๔๖. พฤติกรรมของมนุษย์แสดงนัยถึงสภาพจิต Behavior of Human Being Means Mind States
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ข้อประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น บุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนถึงสุดรอบแห่งชีวิตได้จริงนั้น ย่อมประสบรู้เห็นในสิ่งอัศจรรย์ปาฏิหาริย์ตามความเป็นจริงได้ [อนุสาสนีปาฏิหาริย์] อันเป็นความรู้แจ้งวิชชา ความรู้ยิ่งอภิญญาณ ความหยั่งรู้ญาณ แต่จิตตัวที่สร้างปัญญาให้เกิดจากความรู้แจ้งเห็นจริงนั้น ย่อมเกิดอำนาจแห่งสมาธิ ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะKnowledge and Insight เพราะทำให้เกิดปัญญาญาณในวิปัสสนาภูมิ และพอกพูนด้วย ดวงตาเห็นธรรม [ธรรมจักษุ] หรือปัญญาเห็นธรรมทั้งปวงได้ตามเป็นจริง อันเป็นปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ที่พิจารณากรรมฐานด้วยหลักปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตา [ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ] ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ อันประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ฉะนั้น ในบรรดา อธิคมธรรม หรือ อุตตริมานุสสธรรม [คุณวิเศษธรรมวิเศษ] นั้น หมายถึงอานิสงส์ผลประโยชน์จากการปฏิบัติธรรมจนเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงแทงตลอด [ปฏิเวธ] จนมีผลถึงตรัสรู้สัมโพธิญาณได้ คือ รู้เห็น สัจจภาวะแห่งนิพพาน [เห็นนิพพานก่อนนิพพานเห็นตายก่อนตาย = ทัสสนานุตตริยะ] เมื่อบุคคลได้เข้าไปรู้เห็นธรรมชาติของจิตวิญญาณของตนอย่างเที่ยงแท้ เห็นธรรมชาติของจิต หรือจิตตามสภาพที่ไร้เจตนาเข้าไปปรุงแต่งตามอำนาจกิเลสจากพื้นจิตตสันดานของตน ก็สามารถหลุดพ้นปลอดโปร่งอย่างยั้งยืนถาวรจากกิเลสอาสวะทั้งหลายได้ นั่นคือ สามารถควบคุมอบรมจิตได้เด็ดขาด ที่เรียกว่า ความตรัสรู้สัมโพธะ เพราะฉะนั้น การควบคุมจิตได้นั้น ย่อมรู้เห็นสภาวะแห่งจิต [วิถีจิตของปุถุชนกิริยาจิตของพระอรหันต์] ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นสำคัญ และย่อมเป็นบุคคลผู้ควบคุมพฤติกรรมกายได้เช่นกัน [กายกรรมวจีกรรม] คิดเช่นใด ก็กระทำหรือแสดงพฤติกรรมออกมาเช่นนั้น เป็นภาวะปราศจากกิเลสหรืออุปกิเลสทั้งหลายได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะพิจารณากรรมฝ่ายจิตใจหรือฝ่ายร่างกายก็ตาม ย่อมไม่เห็นความแตกต่างกัน ไม่ว่าพฤติกรรมนั้น ที่สมบัติหรือวิบัติของตนหรือของผู้อื่นก็ตาม.
บทความที่ ๔๖ ประจำปี ๒๕๕๙ พฤติกรรมของมนุษย์แสดงนัยถึงสภาพจิต
ในความเป็นจริงนั้น ความเรียบง่ายสามัญ [Simplicity] ของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ย่อมเป็นสมุฏฐานในการสร้างแรงศรัทธาและฉันทะอย่างแรงกล้า ต่อแนวทางปฏิบัติธรรมอันประเสริฐ ซึ่งผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบย่อมเข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรคได้ ความศรัทธาปสาทะด้วยเลื่อมใสยอมรับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งของชีวิตนั้น ต้องเป็นความเห็นโดยชอบ [สัมมาทิฏฐิ] ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล พร้อมทั้งพิจารณาเห็นคุณและโทษในสิ่งที่ตนศรัทธาอย่างมั่นใจแน่วแน่ก่อน ต้องสามารถทนรอพิสูจน์ด้วยตนเองให้ได้ และมีการเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษาค้นคว้าถึงภูมิหลังความเป็นมาของพระพุทธศาสนาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และแหล่งข้อมูลต้องมีความน่าเชื่อถือและเที่ยงตรง [พระไตรปิฎก] นั่นคือ ยอมรับได้ว่าถูกต้องเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการบรรลุธรรมวิเศษต่างๆ จนบรรลุถึงความตรัสรู้สัมโพธิญาณได้จริง เมื่อทุกอย่างเริ่มต้นด้วยความจริงทั้งหมด ผลที่ตามมาย่อมเป็นความจริงโดยปรมัตถ์เช่นกัน ไม่ต้องขึ้นอยู่กับอำนาจเด็ดขาดของคณะกรรมการใดๆ แต่ตนเองต้องรับผิดชอบผลการตัดสินของตนเองเพียงแต่ผู้เดียว ต้องกล้าคิดกล้าทำอย่างมั่นใจ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การบรรลุธรรมได้จริงหรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน สมณเพศไม่มีสิทธิ์ประกาศตนต่อสาธารณะในการโอ้อวดอุตตรมานุสสธรรม มิฉะนั้น จะกลายเป็นบุคคลต้องอาบัติปาราชิก อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นกระบวนการพัฒนาฝึกอบรมตนเองใน ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) ร่างกายกายภาวนา(๒) ศีลสีลภาวนา (๓) จิตใจจิตตภาวนา และ (๔) ปัญญาปัญญาภาวนา หรือแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ (๑) ร่างกาย กับ (๒) จิตใจ นอกจากนี้ การเจริญภาวนาหลักๆ นั้น จำแนกออกเป็น ๒ ด้าน ได้แก่ (๑) สมาธิสมถะ กับ (๒) ปัญญาวิปัสสนา รวมทั้งการพิจารณาตามพุทธโอวาท คือ (๑) ด้านร่างกาย: ไม่ทำชั่วทำความดี กับ (๒) ด้านจิตใจ: ทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังนั้น การพัฒนาบุคคลในพระพุทธศาสนานั้น ให้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับธรรม ๒ อย่าง คือ (๑) รูปธรรม กับ (๒) นามธรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาฝึกอบรมจิตใจเป็นแกนหลัก ที่เรียกว่า สมถะสมถภาวนา นั่นคือ จิตวิญญาณอยู่ตรงกลางหรือเป็นศูนย์กลางระหว่าง ร่างกาย กับ ปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์และอกุศลธรรมทั้งหลาย ปัญญาย่อมบริสุทธิ์ [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางกายเป็นศีล [สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ] ส่วนจิตปราศจากนิวรณ์นั้น ย่อมบริสุทธิ์จากกิเลสอาสวะทั้งหลาย เรียกว่า จิตประภัสสร [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] อันเป็นจิตดั้งเดิมหรือปฐมวิญญาณ ซึ่งเป็นจิตตามสภาพที่บริสุทธิ์ แต่ยังเหลืออาสวะทั้งหลายอยู่ในพื้นจิตตสันดาน [นิสัยใจคอ] เพราะฉะนั้น การเจริญภาวนาหรือการปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมหมายถึงกระบวนการเรียนรู้เปลี่ยนแหลงพฤติกรรมตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ไตรสิกขาสิกขา ๓ ได้แก่ อธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา นั่นคือ ศีลสมาธิปัญญา ส่วนการดำเนินชีวิตนั้น ต้องเป็นไปตามคลองธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] อยู่ในกระแสแห่งอริยมรรค นั่นคือ (๑) แก้ปัญหาและทุกข์ตามหลักอริยสัจจ์ ๔ (๒) ดำเนินวิถีชีวิตด้วยปัญญาตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ และ (๓) เจริญภาวนาให้บรรลุมัคคญาณมรรค ๔ ประเด็นสำคัญ คือ การดำเนินชีวิตต้องประกอบด้วยการพิจารณาไตร่ตรองเรื่องต่างๆ ในชีวิตด้วยปัญญาและเหตุผลตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยมีลำดับดังนี้ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญา = อธิปัญญาสิกขา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา = อธิสีลสิกขา และ (๓) นำไปสู่ปัญญา = อธิจิตตสิกขา นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ในหลักการปฏิบัติธรรมหรือการเจริญภาวนากรรมฐานั้น คือ การฝึกอบรมจิตใจ กับ การฝึกอบรมปัญญา [สมถะกับวิปัสสนา หรือ ฌานกับญาณ] เมื่อจิตใจได้รับการพัฒนาตามแนวทางสายกลางแห่งปัญญา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา และเป็นไปตามครรลองของ อริยมมรรคมีองค์ ๘ พร้อมวิธีแก้ทุกข์ด้วย อริยสัจจ์ ๔ ฉะนั้น เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์แล้ว ย่อมเป็นจิตอ่อนนุ่มนวลชื่อตรงควรแก่งาน [ฌาน ๔] อันเป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุถึงวิชชาได้ [วิชชา ๓] ย่อมเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และเกิดศรัทธาปสาทะ [อธิโมกข์อธิโมกขสัทธา] ใน (๑) กฎแห่งกรรม (๒) กฎวิบากแห่งกรรม และ (๓) กฎกรรมของสัตว์ ความศรัทธาดังกล่าวนี้ เป็นเหตุให้เกิดปัญญาและจิตเป็นกุศลธรรมหรือกุศลวิตก ย่อมส่งผลต่อการแสดงออกเชิงพฤติกรรมการแสดงออก [กรรม ๓: ทำพูดคิด] คือ แสดงออกทางสุจริต เป็นกุศลกรรมเป็นหลัก อิทธิพลของจิตตสมาธินั้น ทำให้บุคคลมีสติดำรงมั่น มีสัมปชัญญะคมชัด เป็นปัญญาบริสุทธิ์ เกิด ญาณทัสสนะ [Knowledge and Vision] ได้ และมั่นคงในเรื่อง กฎแห่งกรรมวิบากกรรมกัมมัสสกตา [อธิโมกข์] ด้วยการปลงใจเชื่อด้วยศรัทธาและฉันทะที่แรงกล้า เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าจิตเป็นศูนย์กลางในการควบคมทั้งศีลและปัญญา [จิตตัววิปัสสนาสติ] คือ เป็นผู้ควบคุมจัดการเจตนาในการแสดงกรรมทั้งหลาย นั่นคือ ใจเป็นนายของกาย [มโนกรรม ควบคุมฝ่าย กายกรรมวจีกรรม] นั่นคือ คิดก่อนทำไม่ใช่ทำก่อนคิด ตามคติทางพระพุทธศาสนานั้น จะฝึกอบรมบุคคลจากความเป็นแห่งจิตวิญญาณเพื่อนำไปควบคุมพฤติกรรมด้วยศีล แต่การศึกษาทางโลก พยายามทำงานศึกษาวิจัย จิตใจ หรือ สภาพจิตสภาวะแห่งจิต [จิตตามสภาพวิถีจิต] จากพฤติกรรมฝ่ายร่างกายของคน ที่เรียกว่า ทัศนคติความคิดเห็นความพึงพอใจความเชื่อ [AttitudesOpinionsSatisfactionsBeliefs] เป็นต้น เพราะฉะนั้น การควบคุมพฤติกรรมคนในสังคม ทางราชการจึงออกกฎหมายหรือข้อระเบียบพร้อมบทลงโทษไว้ในเวลาเดียวกัน แต่ทางพระพุทธศาสนานั้น ให้ถือปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์หรือศีลวัตร แต่อย่างไรก็ตาม พระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น ย่อมมีจริยาหรือพฤติกรรมเป็นศีลโดยปริยาย ไม่หนักใจเกี่ยวกับอาจารวิบัติ เพราะประกอบกรรมด้วย สังวร ๕ [ศีลสังวร] อย่างดีพร้อม ฉะนั้น ให้พิจารณากรรมใดๆ ที่บุคคลมีใจด้วยเจตนาเป็นประธานเท่านั้น ที่เรียกว่า สังขตธรรม คือ สภาวะที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยเหตุปัจจัยตามเจตนาของบุคคล หรือ กรรม ๓ คือ การกระทำประกอบด้วยเจตนาของบุคคล ได้แก่ กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม โดยรวมแล้ว เรียกว่า มีจริยางดงาม หรือ ทักขิไนยบุคคล [สมควรแก่การทักษิณาและอัญชลีเคารพบูชา] สำหรับวัฒนธรรมทางโลกตะวันตกนั้น ก็จัดเป็นแบบพวกสุดเอียงเชิงวัตถุนิยม มุ่งเน้นสนใจศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อวางแผนสนองความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย คือ พยายามวาด แผนที่จิตใจ [Mind Map] หรือ มิติแห่งความนึกคิดความเชื่อ [The Dimensions of Beliefs] แต่ยังไม่สามารถศึกษาสภาวะแห่งจิตโดยตรงได้ แต่แนวทางการศึกษาของพระพุทธเจ้านั้น เป็นการฝึกอบรม จิตใจ [Consciousness] หรือ จิตวิญญาณ [Spirituality] ของตนเองส่วนบุคคลโดยตรง ที่เรียกว่า การเจริญภาวนา [Mental Development] ประกอบด้วย ๒ ด้าน หลักๆ ได้แก่ (๑) สมถภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ และ (๒) วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรมปัญญาให้บริสุทธิ์จากอาสวะทั้งหลาย เพื่อให้รู้เห็นสภาวธรรมอย่างเป็นกลางตามกำหนดแห่งธรรมดา อันเป็น กฎธรรมชาติ [ธรรมฐิติธรรมนิยาม ๓ = Natural Law] ไม่เกิดวิปลาสอคติเป็นอื่นไปจากกระแสแห่งอริยมรรค [อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์โลกุตตรมรรค] นั่นคือ โลกียสัมมาทิฏฐิ กับ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ โดยมีเป้าหมายสูงสุด เพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมตามเจตนาฝ่ายกุศล และเพื่อพัฒนาเป็น ปัญญาญาณ ในวิปัสสนาภูมิ อันเป็นปรีชาหยั่งรู้และหยั่งเห็นตามเป็นจริง [ญาณทัสสนะยถาภูตญาณยถาภูตญาณทัสสนะ] ฉะนั้น ตามหลักพุทธปรัชญาจึงเป็นศาสตร์ที่เน้นด้านจิตตนิยม [Idealism] และสัจจนิยม [Realism] แต่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมแบบวัตถุนิยม [Materialism] ได้ เช่น ความต้องการตอบสนองทางกายได้ ที่เป็นสังคมแบบบริโภคนิยม [Consumerism] เป็นต้น ยกตัวอย่าง เช่น ผู้บรรลุอภิญญาอันเป็นความรู้ยิ่งยวด สามารถกำหนดใจคนอื่นได้ด้วย เจโตปริยญาณ [Mind Control] ในทางกุศลอย่างสร้างสรรค์ [Creatively] ไม่ใช่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ควร คือ ทำอย่างสัตบุรุษหรือคนดีเขาประพฤติกัน เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง การเป็นผู้รู้จักสังเกตรายละเอียดพฤติกรรมของบุคคล ก็สามารถอ่านใจคนอื่นได้เช่นกัน แต่ก็สู้นักปฏิบัติธรรมไม่ได้ ที่ยึดแนวทางปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เจริญภาวนาทั้งฝ่ายสมถะและฝ่ายวิปัสสนา จนเข้าใจรู้ประจักษ์แจ้งในตัวตนของตน [นามรูป] ด้วยปัญญาและเหตุผล [สติสัมปชัญญะสติปัญญา = Temperance] รวมทั้งมปรีชาสามารถในการระลึกชาติได้ ย่อมสามารถอนุมานถึงสภาวะแห่งจิตของคนอื่นได้เช่นกัน แต่ก็ควรชักนำให้มาปฏิบัติธรรมดีกว่า เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง นอกจากนี้ สิ่งที่วิเศษสุดนั้น ย่อมเป็นการสืบทอดพระศาสนาให้ยืนนานเป็นสรณะที่พึ่งของมวลมนุษย์คนยากทั้งหลายต่อไป.
|