๗๙. แนวทางศึกษาค้นคว้าอริยสัจจธรรม An Approach to Investigate the Noble Truths
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ความเป็นพุทธะที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาปัญญาทั้งในและนอกวิปัสสนา โดยให้เกิดความเท่าเทียมกันและเกื้อหนุนประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์หรือเป็นการต่อยอดปัญญาองค์ความรู้ต่างๆ ให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ สมกับที่จะได้รับการสรรเสริญเรียกว่า อริยบุคคลผู้เป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ให้ได้จริงๆ ฉะนั้น ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาและลงมือถือปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ย่อมได้รับอานิสงส์ผลบุญขั้นสูงสุดในพระศาสนานี้ คือ ดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุ และในลำดับต่อไป ย่อมเป็นบุคคลที่จะเกิด (๑) ปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง และ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรมทั้งปวง เช่นกัน จนสามารถบรรลุธรรมวิเศษต่างๆ เพื่อเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้ในที่สุดแห่งผลของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องและดีเยี่ยมในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้น บุคคลผู้สามารถบรรลุธรรมวิเศษได้ จนถึงขั้นสูงสุดโดยปรมัตถ์แห่งบรมธรรมนั้น ย่อมเป็น จิตพุทธะ ได้แก่ (๑) ผู้รู้ (๒) ผู้ตื่น และ (๓) ผู้เบิกบาน ด้วยการเจริญธรรมแห่งไตรสิกขาอย่างดีพร้อมด้วยข้อประพฤติปฏิบัติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นหลัก ในคุณสมบัติแรกนั้น เป็นเรื่องของฝ่ายปัญญาเป็นหลัก ต้องสามารถพัฒนาตนเองให้ถึง ความเป็นปราชญ์ ผู้รู้ พหูสูต ทั้งทางโลกและทางธรรม อาศัยความสามารถในการต่อยอดปัญญาองค์ความรู้ที่ผู้รู้ต่างๆ หรือพระอริยเจ้าได้ดำเนินมาแล้วอย่างถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อก้าวสู่ความตรัสรู้ถึงสัมโพธิญาณให้ได้ในที่สุด.
บทความที่ ๗๙ ประจำปี ๒๕๕๙ แนวทางศึกษาค้นคว้าอริยสัจจธรรม
พระพุทธศาสนาถือเป็นศาสนาแห่งปัญญาญาณของมวลมนุษยชาติ ไม่ใช่สมบัติของใครคนใดคนหนึ่ง และเป็นศาสนาแห่งธรรมชาติ ที่ผู้ปฏิบัติต้องค้นคว้าหาความจริงโดยปรมัตถ์ด้วยตนเองจริงๆ ฉะนั้น ในลำดับการพัฒนาทักษะการคิดและการเรียนรู้นั้น ประกอบด้วยปัญญา ๓ ประการ ได้แก่ (๑) สุตมยปัญญาปรโตโฆสะ (๒) จินตามยปัญญาโยนิโสมนสิการ (๓) ภาวนามยปัญญายถาภูตญาณทัสสนะ และปัญญาทั้งหมดนี้ ต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนา สุตมยปัญญา ให้เป็น สุตมยญาณ ให้ได้ และ จินตามยปัญญา ให้เป็น ทิพพจักขุญาณ ซึ่งปัญญาญาณทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นกำลังสนับสนุนให้เกิด ปัญญาญาณในวิปัสสนา อีกหลากหลายอย่าง จนถึง อาสวักขยญาณ [ความตรัสรู้] การต่อยอดปัญญาญาณในวิปัสสนานั้น ย่อมเกิดจากการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานอย่างไม่ละความเพียรและความอดทนอย่างสูง แต่อย่างไรก็ตาม โดยนัยแห่ง สุตมยปัญญา นั้น ผู้ปฏิบัติธรรม [โยคาวจร] ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติการเป็นปราชญ์หรือพหูสูตจริงๆ คือ อ่านมากรู้มากด้วย สติสัมปชัญญะ ที่แก่กล้า เนื่องจากเป็นการพัฒนาทักษะการคิดทั้งในขั้นพื้นฐานและขั้นสูง โดยอาศัยอานิสงส์ทั้งฝ่าย สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา เข้าด้วยกัน ฉะนั้น การสร้างแรงผลักดันภายในตนเองจึงเป็นเรื่องใหญ่อย่างไม่ลดละ คือ การประกอบความตื่นในการสร้างกุศลบุญบารมีของตนอยู่เป็นนิตย์ [ชาคริยานุโยค] รวมทั้งวิริยารัมภะกับขันติอดทนอย่างจริงจัง อนึ่ง การเข้าถึงสมุมยปัญญาได้นั้น ก็โดยอาศัยปฏิภาณไหวพริบที่ประกอบด้วย (๑) ความคิดริเริ่ม (๒) ความคิดสร้างสรรค์ (๓) ความคิดประยุกต์ดัดแปลง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งของตนเองและผู้อื่น นั่นคือ การหาข้อสรุปจากการศึกษาพิจารณาธรรม จากกเอกสารคัมภีร์และคำเทศนาของพระอริยสงฆ์ผู้เป็นกัลยาณมิตร สำหรับข้อสรุปที่เป็นเอกฉันท์นั้น คือ ทฤษฎีหลักธรรม ซึ่งเป็นหน่วยความคิด [Concepts] ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นญาณสัมปยุตต์และกลายเป็นปัญญาญาณในวิปัสสนา นั่นคือ ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ อันเป็นความรู้แจ้งเห็นจริง [ปฏิเวธ] หรือ สัมโพธะ [ความตรัสรู้] ที่สามารถเข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน โดยปรมัตถธรรม ได้แก่ จิตเจตสิกรูปนิพพาน หรือ วิปัสสนาภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๑๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ก่อนจะสัมปยุตต์ด้วย สัมมสนญาณแห่งไตรลักษณ์ ที่ทำให้เกิดบรรดา ญาณในวิปัสสนา ทั้งหลายตามมา นั่นคือ โสฬสญาณญาณ ๑๖ เป็นต้น ในการค้นคว้าหลักธรรมโดยปรมัตถ์นั้น ต้องอาศัย พหูสูตมีองค์ ๕ ได้แก่ ฟังมากจำได้คล่องปากเพ่งขึ้นใจขบได้ด้วยทฤษฎี [พหุสฺสุตาธตาวจสา ปริจิตามนสานุเปกฺขิตาทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา] ส่วนหลักธรรมหรือหมวดทฤษฎีนั้น คือ การศึกษาทบทวนอย่างสม่ำเสมอจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ท่องจำหมวดธรรมต่างๆ ให้ขึ้นใจ จากนั้นค่อยศึกษาธรรมต่างๆ ในพระไตรปิฎกซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๙๑ เล่ม สุตยญาญ จากการศึกษค้นคว้านี้ จะเป็นประโยชน์อานิสงส์อย่างสูงสุดในการศึกษาพระไตรปิฎก อันเป็นแหล่งข้อมูลของพระธรรมที่ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่เป็นหมวดธรรมอย่างเป็นระบบระเบียบง่ายต่อการท่องจำเป็นทฤษฎี คำว่า อ่านพระไตรปิฎกไม่รู้เรื่อง ก็จะไม่บังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง เพราะอ่านพระไตรปิฎกเล่มไหนก็เข้าใจได้ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถึงแม้จะเป็นข้อมูลทุติยภูมิก็ตา ส่วนข้อมูลปฐมภูมินั้น ย่อมเข้าถึงได้ด้วย ญาณในวิปัสสนา [ญาณทัสสนะยถาภูตญาณทัสสนะ] อีกนัยหนึ่ง ก็คือ เป็นขั้นตอนการพิสูจน์ทฤษฎีด้วยตนเอง เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ อย่าไปยึดเอาอย่างถือผิดด้วย (๑) อิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ กับ (๒) อาเทศนาปาฏิหาริย์การทายใจเป็นอัศจรรย์ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมที่มีจิตฟุ้งซ่านมักหลงทางในฤทธิ์ทั้ง ๒ อย่าง นี้ จนทำให้เกิด วิบัติ ๔ ได้แก่ ศีลวิบัติอาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติอาชีววิบัติ [นั่นคือ กลายเป็นอรหันต์ข้างๆ คูๆ] ที่เรียกว่า เดียรถีย์อลัชชี ไปในที่สุด กล่าวง่ายๆ คือ ผู้หลงญาณสมาบัติ พอเข้าถึงวิปัสสนาก็สำคัญตนผิดว่าได้บรรลุมรรคผลนิพพาน [ธัมมุทัจจ์แห่งวิปัสสนูปกิเลส] และขั้นตอนนี้จัดอยู่ใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗) ประการสุดท้ายนี้ ความไม่ย่อท้อในการศึกษาทบทวนอย่างจริงจังในบรรดาหมวดธรรมจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ทุกวันอย่างสืบเนื่อง จะช่วยเกื้อหนุนให้เกิด ปัญญาแตกฉาน ในหลักธรรมได้ รวมทั้งความหมายแห่งธรรม นั้นคือ ธัมมปฏิสัมภิทาอัตถปฏิสัมภิทา การศึกษาค้นคว้าพระธรรมนั้น อย่าทำไปเพื่อสะสมใบประกาศใดๆ แต่ให้เป็นไปเพื่อ ปัญญาเห็นธรรมธรรมจักษุ เพื่อให้บรรลุถึงนัยแห่งตถาคตว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเป็นตถาคต คือ พละกำลังโดยสมถะและวิปัสสนา ที่สามรถบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณได้ในที่สุด.
|