๕๗. ลมหายใจแห่งอานาปานสติกับปัญญาเห็นธรรม The Mindfulness of InandOut Breathing and the Eye of Truths
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในการดำเนินชีวิตทุกช่วงขณะนั้น มนุษย์เป็นอินทรีย์ชีวิตบนโลกนี้ ผู้ที่อาศัยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก [อัสสาสะปัสสาสะ] เพื่อดำเนินชีวิตตามอายุขัยของแต่ละคน กระแสลมหายใจทำให้มีชีวิตอยู่ได้ และจิตวิญญาณก็ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ ฉะนั้น ตัวลมหายใจจึงเป็นตัวแทนของ รูปธรรม [กายร่างกาย] ที่อยู่ใกล้ที่สุดกับ นามธรรม [จิตใจวิญญาณ] ที่ผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาต้องพยายามแยกรูปธรรมออกจากนานธรรมให้ได้ [ปุพเพนิวาสานุสติญาณนามรูปปริจเฉทญาณ = ขั้นกำหนดรู้ทุกข์สัจจ์ทิฏฐิวิสุทธิ] ในการพิจารณาลักษณะกองลมหายใจที่เกิดขึ้นในทุกขณะนั้น ก็คือ การพิจารณาไตร่ตรองถึงร่างกายสรีระส่วนที่ละเอียดที่สุดของชีวิต จนเกิดปัญญาเห็นลักษณะความไม่เที่ยง ความแปรปรวนเป็นทุกข์ และความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ที่ตนจะต้องไปยึดมั่นเป็นตัวตน ธรรมทั้งหลายแห่งปัจจัยปรุงแต่งขึ้น [สังขตะสังขตธรรม] ต่างก็มีคุณสมบัติเป็นเช่นนี้ๆ ตลอดไป จึงเป็นปัญญาอันยิ่งที่ทำลาย (๑) วิปลาสนิมิตแห่งนิจจสัญญา ด้วย อนิจจสัญญา (๒) ตัณหาปณิธิแห่งสุขสัญญา ด้วย ทุกขสัญญา และ (๓) อัตตาภินิเวสแห่งอัตตสัญญา ด้วย อนัตตาสัญญา ในขณะที่เจริญอานาปานสติใน ๔ ฐาน ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตามลำดับ ดังนั้น การเรียนรู้และศึกษาลักษณะลมหายใจแห่งอัสสาสะและปัสสาสะนั้น จึงเป็นขั้นตอนการมนสิการกรรมฐานที่สำคัญยิ่งอันต้องเจริญภาวนาอยู่เนืองๆ เพื่อให้เกิดปัญญารอบรู้หรือปัญญาเห็นธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง นั้นคือ เบญจขันธ์ขันธ์ ๕ [อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒] ด้วยการเจริญอธิปัญญาแห่ง สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ [ทิพพจักขุญาณ] ซึ่งเป็นเหตุให้เห็นนามรูปแห่งขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์ [สัมมสนญาณ] ในอันดับต่อไปแห่งการตรัสรู้ [สัมโพธะ] ธรรมทั้งปวงจนถึงนิพพานได้ในที่สุดแห่งการปฏิบัติธรรมของตน.
บทความที่ ๕๗ ประจำปี ๒๕๕๙ ลมหายใจแห่งอานาปานสติกับปัญญาเห็นธรรม
มนุษย์อาศัยลมหายใจหล่อเลี้ยงร่างกายด้วยออกซิเจนและนำขยะชีวิตออกจากร่างกาย นั่นคือ คาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าไปถามชาวบ้านทั่วไป ก็จะตอบได้ชัด คือ หมดลมหายใจแปลว่า ตาย หรือ หายใจแรงมีเสียงดัง แปลว่า โกรธ หายใจเบาลงมีเหงื่อยางตายชุ่มตัว แปลว่า ต้องให้สั่งลาได้แล้ว ให้ญาติๆ มาดูใจครั้งสุดท้าย แต่ถ้าหายใจอย่างละเอียดเบาจนถึงขั้นแทรกซึมเข้าออกทุกอณูเซลล์ได้ แปลว่า กำลังเข้าฌานสมาบัติ ถึงขั้นเป็นเอกัคคตาแห่งสมาธิขั้นใดขั้นหนึ่งได้อย่างแน่นอน ดังนั้น กระแสลมหายอย่างสุดท้ายนี้ เป็นที่ปรารถนาของผู้ปฏิบัติธรรมที่สามารถบรรลุถึงอธิจิตตสิกขาได้ นั่นคือ ได้ฝึกอบรมจิตโดยชอบประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ได้แก่ (๑) สัมมาวายามะสัมมัปปธาน ๔ (๒) สัมมาสติสติปัฏฐาน ๔ (๓) สัมมาสมาธิฌาน ๔ ส่วนฌานสมาบัติที่เข้าถึงนั้น ได้แก่ รูปฌาน ๔อรูปฌาน ๔นิโรธสมาบัติ ๑ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมสามารถบรรลุถึงธรรมวิเศษนี้ได้อย่างแน่นอน และอานิสงส์จากฌานสมาบัตินั้น เช่น ญาณในวิปัสสนา [ญาณ ๑๖] วิชชา ๓อภิญญา ๖ปฏิสัมภิทา ๔ ทุกขั้นตอนเกิดจากการเจริญภาวนากรรมฐานที่เปลี่ยนความเป็นปุถุชนกลายเป็นอรหันต์ได้ใน ๔ ประเภท ดังกล่าวนั้น กล่าวโดยสรุป ความสำเร็จในการบรรลุธรรมทุกอย่างนั้น มี ลมหายใจแห่งอานาปานสติ เป็นบาทฐานสำคัญ เพียงแต่ว่า พุทธศาสนิกจะมีกำลังปัญญาอันถูกต้องกำหนดรู้ประโยชน์สูงสุดนี้ได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงแสดงสัจจธรรมในเรื่องนี้แก่มวลมนุษยชาติไว้อย่างชัดเจน ดังปรากฏอยู่ในธรรมคุณทั้ง ๖ ประการ ได้แก่ (๑) สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (๒) สนฺทิฏฺฐิโก (๓) อกาลิโก (๔) เอหิปสิโก (๕) โอปนยิโก (๖) ปัจฺจตฺตํ เวฑิตพฺโพ วิญฺญูหิ พระธรรมคุณทั้ง ๖ อย่าง ดังกล่าวนี้ มีปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์จริงกับผู้ประพฤติปฏิบัติตามจริง เสาหลักของพระธรรมนั้น เริ่มต้นจากความเชื่อความศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ที่พิจารณาธรรมหรือสภาวะแห่งจิตตามเป็นจริง หรือ สัจจธรรม อันเป็นความจริงที่เป็นไปตาม กฎธรรมชาติ นั่นคือ อริยสัจจธรรม หรือ หลักธรรมอันเป็นสากล [สามัญลักษณะแห่งไตรลักษณ์ธรรมนิยาม ๓] คำว่า อริยสัจจธรรม นั้น ก็คือ อริยสัจจ์ ๔ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ อันเป็นความรู้แจ้งหรือปัญญาหยั่งรู้ที่พิจารณากำหนดรู้แนวทางในการดับทุกข์อย่างมีระบบระเบียบอันเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ (๑) กำหนดรู้ทุกข์หรือปัญหาปริญญา (๒) กำหนดรู้สาเหตุแห่งทุกข์ปหานะ (๓) กำหนดรู้สภาพปราศจากทุกขสัจจิกิริยา (๔) กำหนดรู้แนวทางดับทุกข์ภาวนา กล่าวโดยสรุป คือ (๑) ทุกข์ทุกขสัจจ์ทุกขอริยสัจจ์ (๒) สมุทัยสมุทัยสัจจ์ทุกขสมุทัยอรยิสัจจ์ (๓) นิโรธนิโรธสัจจ์ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ (๔) มรรคมรรคสัจจ์ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ ความจริงอันประเสริฐนี้ ทำให้ดับทุกข์ได้ จนสามารถเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้จริง ดังเช่น พระพุทธเจ้าทรงทดลองและพิสูจน์ จนกระทั่งสามารถบรรลุถึง ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ [สัมโพธะ] มาแล้วนั้น ฉะนั้น ความเป็นผู้เรียนมากรู้มาก [พหูสูตพาหุสัจจะ นั่นคือ ปัญญาหางอึ่งไม่สามารถตรัสรู้ได้เลย] นั้น ย่อมทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง นั่นคือ สัมมาทิฏฐิ และทำให้กำหนดรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง หรือมีดำริคิดทำในทางที่ถูกต้อง คือ สัมมาสังกัปปะ เป็นไปตามทางดำเนินข้อปฏิบัติแห่งมรรคาใน อริยมรรคมีองค์ ๘ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะบรรลุความสำเร็จได้ บุคคลนั้นต้องมีชีวิตอยู่จนกว่าจะประสบความสำเร็จ นั่นคือ ต้องมีลมหายใจแห่งชีวิต และยังต้องเอาชนะ อุปสรรคแห่งมัจจุมาร ได้ให้มีชีวิตอยู่ทำความดี ฉะนั้น ลมหายใจคือต้นทุนสามัญของชีวิต พระพุทธเจ้าให้ใช้สติกำหนดรู้และตามพิจารณาลักษณะของลมหายใจอยู่เนืองๆ เป็นนิตย์ แล้วหาความสัมพันธ์กับสภาวะแห่งจิตในขณะนั้น นั่นคือ จิตมีสภาพเป็นอย่างไร ลักษณะลมหายใจเป็นตัวแสดงอาการเช่นนั้นเหมือนกัน จิตเป็นนายของร่างกาย หรืออีกอย่างหนึ่ง คือ มโนกรรม ทำหน้าที่ควบคุม กายกรรม และ วจีกรรม ไม่ว่าจะเป็นจิตฝ่ายดีหรือชั่วก็ตาม นั่นคือ สุจริต ๓ทุจริต ๓ ซึ่งมีลักษณะลมหายใจเป็นตัวแทนของอาการของจิตที่เปลี่ยนแปลงหรือปวัตติไปในแต่ละขณะจิต โดยแสดงอาการ ดังนี้ จุติปฏิสนธิภวังคะตกภวังค์ หมุนเวียนเช่นนี้ตลอดเวลา [วิญญาณกิจ ๑๔] ในระหว่างจิตแปรปรวนไปจาก ภวังคจิต กลายเป็น วิถีจิต นั้น ย่อมมีลมหายใจประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพียงแต่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่กำหนดรู้เองเท่านั้น ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกถือเป็น รูปธรรม ที่ละเอียดที่สุดอันเป็น กายสังขาร [อัสสาสะกับปัสสาสะ] ที่มีเขตพรหมแดนกั้นด้วย วจีสังขาร [วิตกวิจาร] กับ จิตตสังขาร [สัญญาเวทนา] นั่นคือ วจีสังขารกับจิตตสังขาร คือ เจตสิก ทำหน้าแสดงอาการลักษณะของจิต [วิญญาณ ๖] จิตที่หน้ากำหนดรู้ คือ สติสัมปชัญญะ [Temperanceสัมมาสติสติปัฏฐาน ๔] เป็นสติแห่งจิตในสมาธิและเป็นตัวกำหนดรู้โดย ญาณทัสสนะ [สัมมาสมาธิรูปฌาน ๔] ปัญญาที่เกิดขึ้นในระหว่างกำหนดรู้และพิจารณา เรียกว่า อนุปัสสนา [โดยเฉพาะ อนุปัสสนา ๗] ฉะนั้น ในการเจริญอานาปานสตินั้น ให้ใช้ธรรม ๑๖ ฐานอาการ ที่สอดคล้องกับหลักธรรม สติปัฏฐาน ๔มหาสติปัฏฐานสูตร ได้แก่ (๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๔ (๒) เวทนานุปัสสนสติปัฏฐาน ๔ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๔ (๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๔ โดยลงความเห็นข้อสรุปว่า สภาวธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้นต่างอาศัยกันทั้งหลายนั้น สักว่าเป็นสภาวธรรมนั้นๆ ไม่ใช่สัตว์บุคคลเราเขา [อนัตตานุปัสสนา] โดยมีจุดหมายเพื่อสนับสนุนความเข้าที่ถูกต้องในการวิปัสสนาสภาวธรรมอย่างเช่น อนัตตาสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา ๑ [ความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง ๑ ความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ๑ ความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ๑] เป็นต้น ทั้งหมดก็เริ่มต้นที่ อานาปานสติ (ข้อ ๑ ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ด้วย) ฉะนั้น เมื่อ หายใจเข้า หายใจออก ก็กำหนดรู้อาการลักษณะของจิตว่าเป็นเช่นใด แล้วถอนความยึดมั่นในสภาวะแห่งนั้นๆ อันจะทำให้เกิด ทุกข์อุปาทานทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ แต่ต้องมี สติสัมปชัญญะ ที่ทำหน้าที่ระลึกได้และรู้ตัวทั่วถ้วน ว่าอะไรเป็นประโยชน์และอะไรไม่เป็นประโยชน์ สภาวะแห่งจิตดังกล่าวนั้น เรียกว่า สังขตธรรม เป็นฝ่ายโลกียธรรม คือ สังสารทุกข์แห่งภวจักร เพราะฉะนั้น ในการเจริญอานาปานสตินั้น ทำให้เกิดสติดำรงมั่น เกิดปัญญารอบรู้ขณะที่จิตกลายเป็นสมาธิ ทำให้รู้อย่างเท่าทันกิเลสที่ครอบงำจิตใจของตนได้ และคิดหาแนวทางกำจัดสงบระงับกิเลสเหล่านั้น [อวิชชาตัณหา] จึงเป็นการดับทุกข์ในเวลาเดียวกัน การคิดหาแนวทาง หมายถึง การเจริญโยนิโสมนสิการโดย ทิพพจักขุญาณ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖] ที่เรียกว่า ปัญญาเห็นธรรมธรรมจักษุ [ธรรมจักร] อันเป็นปัญญาของโสดาปัตติมรรคในพระธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุนี้ การมีชีวิตอยู่วันๆ หนึ่งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่รอบตัวเรา ต่างมีประโยชน์และไร้ประโยชน์ทั้งสิ้น ผู้มีปัญญาเท่านั้น ที่จะพิจารณาเห็นข้อดีและข้อเสียของสิ่งเหล่านั้นได้ตามเป็นจริง แม้แต่ลมหายใจแห่งชีวิต ที่ต่อยืดชีวิตให้ยาวนานและมีโอกาสเข้าถึง ปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง ได้ตามเป็นจริงเช่นกัน อันเนื่องด้วยความไม่ประมาท [อัปปมาทะ] นั่นเอง.
|