๘๓. ปัญญาพิจารณาธรรมตามเป็นจริง Knowledge According to Reality
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
การเจริญภาวนาตามแนวทางสายกลางโดย หลักมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยข้อปฏิบัติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ ตามลำดับขั้นตอนของ ไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาจิตให้เกิดสมาธิด้วยฌานจิต จนบรรลุถึง จตุตถฌานจิตประภัสสร อันทำให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ [ญาณสัมปชัญญะ] ปัญญาหยั่งเห็น [ทัสสนะสติ] ตามความเป็นจริง [ยถาภูตธรรม] ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ โดยอำนาจแห่งสมถพละ และ ยถาภูตญาณทัสสนะ โดยอำนาจแห่งวิปัสสนาพละ จนถึงขั้นรู้เห็นเข้าใจอย่างถูกต้องในสัจจธรรมอันประเสริฐแห่ง อริยสัจจ์ ๔ หรือ อริยมรรค ที่เรียกว่า ญาณทัสสนวิสุทธิ [ความบริสุทธิ์แห่งไตรสิกขา] เพราะฉะนั้น สมถสมาธิทำให้เกิด ญาณทัสสนะ นำไปสู่ความรู้แจ้งหรือความรู้วิเศษ [วิชชา] และ ความรู้ยิ่ง ความรู้ชัด ความรู้ยิ่งยวด [อภิญญา] ซึ่งให้ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอและระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท [สติสัมปชัญญะ] ในปัญญาความรู้ดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย สุตมยปัญญาจินตามยปัญญา ที่จะเกิดขึ้นใน วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ [วิปัสสนาญาณ] หมายถึง ปรมัตถธรรมอันแยกประเภทเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และ ปฏิจจสมุปบา ที่ทำให้เกิดปัญญาญาณต่างๆ ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา นั่นคือ ญาณในวิปัสสนา หมายถึง ความหยั่งรู้ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ฉะนั้น ในการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น จักต้องแสดงลำดับการศึกษาปฏิบัติตาม ไตรสิกขา [ศีลสมาธิปัญญา] แต่ในกระบวนการคิด ความคิดเห็น ความตรึก ความดำริ ความคำนึง ความกำหนดในใจ ทั้งหลายนั้น ต้องประพฤติปฏิบัติไปตามมรรคาแห่ง สัมมัตตะ ๑๐ คือ สภาวะอันถูกต้องแห่งอเสขธรรม ได้แก่ (๑) อริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้ถึง โลกุตตรมรรคอรหัตตมัคคญาณ (๒) อริยมรรคมีองค์ ๙ เพื่อให้ถึง โลกุตตรผลอรหัตตผลญาณ [สัมมาญาณ] และ (๓) อริยมรรคมีองค์ ๑๐ เพื่อให้ถึง อรหัตตผลวิมุตติ [สัมมาวิมุตติ] โดยมีจุดมุ่งหมายแห่งผลในการปฏิบัติธรรม คือ นิพพาน [อนุปาทิเสสนิพพานการดับขันธปรินิพพาน] นั่นเอง.
บทความที่ ๘๓ ประจำปี ๒๕๕๙ ปัญญาพิจารณาธรรมตามเป็นจริง
ในการทำลายความไม่รู้จริงแห่งอวิชชา ซึ่งมีมูลเหตุจากกิเลส คือ โลภะโทสะโมหะ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่เรียกว่า วิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย และให้กำหนดไวในไตรสิกขาด้วย ได้แก่ วิสุทธิแห่งอธิศีลสิกขา ๑ วิสุทธิแห่งอธิจิตตสิกขา ๑ และ วิสุทธิแห่งอธิปญญา ๑ ฉะนั้น ความบริสุทธิ์แห่งไตรสิกขานี้ เป็นเหตุให้เกิด ญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นองค์ความรู้ที่รอบรู้แห่งปัญญาเห็นธรรมในวิปัสสนาภูมิ ได้แก่ (๑) อริยสัจจ์ ๔: ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค (๒) กิจในอริยสัจจ์ ๔: ปริญญาปหานะสัจฉิกิริยาภาวนา (๓) ญาณ ๓: สัจจญาณกิจจญาณกตญาณ (๔) ปฏิจจสมุปบาท ๑๒: อวิชชาสังขารวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะเวทนาตัณหาอุปาทานภพชาติชรามรณะ [มีผลวิบากพร้อมด้วย: ความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจ ที่เรียกว่า สังกิเลส] และ (๕) ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖: อัทธา ๓สังเขป ๔สนธิ ๓วัฏฏะ ๓อาการ ๒๐มูล ๒ ปัญญาทั้งหลายดังกล่าวนี้ ย่อมกลายเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยกำลังพลังแห่งปัญญาญาณหยั่งรู้ ได้แก่ (๑) อาสวักขยญาณ [มีอาการ ๖๔] กับ (๒) อริยอัฏฐังคิกมรรคอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะสัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะสัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ ที่สัมปยุตต์กับ (๓) อภิญญาเทสิตธรรม ๓๗โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้จะตรัสรู้ด้วย สัมโพธิญาณ ได้ ต้องมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในหลักธรรม อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่จะร่วมประกอบกับธรรมทั้งหลายเพื่อความตรัสรู้ [อาสวักขยะสัมโพธะ หรือ อาสวักขยญาณสัมโพธิญาณ] ปัญญาหยั่งรู้เห็น [ญาณทัสสนะ] ดังกล่าวนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นภาวะที่ยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นในบุคคล ที่ถึงพร้อมด้วยคุธรรม ๗ ประการ ได้แก่ (๑) กัลยาณมิตตตา (๒) สีลสัมปทา (๓) ฉันทสัมปทา (๔) อัตตสัมปทา (๕) ทิฏฐิสัมปทา (๖) อัปปมาทสัมปทา (๗) โยนิโสมนสิการสัมปทา คุณธรรมเหล่านี้ ทำให้มีความเจริญไพบูลย์ใน อริยมรรค [มรรคมีองค์ ๘อริยสัจจ์ ๔โลกุตตรมรรค ๔] อย่างแน่นอน ประกอบด้วยปัญญาสัมปชัญญะ และเหตุผลสติ ตามแนวทางสายกลางแห่งปัญญา นั่นคือ หลักมัชฌิมาปฏิปทา [อริยมรรคมีองค์ ๘ไตรสิกขา] ได้แก่ (๑) เริ่มต้นด้วยปัญญาอธิปัญญา (๒) ดำเนินด้วยปัญญาอธิศีล และ (๓) นำไปสู่ปัญญาอธิจิตต์ ซึ่งนำไปสู่คุณสมบัติประกอบพุทธคุณ ๒ ประการ ได้แก่ (๑) ปัญญาคุณ เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นสัจจภาวะแห่งการพึ่งตนเองความเป็นอัตตนาถะ ที่เรียกว่า อัตตหิตสมบัติ หมายถึง ความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ตน กับ (๒) กรุณาคุณ เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จ พุทธกิจ คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า อันสัจจภาวะแห่งการเป็นที่พึ่งของคนอื่นความเป็นโลกนาถ หรือ ความเป็นที่พึ่งของชาวโลกได้ ที่เรียกว่า ปรหิตปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ฉะนั้น ปัญญาที่เกิดขึ้นหรือต่อยอดเพิ่มขึ้นนั้น ต้องเป็น (๑) ปัญญาเห็นธรรมดวงตาเห็นธรรมธรรมจักษุทิพพจักขุญาณ [อภิญญา] กับ (๒) ปัญญาตรัสรู้ธรรมอาสวักขยญาณสัมโพธิญาณ [สัมโพธะ] ถ้าพิจารณาการปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริงนั้น พระโยคาวจรขีณาสพเจ้าทั้งหลายย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมแห่งพระรัตนตรัยอยู่ในตนเองโดยปริยาย มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถกล่าวถึงความเป็นพระอริยสาวกและอริยสาวิกาแห่งพระตถาคตเจ้าได้เช่นกัน คำว่า ความจริงสัจจะ จึงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ในการประพฤติพรหมจรรย์ทุกขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ (๑) สมมติสัจจะแห่งโลกียธรรม กับ (๒) ปรมัตถสัจจะแห่งโลกุตตรธรรม สำหรับแบบอย่างแรกนั้น จัดเป็น (๑) อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [อุปาทานทุกข์สังขตธรรมวัฏฏะ = โลกียภูมิ] ส่วนแบบอย่างหลังนั้น จัดเป็น (๒) วิมุตติขันธ์แห่งสุข [อสังขตธรรมนิพพานวิวัฏฏะ = โลกุตตรภูมิ] ในการแบ่งแยกจำแนกธรรมได้ดังกล่าวนี้ จึงทำให้เห็น (๑) กุศลธรรม แยกออกจาก (๒) อกุศลธรรม โดยพิจารณาเห็น (๓) อัพยากตธรรม ว่าเป็น ธรรมสภาวธรรมปรมัตถ์ปรมัตถธรรมปรมัตถสัจจะ ที่ถูกต้องด้วยลำดับแห่งการปฏิเวธใน คุณวิเศษ หรือ อุตตริมนุสสธรรม ดังนี้ (๑) อริยมรรคมีองค์ ๘โลกุตตรมรรคมัคคญาณ ๔ (๒) อริยมรรคมีองค์ ๙สัมมาญาณโลกุตตรผลผลญาณ ๔ และ (๓) อริยมรรคมีองค์ ๑๐สัมมัตตะ ๑๐อเสขธรรมสัมมาวิมุตติปัจจเวกขณญาณ มีอาการ ๑๙อาสวัขยญาณ มีอาการ ๖๔อรหัตผลวิมุตติ แต่อย่าลืมว่า การปฏิบัติธรรมหรือการเจริญภาวนาในทุกขั้นตอนต้องอาศัยเวลามากน้อยต่างกัน ก็ขึ้นอยู่กับความพากเพียรและความอดทนในการบำเพ็ญภาวนากรรมฐานด้วย ภูมิรู้ภูมิธรรมภูมิปัญญา [วิปัสสนาภูมิปัญญาภูมิ: ขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ธาตุ ๑๘อินทรีย์ ๒๒อริยสัจจ์ ๔ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๖ ที่สัมปยุตต์กับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗: สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘] ที่มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงแทงตลอดในธรรมทั้งปวง ในการเข้าถึงนัยแห่งสภาวธรรมตามเป็นจริง [ธรรมฐิติยถาภูตธรรมสัมมาทัสสนะ] ได้นั้น บุคคลต้องประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ ดังนี้ (๑) ความประพฤติต้องบริสุทธิ์ด้วยอธิสีลสิกขา [จรณะ ๑๕: สีลสัมปทาอปัณณกธรรม ๓สัทธรรม ๗ฌาน ๔ = เสขปฏิปทา เพื่อให้บรรลุถึง วิชชา ๓ ได้แก่ ปุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณอาสวักขยญาณ] ได้แก่ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ (๒) จิตต้องบริสุทธิ์ด้วยอธิจิตตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะสัมมาสติสัมมาสมาธิ [ฌาน ๔ ในจรณะ ๑๕] และ (๓) ปัญญาต้องบริสุทธิ์ด้วยอธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ เพื่อการปฏิบัติธรรมนั้น ให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย โดยไม่มี อุปาทาน ๔วิปลาส ๔อคติ ๔ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญภาวนากรรมฐาน อนึ่ง ประกาศสำคัญ คือ จิตต้องปราศจากนิวรณ์ [กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอรติอวิชชาอกุศลธรรมทั้งหลาย] ที่เรียกว่า จิตประภัสสร [กุศลจตุตถฌานจิต: อุเบกขาเอกัคคตาแห่งจิต คำว่า จิตประภัสสร หมายถึง จิตเดิมแท้ที่ยังว่างอยู่ ยังไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง ยังไม่ถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส ไม่ถูกหุ้มห่อด้วยผลของกิเลส คือความดี ความชั่ว เป็นต้น เหมือนอย่างเพชร มันมีรัศมีในตัวมันเอง มันเรืองแสงของมันได้ เหมือนอย่างจิตเดิมแท้ประภัสสร แต่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ มันจึงเปลี่ยนแปลงได้ มันจึงต้องมีการอบรมจนเป็นประภัสสรที่ถาวร ชนิดที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงได้] อนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ญาณทัสสนะ [การหยั่งรู้หยังเห็นการรู้เห็นในอำนาจสมาธิอย่างแน่วแน่น] ที่เกิดขึ้นในวิปัสสนาภูมิ อันเนื่องด้วยการบรรลุรูปฌานขั้นใดขั้นหนึ่งใน ๔ ขั้น [ปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานจตุตถฌาน] ต้องสัมปยุตต์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗อภิญญาเทสิตธรรม ๓๗สันติธรรมมรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา เพื่อสนับสนุนการตรัสรู้ด้วย ปัญญาญาณญาณในวิปัสสนาวิปัสสนาญาณ ที่พิจารณาไตร่ตรองสภาวธรรมตามเป็นจริง [นั่นคือ สติสัมปชัญญะอันเป็นตัวจิตผู้วิปัสสนาหรือมนสิการกรรมฐาน = ญาณทัสสนะ] ด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ โดยแยกออกเป็นธรรมที่เสมอกัน ๒ ฝ่าย ได้แก่ (๑) สมถพละ สังขยุตด้วย วิชชา ๓ กับ (๒) วิปัสสนาพละ สัมปยุตต์ด้วย ญาณในวิปัสสนา ๓ [ข้อ ๑๓ ในญาณ ๑๖] ในธรรมดังกล่าวนี้ ให้พิจารณาโดย อริยสัจจ์ ๔ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐอันทำให้บุคคลกลายเป็นอริยบุคคลได้ด้วยกิจต่างๆ [กิจในอริยสัจจ์ ๔: ปริญญาปหานะสัจฉิกิริยาภาวนา] ดังนี้ (๑) ปัญญาเห็น ทุกขอริยสัจจ์ คือ สภาพแห่งทุกข์ = ด้วยกิจแห่งปริญญา คือ การกำหนดรู้ (๒) ปัญญาเห็น สมุทัยอริยสัจจ์ คือ เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย = ด้วยกิจแห่งปหานะ คือ การกำหนดละ (๓) ปัญญาเห็น ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ คือ สภาพหลุดพ้นจากทุกข์แล้ว = ด้วยกิจแห่งสัจฉิกิริยา คือ การทำให้แจ้ง และ (๔) ปัญญาเห็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ คือ แนวทางในการดับทุกข์ทั้งปวง = ด้วยกิจแห่งภาวนา คือ การเจริญ ด้วยวิริยะและขันติ [เปรียบเทียบกับ อุปัญญาตธรรม ๒ หมายถึง ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเห็นคุณประจักษ์กับพระองค์ และได้ทรงอาศัยเพื่อดำเนินอริยมรรคาจนบรรลุจุดหมายสูงสุด ที่เรียกว่า สัมมาสัมโพธิญาณ ได้แก่ (๑) ความไม่สันโดษในกุศลธรรม กับ (๒) ความไม่ระย่อในการพากเพียร] ดังนั้น เมื่อศีลบริสุทธิ์ สมถพละกับวิปัสสนาพละย่อมบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยในเวลาเดียวกัน และมีกำลังสำเร็จเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน มาประชุมรวมกันเป็นเพียงหนึ่งเดียว [ฌานกับญาณ] โดยแต่ละฝ่ายต่างเป็นอิสระเอกเทศจากันและกัน ไตรสิกขาจึงต้องประกอบด้วยปัญญาและเหตุผล ที่พิจารณาสภาวธรรม [ปรมัตถสัจจะ] ตามความเป็นจริง คือ รู้แจ้งเห็นจริงด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ และแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย [ปฏิเวธสัมโพธะความตรัสรู้] จนกระทั้งรวมถึงปัญญาญาณที่มีกำลังสามารถทบทวนกิจทั้งหมดในการตรัสรู้โดย สัมโพธิญาณ ด้วย ปัจจเวกขณญาณ มีอาการ ๑๙ อันหมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้ (๑) มรรค๔ (๒) ผล๔ (๓) กิเลสที่ละแล้ว๔ (๔) กิเลสที่เหลืออยู่๔และ (๕) นิพพาน๓ เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ [โลกุตตรธรรม ๙: มรรค ๔ผล ๔นิพพาน ๑] ที่สัมปยุตต์ด้วย อาสวักขยญาณ [ความตรัสรู้ด้วยอาการ ๖๔] แห่งนิพพานจิต อันเป็นการดับจิตดวงสุดท้ายด้วย ชีวิตสมสีสี [พระอเสขะอนุปาทิเสสบุคคล] นั่นคือ ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ [กิจในอริยสัจจ์ ๔ กับ ญาณ ๓] ที่เรียกว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จพุทธกิจด้วยสภาพอันถูกต้องแห่ง สัมมัตตะ ๑๐ อย่างดีพร้อมสมบูรณ์และไพบูลย์ตาม สัจจภาวะแห่งอมตธรรม [นิพพาน] ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้.
|