๔๒. รู้ประจักษ์แจ้งสภาวธรรมทั้งปวงโดยญาณทัสสนะ Enlightening All States with Knowledge and Insight
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในการปฏิบัติธรรมเจริญภาวนากรรมฐาน ที่เรียกอีกอย่างว่า สมาธิภาวนา นั้น ต่างมีจุดมุ่งหมายเชิงปฏิบัติ คือ (๑) ความสุขกายใจในปัจจุบันรักษาคุณภาพหรือระดับจิตอยู่ในสุคติ (๒) สติสัมปชัญญะเจริญจตุสติปัฏฐานกัมมันฐาน (๓) ญาณทัสสนะปัญญาหยั่งรู้และหยั่งเห็นด้วยวิปัสสนาภูมิหรือปัญญาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ และ (๔) อาสวักขยะการกำจัดกิเลสอาสวะทั้งหลายด้วยความรู้แจ้งเห็นจริง [สัมโพธะ] ฉะนั้น คำว่า ญาณทัสสนะ นั้น เป็นเรื่องสำคัญระดับหนึ่งในการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตมีอำนาจในการพยากรณ์ [Anticipation] หรือการตีความหมาย [Decoding or Interpretation] บริบทต่างๆ อันเป็นปรากฏการณ์แห่ง สภาวธรรม [อารมณ์แห่งกรรมฐาน] อันเป็น นิมิต [Mental Signs or Contexts] ในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา [ภาวนา ๒] ที่จะทำให้เกิดความรู้และเพิ่มพูนพัฒนา [Generative Transformation] เป็น ปัญญาญาณในวิปัสสนาภูมิ [วิชชาญาณ] ในความเป็นจริงนั้น ญาณทัสสนะ นั้น จะสื่อความหมาย [Significations] ต่างๆ ตามปัญญาเข้าใจหยั่งรู้ได้ใน มิติสัมพันธ์แห่งสัญลักษณ์ [The Dependent Dimensions of Semiotics] โดยอาศัยบรรดาองค์ความรู้ทั้งหลายใน ปัญญาเห็นธรรมดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุปัญญาจักขุ [The Eye of Truths] เพื่อถอดรหัสความหมายจากนิมิตหรือภาพสัญลักษณ์ที่จิตปรุงแต่งขึ้นในวิปัสสนา โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ (๑) สภาวธรรมที่จิตปรุงแต่งขึ้นด้วยเจตนาแห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อย่าง ที่เรียกว่า สังขตธรรม กับ (๒) ปัญญาภูมิหรือวิปัสสนาภูมิ อันเป็นหลักทฤษฎีที่เป็น ปรมัตถสัจจะ เพื่อทำลายบรรดา สังขตธรรม ทั้งหลาย [วัฏฏะ ๓สังสารทุกข์] เพื่อให้เข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน [วิวัฏฏะขันธวินิมุต] ที่เรียกว่า อสังขตธรรมบรมธรรมอมตธรรม ซึ่งประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็น อนัตตาสุญญตา ฉะนั้น ญาณทัสสนวิสุทธิ ก็คือ องค์ความแห่งอริยมรรค ได้แก่ อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘มัคคญาณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ที่เรียกโดยรวมว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ นั่นเอง.
บทความที่ ๔๒ ประจำปี ๒๕๕๙ รู้ประจักษ์แจ้งสภาวธรรมทั้งปวงโดยญาณทัสสนะ
แนวทางการแสวงหาความรู้ของมนุษย์นั้น จำแนกออกเป็น ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) ศาสนาReligion คือ อาศัยความศรัทธาเลื่อมใสและปัญญาพร้อมด้วยเหตุผลตามข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา (๒) ปรัชญาPhilosophy คือ อาศัยข้อโต้เถียงหาเหตุผลด้วยกรรกวิทยา นั่นคือ ตามหลักธรรมแห่งพุทธปรัชญา และ (๓) วิทยาศาสตร์Science คือ อาศัยการปฏิบัติตามเหลักเกณฑ์ตาม วิธีทางวิทยาศาสตร์ [Scientific Methods] อันเป็นศาสตร์สมัยใหม่สาขาต่างๆ ประกอบด้วยการสังเกตการณ์ ค้นหาหลักฐานประกอบด้วยทฤษฎีและเหตุผล [วิเคราะห์Analysis กับสังเคราะห์Synthesis] ลงมือปฏิบัติดัดแปลงองค์ความรู้มาใช้จริงในชีวิต เรียกว่า พุทธศาสตร์ ฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามคติพุทธแล้ว พระพุทธศาสนาจึงครอบคลุมหลักการ การจัดการความรู้ [Knowledge Management] ทั้งหมดของมนุษยชาติ ได้แก่ (๑) พุทธศาสนา (๒) พุทธปรัชญา (๓) พุทธศาสตร์ ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลาย อันเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น คือ อานิสงส์ผลพ่วงของแนวคิดตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าทางค้นพบ หยั่งรู้ หยั่งเห็น สัจจธรรมความจริง [ปรมัตถสัจจะอภิธรรมAbsolute Truths] หมดทั้งสิ้นแล้ว อันหมายถึง ธรรมชาติจักรวาล [The Nature and Universe] ที่สำคัญ คือ ชีวิต [Life] โดยเริ่มต้นจากตัวตนของตนเองเป็น ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ คือ องค์ประกอบเหตุปัจจัยภายใน ส่วน องค์ประกอบเหตุปัจจัยภายนอน นั้น ย่อมเกิดจากการพิจารณาพยากรณ์หรืออนุมานจาก ธรรมภายใน [สภาวธรรม] ไปสู่ ธรรมภายนอก ด้วยตนเอง โดยอาศัย ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสสนะ [ญาณทัสสนวิสุทธิความรู้ทั้งหมดแห่งอริยสัจจ์ ๔ ที่เรียกว่า โลกุตตรมรรค ข้อ ๗ ในวิสุทธิ ๗ = วิชชา] แต่อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ทั้งหมดตามคติทางโลก [ระดับการศึกษาจากอนุบาลจนถึงปริญญาเอก = เดรัจฉานวิชา] นั้นเป็นความรู้ที่ไม่สามารถดับทุกข์ของชีวิตได้อย่างแท้จริง แต่กลับพอกพูนกิเลสตัณหาและสร้างปัญหาชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด [สังสารทุกข์] เพราะเป็นเรื่องความยึดมั่นถือมั่นใน อุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย [นามรูปขันธ์ ๕] อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์กายและใจ ที่เรียกว่า อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตามหลักปฏิบัติแห่งพุทธโอวาท ๓ ประการ นั้น ได้แก่ (๑) ไม่ประกอบกรรมชั่วทั้งปวง (๒) หมั่นประกอบกรรมดีทั้งหลาย และ (๓) ทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยเบิกบานใจ [ความเป็นพุทธะ = ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน] สำหรับ ใน ๒ ข้อแรกนั้น คือ ศีลบริสุทธิ์ [ศีลอันยิ่งอธิสีลสิกขา = สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ] และ ส่วนในข้อ ๓ นั้น คือ สมาธิบริสุทธิ์ [จิตอันยิ่งอธิจิตตสิกขา = สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] อันรวมกันเป็นบาทฐานสำคัญ ให้เกิด ปัญญาบริสุทธิ์ [ปัญญาอันยิ่งอธิปัญญาสิกขา = สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] โดยอาศัย ญาณทัสสนะ [การหยั่งรู้การหยั่งเห็น หรือ รู้แจ้งเห็นจริงยถาภูตญาณ = Knowledge and Vision] เมื่อจิตใจปราศจากอคติความลำเอียง ความวิปลาสทั้งหลาย และบรรดานิวรณธรรมทั้งหลาย ที่สามารถดับด้วยธรรมฝ่ายตรงข้าม [ปฏิปักษ์ธรรมตทังคนิโรธ หมายถึง ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม] นั่นคือ รูปาวจรฌานกุศลจิต [รูปฌาน ๔] ฌานขั้นดีที่สุดเหมาะควรในวิปัสสนาภูมิ คือ ฌานขั้นที่ ๔จตุตถฌาน ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) อุเบกขาจิตตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก กับ (๒) จิตตสมาธิเอกัคคตาเจตสิก [สภาวะแห่งจิตนั้น ต้องประกอบด้วยคุณภาพของจิตวิญญาณ ๒ อย่าง คือ (๑) จิตจิต ๘๙ = วิญญาณ ๖ กับ (๒) เจตสิกเจตสิก ๕๒ = เวทนา ๖สัญญา ๖สังขาร ๓] ส่วนความรอบรู้แห่งปัญญาญาณที่เกิขึ้นนั้น เริ่มจาก โลกุตตรธรรม [โพธิปักขิยธรรม ๓๗: ธรรมเครื่องใฝ่หาความตรัสรู้] โดย มหาสติปัฏฐานสติปัฏฐาน ๔ [ทัสสนะการเห็น] โดยเกิด สัมปชัญญะปัญญาญาณ ด้วยการเจริญอนุปัสสนา ๔ อย่าง [โดยให้ได้ข้อสรุปสุดท้ายด้วย อนัตตานุปัสสนากรรมฐาน] ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาร่างกายว่าสักแค่กาย ไม่ใช่ตัวตน (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาเวทนาความรู้สึกว่าสักแค่เวทนา ไม่ใช่ตัวตน (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาจิตใจว่าสักแค่จิต ไม่ใช่ตัวตน และ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ พิจารณาธรรมว่าสักแค่ธรรม ไม่ใช่ตัวตน และสัมปยุตต์ด้วย อนุปัสสนา ๓ ที่เป็นเรื่อง สามัญลักษณะ ในข้อหลุดพ้นโดยไตรลักษณ์ ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนาชวนปัญญา คือ ปัญญาเร็ว (๒) ทุกขานุปัสสนานิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาดับกิเลส และ (๓) อนัตตานุปัสสนามหาปัญญา คือ ปัญญามาก [การปฏิบัติธรรมหรือเจริญภาวนาย่อมทำให้เกิดปัญญาญาณต่างๆ มากมาย] นั่นคือ สติ [Mindfulness] ทำหน้าที่พิจารณาเห็นสาเหตุ [ทัสสนะหยั่งเห็น] และ สัมปชัญญะ [Awareness] ทำหน้าที่พิจารณารู้ผล [ญาณวิบาก] เป็นเหตุให้เกิดปัญญาในวิปัสสนา ได้แก่ ญาณวิชชาอภิญญา [ความรู้หยั่งรู้ความรู้แจ้งความรู้ยิ่งยวด] หรือ (๑) ความรู้ชัด Insight = ญาณ (๒) ความรู้แจ้ง Transcendental Wisdom = วิชชา และ (๓) ความรู้คมชัด Ultra-Conscious Insight [Full Comprehension] = อภิญญา อันหมายถึง ธรรมวิเศษคุณวิเศษอธิคมธรรมอุตตริมานุสสธรรม คือ ภูมิธรรมที่ล้ำปัญญามนุษย์ทั่วไป [เดรัจฉานวิชาปัญญาสามัญทางโลก ซึ่งเป็นปัญญาหรือองค์ความรู้ที่ไม่สามารถดับทุกข์ทางโลกและทางธรรมให้กลายเป็นสุขทางธรรมได้ นั่นคือ วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น] ฉะนั้น การนั่งสมาธิหรือการเจริญภาวนากรรมฐาน [มนสิการกรรมฐานสมถะกับวิปัสสนา] นั้น เพื่อให้เกิด (๑) สุขปัจจุบันขณะนั้น (๒) สติสัมปชัญญะ (๓) ญาณทัสสนะ (๔) อาสวักขยะ หรือ (๑) อุปสมะความสงบ (๒) ญาณความรู้ชัด (๓) อภิญญาความรู้คมชัดความรู้ยิ่งยวด (๔) สัมโพธะความตรัสรู้ อันเป็นบาทฐานเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ต่อไปได้ หรือวิวัฒน์พัฒนาจาก โลกียธรรม ไปสู่ โลกุตตรธรรม ฉะนั้น ญาณทัสสนะ [การหยั่งรู้การหยั่งเห็น] อันเกิดจาก ฌาน ๔รูปฌาน ๔ พร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรม ๒๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ทำให้บรรลุความตรัสรู้ถึงนิพพาน [สัมโพธิญาณ] ด้วยเหตุนี้ ญาณทัสสนะ จึงประกอบด้วยภาวนาพละ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) สมถพละสมถภาวนา [Concentration Development] กับ (๒) วิปัสสนาพละวิปัสสนาภาวนา [Insight Development] เมื่ออริยบุคคลได้บรรลุนิพพานนั้น ต้องประกอบด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ [ยถาภูตญาณ กับ ญาณทัสสนะ] โดยไตรลักษณ์ [อนุปัสสนา ๓อนุปัสสนา ๗] อันเป็นหลักสำคัญแห่งการปฏิบัติธรรม ที่ข้อธรรมย่อยสอดคล้องกับหลักธรรมใหญ่ [ธัมมานุธัมมาปฏิปัตติ] เพราะฉะนั้น การเจริญภาวนากรรมฐานอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาหรืออยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ ย่อมทำให้เกิด ปัญญาญาณ อย่างไม่สิ้นสุดด้วย ญาณทัสสนะ [สัมมสนญาณ ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖] ทำให้เกิดปัญญาดับธรรมที่ครอบงำด้วย สาสวะ ทั้งหลาย [อาสวักขยญาณความตรัสรู้] นั่นคือ การได้ วิชชา ๓ หมายถึง ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้ กำหนดรู้ทุกขสัจจ์ (๒) จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ คือ เห็นการจุติและอุบติของสัตว์ตามกรรมของตน กำหนดรู้สมุทัยสัจจ์ [อนุโลมปฏิจจสมุปบา] และ (๓) อาสวักขยญาณ คือ เห็นข้อปฏิบัติในการดับกิเลสอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้ [ความตรัสรู้สัมโพธะ] ทำให้บรรลุถึงภาวะที่ปราศจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวงแล้ว โดยขั้นตอนทั้งหมดดังกล่าวนี้ ต้องมีบาทฐานจากปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ [สัมมสนญาณ] ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้น ในบรรด เดรัจฉานวิชา [องค์ความรู้วิชาทางโลก] ต้องปรับให้เป็นความเห็นชอบแห่ง สัมมาทิฏฐิ ซึ่งประกอบด้วยธรรมอันเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาเห็นความตั้งอยู่จิตอย่างถูกต้องและเป็นจริงในธรรมทั้งหลาย [ธรรมฐิติธรรมนิยาม ๓ นั่นคือ (๑) สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (๒) สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ (๓) ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ทำให้ลบล้างอุปาทานขันธ์หรืออุปาทานทุกข์ได้ ที่เรียกว่า ขันธวินิมุต คือ ภาวะอันปราศจากขันธ์แห่งโลกียะ ที่เรียกว่า วิวัฏฏะ อันเป็นการเข้าถึงสัจจภาวะแห่งนิพพาน นั่นเอง] ได้แก่ (๑) ปรโตโฆสะ สุตมยปัญญา กับ (๒) โยนิโสมนสิการ จิตตามยปัญญา เพื่อให้เกิด วิชชาภาวนามยปัญญา โดยอาศัย ญาณทัสสนะ [ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ] หรือให้เกิด ปัญญาเห็นธรรม [ทิพพจักขุญาณธรรมจักษุ] และ ปัญญาตรัสรู้ [อาสวักขยญาณสัมโพธิญาณ] นั่นเอง นอกจากนี้ อย่าลืมว่า ญาณทัสสนะ ก็คือ สติสัมปชัญญะ [Temperance] หรือ สติปัญญา [ไหวพริบปฏิภาณความฉลาด] แต่อย่างไรก็ตาม ความโง่เขลา [อวิชชาโมหะ] ไม่นำพาไปสู่ความตรัสรู้ได้ [สัมโพธะ] ความโล่ไม่ต้องไปพัฒนาให้เกิดมากเลย เพราะมันเกิดคู่มากับจิตใจหรือจิตวิญญาณตั้งแต่เกิดแล้ว [คุณสมบัติแห่งชีวิตสันตติใน สังสารวัฏฏ์สังสารทุกข์ พระอรหันต์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน วัฏฏสงสาร อันเป็น ทุคติ ได้แก่ กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ] ขึ้นอยู่กับว่า จะหาวิธีแนวทางเอาตัวโง่ดังกล่าวนี้ ออกจากจิตใจหรือ พื้นจิตตสันดาน [จิตไร้สำนึกUnconscious Mind = อนุสัย ๗สังโยชน์ ๗สังโยชน์ ๑๐อาสวะ ๔] อย่างไรดี เพราะโดยธรรมชาติของมัน ก็มีอาการพอกพูนกิเลสตัณหาขึ้นทุกขณะจิต ทำให้เกิดอุปาทานยึดมันในความเป็นตัวตนและของตน [ตัวกูของกู หรือ อัตตาอัตตริยะ] แล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในนามรูปสังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นตาม เหตุผล ในหลักธรรม ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการตถตา [กล่าวนัยหนึ่ง คือ เหตุปัจจัย อันเป็นปัจจัยองค์ประกอบ ๑๒ อย่าง ในปฏิจจสมุปบาท ที่เรียกว่า ปัจจัยธรรม] ไม่สามารถปล่อยวางได้ง่ายๆ [อุปาทานทุกข์] ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ในด้านการปฏิบัติธรรมนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้จิตได้เห็นธรรมตัวนี้ตามเป็นจริง แล้วหาทางปฏิบัติดับอกุศลธรรมตัวนี้ให้ได้ด้วยตนเอง นั่นคือ การดับกิเลสและการดับทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง [กำหนดรู้นิโรธสัจจ์ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาทแห่งนิโรธวาร หรือการแสดงธรรมตามแบบปฏิโลมเทศนา นั่นคือ พิจารณาไตร่ตรองย้อนกลับจากผลวิบากที่เกิดขึ้นไปสู่การดับสาเหตุอันเป็นที่มาแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า อวิชชา Ignorance คือ อดีตเหตุ และ ตัณหา Craving คือ ปัจจุบันเหตุ] ก็ต้องล้วนอาศัยปัญญาและความฉลาดรอบรู้ทั้งนั้น ฉะนั้น การตรัสรู้ต้องอาศัยการเห็นธรรมทั้งปวงมาประชุมรวมกัน [ธรรมสามัคคีDhamma Unity or Dhamma Omnipresence] จึงจะเห็นนิพพาน [นั่นคือ อยู่ในภาวะที่ถูกต้อง สัมมัตตะ ๑๐ [อเสขปฏิปทา] ที่ประกอบด้วย ทัสสนานุตตริยะปฏิปทานุตตริยะวิมุตตานุตตริยะ = อนุตตริยะ ๓ คือ ภาวะอันยอดเยี่ยม] ได้ตามสภาวธรรมที่เป็นจริง เพราะฉะนั้น ทั้ง สัมมัตตะ ๑๐ อันประกอบด้วย (๑) อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ แนวทางสายกลางแห่งหลักมัชฌิมาปฏิปทา (๒) สัมมาญาณโลกุตตรมรรค คือ หยั่งรู้ชอบด้วยจตุอริยสัจจญาณ หรือความรู้ทั้งหมดในอริยสัจจ์ ๔ และ (๓) สัมมาวิมุตติโลกุตตรผล คือ หลุดพ้นชอบด้วย วิมุตตานุตตริยะ คือ หลุดพ้นชอบ ที่เรียกว่า อรหัตตผลวิมุตติ [อนุปาทิเสสนิพพานหลุดพ้นไม่มีเชื้อกิเลสเหลืออยู่] กับ อนุตตริยะ ๓ ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเข้าถึงภาวะแห่งการตรัสรู้ได้ ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิญาณตนได้ว่า ได้บรรลุธรรมวิเศษ ที่เรียกว่า อนุตตริยสัมมาสัมโพธิญาณ [ปัญญาตรัสรู้ชอบด้วยตนเองอันยอดเยี่ยม = การดับขันธ์ปรินิพพาน] เมื่อพระองค์ทรงเข้าถึง ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ [อาการในการพิจารณาทบทวนพุทธกิจทั้งหมดด้วย ญาณ ๓: สัจจญาณกิจจญาณกตญาณ ดำเนินปริวัฏฏ์จำนวน ๓ รอบ ใน (๑) อริยสัจจ์ ๔: ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค กับ (๒) กิจในอริยสัจจ์ ๔: ปริญญาปหานสัจจฉิกิริยาภาวนา] อันมีอาการ ๑๒ นั่นเอง แต่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเทียบเคียงได้กับแนวทางการตรัสรู้ [สัมโพธะ] ดังเช่น (๑) อาสวักขยญาณ: ข้อ ๓ ในวิชชา ๓ อันมีอาการ ๖๔ ประการ [เตวิชฺโชพระอรหันต์ผู้ได้วิชชาสาม] หรือ (๒) ปัจจเวกขณญาณ: ข้อ ๑๖ ในญาณ ๑๖โสฬสญาณ อันมีอาการ ๑๙ ประการ [จตุสัจจพุทธะ] หรือ (๓) มหาวิปัสสนา ๑๙ [อุภโตภาควิมุต คือ ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย นั่นคือ กายสักขี คือ ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว และสิ้นอาสวะแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้เจริญวิปัสสนาด้วย อนุวิปัสสนา ๗ จนเกิดปัญญาแตกฉานด้วย ปฏิสัมภิทา ๔: อัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทานิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยหมายเอาพระอรหันตผู้ได้ เจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติมาก่อนที่จะได้ ปัญญาวิมุตติ] เป็นต้น [ให้พิจารณาเพิ่มเติมใน อริยบุคคล ๗ ] ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ตรัสรู้ธรรมวิเศษได้นั้น ต้องอาศัย ญาณทัสสนะยถาญาณทัสสนะ [ญาณทัสสนวิสุทธิ = อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘โพธิปักขิยธรรม ๓๗ไตรลักษณ์] เพื่อให้สามารถปฏิเวธในสภาวธรรมทั้งอย่างรู้แจ้งแทงตลอดได้ นั่นคือ การหยั่งรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งปวง [ได้แก่ กุศลธรรมอกุศลธรรมอัพยากตธรรมกามาวจรธรรมรูปาวจรธรรมอรูปาวจรธรรมโลกุตตรธรรม] อันเป็นภาวะแห่งความหลุดพ้นด้วย นิสรณวิมุตติ ด้วยลักษณะแบบถาวรหยั่งยืนปลอดโปร่งตลอดไป ดังนั้น จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้บรรยายมาทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกินปัญญาหางอึ่งที่จะรับรู้หรือเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพียงแต่ขอให้มีความอดทนและหมั่นเพียรในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น ย่อมเห็นผลสำเร็จแห่งการปฏิบัติได้จริง.
|