๕๓. ความไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นเหตุให้เสียธรรม The Lack of Temperance Causes the Dhamma Collapse
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
สังคมมนุษย์มีระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือวัฒนธรรมภายในชุมชนของตนแตกต่างกันไป ที่เรียกอีกอย่างว่า การถ่ายทอดความรู้ [Knowledge Transfer] เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์หรือพืชจะไม่มี ระบบการขัดเกลาทางสังคม อย่างเด่นชัดเหมือนมนุษย์ คือ พวกมีพ่อแม่สั่งสอน [สถาบันครอบครัว] ต่อจากนั้น ก็จะเป็นระบบโครงสร้างทางสังคม รับผิดชอบหน้าที่อีกขั้นหนึ่ง คือ สถาบันการศึกษา: โรงเรียนวิทยาลัยมหาวิทยาลัย บทบาทของสถาบันทั้ง ๒ แห่ง นี้ มีของดีอะไรในการนำไปถ่ายทอดให้สมาชิกคนรุ่นต่อไป สำหรับ ของดี ที่ว่านั้น คือ องค์ความรู้ [A Body of Knowledge] ที่สั่งสมกันมาในสังคมท้องถิ่นและจากสังคมอื่นๆ จนถึงจากสังคมทั่วโลกสำหรับสมัยปัจจุบันนี้ ผู้ที่จะสืบทอดเทคโนโลยีได้นั้น จะเป็นเป็นบุคคลที่มีความฉลาดเฉลียว มีไหวพริบปฏิภาณ เป็นล้ำเลิศ จึงจะสำเร็จกิจในการสืบทอด (๑) เจตนารมณ์หรืออุดมการณ์ อันเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม [ความรู้อารยธรรม] และ (๒) สิ่งประดิษฐ์ฝ่ายรูปธรรม [สสารวัตถุ] ฉะนั้น คนรุ่นต่อไปนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มี สติสัมปชัญญะ ดีมาก ประกอบด้วย (๑) ปัญญาWisdom คือ สัมปชัญญะ [สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ = อธิปัญญา] และ (๒) เหตุผลReasoning [Logic] คือ สติ [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ = อธิจิตต์] และประการสำคัญ ต้องเป็นผู้รู้มีธรรมของคนดีประจำใจ นั่นคือ พหูสูตสัตบุรุษปราชญ์เมธี ถ้าเป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า เอกบุรุษมหาบุรุษบรมบุรุษ เป็นต้น บุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมสร้างสรรค์ต่อเติมต่อยอดปัญญาความรู้จากของเก่าดั้งเดิม ให้เจริญงอกงามบริบูรณ์สมบูรณ์ได้ยิ่งขึ้นและไพบูลย์ด้วยอัตถประโยชน์ในกิจการงานต่างๆ ในทางศาสตร์สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับตน เพราะฉะนั้น คนจะดีจะชั่วนั้น ก็ต้องนำมาขัดเกลาที่ สติสัมปชัญญะ ให้เป็นอย่างมีสติ คือ เป็นคนดีมีคุณภาพ หรือให้เป็นอย่างเสียสติ คือ เป็นคนชั่วด้วยคุณภาพ แล้วผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจะเลือกทางเส้นไหน เพื่อจะให้เข้าถึงกระแสแห่งอริยมรรค อันเป็นจุดหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์แห่งการปฏิบัติธรรม.
บทความที่ ๕๓ ประจำปี ๒๕๕๙ ความไม่มีสติสัมปชัญญะเป็นเหตุให้เสียธรรม
ตามคำนิยามของคำว่า สติ [Mindfulness] หมายถึง ความระลึกได้ ความจดจำได้ ความทรงจำ ส่วนคำว่า สัมปชัญญะ [Awareness] หมายถึง ปัญญา ความรอบรู้ ความรู้ตัวด้วยปัญญา เกณฑ์การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล วิจารณญาณ เมื่อบุคคลฝึกอบรมสติมาดีพร้อมแล้ว ย่อมเกิดสติแก่กล้า [อุปัฏฐาน] โดยเฉพาะการฝึกสติใน สติปัฏฐาน ๔ ด้วยการกำหนดสติให้ตามรู้ใน กายเวทนาจิตธรรม [อารมณ์แห่งกรรมฐาน] ว่าสภาวธรรมดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งไม่ใช่ตัวตนบุคคล เป็นเพียงแต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ สภาวธรรมมารวมกันเป็นหน่วยรวมเดียวกัน [Collective Unit] หรือมีสภาพเป็นแค่เพียง ภาพลวงตา [Hallucination] ให้สติเข้าไปยึดเกาะ และกลายเป็นความทุกข์ความเดือด ที่เรียกว่า อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ฉะนั้น (๑) สภาวะแห่งจิตต่างๆ จึงเป็น ธรรมเครื่องระลึกจดจำของสติ ในขณะเดียวกัน กับ (๒) สภาวะแห่งจิตนั้นๆ ก็กลายเป็น ธรรมเครื่องเรียนรู้ของสัมปชัญญะเช่นเดียวกัน และ (๓) สภาวะแห่งจิตนั้นๆ ก็กลายเป็น ปัญญาและความรู้ทักษะสะสมเป็นประสบการณ์ [องค์ความรู้ขุมทรัพย์แห่งปัญญา] และ (๔) กลายเป็น อุปนิสัยประจำตัว [พื้นจิตตสันดาน] ไปในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงนั้น คนส่วนใหญ่นั้น ก็ไม่ได้ฝึกอบรม สติสัมปชัญญะ [Temperance] มาอย่างถูกต้องตามวิธีของพระพุทธเจ้า จึงทำให้เกิดความประมาท [ปมาทะ] ที่เรียกว่า ขาดสติ [Mindlessness] และอยู่ในสภาพที่ หมดความคิด [Thoughtlessness] จึงทำให้เกิดความสะเพร่า ความเพลอเลอ และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถึงแม้จะหมั่นเพียรในการเจริญภาวานามามากก็ตาม เมื่อไม่สำรวมระวังในอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมทำให้เกิด อาการเสียธรรม ได้เสมอ โดยเฉพาะผู้ครองเพศสมณะ ที่เรียกว่า วิบัติ ๔ หมายถึง ความเสียหาย ความบกพร่อง ความใช้ไม่ได้ ได้แก่ (๑) ศีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ (๓) ทิฏฐิวิบัติ (๔) อาชีววิบัติ ซึ่งนำไปสู่ความไม่ละอายบาป และไม่กลัวบาป นั่นคือ อหิริกะอโนตตัปปะ นอกจากนี้ ยังเป็นบุคคลผู้สามารถนำความเดือดร้อนมาสู่สังคมได้ เพราะไม่มี หิริโอตตัปปะ ครอบงำจิตใจตลอดเวลา นั่นคือ ความขาดสติสัมปชัญญะ นั่นเอง เมื่อฝึกอบรม สติ [Mindfulness] ให้แก่กล้าได้ สัมปชัญญะ [Awareness] ก็เกิดความคมชัด ย่อมกลายเป็น ปัญญา [Wisdom] กล่าวคือ สติ ก็กลายเป็น: ทัสสนะ [กายหยั่งเห็นInsight] และ สัมปชัญญะ ก็กลายเป็น: ญาณ [การหยั่งรู้Knowledge] ด้วยการการฝึกอบรมจิตใจให้บรรลุ ฌานสมาบัติ [Absorptions] ที่เรียกว่า ฌาน ๔ โดยเฉพาะ จตุตถฌาน ที่จิตพัฒนาด้วยองค์ฌาน ๒ อย่าง ได้แก่ อุเบกขาเอกัคคตาแห่งสมาธิ [จิตประภัสสรจิตดั้งเดิมตามสภาพธรรมชาติ ปราศจากนิวรณ์] เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะ [Temperance] ในวิปัสสนาภูมิ [สมาธิในวิปัสสนาจิตตัววิปัสสนา] ก็คือ ญาณทัสสนะ [Knowledge and Insight] หมายถึง การหยั่งรู้การหยั่งเห็น
ส่วนในกระบวนการคิด พิจารณาไตร่ตรอง เพ่งกำหนด ตามสภาวธรรมต่างๆ อย่างถูกววิธี ด้วยปัญญาและเหตุผลนั้น เรียกว่า โยนิโสมนสิการ [Analytic Thinking] เพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นสภาวธรรมที่ปรากฏ [เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป] ตามเป็นจริง ที่เรียกว่า ทิพพจักขุญาณยถาภูตญาณธรรมฐิติญาณสัมมาทัสสนะ ซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมตามหลักปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้รู้เห็น: (๑) เหตุแห่งทุกข์ [สมุทยวาร] นั่นคือ อนุโลมปฏิจจสมุปบาท และ (๒) การดับทุกข์ [นิโรธวาร] นั่นคือ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ในสาระประเด็นนี้ ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญใน การะบวนการคิด [Conceptualizations] นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาธรรมด้วยหลัก ปัจจัยธรรม อื่นอีกด้วย นั่นคือ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ [ธรรมในภวจักรหรือสังสารจักร] ด้วย ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ ฉะนั้น การมนสิการกรรมฐาน บ่อยๆ อย่างสืบเนื่องเป็นนิตย์โดย อนุปัสสนา ๗ ย่อมทำให้เกิด ปัญญาญาณในวิปัสสนาภูมิ ตามมา [ปัญญา ๑๐] จนถึงขั้นปัญญาแตกฉาน ที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทา ๔: อัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทานิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยมีลำดับการพัฒนาฝึกอบรมตนให้เกิดปัญญาต่างๆ ได้ [พระอรหันต์ในขั้น ปฏิสัมภิทัปปตะ คือ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสี่] ดังนี้
(๑) ชวนปัญญา ปัญญาเร็ว โดยเจริญ อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง] (๒) นิพเพธิกปัญญา ปัญญาทำลายกิเลส โดยเจริญ ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์] (๓) มหาปัญญา ปัญญามาก โดยเจริญ อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน] (๔) ติกขปัญญา ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์] (๕) วิบูลปัญญา คือ ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา [ดับความกระหายวัฏฏะ] (๖) คัมภีรปัญญา ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส] (๗) อัสสามันตปัญญา ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน] (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน โดยเจริญ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา] (๙) ปุถุปัญญา ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] (๑๐) หาสปัญญา ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ]
เพราะฉะนั้น ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติธรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จะเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม สติสัมปชัญญะ เสมอ พร้อมด้วยอานิสงส์ของการเจริญ สมาธิภาวนา อีก ๓ อย่าง นอกจาก สติสัมปชัญญะ ได้แก่ (๑) ญาณทัสสนะการหยั่งรู้เห็น (๒) อาสวักขยญาณความตรัสรู้ และ (๓) ทิฏฐธรรมสุขวิหาร การอยู่เป็นสุขในขณะปัจจุบัน เมื่อมี สติสัมปชัญญะ แกร่งคมชัด [อุปัฏฐานญาณ] เป็น สติปัญญา [ปัญญาญาณในภาวนากรรมฐาน] แล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมได้อานิสงส์เช่นนั้น ย่อมดำรงตนอยู่ด้วย ความไม่ประมาท [อปปมาทะ] ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น สติสัมปชัญญะ จะทำหน้าที่กลั่นกรองและยับยั้งความนึกคิดระหว่างกุศลธรรมกับอกุศลธรรม นั่นคือ เป็นจิตตัววิจารณญาณ จิตสำนึก หรือ มโนธรรม อนึ่ง ใน กระบวนการขัดเกลาทางสังคม [Socializations] นั้น การฝึกอบรมจิตตัวเป็น สติสัมปชัญญะ พร้อมด้วยการฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้รู้ประจักษ์แจ้งด้วย ญาณทัสสนะ ทั้งความหมายและเหตุผลโดย โยนิโสมนสิการ [ทิพพจักขุญาณ] เพื่อให้พิจารณาโจทย์ชีวิตพื้นฐานของชีวิตนั้น คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [อุปาทานทุกข์] อันเป็นสภาพแห่งทุกข์ของทุกคน โดยบุคคลต้องกำหนด สติสัมปชัญญะ ให้ตามพิจารณาสภาวธรรมดังกล่าวนี้ ให้รู้แจ้งเห็นจริงให้ได้ว่า ทุกข์นั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง [ทุกขสัจจ์] ต่อไปก็ฝึกอบมให้กำหนดรู้สาเหตุของทุกข์ทั้งหลายนั้น เกิดจากอะไรเป็นเหตุ [สมุทัยสัจจ์] และกำหนดรู้ความจริงของสภาวะปราศจากทุกข์นั้น ทำอย่างไร [นิโรธสัจจ์] แล้วค่อยคิดหาแนวทางในการดับทุกข์นั้นๆ [มรรคสัจจ์] ดังนั้น คำว่า กองทุกข์แห่งชีวิต ก็คือ ธรรมในวิปัสสนาภูมิ ต่อไปนี้ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒ ส่วนปัญญารู้แจ้งในเรื่องนี้ดี คือ อริยสัจจ์ ๔ หลักธรรมที่กำหนดรู้สาเหตุแห่งกองทุกข์ในชีวิต คือ ปัจจัยธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ (๑) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ [อนุโลมปฏิจจสมุปบาท กับ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท] และ (๒) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ [อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ รวมทั้ง กฎแห่งกรรมกฎแห่งวิบากกรรมกฎแห่งกรรมของสัตว์] ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฉะนั้น ในบรรดาธรรมทั้งหมดนี้ เรียกว่า วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ และความรู้ประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาและเหตุผลโดย สติสัมปชัญญะ นั้น จึงเป็นแก่นพื้นฐานของการปฏิบัติธรรมทั้งปวง ถ้าไม่รู้แจ้งเห็นจริง [ญาณทัสสนะ] ในเรื่องนี้แล้ว มักทำให้บุคคลหลงทางในเป้าหมายในการดับกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง ไม่เห็นอัตถธรรมอันเป็นประโยชน์ภายหน้าที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงโดยปรมัตถ์ [ปรมัตถะประโยชน์สูงสุด] ที่เรียกว่า นิพพาน [Nirvana] ไม่อดทนไม่หมั่นเพียรจริงเพื่อเรื่องนี้จนถึงที่สุด คือ ทำได้ไม่ถึงที่สุดแห่งปรมัตถ์เพื่อบรรลุถึง โลกุตตรธรรม ๙ [มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] ดังนั้น ความเข้าใจอย่างถูกต้องในระบบโครงสร้างของการปฏิบัติธรรมนั้น จึงเป็นเรื่องการเห็นที่ยอดเยี่ยม [ทัสสนานุตตริยะ] คือ ปัญญาเห็นธรรม ปัญญาตรัสรู้ธรรม เห็นนิพพาน หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ จากนั้นกำหนดรู้เห็นแนวทางปฏิบัติอันเยี่ยม [ปฏิปทานุตตริยะ] คือ อริยมรรค [อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘โลกุตตรมรรค ๔] แล้วกำหนดรู้ความหลุดพ้นอันเยี่ยม [วิมุตตานุตตริยะ] ถึงความเป็นอรหันต์ ได้แก่ โลกุตตรผล ๔ [สัมมาญาณ] กับ อรหัตตผลวิมุตติ [สัมมาวิมุตติ] เพราะฉะนั้น สภาวะอันถูกต้องแหงการหลุดพ้นนั้น เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๑๐สัมมัตตะ ๑๐อเสขธรรม ๑๐ ซึ่งประกอบด้วย (๑) อริยมรรคมีองค์ ๘โลกุตตรมรรคสมุจเฉทนิโรธ คือ ดับกิเลสด้วยตัดขาดเสร็จสิ้นเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค (๒) สัมมาญาณโลกุตตรผลปฏิปัสสัทธินิโรธ คือ ดับด้วยสงบระงับ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้วบรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก และ (๓) สัมมาวิมุตติอรหัตตผลวิมุตตินิสสรณนิโรธ คือ ดับด้วยสลัดออกได้ ดับด้วยปลอดโปร่งไป ดับกิเลสสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้น คือ อมตธาตุนิพพานบรมธรรม [วิวัฏฏะขันธวินิมุต] คือ มีปรึชาสามารถเข้าถึง สันติบทแห่งนิพพาน [มรรคภาวนา] ได้ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้พัฒนาตนจน สติสัมปชัญญะ มีความแก่กล้าคมชัดถึงขั้นนี้ [อุปัฏฐานญาณ: อาตาปีสัมปชาโนสติมา = สัมมาวายามะสัมมาสติ] ย่อมรู้ดีรู้ชั่ว เกิดศรัทธาปสาทะเชื่อมั่นใน (๑) กฎแห่งกรรม (๒) ผลแห่งกรรม (๓) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน และ (๔) ความตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ได้ด้วย ทิพพจักขุญาณ อันสัมพันธ์กันในปัจจัยธรรมทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ จิตจึงประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล โดยการรู้อย่างเท่าทันผลวิบากของกิเลสที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ประกอบกรรมอย่างขาดสติหรือเสียสติ [อกุศลมูล ๓:โลภะโทสะโมหะ] อันเป็นเหตุให้ลุถึงวิปลาสและอคติ คือ เกิดความเห็นถือผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงจนถึงขั้นวิบัติ ได้แก่ ทุศีลประพฤติไม่งามผิดธรรมผิดวินัยเลี้ยงชีพในทางที่ผิด ทั้งหมดนี้ เรียกว่า อาการเสียธรรม ยกตัวอย่างประกอบ เช่น แทนที่จะสนับสนุนคนดีให้พ้นทุกข์ กลับไปช่วยคนชั่วให้มีโอกาสทำชั่วได้มากยิ่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว กลัวชาวบ้านจะฉิบหายน้อยไป [อรติปฏิฆะโทสะ = ความไม่ยินดี ความขัดเคืองใจ ไม่ประสงค์ดี เรียกว่า นิวรณ์ อีกอย่างหนึ่ง] เพราะขบคิดได้ไม่ละเอียดเพียงพอ คนชั่วฉลาดมากกว่า เลยมากินบุญของตนไปหน้าด้านๆ หรือมิฉะนั้น ก็ประมาณไม่ถูกว่า อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ให้เหมาะกับกาลเทศะ เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่า สติสัมปชัญญะ คือ ความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมโดยไม่ประมาทนั้น ด้วยรู้ถึงโดยปัญญาและเหตุผล ซึ่งจะมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรมตั้งแต่ต้นจนถึงการบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณ จึงพึงสำรวมระวังในเรื่องให้ดีด้วย สังวร ๕ นั่นคือ ความสำรวมเป็นศีล ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรสติสังวรญาณสังวรขันติสังวรวิริยสังวร ก็พากันทำให้ได้น่ะ ด้วยประการฉะนี้.
|