๔๓. สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง All States of Reality as Impermanence
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
มนุษย์มีโลกทัศน์หรือมุมมองโลกที่แตกต่างกันในสังคมต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับ ความเชื่อ ความศรัทธา ทัศนคติ ปรัชญา ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือ วัฒนธรรม แต่ในทุกสังคมก็มีวิธีการแสวงหาความรู้ที่หลากหลายจากกันและกัน โดยมีสมมติฐานเพื่อค้นหาความจริงอันสูงสุดโดยปรมัตถ์ ที่เรียกว่า ความรู้บริสุทธิ์ ในทางพุทธศาสนา เรียกว่า ปรมัตถะปรมัตถ์ปรมัตถสัจจะ [Absolute Truths] หรือในบางครั้งก็เรียกว่า ธรรมสภาวธรรม [DhammaPhenomenon] ตามหลักพระอภิธรรม อันเป็นความจริงที่อยู่เหนือความนึกคิดของมนุษย์ชาวโลกที่กำหนดกันหรือบัญญัติความหมายแห่งคำศัพท์เอาไว้ ที่เรียกว่า สมมติสัจจะ [Conventional Truths] ซึ่งมีนัยตรงกับ คำว่า สังขตธรรมโลกียธรรม หมายถึง ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ที่เป็นไปตามอำหนาแห่ง กรรมวิบาก ที่มีใจครอบครองด้วยตัณหาและทิฏฐิ อันเป็นชีวิตสันตติใน สังสารทุกข์ คือ มีความสุขและความทุกข์เกิดขึ้นสลับกลับเปลี่ยนกันไปตามวาระแห่งกรรมและวิบาก [ทุคติ] จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคงหรือคงที่อย่างแน่นอน เอามาเป็นสรณะที่พึ่งแห่งชีวิตไม่ได้ ผู้ใดมัวเมาไปยึดมั่นถือผิดใน สังขตธรรม ย่อมมีชีวิตไม่เป็นสุข มีความเดือดร้อนทั้งกายและใจอยู่ตลอดเวลา เพราะเกิดวิปลาสถือผิดเพี้ยนในความเป็นจริง นั่นคือ วิปลาสเห็นไม่เที่ยง เป็นเที่ยง หรือ เห็นอนิจจสัญญา เป็นนิจจสัญญา เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนยึดมั่นหมายเหมาะไว้ เกิดความเปลี่ยนแปลงไป แปรปรวนไป ย่อมเกิดความไม่พอใจ ติดขัดไม่ราบรื่นในกายและใจ ย่อมสนองอารมณ์ของตนด้วยสังกิเลสทั้งหลาย ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส นั่นคือ ยังไม่ยอมเห็นว่า โลกนี้วุ่นวายหนอโลกนี้เดือดร้อนหนอ แทนที่จะเป็น โลกนี้ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีสาระสำคัญที่จะเอาชีวิตไปผูกติดในบ่วงแห่งกรรมทั้งหลายบนโลกนี้อีกต่อไป ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องนึกคิดพิจารณาในสภาวธรรมว่าเป็นเช่นนี้ให้ได้ก่อน เห็นทุกข์จริงๆ เห็นความไม่เที่ยงจริงๆ แล้วค่อยพัฒนาองค์ความรู้นั้นในการเจริญภาวนากรรมฐาน แล้วความจริงแห่งชีวิตจะปรากฏขึ้นจริงในปัญญาของตน.
๔๓. สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง
ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติธรรมที่มีต่อการพิจารณา นามรูปแห่งตน [ขันธ์ ๕] นั้น ต้องรู้เห็นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาเห็นสภาวธรรมทั้งหลายตาม สามัญลักษณะ โดยไตรลักษณ์ [อนิจจังทุกขังอนัตตา] คำว่า นามรูป [สังขาร] นั้น หมายถึง สังขตธรรม คือ สภาพที่เจตนาปรุงแต่งขึ้นตามเหตุปัจจัย เรียกอีกอย่างว่า สภาวธรรม อันเป็นสภาวะแห่งจิตหรือสภาพจิต ที่อยู่อาการแปรเปลี่ยนไปในกระแสแห่ง วิถีจิต ที่เกิดตั้งอยู่ดับไปในแต่ละขณะจิต ฉะนั้น ในการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น สภาวธรรม หมายถึง การเพ่งพิจารณาสภาวธรรมหรือสภาพอันแปรปรวนของสภาวะแห่งจิตของตน ที่เรียกว่า อารมณ์และลักษณะแห่งกรรมฐาน หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง ฌาน ๒ คือ การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ไม่ว่าจะเป็น อุปจารสมาธิ อันเป็นสมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ อัปปนาสมาธิ อันเป็นสมาธิอย่างแน่วแน่ ก็ตาม ได้แก่ (๑) อารัมมณูปนิชฌาน คือ การเพ่งอารมณ์ด้วยสมาธิหรือสมถะ [สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔] กับ (๒) ลักขณูปนิชฌาน คือ การเพ่งลักษณะด้วยวิปัสสนา [ญาณในวิปัสสนา เช่น ญาณ ๑๖ มรรค ๔ และ ผล ๔] เพราะฉะนั้น อารมณ์และลักษณะแห่งกรรมฐาน นั้น ย่อมเป็นธรรมเครื่องระลึกของ สติ และธรรมเครื่องเรียนรู้ของ สัมปชัญญะ อนึ่ง จิตตัวผู้พิจารณาสภาวธรรมทั้งในสมถะและในวิปัสสนา นั่นคือ สติสัมปชัญญะ [สติปัญญาความระลึกได้และความรู้รอบทั่วถ้วน อันประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล] ในสมถภาวนาเป็นการเพ่งพินิจด้วยจิตตสมาธิในวิปัสสนาที่มีสภาวธรรมเป็นอารมณ์ด้วย สมาธิ ๓ หมายถึง ตัววิปัสสนานั่นเองได้แก่ (๑) สุญญตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง (๒) อนิมิตตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต (๓) อัปปณิหิตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนาส่วนในวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นการเพ่งลักษณะหรือพินิจลักษณะแห่ง สามัญลักษณะ ๓ โดยไตรลักษณ์ [อนิจจตาทุกขตาอนัตตตา = อนิจจานุปัสสนาทุกขตานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา] หรือด้วย วิโมกข์ ๓ หมายถึง ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น ได้แก่ (๑) สุญญตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น (๒) อนิมิตตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต (๓) อัปปณิหิตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยไม่ทําความปรารถนา เพราะฉะนั้น ในการเพ่งอารมณ์ทำให้เกิด ญาณทัสสนะ [ปัญญาเห็นธรรม] ส่วนในการเพ่งลักษณะทำให้เกิด ปัญญาญาณ [ปัญญาหยั่งรู้] ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรมหรือการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น ต้องอาศัย ฌาน [Meditation] ซึ่งเป็นเพ่งพินิจด้วยจิต [สติสัมปชัญญะ] ที่เป็นสมาธิแน่วแน่ ในฝ่ายสมถะเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน คือ การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ [รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔] ในฝ่ายวิปัสสนา เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน คือ การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล กล่าวโดยสรุป ในการเจริญภาวนานั้น ฝ่ายสมถะอาศัยฌานสมาบัติทำให้เกิด ญาณทัสสนะ คือ การหยั่งรู้หยั่งเห็น ความรู้เห็น ซึ่งทำให้เกิด (๑) ความรู้แจ้งความรู้วิเศษ [วิชชา] กับ (๒) ความรู้ยิ่งยวดความรู้คมชัด [อภิญญา] หมายเหตุ: ฝ่ายยาศาสตร์ก็ใช้ญาณทัสสนะด้วยเช่นกัน แต่ฝ่ายวิปัสสนาอาศัย วิปัสสนาญาณ เป็นเครื่องมือหยั่งรู้ทำให้เกิด ปัญญาญาณ ต่างๆ อันเป็น สัมมาทัสสนะ คือ การหยั่งเห็นที่ถูกต้องโดยธรรมตามที่เป็นจริง นั่นคือ สามัญลักษณะแห่งไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา [นั่นคือ อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา หมายถึง การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง] ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณยถาภูตญาณทัสสนะ คือ การหยั่งรู้หยั่งเห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง [ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ] โดยสิ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ อย่าง นั่นคือ ญาณ ๓ หมายถึง การหยั่งรู้ ได้แก่ อตีตังสญาณอนาคตังสญาณปัจจุปันนังสญาณ [กังขาวิตรณญาณธรรมฐิติญาณ] หรืออีกนัยหนึ่ง เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ [พิจารณาหยั่งรู้ปัจจัยธรรมโดยโยนิโสมนสิการ] เพราะฉะนั้น ก่อนผู้ปฏิบัติธรรมจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมได้จึงถึงการหาข้อสรุปที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง (ข้อ ๑ ในธรรมนิยาม ๓) นั้น ต้องพิจารณาหรือเพ่งพินิจถึงอาการแห่งลักษณะของสภาวธรรม [นามรูป] ให้รู้เห็นตามเป็นจริง ได้แก่ (๑) กำหนดรู้ทุกขสัจจ์ ด้วย นามรูปปริจเฉทญาณ คู่กับ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (๒) กำหนดรู้สมุทัยสัจจ์ ด้วย ปัจจยปริคคหญาณ คู่กับ จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ [ปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตาปัจจยาการ] และ (๓) กำหนดรู้มัคคสัจจ์ ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทางในวิปัสสนาภูมิ โดยรู้เห็นด้วย สัมมาสนญาณ คือ รู้เห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์แห่งสังขตธรรมทั้งหลาย คู่กับ อาสวักขยญาณ จากนั้น ก็จะเกิด วิปัสสนาญาณ ๙ [การทุบขันธ์ ๕] แล้วข้ามโคตรไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล อันเป็น โลกุตตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ ตามลำดับ ดังนั้น ในการกำหนดรู้เห็นอนิจจลักษณะของขันธ์ ๕ ได้นั้น จะเป็นการพิจารณาสภาวธรรมฝ่ายรูปธรรมอันเป็นหน่วยรวมที่เล็กที่สุดโดยการพิจารณากลาป มีองค์ประกอบร่วมย่อยที่ไม่สามารถแยกได้อีก ๘ องค์ [โครงสร้างโมเลกูลแห่งอะตอมอณูปรมณู] ความรู้วิเศษที่เกิดขึ้นด้วยการหยั่งรู้หยั่งเห็นในขั้นกำหนดรู้มัคคสัจจ์ เรียกว่า มัคคมัคคาญาณทัสสนวิสุทธิอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ คือ ญาณอันตามเห็นหรือกำหนดรู้ความเกิดและความดับในนามรูปแห่งสังขตธรรมด้วย อนิจจตาโดยไตรลักษณ์ หรือหยั่งรู้หยั่งเห็นสภาวธรรมใน อนิจจสัญญา เพื่อให้ข้ามความยึดมั่นในความเห็นถือผิดด้วย นิจจสัญญา [ความเห็นถือว่าเที่ยง] ในขั้นตอนนี้ จะเข้าใจถูกต้องในภาวะแห่งทุกข์หรือความเป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวน ที่เรียกว่า วิปริฌามทุกขตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร [ความนึกคิดเกี่ยวข้องในขันธ์ ๕ คือ อุปาทานทุกข์] ที่เรียกว่า สังขารทุกขตา นั่นคือ สิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นด้วยอุปาทานขันธ์ ตามนัยว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เมื่อเกิดความเห็นชอบด้วย สัมมาทิฏฐิ [สัมมาทัสสนะ] เช่นนี้แล้ว ย่อมก้าวหน้าเกิดดำริชอบด้วย สัมมาสังกัปปะ ดำเนินวิปัสสนาต่อไปอย่างถูกต้องเป็นขั้นๆ ไป ด้วยการเจริญ วิปัสสนาญาณ ๙ คือ กระบวนการในขั้นตอน การทุบอุปาทานขันธ์ ๕ [การทุบขันธ์ ๕การระเบิดขันธ์ ๕] ซึ่งเป็นการเลิกความนึกคิดแบบปุถุชนทั่วไป โดยใช้ปัญญาทำลาย วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ได้ [ในขณะเจริญ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความ เกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด] โดยไม่เกิดความนึกคิดที่ฟุ้งซ่าน จึงเปลี่ยนข้ามโคตรไปสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ สำหรับในขั้นตอนของ วิปัสสนาญาณ ๙ นี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะเข้าถึงการรู้แจ้งเห็นจริงในอาการลักษณะของสภาวธรรม [นามรูป] ด้วย (๑) อนิจจาลักษณะ กับ (๒) ทุกขสัญญา ที่ปรากฏตามสภาพที่เป็นจริง อันเป็น สามัญลักษณะ อยู่ใน ๒ อย่าง ของสังขตธรรม [สังขาร] โดยเฉพาะในฝ่ายที่เป็น กายสังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งกาย [ลมหายใจเข้าลมหายใจออก หรือ ปัสสาสะอัสสาสะ] หรือสภาพปรุงแต่งการกระทำทางด้วย กายสัญเจตนา ดังนั้น ในการวิปัสสนานั้น คือ การพิจารณาสภาวธรรมเป็นสังขาร [ความนึกคิดวิถีจิต] ที่เป็นการกระทำหรือกรรมทั้ง ๓ อย่าง [กายวาจาใจ] อันมีสาเหตุมาจากอำนาจครอบงำแห่งกิเลสทั้งหลาย [วีติกกมกิเลสปริยุฏฐานกิเลสอนุสยกิเลส] ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถอนุมาน [Deduction] หรือเทียบเคียง [Analogy] ถึงโลกแห่งสสารวัตถุได้ที่ปราศจากชีวิตินทรีย์ ที่จิตรับรู้จากสภาวธรรมที่มีอยู่รอบ [อารมณ์ ๖ = รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์] ส่วนข้อโต้เถียงจากนักวิทยาศาสตร์นั้น เริ่มลดลงเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้าน นาโนเทคโนโลยี [Nanotechnology] จนสามารถเห็น ระบบโครงสร้างระดับจักรวาลจิ๋วของปรมาณู [Molecular and Atomic Structural System] ได้ ทางวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่า กลาป [หน่วยรวมที่เล็กที่สุดของรูปธรรม ที่องค์ประกอบที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีกมี อวินิพโภครูป ๘ องค์ ได้แก่ ปฐวีอาโปเตโชวาโยวัณณะคันธะรสะโอชา] ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ไม่เที่ยงแท้ และแปรปรวนตลอดเวลา [ดำรงอยู่ในสภาวะแห่งทุกข์หรือสังสารทุกข์ในกาลทั้ง ๓ อย่าง ถ้าเป็นรูปขันธ์แห่งชีวิตินทรีย์ จะประกอบด้วย อุปาทายรูป ๒๔ ที่เรียกว่า ลักขณรูป ๔ หมายถึง รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกําหนด ได้แก่ (๑) รูปัสสะอุปจยะ คือ ความก่อตัวหรือเติบขึ้น Growth (๒) รูปัสสะสันตติ คือ ความสืบต่อ Continuity (๓) รูปัสสะชรตา คือ ความทรุดโทรม Decay (๔) รูปัสสะอนิจจตา คือ ความปรวนแปรแตกสลาย Impermanence หรือพิจารณาตามกาลเวลา อัทธา ๓ คือ อดีตอัทธาอนาคตอัทธาปัจจุบันนัทธา ที่ประกอบด้วย ขณะ ๓ ในกาลทั้ง ๓ อย่าง ได้แก่ อุปปาทิขณะฐิติขณะภังคขณะ] แต่อย่างก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็นประจักษ์แจ้งในเรื่องดังกล่าวนี้มาแล้วเมื่อราว ๒,๖๐๐ ปี ที่ผ่านมา พวกนักวิทยาศาสตร์ที่กำแหงจองหองว่าตนมีปัญญาล้ำเลิศนั้น ให้คิดใหม่ทำใหม่ มาหัดคิดหัดทำ ตามแนวทาง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าดีกว่า นั่นคือ ได้ทั้งปัญญาและประกอบด้วยคุณธรรม จะได้ไม่เสียโอกาสเห็น โลกุตตรธรรม ในชาตินี้.
|