๔๑. พึงแสวงหากัลยาณมิตรในทุกสถานที่ Searching for the Good Man Anywhere
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในบรรดาความสำเร็จทั้งหลาย ไม่ว่าจะทางคติโลกหรือทางคติธรรมก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้พิจารณาเรื่องราวต่างๆ ของชีวิต ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่าเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มารวมกัน เกิดขึ้นพร้อมกัน ตั้งอยู่ด้วยกัน และเสื่อมดับไปพร้อมๆ กัน นั่นคือ ธรรมสภาวธรรมปรากฏการณ์สภาวการณ์ธรรมชาติ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจแห่งเบญจขันธ์ [ขันธ์ ๕: รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ] ที่คนทั่วไปเอาจิตใจเข้าไปยึดมั่นผูกพันว่าเป็นความจริงแท้แห่งชีวิต จนเกิดเป็นความทุกข์เพราะไปเกี่ยวข้องยึดเหนี่ยวว่าเป็นตัวเป็นตน ที่เรียกว่า อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ในประเด็นนี้ เป็นเรื่ององค์ประภายในตัวตนของตนเอง ไม่เกี่ยวกับคนอื่นหรือบุคคลภายนอก จะเข้ามายุ่งเกี่ยวไม่ได้ เพระใจก็คือของตนเอง ไม่ใช่ใจของคนอื่นเข้ามาอยู่ด้วย เมื่อจิตใจไม่ยอมเปิดรับความนึกคิดของคนอื่นเข้ามา และความนึกคิดของตนที่ปรุงแต่งขึ้นตามความปรารถนาแห่งกิเลสตัณหา จิตใจก็ย่อมอยู่เป็นกลางและวางเฉยต่ออารมณ์ความรู้สึกที่เข้ามากระทบหรือเกิดขึ้นภายในตน ทุกข์ทั้งหลายย่อมเบาบางลงไปเรื่อยๆ เพราะเกิดการรู้เท่าทันกับ สภาวะแห่งจิตของตน เป็นอย่างดี สามารถควบคุมได้ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์หรือเป็นทาสรับใช้ของกิเลส อาการอย่างนี้ เรียกว่า ชนะใจตนเอง เพราะรู้อย่างเท่าทัน ความไม่รู้จริง [อวิชชา] เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงชี้นำให้ดำเนินชีวิตด้วยแนวทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งกับ ความจริงหรือสัจจธรรมแห่งชีวิต ที่เกี่ยวเนื่องกับโลกและจิตที่อยู่เหนือคติโลก ที่เรียกว่า โลกุตตรภูมิ อันเป็นระดับจิตคุณภาพชีวิตของพระอรหันต์ ทุกอย่างนั้น ก็เริ่มจากตนเองเป็นหลัก เป็นศูนย์กลางที่จะเลือกคนอื่นเข้ามาอยู่กับตนได้อย่างเหมาะสมกันหรือไม่ แต่ถ้าคิดไม่เลือกคนดีคนที่เป็นมิตรแท้เข้ามาในชีวิต ภัยข้างหน้าที่จะเกิดขึ้น คือ ความเดือดร้อนความลำบาก ที่เรียกว่า สังกิเลส ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส หรือ สังสารทุกข์แห่งทุคติ อันเป็นชีวิตสันตติในวัฏฏะ นั่นเอง ดังนั้น การแก้นิสัยใจคอของตน ก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว ก็อย่าเพิ่มพอกพูนคนเลว คนชั่ว คนสิ้นคิด เข้ามาในชีวิตให้ลำบากกว่านี้อีกเลย แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอได้แล้ว หาทางดับทุกข์ของตนดีกว่ากันเยอะเลย.
๔๑. พึงแสวงหากัลยาณมิตรในทุกสถานที่
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการศึกษาวิจัยธรรม ที่เรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา โดยจำแนกดำเติตตามแนวทางปฏิบัติอันประเสริฐ ที่เป็นเหตุให้บุคคลกลายเป็นอริยะได้ ที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘อริยอัฏฐังคิกมรรค โดยแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน ได้แก่ (๑) อธิปัญญาสิกขา คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ (๒) อธิจิสีลสิกขา คือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ และ (๓) อธิจิตตสิกขา คือ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น การดำรงชีวิตที่ถูกต้องนั้น จึงเป็นการแสวงหาความเป็นอริยะให้แกชีวิตของตน ที่เรียกว่า อริยปริเยสนา คือไม่เลือกทางเดินชีวิตแบบชั่วๆ ทำความเดือดร้อนแก่ตน เป็นอยู่ในอฐานหรืออโคจร ซึ่งไม่ได้ส่งเสริมความเจริญงอกงามในธรรม อันกลายเป็นมารอุปสรรคในการบรรลุ โลกุตตรธรรม ในชาตินี้ ดังนั้น การสร้างสิ่งเป็นมงคลแก่ชีวินในเบื้องต้น คือ การเลือกคบหามิตรแท้หรือ กัลยาณมิตร ที่เรียกว่า กัลยาณมิตตตา หมายถึง มีผู้แนะนำ สั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อที่คบหา และบุคคลผู้แวดล้อมที่ หรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี หรืออีกนัยหนึ่ง ความรู้จักเลือกเสวนาบุคคลผู้ทรางคุณทางปัญญา มีความสามารถ ซึ่งจะช่วยแวดล้อม สนับสนุน ชักจูง ชี้งช่องทาง เป็นแบบอย่าง ตลอดจนเป็นเครื่องอุดหนุนเกื้อกูลแก่กัน ให้ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดี ในการศึกษาอบรม การครองชีวิต การประกอบกิจการ และธรรมปฏิบัติ ดังนั้น คุณสมบัติของผู้เป็น กัลยาณมิตร หรือ มิตรแท้ นั้น เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม ๗ หมายถึง ธรรมอันเป็นเครื่องคุณสมบัติของ มิตรดี หรือ มิตรแท้ ที่คบหาแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ได้แก่ (๑) ปิโย คือ น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม (๒) ครุ คอ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ อบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย (๓) ภาวนีโย คือ น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง (๔) วตฺตา จ คือ รู้จักพูดให้ได้ผล ชี้แจงให้เข้าใจ กล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี (๕) วจนกฺขโม คือ อดทนต่อถ้อยคำ รับฟังคำปรึกษา ซักถาม คำเสนอ และวิพากษ์วิจารณ์ อย่างไม่เบื่อไม่ฉุนเฉียว (๖) คมฺภีรญฺจ กถํกตฺตา คือ แถงเรื่องล้ำลึกได้ ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป และ (๗) โน วฏฺฐาเน นิโยชเย คือ ไม่ชักนำในอฐาน เรื่องหลวงไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย ถ้าผู้ปฏิบัติตรวจสอบบุคคลที่คบหาอยู่นั้น ขาดคุณสมบัติหลายๆ ข้อ ในคุณธรรมทั้ง ๗ อย่าง นี้ ก็ให้หันหน้าหลีกหนีไม่คบหาสมาคมกับบุคคลนั้นดีกว่า เพราะเป็นบุคคลอันตรายอาจนำความฉิบหายมาสู่ชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความจริงในเรื่องนี้ ให้พิจารณาธรรม อันนำมาซึ่งความสุขความเจริญใน คาถาที่ ๑ [มงคล ๓๘] ได้แก่ (๑) อเสวนา พาลานํ คือ ไม่คบคนพาล (๒) ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา คือ คบบัณฑิต และ (๓) ปูชา จ ปูชนียานํ คือ บูชาคนที่ควรบูชา คุณธรรมเหล่านี้ ช่วยเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจคบหาสมาคมกับผู้ในสังคม ไม่ให้เป็นไปในทางเสื่อมเสีย แต่ให้เป็นองค์ประกอบปัจจัยส่งเสริมในการปฏิบัติธรรมในเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เป็นกัลยาณมิตรที่เป็นสัตบุรุษ ผู้ทางศีลทางธรรม หรืออริยบุคคลทั้งหลาย [พระอริยสงฆ์พระอรหันต์] อนึ่ง คำแนะนำใดๆ ที่ได้รับ ก็ไม่ควรปลงใจปักใจเชื่อ โดยไม่ใช้ปัญญาและเหตุผลไตร่ตรองอย่างรอบคอบ แต่ให้พิจารณาถึงผลประโยขน์หรือผลดีที่ตนจะได้รับว่า เหมาะควรโดยธรรมหรือไม่ โดยไม่ทำวิปฏิสารความเดือดร้อนให้เกิดขึ้น ความคิดคำแนะนำเหล่นั้น ต้องสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอย่างประเสริฐตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ เสมอ หรือไม่ขัดแย้งต่อความเป็นพุทธะ [ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘] พุทธโอวาท ๓ ได้แก่ (๑) ไม่ทำชั่วทั้งปวง (๒) ทำแต่ความดีทั้งปวง (๓) ทำจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ รวมทั้ง ไม่ประมาท [อัปปมาทะ] รวมทั้งคำสอนของพะพุทธเจ้า ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็เพื่อหมายเอาการตรัสรู้บรรลุถึงนิพพานโดยปรมัตถ์ เพราะฉะนั้น การอยู่รวมกันกับผู้อื่นในสังคมนั้น ย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับคนชั่วคนพาลไปได้ แต่ทุกอย่างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกว่า จะคบหาหรือไม่คบหาคนชั่วเหล่านั้น ถ้าเลือกที่จะคน ก็เป็นเรื่องการสร้างอกุศลกรรม ความเดือดร้อน ทุกข์กายทุกข์ใจ ให้แก่ตนอย่างแน่นอนทั้งในปัจจุบันและอนาคต และบุคคลเหล่านี้ ย่อมกลายเป็นมารอุปสรรต่อการปฏิบัติธรรม ทำให้จิตค่อยหวั่นไหว ฟุ้งซ่าน เสียเวลาในการสร้างความดีบุญกุศลกรรม ที่เรียกว่า อาการเสียธรรม เพราะสนับสนุนคนชั่วให้สร้างกรรมชั่วได้ง่ายขึ้น เมื่อได้โอกาสทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ เช่นกัน เมื่อพิจารณากิจกรรมหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่ดำเนินในชีวิตประจำวัน ต่างเรียกว่า กรรม ๓ ได้แก่ (๑) กายกรรม ๓ทำ (๒) วจีกรรม ๔พูด (๓) มโนกรรม ๓คิด ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) กุศลกรรม กับ (๒) อกุศลกรรม หรือ (๑) สุจริต ๓ กับ (๒) ทุจริต ๓ หรือ (๑) กุศลกรรมบถ ๑๐ กับ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องดำเนินชีวิตอย่างมี สติสัมปชัญญะ [สติสัมปชัญญะสติปัฏฐาน ๔] คือ พิจารณาธรรมที่เกิดขึ้น [อินทรีย์ ๖อารมณ์ ๖ = อายตนะ ๑๒] หรือพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์อยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ ให้เกิดปัญญารอบรู้และระลึกพิจารณาหรือกำหนดรู้เห็นได้ด้วยอนุปัสสนาใน สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้จิตเป็นจิตอันยิ่งปราศจากนิวรณ์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า อธิจิตต์ ได้แก่ (๓) สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔ (๒) สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔ (๓) สัมมาสมาธิฌาน ๔ กล่าวคือ ให้ดำเนินตามแนวทางฝึกอบรมจิตด้วย เสขปฏิปทาโพธิปักขิยธรรม ๓๗ [อภิญญาเทสิตธรรม] ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕มรรคมีองค์ ๘ หรือ จรณะ ๑๕ ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗ [อริยทรัพย์ ๗] ฌาน ๔ อันเป็นฝ่ายสมถะ และเพื่อให้ปัญญาเป็น ปัญญาอันยิ่งอธิปัญญา ไม่ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้ [อวิชชา] หรือความหลง [โมหะ] ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิอริยสัจจ์ ๔ไตรสิกขาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ไตรลักษณ์ กับ (๒) สัมมาสังกัปปะกุศลวิตก ๓ อันเป็นฝ่ายวิปัสสนา นั่นคือ ภาวนา ๒ ได้แก่ (๑) สมถภาวนา กับ (๒) วิปัสสนาภาวนา เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมที่โชคดีหรือแสวงหาสิ่งดีๆ อย่างอริยะหรืออย่างประเสริฐนั้น ย่อมมี เพื่อนแท้มิตรแท้กัลยาณมิตร เป็นคู่คิดที่ปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอริยสงฆ์คอยให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการปฏิบัติธรรม [พร้อมคำแนะนำการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามคลองอย่างประเสริฐ คือ อยู่อย่างเป็นสุขสบายทั้งกายและใจ] หรืออาจจะเป็นบรรดาปราชญ์บัณฑิตผู้ทรงคุณธรรม รวมทั้งสัตบุรุษผู้ดีผู้ทรงศีลอย่างแท้จริง ก็ให้เลือกคู่คิดด้วยความไม่ประมาทอัปปมาทะ [อย่างอะไรง่าย โดยไม่คิดไตร่ตรองด้วยวิจารณาญาณ ว่าเป็นประโยชน์หรือก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทางกุศลหรือไม่ หรือให้พิจารณากลั่นกรองด้วย สติสัมปชัญญะ นั่นคือ สติปัญญา] แทนที่จะเป็น มิตรแท้ แต่กลับเป็น มิตรเทียม ฉะนั้น ของปลอมของเลียนแบบ นั้น อาจมีคุณภาพทัดเทียม ของแท้ ได้เช่นกัน แล้วเป็นเหตุให้เข้าใจผิดได้ เช่น พวกเผยแพร่ พระสัทธรรมปลอม ในสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ เพื่อแสวงหาลาภหรือทรัพย์สินจาก ผู้ด้อยปัญญา ที่หลงเชื่อมีศรัทธาในตัวบุคคล [อลัชชีเดียรถีย์] โดยไม่ใช้ปัญญาและเหตุผลว่า จริงหรือปลอม หรือเป็นประโยชน์สูงสุดตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ คนซวยมักจะเจอของซวย เพราะขาดสติหรือสติแตก ไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะเลือกทางเดินที่ถูกต้องด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ชอบแสวงหาอย่าง อนารยะ ไม่ใช่อย่าง อริยะ [ทางอันประเสริฐ] ยังคงอยู่ใน ภูมิแห่งวัฏฏะ [สังสารวัฏฏ์สังสารทุกข์] ไม่สามารถอยู่ใน โลกุตตรภูมิ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เพราะแพ้ใจตัวเอง แพ้กิเลสทั้งหลายที่หมักดองอยู่ในพื้นจิตตสันดาน [นิสัยเสียนิสัยหมา] ใฝ่ทางดีไม่ได้ แพ้ความเลวว่าเป็นความดี เพราะใจมืดบอดสนิท [อบายภูมิ ๔: นรกกำเนิดเดรัจฉานเปรตอสุรกาย] สงครามที่น่ากลัวที่สุด คือ สงครามในใจตนเอง จิตใจของคนสามารถฝึกอบรมให้เป็น กุศลจิต [โสภณจิตจิตงดงาม ยอมเกิดได้ในภูมิทั้ง ๔ อย่าง: กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิโลกุตตรภูมิ] ได้ด้วย ฌาน ๔รูปฌาน ๔: ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน [หมายเอาขั้น จตุตถฌาน อันประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ อย่าง คือ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ] สมาธิเพื่อกำจัดนิวรณ์ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร อันเป็นจิตดั้งเดิม สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสอย่างกลาง ที่เรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส ก็เพื่อให้ใจเป็นธรรมเป็นพุทธะ ก็เริ่มพิจารณาจากการคบหาเพื่อเป็นต้นไป.
|