๔๕. กำหนดรู้มรณสติเป็นอารมณ์แห่งอนุสติ Conducting the Contemplation on Death as Constant Mindfulness
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ธรรมเอกแห่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ย่อมสรุปเหลือแก่นธรรม คือ ความไม่ประมาทอัปปมาทะ หมายถึง การสำรวมระวังทุกขณะจิตที่แสดงออกในทาง กายวาจาใจ หรือ ทำพูดคิด นั่นเอง โดยแสดงเจตนาอันไม่เป็นการไปสร้างอกุศลกรรมให้เกิดขึ้นต่อตนและผู้อื่น ที่จะกลายเป็นการคิดประทุษร้ายและการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้ ความไม่ประมาทนั้น อาจมีบาทฐานมาจากการพิจารณาเนืองๆ เพื่อเตือมสติถึงความตาย ที่เรียกว่า มรณสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า คนเราทุกคนเกิดมาจะต้องตาย อย่างแน่นอน แล้วทำให้เกิดธรรมสังเวชว่า ตัวตนของเราจะต้องตายเช่นกัน คือ ทุกคนย่อมความตายไม่พ้นแน่นอน เพียงแต่ว่ายังกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ชัดเจน พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ชักนำผู้ปฏิบัติธรรมไปสู่ ความเป็นอริยบุคคล และในขั้นสูงสุด เรียกว่า พระอรหันต์ อันเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิต ซึ่งเป็นการปฏิเสธความเป็นไปในโลกหรือโลกียภูมิทุกอย่าง เพราะเป็นเรื่องภาพลวงตา ถือเป็นความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา สภาวธรรมทั้งอย่างล้วนเป็น อนัตตาสุญญตา คือ ความว่างเปล่าปราศจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้ [ตัณหาปัจจุบันเหตุ] คือ ความทะยานอยาก อันมีมูลเหตุจากอดีต นั่นคือ อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้จริง โดยรวมแล้ว เรียกว่า อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [สังสารทุกข์] เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องไม่เกิดความประมาทในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและไม่เกิดความประมาทในการดำเนินชีวิต นั่นคือ ไม่ลังเลสงสัยในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ มีความมั่นใจมุ่งมั่นจะให้บรรลุธรรมวิเศษให้ได้ตามพระสัตตุสาส์น เพราะเวลามีเหลืออยู่น้อย ถ้าเกิดตายก่อนการบรรลุธรรมนั้น ย่อมเป็นเสียโอกาสจะได้เห็นคุณอันใหญ่แห่งโลกุตตรธรรมในชาตินี้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ พยายามทำตนให้รู้เห็น ตายก่อนตาย ด้วยการเข้าใจอย่างถูกต้องใน มรสติ จนระลึกเตือนสติกลายเป็น อนุสติ อยู่ตลอดไป.
บทความที่ ๔๕ ประจำปี ๒๕๕๙ กำหนดรู้มรณสติเป็นอารมณ์แห่งอนุสติ
ปุถุชนทั่วไปมักดำเนินชีวิตด้วยความประมาท หลงใหลพอกพูนกิเลสตัณหาอันมิชอบ และนึกคิดโดยไม่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผลตามคลองธรรม [อโยนิโสมนสิการ] คือ แทนที่จะเป็นการคิดอย่างถูกวิธีด้วยอุบายแยบคายในใจ ที่เรียกว่า โยนิโสมานิสการ อันเป็นกระบวนการคิดสืบสวนหาเหตุผลครอบคลุมตั้งแต่ต้นเหตุถึงปลายเหตุ ว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างใด พร้อมคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ดีแล้ว ที่เรียกว่า โกศล ๓ หมายถึง ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ ฉะนั้น การคิดหาอุบายวิธีเพื่อพิจารณาอยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ กำหนดเป็น อนุสติ นั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติธรรม เพื่อรักษาอารมณ์แห่งกรรมฐานที่เข้าถึงได้ในช่วงขณะนั้น คำว่า อนุสติ หมายถึง ความระลึกถึง อารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องระลึกของ สติMindfulness [สติดำรงมั่นด้วยคมชัด] ในขณะเดียวกัน ก็กลายเป็นเครื่องเรียนรู้ของ สัมปชัญญะAwareness อันทำให้เกิดปัญญาหรือความรอบรู้ขึ้น แต่สำหรับ คำว่า มรณสติ หมายถึง ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดาเช่นบุคคลอื่น ที่จะต้องตายอย่างแน่นอน จะหนีพ้นความตายไปไม่ได้ แปลว่า ทุกคนตายอย่างแน่นอน เพื่อพิจารณที่จะให้เกิด ความไม่ประมาทอัปปมาทะ นั่นคือ มีชีวิตอยู่อย่างระลึกรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ด้วย สติสัมปชัญญะTemperance เพื่อสร้างบุญกุศลบารมี ดังเช่น บารมี ๑๐ หมายถึง ปฏิปทาอันยวดยิ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง ได้แก่ ทานศีลเนกขัมมะปัญญาวิริยะขันติสัจจะอธิษฐานเมตตาอุเบกขา อันเป็นฐานสำคัญในการเกื้อกูลให้บรรลุธรรมวิเศษตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเพ่งพินิจอารมณ์แห่งกรรมฐาน ด้วยจิตอันเป็นสมาธิอย่างแน่วแน่นั้น ย่อมเข้าถึง ฌานสมาบัติ ได้ อันเป็นฐานในวิปัสสนา คือ สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ การเกิด ธรรมสมาธิ ๕ ได้แก่ ปราโมทย์ปีติปัสสัทธิสุขสมาธิ ในขณะเดียวกัน ก็ให้พิจารณาเนืองๆ ถึง ความตาย จิตย่อมดำรงมั่นด้วย สติสัมปชัญญะสติปัญญา และตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว คือ เอกัคคตาแห่งสมาธิ ความตายไม่ใช่เรื่องใหญ่ของชีวิตอีกต่อไป นึกคิดพิจารณาอยู่ในอารมณ์เดียวในเรื่องนั้นเท่านั้น จิตจึงประกอบด้วยธรรมสมาธิทั้ง ๕ อย่าง ที่เรียกว่า จิตประภัสสร เป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ไม่เป็นทุกข์หรือสุขตามสภาพที่ปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัย จึงวางเฉย เพราะรู้ด้วยปัญญา ไม่ทำให้อยู่ใน อาการเสียธรรม เรียกว่า อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา เป็นการเตรียมตัวตายที่ดีที่สุด ไม่อยากตายโดยสั่งลาตายตามโต๊ะกินข้าวหรือสถานที่อโคจรทั้งหลาย ด้วยความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา หรือความโง่งมงายแห่งโมหะ ไม่คิดไม่รู้ด้วยปัญญาและเหตุผล [อโยนิโสมนสิการ] การเจริญ มรณสติภาวนา อยู่เนืองๆ เป็นนิตย์นั้น ย่อมทำให้เกิดความกล้าหาญ ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติธรรม เพราะพิจารณารู้เห็นประโยชน์สูงสุด [ปรมัตถะ] ของการประกอบความเพียร ไม่สันโดษต่อการสร้างบุญกุศล มีชีวิตอยู่อย่างไพบูลย์ด้วย สติสัมปชัญญะ ในทุกจังหวะของชีวิตโดยชอบธรรม ไม่กลัวผีหลอก แต่อย่าไปหลอกผี คือ ถ้าถูกผีหลอก ก็จับผีเหล่านั้นมาพิจารณาในกรรมฐานด้วย เมตตาภาวนา การพิจารณาตัวตนของตนด้วย สติปัฏฐาน ๔ เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการบรรลุธรรมขั้นสูงต่อไปในอนาคต เพราะถ้าปราศจาก สติสัมปชัญญะ ย่อมไม่สามารถบรรลุธรรมวิเศษได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งกำเนิดความรู้หลากหลายจะมาจจากการกำหนดรู้ด้วย สติสัมปชัญญะ ในภาวนาที่เรียกว่า กายคตาสติ ด้วยการเจริญกรรมฐานตาม กายานุปัสสนา (ข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔) โดยมีอาการ ๖ อย่าง ได้แก่ (๑) อานาปานสติ (๒) อิริยาบถ (๓) สัมปชัญญะ (๔) ปฏิกูลมนสิการ (๕) ธาตุมนสิการ และ (๖) นวสีวถิการ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งใน สัมมาสติ แล้วพัฒนาจิตในให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น จนเข้าสู่จิตตสมาธิด้วยฌานสมาบัติอย่างต่อเนื่อง จนเข้าถึง อัปปนาสมาธิ ในจตุตถฌาน แล้วกำหนดรู้เห็น [ญาณทัสสนะ] ด้วยญาณในวิปัสสนา [วิปัสสนาญาณ ๙ ในญาณ ๑๖] หรือจัดลำดับขั้นวิปัสสนาไปตาม ญาณ ๑๖โสฬสญาณ ฉะนั้น การพิจารณารู้เห็นสภาวธรรมอยู่ในอาการลักษะเกิดและดับนั้น ก็คือ มรณสติ เป็นธรรมที่อยู่ซ้อนในเบื้องหลังของการเจริญภาวนา เพราะความตายและการเกิดนั้น อุบัติขึ้นตลอดเวลาในอาการของจิตวิญญาณ หรือ สังขาร ๓ ได้แก่ กายสังขารวจีสังขารจิตตสังขาร [ทำพูดคิด] นอกจากนี้ ให้พิจารณาลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องเหมาะควรแก่ธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] ตามแนวทาง อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น จะเห็นว่าเป็นเรื่อง เสขปฏิปทา [จรณะ ๑๕] ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗ฌาน ๔ โดยเข้าสัมปยุตต์ด้วยธรรมเครื่องเกื้อหนุนความตรัสรู้ นั่นคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ดังนั้น ในการศึกษาค้นคว้าธรรม [ธัมมวิจยะ] นั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีความสามารถขบได้ด้วยทฤษฎี ทำให้ถึงขั้นปัญญาแตกฉานให้ได้ คือ รู้แจ้งประจักษ์ด้วยปัญญาและความหมายกับเหตุผล [อัตถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา] และแสดงธรรมได้คล่องปากหรือเจนใจด้วยภาษา [นิรุตติปฏิสัมภิทา] รวมทั้งรู้จักประโยชน์จากองค์ความรู้ดังกล่าวด้วยไหวพริบ ความฉาด ความสามารถปรีชาในการจำแนกแจกธรรมทั้งหลายได้ ย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลกได้ในที่สุด นั่นคือ โลก ๓ ได้แก่ (๑) สังขารโลก (๒) สัตวโลก (๓) โอกาสโลก และชีวิตที่ถูกต้องตามเป็นจริง ในการเจริญอนุสตินั้น ในความจริงนั้น ก็คือ อนุปัสสนา ๗ ซึ่งแนวทางปฏิบัติทำให้เกิดปัญญาต่างๆ จนถึงขั้น ปัญญาแตกฉาน ที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ดังที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาฝึกอบรมปัญญานั้น ต้องกระทำไปพร้อมๆ กับการฝึกอบรมจิตโดยแยกออกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) สติสัมปชัญญะ กับ (๒) สมาธิ ถ้ามีสติดำรงมั่นแก่กล้า และสัมปชัญญะคมชัด ย่อมทำให้เกิดสมาธิตั้งมั่น กลายเป็นบาทฐานสำคัญต่อปัญญา [วิปัสสนา] แต่การฝึกอบรมสติให้ดีนั้น นอกเหนือจาก สติปัฏฐาน ๔ แล้ว ก็ให้คำนึงถือ อนุสติ ๑๐ ด้วย และ อนุปัสสนา ๗ ซึ้งต้องเกิดร่วมกันตลอด ในการฝึกอบมจิตและปัญญานั้น ย่อมมีวิธีการแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย ที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องศึกษาเพิ่มเติมและลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดมรรคผลนิพพาน ให้เลือกวิธีการใดเหมาะสมเป็นประโยชน์สูงสุด แก่ความก้าวหน้าในการเจริญภาวนากรรมฐานของตน เป็นไปตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ.
|