๕๕. มูลเหตุปัจจัยแห่งวิริยารัมภะและอุปสมะ The Essential Causes of Energetic Effort and Peace
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
พระพุทธศาสนาจำแนกชีวิตออกเป็น ๒ คติ ได้แก่ (๑) การเลือกชีวิตในโลกียภูมิ สูงสุดคือ ความเป็นปราชญ์ กับ (๒) การแสวงหาชีวิตในโลกุตตรภูมิ สูงสุดคือ พระอรหันต์ ฉะนั้น ผู้เจริญแล้วย่อมพิจารณาเห็นความงดงามแห่งวิถีชีวิตที่ควรจะเป็นตามกำหนดแห่งธรรมดา คือ เป็นธรรมชาติที่เหมาะควรโดยปรมัตถ์ หรือเป็นประโยชน์สูงสุด นั่นคือ ความสงบสูงราบรื่นในชีวิตอุปสมะ ด้วยการประกอบความเพียรตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า วิริยารัมภะ หรือ ชาคริยานุโยค หมายถึง การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียร ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป เพราะฉะนั้น อะไรคือเหตุปัจจัยให้สาธุชนทั้งหลายหันมาสนใจในการปฏิบัติธรรม ถ้าไม่ใช่มีเหตุชักจูงใจอย่างจริงจังในชีวิต คือ เกิดปัญญาเห็นธรรม ที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ คำว่า ธรรม ในที่นี่ หมายถึง ธรรมชาติแห่งชีวิตที่เป็นจริงกฎธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม มนุษย์ย่อมไม่ชอบอยู่ภายใต้แรงกดดันของสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ที่เรียกว่า ทุกข์ความเดือดร้อน หรือ สังสารทุกข์ เพราะต้องไปเกาะเกี่ยวอยู่บางสิ่งบางอย่าง เมื่อไม่ได้ดังใจปรารถนา ย่อมเกิดความทุกข์กายและใจขึ้น อาการลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เมื่อมนุษย์มีความเบื่อหน่ายและทุกข์ทรมานไม่เป็นสุข ย่อมปรารถนาจะหนีจากสภาพแห่งทุกข์เช่นนั้น อย่างในชีวิต จะพบสิ่งที่เรียกว่า นิมิต อันได้แก่ ความไม่เที่ยงของร่างกาย เช่น เกิดแก่เจ็บตาย ร่างกายของคนเราไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และต้องแตกสลายไป คือ ตายเป็นที่สุดจะหนีพ้นไม่ได้แม้แต่คนเดียว เพราะฉะนั้น ความสงบ จึงเป็นสถานที่ที่พึงปรารถนาจะหนีจากความวุ่นวายเดือดร้อนทั้งทางกายและใจ แต่ต้องประกอบความเพียรแห่ง วิริยารัมภะ เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสที่อยู่ในใจของตนเองด้วย จนกว่าจะเข้าถึงคุณอันใหญ่แห่งโลกุตตรธรรม.
บทความที่ ๕๕ ประจำปี ๒๕๕๙ มูลเหตุปัจจัยแห่งวิริยารัมภะและอุปสมะ
มูลเหตุปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดศรัทธาและฉันทะอย่างแรงกล้าในพระศาสนาได้นั้น ย่อมเกิดจากความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับสภาพความทุกข์ในชีวิต ที่บุคคลนั้นได้เผชิญโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ทางกาย [กายิกทุกข์] หรือ ทุกข์ทางใจ [เจตสิกทุกข์] อันเรียกว่า ความเดือดร้อนวิปฏิสาร ก็ตาม เมื่อเกิดการผจญกับความทุกข์ในลักษณะอาการต่างๆ มากมายนั้น ย่อมเป็นธรรมดาที่ทุกคนก็ต้องพิจารณาใคร่ครวญหาทางออกที่ดีที่สุด เพื่อดับสาเหตุของทุกข์และตัวทุกข์จริงๆ ให้หมดสิ้นไป แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตแบบปุถุชนทั่วไป ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สังสารทุกข์ [ทุกข์และสุขที่เกิดสลัดกันไปตามกระแสแห่งโลกธรรมตามกำหนดแห่งธรรมดา] หรือเป็นไปตาม ปัจจัยธรรมแห่งวัฏฏะในสังสารจักร [กิเลสกรรมวิบาก โดยมีมูลเหตุเกิดจาก อวิชชาตัณหา] การเผชิญกับความทุกข์ไม่สิ้นสุด ย่อมเกิด ปัญญาเห็นธรรม [The Eye of Truths] ได้ เพราะต้องการหบุดพ้นจากเหล่ากิเลเครื่องพันธนาการข้อเกี่ยวทั้งหลาย อันประกอบด้วยทุกข์ ดังเช่น (๑) เห็นการเกิดดับของสังขาร [ความนึกคิด] (๒) เห็นความสลายไปแห่งสังขาร (๓) ความเป็นของน่ากลัว (๔) ความคำนึงเห็นโทษ (๕) ความเบื่อหน่ายสิ้นเชิงไม่เพลิดเพลินติดใจ (๖) ความอยากพ้นหนีไป (๗) ความนึกคิดเห็นสังขารตามไตรลักษณ์ [อนิจจังทุกขังอนัตตา] (๘) ความปล่อยว่างเป็นกลางต่อสังขารนั้นๆ และ (๙) ความรู้คล้อยตามความจริงอันสัจจธรรมแห่งอริยสัจจ์ ๔ ดังนี้ เป็นต้น [กระบวนการคิดเพื่อดับขันธ์อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ = การทุบขันธ์ ๕ ด้วยการเจริญ วิปัสสนาญาณ ๙ ก่อนข้ามโคตรไปความเป็นอริยบุคคลในโสดาปัตติมรรค คือ ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ นั่นเอง] ซึ่งเป็นแนวคิดใน การทุบอุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ขอยึดมั่นถือมั่นให้เกิดทุกข์ บุคคลผู้จะคิดพิจารณาเห็นความจริงดังกล่าวนี้ได้ ต้องอาศัยเวลมากน้อยแตกต่างกันไป [การเห็นนามรูปตามสามัญลักษณะแห่งไตรลักษณ์] ต่อจากนั้น จึงเกิดแรงดลบันดาลใจอยากปฏิบัติธรรม คนที่จะเห็นทุกข์เป็นทุกข์ได้นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจกินเวลาถึงช่วงปลายของชีวิตเลยก็ได้ กว่าจะหันหน้าสู่เส้นทางแห่งอริยมรรค ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเอาใจไปเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆ [อินทรีย์ ๖อารมณ์ ๖ = อายตนะ ๑๒] แล้วเกิดอาการฟุ้งซ่าน [อุทธัจจะ] มีความปรารถนาแห่ง สัญเจตนา เข้าไปปรุงแต่งความนึกคิดสังขารทั้งหลาย ให้เกิด กรรมภพ [กรรม ๔ ทั้งอกุศลและกุศล] และทำให้เกิด อุปปัตติภพ ชาติ ชรา พยาธิ โสกะ และสังกิเลสทั้งหลาย โดยรวมแล้ว เรียกว่า ทุกข์ทุกขตา หรือความเวียนว่ายตายเกิดแห่งชีวิตสันตติใน ทุกคติสังสารทุกข์ [กามาวจรภูมิรูปาวจรภูมิอรูปาวจรภูมิ] ฉะนั้น การพิจารณาเห็น ชีวิตสันตติ ตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย [ปัจจัยธรรมปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖] นั้น ทำให้เกิดปัญญาเห็นความจริงแห่งธรรมหรือสภาวธรรมทั้งหลาย [อาณาจักรแห่งธรรมธรรมจักร] ที่เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ [ทิพพจักขุญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) อนัญญาตัญญัสสมีตินทรีย์ (ข้อ ๒๐ ในอินทรีย์ ๒๒) โสดาปัตติมรรค (ข้อ ๑ ในมรรค ๔)] ดังนั้น จิตเริ่มมีอาการแห่งการดื่มด่ำในธรรม (ธรรมปีติ) มีความเข้าใจรับรู้เรื่อง กฎแห่งกรรมกฎแห่งวิบากกรรมกฎแห่งกรรมของสัตว์ (กัมมัสสกตา) ว่ามีมูลเหตุเกิดจากกิเลสอวิชชาและกิเลสตัณหา [มูล ๒] แล้วเห็นเหตุให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [อุปาทานทุกข์] ดังนั้น ผู้รู้ที่เรียกว่า วิญญูชน นั้น ย่อมพิจารณาธรรมจากสภาพแวดล้อมในชีวิตจริงได้ด้วยปัญญาและเหตุผลตามหลักปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตา ที่เรียกว่า นิมิต ๔ ได้แก่ (๑) ชิณณะคนแก่ (๒) พยาธิตะอาพาธิกะคนเจ็บ (๓) กาลกตะมตะคนตาย (๔) ปัพพชิตะนักบวช องค์ประกอบปัจจัยธรรมที่สำคัญ นั่นคือ ชรามรณะ [ธรรมสังเวชแห่งมรณสติภาวนา] ที่ทำให้เกิด เนกขัมมวิตก หมายถึง ความตรึกปลดจากกาม แล้วเกิด มรณสติ [มรณสติกรรมฐาน] คือ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาที่จะให้เกิดความไม่ประมาท [อัปปมาทะ] ในการใช้ปัญญาและการใช้ชีวิต ทำให้เสียดายเวลาชีวิตที่ต้องสละให้แก่การปฏิบัติธรรมด้วย วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร [ละชั่วทำดี] พร้อมด้วยระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ [อุปสมะวิเวกปวิเวกวิราคะนิโรธนิพพาน] โดยระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์ ที่เรียกว่า อุปสมานุสติ [อุปสมะ] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้รู้ย่อมประกอบความตื่นด้วยความไม่ประมาทพระธรรมและชีวิต เพื่อสร้างบุญกุศลในการปฏิบัติธรรมบูชา [ชาคริยานุโยค] หรือเพื่อจะสร้างบุญกุศลทั้งหลาย [กุสลธัมมานุโยค] ความถึงพร้อมแห่งศีล [สีลสัมปทา] ความถึงพร้อมแห่งฉันทะความพอใจสร้างสรรค์ [ฉันทสัมปทา] ความถึงพร้อมแห่งตน คือ มีจิตใจพัฒนาเต็มที่แล้วด้วยการเจริญภาวนา จนกลายเป็นอรหันต์ ภาวิตัตต์ [อัตตสัมปทา] ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิในหลักธรรม [ทิฏฐิสัมปทา] และความถึงพร้อมแห่งโยนิโสมนสิการอันเป็นการคิดถูกวิธีด้วยปัญญาและเหตุผล [โยนิโสมนสิการสัมปทา] ก็กล่าวโดยย่อ คือ บุคคลผู้มีสัญญาณว่าจะเข้าถึงการดำเนินชีวิตตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง ฉะนั้น วิริยะวิริยารัมภะ มีนัยสำคัญถึง (๑) สัมมาวายามะ คือ ปธาน ๔สัมมัปปธาน ๔: สังวรปหานภาวนาอนุรักข์ (๒) สัมมาสติ คือ สติปัฏฐาน ๔ และ (๓) สัมมาสมาธิ คือ ฌาน ๔ หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตใจให้เกิดความสงบแห่งอุปสมะ ปราศจากนิวรณ์ จนจิตพัฒนายกระดับถึง จิตประภัสสร [อัปปนาสมาธิสมาธิอย่างแน่วแน่ตั้งมั่นสนิทอยู่ในอารมณ์เดียว] ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) อุเบกขา กับ (๒) เอกัคคตาแห่งสมาธิ สำหรับ สัมมาสติ นั้น คือ จิตตัวผู้วิปัสสนาอันเป็นสมาธิในวิปัสสนา โดยทำหน้าที่พิจารณาไตรตรองอารมณ์แห่งกรรมฐาน [กรรมฐาน ๔๐] ที่ทำให้เกิดปัญญาด้วยการเจริญอนุปัสสนากรรมฐาน พร้อมการกำหนดสติตามระลึกใคร่ครวญในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วกำหนดสติตามพิจารณาด้วย อนัตตานุปัสสนากรรมฐาน โดยให้นึกคิดว่า กายเวทนาจิตธรรม นี้ สักว่าเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนเรา [เป็นภาวะแห่งความว่างเปล่าอยู่ในจิต] นอกจากนี้ เมื่อจิตอยู่ในสมาธิย่อมสามารถวางเฉยต่ออารมณ์แห่งกรรมฐานนั้น เพราะมีสติสัมปชัญญะอันเป็นการระลึกรู้ได้ด้วยปัญญาตามเป็นจริง และมีสติสัมปชัญญะอันคมชัดและแก่กล้าเป็นปัญญาญาณหรือภาวนามยปัญญาจนเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย จึงเกิดความสบราบรื่นทั้งกายและใจ สามารถเข้าถึงแกระแสแห่งนิพพานได้ในที่สุด ด้วยการบรรลุธรรมถึงในฝ่ายสมถะแห่งความรู้แจ้งความรู้วิเศษ นั่นคือ วิชชา ๓ [วิชชา ๘อภิญญา ๖] และในฝ่ายวิปัสสนา ก็สามารถบรรลุถึง ญาณ ๑๖โสฬสญาณ นั่นเอง ประการสำคัญนั้น ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องประกอบด้วย ๒ องค์ประกอบ ได้แก่ (๑) จิตที่เป็น อธิจิตต์ และ (๒) ปัญญาที่เป็น อธิปัญญา นั่นคือ (๑) จตุตถฌาน กับ (๒) วิปัสสนาญาณ ๗วิปัสสนาภูมิ ๗ปัญญาภูมิ ๗ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ องค์ประกอบทั้ง ๒ ฝ่าย นี้ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนความตรัสรู้ [โพชฌงค์ ๗: สติธัมมวิจยะวิริยะปีติปัสสัทธิสมาธิอุเบกขา] ที่เรียกว่า ปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธิญาณอาสวักขยญาณ] ด้วยหลักความจริงอันประเสริฐที่ทำให้กลายเป็นอริยยุคคล ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ [ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค] อันเป็นสมุฏฐานสำคัญทำให้เข้าถึง โลกุตตรธรรม ๙ ได้แก่ อริยมรรค ๔อริยผล ๔นิพพาน ๑ เพราะฉะนั้น ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม ย่อมหมายถึง การค้นหาความจริงโดยปรมัตถ์ โดยมีสมุฏฐานแห่งเหตุผลอยู่ที่ อริยสัจจ์ ๔ อันเป็นแนวทางสายกลายแห่งปัญญา คือ หลักมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยการดับกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวงด้วยสมาธิและปัญญา นั่นเอง.
|