๗๘. ความเบื่อหน่ายสังขารโลกทั้งหลายไม่ใช่กำแพงความคิดกั้นนิพพาน Worldly Weariness Is not the Barrier against Nirvana
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ในการบรรลุมรรคผลแห่งการปฏิบัติธรรมนั้น คือ ไม่ถือมั่นยึดมั่นอะไรทั้งสิ้นที่เกี่ยวเนื่องอยู่กับโลกมนุษย์ นั่นคือ ไม่มีจิตผูกพันประกอบทุกข์อันใดกับ สังขตธรรม ที่เกิดจากการปรุงแต่งจากเจตนาของตนอันมีกิเลสทั้งหลายครองงำอยู่ในพื้นจิตสันดาน เช่น สังโยชน์อวิชชา หรือ ตัณหาแห่งปฏิจจสมุปบาท หรืออาสวะทั้งหลาย [กามภพทิฏฐิอวิชชา] เป็นต้น ที่เรียกว่า สังสารวัฏฏ์: กิเลสกรรมวิบาก บุคคลผู้ยอมแพ้ต่อกิเลสทั้งหลายนั้น ย่อมไม่เกิดปัญญาเห็นธรรมหรือสภาวธรรมทั้งหลายตามเป็นจริง เพราะยังพอใจติดใจอยู่กับสิ่งสมมติทั้งหลายเหล่านี้ อันเป็นภาพลวงตาหรือเป็นภาพมายา [นึกคิดสร้างขึ้นมาเองตามเจตนาแห่งกรรมกรรมภพ] ไม่เป็นจริง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์แห่งแปรปรวน และ ไม่มีตัวตนอันใดที่ต้องมีปรารถนาอยู่ด้วยทั้งสิ้นอีกต่อไป แม้ตัวตนของตนเองก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่สะอาดแห่งปฏิกูลทั้งสิ้น เช่นกัน ไม่เห็นด้วยสิ่งที่นึกคิดในสภาวะแห่งจิต ไม่ยอมรับในความรู้สึกแห่งอินทรีย์ทั้งหลายในรูปร่างรูปขันธ์ทั้งหลายของตนอีกเช่นกัน ฉะนั้น ความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายนั้น จึงไม่ใช่อุปสรรคที่จะขัดขวางการเข้าถึงความเป็นจริงแห่งนิพพานแต่อย่างใด เพราะนิพพานต่างมีสภาวะที่ไม่ใช่ตัวตนแห่งสุญญตา นั่นคือ สภาวะที่ปราศจาก เบญจขันธ์ขันธ์ ๕ ที่ถูกยึดด้วยตัณหาและทิฏฐิ อันเป็น โลกียธรรม ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ความแตกต่างกันระหว่าง โลกมนุษย์ กับ นิพพาน [ภูมิของพระอริยเจ้าทั้งหลาย] คือ ขั้นตอนการทำลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อุปาทานทุกข์ ให้ดับไปจากจิตเพื่อความเป็นอิสระของตนเอง.
บทความที่ ๗๘ ประจำปี ๒๕๕๙ ความเบื่อหน่ายสังขารโลกทั้งหลายไม่ใช่กำแพงความคิดกั้นนิพพาน
ในทางปฏิบัติธรรมนั้น ความเบื่อหน่ายเป็นธรรมปฏิปักษ์กับความเพลิดเพลินในสังขารทั้งหลายและโลก [โลกียธรรม] โดยรวมความแล้ว คือ สังขตธรรม หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยเหตุปัจจัย และมีวัฏฏะเป็นองค์ประกอบสำคัญ [กิเลสกรรมวิบาก] ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องหลุดพ้นจากวัฏฏะให้ได้ [โลกียภูมิ] เพื่อก้าวไปสู่วิวัฏฏะอันเป็น โลกุตตรภูมิ [นิพพาน] ที่เรียกว่า อสังขตธรรม ฉะนั้น การทำลายความปรารถนาใดๆ ในสังขารทั้งหลายและโลก เพื่อให้ไปสู่สภาวะที่เหนือวิสัยโลกนั้น จึงกลายเป็นพุทธกิจอันสำคัญสูงสุด จะไปหยุดอยู่ครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ เพราะอารมณ์ของพระอรหันต์นั้น ย่อมตัดขาดจากโลกธรรมโดยสิ้นเชิง ไม่เหลือเชื้อกิเลสอีกเลย ไม่เหลืออุปาทิขันธ์แห่งเบญจขันธ์ [อนุปาทินนกสังขารอสังขตธาตุ] นั่นคือ สังขารที่กรรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม [กิริยาจิต] เป็นสภาวะแห่งจิตที่เป็นเพียงการกระทำ ไม่ประกอบด้วยเจตนา [กิเลสตัณหา] เนื่องด้วยพระอรหันต์เป็นบุคคลผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว นั่นคือ ผู้ปราศจาก ภพชาติชราพยาธิมรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะ เป็นธรรมดา และมีจิตอันอยู่เหนือโลกปุถุชนทั่วไป โดยดำรงอยู่ในกระแสแห่งนิพพาน [โลกุตตรภูมิ] กล่าวโดยสรุป คือ อริยบุคคลผู้ได้ทำลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [ทุกขตา] ได้อย่างสมบูรณ์ดีแล้ว จึงไม่มีความปรารถนาติดใจเพลิดเพลินในสังขารทั้งหลายและโลกอีกต่อไป แต่ก็ใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็มาบอกว่าเบื่อหน่ายโลกทั้งใบ แล้วก็บรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณ เรื่องนี้คงเป็นไปไม่ได้ง่ายๆ เช่นนั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ ก็มีหลายๆ คนสามรถอธิบายขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมได้อย่างคล่องแคล้วในเขิงทฤษฎี แต่พอมาภาคปฏิบัติไม่เคยลงมือปฏิบัติจริงในภาคสนาม ก็ไม่สามารถบรรลุถึงคุณวิเศษต่างๆ ได้จริง ซึ่งผิกับแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้า เช่น ทุกคนเข้าใจดีเกี่ยวกับหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจังทุกขังอนัตตา ก็พูดได้แต่ทำจริงไม่ได้ ใจมันไม่ให้ แต่ปากมันพาไป เพราะหลักไตรลักษณ์ในวิปัสสนาภูมินั้น เป็นเรื่อง ญาณทัสสนะยถาภูตญาณ ที่เกิดร่วมกันในขณะพิจารณาสภาวธรรมตามเป็นจริงโดยธรรมชาติ [ยถาภูตญาณทัสสนะ] แต่ถ้าเกิดขึ้นในบุคคลผู้มีปัญญาแตกฉานด้วย จุตปฏิสัมภิทาญาณ แล้ว ถึงพร้อมด้วย สัทธรรม ๓ ได้แก่ (๑) ปริยัตติสัทธรรม (๒) ปฏิบัตติสัทธรรม และ (๓) ปฏิเวธสัทธรรม นั่นคือ คำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียนศึกษาค้นคว้าวิจัย ๑ ปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ๑ ผลอันพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ๑ สำหรับ คำว่า ญาณทัสสนะ นั้น ผู้จะบรรลุถึงธรรมวิเศษดังกล่าวนี้ได้ ต้องบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานจนลุถึง รูปฌาน ๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จตุตถฌานฌานขั้นที่ ๔ [อุเบกขาเอกัคคตา] แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับสมถภาวนานั้น เป็นเรื่องการชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากนิวรณ์ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร ด้วยรูปาวจรกุศลจิต [ฌานจิตจตุตถฌาน] ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น เป็นการทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย สัมมาทิฏฐิ ในการพิจารณาสภาวธรรมด้วยสภาวะแห่งจิตปราศจากนิวรณ์ นั่นคือ ความถูกต้องและยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นกับตัวตนของผู้บำเพ็ญเพียรภาวนานั้น มี ๒ ประการ ได้แก่ (๑) สมถพละ คือ อธิจิตตสิกขา [สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ] กับ (๒) วิปัสสนาพละ คือ อธิปัญญาสิกขา [สัมมทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ] โดยต้องประกอบด้วยแนวคิดอย่างถูกต้องตามเป็นจริง ที่เรียกว่า สัญญา ๑๐ หมายถึง แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐานหรือมนสิการกรรมฐาน ได้แก่ (๑) อนิจจสัญญากำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (๒) อนัตตสัญญากำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย (๓) อสุภสัญญากำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย (๔) อาทีนสัญญากำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ (๕) ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย (๖) วิราคสัญญากำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๗) นิโรธสัญญากำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต (๘) สัพพโลเก อนภิรตสัญญากำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (๙สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา) กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (๑๐) อานาปานสติสติกำหนดลมหายใจเข้าออก] ถ้าไม่เกิดปัญญาในวิปัสสนาภูมิด้วยสัญญาแห่งความเข้าใจถูกต้อง[ยถาภูตญาณ] นั้น ย่อมพิจารณาสภาวธรรมคลาดเคลื่อนผิดพลาดจากความเป็นจริง เพราะไม่เกิด (๑) ปัญญาเห็นธรรม และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรม ก็จะมีแต่ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ [อุทธัจจกุกกุจะ] ไม่สงด้วยสมาธิ [เอกัคคตา] และ การวางเฉยเป็นกลาง [ตัตตรมัชฌัตตตา] เพระเกิดปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง [ธรรมจักษุ] เมื่อเกิดดวงตาเห็นธรรมตามเป็นจริงแล้ว ย่อมไม่เกิดความสงสัยลังเลในธรรมทั้งหลาย นั่นคือ (๑) สังขตธรรม หมายถึง สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด กับ (๒) อสังขตธรรม หมายถึง สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายนั้น ต่างไม่มีตัวตน [อนัตตสัญญา] หรือ ความว่างเปล่าไม่มีอะไรเป็นสรณะที่พึ่ง [สุญญตา] ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปัญญาตรัสรู้สัมโพธิญาณ [สัมโพธะ] ได้ และสามารถบรรลุถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้ สำหรับความรู้แจ้งโลก [สังขารทั้งหลายเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา] นั้น ต้องประกอบด้วย ปัญญาเห็นธรรม [สัญญา ๑๐] และเหตุผล [ทิพพจักขุญาณ = ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖] หรือธรรมที่เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๑๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ซึ่งจะต้องเกิดร่วมกับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันเป็นปัญญาในสมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ เมื่อธรรมทั้งหลายมาประชุมรวมกันเป็นเอกภาพเดียวกัน [ธรรมสามัคคี] แล้ว ย่อมทำให้เกิดสภาวะถูกต้องและยอดเยี่ยม [สัมมัตตะ ๑๐อนุตตริยะ ๓] ที่จะไม่เพลิดเพลินในโลกทั้งปวงและเบื่อหน่ายไม่ปรารถนาในสังขารทั้งหลายอีกต่อไป มุ่งหน้าเข้าสู่กระแสแห่งอริยมรรคและสันติบทแห่งนิพพาน นั่นคือ เกิดปัญญาเห็น ความแจ้งความสว่างความสงบ [พุทธะ ๓: ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน] ขึ้นในใจ ที่เรียกว่า ความตรัสรู้สัมโพธิญาณ นั่นเอง.
|