๘๑. วิปริณามแห่งนัยอนิจจตาและทุกขตา Changes as Impermanence and Suffering
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสภาวธรรมที่อยู่รอบตัวนั้น คือ สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตามนัยของ โลกุตตรปัญญา [อธิปัญญาโลกุตตรสัมมาทิฏฐิภาวนามยปัญญา] มากกว่า โลกียปัญญา [ปัญญาสามัญโลกียสัมมาทิฏฐิ] ในการกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงหรือมนสิการกรรมฐานด้วย วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ หมายถึง ความเข้าใจธรรมทั้งหลายอย่างถูกต้องในการพิจารณาไตร่ตรองความแปรปรวนของสภาวะแห่งจิตในการเจริญภาวนากรรมฐาน เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นธรรมในนามรูปแห่งเบญจขันธ์โดยไตรลักษณ์ [สัมมสนญาณ ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖] ในธรรมชาติของสภาวธรรมทั้งหลายนั้น เป็นเรื่องของ ปัจจัยธรรมตถตา" อันมีเหตุมูลฐานมาจาก ทุกขตาสภาพแห่งทุกข์ทุกขอริยสัจจ์ โดยสามัญเรียกว่า สังสารทุกข์ทุคติ เพราะเนื่องจากสภาวะของความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ หรือ ความไม่เที่ยงแห่งตัวตน อนิจจังอนิจจตา [วิปริณาม] โดยผู้ปฏิบัติธรรมต้องหมั่นเจริญภาวนากำหนดรู้ด้วย (๑) อนิจจานุปัสสนาอนิจจสัญญา ทำให้เกิดปัญญาเร็ว ที่เรียกว่า ชวนปัญญา กับ (๒) ทุกขานุปัสสนาทุกขสัญญา ทำให้เกิดปัญญาในทำลายกิเลส ที่เรียกว่า นิพเพธิกปัญญา เมื่อรู้เห็นถึงสภาพแห่งทุกข์กับเหตุแห่งทุกข์แล้วย่อมทำให้รู้เห็นถึง อวิชชาตัณหาอุปาทาน ว่าสิ่งเหล่าก็ไม่เที่ยงเป็นเหตุแห่งทุกข์ จึงควรพิจารณาธรรมทั้งหลายโดย อนัตตานุปัสสนาอนัตตสัญญา ถึงสภาวะแห่งความไม่ใช่ตัวตน ที่จิตจะต้องไปรับสภาพแห่งทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น ปัญญาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ เรียกว่า มหาปัญญา คือ ปัญญามากที่ทำให้หลุดพ้นจากอำนาจครอบงำแห่งกิเลสทั้งหลายและกองทุกข์ทั้งปวง แต่อย่างไรก็ตาม ในความไม่เที่ยงแห่งสภาวธรรมทั้งหลายนั้น คือ อาการของเหตุปัจจัยในสภาวธรรมที่ประกอบด้วยความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง [วิปริณาม] ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง [สันตติ] โดยสังสารวัฏฏ์โดยทุกขณะในกาลทั้ง ๓ ได้แก่ การเกิดการตั้งอยู่การดับไป อันเป็นไปตาม หลักปัจจยาการ หรือ หลักปฏิจจสมุปบาท [อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปผัสสะสฬายตนะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรามรณะ พร้อมสังกิเลสทั้งหลาย ได้แก่ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ที่เรียกว่า สังสารทุกข์] ที่เป็นลักษณะของสังขตธรรมทั้งหลายแห่งโลกียธรรม.
บทความที่ ๘๑ ประจำปี ๒๕๕๙ วิปริณามแห่งนัยอนิจจตาและทุกขตา
ในความรู้สึกทั่วไปของปุถุชนนั้น ไม่มีใครปรารถนาอยากให้สิ่งที่ตนยึดมั่นถือมั่น [อุปาทานขันธ์] แปรเปลี่ยนไปจากสภาพเดิมที่ดำรงอยู่ ที่เรียกว่า วิปริณาม [Changes] ซึ่งตรงกับความหมาของ อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง และยังเป็นเหตุให้เกิดเป็นทุกข์เพราะความยึดมั่นแห่งอุปาทานในสภาวะแห่งจิตที่ตนปรุงแต่งขึ้นตามเจตนาที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ คือ ความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา อันสืบเนื่องจากภาวะที่ปราศจาก โยนิโสมนสิการสัมปทา [นั่นคือ ความไม่รู้แห่งอวิชชา = อโยนิโสมนสิการโมหะ] ความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดทุกข์ [วิปริณามทุกขตา] นี้ ส่วนใหญ่มักทำให้ปุถุชนผู้ด้อยปัญญาที่จะพิจารณาสภาวธรรมที่ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่เป็นไปไปตามจริงแห่งปัจจยาการ [อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท = ปัจจัยธรรม] นั่นคือ (๑) อยากให้คงอยู่ภวตัณหา กับ (๒) อยากให้ดับไปวิภวตัณหา โดยเรียกสามัญว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อุปาทานทุกข์ [ทุกขอริยสัจจ์] ซึ่งมีอรุประกอบหลัก ๒ ประการ ได้แก่ (๑) อนิจจตาภาวะแห่งความไม่เที่ยง (๒) ทุกขตาภาวะแห่งความเป็นทุกข์ สำหรับผู้มีปัญญาเห็นธรรมตามเป็นจริง ก็ย่อมรู้เห็นด้วย ญาณทัสสนะ [การหยั่งรู้การหยั่งเห็น] ถึงสาเหตุของทุกข์นั้นๆ คือ เกิดปัญญาหยั่งรู้ถึงความตั้งอยู่มั่นคงของธรรม ที่เรียกว่า ธรรมฐิติญาณ [ทิพพจักขุญาณ] นั่นคือ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ หมายถึง กำหนดรู้ถึงสาเหตุของการเกิดทุกข์ [สมุทัยอนุโลมปฏิจจสมุปบาท] คือ อวิชชาตัณหา [มูล ๒] ซึ่งเป็นรากเหง้าของทุกข์ และค่อยเข้าใจพิจารณาถึงสภาวะที่ปราศจากทุกข์ได้เช่นกัน [นิโรธปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท] คือ เมื่อดับ อวิชชาตัณหา ได้เมื่อใด ย่อมดับทุกข์ได้เมื่อนั้น นั่นคือ การหลุดพ้นจาก อุปปัตติภพชาติชราพยาธิมรณะโสกะ และ สังกิเลสทั้งหลาย ด้วยความเห็นตามเป็นจริงโดย สัมมาทิฏฐิ ใน อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ อันเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นตามกำหนดแห่งธรรมดาที่ต้องพิจารณาอยู่เนืองๆ ได้แก่ (๑) ชราธัมมตา (๒) พยาธิธัมมตา (๓) มรณธัมมตา (๔) ปิยวินาภาวตา (๕) กัมมัสสกตา สภาวธรรมทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้ความเป็นไปตาม กฎแห่งความเปลี่ยนแปลง [The Law of Changes] ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับบรรดา สังขตธรรม ทั้งหลาย ยกเว้น นิพพานแห่งอสังขตธรรม ที่เรียกว่า อมตธรรมอมตธาตุ [วิวัฏฏะ] เท่านั้น นั่นคือ อนัตตตาสุญญตา คือ ความไม่ใช่ตัวตนความว่างเปล่าความไม่ยึดมั่นถือมั่น [ไม่ว่าจะเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรมก็ตาม] ดังนั้น ความคิดเห็น ความเข้าใจอย่างถูกต้องโดยธรรมในขั้นพื้นฐานนี้ มีความสำคัญต่อแนวคิดดำริ [สัมมาสังกัปปะ] ในการดำรงชีวิตที่เหมาะควรแก่ธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] ของชาวพุทธทั้งหลาย นั่นคือ ความเป็นบุคคลผู้เกิด ญาณสัมปยุตต์ ในคติ ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) ปัญญาเห็นธรรมแห่งอยริยสัจจ์ ๔ และ (๒) ปัญญาเห็นธรรมแห่งอิทัปปัจจยตา [จุตูปปาตญาณ (ข้อ ๒ ในวิชชา ๓) ทิพพจักขุญาณปัจจยปริคคหญาณ (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) คือ ปัญญาพิจารณาเห็นความจริงใน ปัจจัยธรรม = ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖] ปัญญาทั้ง ๒ ประการ ดังกล่าวนี้ ย่อมทำให้เกิด ปัญญาตรัสรู้ธรรมแห่งไตรลักษณ์ [สัมมสนญาณ ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖] ได้จริง ได้แก่ (๑) สมาธิในวิปัสสนา คือ สุญญตสมาธิอนิมิตตสมาธิอัปปณิหิตสมาธิ กับ (๒) ปัญญาหลุดพ้นโดยไตรลักษณ์ คือ สุญญตวิโมกข์อนิมิตตวิโมกข์อัปปณิหิตวิโมกข์ ซึ่งเป็นสภาวธรรมที่ธรรมเกิดขึ้นคู่กันหรือเสมอกัน ที่เรียกว่า ปัสสัทธิยุคาฬาทิ ในคู่ สมถะวิปัสสนา ย่อมมาประชุมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเอกภาพเดียวกัน โดยประกอบด้วยปัญญาและเหตุผลโดยธรรม [ญาณสัมปยุตต์] หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดความเห็นถูกต้องทั้ง (๑) โลกียสัมมาทิฏฐิ กับ (๒) โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ โดยดำรงอยู่ใน วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ เท่านั้น ได้แก่ (๑) ขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) ธาตุ ๑๘ (๔) อินทรีย์ ๒๒ (๕) อริยสัจจ์ ๔ (๖) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ และ (๗) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ [สังสารจักร] ดังนั้น ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามเป็นจริงในบรรดาสังขตธรรม [อนิจจังทุกขังอนัตตา] นั้น ย่อมทำให้ลงข้อสรุปได้ว่า ตนกำลังดำรงชีวิตอยู่ โลกแห่งความแปรปรวน [วิปริณาม] อันเป็นทุคติ ไม่ว่าเป็นทุกข์หรือสุขก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิใดก็ตาม [ภูมิ ๓๑] ยกเว้น จะอยู่ใน โลกุตตรภูมิของพระอรหันต์ เท่านั้น ที่มีสภาวะแห่งจิตเป็น กิริยาจิต ปราศจาก กิเลสตัณหากรรมวิบาก [วัฏฏะ ๓] ที่เรียกว่า วิวัฏฏะขันธวินิมุต หรือ สันติบทแห่งนิพพาน สำหรับใน ภูมิ ๓๑ นั้น ถือเป็น โลกียภูมิ นับจากปุถุชนถึงอนาคามี ด้วยเหตุนี้ พระโยคาวจรขีณาสพจึงต้องคงบำเพ็ญเพียรภาวนา [วิชชาและจรณะ กับ อภิญญาเทสิตธรรม ๓๗ = เสขปฏิปทา] อยู่เสมอ อย่างสืบเนื่องเป็นนิตย์ เพื่อให้จิตดำรงอยู่ด้วย สัมมัตตะ ๑๐มรรคมีองค์ ๑๐อเสขธรรม ให้ได้ พร้อมด้วย อนุตตริยะ ๓อนุตตริยะ ๖ โดยมีเป้าหมายเพื่อดำรงอยู่ใน โลกุตตรภูมิ [นิพพาน] จนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ที่เรียกว่า ชีวิตสมสีสี [การดับขันธปรินิพพาน] หรือ อนุปาทิเสสบุคคลอเสขบุคคลพระอเสขะ ดังนั่น อมตธาตุนิพพานธาตุ นั้น จึงเป็นสภาวธรรมที่อริยสาวกของพระตถาคตดำรงอยู่ในขณะที่มีชีวิต [มีสัญญาเวทนา = พระเสขะ] ด้วยกิริยาจิต กับในขณะดับชีวิตหรือละสังขาร [ดับสัญญาเวทนา = พระอเสขะ] ซึ่ง วิปริณามความแปรปรวน ใดๆ จึงไม่เกิดขึ้นใน สันติบทแห่งนิพพาน ไม่ว่าขณะมีชีวิตอยู่หรือละสังขารไปแล้ว คือ การดับชีวิตด้วยอนัตตา [อนัตตานุปัสสนา] ในสังขตธรรมและอสังขตธรรม โดยได้บรรลุความตรัสรู้ โลกุตตรธรรม ๙ [มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] เสวยวิมุตติผลเป็นพระอรหันตขีณาสพดีแล้ว นิพพานธาตุ จึงไม่ใช่ สภาวะแห่งวิปริณาม อีกต่อไป อันเป็น โลกุตตรสุขแห่งอมตธรรม [บรมธรรม] ในพระธรรมวินัยนี้ตลอดไป.
|