๖๓. อุปสมะคือบาทฐานแห่งอภิญญาเพื่อสัมโพธะถึงนิพพาน Calm as an Approach to the Discernment for Enlightenment to Nirvana
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มุ่งเน้นการบรรลุธรรมวิเศษในระดับขั้น นิพพานอมตธาตุบรมธรรม โดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการยึดครอบโลกเช่นไดโนเสาร์ อันเป็นการพัฒนาตนเองด้วยการเจริญภาวนาให้เกิด ภาวนามยปัญญา อันเป็นปัญญาญาณหรือปรีชาญาณในการตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยตนเองตาม กฎธรรมชาติแห่งสัมมาทิฏฐิ โดยพิจารณาไตร่ตรองธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตตาสุญญตวิโมกข์ หรือพิจารณารู้เห็นธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนเป็นความว่างเปล่า แต่ไม่ใช่ความขาดสูญ เพื่อเป็นการตัดขาดจากความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ หรือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [อัตตาภินิเวส] กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การตัดวงจรแห่งชีวิตสันตติที่เวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดอยู่ใน สังสารวัฏฏ์ [วัฏฏะ ๓: กิเลสกรรมวิบาก] เป็นการสิ้นสุดแห่งความพยายามประกอบความเพียรด้วย การไม่ประกอบทุกข์อยู่กับ ตัณหาทิฏฐิ ให้เข้ามาครอบงำจิตใจของตน ในการจะเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอน ที่เรียกว่า ความตรัสรู้อาสวักขยะสัมโพธะ เพื่อทำให้เกิดปัญญาตรัสรู้ นั่นคือ อาสวักขยญาณสัมโพธิญาณ หมายถึง ญาณทำให้อาสวะสิ้นไป หรือ นิพเพธิกปัญญา [ทุกขานุปัสสนาญาณ = วิปัสสนาปัญญากับมรรคปัญญา] คือ ปัญญาในการดับกิเลสและทุกข์หรือเพราะเจาะทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะที่ยังไม่เคยเจาะอย่างรู้แจ้งแทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ความตรัสรู้ เป็นขั้นตอนสำคัญก่อนจะบรรลุถึงนิพพานได้ตามลำดับในการปฏิบัติธรรมโดยทางสายกลางแห่งมัชฌิมาปฏิปทาในพระธรรมวินัยนี้.
บทความที่ ๖๓ ประจำปี ๒๕๕๙ อุปสมะคือบาทฐานแห่งอภิญญาเพื่อสัมโพธะถึงนิพพาน
ลักษณะพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้น จะต้องดำเนินด้วยการค้นหาสัจจธรรมอันประเสริฐเพื่อการดับทุกข์ โดยภาวะมีอาสวะทั้งหลายดับหมดสิ้นแล้ว ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกขอริยสัจจ์ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ [ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค] ซึ่งประกอบด้วยอาการ ๗ อย่าง ได้แก่ (๑) เอกันตนิพพิทาความหน่ายสิ้นเชิง (๒) วิราคะความคลายกำหนัด (๓) นิโรธความดับกิเลสและทุกข์ (๔) อุปสมะความสงบ (๕) อภิญญาความรู้ยิ่ง (๖) สัมโพธะความตรัสรู้ (๗) นิพพานความหมดกิเลสหมดทุกข์แล้ว ดังนั้น บุคคลควรเริ่มต้นปฏิบัติธรรมด้วย อธิษฐานธรรม ๔ หมายถึง ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ เพื่อให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นที่หมายได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิดโดยฟุ้งซ่าน และไม่เกิดสิ่งมัวหมองหมักหมมทับถมตนให้ตำต่ำ ได้แก่ (๑) ปัญญา (๒) สัจจะ (๓) จาคะ และ (๔) อุปสมะ หรือ ความรู้ชัดความจริงความสละความสงบ ย่อมทำให้ระงับโทษข้อขัดข้องมังหมองวุ่นวาย อันเกิดจากกิเลสทั้งหลาย แล้วทำให้จิตใจให้สงบสงัดราบรื่นได้จริง กล่าวคือ บุคคลนั้นต้องกำหนดเห็น ทุกข์อุปาทานขันธ์อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คือ กำหนดทุกขสัจจ์ด้วยอนุปัสสนา ๒ อย่าง ในเวลาเดียวกัน ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนา กับ (๒) ทุกขานุปัสสนา อันเป็นเหตุให้เกิด เอกันตนิพพิทา และกำหนดสมุทัยสัจจ์ โดยเห็นเหตุแห่งทุกข์ [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒อนุโลมปฏิจจสมุปบาท] จึงทำลายอุปาทานขันธ์ลงหรือ การทุบขันธ์ ๕ ด้วย วิปัสสนาญาณ ๙ [(๑) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณอุทยัพพยญาณ คือ ญาณตามเห็นความเกิด และความดับแห่งนามรูป หรือกองทุกข์ทั้งปวง (๒) ภังคานุปัสสนาญาณภังคญาณ คือ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา (๓) ภยตูปัฏฐานญาณภยญาณ คือ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณอาทีนวญาณ คือ ญาณคำนึงเห็นโทษ (๕) นิพพิทานุปัสสนาญาณนิพพิทาญาณ คือ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย (๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณปฏิสังขาญาณ คือ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง (๘) สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร และ (๙) สัจจานโลมิกญาณอนุโลมญาณ คือ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์] เพื่อให้คลายกำหนัดลงด้วย อนัตตานุปัสสนา ในภาพรวม นั่นคือ วิราคานุปัสสนา [โลกุตตรมรรค] เพราะรู้เข้าใจเหตุโดย อนุโลมปฏิจจสมุปบาทมูล ๒: อวิชชากับตัณหา และรู้เห็นเข้าใจภาวะที่ปราศจากกิเลสและทุกข์โดย นิโรธานุปัสสนา ด้วยการพิจารณาไตร่ตรองสภาวธรรมด้วย ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท คือ การดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง [โลกุตตรผล] แต่ในขณะเดียวกันนั้น บุคคลต้องอาศัยพลังของการเจริภาวนา ๒ อย่าง ที่สมมาตรสมดุลกัน ได้แก่ (๑) สมาถพละสมาบัติ ๘ ทำให้เกิดความสงบปัสสัทธิลงตัว คือ อุปสมะ กับ (๒) วิปัสสนาพละอนุปัสสนา ๗มหาวิปัสสนา ๑๘ญาณ ๑๖ [โสฬสญาณ] โดยภาพรวมทำให้เข้าถึง อภิญญา ๖ คือ ความรู้ยิ่งยวด ได้แก่ อิทธิวิธาทิพพโสตเจโตปริยญาณบุพเพนิวาสานุสสติทิพพจักขุอาสวักขยญาณ ซึ่งบุคคลผู้นั้น เรียกว่า ฉฬภิญฺโญ โดยก่อนหน้านั้น ต้องได้วิชชาสามมาก่อน เรียกว่า เตวิชฺโช คำว่า วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้ง ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณจุตูปปาตญาณ [ทิพพจักขุญาณ] อาสวักขยญาณ เพราะฉะนั้น คุณวิเศษทั้งหลายที่เกิดขึ้นนี้ ต้องสัมปยุตต์ด้วย มรรคภาวนาโพธิปักขิยธรรม ๓๗อภิญญาเทสิตธรรม ๓๗สันติธรรม พร้อมๆ กัน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ คือ ธรรมเครื่องใฝ่หาความตรัสรู้หรืออริยมรรค โดยบุคคลนั้น จะเปลี่ยนโคตรจากปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยบุคคล [โคตรภูญาณ] ด้วยถึงโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ อย่าง ที่เรียกว่า สัมโพธะอาสวักขยะความตรัสรู้ ได้แก่ (๑) วิราคะโลกุตตรมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ (๒) นิโรธโลกุตตรผลอรหัตตผลอริยมรรคมีองค์ ๙สัมมาญาณ (๓) นิพพานอสังขตธรรมอมตธาตุบรมธรรมสัมมัตตะ ๑๐อริยมรรคมีองค์ ๑๐อรหัตตผลวิมุตติสัมมาวิมุตติ สำหรับธรรมเครื่ององค์ตรัสรู้ คือ โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นสมถพละโดยตรง นั่นคือ สติสัมปชัญญะ หรือ อธิจิตตสิกขา: สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ได้แก่ สติธัมมวิจยะ [ปัญญา] วิริยะปีติปัสสัทธิสมาธิอุเบกขา ฉะนั้น ความสงบแห่งอุปสมะนั้น เกิดจากการเจริญฌานสมาบัติ โดยเฉพาะ รูปฌาน ๔ อันเป็นบาทฐานสำคัญแห่งสมถพละ [อาตาปีสัมปชาโนสติมา] นอกจากนี้ ให้พิจารณาเพิ่มเติมกับ คำว่า ความตรัสรู้สัมโพธะ [สัมโพธิญาณ] ซึ่งมีนัยตรงกับคำว่า ความตรัสรู้อาสวักขยญาณ [อาสวักขยะ: มีอาการแห่งอินทรีย์ ๖๔ ประการ] กล่าวคือ การเจริญโสฬสญาณ [ญาณ ๑๖] ด้วย ปัจจเวกขณญาณ ในขั้นตอนสุดท้ายของความตรัสรู้ จะประกอบด้วย ญาณทัสสนะมีอาการ ๑๙ ประการ และ ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วย นั่นคือ กิจในอริยสัจจ์ ๔: ปริญญาปหานะสัจฉิกิริยาภาวนา เข้าสัมปยุตต์ด้วย ญาณ ๓: สัจจญาณกิจจญาณกตญาณ รวมเป็นอาการ ๑๒ อย่าง ส่วน อาสวักขยญาณ นั้น จะเกี่ยวข้องกับหลักธรรม อินทรีย์ ๒๒ ได้แก่ (๑) อินทรีย์ ๓ หมวดที่ ๒ (๒) อินทรีย์ ๕ หมวดที่ ๔ และ (๓) อินทรีย์ ๓๘ หมวดที่ ๕ เท่ากับ อินทรีย์ ๖๔ นั่นคือ (๑) X (๓) = ๒๔ กับ (๒) X (๓) = ๔๐ รวมเป็น ๖๔ หรือ มีอาการ ๖๔นั่นเอง กล่าวโดยสรุป อุปสมะ นั้น ทำให้เกิด สัมโพธิญาณ ได้แก่ (๑) ปัจจเวกขณญาณ มีอาการ ๑๙ (๒) ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ และ (๓) อาสวักขยญาณ มีอาการ ๖๔ ซึ่งทั้งหมดนี้ เรียกว่า โลกุตตรธรรม ๑๐ ได้แก่ (๑) โลกุตตรมรรค ๔ (๒) โลกุตตรผล ๔ และ (๓) นิพพาน ๑ รวมด้วย (๔) อาสวักขยญาณ ๑ [ข้อ ๔ นี้ เกิดขึ้นก่อนขณะได้ จตุตถฌาน และบรรลุถึง วิชชา ๓เตวิชฺโช] นอกจากนี้ ยังมีการตรัสรู้เข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ในลักษณะอื่นอีก ได้แก่ (๑) โลกุตตรมรรคสมุจเฉทวิมุตติมัคคสมังคี (๒) โลกุตตรผลปฏิปัสสัทธิวิมุตติผลสมังคี (๓) นิพพานนิสสรณวิมุตติวิมุตติสมังคี รวมกันเรียกว่า อมตธาตุบรมธรรมอเสขธรรม [สัมมัตตะ ๑๐ กับ อนุตตริยะ ๓] แต่อย่างไรก็ตาม ความตรัสรู้อย่างอื่นยังเกิดขึ้นได้อีก คือ อนุบุพพวิหาร ๙ จะเกิดขึ้นเฉพาะกับพระอนาคามีกับพระอรหันต์เมื่อได้ สมาบัติ ๘ แล้ว จึงเข้าสมาบัติข้อที่ ๙ ได้ เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธนิโรธสมาบัติ [ดับสัญญาและเวทนา] ได้แก่ (๑) รูปฌาน ๔ (๒) อรูปฌาน ๔ และ (๓) นิโรธสมาบัติ ๑ ตามลำดับ ในข้อนี้ จัดเป็นความตรัสรู้ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) วิกขัมภนนิโรธดับด้วยข่มไว้ด้วยฌานขณะได้ฌานนั้นๆ หรือ (๒) ตทังคนิโรธด้วบด้วยองค์ธรรมที่ตรงข้ามในขณะนั้นๆ เป็นการดับชั่วคราว ในลำดับต่อ จึงก้าวไปสู่ขั้น (๓) สมุจเฉทนิโรธดับด้วยตัดขาดวิราคะแห่งมัคคญาณ (๔) ปฏิปัสสัทธินิโรธดับด้วยสงบระงับนิโรธแห่งผลญาณสัมมาญาณ และ (๕) นิสสรณนิโรธดับด้วยสลัดออกได้สัมมาวิมุตติ กระบวนการคิดถูกวิธีโยนิโสมนสิการ ใน นิโรธ ๕ นั้น คือ ความดับกิเลสนี้ จัดเป็นธรรมขันธ์ ข้อ ๕ เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ลำดับขั้นสู่ธรรมขันธ์ ข้อ ๔ เรียกว่า วิมุตติขันธ์ อันหมายถึง อรหัตตผลวิมุตติ เป็นความดับกิเลสอย่างถาวร ได้แก่ การกับ สัญญา กับ เวทนา ตามลำดับ [อุปธิวิเวก] นั่นคือ ภาวะไม่เหลือเชื้อกิเลสอยู่อีกต่อไป ที่เรียกว่า อุปาทิอุปาทิขันธ์ ที่ยังเป็น กิริยาจิต ของพระอรหันต์ นั่นคือ การดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือ การดับขันธปรินิพพาน ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ความตรัสรู้พร้อมการละสังขารหรือเสียชีวิตในเวลาเดียวกัน [บุญหนักมาก: ด้วยไม่จำเป็นต้องอยู่บนโลกนี้อีกต่อไป คือ ย่อมเป็น สัจจภาวะแห่งวิวัฏฏะนิพพานอมตธาตุบรมธรรม แล้ว] ที่เรียกว่า ชีวิตสมสีสี [ชีวิดสะมะสีสี] ไม่ใช่การทำอันวินิบาตกรรมแห่งตน เพราะดำเนินอยู่ในขณะประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ ตลอดเวลา.
|