุดๆ โผล่ๆ ระหว่าง ปฐมฌาน กับ ทุติยฌาน หรือถ้าอาการหนักหน่อยก็ไม่มีฌานสมาบัติอะไรเกิดขึ้นเลยก็ได้ หรือบางคนอาจมีได้เฉพาะวันศีลอุโบสถเท่านั้น นอกนั้น ก็ขอเป็นคนธรรมดาดีกว่า ก็มีเช่นกัน ก็ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาดูก็แล้วกันว่า หนทางไปมันยังอีกไกลมากเลย กว่าจะไปถึง พระนิพพาน ถ้าตั้งใจศึกษาปฏิปัตติสัทธรรมอย่างจริงจังกันจริงๆ ก็น่าใช้เวลาอย่างมากประมาณ ๖ ปี ก็พอๆ กับไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกเลยก็ว่าได้ แล้วค่อยลงมือดำเนินการในภาคสนาม คือ นั่งสมาธิ ข้อพึงสำรวมระวัง เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริง [ญาณ = ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้] (๑) ความเกิดขึ้นให้มี = อุปาทขณะ (๒) ความตั้งอยู่ไม่ให้มี = ฐิติขณะ (๓) ความดับไปเพื่อปล่อยวาง = ภังคขณะ [ให้พิจารณาหรือมนสิการกรรมฐานด้วย อนุปัสสนา ๓: อนิจจานุปัสสนาทุกขตานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา ซึ่งต้องดำเนินใน สติปัฏฐาน ๔] นั่นคือ ให้เห็น สภาวธรรมแห่งขณะในกาลทั้ง ๓ [ได้แก่ (๑) อดีตอัทธาอตีตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต รู้อดีตและสาวหาเหตุปัจจัยอันต่อเนื่องมาได้ (๒) อนาคตอัทธาอนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต รู้อนาคต หยั่งผลที่จะเกิดสืบต่อไปได้ (๓) ปัจจุบันนัทธาปัจจุปปันนังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน กำหนดได้ถึงองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่] ด้วยการหยั่งรู้ตาม สัญญา เท่าที่จะทำได้ โดยสัมปยุตต์ด้วย อำนาจแห่งปัญญาในสมาธิ [จิตตสามาธิฌานสมาธิสมถนิมิตสมถพละ = ญาณทัสสนะ คือ รู้เห็นความรู้ความเห็น] ดังนั้น กระบวนการคิดด้วยการเจริญธรรมใน โยนิโสมนสิการ นั้น ให้เข้าใจถึงการพิจาณา ปัจจัยธรรม ทั้งหลายตาม หลักปฏิจจสมุปบาท [ปัจจยาการอิทัปปัจจยตาตถตา ซึ่งตรงกับ ปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) กังขาวิตรณญาณธัมมัฏฐิติญาณ (ข้อ ๔ ในวิสุทธิ ๗) โดยมีสมุฏฐานมาจาก จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) ทิพพจักขุ (ข้อ ๗ ในวิชชา ๘) ทิพพจักขุ (ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖) ซึ่งมีความหมายเดียวกัน จนรวมถึง ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๑มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรมและกัมมัสสกต]
เมื่อพิจารณาธรรมทั้งหลายแห่งสังขตธาตุ [สังขารสังขตธรรม = สภาพที่ปรุงแต่งด้วยปัจจัยแห่งสัญเจตนาทั้ง ๖ อันมีสมุฏฐานการเกิดดับแห่งสภาวธรรมที่สหรคตด้วยตัณหาและทิฏฐิ ตามหลักธรรม ปิยรูปสาตรูป ๑๐ นั่นปัจจัยที่เป็น สหชาตธรรม (ประกอบด้วย (๑) สหวุตติ คือ มีความเป็นไปร่วมกัน (๒) เอกุปปาทะ ทั้งเกิดขึ้นด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว (๓) เอกนิโรธะ ทั้งดับด้วยกันพร้อมเป็นอันเดียว และ (๔) เอกนิสสยะ มีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยร่วมกันเป็นอันเดียว พร้อมด้วย นามขันธ์ทั้ง ๔ คือ เวทนาสัญญาสังขารวิญญา) ได้แก่ อายตนะภายใน ๖อายตนะภายนอก ๖วิญญาณ ๖สัมผัส ๖เวทนา ๖สัญญา ๖สัญเจตนา ๖ตัณหา ๖วิตก ๖ (ให้เปรียบเทียบกับการเกิดอุปาทานขันธ์ใน ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ได้แก่ (๑) อดีต = อวิชชาสังขาร (๒) ปัจจุบัน = วิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพ (๓) อนาคต = ชาติชรา มรณะ พร้อมด้วยผลวิบากที่ตามมา ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส = สังกิเลส) อันเป็น สภาวธรรมแห่งนามรูป หรือ เบญจขันธ์ขันธ์ ๕ หรือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ อันเป็นปัญญาที่สัมปยุตต์ด้วย นามรูปปริจเฉทญาณ (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖ คือ ญาณกำหนดแยกรูปและนาม หรือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓) คือ ความระลึกชาติได้ หยั่งรู้นามรูปในอดีตได้ หรือ ทิฏฐิวิสุทธิ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗) คือ ขั้นกำหนดทุกขสัจจ์] นั้น ให้กำหนดสติตามพิจารณาถึง หลักทฤษฎี [Theory: อภิธรรมปรมัตถสัจจะ] อันหมายถึง กฎLaw หรือ เกณฑ์Criteria [มาตรการMeasures หรือ มาตรฐานStandards] และ ความคิดเห็นพื้นฐานAssumptions กับ ข้อสมมติฐานHypotheses [พิจารณาตามหลักระเบียบวิธีวิจัยResearch Methodology เพราะว่า พระพุทธศาสนาจัดเป็น ศาสนาReligion ใช้ญาณหยั่งรู้ ๑ ปรัชญาPhilosophy ใช้ตรรกวิทยา ๑ วิทยาศาสตร์Science ใช้วิธีวิจัย ๑ ไม่ใช่ ไสยาศาสตร์ใช้การนั่งเทียนหรือยกเมฆ] ก็ได้ ที่จะเกิดจากการหาข้อสรุปทั้งเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ (๑) อนุโลมอนุโลมปฏิจจสมุปบาท [คิดคล้อยตามลำดับจากต้นเหตุไปหาปลายเหตุ ผลจึงมี คือ อวิชชาทุกข์] คือ ลักษณะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ และ (๒) ปฏิโลมปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท [คิดย้อนจากผลหลายอย่างรวมกัน จากปลายเหตุกลับไปหาต้นเหตุ เพื่อดับต้นเหตุแห่งผลนั้นๆ ผลจึงมี คือ ทุกข์อวิชชา] คือ ลักษณะกระบวนการคิดเชิงสังเคราะห์ ให้เปรียบเทียบกระบวนการคิดที่สำคัญในการเจริญภาวนากรรมฐาน โดยใช้เกณฑ์ในการจำแนกหลายอย่างรวมกัน เพื่อให้ภาพองค์รวมแห่งธรรมทั้งปวง โดยเปรียบเทียบกับหลักธรรม อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔ ดังนี้
(๑) สุตมยปัญญาปรโตโฆสะ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ นามรูปปริจเฉทญาณ = อัตถปฏิสัมภิทา [ทิฏฐิวิสุทธิจัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์] (๒) จินตามยปัญญาโยนิโสมนสิการ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ ปัจจยปริคคหญาณ = ธัมมปฏิสัมภิทา [กังขาวิตรณวิสุทธิจัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์]
หมายเหตุ: ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัตินั้น ธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย ดังกล่าวนี้ หมายถึง องค์ความรู้ในการพัฒนาทักษะการคิดขั้นพื้นฐานและขั้นสูง [ทิศนา แขมมณี และคณะ (๒๕๔๙)] ดังนี้
กรอบแนวคิดทักษะการคิดและการพัฒนาการคิด
(๓) ภาวนามยปัญญาสมถะ [วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖ = ญาณทัสสนะ] กับ วิปัสสนา [ยถาภูตญาณ] ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ สัมมาสนญาณวิปัสสนาญาณ ๙ [อุทยัพพยญาณภังคญาณภยญาณอาทีนวญาณ นิพพิทาญาณมุญจิตุกัมยตาญาณปฏิสังขาญาณสังขารุเปกขาญาณอนุโลมญาณ] โคตรภูญาณมรรคญาณผลญาณปัจจเวกขณญาณอาสวักขยญาณนิพพาน = นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทา [จิตตสมาธิ (ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (วิปัสสนาญาณ ๙วุฏฐานคามินีปฏิปทา รวมทั้ง มหาวิปัสสนา ๑๘) ญาณทัสสนวิสุทธิ (อริยมรรค ๔ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ กับ ผลญาณปัจจเวกขณญาณอาสวักขยญาณนิพพาน จัดเป็นขั้นกำหนดนิโรธสัจจ์)]
นอกจากนี้ ให้ผู้ปฏิบัติพิจารณา ศัพท์บัญญัติในพระพุทธศาสตร์ [Buddhist Terminology] ที่มักสร้างความสับสนในการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยธรรม ดังนี้
คำว่า ธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม นอกจากนี้ เพื่อไม่เกิดความสับสนในการศึกษาในเรื่องภูมิประเภทของจิต ให้พิจารณาถึงการจัดจำแนกธรรมออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ (๑) ปริตตะ คือ ธรรมที่ด้อยหรือคับแคบ ได้แก่ กามาวจร (๒) มหัคคตะมหรคต คือ ธรรมที่ถึงความยิ่งใหญ่ ได้แก่ รูปาวจรอรูปาวจร และ (๓) อัปปมาณะ [อปริยาปันนภูมิ] คือ ธรรมที่ประมาณมิได้ ได้แก่ โลกุตตระ ให้เทียบเคียงกับ ภูมิ ๔ ดังนี้
ภูมิ ๔ หมายถึง ชั้นแห่งจิตระดับจิตใจระดับชีวิต ได้แก่ (๑) กามาวจรภูมิ คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม ระดับจิตใจที่ยังปรารภกามเป็นอารมณ์ คือยังเกี่ยวข้องกับกามคุณ ระดับจิตใจของสัตว์ในกามภพทั้ง ๑๑ ชั้น (๒) รูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป ระดับจิตใจที่ปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์, ระดับจิตใจของท่านผู้ได้ฌานหรือผู้อยู่ในรูปภพทั้ง ๑๖ชั้น (๓) อรูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป ระดับจิตใจที่ปรารภอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ระดับจิตใจของท่านผู้ได้อรูปฌาน หรือผู้อยู่ในอรูปภพทั้ง ๔ ชั้น (๔) โลกุตตรภูมิ คือ ชั้นที่พ้นจากโลก ระดับแห่งโลกุตตรธรรม ระดับจิตใจของพระอริยเจ้าอันพ้นแล้วจากโลกียภูมิ ๓ ข้างต้น ข้อนี้ในบาลีที่มา เรียกว่า อปริยาปันนภูมิ คือ ขั้นที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ ระดับที่ไม่ถูกจำกัด
คำว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ [อภิญญาเทสิตธรรม ๓๗ = สัทธรรม คือ แก่นแท้พระศาสนา] โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ (สติสัมปชัญญะ) สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘
คำว่า นิวรณ์ [เศร้า] นิวรณ์ หมายถึง สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ได้แก่ (๑) นิวรณ์ ๕: กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉา (๒) นิวรณ์ ๖: กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชา (๓) นิวรณธรรม: กามฉันทะ พยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอวิชชาอรติอกุศลธรรมทั้งปวง = ญาณในธรรมไม่อุปการะแก่สมาธิ ๘ ตรงกันข้ามกับ ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘ ได้แก่ (๑) เนกขัมมะ (๒) อัพยาบาท (๓) อาโลกสัญญา (๔) อวิกเขปะ (๕) ธรรมววัตถาน (๖) ญาณ (๗) ปราโมทย์ และ (๘) กุศลธรรมทั้งปวง นั่นคือ (๑) รูปฌาน ๔ (๒) อรูปฌาน ๔ (๓) มหาวิปัสสนา ๑๘ และ (๔) อริยมรรค ๔ [ย่อมสหรคตด้วย อริยผล ๔ โดยอัตโนมัติ]
คำว่า สังกิเลส [หมอง] สังกิเลส [สังกิเลสธรรม] หมายถึง ความเศร้าหมอง ความสกปรก สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ธรรมที่อยู่ใน หานภาค คือ ในฝ่ายข้างเสื่อม ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้ตกต่ำเสื่อมทราม เช่น อโยนิโสมนสิการอคติตัณหามานะทิฏฐิอวิชชา โดยสาระคือ อกุศลธรรม ในการปฏิบัติธรรมให้ละเว้นในส่วนธรรมทั้งหลายนี้
คำว่า โวทาน [ผ่องแผ้ว] โวทาน [โวทานธรรม] หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความผ่องแผ้ว การชำระล้าง การทำให้สะอาด ธรรมที่อยู่ใน วิเสสภาค คือ ในฝ่ายข้างวิเศษ ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้เจริญงอกงามดียิ่งขึ้นไป จนปลอดพ้นจากประดาสิ่งมัวหมองบริสุทธิ์บริบูรณ์ เช่น โยนิโสมนสิการกุศลมูลสมถะและวิปัสสนา ตลอดถึง นิพพาน โดยสาระคือ กุศลธรรม รวมทั้ง อัพยากตธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม ในการปฏิบัติธรรมให้เจริญพอกพูนให้ไพบูลย์ยิ่งในส่วนธรรมทั้งหลายนี้
คำว่า สมถะ [อธิจิตตสิกขา: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] = [บริสุทธิ์] สมถะ หมายถึง ความตั้งอยู่แห่งจิตความดำรงอยู่แห่งจิตความมั่นอยู่แห่งจิตความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิตภาวะที่จิตไม่ส่ายไปความสงบสมาธินทรีย์สมาธิพละสัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ ฉะนั้น คำว่า สมถะ คือ สมาธิ และ คำว่า วิปัสสนา คือ ปัญญา ฉะนั้น สมถะ นั่นเอง ชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยอำนาจนิมิตแห่งสมถะ ที่ถือเอาอาการนั้นแล้ว พึงให้เป็นไปอีก แม้ใน ปัคคาหนิมิต [นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร] ก็นัยนี้เช่นกัน
คำว่า วิปัสสนา [อธิปัญญาสิกขา: สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] = [บรรเจิด] วิปัสสนา หมายถึง ปัญญา: กิริยาที่รู้ชัดความวิจัยความเลือกสรรความวิจัยธรรมความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนดความเข้าไปกำหนดเฉพาะภาวะที่รู้ภาวะที่ฉลาดภาวะที่รู้ละเอียดความรู้แจ่มแจ้งความค้นคิดความใคร่ครวญปัญญาเหมือนแผ่นดินปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทางความเห็นแจ้งความรู้ชัดปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา: ปัญญินทรีย์ปัญญาพละปัญญาเหมือนศัสตราปัญญาเหมือนปราสาทความสว่างคือปัญญาแสงสว่างคือปัญญาปัญญาเหมือนประทีปปัญญาเหมือนดวงแก้วความไม่หลงความวิจัยธรรมสัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา
คำว่า จรณะ ๑๕ [วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน = ผู้ถือพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ] จรณะ ๑๕ หมายถึง เครื่องดำเนินปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชา เรียกอีกอย่างว่า เสขปฏิปทา ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗และฌาน ๔
จรณะ ๑๕ [เสขปฏิปทา] หมายถึง ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา [วิชชา ๓วิชชา ๘] ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗ฌาน ๔ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
(๑) สีลสัมปทาแห่งสังวร ๕ หมายถึง ความสำรวมความระวังปิดกั้นบาปอกุศล [สังวรศีล: ศีลคือสังวรความสำรวมเป็นศีล] ได้แก่ (๑) ปาฏิโมกขสังวร คือ สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาฏิโมกข์ (๒) สติสังวร คือ สำรวมด้วยสติ นั่นคือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลธรรมเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น = อินทรียสังวร (๓) ญาณสังวร คือ สำรวมด้วยญาณ นั่นคือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่ = ปัจจัยปัจจเวกขณ์ (๔) ขันติสังวร คือ สำรวมด้วยขันติ นั่นคือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ (๕) วิริยสังวร คือ สำรวมด้วยความเพียร นั่นคือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิ = อาชีวปาริสุทธิ
(๒) อปัณณกปฏิปทา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ (๑) อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ นั่นคือ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๒) โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค นั่นคือ รู้จักพิจารณารับประทานอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (๓) ชาคริยานุโยค คือ การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน นั่นคือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป (๓) สัทธรรม ๗ หมายถึง ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ได้แก่
(๓) สัทธรรม ๗ หมายถึง ธรรมที่ดีธรรมที่แท้ธรรมของคนดีธรรมของสัตบุรุษ ได้แก่ (๑) ศรัทธา คือ มีความเชื่อประกอบด้วยเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ (๒) หิริ คือ มีความละอายต่อบาป (๓) โอตตัปปะ คือ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป (๔) พาหุสัจจะ คือ มีความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก (๕) วิริยารัมภะ คือ มีความเพียรอันปรารภแล้ว (๖) สติ คือ มีสติมั่นคง ความระลึกได้ ความสำนึกพร้อมอยู่ (๗) ปัญญา คือ มีความรอบรู้ เข้าใจชัดในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และ รู้ที่จะจัดการ
(๔) ฌาน ๔รูปฌาน ๔ [อารัมมณูปนิชฌาน] หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ (๑) ปฐมฌานฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา (๒) ทุติยฌานฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติสุขเอกัคคตา (๓) ตติยฌานฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุขเอกัคคตา (๔) จตุตถฌานฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาเอกัคคตา
คำว่า วิชชา วิชชา ๓วิชชา ๘ หมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ วิปัสสนาญาณมโนมยิทธิอิทธิวิธา [อิทธิวิธิ] ทิพพโสตเจโตปริยญาณปุพเพนิวาสานุสสติทิพพจักขุและอาสวักขยญาณ
คำว่า อภิญญา อภิญญา ๖ หมายถึง ความรู้ยิ่งยวดความรู้คมชัด ได้แก่ อิทธิวิธา [อิทธิวิธิ] ทิพพโสตเจโตปริยญาณปุพเพนิวาสานุสสติทิพพจักขุและอาสวักขยญาณ
คำว่า สมณธรรมสมธรรม [ธรรม ๓๗ ประการ]
[๗๒๕] คำว่า สมธรรม [ธรรมสงบ] ความว่า:
ฝ่ายสมถพละ [ปัญญาในสมาธิ] [๑] ในอันดับ ข้อ ๑๗ คือ ญาณในธรรมอุปการะแก่สมาธิ ๘ [ปริตตะกามาวจร] (๑) เพราะท่านละ กามฉันทะ ได้แล้ว เนกขัมมะ จึงเป็น สมณธรรม (๒) เพราะท่านละ พยาบาท ได้แล้ว อัพยาบาท จึงเป็นสมธรรม (๓) เมื่อท่านละ ถีนมิทธะ ได้แล้ว อาโลกสัญญา จึงเป็นสมธรรม (๔) เพราะท่านละ อุทธัจจะ ได้แล้ว อวิกเขปะ จึงเป็นสมธรรม (๕) เพราะท่านละ วิจิกิจฉาได้แล้ว ธรรมววัตถาน จึงเป็นสมธรรม (๖) เพราะท่านละ อวิชชา ได้แล้ว ฌาน [ญาณ] จึงเป็นสมธรรม (๗) เพราะท่านละ อรติ ได้แล้ว ปราโมทย์ จึงเป็นสมธรรม
หมายเหตุ: นับจากขั้นนี้ไป เรียกว่า กุศลธรรมทั้งปวง = (๑) มหัคคตะ [คั่นระหว่าง กามาวจร กับ โลกุตตระ] และ (๒) อัปปมาณะ
[๒] ในอันดับ ข้อ ๘๑๑ คือ รูปฌาน ๔ [มหัคคตะรูปาวจร] (๘) เพราะท่านละ นิวรณ์ ได้แล้ว ปฐมฌาน [วิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๙) เพราะท่านละ วิตกวิจาร ได้แล้ว ทุติยฌาน [ปีติสุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๑๐) เพราะท่านละ ปีติ ได้แล้ว ตติยฌาน [สุขเอกัคคตา] จึงเป็นสมธรรม (๑๑) เพราะท่านละ สุข ได้แล้ว จตุตถฌาน [อุเบกขาเอกัคคตา = จิตประภัสสร] จึงเป็นสมธรรม
[๓] ในอันดับ ข้อ ๑๒๑๕ คือ อรูปฌาน ๔ [มหัคคตะอรูปาวจร] (๑๒) เพราะท่านละ รูปสัญญาปฏิฆสัญญานานัตตสัญญา ได้แล้ว อากาสานัญจายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๓) เพราะท่านละ อากาสานัญจายตนสัญญา ได้แล้ว วิญญาณัญจายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๔) เพราะท่านละ วิญญาณัญจายตนสัญญา ได้แล้ว อากิญจัญญายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม (๑๕) เพราะท่านละ อากิญจัญญายตนสัญญา ได้แล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ จึงเป็นสมธรรม
ฝ่ายวิปัสสนาพละ [ปัญญาในวิปัสสนา] [๔] ในอันดับ ข้อ ๑๖๓๓ คือ มหาวิปัสสนา ๑๘ [คั่นระหว่าง มหัคคตะอัปปมาณะ] (๑๖) เพราะท่านละ นิจจสัญญา ได้แล้ว อนิจจานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๗) เพราะท่านละ สุขสัญญา ได้แล้ว ทุกขานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๘) เพราะท่านละ อัตตสัญญา ได้แล้ว อนัตตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๑๙) เพราะท่านละ นันทิสัญญา [ความเพลิดเพลิน] ได้แล้ว นิพพิทานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๐) เพราะท่านละ ราคสัญญา ได้แล้ว วิราคานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๑) เพราะท่านละ สมุทยสัญญา ได้แล้ว นิโรธานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๒) เพราะท่านละ อาทานสัญญา [ความสำคัญโดยความถือมั่น] ได้แล้ว ปฏินิสสัคคานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๓) เพราะท่านละ ฆนสัญญา [สำคัญว่าเป็นก้อน] ได้แล้ว ขยานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๔) เพราะท่านละ อายูหนา [การประมวลมา] ได้แล้ว วยานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๕) เพราะท่านละ ธุวสัญญา [สำคัญว่ายั่งยืน] ได้แล้ว วิปริณามานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๖) เพราะท่านละ นิมิตตสัญญา ได้แล้ว อนิมิตตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๗) เพราะท่านละ ปณิธิสัญญา [การตั้งมั่นแห่งกิเลส] ได้แล้ว อัปปณิหิตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๘) เพราะท่านละ อภินิเวส [ยึดมั่นอัตตาภินิเวส] ได้แล้ว สุญญตานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๒๙) เพราะท่านละ สาราทานาภินิเวสะ [ยึดมั่นด้วยยึดถือว่าเป็นสาระ] ได้แล้ว อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา จึงเป็นสมธรรม [การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง] (๓๐) เพราะท่านละ สัมโมหาภินิเวส [ยึดมั่นด้วยความลุ่มหลง] ได้แล้ว ยถาภูตญาณทัสนะ จึงเป็นสมธรรม (๓๑) เพราะท่านละ อาลยาภินิเวส [ยึดมั่นในอาลัย] ได้แล้ว อาทีนวานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๓๒) เพราะท่านละ อัปปฏิสังขา [ไม่พิจารณา] ได้แล้ว ปฏิสังขานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม (๓๓) เพราะท่านละ สังโยคาภินิเวสะ [ยึดมั่นในการประกอบกิเลส] ได้แล้ว วิวัฏฏนานุปัสสนา จึงเป็นสมธรรม
[๕] ในอันดับ ข้อ ๑๒๑๕ คือ อริยมรรค ๔ [อัปปมาณะ -โลกุตตระ] (๓๔) เพราะท่านละ กิเลสอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ได้แล้ว โสดาปัตติมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๕) เพราะท่านละ กิเลสอย่างหยาบ ได้แล้ว สกทาคามิมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๖) เพราะท่านละ กิเลสอย่างละเอียด ได้แล้ว อนาคามิมรรค จึงเป็นสมธรรม (๓๗) เพราะท่านละ กิเลสทั้งปวง ได้เด็ดขาดแล้ว อรหัตตมรรค จึงเป็นสมธรรม
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 802 FILE 69)
ฉะนั้น ให้สังเกตว่า ธรรม ๓๗ ประการ [ธรรมแห่งความสงบเนกขัมมะอุปสมะ] ดังกล่าวนี้ ย่อมหมายถึง ภาวนา ๒ หมายถึง การเจริญการทำให้เกิดให้มีขึ้นการฝึกอบรมจิตใจ ได้แก่ (๑) สมถภาวนา กับ (๒) วิปัสสนาภาวนา เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องจำแนกแจกธรรมให้เป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน โดยให้เห็นว่า ธรรมแต่ละองค์ธรรมนั้นไม่ละเมิดกันและกัน แต่เข้ามารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ธรรมสามัคคี [สหชาตธรรมธรรมที่เกิดพร้อมกัน อย่างเช่น ชีวิตินทรีย์ หมายถึง สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรมดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่าย คือ (๑) ชีวิตินทรีย์ที่เป็น ชีวิตรูปรูปชีวิตินทรีย์ เป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่า กรรมชรูป [รูปที่เกิดแต่กรรม] (๒) ชีวิตินทรีย์ที่เป็น อรูปชีวิตินทรีย์นามชีวิตินทรีย์ คือ เจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก [เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง] (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย] เพราะฉะนั้น ไม่ว่าผู้ปฏิบัติธรรมจะศึกษาทางโลกหรือทางธรรม ปัญญาเห็นธรรม [เรียนรู้เรื่อง ที่ไม่รู้เรื่องเพราะครูสอนได้ไม่ดีพอ ไม่ใช่นักเรียนโง่ ผู้สอนโง่กว่า จึงถ่ายทอดส่วนโง่อันเป็นลักษณะด้อยให้ผู้อื่น เพื่อไม่ให้มีโอกาสคิดได้ในส่วนดีๆ ของปัญญา] เป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ถึงความสำเร็จในศาสตร์สาขาที่ศึกษานั้น แต่ในทางธรรม ต้องประกอบด้วย ปัญญาตรัสรู้ [เรียนเองรู้เอง รู้แจ้งแทงตลอดได้เอง] อีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น คำว่า ทฤษฎี [Theory] หลักการ [Principle] กฎ [Law] เกณฑ์ [Criteria] มาตรการ [Measures] มาตรฐาน [Standard] จนถึง การรับรองคุณภาพ [Assurance] ที่สามารถตรวจสอบเพื่อความไว้วางใจได้ต่อสาธารณะ [Accountability] จึงมีความสำคัญต่อ คำว่า สิกขาศึกษา [ธัมมวิจยะการวิจัย] ในคติทั้ง ๒ [ทางโลกปรัชญาวิทยาศาสตร์ กับ ทางธรรมพระพุทธศาสนา หรือ โลกียธรรมโลกุตตรธรรม] ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย อย่าเป็นคนงงชีวิตโดยเด็ดขาด ต้องมีปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์แห่งชีวิตได้อย่างชาญฉลาด ไม่หลงในกระแสความโง่หลงงมงายของสังคม ทวนกระแสอย่างฉลาดด้วยอุบายวิธีที่แยบคาย [คิดเป็นทำเป็น = สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ คือ อธิปัญญา] บุคคลที่ฉลาดเป็นอัจฉริยะนั้น ต้องทำตนพัฒนาตนได้อย่างเทียบเท่าพหูสูต นั่นคือ ปัญญาสหรคตด้วย จตุปฏิสัมภิทาญาณ [จตุสัจจพุทธะพระอรหันต์] นั่นคือ ต้องมีความหวังที่เป็นอุดมการณ์ในการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องบรรลุได้ถึง พระอรหันต์ ในชาตินี้ ถ้าไม่ได้ก็ค่อยว่ากันใหม่ในชาติต่อไป คำว่า มั่วแล้วได้ดีนั้น ไม่มีในโลกุตตระ [ทางโลกียะพอมีได้] คำว่า มั่ว กับ ชั่ว เสียงสระเดียวกัน ให้ความหมายไปในทางต่ำหรืออกุศลธรรม
ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะการออกบวชของพุทธศาสนิกชน ในครั้นสมัยพุทธกาลนั้น ที่เรียกว่า ประพฤติพรหมจรรย์ นั่นคือ พรหมจริยะจริยะอันประเสริฐการครองชีวิตประเสริฐ เพื่อให้มีนัยเทียบเท่าหรือสูงกว่านักบวชในลัทธิพราหมณ์ มีคติในอาศรม ๔ ได้แก่ (๑) พรหมจารี เป็นนักเรียนศึกษาพระเวท ถือพรหมจรรย์ (๒) คฤหัสถ์ เป็นผู้ครองเรือน มีภรรยาและมีบุตร (๓) วานปรัสถ์ ออกอยู่ป่าเมื่อเห็นบุตรของบุตร (๔) สันยาสี เป็นผู้สละโลก มีผ้านุ่งผืนเดียวถือภาชนะขออาหารและหม้อน้ำเป็นสมบัติ จาริกภิกขาจารเรื่อยไปไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวโลก ข้อสุดท้ายนี้ ต่างจากพระธุดงค์หรือพระกัมมัฏฐานในอีสานแห่งประเทศไทยที่ถือ ธุดงค์ ๑๓ธุดงค์ธรรม ๑๓อนุปุพพกิริยา ตามแบบ อริยวงศ์ ๔ หมายถึง ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย อริยประเพณี [สันตุฏฐี] ได้แก่ (๑) สันโดษด้วยจีวร (๒)สันโดษด้วยบิณฑบาต (๓) สันโดษด้วยเสนาสนะ (๔) ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล (กุสลธัมมานุโยค) คือ การหมั่นประกอบกุศลธรรม หรืออีกนัยหนึ่ง ที่เรียกว่า อุปัญญาตธรรม ๒ หมายถึง ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเห็นคุณประจักษ์กับพระองค์เอง คือ พระองค์ได้ทรงอาศัยธรรม ๒ อย่างนี้ เพื่อดำเนินอริยมรรคาจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้แก่ (๑) อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรม ความไม่รู้อิ่มไม่รู้พอในการสร้างความดีและสิ่งที่ดี (๒) อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ คือ ความไม่ระย่อในการพากเพียร การเพียรพยายามก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ยอมถอยหลัง อย่างไรก็ตาม ให้พิจารณาใน คำว่า ธุตคุณธุตคุเณธุตธรรม ๕ หมายถึง คุณอันเป็นเครื่องกำจัดกิเลส ธรรมชื่อว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลส ธรรมกำจัดกิเลส นั่นคือ ธรรม ๕ ประการ อันเป็นบริวารของ ธุตังคเจตนา เหล่านี้ ได้แก่ (๑) อัปปิจฉตาความมักน้อย (๒) สันตุฏฐิตาความสันโดษ (๓) สัลเลขตาความขัดเกลา (๔) ปวิเวกตาความสงัด (๕) อิทมัฏฐิกตความมีสิ่งนี้เป็นประโยชน์ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 136 FILE 73) ให้เปรียบเทียบกับ ลักษณะการตัดสินพระธรรมวินัย ๗ [พระสัตถุสาสน์ของตถาคต] (๑) เอกันตนิพพิทา คือ ความหน่ายสิ้นเชิงโดยส่วนเดียว (๒) วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด (๓) นิโรธ คือ ความดับกิเลสหมดทุกข์ (๔) อุปสมะ คือ ความสงบ (๕) อภิญญา คือ ความรู้ยิ่งความรู้ชัด (๖) สัมโพธะ คือ ความตรัสรู้ (๗) นิพพาน คือ อมตธาตุอนุปาทิเสสนิพพานธาตุชีวิตสมสีสีบุคคล
อีกนัยหนึ่ง ให้ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาในบทเหล่านี้ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 585 -586 FILE 68) ได้แก่ (๑) เอภนฺตนิพฺพิทาย พึงทราบความเชื่อมว่า ศีลทั้งหลายย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายในวัฏฏะโดยส่วนเดียว แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้ (๒) วิราคาย คือ เพื่อความคลายกำหนัดในวัฏฏะ (๓) นิโรธาย คือ เพื่อความดับแห่งวัฏฏะ (๔) อุปสมาย คือ เพื่อความสงบแห่งวัฏฏะด้วยความไม่เกิดอีกแห่งวัฏฏะที่ดับแล้ว (๕) อภิญฺญาย คือ เพื่อความรู้ยิ่งแห่งวัฏฏะ (๖) สมฺโพธาย คือ เพื่อความตรัสรู้ เพื่อความตื่นจากวัฏฏะโดยปราศจากการหลับ คือ กิเลส (๗) นิพฺพานาย คือ เพื่อนิพพานอันเป็นอมตะ [วิวัฏฏะ]
ธรรมดังกล่าวนี้ ทำให้เห็นแจ้งแทงตลอดและตรัสรู้ สัมมาสัมโพธิญาณ ได้ นั่นคือ อริยสัจจ์ ๔ เพราะมีปัญญาเห็นธรรมแห่งเหตุปัจจัยปรุงแต่งจิตทั้งหลาย ดังนี้
ในการพิจารณาธรรมหรือสภาวธรรมใดๆ นั้น ให้พิจารณาหรือมนสิการกรรมฐาน [อารมณ์] โดยให้เห็นไปตามจริงแห่ง (๑) อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (๒) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ (๓) อริยสัจจ์ ๔ (๔) ไตรลักษณ์ ด้วยการยกบทหนึ่งๆ ขึ้นอย่างนี้ว่า ชรามรณะ เป็น ทุกขสัจจะ (๒) ชาติ เป็น สมุทยสัจจะ (๓) การออกไปทั้งสองอย่างนั้นเป็น นิโรธสัจจะ (๔) ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับเป็น มรรคสัจจะ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 581 FILE 68) ฉะนั้น ในประเด็นนี้ ให้พึงสำรวมระวังภาวะแห่งการประชุมกันในบรรดาสัมปยุตตธรรมทั้งหลายที่เป็นอย่างเดียวกัน โดยองค์ธรรมแต่ละส่วนไม่ละเมิดกันและกัน
เพราะฉะนั้น ในประเด็นที่ว่า ประพฤติพรหมจรรย์ [เนกขัมมวิตกอุปสมะ] คือ ความคิดตรึกอยู่ในความปลีกออกจากกามสุขและกามคุณทั้งหลาย ดำเนินชีวิตตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ [มัชฌิมาปฏิปทา = เริ่มด้วยปัญญาดำเนินด้วยปัญญานำไปสู่ปัญญา] และ การศึกษาปฏิบัติตามหลักธรรม ไตรสิกขา [ศีลสมาธิปัญญา = อริยสัจจ์ ๔กิจในอริยสัจจ์ ๔] ให้พิจารณาตามข้อวัตรแห่งธุดงค์ธรรมประกอบด้วย อีกส่วนหนึ่ง อันเป็นปฏิปทายิ่งของการออกบวช โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ การขัดเกลากิเลส [สัลเลขธรรมธุตธรรม ธุตังคเจตนา] ดังนั้น ผู้ถือเพศแห่งสมณะเป็นเรื่องที่เป็นเกียรติยศสูงสุดในชีวิต เพราะถือเป็นบุคคลผู้ได้ชื่อว่า ผู้มีคุณสมบัติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า [สัมโพธิญาณแห่งพุทธะ] อย่าดำเนินชีวิตด้วยความประมาท อันดูแล้วไม่แจ่มและไม่งาม ที่ขาดตกบกพร่องด้วยเสื่อมใน วิชชาและจรณะ เช่น คิดเองเชื่อความเห็นของตนว่า ญาติโยมไม่รู้เรื่องอะไรในพระสัทธรรม อันเป็นกรรมชนิดหนักในข้อนี้ได้ ให้พิจารณา ธุดงค์ ๑๓ ดังนี้
ธุดงค์ ๑๓ [ธุดงค์ธรรมอนุปุพพกิริยา] หมายถึง องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษ เป็นต้น ได้แก่
หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร) (๑) ปังสุกูลิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คำสมาทานโดยอธิษฐานใจหรือเปล่งวาจาว่า คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานองค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (๒) เตจีวริกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คำสมาทานว่า จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ 4 สมาทานองค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร
หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต) (๓) ปิณฑปาติกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คำสมาทานว่า อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ, ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานองค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร (๔) สปทานจาริกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยากสมาทานองค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร (๕) เอกาสนิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร นั่นคือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก คำสมาทานว่า นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร (๖) ปัตตปิณฑิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน ๑ อย่าง คือ บาตร คำสมาทานว่า ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานองค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร (๗) ขลุปัจฉาภัตติกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร นั่นคือ เมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉันเป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ สมาทานองค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร
หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ) (๘) อารัญญิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู นั่นคือ ๒๕ เส้น คำสมาทานว่า คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู (๙) รุกขมูลิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร (๑๐) อัพโภกาสิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานองค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร (๑๑) โสสานิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร (๑๒) ยถาสันถติกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะสมาทานองค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้
หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับความเพียร) (๑๓) เนสัชชิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร นั่นคือ เว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ คำสมาทานว่า เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้างดการนอน สมาทานองค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร
หมายเหตุ: ในการถือประพฤติปฏิบัติตาม ธุดงค์ธรรมทั้ง ๑๓ ข้อ นั้น ไม่ใช่ ศีล หมายถึง ข้อพึงวิรัติหรือละเว้นจากอกุศลธรรม กับข้อต้องประพฤติอย่างจริงจังในกุศลธรรม ที่เรียกว่า จูฬมัชฌิมมหาศีล ได้แก่ (๑) จูฬศีลศีลย่อย (๒) มัชฌิมศีลศีลกลาง และ (๓) มหาศีลศีลใหญ่ แต่ ธุดงค์ธรรมทั้ง ๑๓ ข้อ รวมทั้ง อริยวงศ์ ๔ [สันโดษด้วยจีวรสันโดษด้วยบิณฑบาตสันโดษด้วยเสนาสนะยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล] ถือเป็น วัตร หมายถึง กิจพึงกระทำ หน้าที่ ธรรมเนียม ความประพฤติ ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น (๑) กิจวัตร ว่าด้วยกิจที่ควรทำ เช่น อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร (๒) จริยาวัตร ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ เช่น ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพงไม่จับวัตถุอนามาส (๓) วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ เช่น วิธีเก็บบาตร วิธีพับจีวร วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู วิธีเดินเป็นหมู่ ให้ถือประเด็นนี้ตามหลัก กฎแห่งกรรม นั่นคือ ทำดีย่อมได้ดีทำชั่วย่อมได้ชั่ว เพราะเป็นเรื่องของ กรรม กับ วิบาก ต่อไป แต่ความถือมั่นยึดมั่นอย่างไรเหตุผลก็กลายเป็นกิเลสสังโยชน์ [อนุสัยกิเลส] ได้ ที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส เช่น ยึดมั่นงมงายไม่ถอน ว่าเป็นทางให้บริสุทธิ์และขลังศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมไม่หลงทิศหลงทางในเรื่องข้อประพฤติปฏิบัติอันเป็นสัมมาปฏิปทาอันยิ่ง [ปฏิปทา ๔: (๑) ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา = ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า (๒) ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา = ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว (๓) สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา = ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า (๔) สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา = ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว] ธรรมอันใดมีข้อคิดขัดแย้งกับนิยามต่อไปนี้ ไม่ใช่พระธรรมวินัย พระสัตถุสาสน์ คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกเช่นกัน (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 584 -585 FILE 68) ดังรายละเอียดในบท [จิตตสมาธิแห่งสมถะธรรมสมาธิ ๕โพชฌงค์ ๗ นั่นคือ จิตตัววิปัสสนาญาณทัสสนะวิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖] ต่อไปนี้ (๑) น อวิปฺปฏิสารวตฺถุกานิ หมายถึง เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ความว่า: เป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อนหามิได้ เพราะนำมาซึ่งความเดือดร้อน = อวิเขกปะ คือ ความไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน (๒) น ปามุชฺชวตฺถุกานิ หมายถึง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ความว่า: ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติอย่างอ่อนอันไม่เกิดความเดือดร้อน เพราะไม่นำปีติอย่างอ่อนนั้นมา แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้ = ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส (๓) น ปีติวตฺถุกานิ หมายถึง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ความว่า: ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติอย่างแรงอันเกิดแต่ปีติอย่างอ่อน = ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ ความอิ่มใจปลาบปลื้มเต็มไปทั้งตัว (๔) น ปสฺสทฺธิวตฺถุกานิ หมายถึง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ความว่า: ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับกายและจิตอันเกิดแต่ปีติอย่างแรง = ปัสสัทธิ คือ ความสงบเย็นกายใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (๕) น สุขวตฺถุกานิ หมายถึงไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข ความว่า: ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุขทางกายและทางใจอันเกิดแต่ความสงบ = สุข คือ ความรื่นใจไร้ความข้องขัด ความสุขฉ่ำชื่นทั่วทั้งตัวที่ประณีตอย่างยิ่ง (๖) น สมาธิวตฺถุกานิ หมายถึง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ความว่า: ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิอันเกิดแต่ความสุข = สมาธิ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ [อุปจารสมาธิอัปปนาสมาธิ] ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย (๗) น ยถาภูตญาณทสฺสนวตฺถุกานิ หมายถึง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ความว่า: ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะอันเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ = ยถาภูตญาณทัสสนะ [ญาณทัสสนะ] คือ ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง เพราะหมดสิ้นข้อสงสัย [เห็นสมุทัยสัจจ์] โดยเฉพาะเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้บรรลุถึง จตุตถฌาน [จิตประภัสสร = อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ (อัปปนาสมาธิ)]
ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้หรือการสร้างปัญญาในพระพุทธศาสนาจึงประกอบด้วย ๒ ลักษณะ ได้แก่ (๑) ปัญญาในสมถะ โดยการเน้นถึง ญาณทัสสนะ คือ ความรู้ความเห็นเห็นรู้เห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ กับ สติสัมปชัญญะ [อานาปานสติสมาธิ] กับ (๒) ปัญญาในวิปัสสนา โดยการเน้นถึง ญาณยถาภูตญาณธัมมัฏฐิติญาณ [จักขุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่าง] คือ ความหยั่งรู้ปรีชาหยั่งรู้โดยวิปัสสนาภูมิ [ปัญญาภูมิ] สภาวธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยแห่งหลักธรรมสำคัญๆ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม จนรวมถึง ไตรลักษณ์ ตามลำดับ เพราะฉะนั้น กระบวนการคิดด้วยปัญญาเห็นการเกิดดับของสังขตธรรมทั้งหลาย ทำให้เข้าถึง อริยสัจจธรรม [อริยสัจจ์ ๔] ได้ อย่างเช่น
(๑) ชรามรณะ เป็น ทุกขสัจจะ (๒) ชาติ เป็น สมุทยสัจจะ(๓) การออกไปทั้งสองอย่างนั้นเป็น นิโรธสัจจะ (๔) ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับเป็น มรรคสัจจะ ยังมีสิ่งที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งอีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะ ตรัสรู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์เอง ด้วย วิโมกขันติกญาณ คือ ญาณอันเป็นที่สุดแห่งความหลุดพ้น สำหรับ วิภาคญาณของสัมมาสัมพุทธะ นั้น จักมีแจ้งข้างหน้า ก็เพราะ พระพุทธเจ้าทั้งปวงเหมาะสม แม้ด้วย คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [พุทธคุณ ๒ ได้แก่ (๑) อัตตหิตสมบัติ คือความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน พระคุณข้อนี้มุ่งเอา พระปัญญา เป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า และ ความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้ (๒) ปรหิตปฏิบัติ (การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น พระคุณข้อนี้มุ่งเอา พระกรุณา เป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธกิจ คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้] เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธานํ ด้วย สามารถแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 581 FILE 68)
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอนั้น จึงถือเป็นการสั่งสม บุญปัญญาบารมี และกลายเป็นปัจจัยองค์ประกอบสำคัญในการตรัสรู้ สัมโพธิญาณ ที่ต้องประกอบด้วยธรรม ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ถูกหลักธรรม [ตากกำหนดธรรมดากฎธรรมชาติ] (๒) ด้วยตนเอง [ภาวะที่พึ่งตนเองปัจจัตตัง] (๓) อันยอดเยี่ยม [ภาวะที่ดีเยี่ยมที่สุดอนุตตริยะ] ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็ต้องประกอบด้วย ปัญญา ๓ ได้แก่ (๑) สุตมยปัญญา (๒) จินตามยปัญญา (๓) ภาวนามยปัญญา ที่ทำให้บรรลุ โลกุตตรธรรม และเกิด ปฏิสัมภิทา ๔ สิ่งเหล่านี้ทั้งหลาย คือ แนวคิดอันเป็นแนวทางให้เข้าถึงกระแสพระนิพพานแห่งพระสัทธรรมนี้.
|