๗๗. การตัดท่อน้ำเลี้ยงกิเลสทั้งหลาย Intercepting the Nutrient Pipe of Defilements
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การพิจารณาเห็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ในชีวิตได้นั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่แห่งปัญญาที่เห็นธรรมตามเป็นจริงได้ในชีวิต นั่นคือ บุคคลนั้นรู้จักคิดพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุและผลของสภาวะที่ดำเนินไปของชีวิต ที่เป็นแก่นสารอย่างแท้จริง ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของกิเลสทั้งหลาย โดยไม่ประกอบทุกข์และดำเนินชีวิตอย่างมีอิสระ ความรู้สึกนึกคิดค้นหาเหตุผลอันเป็นความจริงหรือสัจจธรรมแห่งชีวิตนั้น ย่อมกลายเป็นทุนทางปัญญาในการเจริญภาวนากรรมฐานต่อไป เพื่อจะค้นหาคำตอบอันสูงสุดในชีวิตอีกขั้นตอนหนึ่ง อันเป็นทางแห่งความสงบสันติระงับจากกิเลสทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง โดยเฉพาะการพิจารณาเห็นสิ่งที่ไปหล่อเลี้ยงให้กิเลสทั้งหลายดำรงอยู่ได้ อันเป็นตัวตนของตนเอง [อาหาร ๔] นั่นคือ นามรูปขันธ์ ๕ ที่เกิดจากจิตของตนเข้าไปปรุงแต่งให้เกิดจิตใน อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อุปาทานทุกข์ ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สังสารวัฏฏ์ [กิเลสกรรมวิบาก] ไม่สิ้นสุด เป็นความสุขและความทุกข์สลับหมุดเวียนเปลี่ยนกันไป ตามวาระแห่งกรรมที่ตนได้กระทำไปก่อนหน้านั้น นั่นคือ กุศลกรรมก็เป็นวิบากแห่งสุข อกุศลกรรมก็เป็นวิบากแห่งทุกข์ ทำให้ชีวิตที่แท้จริงไม่สงบระงับจากกิเลสทั้งหลาย ต้องตกอยู่ในอบายภูมิหรือทุคติอยู่ตลอดไป ฉะนั้น การเลือกเส้นทางชีวิตในการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จึงถือเป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ประเสริฐ อันทำให้ผู้ปฏิบัติตามนั้น สามารถบรรลุถึงการเป็นอริยบุคคล จนสามารถตรัสรู้ถึง สัมโพธิญาณ ได้ นั่นคือ สามารถเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้ในชาติปัจจุบันนี้ ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็เกิดจากการรู้จักคิดประมาณรู้ถึงธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวงใน โลกธรรมแห่งสังสารวัฏฏ์ นั่นเอง.
บทความที่ ๗๗ ประจำปี ๒๕๕๙ การตัดท่อน้ำเลี้ยงกิเลสทั้งหลาย
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงนั้น ทรงถือเอาพระกรุณาเป็นหลักให้สำเร็จพุทธกิจ หรือทรงบำเพ็ญพุทธกิจจริยาเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ที่เรียกว่า ปรหิตปฏิบัติ คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า และความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้ ด้วยเหตุนี้ พระธรรมคำสอนของพระตถาคตจึงมุ่งให้ประโยชน์แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม โดยเฉพาะผู้ถือประมาณในธรรม ที่เรียกว่า ธัมมัปปมาณิกา คือ บุคคลที่พิจารณาด้วยปัญญาเห็นสารธรรมหรือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา จึงชอบใจเลื่อมใสน้อยใจที่จะเชื่อถือ ส่วนคนถือประมาณใน ๓ จำพวก นั้น พระองค์ทรงถือแต่พอดี ได้แก่ รูปัปปมาณิกาโฆสัปปมาณิกาลูขัปปมาณิกา นั่นคือ ถือประมาณในรูป เสียง และ ความคร่ำเครียด คำว่า ปัญญาเห็นสารธรรม นั้น ย่อมทำให้บุคคลรู้เห็นแนวทางในการปฏิบัติธรรมเหมาะควรแก่ธรรม ดำเนินชีวิตตามคลอดธรรมด้วยความไม่ประมาท [อัปปมาทะ] ฉะนั้น สิ่งค้ำจุนชีวิต สิ่งจำเป็นเบื้องต้นของชีวิต สิ่งที่ต้องอาศัยเลี้ยงอัตภาพ [ปัจจัย ๔] ได้แก่ จีวรบิณฑบาตรเสนาสนะคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แต่อย่างไรก็ตาม บิณฑบาตรบิณฑิยาโลปโภชนะ หมายถึง โภชนะคือคำข้าว [อาหาร] ที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้งด้วยการออกบิณฑบาต เพื่อเป็นเครื่องค้ำจุนรูปธรรมแห่งร่างกาย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาให้เห็นธรรมจริงๆ เมื่อพิจารณาถึง กิเลส นั้น ถึงพิจารณาให้เห็นด้วย ปัญญาญาณ [ญาณทัสสนะ] ว่า กิเลสทั้งหลายนั้นอาศัย นามรูปแห่งขันธ์ ๕ เป็นที่เกาะเหนี่ยว คือ ฝ่ายรูปธรรมโดย รูปขันธ์ กับฝ่ายนามธรรมโดย นามขันธ์ หรือ (๑) กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นในกาม [รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ] กับ (๒) ทิฏฐุปาทาน คือ ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี [ความเห็น ลัทธิ หรือ หลักคำสอนต่างๆ] กล่าวโดยรวม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อุปาทานทุกข์ แต่ตามนัยสำคัญของการปฏิบัติธรรมหรือการลำเพ็ญเพียรภาวนานั้น ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง หมายถึง ความไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นั้นหมายความว่า อะไรเป็นมูลฐานสำคัญที่กิเลสยึดเป็นที่พึ่งอาศัย สิ่งนั้น คือ อาหาร ๔ หมายถึง สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ หรือเครื่องค้ำจุนชีวิต [ขันธ์ ๕] ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องพิจารณาธรรมใน ๒ หมวด ให้ดี ได้แก่ ปัจจัย๔ กับ อาหาร ๔ เพราะเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต ในคำว่า ชีวิต หมายถึง เบญจขันธ์ขันธ์ ๕ ซึ่งรวมกันเป็นกองชีวิต นั่นคือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตามนัยของ โลกียธรรม หรือ สมมติสัจจะ และตามนัยของ ปรมัตถธรรม หรือ ปรมัตถสัจจะ ได้แก่ จิต [วิญญาณ] เจตสิก [เวทนาสัญญาสังขาร] และรูป นั่นคือ ขันธ์ ๕ อันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีกิเลสครอบงำ และไม่จัดเป็น อสังขตธรรม ที่เรียกว่า บรมธรรมอมตธาตุนิพพาน [นิพพานธาตุ] อันเนื่องด้วย อนัตตตาสุญญตา [ความไม่ใช่ตัวตนความว่างเปล่าไม่มีอะไรให้ยึดมั่น] คือ ความอยู่เหนือวัฏฏะ [วงเวียนแห่งกิเลสกรรมวิบาก] ที่เรียกว่า วิวัฏฏะ ฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติธรรม จึงประกอบด้วย ๒ คติ คือ (๑) ขันธ์ ๕ แห่งวัฏฏะถูกยึดครอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ กับ (๒) ขันธ์ ๕ แห่งวิวัฏฏะไม่ถูกยึดครอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ เพื่อเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้แก่ จิตเจตสิกรูปนิพพาน [ปรมัตถธรรม ๔] โดยอาศัย โลกุตตรธรรม ๙ เป็นสะพานเชื่อมต่อ ได้แก่ มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑ ประกอบด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ เมื่อเกิดปัญญาเห็นนิพพานดีแล้ว ก็ควรพิจารณาเห็นสภาวะที่ปราศจากกิเลสทั้งหลายว่า ควรจะเป็นไปอย่างไร นั่นคือ สภาพที่ปราศจากขันธ์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า ขันธวินิมุต คือ ไม่มี จิตเจตสิกรูป เหลือแต่ นิพพาน เพียงอย่างเดียว ขันธ์ ๕ [สังขตธรรม] นั้น เกิดสืบเนื่องจาก อาหาร ๔ ที่ทำให้เกิด (๑) กรรมภพ กับ (๒) อุปัตติภพทั้งหลาย [วิบากกรรม] ในวงจรของสังสารจักร [ภวจักร] ที่ประกอบด้วย ปัจจัยธรรมทั้งหลาย [ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖] เมื่อตัดขาดจาก อาหาร ๔ ได้ บุคคลย่อมหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราวในขณะกำหนดรู้ได้ พิจารณาเห็นได้ด้วย ฌานกุศลจิต [สมาธิในวิปัสสนา] และ ปัญญาญาณ ในวิปัสสนา ดังนั้น ให้พิจารณาถึง อาหาร ๔ ดังนี้ (๑) กวฬิงการาหาร คือ คำข้าว เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ราคะ ที่เกิดจาก เบญจกามคุณ ได้ด้วย (๒) ผัสสาหาร คือ ผัสสะ เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ เวทนา ๓ ได้แล้ว (๓) มโนสัญเจตนาหาร คือ มโนสัญเจตนา เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ ตัณหา ๓ ได้ด้วย และ (๔) วิญญาณาหาร คือ วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ นามรูป ได้ด้วย ในการกำหนดรู้สภาวธรรมในวิปัสสนาภูมิขั้นนี้ เป็นการพิจารณาที่ละเอียดอ่อน เพราะต้องพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงใน อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ อันเนื่องด้วยกิเลสทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นชีวิตในขณะหนึ่งๆ ในวงเวียนแห่งสังสารจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเวียนว่ายตายเกิดใน สังสารวัฏฏ์ [กิเลสกรรมวิบาก] อย่างไม่สิ้นสุด แต่อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการคิด คือ โยนิโสมนสิการ นั้น เป็นความจริงขั้นสูงสุด ที่เรียกว่า ปรมัตถสัจจะอภิธรรม อันเป็นความรู้ทั้งหมดในวิปัสสนาภูมิ นั่นคือ วิชชาญาณ [ความรู้แจ้งความหยั่งรู้] สำหรับธรรมวิเศษดังกล่าวนี้ เกิดจาก (๑) สมถภาวนา กับ (๒) วิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่ความรู้สามัญใน โลกียธรรม แต่เป็นความรู้แจ้งวิเศษวิชชา ความรู้ยิ่งยวดอภิญญา ที่เกิดจากหมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานอย่างจริงจัง ที่สมบูรณ์และไพบูลย์ด้วย สัทธรรม ๓ ได้แก่ (๑) ปริยัตติธรรม (๒) ปฏิปัตติธรรม และ (๓) ปฏิเวธธรรม ความรู้ทั้ง ๓ อย่าง นี้ จะช่วยให้เป็น อริยบุคคล ผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง ผู้บรรลุถึงคุณสมบัติแห่งพุทธะ ผู้เป็นอริยสาวกของพระตถาคต นั่นเอง ฉะนั้น การจะบรรลุถึงบรมธรรมได้นั้น จิตต้องอยู่ในสภาพที่ปราศจากกิเลสทั้งหลายเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นึกอยากจะเป็นก็จะเป็นได้แต่ประการใด แต่ต้องอาศัยการบำเพ็ญเพียรภาวนาเท่านั้น โดยเฉพาะ ปัญญาเห็นธรรมด้วยโยนิโสมนสิการ [ทิพพจักขุญาณปัจจยปริคคหญาณ] นั่นคือ กำหนดรู้ได้ถึงสถานภาพแห่งชีวิตที่กำลังก้าวดำเนินไปทุกขณะว่า มีองค์ประกอบปัจจัยอะไรเป็นตัวค้ำจุนชีวิต [เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป] โดยการจำแนกแจกธรรมออกเป็น (๑) รูปธรรม กับ (๒) นามธรรม โดยพิจารณาตามเกณฑ์พื้นฐาน คือ อาหาร ๔ ให้แตกฉานอย่างละเอียด ว่าอาหารเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิด (๑) ราคะ (๒) เวทนา ๓ (๓) ตัณหา ๓ และ (๔) นามรูปอุปาทานขันธ์ ๕ ผลสุดท้ายแห่งวิบากกรรม คือ ภพชาติพยาธิชรามรณะโสกะและสังกิเลสทั้งหลาย เป็นธรรมดา [พิจารณาตามอนุโลมปฏิจจสมุปบาท] ในทางกลับกันนั้น ก็ให้พิจารณาถึงวิธีดับทุกข์โดยปราศจาก อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ จนกำหนดรู้ว่า ดับอวิชชา ได้ย่อมดับทุกข์ คือ การรู้จักตัดโซ่อาหารทั้ง ๔ ออกไป ในขณะจิตปราศจากนิวรณ์ [จิตประภัสสรจตุตถฌาน] ประกอบด้วย ญาณในวิปัสสนา [ญาณทัสสนะ] คือ เห็นเหตุแห่งทุกข์ กับสภาวะที่ปราศจากทุกข์ โดยคิดหาอุบายวิธีที่แยบคายด้วยปัญญาและเหตุผล [โยนิโสมนสิการ] ในการบริหารจัดการอันยิ่งกับ อาหาร ๔ [Nutriment]ได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง ได้แก่ (๑) เมื่อกำหนดรู้ราคะเกิดจากเหตุนี้ จะระงับเหตุนี้ได้อย่างไร (๒) เมื่อกำหนดรู้เวทนาเกิดจากเหนุนี้ จะระงับเหตุนี้ได้อย่างไร (๓) เมื่อกำหนดรู้ตัณหาเกิดจากเหตุนี้ จะระงับเหตุนี้ได้อย่างไร และ (๔) เมื่อกำหนดรู้นามรูปเกิดจากเหตุนี้ จะระงับเหตุนี้ได้อย่างไร ในการคิดหาอุบายวิธีอย่างแยบยลในใจได้นั้น ก็ขึ้นกับทักษะกระบวนการคิดในวิปัสสนาภูมิ เพื่อจะหาข้อสรุปและแนวทางที่จะหลุดพ้นได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นทำแทน พูดแทน หรือคิดแทน ย่อมไม่ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เรื่อง อาหาร ๔ นั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ชอบใจแต่ต้องรู้วิธีอยู่กับมันเพื่อให้ชีวิตรอดได้ และสามารถบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณได้ในที่สุด นั่นคือ การอาศัย วิญญาณ เพื่อให้หลุดพ้นจาก วิญญาณ หรือการใช้จิตตามพิจารณาจิตเพื่อหาหนทางในการหลุดพ้นให้ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์ก้าวลงไปสู่วิปัสสนาภูมิ จิตดวงนั้น [สติสัมปชัญญะ] ย่อมกลับมาพิจารณาดวงจิตอื่นๆ ที่กำลังเกิดดับในจำนวนนับไม่ถ้วนที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสทั้งหลาย จิตที่กำหนดรู้และพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายนั้น สร้าง ปัญญาญาณ [Intuition] ในวิปัสสนา และอาศัยปัญญาดังกล่าวนั้น เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสภาวธรรมเหล่านั้นตามเป็นจริง เพื่อให้หลุดพ้นจากสภาวะแห่งจิตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นสภาวธรรมทั้งหลายภายใต้จิตและเจตสิกทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว อยู่ที่ว่าบุคคลผู้นั้นจะสามารถแยกแยะสภาวธรรมดังกล่าวนั้นได้อย่างไร ในการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น จึงเป็นเรื่องการแยกแยะแจกธรรมทั้งหลายตามสภาวธรรมที่เกิดและดับตามที่ปรากฏขึ้น แล้วหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีให้ได้ เพื่อบรรยายสภาวธรรมที่แท้จริง [ปรมัตถสัจจะ] เพราะเรื่องที่กำลังพิจารณานั้น เป็นสภาพที่ปรุงแต่งขึ้นตามเพตุปัจจัย โดยมีเจตนาถูกครอบงำด้วยกิเลสทั้งหลาย และทำอย่างไรจึงจะกำจัดกิเลสเหล่านั้นได้ แล้วหลุดพ้นจากสภาวธรรมนั้นๆ ให้ได้ นั่นคือ หนีจาก สังสารวัฏฏ์ ไปสู่ วิวัฏฏะแห่งนิพพาน หรือหนีจาก อุปาทานขันธ์ ไปสู่ ขันธวินิมุตแห่งอมตธรรม ฉะนั้น ปัญญาญาณ ทั้งหมดในวิปัสสนาภูมิจึงถือเป็น ปรมัตถสัจจะ ที่ประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล [วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ] ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมไม่เข้าใจในบรรดาธรรมเหล่านี้ได้ ก็หมดโอกาสในการบรรลุความตรัสรู้ถึง สัมโพธิญาณ [Enlightenment] ได้ เพราะไม่ทราบเหมือนกันจะปฏิบัติธรรมไปหาอะไรให้เป็นประโยชน์สูงสุดแห่งปรมัตถ์ได้ จุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดนั้น จึงเริ่มต้นจากการพิจารณาและกำหนดรู้ปัจจัยที่ค้ำจุนชีวิตแห่งนามรูปโดย ขันธ์ ๕ นั่นเอง พิจารณาธรรมทั้งหลายที่มาเกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวมโดยเกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง [ธรรมจักษุธรรมจักร] พิจารณาธรรมทั้งหลายที่มาเกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวมโดยเกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง ที่มาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวให้ได้ ยกตัวอย่าง เช่น อาหารเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตแห่งนามรูปทั้งปวง เมื่อพิจารณาจนเห็นอย่างละเอียดประณีตดีแล้ว ว่าเป็นเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ทั้งปวง ก็พิจารณาหาหนทางออกจาก กองทุกข์ [อุปาทานทุกข์] ดังกล่าวนั้น ให้พิจารณา อาหาร ๔ เป็นไปเพื่อการหล่อเลี้ยง เบญจขันธ์ ตามสมควร เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้เพื่อการปฏิบัติธรรม จนกว่าตนจะสามารถบรรลุ ธรรมวิเศษ และ บรมธรรมได้เช่นกัน บุคคลแต่ละคนนั้น ก็ต่างมีแนวทางปฏิบัติแตกต่างกันไป ก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละคนเช่นกัน และกินเวลามากน้อยแตกต่างกันไป เพื่อจะบังคับจิตใจด้วยปัญญาในการตัดขาดจากกิเลสทั้งปวงได้ นั่นเอง.
|