๔๙. ความรู้ประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาทั้งความหมายและเหตุผล Full Comprehension with Significant and Rational Wisdom
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในการพิจารณไตร่ตรองประเด็นหัวข้ออะไรก็ตามในการปฏิบัติธรรมหรือการเจริญภาวนกรรมฐานนั้น ให้หวนนึกถึงธรรม ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) สาเหตุของประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ซึ่งต้องรู้ด้วยปัญญาอย่างแตกฉาน [Discrimination] ไม่ว่าจะเป็นปัญญาสามัญทางโลกหรือปัญญาญาณทางธรรม ที่เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็ สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ และ (๒) ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากเหตุดังกล่านั้น ด้วยปัญญาสามัญทางโลกหรือปัญญาญาณทางธรรม ที่เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิด แยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล เพราะฉะนั้น จะสังเกตได้ว่ามีเหตุปัจจัยองค์ประกอบ ๓ อย่าง มาผสานรวมกัน ได้แก่ (๑) ปัญญาWisdom (๒) เหตุCauses และ (๓) ผลResults จึงจะเป็นสมุฐานสำคัญให้เกิดความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมหรือสภาวธรรมทั้งหลาย [ปฏิเวธ] นอกจากนี้ องค์ประกอบดังกล่าวนี้ ยังเป็นบาทฐานสำคัญทำให้เกิดปัญญาญาณสำคัญๆ เบื้องต้น ได้แก่ (๑) ปัญญาเห็นธรรมทั้งปวงดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ หรือที่เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ คือ ความรู้เห็นด้วยญาณทัสสนะในธรรมหรือสภาวธรรมทั้งหลายโดยหลักปฏิจจสมุปบาท และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรมสัมโพธิญาณอาสวักขยญาณ คือ ความรู้เห็นด้วยญาณทัสสนะในสภาวธรรมหรือนามรูปโดยไตรลักษณ์ โดยปัญญาญาณในภาวนาทั้ง ๒ อย่าง นี้ จะเป็นองค์ความรู้แห่งสัมมาทิฏฐิในการหลุดพ้นจากวัฏฏะ เพราะรู้รอบด้วยปัญญาในอริสัจจธรรมทั้งปวง ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ ที่อยู่ในโลกุตตรธรรม ได้แก่ ทุกขอริยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ทุกขนิโรธคามมินีปฏิปทาอริยสัจจ์ ที่ต้องสัมปยุตต์ด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือความบริสุทธิแห่งไตรสิกขา ที่เรียกว่า วิสุทธิ ๗ โดยภาพองค์รวม เรียกว่า ธรรมสามัคคี นั่นเอง.
บทความที่ ๔๙ ประจำปี ๒๕๕๙ ความรู้ประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาทั้งความหมายและเหตุผล
ในโลกนี้เห็นจะมีเพียงพระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่พัฒนาฝึกอบรมจิตใจด้วยสมถภาวนาและปัญญาด้วยวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้เข้าถึง ญาณทัสสนะ คือ ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง และ อาสวักขยญาณ คือ ความตรัสรู้ อันเป็นปัญญารู้เห็นความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง บรรดาปัญญาญาณในวิปัสสนาทั้งหลายนั้น มีฐานสำคัญจากการพัฒนาตนมาจาก ศีลบริสุทธิ์และจิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย คือ มีพฤติกรรมงดงามและจิตใจปราศจากนิวรณ์ ที่เรียกว่า จรณะ ๑๕ ซึ่งประกอบด้วยเจริญภาวนา ๓ อย่าง ได้แก่ (๑) กายภาวนา (๒) ศีลภาวนา และ (๓) จิตตภาวนา โดยจำแนกเป็นแนวทางปฏิบัติ ๔ ด้าน นั่นคือ (๑) สีลสัมปทา ๑ (๒) อปัณณกปฏิปทา ๓ (๓) สัทธรรม ๗ และ (๔) ฌาน ๔ ดังนั้น เกณฑ์มาตรฐานั้นนำไปสู่ความเป็นเลิศแห่งสัมโพธะนั้น โยคาวจรทั้งหลายนั้น ต้องรู้เห็นขอบเขตขององค์ความรู้ด้วยปัญญาแตกฉาน ทั้งในด้านประโยชน์ [อัตถปฏิสัมภิทา] และหลักทฤษฎี [ธัมมปฏิสัมภิทา] ปัญญาดังกล่าวนี้ เป็นคุณสมบัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้บรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณ ที่เรียกว่า พระอรหันตขีณาสพ ในบางครั้ง สาธุชนทั้งหลายอาจคิดว่าเป็น สภาวะแห่งพุทธะ ที่ห่างไกลเกินไป ไม่เป็นประโยชน์แก่ปัจจุบันที่กำลังดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม เลยถือโอกาสมอบสิทธิ์ให้แก่ฝ่ายพุทธบริษัทเท่านั้น ที่จะเป็นฝ่ายครอบครองฝ่ายเดียว ทัศนคติที่มักง่ายเพราะด้อยปัญญาเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ละเลยในการปฏิบัติธรรมได้ อันเป็นการเสียโอกาสที่จะทำความดีจนสำเร็จที่สุดรอบแห่งชีวิต ผลของกรรมที่ตามมา คือ ความเป็นชนผู้หลงทิศ ไม่ได้ดีสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม รู้ก็เหมือนกับไม่รู้แจ้ง เห็นก็เหมือนกับไม่เห็นจริง จะดีก็ไม่ได้ดีจริง จะบ้าก็ไม่บ้าจริง สุกๆ ดิบๆ เพราะมีนิสัยไม่เป็นคนจริงจังกับชีวิต พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นเรื่องจริงจังเด็ดขาด ไม่ใช่เรื่องมาทำกันเล่นๆ แล้วถือเป็นจริง ความยากง่ายของการปฏิบัติธรรมนั้น จึงขึ้นกับอุปนิสัยและปัญญาที่ประกอบด้วยเหตุผล [โยนิโสมนสิการ] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถือปฏิบัติตามแนวทางที่ไม่ผิดพลาด ที่เรียกว่า อปัณณกปฏิปทา ๓ ผู้ปฏิบัติตามย่อมเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ได้แก่ อินทรียสังวรโภชเนมัตตัญญุตาชาคริยานุโยค แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรู้เห็นเข้าใจธรรมเป็นอย่างดีแล้ว ก็ต้องมีไหวพริบปฏิภาณประยุกต์ดัดแปลงธรรมนั้นให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิต ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ความรู้แจ้งเห็นจริง [สัมโพธะ] และความรู้แจ้งแทงตลอด [ปฏิเวธ] นั้น เป็นเรื่องของวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในประเด็นของอัตถธรรม คือ พระนิพพาน โดยมีวัตถุประสงค์เป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องและอยู่ในสภาวะอันยอดเยี่ยม [ทัศนะอันเยี่ยมปฏิปทาอันเยี่ยมการหบุดพ้นอันยอดเยี่ยม = อนุตตริยะ ๓] ฉะนั้น วิถีชีวิตที่ดำเนินอยู่จึงต้องมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน ประกอบด้วยศรัทธาและฉันทะที่แรงกล้าอย่างมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ไม่วอกแวกออกนอกลู่นอกทางสายกลางแห่งปัญญา คือ มัชฌิมาปฏิทา เพื่อดำรงอยู่ในกระแสแห่งอริยมรรค ได้แก่ อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘อริยมรรคญาณ ๔ [มรรค ๔] โดยดำเนินชีวิตตามลำดับแห่งไตรสิกขา [ศีลสมาธิปัญญา] ถ้าเป็นฝ่ายปัญญาให้ถือปฏิบัติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ปัญญาศีลสมาธิ นั่นคือ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญา (๓) นำไปสู่ผลด้วยปัญญา คือ เกิดองค์ความรู้ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย นั่นคือ เห็นสภาพแห่งทุกข์และสาเหตุแห่งทุกข์ ด้วย นามรูปปริจเฉทญาณปัจจยปริคคหญาณ ที่เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ธรรมจักษุ กับ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรม นั่นคือ ความรู้แจ้งเห็นจริงอย่างแทงตลอดด้วยสมาธิและปัญญาในวิปัสสนาภูมิ ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘มรรค ๔ นั่นคือ อริยมรรค จนสามารถตรัสรู้ได้ด้วย สัมโพธิญาณ [อาสวักขยญาณ] ฉะนั้น ความรู้แจ้งแทงตลอด [ปฏิเวธ] ทำให้รู้เห็น [ญาณทัสสนะ] ผลแห่งการปฏิบัติตามความมุ่งหมาย นั่นคือ ความแจ้งความสว่างความสงบ ที่เกิดขึ้นในใจ ที่เรียกว่า พระนิพพาน นั่นเอง ซึ่งเป็นสภาวะปราศจากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง นั่นคือ จิตสามารถเสวย วิมุตติสุข ได้ในวิปัสสนาภูมิอันเป็น สัจจภาวะแห่งนิพพาน เพื่อยกระดับจิตใจไปสู่ โลกุตตรภูมิ ตลอดไป อันเป็นภูมิของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ ภูมิของพระอริยเจ้าจึงแตกต่างจากภูมิของปุถุชน ที่เรียกว่า วิวัฏฏะนิพพาน กับ วัฏฏะสังสารทุกข์ หรือ โลกุตตรธรรม กับ โลกียธรรม อีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า จิตของพระอรหันต์เป็นแค่อาการของจิต [กิริยาจิต] ไม่ประกอบด้วย กิเลสกรรมวิบาก เป็น วิวัฏฏะขันธวินิมุต จึงไม่เป็น อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [อุปาทานทุกข์] จิตนั้นย่อมครองอาการด้วย จตุตถฌานกุศลจิต[อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ] อันมั่นคงในการกสร้างกุศลกรรมประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล คือ สติสัมปชัญญะสติปัญญา [ญาณทัสสนะ] ที่รู้แจ้งเห็นจริงสภาวธรรมตามจริงจึงตรัสรู้ได้ [สัมโพธะยถาภูตญาณทัสสนะ] ในทางตรงกันข้าม ปุถุชนทั่วไปจะมั่นคงใน โลกธรรม ๘โลกียธรรมโลกียภูมิ เพราะไม่ประกอบความเพียรด้วยการมนสิการกรรมฐานอย่างสืบเนื่อง อยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ จิตจึงมีนิวรณ์อันเศร้าหมองปราศจาก ฌานญาณ [สมถะวิปัสสนา] จึงไม่เกิดปัญญาประจักษ์แจ้งในธรรมทั้งปวง [อโยนิโสมนสิการ] จึงพิจารณาโลกอย่างบิดเบี้ยวจากความเป็นจริง ไม่สามารถอยู่ใน สันติบท [เสรีธรรมโพธิปักขิยธรรมมรรคภาวนา] ได้ อันเป็นความมืดบอดในชีวิต ไม่ประสบความสุขความเจริญอย่างแท้จริง อยู่กับสิ่งไม่จริง ชีวิตก็เป็นของปลอม วิญญาณก็เป็นของปลอด ตายก็ตายไม่จริง ส่วนการละสังขารของพระอริยเจ้าเป็นการมรณภาพจริง [ชีวิตสมสีสี] ที่เรียกว่า พระปรินิพพาน อันเป็นความสงบอย่างแท้จริง เพราะหยั่งรู้ด้วย ปัญญาญาณแห่งภาวนามยปัญญา ที่ครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะดีแล้วนั้น ถึงประพฤติตนปฏิบัติธรรมโดยไตรสิกขา นั่นคือ (๑) ศีล ด้วยการควบคุมพฤติกรรมทั้งกายและวาจาให้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย (๒) สมาธิ คือ การฝึกอบรมจิตใจปราศจากนิวรณ์และอกุศลธรรมทั้งหลาย และ (๓) ปัญญา เป็นการฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้โดยญาณทัสสนะที่ปราศจากกิเลสทั้งหลาย และทั้งหลายทั้งปวงของการปฏิบัติธรรมนั้น คือ กระบวนการในการดับทุกข์แห่งชีวิตของตนเป็นบรรทัดฐานของการปฏิบัติธรรม.
|