๕๘. อธิจิตตสิกขาบาทฐานแห่งวิปัสสนา The Training in Higher Mentality Becomes the Path of Insight
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
บุคคลอันได้ชื่อว่า ผู้ปฏิบัติธรรม นั้น ย่อมเป็นผู้เข้าถึง ธรรมแห่งหลักไตรสิกขา ด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ มาก่อน ได้แก่ อธิสีลสิกขาอธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา หรือเรียกสามัญว่า ศีลสมาธิปัญญา ตามลำดับ เพราะเป็นเส้นทางที่จะดำเนินไปใน หลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือการเข้าถึง กระแสแห่งอริยมรรค ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘อริยมรรค ๔อริยสัจจ์ ๔ โดยการสร้างกุศลกรรมด้วยโยนิโสมนสิการด้วย หลักปฏิจจสมุปบาท [ปัจจัยธรรม] ก่อนวิปัสสนาด้วย หลักไตรลักษณ์ [อนิจจังทุกขังอนัตตา] เพื่อการตรัสรู้ธรรมทั้งหลายก่อนเข้าสู่ นิพพาน ในกระบวนการปฏิบัติธรรมนั้น อาจกล่าวได้ว่า อธิจิตตสิกขา นั้น เป็นหลักประพฤติปฏิบัติที่เป็นจุดศูนย์กลางของการปฏิบัติธรรมก็ว่าได้ เพราะชีวิตของมนุษย์นั้น มีจิตวิญญาณหรือจิตใจเป็นประธาน ที่ประกอบด้วยการใช้ปัญญาและเหตุผล อันเรียกว่า องค์ความรู้ เป็นเครื่องเตือนสติในการตัดสินใจในการสร้างกรรมใดๆ ตามเจตนาที่ปรารถนา จิตที่ปราศจากนิวรณ์ กับปัญญาอันยิ่ง จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการชำระล้างกิเลสทั้งหลายออกจากจิตใจ ดังนั้น การย้อนกลับเข้าไปหาจิตดั้งเดิมหรือปฐมวิญญาณ [ฐีติภูตังจิตประภัสสร] นั้น ต้องอาศัยอำนาจแห่งสมาธิในสมถภาวนา นั่นคือ ญาณทัสสนะ กับ วิปัสสนาญาณ แห่งวิปัสสนาภาวนา [อธิปัญญาธรรมวิปัสสนายถาภูตญาณทัสสนะ] ในกระบวนการคิดทั้งหมด จึงต้องอาศัยการมนสิการกรรมฐาน [โยนิโสมนสิการทิพพจักขุญาณปฏิจจสมุปบาท] ที่เกิดจาก วิชชา [ฌานลักขณูปนิชฌาน] กับ ญาณ [วิปัสสนาอารัมมณูปนิชฌาน ไตรลักษณ์อริยสัจจ์ ๔] เพราะฉะนั้น ความรู้เข้าใจอย่างถูกต้องในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้ปฏิบัติธรรมประสมความสำเร็จในการเจริญภาวนาทั้งปวง.
บทความที่ ๕๘ ประจำปี ๒๕๕๙ อธิจิตตสิกขาบาทฐานแห่งวิปัสสนา
ในการปฏิบัติธรรมนั้น คำว่า กรรมทุกอย่างมีใจเป็นประธาน นั้น เป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดแนวทางในการเจริญภาวนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้สภาพจิตของตนได้ ก็เท่ากับพิจารณาเห็นจิตวิญญาณของตน ที่เรียกว่า อัตตสัมปทา [Self-Actualization] คือ ความถึงพร้อมของผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้วด้วยภาวนาทั้ง ๔ ด้าน นั่นคือ ภาวิตัตต์ ได้แก่ [ภาวิต ๔] คุณบทแห่งบุคคล คือ ภาวิตกายภาวิตศีลภาวิตจิตภาวิตปัญญา และบุคคลนั้น ย่อมได้ชื่อว่า อรหันต์ ผู้ถึงพร้อมด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมทั้ง อริยสัจจ์ ๔มรรค ๔ เป็นเหตุทำให้รู้เท่าทันกิเลสทั้งหลาย จึงเป็นผู้ปราศจาก โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญเพียรภาวนานั้น ย่อมมีนัยถึงการทำกายใจ [นามรูป] ให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง กิเลสตัณหาทั้งหลายเป็นเหตุทำให้เกิด อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ และทำให้สภาพจิตหรือคุณภาพชีวิตโศกเศร้า มัวหมอง ปิดกั้นโอกาสเข้าถึงคุณธรรมหรือความดีได้ ในขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมด้วย อธิจกตตสิกขาจิตตภาวนาภาวิตจิตจิตตวิสุทธิ นั้น ต่างมีจุมุ่งหมายในการดำจัดกิเลสอย่างกลาง [ปริยุฏฐานกิเลส] ที่กลุ่มรุมจิตใจด้วยนิวรณ์ ได้แก่ นิวรณ์ ๕อรติ [ปฏิฆะโทสะ]อวิชชา [โมหะ]อกุศลธรรมทั้งหลาย แต่อย่างไรก็ตาม กิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส นั้น ย่อมกำจัดด้วย สมถะสมถภาวนา ส่วนกิเลสอย่างละเอียด อนุสยกิเลส นั้น ย่อมกำจัดด้วย วิปัสสนาวิปัสสนาภาวนา หรือกำจัดด้วย มหาวิปัสสนา ๑๘ และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ [มรรค ๔มัคคญาณ = มัคคสมังคี] รวมทั้ง ผล ๔ผลญาณ = ผลสมังคี กับ นิพพาน ๑ ที่เรียกรวมกันว่า โลกุตตรธรรม ๙ พร้อมสัปยุตต์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ โดยมีแกนหลักสำคัญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ในก่อนหน้านั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องถือปฏิบัติด้วย จรณะ ๑๕ หรือ เสขปฏิปทา หมายถึง ข้อปฏิบัติอันเป็นบาทฐานในการบรรลุวิชชาหรือนิพพาน ได้แก่ สีลสัมปทา ๑อปัณณกปฏิปทา ๓สัทธรรม ๗ฌาน ๔ ในทางปฏิบัตินั้น ก็ต้องดำเนินเจริญจิตตภาวนาให้ถึง อรูปฌาน ๔ ด้วย ต่อจากนั้น ก็เลือกวิปัสสนาด้วย ญาณ ๑๖โสฬสญาณ หรือ มหาวิปัสสนา ๑๘ ผู้ปฏิบัติธรรมที่กำหนดรู้แนวทางปฏิบัติอย่างทุละปรุโปร่งได้ เรียกว่า ปฏิปทานุตตริยะ คือ ปรีชาญาณหยั่งรู้แจ่มแจ้งในหลักธรรม อริยมรรคมีองค์ ๘ [อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณญาณทำให้แจ้งซึ่งองค์แห่งมรรค ๘] มีส่วนเกี่ยวข้องกับธรรมทั้งหลายในการตรัสรู้อย่างไร [สัมมาญาณ] จนกว่าจะจะมีปรีชาหยั่งรู้การตรัสรู้ด้วย สัมโพธิญาณ [นิพพาน] ด้วย อรหัตตผลวิมุตติ [สัมมาวิมุตติ] ที่เรียกว่า วิมุตตานุตตริยะ คือ การหลุดพ้นอันเยี่ยม ในขั้นตอนดังกล่าวนี้ ต่างเรียกว่า อเสขธรรม นั่นคือ สัมมัตตะ ๑๐ อันประกอบด้วย (๑) อริยมรรคมีองค์ ๘มรรค ๔มัคคญาณ (๒) สัมมาญาณผล ๔ผลญาณสอุปาทิเสสนิพพาน (๓) สัมมาวิมุตติอรหัตตผลวิมุตติอนุปาทิเสสนิพพาน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก พระไตรปิฎก และ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม [พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต] เพื่อให้แตกฉานในธรรมทั้งหมด ฉะนั้น ศูนย์กลางของการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่ที่จิตวิญญาณ [จิตใจ] โดยพยายามไม่ให้จิตตกอยู่ใน อบายภูมิ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ (๑) พวกเร่าร้อยกระวนกระวาย (๒) พวกมืดมัวโง่เขลา (๓) พวกหิวกระหายไร้สุข (๔) พวกหวาดหวั่นไม่รื่นเริง บุคคลผู้มีอาการจิตวกวนหมุนเวียนในอบายภูมิทั้ง ๔ อย่างนี้ จิตย่อมถูกิเลสครอบงำ ได้แก่ ความโศกเศร้าความร่ำครวญความทุกข์กายความทุกข์ใจความคับแค้นใจ อันมีมูลเหตุจาก อวิชชาตัณหาอุปาทาน นั่นเอง ดังนั้น การหมั่นเพียรเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นนิตย์ เป็นกิจวัตรของพุทธศาสนิกทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตและดูแลระดับจิตใจให้มีระดับจิตสูงขึ้นจนถึง ระดับจิตของพระอรหันต์ [กิริยาจิต] แต่อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการฝึกอบรมจิตใจนั้น วัตถุประสงค์หลัก คือ การภาวนาให้ได้มาซึ่ง ผู้มีสติผู้มีสติสัมปชัญญะ ที่มีความอดทน [ขันติสังวร] และการประกอบความเพียร [วิริยสังวร] อันเป็นบาทฐานสำคัญต่อการใช้ปัญญาพิจารณากระแสกิเลสตัณหาทั้งหลาย มิให้เข้ามาครอบงำจิตด้วยความมีสติสัมปชัญญะ [ญาณสังวร] ในความเป็นจริงนั้น ความมีสติสัมปชัญญะ คือ สติสังวร นั่นคือ สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ไม่ให้บาปอกุศลธรรมเข้ารอบงำจิตใจ แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็ต้องเกิดจากสำรวมระวังด้วยศีลเป็นสำคัญ ข้อน่าสังเกตในการพิจารณาหลักธรรมนั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนด้วยแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์ ไตรสิกขา [ศีลสมาธิปัญญา] โดยเฉพาะหมวดธรรมใน ปฏิปัตติสัทธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมลงมือปฏิบัติธรรมจริง ก็ให้คำนึงถือ หลักไตรสิกขา ไว้ ว่าตนเองปฏิบัติธรรมได้ครบวงจรดังกล่าวนี้หรือไม่ หรือจะพิจารณาให้ครบตามหลักธรรมภาวนาใน ๔ ด้าน [ภาวนา ๔] ได้แก่ ภายภาวนาสีลภาวนาจิตตภาวนาปัญญาภาวนา ซึ่งต้องสอดคล้องตามหลักธรรม สังวร ๕ และ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นแนวทางที่ประเสริฐในการกำจัดกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง นั่นคือ นิพพานบรมธรรมอมตธาตุ ประการสำคัญ คือ ต้องนำหลักธรรมทั้งหลายนั้นไปสู่ภาคปฏิบัติจริง และเห็นผลแห่งการปฏิบัติจริง มิฉะนั้น ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ที่เรียกว่า การปฏิบัติธรรมการเจริญภาวนา ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ในทุกขณะจังหวะของชีวิต คือ การเจริญภาวนากรรมฐาน ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ ตลอดเวลา นั่นคือ มีปัญญาและเหตุผล ซึ่งต้องประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม คือ ทำพูดคิด [กรรม ๓: กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม] คำว่า จังหวะชีวิต [The Rhythm of Life] นั้น หมายถึง อาการจิตวิญญาณปวัตติ อันเป็นสภาพจิตหรือสภาวะแห่งจิตมี อวิชชาตัณหาอุปาทาน [กิเลส] ทำหน้าที่ปรุงแต่งตามความปรารถนาของบุคคล แล้วทำให้เป็นทุกข์ตกอยู่ในทุคติภูมินั้นๆ [สังสารทุกข์] ฉะนั้น การทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย จึงเป็นหน้าที่หลักของผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อให้หลุดพ้นจาก โลกียภูมิ ก้าวไปสู่ โลกุตตรภูมิ [นิพพาน] ความรู้ในเรื่องดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เรื่องยากในทางปฏิบัติ แต่ขึ้นอยู่กับว่า มีใจรัก [ศรัทธาและฉันทะ]ที่จะทำหรือไม่มากกว่า ประการแรกนั้น ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติธรรม ติดตามดูผล ปรับปรุงแก้ไข ตามเส้นทางแห่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ ฉะนั้น จิตอันยิ่งยวดจึงเป็นบาทฐานในวิปัสสนาต่อไป ด้วยประการฉะนี้.
|