๘๕. จตุปฏิสัมภิทาญาณแห่งอรหัตขีณาสพ The Four Analytic Insights of the Worthy One
By Nithee Siripat Siripat.com and Academiae Network. 2016
ความสำคัญของบทความ
ความต้องการในปรารถนาแห่งปัญญาญาณของการเจริญภาวนากรรมฐานนั้น เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญยิ่งที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาอันยิ่ง คือ ความถูกต้องตามเป็นจริงตาม กฎธรรมชาติ ดังเช่น ธรรมฐิติธรรมนิยาม ๓ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ไตรลักษณ์ เป็นต้น แต่ความจริงแท้แห่งสัจจธรรม คือ อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกขสัจจ์สมุทัยสัจจ์นิโรธสัจจ์มรรคสัจจ์ นั่นคือ มัคคญาณ ๔มรรค ๔ หรือ โลกุตตรมรรค อันเป็นผลเกิดจากการปฏิบัติดำเนินตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ให้คำนึงถึง สภาวะอันถูกต้องแห่งปัญญาญาณที่เป็น ปัญญาแตกฉานปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีบาทฐานมาจากการเจริญอนุปัสสนากรรมฐาน ซึ่งนับเป็นมรรคาที่ทำให้เกิดความคมชัดแห่งอภิญญา เพื่อความตรัสรู้ซึ่งสัมโพธิญาณ [อาสวักขยะสัมโพธะ] ฉะนั้น ปัญญาญาณในวิปัสสนานั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด อันนำไปสู่ความไพบูลย์ด้วยความหยั่งรู้หยั่งเห็น [ญาณทัสสนะ] ที่อยู่เหนือข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่ได้ อนึ่ง ปัญญาแตกฉาน คือ คุณบทแห่งอริยบุคคลผู้บรรลุถึง พระอรหันต์ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ด้วยวิปัสสนาพละล้วนๆ อีกทางหนึ่ง เพราะเกิดจากการหมั่นเพียรในการเจริญวิปัสสนาภาวนา จนสามารถบรรลุถึง ปัญญา ๑๐ ได้ เช่น ปุถุปัญญา [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] คือ ปัญญาแน่นหนา หรือ หาสปัญญา [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ] คือ ปัญญาร่าเริง ดังนี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายจะต้องเป็นผู้ประกอบด้วย ปัญญาสามัญ [เดรัจฉานวิชา] ๑ ปัญญารู้แจ้ง [วิชชา] ๑ ปัญญาคมชัด [อภิญญา] ๑ ปัญญาหยั่งรู้ [ญาณวิปัสสนาญาณปัญญาญาณ] ๑ ปัญญาเห็นธรรม [ธรรมจักษุ] ๑ ปัญญาตรัสรู้ [สัมโพธิญาณ] ๑ ดังนี้ ปัญญาในวิปัสสนาที่ประกอบด้วยภาวะอันถูกต้อง [อริยมรรค] จึงเป็นองค์ประกอบอันยิ่งที่จะทำให้เข้าถึง สัจจภาวะแห่งนิพพาน ได้แท้แน่นอน ที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องไม่ทอดทิ้งภาวะหน้าที่ในการเจริญปัญญาญาณให้ยิ่งขึ้นไปอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์.
บทความที่ ๘๕ ประจำปี ๒๕๕๙ จตุปฏิสัมภิทาญาณแห่งอรหัตขีณาสพ
พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถือเป็นสัจจธรรมแห่งศาสตร์ทั้งหลายในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นหลักการแห่งทฤษฎี ที่นักวิชาการทางโลกวิจัยค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประการสำคัญ องค์ความรู้ต่างๆ คือ ปัญญา [Wisdom or Knowledge] ที่เกิดจากการวิวัฒน์พัฒนาทางกระบวนการคิดภายในสมอง ที่เรียกว่า จิตวิญาณ [Spirituality or Consciousness] คือ เจตนาแห่งอภิสังขารที่จะปรงแต่งความคิดตามเหตุปัจจัย โดยแสดงออกเป็น กรรมภพ [ชีวิตสันตติตามยถากรรม] คือ สังขารทั้งหลาย [สังขตะสังขตธรรม] ซึ่งเป็นได้ทั้งฝ่ายกุศลธรรม [สัมมาทิฏฐิ] และฝ่ายยอกุศลธรรม [มิจฉาทิฏฐิ] ฉะนั้น จิตวิญาณของปุถุชนส่วนใหญ่ยังคละด้วยกิเลสน้อยใหญ่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะตื่นหรือนอนหลับอยู่ก็ตามในทางตรงกันข้าม สภาวะแห่งจิตของพระอรหันต์นั้น ย่อมปราศจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย [อาสวักขยญาณ] ด้วยความตรัสรู้โดย สัมโพธิญาณ ดีแล้ว นั่นคือ จิตปราศจากนิวรณ์ [จตุตถฌานกุศลจิตจิตประภัสสรฌานทัสสนะวิชชา] และปัญญาปราศจากอคติและวิปลาส [ญาณปัญญาญาณ] ซึ่งเกิดญาณสัมปยุตต์ ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ คือ ปัญญาหยั่งรู้เห็นแจ้งรู้จริงด้วย วิปัสสนาญาณญาณในวิปัสสนา ทั้งหลาย ดังนั้น เกณฑ์มาตรฐานที่ระบุคือความตรัสรู้ [อาสวักขยะสัมโพธะ] นั้น จึงวัดได้ด้วย ปฏิสัมภิทา ๔ [Discrimination] หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ได้แก่ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานด้านความหมายแห่งอรรถศาสตร์อันเป็นฝ่ายผล (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในหลักธรรมแห่งทฤษฎีอันเป็นฝ่ายเหตุ (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานด้านภาษาแห่งภาษาศาสตร์ และ (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานด้านปฏิภาณไหวพริบ อนึ่ง ปฏิสัมภิทา ๔ นั้น เกิดจากการมนสิการกรรมฐานอยู่เนืองๆ ด้วย อนุปัสสนา ๗ นั่นคือ ปัญญาญาณที่เกิดต่อเนื่องกันระหว่าง ทุกขสัจจ์สมุทัยสัจจ์ กับ มรรคสัจจ์ (ข้อ ๑๒๔ ในอริยสัจจ์ ๔: ความจริงของพระอริยะ ได้แก่ ทุกข์สมุทัยมรรค และ ข้อ ๑๒๔ ในกิจในอริยสัจจ์ ๔: ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจจ์ 4 แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจจ์หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ ปริญญาปหานะภาวนา) หรือ อีกนัยหนึ่ง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ในระหว่าง ข้อ ๓๔๕ ในวิสุทธิ ๗ ได้แก่ (๑) ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั่นคือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์ และ (๒) กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ นั่นคือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง ๓ ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณยถาภูตญาณสัมมาทัสสนะ จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ กับ (๓) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ให้พิจารณาความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่าง อนุปัสสนา ๗ กับ ปัญญา ๑๐ ดังนี้
อนุปัสสนา ๗ หมายถึง การพิจารณาสภาวธรรมในภาวนากรรมฐานอยู่เนืองๆ โดยมีรากฐานมาจากปัญญาเห็นนามรูปโดยไตรลักษณ์ [อนุปัสสนา ๓: อนิจจานุปัสสนาทุกขานุปัสสนาอนัตตานุปัสสนา = สัมมสนะ (พิจารณามนสิการ)สัมมสนญาณ] ในธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรมก็ตาม ได้แก่ (๑) อนิจจานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ชวนปัญญา [ปัญญาเร็ว] ให้บริบูรณ์ (๒) ทุกขานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นสภาพแห่งทุกข์ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง นิพเพธิกปัญญา [ปัญญาทำลายกิเลส] ให้บริบูรณ์ (๓) อนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง มหาปัญญา [ปัญญามาก] ให้บริบูรณ์ (๔) นิพพิทานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ติกขปัญญา [ปัญญาคมกล้า] ให้บริบูรณ์ (๕) วิราคานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในราคะ ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง วิบูลปัญญา [ปัญญากว้างขวาง] ให้บริบูรณ์ (๖) นิโรธานุปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความดับแห่งสมุมัยโดยความเป็นเหตุเกิด ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง คัมภีรปัญญา [ปัญญาลึกซึ้ง] ให้บริบูรณ์ (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คือ พิจารณาความถือมั่นตั้งไว้โดยความถือผิดยึดมั่น ซึ่งบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง อัสสามันตปัญญา [ปัญญาไม่ใกล้] ให้บริบูรณ์
ปัญญา ๑๐ หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญอนุปัสสนา ได้แก่ (๑) ชวนปัญญา คือ ปัญญาเร็ว โดยเจริญ อนิจจานุปัสสนา [เห็นความไม่เที่ยง] (๒) นิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาทำลายกิเลส โดยเจริญ ทุกขานุปัสสนา [เห็นความทุกข์] (๓) มหาปัญญา คือ ปัญญามาก โดยเจริญ อนัตตานุปัสสนา [เห็นความไม่ใช่ตัวตน] (๔) ติกขปัญญา คือ ปัญญาคมกล้า โดยเจริญ นิพพิทานุปัสสนา [หน่ายในกองทุกข์] (๕) วิบูลปัญญา คือ ปัญญากว้างขวาง โดยเจริญ วิราคานุปัสสนา [ดับความกระหายวัฏฏะ] (๖) คัมภีรปัญญา คือ ปัญญาลึกซึ้ง โดยเจริญ นิโรธานุปัสสนา [ดับกิเลส] (๗) อัสสามันตปัญญา คือ ปัญญาไม่ใกล้ โดยเจริญ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา [สลัดคืน] (๘) ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ปัญญาแตกฉาน โดยเจริญ อนุปัสสนา ๗ [ปัญญาแตกฉานอุเบกขา] (๙) ปุถุปัญญา คือ ปัญญาแน่นหนา โดยเจริญ ปัญญา ๘ [ความรู้ทั่วถ้วนสัพพัญญู] (๑๐) หาสปัญญา คือ ปัญญาร่าเริง โดยเจริญ ปัญญา ๙ [ทิพยจักขุปัญญาจักขุ]
นอกจากนี้ ผู้เป็นพระอรหันต์นั้น ก็ย่อมหมายถึง พหูสูต นั่นเอง เพราะมีปัญญาอันล้ำเลศอย่างประเสริฐ เหนือความเป็นปราชญ์ทางโลกที่มีปัญญาเป็น เดรัจฉานวิชา ที่เป็นปัญญาความรู้ไม่สามารถชักนำให้หลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง แต่พระอรหันต์เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วย วิชชาและจรณะ เป็นสำคัญยิ่ง หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่อยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ล้วนเป็นเรื่องอริยมรรคและอริยธรรม ไม่ใช่หลักความรู้สามัยทั่วไปตามโลกียคติ [เดรัจฉานวิชา] ฉะนั้น หลักธรรมส่วนใหญ่จึงเป็นการบรรยายถึงคุณสมบัติของพระอรหันต์เป็นหลัก ที่นอกเหนือจาก โสดาบันสกทาคามีอนาคามี รวมทั้งธรรมสำหรับปุถุชนผู้ครอบเรือน เมื่อพุทธมามกะศึกษาพระธรรมนั้น จึงต้องจำแนกแจกธรรมออกเป็นหมวดหมู่ให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดสติฟั่นเฟือนไปตามกระแสแห่งโลกธรรม กล่าวโดยสรุป ให้เป็นผู้รู้แจ้งโลกและชีวิตตามเป็นจริง ไม่หลงเพลิดเพลินในโลกทั้งปวงและไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง นั่นคือ อุปาทานขันธ์ ๕ [อุปาทิ] การเข้าใจอย่างถูกต้องดังกล่าวนี้ ย่อมเกิดจาก สมถพละ [สมถะสมาธิฌานวิชชา = ความรู้แจ้ง] กับ วิปัสสนาพละ [ญาณอภิญญา = ความรู้ชัด] หรือ สมถะกับวิปัสสนาฌานกับญาณ และเกิดอารมณ์เบื่อหน่ายสิ้นเชิงในสิ่งปรางแต่งแห่งสังขตธรรมด้วยปัญญาเห็นธรรม คือ นิพพิทาญาณ หรือ นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๕ ในวิปัสสนาญาณ ๙) อันทำให้เกิด ติกขปัญญา [ปัญญาคมกล้า] ฉะนั้น สังขารโลก คือ สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยนั้น ย่อมไม่ใช่ปรารถนาของพระอรหันต์ทั้งหลาย ความเป็นผู้มีปัญญาแตกฉานของพระอรหันต์นั้น [ผู้มีกิเลสสังโยชน์สิ้นแล้ว] จึงไม่ใช้สภาวธรรมที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ อันเป็นคุณสมบัติครบถ้วนด้วย จตุปฏิสัมภิทาญาณ [ปฏิสัมภิทา ๔] ดังเช่น พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายผู้ทรงอำนาจด้วย สัพพัญญูญาณ [จักขุ ๕] ที่เหนือกว่า อัจฉริยบุคคล ทางโลกียะทั้งหลาย [เดรัจฉานวิชา = ความรู้ทางโลกตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาเอก] จึงเรียกว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า [พระพุทธเจ้า] อริยบุคคล ผู้เป็นผลแห่งการปฏิบัติธรรมในพรหมจรรย์นี้ คือ พระอรหันตขีณาสพ เท่านั้น อันเป็นยอดปรารถนาสูงสุด ไม่ใช่บุคคลผู้แสดง (๑) อิทธิปาฏิหาริย์ กับ (๒) เอเทศนาปาฏิหาริย์ เพียงเท่านั้น ยังไม่ประกอบด้วย ปฏิสัมภิทา ๔ [ปัญญาแตกฉาน] ครบถ้วนแต่ประการใด และในที่สุดนั้นอาจชักพาบุคคลอื่นไปสู่ความเสียหายใน วิบัติ ๔ ได้แก่ ศีลวิบัติอาจารวิบัติทิฏฐิวิบัติอาชีววิบัติ แท่นที่จะเป็น พระอรหันต์ ก็กลายเป็น มนุษยวิบัติแห่งอลัชชี ดังนั้น สมณะผู้ประกอบด้วย ญาณวิปยุตต์แห่งอโยนิโสมนสิการสัมปทา [ปราศจากปัญญาหยั่งรู้ที่ถึงพร้อมแห่งอวิชชา] ไม่ควรนับเป็นพระสงฆ์อริยสาวกของพระตถาคตได้เลย เพราะยังเป็นบุคคลผู้ถูกครอบงำด้วยมูลเหตุแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ โลกะโทสะโมหะ จิตจึงมี นิวรณ์นิวรณธรรม ทั้งหลาย [นิวรณ์: กามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะวิจิกิจฉาอรติอวิชชาอกุศลธรรมทั้งหลาย] และปัญญากลายเป็น มิจฉาทิฏฐิมิจฉาสังกัปปะ และไม่ใช่ กัลยาณมิตร ของสาธุชนควรคบหาเพื่อเป็น ธรรมิก [สหายธรรม] อีกต่อไป ฉะนั้น พระอริยสงฆ์จึงเป็นบุคคลผู้มี สังฆคุณ ๙ ครบสมบูรณ์ดีพร้อมด้วย ธรรมไพบูลย์ [ธรรมปีติ] และประกอบด้วยคุณสมบัติของการตรัสรู้สัมโพธิญาณ [โพธิสมภาร] ได้แก่ (๑) ปัญญาจตุปฏิสัมภิทาญาณ คือ ความเป็นอัตตนาถะแห่งพุทธกิจ และ (๒) กรุณาโลกนาถ คือ ความเป็นที่พึ่งของผู้อื่น เพราะฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติธรรมเหมาะควรแก่ธรรม [ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ] ด้วยการดำเนินชีวิตตามคลองธรรมของพุทธบริษัทนั้น จึงไม่ใช่การประพฤติปฏิบัติได้ง่าย และรู้ผลได้เร็ว ต้องอาศัยความเพียรความอดทนอดกลั้นอย่างสูง ในการต่อสู้กับอุปสรรคปัญหาต่างๆ อย่างมากมาย และไม่ใช่นึกอยากจะทำอย่างไร ก็จะประสบความสำเร็จได้เร็วและง่ายๆ ในการบรรลุความตรัสรู้ [อาสวักขยะสัมโพธะ] ซึ่ง โลกุตตรธรรม ทั้งหลาย ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และ โลกุตตรธรรม ๙ เพื่อเข้าถึง บรมธรรมแห่งพระนิพพาน นั่นเอง.
|