๘๐. ความไพบูลย์แห่งพระธรรมด้วยอนุตตริยะ The Excellent Abundance with Dhamma
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องความอดทนและความขยันหมั่นเพียรในการบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน ที่ต้องตั้งใจเอาจริงจังโดยไม่กังวลเป็นห่วงกับสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบกายของตน คือ จะต้องตัดขาดจากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนจริงๆ เพื่อจะได้เข้าถึงความจริงแห่งชีวิตอันสูงสุดโดยปรมัตถ์ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปกังวลอยู่กับเรื่องทางโลกียะหรือโลกธรรมใดทั้งสิ้น ถ้าไม่สามารถตัดขาดกับทางโลกได้ ก็ย่อมไม่สามารถบรรลุความตรัสรู้ได้ คือ ไม่สามารถเห็นนิพพานได้ ไม่สามารถเห็นทางในการดับทุกข์ได้ และไม่สามารถหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลายได้อย่างเด็ดขาดปลอดโปร่งด้วยเกษมธรรมทั้งหลาย มีแต่ว่ายิ่งปฏิบัติธรรมหนักเข้าก็ยิ่งจะเบื่อหน่ายกับแนวทางที่ตนกำลังปฏิบัติอยู่ เพราะไม่เข้าใจในจุดหมายสำคัญแห่งการปฏิบัติธรรมนั้นๆ เพราะไม่สามารถเข้าถึงภาวะอันถูกต้องและภาวะอันยอดเยี่ยมได้จริง หลักธรรมตามแนวทางสายกลางแห่งมัชฌิมาปฏิทา ที่ดำเนินปฏิบัติไปตาม (๑) อริยมรรคมีองค์ ๘ [มัคคญาณ ๔] นั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด ทำให้เข้าถึงภาวะอันถูกต้องต่อ นั่นคือ (๒) สัมมญาณผลญาณ ที่เป็น อริยมรรคมีองค์ ๙ และ (๓) สัมมาวิมุตติอรหัตตผลวิมุตติ ที่เป็น อริยมรรคมีองค์ ๑๐ หรือ สัมมัตตะ ๑๐ [อเสขธรรม] เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ในภาวะอันถูกต้องไม่เป็นสิ่งที่ถือผิดจากความเป็นจริง ปัญญาทั้งหลายย่อมกลายเป็น ปัญญาญาณ แห่งภาวนาในสมถะและวิปัสสนาได้ และส่งผลอานิสงส์ให้เกิดภาวะอันเยี่ยมด้วยปัญญาทั้งหลายเหล่านั้น ได้แก่ (๑) เห็นนิพพาน (๒) เห็นหนทางดับทุกข์ และ (๓) เห็นความหลุดพ้นที่จะเกิดขึ้นได้จริง แต่อย่างไรก็ตาม อะไรจะเป็นผลแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับใจของผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น ว่าจะเลือกทำอย่างตั้งใจจริงหรือไม่.
บทความที่ ๘๐ ประจำปี ๒๕๕๙ ความไพบูลย์แห่งพระธรรมด้วยอนุตตริยะ
ในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ก็สามารถจำแนกแจกธรรมออกเป็น ๒ ฝ่าย ตามข้อสมมติฐานแห่งเบญจขันธ์ นั่นคือ (๑) รูปกาย ต้องชำระให้หมดจดด้วย อธิสีลสิกขา และ (๒) นามจิตวิญญาณ ต้องชำระให้หมดจดด้วย อธิจิตตสิกขาสมถภาวนา กับ อธิปัญญาสิกขาวิปัสสนาภาวนา ทั้งหมดย่อมเกิด ญาณสัมปยุตต์แห่งอริยอัฏฐังคิกมรรค [อริยมรรคมีองค์ ๘] อันเป็นไปตามแนวทางสายกลางแห่ง หลักมัชฌิมาปฏิปทา ที่จะทำให้บรรลุถึง โลกุตตรธรรม ๙ [มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] ด้วยการตรัสรู้สัมโพธะ [สัมโพธิญาณ] แห่งนิพพานธาตุอมตธรรม ฉะนั้น เป้าหมายสูงสุดในการประพฤติพรหมจรรย์แห่งพระธรรมวินัยนี้ จึงหนีไม่พ้นจาก ปรินิพพาน บุคคลผู้จะสำเร็จบริบูรณ์ในอริยมรรคนี้ได้นั้น จึงต้องดีพร้อมประกอบด้วยสภาวะอันเยี่ยมยอดเท่านั้น ปราศจากมลทินใดๆ อันเป็นกิเลสธรรมเครื่องเศร้าหมองหรือ นิวรณธรรม [นิวรณ์: กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอรติอวิชชาอกุศลธรรมทั้งหลาย] ที่กลุ้มรุมจิตใจ ที่เรียกว่า วิสุทธิคุณ [วิสุทธิ ๗] จนบรรลุล่วงถึง ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ปัญญาญาณที่หยั่งรู้เห็นในธรรมด้วยอริยสัจจ์ ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ และ มัคคญาณ ๔ รวมทั้ง ญาณ ๓ กับ กิจในอริยสัจจ์ ๔ ที่เกิดญาณสัมปยุตต์ด้วย ปัจจเวกขณญาณ และ อาสวักขยญาณ คือ ประกอบด้วยการหยั่งรู้โดยปฏิเวธแห่งญาณทัสสนวิสุทธิ [ยถาภูตญาณทัสสนะ] สิ่งอันยอดเยี่ยมย่อมเกิดขึ้นในอริยบุคคลนั้นได้เช่นกัน ที่เรียกว่า อนุตตริยะ ๓ ได้แก่ (๑) การหยั่งรู้หยั่งเห็นอันเยี่ยมทัสสนานุตตรยะ คือ ปัญญาเห็นธรรมทั้งปวง ธรรมจักษุ ด้วยโดยโยนิโสมนสิการ เห็นสัจจภาวะแห่งนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดโดยปรมัตถ์ (๒) ปฏิปทานุตตริยะข้อปฏิบัติอันเยี่ยม คือ ประกอบด้วยปัญญาหยั่งรู้ถึงอริยมรรคทั้งหลาย ว่าเป็นแนวทางปฏิบัติสัมมาปฏิปทาอย่างถูกต้อง และไม่เป็นปฏิปักษ์กับหลักมัชฌิมาปฏิปทา และ (๓) การหลุดพ้นอันเยี่ยมวิมุตตนุตตริยะ คือ เมื่อบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์แห่งนิพพานจิต ย่อมรู้แจ้งเห็นจริงในการบำเพ็ญ อเสขธรรม [สัมมัตตะ ๑๐] ที่ต่อยอดจากเสขปฏิปทา [วิชชาจรณสัมปันโน] ได้แก่ วิชชา ๓วิชชา ๘ กับ จรณะ ๑๕ ดังนั้น อุตตริมานุสสธรรมอธิคมธรรมคุณวิเศษ ดังกล่าวนี้ ต้องเกิดขึ้นเกิดในบุคคลนั้น จึงจะสามารถตรัสรู้ [สัมโพธะ] และนิพพานได้ องค์ประกอบสำคัญและยอดเยี่ยม คือ พุทธคุณ ๓ ได้แก่ (๑) ปัญญาคุณ (๒) วิสุทธิคุณ และ (๓) กรุณาคุณ อันเป็นคุณสมบัติในการบรรลุความตรัสรู้สัมโพธิญาณ [โพธิสมภาร] เนื่องด้วยวิริยารัมภะไม่สันโดษในการสร้างกุศลบุญบารมีกับความอดทน ด้วยเหตุนี้ เมื่อลำดับสภาวะองค์รวมของบรรดาธรรมที่มาประชุมกัน [สัมปยุตตปัจจัย] ที่เป็นเหตุให้เกิดญาณสัมปยุตต์ ย่อมมีองค์ประกอบต่อไปนี้ (๑) โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (๒) อริยมรรคมีองค์ ๘ (๓) โลกุตตรธรรม ๙ (๔) อริยสัจจ์ ๔ (๕) วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ (๖) ญาณ ๑๖โสฬสญาณ (๗) วิสุทธิ ๗ และ (๘) วิชชา ๓วิชชา ๘อภิญญา ๖ แต่อย่างไรก็ตาม อนุตตริยะ ๓ นี้ ตอกจากพระตถาคตแล้ว ย่อมเป็นคุณสมบัติของ พระตถาคตอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า หรือ พระปัจเจกพุทธะ ส่วน อนุตตริยะ ๖ นั้น ย่อมเป็นสาธารณ์แก่ พระอนุพุทธะ [พระสัจจพุทธะ] พระตถาคตสาวก คือ ผู้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสรู้เองโดยชอบ [อนุตตรสัมมาสัมโพธะ ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ] แต่ก็มีส่วนเหมือนกัน คือ สอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ฉะนั้น อริยบุคคลผู้บรรลุได้ดังเช่นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ในสาธุปุถุชนทั่วไปที่จะตรัสรู้ได้ง่ายๆ หรือกลุ่มอัจฉริยบุคคล เช่น นักวิทยาศาสตร์ ปราชญ์เมธี หรือพหูสูต เป็นต้น คำว่า พุทธะตถาคต จึงมีความหมายที่เหนือกว่าคำว่า อัจฉริยะล้ำเลิศ ที่ชาวโลกต่างสรรเสริญตามนัยสมมติสัจจะ [โลกียะ] แต่เป็นนัยแห่งภาวะที่พ้นโลกียะ คือ โลกุตตรภูมินิพพาน ดังนั้น พระธรรมของพระตถาคตเจ้าจึงใช้คำนำหน้าว่า อริยะ เป็นหลักบ่งบอกความเจริญอันประเสริฐจากโลกียธรรมโลกียภูมิ [ทุกคติ] ในอีกนัยหนึ่ง เพราะฉะนั้น สภาวะที่ถูกต้อง [สัมมัตตะ ๑๐] กับ สภาวะอันยอดเยี่ยม [อนุตตริยะ ๓อนุตตริยะ ๖] นั้น ต่างเป็นสภาวธรรม [ปรมัตถ์] ที่เกิดจริงในวิถีชีวิตของอริยสาวกและอริสาวิกาแห่งตถาคต ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ มิฉะนั้น ก็กลายเป็นปฏิปทาที่ผิด ไม่เป็นจริงตามธรรม [กฎธรรมชาติ] ฉะนั้น สัจจภาวะแห่งจิตของผู้มีจิตเป็นพุทธะนั้น ต้องเป็นตามครรลองธรรมแห่งจิตหลุดพ้นปล่อยวางที่จะยึดเหนี่ยวอยู่กับปุปาทานขันธ์ อันเป็นตัวตน [นามรูแห่งขันธ์ ๕] ของตนเองอย่างหมดสิ้น [สุญญตาอนัตตตา] ถ้าไม่สามารถดำเนินตามแนวทางนี้ได้ สภาวะที่ถูกต้องและยอดเยี่ยม [อนุตตริยะ ๓อนุตตริยะ ๖] นั้น ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ตามฐานะของผู้ปฏิบัติธรรมนั้นๆ สุดท้ายย่อมเกิดความวิบัติฉิบหายในทางปฏิบัติธรรม กลับกลายเป็นผู้ทุศีลอลัชชีในที่สุด แต่ยังยอมทนครอบเพศเป็นสมณะผู้หลงผิดต่อไป ไม่ได้ทำกิจในการสืบทอดพระศาสนา และกลับกลายเป็นสนิมในเนื้อของพระธรรมวินัยนี้อย่างคาดไม่ถึง พระตถาคตจึงตรัสปัจฉิมโอวาทว่า อัปปมาทะอย่าประมาท ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ที่ไม่ประกอบด้วยการใช้ปัญญาและเหตุผล นั่นเอง.
|