๖๗. มนสิการกรรมฐานให้รู้เห็นอริยสัจจธรรม Pondering Meditative Subjects with the Noble Truths
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในแนวทางการศึกษาปฏิบัติ ค้นคว้าวิจัย ความจริง สัจจธรรม ปรมัตถ์ โดยดำเนินตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า หลักมัชฌิมาปฏิปทา โดยเน้นสาระสำคัญไปที่หลักธรรม ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔ กับ (๒) อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยลำดับขั้นตอนการศึกษาตามหลักไตรสิกขา นั่นคือ ศีลสมาธิปัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาต่างๆ ในพระพุทธศาสนาต้องมีบาทฐานมาจากอริสัจจธรรมทั้ง ๔ ขั้นตอน ดังกล่าวนั้นเสมอ โดยมีการกำหนดการรับรู้ความรู้ด้วย สติสัมปชัญญะ [สติปัฏฐาน ๔] ในขณะจิตเป็นสมาธิอย่างแน่วนอน [อัปปนาสมาธิ] เป็นหลักเสมอ เพราะปัญญาญาณไม่สามารถเกิดขึ้นกับบุคคลเสียสติ มีจิตถูกรุมเร้าด้วยกิเลสทั้งหลาย โดยเฉพาะนิวรณ์ทั้งหลาย [นิวรณ์ ๕อรติอวิชชาอกุศลธรรมทั้งหลาย] เพราะฉะนั้น ในการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น สมองของผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องประกอบด้วยปัญญาอยู่ ๓ ด้าน ได้แก่ (๑) โลกียปัญญา: สุตมยปัญญาจินตามยปัญญา กับ (๒) โลกุตตรปัญญา: ภาวนามยปัญญา ได้แก่ โลกียญาณ กับ โลกุตตรญาณ [โพธิปักขิยธรรม ๓๗อาสวักขยญาณ ๑โลกุตตรธรรม ๙] แต่อย่างไรก็ตาม ในทุกขั้นตอนของการดำเนินชีวิตจริงและในการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องประกอบด้วยปัญญาและเหตุผลเสมอ ที่สรุปย่อลงใน สติสัปชัญญะ [Temperance] หรือ ญาณทัสสนะ [Insight and Knowledge] นั้นคือ สติทำหน้าที่พิจารณาไตร่ตรองระลึกจำในสภาวธรรม และสัมปชัญญะทำหน้าที่เรียนรู้ให้รู้รอบจากสภาวธรรม แต่ในทางคติธรรมนั้น เป็นโอกาสที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเข้าถึงได้ซึ่ง โลกุตตรธรรม ที่เป็นปัญญาสูงสุดโดยปรมัตถ์ของมวลมนุษย์ ซึ่งแตกต่างจากปัญญาสามัญทางคติโลกที่เกิดจากการศึกษาอย่างเป็นทางการ และจากประสบการณ์ตรงของตน.
บทความที่ ๖๗ ประจำปี ๒๕๕๙ มนสิการกรรมฐานให้รู้เห็นอริยสัจจธรรม
การพิจารณากรรมฐาน สภาวธรรม หรือ สภาวะแห่งจิต [นามรูป] ในวิปัสสนาภูมินั้น ต้องกำหนดรู้เห็นตามกฎเกณฑ์ของอริยสัจจธรรม หรือ อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ (๑) ทุกข์ทุกขอริยสัจจ์ (๒) สมุทัยทุกขสมุมัยอริยสัจจ์ (๓) นิโรธทุกขนิโรธอริยสัจจ์ (๔) มรรคทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ โดยต้องทำกิจในอริยสัจจ์ ๔ ให้สมบูรณ์ในขั้นตอนการคิดพิจารณาอารมณ์แหงกรรมฐานให้เห็นลักษณะแห่งนามรูปโดยไตรลักษณ์ ได้แก่ (๑) ปริญญา (๒) ปหานะ (๓) สัจฉิกิริยา (๔) ภาวนา โดยต้องดำเนินตามแนวประพฤติปฏิบัติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่เสมอ เพราะฉะนั้น ในการคิดหรือพิจารณาไตร่ตรองสภาวะแห่งจิตหรือวิถีจิตที่ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ในแต่ละขณะจิตนั้น ให้รู้เห็นสภาวธรรมต่างๆ นั้น ตามลักษณะอาการ ดังนี้ (๑) ทุกข์ปริญญา (๒) สมุทัยปหานะ (๓) นิโรธสัจฉิกิริยา (๔) มรรคภาวนา นั่นคือ (๑) กำหนดรู้ทุกข์ (๒) ดับเหตุแห่งทุกข์ (๓) รู้แจ้งสภาวะปลอดจากทุกข์ (๔) เจริญแนวทางในการดับทุกข์นั้นๆ [ไตรสิกขา] อันเป็นภูมิปัญญาสำคัญในการเจริญภาวนา รวมทั้งการนึกคิดในการดำเนินชีวิตตามปกติ ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรละทิ้งองค์ความรู้แห่งอริยสัจจธรรมดังกล่าวข้างต้น โดยนำไปประยุกต์ดัดแปลงกับหลักการวิจัย อันเป็นภูมิความรู้ทางคติธรรม คือ การเข้าถึงองค์ความรู้เนื่องด้วย อริยสัจจ์ ๔ และ กิจในอริยสัจจ์ ๔ ที่ต้องประมวลความคิดทั้งหมดด้วยการพิจารณาอย่างระมัดระวังลึกซึ้งตายนัยของ ปัจจัยธรรม ทั้งหลาย ซึ่งหมายถึง (๑) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประกอบด้วยแนวคิดอนุโลมกับปฏิโลม และ (๒) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ได้แก่ อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ อันเป็นเหตุให้เข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่อง (๑) กฎแห่งกรรม (๒) กฎแห่งวิบาก (๓) กฎแห่งกรรมของสัตว์ ที่หมายถึง จุตูปปาตญาณทิพพจักขุญาณ อันเกิดจากอำนาจแห่งสมาธิหรือสมถพละ หรือ ปัจจยปริคคหญาณ อันเกิดจากอำนาจแห่งวิปัสสนาหรือวิปัสสนาพละ หรือโดยรวมหมายถึง ฌาน ๒ ได้แก่ (๑) อารัมมณูปนิชฌานสมถะ และ (๒) ลักขณูปนิชฌานวิปัสสนา คำว่า วิปัสสนา [Insight] นั้น หมายถึง การพัฒนาปัญญาให้เห็นธรรมแห่งนามรูปโดยไตรลักษณ์ในขณะจิตเป็นสมาธิอย่างแน่วแน่สงบสนิทอยู่ในอารมณ์เดียวด้วย รูปฌาน ๔ จนถึง จตุตถฌาน อันประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) อุเบกขาความวางเฉยไม่ยึดมั่นติดมั่นในอารมณ์นั้นๆ เพราะเห็นหรือเกิดทัสสนะตามเป็นจริงและรู้ตามเป็นจริงหรือเกิดญาณ (๒) เอกัคคตาแห่งสมาธิกำหนดรู้เห็นอยู่ในความตั้งมั่นสนิทของจิตเพียงเรื่องเดียวหรืออารมณ์เดียว โดยไม่ฟุ้งซ่านหรือฟั่นเฟือน ไปในสภาวธรรมนั้นๆ ด้วยการปล่อยจิตให้เข้าไปปรุงแต่งตามความใคร่ปรารถนา และอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของกิเลส ที่ไม่สามารถข่มระงับได้ขณะได้ฌานขั้นนั้นๆ นั่นคือ สำรวมระวังอินทรีย์ไม่ดีพอ ขาดการฝึกอบรมมาอย่างถูกต้องตาม (๑) แนวทางสายกลายแห่งหลักมัชฌิมาปฏิปทาโดยไตรสิกขา และ (๒) อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำกับแนวคิดอยู่กับ อริยสัจจ์ ๔ และ ปฏิจจสมุปปบาท ๑๒ รวมทั้งปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย ทำให้เข้าไม่ถึงปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ เกิดวิปลาสและมีอคติไป ทำให้จิตกลับไปฟุ้งซ่านสติมีฟั่นเฟือน ไม่สามารถพิจารณาดีๆ หรือมนสิการบรรดากรรมฐานทั้งหลายได้ตามเป็นจริง คือ ดับข้อกังขาสงสัยในธรรมไม่ได้ด้วย ยถาภูตธรรมยถาภูตญาณ เข้าไม่ถึง ธรรมฐิติธรรมนิยาม ๓สัมมสนญาณสัมมาทัสสนะ จิตและปัญญาอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา [มิจฉาวายามะมิจฉาสติมิจฉาสมาธิ] เกิดทิฏฐิเป็นปรปักษ์ต่อแนวทางปฏิบัติในหลักมัชฌิมาปฏิปทา เช่น มีปรารถนาในอิทธิฤทธิ์หรืออิทธิปาฏิหาริย์ด้วย ปปัญจธรรม [ตัณหาทิฏฐิมานะ] ไม่ใช่การเจริญภาวนาเพื่อความหลุดพ้น หรือการดับทุกข์ขจัดกิเลสทั้งหลาย ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง หรือมิฉะนั้น ก็ถูกฝึกอบรมการปฏิบัติธรรมมาอย่างผิดๆ ไม่ใช่ทางสายกลางแห่งปัญญาโดยหลักมัชฌิมาปฏิปทา [อริยสัจจ์ ๔อริยมรรคมีองค์ ๘ไตรสิกขาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖] อันเป็นเหตุให้บกพร่องจากปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์เพราะความประมาทละเลยการใช้ปัญญาและเหตุผล [โยนิโสมนสิการอิทัปปัจจยตา] แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการฝึกอบรมบำเพ็ญเพียรภาวนานั้น โอกาสเกิดข้อผิดพลาดหรือการตั้งสมมติฐานอย่างผิดๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ระหว่างผู้ฝึกสอนกับผู้รับการฝึกปฏิบัติจริงหรือเกิดกรณีวิกฤตแบบ มากครูมากความ เลยเป็นเหตุให้ไม่ได้ดีสักอย่างในทางปฏิบัติ ฉะนั้น การเห็นธรรมการรู้ธรรม [ญาณทัสสนะ] นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ยิ่งมีกิเลสหนาๆ ก็ยิ่งต้องฝึกปฏิบัติอย่างลำบากยากมากๆ และรู้ผลได้ช้าอีกต่างหาก ถ้าแพ้ใจตัวเอง ก็ล้มสลายแห่งการปฏิบัติธรรม ถ้ากรรมหนัก ก็เกิดอคติต่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีทัศนคติในแง่ลบต่อผู้ฝึกกรรมฐานให้ ที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานอย่างผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงด้วยกุสโลบายเฉพาะตน จนเลยจากเกณฑ์พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และในส่วนตัวของผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่คนที่อยากใฝ่รู้โดยอาศัยตนเองศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และยังมีนิสัยชอบอะไรง่ายๆ แบบสำเร็จรูป คือ มักง่าย ไม่ต้องการทำเองปฏิบัติเอง ไม่พึงตนเอง แต่ปรารถนาใน โลกุตตรธรรม เสียอย่างนั้น ธรรมพระพุทธเจ้าย่อมไม่ใช่อาหารสำเร็จรูปพร้อมกิน ไม่ขยันอดทน ย่อมถึงฉิบหายเสียคุณอันใหญ่ หมดโอกาสเข้าถึง โลกุตตรธรรม ความถึงพร้อมความสมบูรณ์บริบูรณ์ และความไพบูลย์ด้วยธรรม [ธรรมปีติ] คือ การเป็นผู้ใฝ่รู้คงแก่เรียน ที่เรียกว่า พาหุสัจจะ อันเป็นคุณสมบัติของปราชญ์ผู้รู้ เป็นปัญญาบารมีอันยิ่งยวดของผู้ปฏิบัติธรรมในพระธรรมวินัยนี้ เพราะพระพุทธศาสนา คือ ศาสนาแห่งปัญญา ที่บุคคลต้องค้นหาแสวงหาองค์ความรู้ตามแนวประจักษ์นิยมอันเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ ตามแนวเหตุผลโดยปรัชญาและตรรกวิทยา และการหยั่งรู้ด้วยปรีชาญาณตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยไม่ถือเอาความรู้จากเทพเจ้าหรือผู้ผู้สร้างใดๆ [วิวรณ์Revelation] การบรรลุธรรมแห่งการตรัสรู้ด้วยตนเอง นั่นคือ สัมมาสัมโพธิญาณ [Enlightenment] นั้น ย่อมถือเป็นเรื่องเฉพาะตนที่ผู้รู้สามารถรู้เห็นได้โดยชอบด้วยตนเอง ถ้ายึดมั่นปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ ไม่หลงทิศหลงทางในการบำเพ็ญเพียรภาวนา ไม่เชื่ออะไรอย่างงมงาย ต้องพิสูจน์ได้ด้วยปัญญาและเหตุผล อันถือเป็นอริยสัจจธรรมตามกฎธรรมชาติเพื่อความเป็นจิตแห่งพุทธะ.
|